แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

ชื่อกระทู้: วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง (รอยพระพุทธบาท , พระเกศาธาตุ ฯ ) [สั่งพิมพ์]

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:19     ชื่อกระทู้: วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง (รอยพระพุทธบาท , พระเกศาธาตุ ฯ )


DSC06419.jpg


DSC06439.jpg


วัดพระธาตุลำปางหลวง

ม.๒ บ.ลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง  

[รอยพระพุทธบาท , พระเกศาธาตุ ,

พระบรมธาตุส่วนลำคอหน้าและหลัง ,

พระบรมธาตุไหล่ (นลาฏ) เบื้องขวา , พระบรมธาตุส่วนพระศอ]



วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญเก่าแก่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของไทย มีความสำคัญทั้งก่อนและหลังที่ชนเชื้อชาติไทยในปัจจุบันจะเข้ามาครอบครองแผ่นดินภูมิภาคนี้ ซึ่งวัดพระธาตุลำปางหลวงมีความสำคัญ เพราะ

๑. เป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “ลำปาง” โดยทางตำนาน จึงเป็นเหตุให้นำมาใช้เป็นชื่อเมืองว่า “นครลำปาง” และจังหวัดลำปางในปัจจุบัน
๒. เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าผู้ครองนครลำปางและภาคเหนือทั้งหมดเคยเสด็จ และยกย่องว่าเป็นเมืองสืบมาทุกยุคทุกสมัย
๓. เป็นวัดที่มีตำนานระบุไว้ชัดเจนว่า มีพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าส่วนสำคัญบรรจุอยู่ในองค์พระธาตุเจดีย์ที่เป็นประธานของวัด
๔. เป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตอันล้ำค่าอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย และยังประดิษฐานอยู่จนถึงทุกวันนี้
๕. เป็นวัดที่มีอนุสรณ์แห่งการกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยในแดนล้านนาไทยไม่ให้ตกไปเป็นทาส (เมืองออกของประเทศอื่น) ซึ่งได้รับความสำเร็จ ณ วัดนี้

วัดพระธาตุลำปางหลวง แห่งนี้มิได้มีความสำคัญสำหรับชาวนครลำปางเท่านั้น แต่ยังเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านชาวเมืองทั้งใกล้ไกล ต่างพากันมากราบไหว้บูชาอยู่เนืองนิตย์ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้สถานที่แห่งนี้ประกอบราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็เคยเสด็จมานมัสการพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดตามคติวัดมหาธาตุในสมัยอารยธรรมพุทธหินยานละกาวิน เป็นวัดไม้เก่าแก่ที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศ มีคุณค่าทั้งในทางประวัติศาสตร์และทางสถาปัตยกรรมอย่างยิ่ง

งานออกแบบทางสถาปัตยกรรมการวางผังของวัด ยึดคติความเชื่อในจักรวาลทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเชื่อว่าเขาพระสุเมรุเป็นหลักของจักรวาลมีสวรรค์ชั้นต่างๆ มีทวีปใหญ่ ๔ ทวีป บริเวณที่เป็นท่ามกลางทรายในเขตจักรวาลนี้เปรียบดังมหาสมุทรศรีทันดรล้อมรอบเป็นรูปแหวน ซึ่งตามคติโบราณใช้ทรายแทนมหาสมุทรศรีทันดร (เพราะฉะนั้นการก่อเจดีย์ทรายในวัด โดยเฉพาะที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จึงเป็นการพยายามเสริมมหาสมุทรศรีทันดรที่เป็นทรายกลายเป็นปูพื้นอิฐไปด้านหนึ่ง ทำให้ขาดทะเลที่เป็นคลื่นกลายเป็นทะเลราบสนิท) แต่ละทวีปมีภูมิอยู่ ๔ ภูมิ ทางทิศให้เป็นมนุษย์ภูมิ เรียกว่า ชมพูทวีป มีกำแพงหินล้อมรอบจักรวาลสถานที่

วัดพระธาตุลำปางหลวงแห่งนี้ เป็นเขตพุทธาวาสล้อมรอบด้วยวิหารคดรูปสี่เหลี่ยม สมมุติแทนกำแพงหินรอบจักรวาล มีประตูเข้า ๓ ทาง ด้านที่หันไปทางทิศตะวันออกเป็นทางลาดมีบันไดนาคเปรียบได้กับแม่น้ำคงคา มีนาคและสิงห์อันสัตว์ในป่าหิมพานต์เฝ้าอยู่ที่ต้นน้ำ ส่วนซุ้มประตูโขง คือประตูจักรวาล ลวดลายเหนือซุ้มนี้ คือพันธุ์ไม้ สัตว์หิมพานต์และวิมานของทวยเทพอยู่ลดหลั่นเป็นชั้นเชิง วิหารหลวง เป็นวิหารที่สำคัญมาก เปรียบเป็นชมพูทวีป วิหารพระพุทธ อุโบสถ วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลา หรือวิหารจามเทวี) ซุ้มพระพุทธบาท วิหารน้ำแต้ม วิหารต้นแก้ว ซึ่งสิ่งก่อสร้างเหล่านี้สมมุติแทนระบบจักรวาลตามความเชื่อเก่าแก่โดยมี องค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นแกนค้ำชูจักรวาล







รูปภาพที่แนบมา: DSC06419.jpg (2009-5-29 03:07, 49.25 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 48
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM0OTh8YmMxZDc5OTh8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06439.jpg (2009-5-29 03:07, 60.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 35
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM0OTl8MmJjM2NhOGF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:32

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:10  

DSC06376.jpg

ตำนานพระเจ้าเลียบโลก กล่าวว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปถึงบ้านแห่งหนึ่ง ชื่อ “ลัมพกลานะ” (บางฉบับว่า “ลัมพกลวนะ” และว่าเป็นป่าไม่ใช่บ้าน) มีไม้มะชาวต้นหนึ่ง พระพุทธองค์เสด็จประทับนั่งเหนือยอดเขาเล็กๆ สูงเล็กน้อยลูกหนึ่ง นำเอาน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้พ่าง (เป็นไม้ตระกูลไม้ไผ่ชนิดหนึ่งในภาคเหนือใช้ทำกระบอกข้าวหลาม) มะพร้าว ๔ ผล มะตูม ๔ ผล มะเดื่อ ๔ ผล มาถวายทานแก่พระพุทธองค์ ทรงรับแล้วก็ทรงยื่นกระบอกน้ำผึ้งให้แก่พระอานนท์ เพื่อให้กรองน้ำผึ้งตกใส่บาตร เมื่อทรงเสวยแล้วก็ทรงทิ้งกระบอกน้ำผึ้งไปทางทิศเหนือ ตรัสพยากรณ์ว่า “สถานที่นี้จะเป็นเมืองหนึ่ง มีชื่อว่า “ลัมพกัปปนคร” (นครลำปาง) ในที่นี้ควรจะตั้งศาสนาไว้”

พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช ก็กราบทูลขอพระเกศาธาตุ พระองค์ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุองค์หนึ่งทรงมอบให้แก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช มอบต่อแก่อ้ายคอนขุนลัวะ แล้วนำไปบรรจุในกระบอกไม้ซางคำใส่ผอบทองคำใหญ่ ๗ กำมือ ขุดหลุมกว้าง ๕๐ วา ลึก ๕๐ วา นำผอบและพระเกศาธาตุประดิษฐานไว้ท่ามกลางลัวะ อ้ายคอนได้นำสิ่งของเป็นเครื่องสักการบูชาบรรจุรวมด้วยจำนวนเจ็ดแสนทองคำ คนทั้งหลายนำมาบรรจุด้วยเจ็ดล้านทองคำ พระอินทร์เนรมิตยนตร์จักรผันป้องกันไว้ เสร็จแล้วถมขึ้นมาก่อพระเจดีย์ครอบข้างบนสูง ๗ ศอก พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชว่า “เมื่อตถาคตปรินิพพานไปแล้ว จงนำเอาธาตุกระดูกคอข้างหน้าและข้างหลังมาประดิษฐานไว้ที่นี่เถิด เจดีย์ธาตุหลังนี้ ต่อไปภายหน้าจะได้ชื่อว่า “พระธาตุลำปาง”ตรัสพยากรณ์แล้วก็เสด็จลุกไปทรงเหยียบพระบาทไว้ที่หินก้อนหนึ่ง มีทางทิศตะวันตกพระธาตุ (ปัจจุบันเรียกพระธาตุลำปางหลวง อยู่ อ.เกาะคา จ.ลำปาง)


รูปภาพที่แนบมา: DSC06376.jpg (2009-5-29 03:10, 47.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 37
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDB8YzgzY2I0NWN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:36

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:24  

DSC06382.jpg

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๕๔๑ บ้านลำปางหลวง หมู่ที่ ๒ ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ห่างจากจังหวัดไปทางทิศตะวนตกดฉียงใต้ประมาณ ๑๘ ก.ม. เวลานี้ไปมาสะดวกทุกฤดูกาลเพราะมีสะพานถาวรคือสะพานประชารัฐศ์เดชข้ามแม่น้ำวัง ตรงข้ามกับที่ว่าการอำเภอเกาะคา และห่างจากถนนสายเอเชีย (ถนนใหญ่) ประมาณ ๔ ก.ม. มีถนนแยกจากถนนใหญ่เข้าสู่ตัวอำเภอเกาะคาผ่านโรงงานน้ำตาลเกาะคา และที่ว่าการอำเภอเกาะคาไปทางทิศเหนือ ตามเส้นทางสายเกาะคา - ห้างฉัตร ประมาณ ๓ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามถนนพหลโยธินและถนนเกาะคา - ห้างฉัตร เป็นระยะทางประมาณ ๑๗ กิโลเมตร ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06382.jpg (2009-5-29 03:24, 57.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 33
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDF8MGMwOTljYzd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:38

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:25  

DSC06379.jpg

ด้านหน้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06379.jpg (2009-5-29 03:25, 32.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 24
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDJ8MDAwMGMyZWJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:40

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:27  

DSC06386.jpg

ซุ้มประตูโขง และบันไดนาคด้านหน้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06386.jpg (2009-5-29 03:27, 32.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 28
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDN8OTNkMzIxNTJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:41

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:29  

DSC06390.jpg

ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นงานฝีมือของช่างหลวงที่สวยงามและอยู่ในสภาพที่ดี ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน ทำเป็นซุ้มประตูยอดแหลมเป็นชั้นแต่ละชั้นมีซุ้ม ๔ ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างประณีต ถือเป็นการสร้างซุ้มทรงปราสาทแบบกู่ที่แสดงถึงอิทธิพลของปราสาทแบบทวารวดีตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ ๑๖) ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06390.jpg (2009-5-29 03:29, 33.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 24
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDR8NmU2NjIyODJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:41

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:31  

DSC06606.jpg

ลวดลายปูนปั้น ซุ้มประตูโขง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06606.jpg (2009-5-29 03:31, 56.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 25
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDV8MDE5NmI2N2N8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:43

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:33  

DSC06385.jpg

รูปปั้นสิงห์คู่ บันไดนาคด้านหน้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06385.jpg (2009-5-29 03:33, 54.44 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 21
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDZ8YTRiNmQwNjR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:44

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:34  

DSC06393.jpg

รูปปั้นพญานาค บันไดนาคด้านหน้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06393.jpg (2009-5-29 03:34, 59.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 27
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDd8YjNkOTRlNjF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:45

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:36  

DSC06388.jpg

รูปปั้นพญานาค บันไดนาคด้านหน้า วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06388.jpg (2009-5-29 03:36, 57.13 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 23
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDh8ZDViMjg0OGZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:46

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:41  

DSC06400.jpg

วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วางผังให้อยู่ในแนวเดียวกับประตูโขงและพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๙ โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก (คำเพชร) เจ้าเมืองใต้ ซึ่งมาสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าติโลกธรรมราชา มหากษัตริย์เจ้าเชียงใหม่ และได้รับการบูรณะในสมัยรัตนโกสินทร์ และคงรักษารูปแบบตามคติโบราณ

ลักษณะของตัววิหาร คือเป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ ๑๗ เมตร ยาวประมาณ ๓๖ เมตร และมีเสาทั้งหมด ๔๖ ต้น ก่อด้วยศิลาแลง อนึ่ง ตัววิหารเป็นโถงใหญ่ ไม่มีผนัง ตามแบบของวิหารล้านนาในยุคแรกๆ หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีองศาไม่เท่ากันตามแบบศิลปะทางเหนือ ด้านหน้า ๓ ชั้น ด้านหลัง ๒ ชั้น

ด้านในของแผงคอสอง มีจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๒๕ ฝีมือช่างแบบศิลปะกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องชาดกนอกนิบาต (เป็นชาดกนอกพระไตรปิฎก ซึ่งแต่งขึ้นโดยพระเถราจารย์ชาวล้านนาเป็นภาษาบาลี) เรื่องพรหมจักรซึ่งได้เค้าโครงเรื่องมาจากเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องเวสสันดรค่ะ


รูปภาพที่แนบมา: DSC06400.jpg (2009-5-29 03:41, 49.33 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 22
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MDl8YTE2YzJkODN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:48

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:43  

DSC06607.jpg

หน้าบันด้านหน้า วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06607.jpg (2009-5-29 03:43, 45.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 23
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTB8YTA5NGM5MTF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:49

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:21 โดย pimnuttapa

  
DSC06505.jpg

ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06505.jpg (2009-5-29 03:45, 58.09 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTF8NDlmN2JmYWV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:50

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:25 โดย pimnuttapa


DSC06506.jpg

กู่คำ (กู่ = บุษบก, คำ = ทองคำ) ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง รูปทรงปราสาทยอดแหลม ก่ออิฐปิดทอง ภายในประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง กู่คำที่วัดนี้ถือเป็นกู่คำที่งามที่สุดในภาคเหนือค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06506.jpg (2009-5-29 03:46, 64.06 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTJ8ZWQ2ZjM1MzN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:51

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:26 โดย pimnuttapa

  
DSC06510.jpg

พระเจ้าล้านทอง ประดิษฐานภายใน กู่คำ วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระพุทธรูปสำริดศิลปะแบบล้านนาตอนปลายผสมกับศิลปะแบบสุโขทัย กล่าวคือ หน้ารูปไข่, บ่าใหญ่, เอวเล็ก, นั่งในปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๗๒ นิ้ว สูง ๙๓ นิ้ว เจ้าหาญศรีธัตถะมหาสุรมนตรีผู้ครองนครลำปางเป็นผู้สร้างค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06510.jpg (2009-5-29 03:48, 50.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTN8MjE2Yjk0YTZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:53

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:27 โดย pimnuttapa


DSC06508.jpg

พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านหน้า กู่คำ ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06508.jpg (2009-5-29 03:50, 68.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTR8OGUyYzRmMjJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:54

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:27 โดย pimnuttapa

  
DSC06503.jpg

พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานด้านหลัง กู่คำ ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

คำไหว้พระเจ้าทันใจ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  พุทโธ  โพทัยยัง  มุตโต  โมจัยยัง  ติณโณตารัยยัง  อะหังวันทามิ  สัพพทา ว่า ๓ จบ





รูปภาพที่แนบมา: DSC06503.jpg (2009-5-29 03:52, 52.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTV8ZDhlNzNmMGZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:56

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:28 โดย pimnuttapa

  
DSC06518.jpg

ประวัติพระเจ้าทันใจ วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง หล่อด้วยทอง หน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว สูง ๕๔ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่สร้างภายในวันเดียวเสร็จ เรียกว่า ทันอกทันใจ สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยเจ้าหมื่นคำเป็กค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06518.jpg (2009-5-29 03:53, 53.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 7
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTZ8M2RlZWMzYTB8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:56

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:28 โดย pimnuttapa

  
DSC06514.jpg

พระบรมธาตุลำปางหลวงจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า กู่คำ ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06514.jpg (2009-5-29 03:57, 49.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTd8YmExZTliMWJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:59

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 04:58  

DSC06515.jpg

บุษบก ประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่ด้านข้าง กู่คำ ภายใน วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06515.jpg (2009-5-29 03:58, 46.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTh8MDlmZDU4ZTV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 03:59

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:29 โดย pimnuttapa


DSC06516.jpg

พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน บุษบก วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06516.jpg (2009-5-29 04:01, 48.7 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MTl8NzNlN2QxMWZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 04:02

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:29 โดย pimnuttapa

  
DSC06399.jpg

พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ประดิษฐานพระเกศาธาตุ ต่อมาพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วนาน ๒๑๘ ปี มีพระอรหันต์สององค์ชื่อพระกุมมาระกัสสปะนำเอาพระบรมธาตุส่วนไหล่ข้างขวา (พระนลาฏ) และพระเมฆิยะเถระนำเอาพระบรมธาตุส่วนลำคอข้างหน้าข้างหลัง และพระบรมส่วนพระศอ ๘๔๐๐ องค์ มาบรรจุไว้อีก ประดิษฐานด้านหลัง วิหารหลวงค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06399.jpg (2009-5-29 04:07, 60.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjB8MGE1MzdkZTR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 04:04

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:30 โดย pimnuttapa

  
DSC06454.jpg

พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ทรงกลมแบบล้านนาผสมทรงกลมลังกา โดยรับอิทธิพลมาจากศิลปะสุโขทัย เพราะช่วงนั้นมีการติดต่อกับอาณาจักรสุโขทัยด้วย แต่รับมาปรับให้เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง คือองค์พระบรมธาตุเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทาบด้วยแผ่นทองเหลืองทองแดงทั่วทั้งองค์ มีฐานกว้างด้านละ ๒๔ เมตร สูง ๔๕ เมตร ตั้งอยู่บนฐานสูงมาก ย่อมุม ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียง, ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัด, ฐานกลม แล้วจึงเป็นเรือนธาตุบุด้วยแผ่นทองแดงปิดทอง (ทางเหนือ เรียกว่า ทองจังโกฏิ)

แผ่นโลหะเหล่านี้มีลายสลักดุลเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ไม่ซ้ำกันแม้แต่แผ่นเดียวนับเป็นแบบอย่างลวดลายศิลปะล้านนาไทยที่ประมวลกันอยู่มากที่สุด ณ ที่เดียวกัน มีกำแพงแก้ว ลูกกรงสำริด ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีกำแพงแก้วลูกกรงสัมฤทธิ์ยอดดอกบัวล้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สลักลวดลายแบบต่างๆ กันไป ที่องค์พระบรมธาตุเจดีย์จนถึงยอดเป็นลายดุลรูปพันธุ์พฤกษา ซึ่งแต่ละแผ่นลายจะไม่ซ้ำกันเพราะทำด้วยมือทุกแผ่น ทั้ง 4 มุมขององค์พระบรมธาตุเจดีย์มีฉัตรทองประดับอยู่เป็นศิลปะพม่า ด้านหน้าประตูมีสิงห์พม่าประดับอยู่ด้วย

องค์พระบรมธาตุเจดีย์ ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากเจ้าผู้ครองนครลำปางมาหลายยุคหลายสมัย โดยครั้งหลังสุดบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๓๙ เจ้าหาญศรีธัตถะ เป็นผู้บูรณะตราบจนปัจจุบัน อนึ่ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี จะมีการจัดงานแสง สี เสียงขึ้น ณ ลานพระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้ โดยมีการเลี้ยงขันโตก จุดบอกไฟ และตีกลางฟ้อนรำต่างๆ เรียกว่า งานหลวงเวียงละกอน ในแง่คตินิยมของชาวล้านนาแล้ว พระบรมธาตุเจดีย์แห่งนี้เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดในปีฉลูค่ะ





รูปภาพที่แนบมา: DSC06454.jpg (2009-5-29 04:09, 50.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjF8ZGQ5YmMxNWV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:11

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:38 โดย pimnuttapa

  
DSC06402.jpg

ตำนานพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง

เรียงเรียงจากตำนานพื้นเมือง โดย เกษม เกาะปินะ

ยาปาตุภูตาอตุลานุภาวา จีรังปะฏิฐฐิาลัมภะกัปปะปุเร เทเวนคุตตา อุตตรา ภิทัยยา นมามิหันตัง วะระชินะธาตุง กุมมาระ กัสสปัง นราตะธาตุโย เมฆิยะ มหาเถโร กะนะธาตุฐะ เปติมหาถาเน เจติยังปูชิตา นะระเทเวหิ อะหังวันทามิธาตุโย

สาตราจริกะ อ้างว่า สมัยเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงสำราญพระอิริยาบถอยู่เชตะวันอาราม คืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่ง พระองค์ทรงรำพึงว่า ตั้งแต่เราตถาคตได้ตรัสรู้เป็นสัพพัญญูตญาณมาถึงวันนี้นับได้ ๒๕ พรรษาแล้ว ต่อเมื่อเราตถาคตมีอายุครบ ๘๐ พรรษาเมื่อใด เราตถาคตก็จะเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว ควรเราตถาคตจักอธิษฐานธาตุให้ย่อยเพื่อให้คนและพระอรหันต์ ได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่ไหว้บูชาเสมอเหมือน ดังเราตถาคตยังทรมานอยู่ ทรงรำพึงดังนั้นแล้ว รุ่งขึ้นก็เป็นวันออกพรรษา องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์สามองค์กับพระอานนท์เถระเจ้ารวมอยู่ด้วยเป็น ๔ พระองค์ นอกจากนี้ก็มีพระเจ้าปเสนทิฯ ตามเสด็จออกจากเชตะวันอารามมหาวิหาร ลำดับไปตามบ้านน้อยใหญ่ทั้งหลาย จึงได้เสด็จถึงบ้านอันมีชื่อว่า “ลัมภะการีวัน” (บ้านลำปางหลวง)

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จนั่งอยู่เหนือดอยม่อนน้อย (เขาเตี้ย) ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อลั๊วะอ้ายกอน เห็นพระพุทธเจ้า มันเกิดมีความเลื่อมใสได้นำเอาน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้าง (ไม้ข้าวหลามไม้เปราะ) มะพร้าวและมะตูมอย่างละ ๔ ลูก มาน้อมถวายต่อพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงรับเอาแล้วจึงส่งมอบกระบอกน้ำผึ้งนั้นให้พระอานนท์เถระเจ้าไปกรองลงในบาตร แล้วพระองค์จึงฉันน้ำผึ้งนั้น เสร็จแล้วพระองค์จึงทิ้งกระบอกไม้นั้นไปตกทางทิศเหนือ พระพุทธองค์จึงทรงพยากรณ์ว่า สถานที่นี้ต่อไปจักมีผู้มาสร้างเป็นเมืองมีชื่อว่า “ลัมภะกัปปะนคร” และต่อนั้นพระองค์ก็ยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นลูบพระเศียร ได้เกศา ๑ เส้นติดพระหัตถ์มา แล้วพระองค์ทรงมอบให้แก่ลั๊วะอ้ายกอน ลั๊วะอ้ายกอนรับเอาพระเกศา โดยความโสมนัสเป็นล้นพ้นแล้วนำลงบรรจุในผอบทองคำใหญ่ ๘ กำ

ขณะนั้นพระเจ้าปเสนทิฯ พร้อมด้วยพระอรหันต์เจ้าจึงได้ขุดหลุมอันหนึ่งกว้าง ๕ วา ลึก ๕ วา แล้วอัญเชิญผอบพระเกศาลงไปประดิษฐานท่ามกลางหลุมนั้น พระเจ้าปเสนทิฯ และลั๊วะอ้ายกอนก็ได้นำเอาแก้วแหวนเงินทองเป็นจำนวนมากมาถวายเป็นพุทธบูชาลงฝังในหลุมนั้น เสร็จแล้วก็ได้แต่งยันต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ จัดการถมดินดีแล้วก็ก่อเป็นเจดีย์ข้างบนหลุมอุโมงค์นั้นสูง ๗ ศอก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพยากรณ์ต่อไปว่า เมื่อเราตถาคตเข้าสู่ปรินิพพานแล้วนาน ๒๑๘ ปี จักมีพระอรหันต์ลูกศิษย์เราตถาคต ๒ องค์ หนึ่งชื่อกุมาระกัสปะเถระจักได้นำเอาอัฐิพระนลาฏข้างขวา และเมฆิยะเถระจักได้นำเอาอัฐิลำคอข้างหน้าหลังของเราตถาคตมาบรรจุไว้ในที่นี้อีก เจดีย์นี้จักปรากฏเป็นพระเจดีย์ทองคำและได้ชื่อว่า “ลัมภะกัปปะ” แล้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จจาริกไปตามบ้านน้อยเมืองใหญ่ต่อไป





รูปภาพที่แนบมา: DSC06402.jpg (2009-5-29 08:58, 45.49 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDl8YjQ5N2YwNWR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:11

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:38 โดย pimnuttapa

  
DSC06478.jpg

ตำนานพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง (ต่อ)

จากตำนานตอนพระยาพระยาศรีธรรมาโศกราชสร้างพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง

ตามตำนานนี้ยังมีการอ้างอิงต่อไปอีกว่า ครั้งกระนั้นมีมหาเถรชาวเชียงใหม่ ๒ รูป ได้จาริกลงไปสู่เมืองอโยธิยาฝ่ายใต้ เพื่อเที่ยวนมัสการพระบรมสารีริกธาตุในเมืองนั้นได้พบมหาเถรชาวอโยธิยาเข้า พระมหาเถรองค์นั้นจึงถามว่า อาวุโส ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าอยู่ประเทศใด ส่วนพระมหาเถรเจ้าชาวเชียงใหม่จึงตอบว่า ภันเต ข้าแต่เจ้ากู ตูข้ามาในประเทศบ้านเมืองอันนี้จักมีกิจอันใดนั้นหาไม่ ตูข้ามาเพื่อจักมาไหว้และบูชาพระบรมสารีริกธาตุ อันมีอยู่ในเมืองแห่งนี้ด้วย และตูนี้ก็ได้มาจากเมืองอันมีชื่อว่า ระมิงค์อันตั้งอยู่ภายหนเหนือน้ำด่าย เมื่อนั้นพระมหาเถรเจ้าชาวอโยธิยาจึงได้บอกว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้านั้น ทางเมืองอันมีหนเหนือน้ำมีมากกว่า และบอกต่อไปว่าที่มีมากนั้น คือที่เมืองหริภุญชัยนั้นและลัมภะกัปปะนคร พระมหาเถรชาวเชียงใหม่กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่มีในหริภุญชัยนั้น ข้าหากรู้แล้ว ส่วนที่มีลัมภะกัปปะนครนั้น ยังไม่ปรากฏแก่ข้าพเจ้าทั้งสองเลย ครั้นแล้วมหาเถรเจ้าทั้ง ๒ จึงขอเขียนเอาตำนานดังกล่าวต่อมหาเถรเจ้านั้น ดังข้อความดังต่อไปนี้

เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ปรินิพพานไปนานแล้ว ๒๑๘ ปี วันนั้น มีพระยาองค์หนึ่งชื่อว่าพระยาศรีธรรมาโศกราช ได้ชำนะข้าศึกทั้งหลายแล้ว ได้อาศัยเจ้านิโคธสามเณร ได้ทรงเลิกถอนความเลื่อมใสต่อพวกอยัติฐีทั้งหลายเสียแล้ว จึงบังเกิดปสาทะศรัทธาอันแก่กล้าต่อบวรพุทธศาสนา อยากจะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุให้ได้ ๘๔,๐๐๐ องค์ พระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ทั้งนี้เพื่อเป็นการถวายเป็นการบูชาแด่พระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ต่อมาพระองค์ก็ได้พบพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์นครแล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่กรุงปาตลีบุตรมหานคร พระองค์จึงสั่งให้หัวเมืองทั้หลายในชมภูทวีป ให้ทำการก่อสร้างพระเจดีย์ พระวิหารรวมทั้งสิ้นอย่างละ ๘๔,๐๐๐ เสร็จแล้ว พระองค์จึงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมอบให้พระเถระเจ้าทั้งหลายให้อัญเชิญไปประดิษฐานในพระเจดีย์นั้นๆ ส่วนพระกุมาระกัสสะปะเถระเจ้ากับพระเมฆิยะเถระเจ้าต่างก็อัญเชิญเอาพระ บรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าตามดังกล่าวแล้วในหนหลังมาประดิษฐานไว้ที่พระเจดีย์ลัมภะกัปปะนคร (วัดพระธาตุลำปางหลวง) ตำนานตอนพระยาพระยาศรีธรรมาโศกราชสร้างพระเจดีย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ และพระวิหาร ๘๔,๐๐๐ หลัง ได้จบลงเพียงเท่านี้

ตำนานอ้างอิงกล่าวตามพงศาวดาร (พงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม  บุญนาค) หน้า 468) และตำนานวัดพระธาตุลำปางหลวง

ต่อแต่นั้นมาเป็นเวลานาน (ศักราชไม่ปรากฏ) มีพระยาองค์หนึ่งได้เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองสุวรรณภูมิ มีพระนามว่า พระยาจันทะเทวราช รู้ข่าวว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่พระยาศรีธรรมาโศกราชได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดลัมภะกัปปะนครนั้น อค์เจดีย์ได้ชำรุดทรุดโทรมลง พระยาจันทะเทวราชทรงเอมใสอยากได้มาไว้น้นเมืองของพระองค์ พระองค์จึงเสด็จมาโดยจตุรงค์เสนาถึงวัดลัมภะกัปปะนคร ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุแล้วพระองค์ก็ได้จัดการพักพลตั้งค่ายรายล้อมบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วพะองค์ก็ได้จัดสมโภชเป็นมหกรรมครบ ๗ วันแว พรองค์ก็ได้ตั้งสัจะอธิษฐานขออัญเญพระรมสารีริกธาตุเด้จออกจากหลุมตั้งสามครั้งพระบรมสาริกธาตุหาได้เสด็จออกไม่ คานี้พระองค์จึงบญชาให้อำมาตย์ทั้งหลาย ของพระองค์ทำการขุดดินลงไปแล้ว อัญเชิญผอบที่บรรจุพระบรมสารีริกธุออกจากหลุมแล้วอัญเชิญขึ้หลังช้างทรงแล้วเลิกทัพกลับไปสู่เมืองสุวรรณภูมิ ถึงแล้วพระองค์ก็ให้จัดการสมโภชปาฏิหาริย์ลอยขึ้นสู่อากาศทั้งผอบทองคำที่บรรจุแล้วเสด็จกลับไปลัมภะกัปปะนครตามเดิม พระองค์มีความน้อยพระทัยเป็นล้นพ้น

รุ่งขึ้น พระองค์สั่งให้เตรียมกองทัพสร็จแล้วเสด็จออกติดตามพระบรมสารีริกธาตุ จนบรรลุถึงลัมภะกัปปะนคร ก็ทรงเห็นผอบพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุตั้งอยู่ที่เดิมเป็นปกติ ดังนั้นพระองค์จึงกราบไหว้พระบรมสารีริกุ โดยความเคารพและเลื่อใสเป็นล้นพ้น พระองค์จึงได้สั่งให้จัดการพักพลเรียบร้อย พระองค์ก็จัดการตบแต่งหลุมที่จักประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุให้กว้างด้านละ ๑๐ วา ลึก ๒๐ วา ปราบพื้นก้นหลุมให้ราบเรียบดีงาม แล้วจึงก่อด้วยอิฐเงิน อิฐทอง สูงจากก้นหลุมขึ้นมา ๔ ศอก ตกแต่งผอบเงินอีกอันหนึ่งเพื่อบรรจุผอบทองคำเดิม ประดิษฐานไว้เหนือหลังสิงห์อันหล่อด้วยทองคำ แล้วก็นำเอาสิงห์คำนี้ลงไปตั้งไว้เหนืออิฐทองคำท่ามกลางหลุม เสร็จแล้วพระองค์ก็ให้ช่างก่อเจดีย์อันหนึ่ง หุ้มสิงห์ทองคำนั้น เจดีย์มีรูปสัณฐานเหมือนฟองน้ำ แล้วพระองค์ก็ตั้งเครื่องบูชาคือดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองคำ ประทีปเน ประทีปทองคำ ล้อมรอบไว้ทุกๆ ด้าน นอกจากนั้น แล้วพระองค์ก็สร้างหุ่นยนต์มีมือถืออาวุธไว้ทั้ง ๔ ด้าน ทั้งนี้เพื่อจักได้รักษาพระบรมสารีริกธาตุให้มั่นคงต่อไป ต่อนั้นพระองค์ก็ได้ก่ออุโมงค์หุ้มหุ่นยนต์นั้นไว้อีก ถัดนั้นก็ให้ก่อกลบด้วยแผ่นเงิน แล้วถมด้วยหินศิลาแลงให้เสมอด้วยดิน โบกด้วยปูนให้แน่นหนาแข็งแรง เสร็จแล้ว

เมื่อนั้นพระองค์จึงตรัสแก่เหล่าอำมาตย์ทั้งหลายว่ากิจการทั้งหลายเราก็ได้กระทำสำเร็จแล้วบดนี้ยังมีทองคำเหือเศษจากการนี้อีก ๔ โกฏิ์ ยังไม่รู้ว่าจักเก็บไว้นที่แห่งใด พระอค์และอำมาตย์ได้ปรึกษาตกลงกันแว จึงได้นำเอาทองจำนวน ๒ โกฏิ์ ให้นำไปฝังไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้วัดท่าผา 2 โกฎิ์ ห่างจากวัดท่าผาประมาณ ๑๐๐ วา (วัดท่านี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้วัดพระธาตุลำปางหลวง ๓ ก.ม. ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ว่าการอำเภอเกาะคาประมาณ ๒๕ เส้น เป็นวัดเก่าแก่มีพระพุทธรูปโบราณมาก และทางทิศตันตกเฉียงใต้วัดท่าผาไกลประมาณ ๑๐๐ วานั้น มีหลุมเก่าหลุมแก่นี้ชาวบ้านเรียก่า “ขุมคำ” (ยังปรากฏอยู่)  และทองคำที่เหลืออีก ๒ โกฏิ์ ก็ให้นำไปฝังไว้ที่ดอย “พี่น้อง” ทางทิศเหนือเมืองเตริน (เห็นจะเป็นเมืองเถินหรือห้วยยแม่เตินเหนืออำเภอเถิน) เมื่อฝังเสร็จแล้วพระเจ้าจันทะเทวราชก็ตั้งสัจจอธิษฐานว่านับแต่นี้ไปเมื่อหน้า ขอให้ท้าวพระยาและบุคคลที่มีบุญญาธิการมีใจเลื่อมใสในพุทธศาสนา และพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระพุทธเจ้าที่ประดิษฐานอยู่ในมืองลัมภะกัปปะนครนี้จงมาขุดเอาทองคำ ๔ โกฏิ์ ไปกระทำการก่อสร้างองค์พระเจดีย์ ให้รุ่งเรืองถาวรตลอด ๕,๐๐๐ พรรษา พระองค์กระทำสัจจอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็กราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุโดยอาการคบยำ (เคารพนับถือ) เพื่อขมาโทษและอำลาเสด็จแล้วเสด้จกลับสู่เมืองสุวรรณภูมิอันเป็นเมืองแห่งพระองค์ จบตอนพระยาจันทะเทราช

ต่อจากนั้นมาเป็นเวลานาน (ไม่ปรากฏศักราช) มีพระยาสามัญตราองค์หนึ่งชื่อว่า พระยาพละ (เจ้าเมืองแพร่) เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองอันตั้งอยู่ใกล้เมืองลัมภะกัปปะนครนี้ รู้ประวัติว่า พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามีอยูในเมืองลัมภะกัปปะนคร พระองค์อยากจะได้จึงเสด็จมาโดยเหล่าเสนาทั้ง ๔ เมื่อมาถึงแล้ว พระองค์ทรงให้ขัดราชวัตรรอบบริเวณที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแล้ว ให้คนทำการขุดที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็พบแผ่นเงินที่กลบหลังหุ่นยนต์ ก็ให้ยกเอาแผ่นเงินนั้นออกเสีย แล้วขุดต่อลงไปจนถึงอุโมงค์ของหุ่นยนต์ คราวนี้ทำการขุดล่วงล้ำลงไปไม่ได้ เพราะหุ่นยนต์ได้ป้องกันรักษา พระองค์จึงให้หาก้อนหิน ทราย ดินและท่อนไม้ใหญ่ๆ มากองรอบบริเวณปากหลุมเป็นอันมากแล้วจึงให้คนพร้อมกันทิ้งวัตถุเหล่านั้นลงไปในหลุม แต่วัตถุเหล่านั้นย่อยเป็นผงพุ่งกลับขึ้นมา หาอาจทำลายหุ่นยนต์นั้นได้ไม่

พระองค์ให้กระทำเช่นนี้ ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง ก็ไม่บังเกิดผล พระองค์จนปัญญา จึงให้คนทั้งหลายถมดินแต่ข้างหลังหุ่นยนต์นั้นขึ้นมาจึงหุ้มอุโมงค์นั้นแล้ว พระองค์จึงให้หาคนผู้กระทำความผิด ๔ คน มาฆ่าแล้วเอาหัวสุมกันให้เท้าชี้ไปคนละทิศ ทั้งนี้เพื่อให้ ๔ คน ทำการรักษาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป แล้วถ่มดินนั้นขึ้นมาจนเสมอพื้นดังกล่าว แล้วจึงให้หาไม้ขะจาวมาปลูกไว้ตรงกลางหลุมนั้น ๑ ต้น นอกจากนี้ก็ให้ปลูกไม้ขะจาวไว้ทั้ง ๔ ทิศ ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องหมายไว้ว่า วันหนึ่งข้างหน้าหุ่นยนต์ต้องชำรุดหักพังลง แล้วพระองค์จะได้มาขุดเอาพระบรมสารีริกธาตุต่อไป เสร็จแล้วพระองค์พร้อมด้วยจตุรงค์เสนาได้เสด็จกลับบ้านเมืองแห่งพระองค์ ตำนานตอนพระยาพละก็จบเพียงเท่านี้ (พละคือกำลัง)





รูปภาพที่แนบมา: DSC06478.jpg (2009-5-29 04:19, 49.29 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjN8ZWZiMjUzZmF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:11

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:39 โดย pimnuttapa


DSC06460.jpg

ตำนานพระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง (ต่อ)   

ตำนานพระแม่เจ้าจามเทวี

เมื่อ พ.ศ. ๑๒๐๐ เศษ เจ้าแม่มหาเทวี (พระนางจามเทวี) ได้เสวยราชสมบัติในเมืองหริภุญชัย มีอานุภาพมาก ครั้งหนึ่งพระองค์เสด็จไปทัพแม่สลิตเสร็จแล้ว เสด็จกลับได้ผ่านมาตั้งค่ายพักที่สบยาว (ปากห้วยแม่ยาวไหลมาบรรจบแม่น้ำวังทางทิศใต้ของวัดพระธาตุลำปางหลวง ห่าง ๒ กม.) ขณะที่พระนางประทับอยู่ในค่ายด้วยความสำราญนั้น เวลานั้นเป็นเวลาปัจฉิมยาม ก็ได้เห็นแสดงปาฏิหาริย์มาจากลัมภะกัปปะนครตกลงกลางค่ายพักของพระนาง ครั้งนี้ทำให้พระนางเข้าพระทัยว่า ชาวบ้านแถบนั้นหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระนาง โดยแกล้งจุดไฟโตนดให้มาตก รุ่งขึ้นพระนางจึงได้เรียกเสนาบดีผู้ใหญ่เข้าเฝ้า เล่าเหตุการณ์ที่พระนางได้เห็นเมื่อกลางคืนให้ฟัง เสนาบดีได้รับทราบเหตุ จึงได้ถามคนอื่นๆ ว่ามีคนใดได้เห็นไฟโตนดมาตกลงกลางค่ายพักนี้บ้าง คนทั้งหลายเหล่านั้นก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่ได้เห็นเลย ขณะนั้นมีชายผู้หนึ่งชื่อล่ามพันทองอยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลว่า ที่พระแม่เจ้าอยู่หัวได้เห็นไฟโตนดตกนั้นหาใช่ไฟโตนดไม่ ที่แท้คือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าอันตั้งอยู่วัดลัมภะกัปปะนคร หากเสด็จแสดงปาฎิหาริย์ให้พระแม่เจ้าอยู่หัวได้ทราบ ทั้งนี้โดยบุญญาธิการของพระแม่เจ้าอยู่หัวต่างหาก

เมื่อชายคนนั้นกราบทูลให้พระนางทรงทราบดังนั้นแล้ว พระนางก็ทรงเข้าพระทัยโดยปัญญาของพระนาง แล้วพระนางก็สั่งให้เตรียมพลยกไปถึงลัมภะกัปปะนครสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า พระนางเสด็จลงจากหลังช้างทรงแล้ว ก็เสด็จเข้าไปกราบไหว้ตรงที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุโดยอาการอันเคารพยิ่ง ฝ่ายชาวบ้านชาวเมืองเมื่อทราบข่าวว่า พระแม่เจ้าจามเทวีเสด็จมาถึง ต่างก็ชักชวนกันมาเพื่อเฝ้าชมพระบารมีของพระแม่เจ้า ส่วนพระแม่เจ้าก็ทรงปราศรัยด้วยชาวบ้านชาวเมืองเหล่านั้นโดยทรงถามถึงทุกข์สุขหรือได้รับความเดือดร้อนโดยประการใดบ้าง ชาวบ้านชาวเมืองเหล่านั้นก็กราบทูลให้พระแม่เจ้าทรงทราบว่า ความเดือดร้อนอันอื่นใดจักได้เกิดแก่พวกข้าพเจ้าทั้งหลายหามิได้ นอกจากความเดือดร้อนอันเกิดจากการขาดแคลนน้ำบริโภคเท่านั้น และกราบทูลต่อไปว่า น้ำที่ใช้บริโภคที่ต้องใช้อยู่ทุกวันนี้ต้องนำเอาเกวียนไปบรรทุกเอามาจากแม่น้ำวังและห้วยแม่น้ำยาวอันเป็นระยะไกลมาก เมื่อจักขุดบ่อน้ำในบริเวณนี้ก็หาสายน้ำมิได้  จึงอันจนใจของพวกข้าพเจ้าเป็นอันมาก

เมื่อพระแม่เจ้าได้ยินชาวบ้านชาวเมืองกราบทูลดังนั้น พระองค์ก็ทรงสงสารชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนโดยขาดน้ำบริโภคเป็นอันมาก ก่อนที่พระแม่เจ้าจะเสด็จจากสถานที่นั้น พระองค์ก็ทรงกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุโดยความเคารพ แล้วทรงกล่าวสัจจอธิฐานว่า ถ้าหากว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ที่พระอรหันต์และพระยาศรีธรรมาโศกราชนำมาประดิษฐานไว้จริงแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าขอให้สายน้ำจงแตกออกตรงใจกลางเมืองอันนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่อาศัยแก่หมู่คนทั้งหลายอันได้รับความเดือดร้อนนั้น เมื่อพระแม่เจ้ากระทำสัจจอธิษฐานเสร็จแล้วก็กราบไหว้ด้วยความเคารพอีกครั้ง แล้วพระองค์ก็ดำเนินมาขึ้นหลังช้างทรงที่เตรียมไว้แล้วเสด็จยาตรากองทัพไปสู่เมืองตาลเมืองรมณีย์อันเป็นที่ทรงพระสำราญของพระองค์ (เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์นี้เป็นเมืองร้างตั้งอยู่ระหว่างดอยขุนตาลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของที่ว่าการอำเภอห้างฉัตร)





รูปภาพที่แนบมา: DSC06460.jpg (2009-5-29 04:26, 54.25 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjR8ZTE0NGI0MzZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:30

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:39 โดย pimnuttapa

  
DSC06586.jpg

ตำนานพระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง (ต่อ)  

วันนี้เวลาเย็นเมื่อขบวนเสด็จของพระแม่เจ้าเสด็จไปแล้วก็มีหญิงแก่ผู้หนึ่งชื่อ “ย่าลอน”  ได้เข้าไปพบเห็นที่บริเวณแห่งหนึ่งมีรอยน้ำซึมออกมาบนผิวดิน นางก็คุ้นเขี่ยดูก็พบสายน้ำพุ่งออกมา เมื่อเป็นเช่นนั้นนางก็ไปบอกกล่าวชาวบ้านทั้งหลายมาดู และชาวบ้านเหล่านั้นก็หาเสียมมาขุดดินให้เป็นบ่อก็พบสายน้ำพุ่งขึ้นมาแรงนัก คนเหล่านั้นก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่หากเกิดด้วยบุญญาธิการแห่งพระแม่เจ้าอันกระทำสัจจอธิฐานเป็นมั่นคง น้ำในบ่อน้ำนี้ผิดกับน้ำที่มีในบ่อน้ำแห่งอื่นๆ คือ ใสเย็น มีรสกินกลิ่นอร่อย (บ่อน้ำนี้ก็ยังมีอยู่กระทั้งทุกวันนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่า “น้ำบ่อเลี้ยง” ในบ้านนี้ไม่มีน้ำบ่อที่ไหนเลย ทุกครัวต้องอาศัยบ่อน้ำนี้แห่งเดียว)

รุ่งขึ้นผู้เป็นเฒ่าบ้าน (พ่อเมือง) ก็ให้หาไหอันใหม่อันดีงามมาตักเอาน้ำบ่อนั้นใส่หุ้มปากไหด้วยผ้าอันใหม่ แล้วใช้คนหามขึ้นไปถวายพระแม่เจ้าจามเทวีในเมืองตาลหรือเมืองรมณีย์ เมื่อพระแม่เจ้าทอดพระเนตรเห็นมีผู้นำเอาไหน้ำมาถวาย จึงตรัสถามว่า ไหอันนี้เป็นสิ่งใด คนเหล่านั้นก็กราบทูลตามเหตุการณ์อันบังเกิดขึ้นหลังจากพระแม่เจ้าได้เสด็จจากลัมภะกัปปะนครแล้ว ให้พระแม่เจ้าทรงทราบทุกประการ เมื่อพระแม่เจ้าได้ทรงทราบดังนั้นแล้ว ก็บังเกิดมีความปีติเป็นอันมาก แล้วพระแม่เจ้าก็ทรงรับสั่งให้นางเฒ่าแก่ซึ่งเฝ้าอยู่ในที่นั้นชิมน้ำนั้นดู นางเฒ่าแก่ชิมน้ำแล้วก็กราบทูลว่า น้ำอันนี้มีรสดีกว่าน้ำ ๗ ริน อันอยู่ในเมืองหริภุญชัยของพระองค์ ต่อนี้พระนางจึงรับสั่งให้อำมาตย์จัดคนให้ติดตามชาวบ้านลัมภะกัปปะนครไปเลือกหาชัยภูมิที่จะปลูกพลับพลาที่ประทับของพระองค์ เมื่ออำมาตย์เลือกหาชัยภูมิอันดีได้แล้ว ก็จัดการให้คนช่วยกันปลูกสร้างพลับพลา เสร็จเรียบร้อยแล้วอำมาตย์ก็กลับไปกราบทูลให้พระแม่เจ้าทรงทราบ แล้วพระแม่เจ้าก็ให้เตรียมกระบวนยาตราออกจากเมืองตาลเมืองรมณีย์ถึงพลับพลาในลัมภะกัปปะนครแล้วเสด็จพักผ่อนพระอิริยาบถเพื่อให้หายเหน็ดเหนื่อย แล้ว พระแม่เจ้าก็จัดแจงชำระสระทรงพระวรกายให้หมดจดแต่งพระองค์เสร็จแล้ว พระแม่เจ้าเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปนมัสการพระบรมสารีริกธาตุโดยเครื่องสักการะเป็นจำนวนมากแล้วพระแม่เจ้าก็มีการสั่งให้ฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุตลอด ๗ วัน ๗ คืน

เสร็จแล้วพระแม่เจ้าจึงมีการจัดถวายนาราคาล้านเบี้ยให้เป็นนาของพระบรมสารีริกธาตุ และถวายล่ามพันทองกับนางดอกไม้ที่เป็นทาสาและทาสีของพระแม่เจ้าให้อยู่เป็นผู้ปฏิบัติรักษาพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนี้พระแม่เจ้ายังได้ถวายข้าทาสชายหญิงของพระแม่เจ้าอีก ๘ ครัว ให้อยู่ปฏิบัติรักษาพระบรมสารีริกธาตุ กับไว้ข้าทาสชายหญิง ๒ ครัว เพื่อให้ปฏิบัติรักษาบ่อน้ำอันที่เกิดจากการตั้งสัจจอธิฐานของพระองค์ พระแม่เจ้าทรงเสด็จสำราญพระอิริยาบถพักผ่อนตามสมควร แล้ววันหนึ่งจึงตรัสสั่งให้อำมาตย์เตรียมพลจัดยกกลับไปสู่เมืองตาลหรือเมืองรมณีย์อันเป็นที่สำราญของพระองค์ ตามตำนานของพระแม่เจ้าจามเทวีก็จบเพียงเท่านี้ค่ะ





รูปภาพที่แนบมา: DSC06586.jpg (2009-5-29 04:36, 40.78 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjV8OTZjZmY3ODd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:30

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:40 โดย pimnuttapa

  
DSC06453.jpg

ตามตำนานจากหลักศิลาจารึก

ข้อความต่อจากนี้เป็นข้อความที่ได้คัดเอาจากศิลาจารึก (เรียงตามอายุแก่ที่สุดไปจนถึงอ่อนดังต่อไปนี้)

หลักศิลาจารึกที่ ๑
ปีกัดใส้ (ปีมะเส็ง) จุลศักราช ๘๑๑ พ.ศ. ๑๙๙๒ เจ้าเมืองหาญแต่ท้องมาครองเมืองนครแล้ว (เจ้าหาญแต่ท้องเป็นราชบุตรหมื่นด้งนคร) อาศัยเซิ่งมหาเถรเจ้าอัตฐทัคศรีเป็นประธานขออาณาเขตแต่พระยาติโลกรัตนะบพิตรเจ้าองค์เสวยราชสมบัติในบุรีนพราชธานีเชียงใหม่ เพื่อจักประดิษฐานพระเจดีย์ไว้เหนือที่สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่ลัมภะกัปปะนคร ได้รับราชอาณาเขตแล้ว ก็ให้ชำระประเทศอันจักประดิษฐานเจติยะ ตัดไม้ขจาวต้นอันพระยาพละปลูกไว้เป็นที่สังเกตนั้นเสียแล้ว ก็ให้ขุดลงไปภายต่ำได้กระดูกคนทั้ง ๔ ที่พระยาพละราชฝังไว้นั้น พระองค์ก็ให้ประดิษฐานเจติยะหลังหนึ่งกว้าง ๙ วา ลวงสูง ๑๕ วา อันสำเร็จด้วยอิฐและสะตาย (โบกปูน)อันบริสุทธิ์ทุกสิ่ง แล้วพระยาก็ให้ก่อปาทะลักขณะแล้ว (พระพุทธบาท) ให้เสร็จบริบูรณ์ตอนเจ้าเมืองหาญแต่ท้องก็จบลงเพียงเท่านี้

หลักศิลาจารึกที่ ๒
จุลศักราช ๘๓๘ พ.ศ. ๒๐๑๙ ตัวปีรวายสัน (ปีวอก) เดือนยี่ แรม ๓ ค่ำ วันพุธ ไทยเปิกสง้าได้ฤกษ์ ๗ ตัว ชื่อปุนนัพพะสุ เจ้าหมื่นคำเป๊กเป็นเชื้อขุน อยู่เมืองใต้มาอยู่ในอำนาจอาญาแห่งพระยาธรรมราชาติโลกะ (คือพระยาลกคำ อันเสวยเมืองปิงเชียงใหม่) ก็ใส่หมื่นคำเป๊กมากินเมืองนคร แล้วก็ได้เลิก (เลิก – ฟื้นฟู) ศาสนาพระมหาธาตุเจ้าลำปาง ให้แป๋งกำแพงแป๋งวิหารก็แล้ว (แป๋งคือการสร้าง) ก็ให้หล่อพระพุทธรูปเจ้าองค์หนึ่ง ประมาณแสนสิบหมื่นทองแสนสองหมื่น ให้ฉลองก็แล้วทุกประการไว้ในวิหารแล้วไว้ข้า ๔ ครัวให้รักษาให้แป๋งศาลาและบ่อน้ำ เผี้ยวถาง (ตัดถนน) มาต่อหน้าพระมหาธาตุเจติยะศรีรัตนะธาตุเจ้าก็บริบูรณ์ทั้งมวลเท่านั้น ท่านก็ตั้งคำปรารถนา เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อันจักมาภายหน้าแล้วไว้นากับพระพุทธเจ้า ๒๐ เข้า (ยี่สิบพันธ์ข้าวปลูก) สัปปุริสะเจ้าจงอนุโมทนาทุกคนเต๊อะ ตำนานตอนเจ้าหมื่นคำเป๊กก็จบเพียงนี้



DSC06480.jpg

หลักศิลาจารึกที่ ๓
จุลศักราช ๘๕๘ พ.ศ.๒๐๓๖ ตัวปีรวายสี (มะโรง) เดือน ๖ ออก ๑๐ ค่ำ วันอาทิตย์ ไทยร้วงใส้ ฤกษ์ ๖ ตัว ชื่ออทรายยามตูดแล้ว ๒ นาที เจ้าเมืองหาญศรีธัตถมหาสุรมนตรีมากินเมืองนี้ได้ ๖ เดือน จึงชักชวนชาวเจ้าสังฆะกับเจ้าหมื่นเจ้าพันกับนักบุญุทั้งหลายมาร่วมก่อตีนธรณีพระมหาธาตุเจ้า กว้าง ๑๒ วาก่อนแล ถัดนั้นมาปีเปิกสง้า (ปีมะเมีย) เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ วันพุธไทย ร้วงเหม้า ฤกษ์ ๒๖ ยาม พาดรุ่ง ๒ นาที จึงจักซ้ำก่อเล่า ก็แล้วบริมวลในปีกัดเม็ด (ปีมะแม) เดือน ๔ แรม ๘ ค่ำ วันพฤหัสบดีไทย เบีกสัน ฤกษ์ ๑๕ ตัว ยามตูดจว้ายแลมหาธาตุกว้าง ๑๒ วา เสี้ยงดินและอิฐล้านสามแสนสามพันแปดร้อยเจ็ดสิบสี่ก้อน เสี้ยงปูนติ้วตื้อ ๗ ล้าน ๙ แสนหมื่น ค่าปูน ๓ พัน ๘ ร้อย ๖ บาท เฟื้องเสี้ยว เงินค่าดินจี่ (อิฐเผา) หมื่น ๓ พัน ๔ บาท เงินซื้อน้ำอ้อยเลี้ยง ๕ พัน ๓ ร้อย ๓ บาท บาท เงินซื้อหนัง ๕ ร้อย ๙ บาท  เงินจ้างก่อเสี้ยงพันเงิน เป็นค่าทุกอันกับทั้งจ้างก่อและคำเสี้ยงท๕ หมื่น ๗ พัน ๔ ร้อย ๓๒ บาทเสี้ยงเงิน

เมื่อเจ้าเมืองอ้ายอ่ำเป็นลูกอ้ายเจ้าเมืองหาญแต่ท้องมากินเมืองนคร ได้เอาคำขึ้นมาใส่มหาธาตุเจ้า พัน ๔ ร้อยบาทซีกคำ คำเกือกเสี้ยว ๓ ร้อย ๓ บาทซีกคำ แลเมื่อเจ้าอ้ายอ่ำจักตายสั่งไว้ให้เอาเสนาหาญผู้ดีแห่งท่านผู้หนึ่งชื่อว่า หาญศรีทัตให้มากินเมืองแทน วันนั้นมหาราช เจ้าแผ่นดินชียงใหม่หลานพระยาลกคำ เจ้ายอดเชียงรายชื่อแก้วพันตา (พระยาเมืองแก้ว) ก็จึงให้นำเอาเจ้าเมืองหาญศรีทัตแขนเหล็กอันสับนางกายแขนทั้งลายกั้งอันยังอยู่กินเมืองนครลำปางแทนเจ้าเมืองอ้ายอ่ำแล้วก็ได้เอาคำขึ้นใส่มหาธาตุเจ้า ๗ พัน ร้อยบาทซีกเสี้ยว เสี้ยงคำเกือก ๗ พันร้อย ๕ บาทเฟื้อง รวมคำทั้งมวลได้หมื่น ๓ พัน ๒ ร้อย ๖ บาท ซีกเสี้ยวคำ เมื่อเจ้าอ้ายอ่ำเอาคำขึ้นใส่มหาธาตุเจ้าหลังก่อนนั้น พัน ๔ ร้อยบาทซีกคำ ยามนั้นเจ้าเมืองหาญศรีทัตบ่ได้กินเมืองนคร เทื่อท่านก็ได้เอาคำมาใส่มหาธาตุเจ้า พัน ๙ ร้อยบาทเฟื้องทองคำ วันนั้นแลเมื่อก่อมหาธาตุแล้ว เจ้าเมืองหาญศรีทัตก็เอาคำขึ้นใส่ ๕ พัน ๘ ร้อย ปลายเสี้ยวคำเล่าแล

ถัดปีนั้นล้วงเล้า (ปีระกา) เดือน ๓ ออก ๙ ค่ำ วันศุกร์ไทยเบีกสง้า ฤกษ์ ๑๗ ตัว หล่อพระล้านทองยามกันรุ่งและคำพอกพระล้านทองเจ้า ๓ สิบ ๒ คำ ร้อย ๖ สิบ ๒ เงินไถ่ข้าไว้กับ ๖ ครัว ค่า ๒ ร้อย ๖ สิบ ๗ เงิน ไว้นากับพระเจ้าล้านทอง ๒๐ ข้าว และคำปรารถนาเมืองนครให้ได้เถิงสุขในเมืองฟ้าเมืองคน แล้วให้ได้เป็นพระอรหันต์องค์วิเศษในสำนักพระอริยะเมตไตยเจ้าอนาคตจักมาภายหน้าแล สัปปุริสะเจ้าจงอนุโมทนาด้วยทุกผู้ทุกคน

ถัดนั้นมา ส่วนเจ้าเมืองหาญศรีทัตก็ให้หล่อพระทองเจ้าองค์หนึ่งน้ำหนักได้ ๓ หมื่นทอง แล้วก็นำแต่เวียงลำปางมาไว้วัดลำปางในวิหารด้านเหนือแล วิหารด้านตะวันตกไว้พระศิลาเจ้าอันพระยาละโว้พ่อนางจามเทวีให้มาไว้เป็นที่ไหว้แก่อนันตยผู้เป็นหลานตน อันอยู่กินเมืองนั้นแล พระพุทธเจ้าองค์หลวงอันอยู่ในวิหารด้านใต้ก็หากมีแต่ก่อนมาแล เจ้าเมืองหาญศรีทัตก่อมหาธาตุเจ้ากว้าง ๑๒ วา สูง ๒๑ วา และเมื่อลูนมานี้ ภายหลังพระราชครูเจ้าทำเอาฉัตรคำมาใส่ยอดมหาธาตุเสียในปีเบีกเสด (ปีจอ) นั้นยือแกนเหล็ก (ยืดแกนเหล็ก) ขึ้นแถม ๑ แล เมื่อลูนมานี้แผ่นดินไหวยอดมหาธาตุเจ้าในปีกดสัน (ปีวอก) มหาสังฆราชเจ้าอภัยะทิฐะเมธังคละเจ้า และมหาสังฆราชวิจิตรญาณเมตตาเจ้ายังบาระกาเป็นประธาน จึงจักยื้อแกนเหล็กขึ้นแถมอีก ๑ เล่า ที่นั้นพระมหาธาตุเจ้าสูง ๒๒ วา กับ ๑ อกแล

จุลศักราช ๙๖๔ พ.ศ. ๒๑๔๕ ตัว ปีขาลกัมโพชชะศรัยไทยภาษาว่าปีเต่ายี ในเหมันตฤดู มิคคะสิลมาสปุณณะมี ไทยภาษว่าเดือน ๓ เป็นเมงวัน ๕ ไทยก่าเหน้า จันทรเสด็จเข้าใกล้ นักขัตฤกษ์ ๒ ตัว ในเมษรวายษีอตีตะศาสนากาลล่วงแล้วได้ ๒๑๔๕ วรรษา และปลาย ๗ เดือนในวันนี้ อนาคตะวรศาสนาอันจักมาภายหน้าบ่น้อย ๒๘๔๕ วรรษา ปลาย ๕ เดือน แต่วันนี้ไปแล มหาอุปราชพระยาหลวงนครชัยบุรี มีราชศรัทธาในพระมหาธาตุเจ้าชักชวนพระสังฆะเจ้าและเสนาอำมาตย์ เจ้าขุน นักบุญทั้งหลาย มีคำแสนกำมาบูชาพระมหาธาตุเจ้ากับได้สร้างฉัตรมาใส่ยอดพระมหาธาตุเจ้า มีพระมหาสมเด็จวรัตนมังคละลัมภะกัปปะรามาธิปติกับพระมหาสังฆราชาวัดหลวง และมหาสังฆะโมคคลีเชียงยืน เป็นประธานให้แล้วบริบรูณ์ ภายนอกมีมหาอุปปาสกแสนมหาธาตุเป็นอุปถัมภ์ให้แล้วสหบุญญะการีทั้งหลายมวลจงอนุโมทนาเต๊อะ ในเมื่อลูนมานี้เล่าบ้านเมืองเป็นโกลาหละ ข้าศึกทั้งหลายได้มาม้างเทลำเวียงทองพระมหาธาตุเจ้าเสียเสี้ยง มีมหาาราชครูศรีกลางนคร สมเด็จรัตนะมังคละเจ้าลำปาง พร้อมกับพระสังฆะเจ้าและสหบุญญะการีจึงสร้างแปงตั้งใหม่แลลำเวียงทั้งมวล ๔ ร้อยสิบ ๒ เล่ม  

จุลศักราชได้ ๑๐๘๒ พ.ศ. ๒๒๖๓ ตัว ปีกุล ไทยภาษาว่าปีกัดไก๊เข้ามาในเหมันตา กิตติกามาศฤกษณะปักษะสัตตะมิคุลุทินนะวาระ ไถงไทยภาษาว่าเดือนยี่แรม ๗ ค่ำ พ่ำว่าได้วัน ๕ (วันพฤหัสบดี) ไทยกดยียามเตี่ยงวัน ภายในมีมหาวนะวาสีอรัญญศีลา (วัดไหล่หิน) และพระมหาพละปัญโยลำปางกับปาทิปติและพระหลวงเจ้าป่าตัน และสังฆะเจ้าทั้งมวล ภายนอกมีแสนหนังสือหลวงนคร พ่อเมืองทั้งมวลและขุนวัดทั้งมวลผู้เฒ่าผู้แก่ทุกใหญ่น้อยนารีหญิงชายได้พร้อมกันให้ชาวบ้านป่าตันทั้งมวลมีหมื่นมโนและนายบ้านผู้เฒ่าผู้แก่ได้พร้อมกันหล่อลำตองขึ้นใส่ยอดพระมหาธาตุเจ้านั้น จันทรจรณะเที่ยวเทียมเสมียงม่อสับเพราะหน้าล่อนักขัตฤกษ์ ตัวถ้วน ๑๕ ชื่อมิคคะสิระ ปรากฏในเมถุนราษ์ อตีตะศาสนากาลล่วงหน้าแล้วได้ ๒๒๖๓ พระวรรษา ปลาย ๗ เดือน ยิ่ง ๒๕ วัน อนาคตะวรศาสนายังภายหน้าบ่น้อย ๒๗๓๗ พระวรรษา ปลาย ๔ เดือน อีก ๗ วัน ตั้งแต่วันผูก ก็ถูกโบราณาจารย์ตราว่าไว้ได้ ๕๐๐๐ พระวรรษา เสร็จแล้วศรัทธาทายกะทั้งหลายทุกใหญ่น้อยหญิงชาย จงโมทนาทุกคนแด่

นะมะสัตถะ ศรีสวัสดีกรรมกรณะมหาชินาธาตุงสุวรรณะสัตตานุสัตตะ ปริมารตนะเสตะอุปปะลิฏิฐิตาปัญจะปมานา ปฏิมังขารณะลังคละวุฒฑิกา จุลศักราชได้ ๑๑๙๔ ตัว มะโรงฉนำกัมโพชะขอมภิศรัยเสด็จเข้ามาในฤดูเหมันตะมาสศุกรปักขะสุสยะสัตฐมีคุรุวารไถงไทยภาษาว่า ปีเต่าสีเดือน ๔ ออก ๖ ค่ำ พร่ำว่าได้พฤหัสบดี ไทยเบีกยี นาฑีติถี ๔๘ ตัว นาฑีฤกษ์ ๓๕ พระจันทรวรณะยุโยกโศรกเสด็จขอเข้าใกล้เทียมเสมียงม่อเฉพาะอว่ายหน้าล่อพระนักขัตฤกษ์ตัวถ้วน ๒๒ ชื่อว่าศราวรรณะเทวดาสถิตอยู่ในมกรปัตถวีราษี อะตีตะวรชินะศาสนากาลล่วงแล้วได้ ๒๓๗๕ พระวรรษา ปลาย ๘ เดือน ปลาย ๒๐ วัน นับแต่วันนี้คืนหลังอนาคตะวรพุทธศาสนา อันจักต่อมาภายหน้าบ่น้อยมี ๒๖๒๓ พระวรรษา ปลาย ๔ เดือน ปลาย ๑๐ วัน ทั้งวันพูกก็ถูกโบราณะศาสนะฎีกาบาลีสังเณฐะเหตุนั้น ปัฐมะมหามูละศรัทธาภายในและภายนอก ภายในหมายมีมหาสวาธุเจ้าสังฆะราชาเป็นเค้าแล พระอริยะสังฆะเจ้าทุกวัดวาอาราม

หนภายนอกเล่าหมายมีพระองค์เจ้าสุวรรณะหอคำเขลางค์ลัมภะกะบุรีราชธานีหัวเมืองแก้ว เจ้าพระยาชัยสงคราม เจ้าพระยาราชบุตรวราชกัณณิตฐาทุกตน และเจ้าพระยาศรีสุริยะวงษาจางวาง อันป็นวรราชปิตุฉาติดกับด้วยราชเทวีผู้เค้า ลำดับต่อเท้าผู้เป็นปลาย ราชบุตรา บุตรีทุกตน และท้าวพญาเสนาอำมาตย์ไพร่ราษฏร์ประชาทุกผู้ทุกคน มาล่ำเปิวเล็งหันยังพระมหาชินะธาตุเจ้า อันมหาวาตะลมใหญ่มาพัดตียังฉัตรและยอดแล้วตกลง เหตุนั้นจึงจักได้สมัคคะพร้อมเพรียงกับด้วยกัน แต่งยังราชะทูตตาคนใช้ล่องลงไปกราทูลฉลองไหว้สาถึงสมเด็จเอกะราชะพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงศรีอยุทธิยาทวาราวดีฝ่ายใต้ แผ่พระกุศลตามนัยยะเหตุทั้งมวล

สมเด็จเอกะราชะพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงศรีอยุทธิยาฝ่ายใต้มีพระหฤทัยยินดีปีติมากนัก จึงพระราชทานแก้วและทองดี คำปลิวโชตะกะถัมภะกะขึ้นมา จึงมาฉันทะพร้อมเพรียงกันริร่างสร้างแปง เลิกยังฉัตรใบปะฐะมะขึ้นแถมใหม่ ใหญ่รอบ ๙ กำ ๔ นิ้ว ใหญ่กว่าของเก่า ๔ นิ้ว ใบชั้นถ้วนทุติยะใหญ่รอบ ๗ กำ ๔ นิ้ว ใหญ่กว่าของเก่า ๔ นิ้ว ฉัตรอันเป็นของเก่าแต่โบราณมี ๕ ชั้น ซ้ำได้สร้างแปงฉัตรอันแล้วด้วยรัชชฏะขาขาอิฐดีใบ ๑ ได้น้ำหนัก ๗๕๓ ใหญ่รอบ ๒  กำ  ๒ นิ้ว ใบ ๑ แล้วด้วยสุวรรณะทองดีหนัก ๒๕๐ ใหญ่รอบ ๓ กำ ๒ นิ้ว ต่อปลายแกนเหล็กขึ้นแถมใหม่ ๒ ศอก ๑ คืบ ลูกหมากชมภูถ่ายให้แล้วด้วยรัชชะฏะหนัก ๔๕๐ ใหญ่ ๒ กำ ๓ นิ้ว สุวรรณทองดีห่อหุ้มปลายบนหนัก ๔๑ กรอง สุวรรณทองดีกาบบัวตุ้มแก้วยอด แก้วยอดฉัตรหนัก ๔๐๓ นับเข้าทั้งใบไรและยอดรวมสุวรรณะได้น้ำหนักสรรพทั้งมวล ๘๐๐ รัชชฏะหนัก ๑๑๐๐ เข้าด้วยกัน ฉัตร ๒ ใบ และรวมคำปลิวเสี้ยง ๑๘๙๑๒ แผ่น พระองค์เจ้าหอคำขึ้นเสวยราชย์บ้านเมืองนานได้ ๖ ปี แล้วตำนานเถิงหล้างจักได้สร้างแถมใหม่ให้ศาสนาก้านกุ้ง (เจริญ) รุ่งเรืองประเทืองบานงาม ให้เป็นถาวระวิบูละไว้ให้เป็นที่ไหว้และบูชาแก่คนและเทวดาตราบ ๕๐๐๐ พระวรษาแท้ดีหลี ด้วยนสันทะผละนาบุญทั้งหลายอันได้เลิกยกยอต่อพระมหาชินาธาตุเจ้าแกนฉัตรและยอดฉัตรขึ้นแถมอีก ๒ ชั้น ฝูงนี้คนข้าอันเป็นอิศราธิปฏิบ้านเมือง ขอตั้งคำปณิธานปรารถนาเป็นพระอรหันตาคนหนึ่ง ในสำนักพระอริยะเมตไตยเจ้าจะเกิดมาภายหน้านั้นแท้ อย่าคลาดอย่าคลาเที่ยงแท้ดีหลีเต๊อะ ผู้ข้านามะบัญญัติชื่อว่า พระภิกขัยภิกขุลิขิตตะอุตส่าห์แต้มเขียน เพื่อให้แล้วคำบุพพเจตนาแห่งมหาราชะหลวงเจ้าดีหลี นิพานะปัจจโยโหตุ โวนิจจังธุวังธุวัง

งานประเพณี
มีงานประเพณีประจำปีๆ ละ ๒ ครั้ง คือ เดือนยี่เป็ง เป็นประเพณีนมัสการพระบรมธาตุ วันปากปี ๑๖ เมษายน เป็นประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ พระแก้วมรกต เดือน ๖ เหนือเป็ง เป็นประเพณีนมัสการพระพุทธบาท ประเพณีของวัดพระธาตุลำปางหลวงนี้ เจ้าผู้คองนครตั้งครั้งโบราณกาล





รูปภาพที่แนบมา: DSC06453.jpg (2009-5-29 04:41, 49.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MjZ8M2JmMjY5OGF8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06480.jpg (2009-5-29 08:50, 37.82 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDh8NjkwNzQ2MmF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:46

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:40 โดย pimnuttapa


DSC06602.jpg

เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุ วัดพระธาตุลำปางหลวง พร้อมกันเลยนะคะ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวา จีรัง ปติฏฐา ลัมภะกัปปะปุเร เทเวนะ คุตตา อุตตะราภิธัยยา นะมามิ หันตัง วะระชินะธาตุง กุมาระ กัสสะปะ นะลาตะ ธาตุโย เมฆิยะมะหาเถโร กะนะ ธาตุง ฐะเปติ มะหาฐาเน เจติยัง นะระเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อม บูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานแม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงมีแต่ความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ





รูปภาพที่แนบมา: DSC06602.jpg (2009-5-29 04:54, 39.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mjd8MGFkNWI4NDl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:47

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:41 โดย pimnuttapa

  
DSC06491.jpg
DSC06499.jpg
DSC06461.jpg

หอยอ ประดิษฐานพระพุทธรูป อยู่รอบ สัตติบัญชร (รั้วหอก) พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06461.jpg (2009-5-29 04:59, 67.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mjh8ZTY3MjM4MWF8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06499.jpg (2009-5-29 05:04, 61.73 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mjl8NmNkODJhM2Z8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06491.jpg (2009-5-29 05:04, 69.93 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MzB8YzI3MzU3MGZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:49

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:41 โดย pimnuttapa

  
DSC06589.jpg
DSC06590.jpg






รูปภาพที่แนบมา: DSC06589.jpg (2009-5-29 05:08, 55.36 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MzN8MDRhOTFkMjV8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06590.jpg (2009-5-29 05:08, 47.43 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MzR8YjIwOTk5M2R8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:53

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:10  

DSC06588.jpg

รูปบุคคลนั่งชันเข่าอยู่ ๒ ด้าน เรียกว่า นัถ (ผู้ปกปักษ์รักษาเมือง ตามความเชื่อของพม่า เช่น ในวัดของพม่าที่พุกาม จะมีรูปปั้นนัถอยู่ถึง ๓๗ องค์ หัวหน้านัถมีชื่อว่า พญามหาคีรี คนที่จะกลายเป็นนัถได้นั้นต้องตายโหง) อยู่ด้านหน้า ซุ้มประตูทางเข้า/ออก พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06588.jpg (2009-5-29 05:10, 57.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MzV8MmJiMGVlYjJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:54

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:11  

DSC06494.jpg

รูปกุมภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06494.jpg (2009-5-29 05:11, 47.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1MzZ8MzM2ZWVhN2Z8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 15:54

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:13  

DSC06403.jpg

ต้นขะจาว วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

ประวัติต้นขะจาว ไม้ขะจาวตามตำนานกล่าวว่า ลั้วะอ้ายกอนใช้เป็นไม้คานหาบกระบอกน้ำผึ้งมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า แล้วนำเอาไม้นี้ปักทางปลายลง เลยเกิดเป็นต้นขึ้น อายุประมาณ ๒,๕๐๐ กว่าปี

รูปภาพที่แนบมา: DSC06403.jpg (2009-5-29 05:13, 64.21 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mzd8OTgyZWYwMzd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:10

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:42 โดย pimnuttapa

  
DSC06404.jpg

หอพระอุปคุต ประดิษฐานใต้ ต้นขะจาว วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06404.jpg (2009-5-29 05:16, 59.11 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 5
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mzh8OWFjMjM4YzJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:10

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:42 โดย pimnuttapa

  
DSC06405.jpg

รูปพระอุปคุตมหาเถระจกบาตร ประดิษฐานภายใน หอพระอุปคุต วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06405.jpg (2009-5-29 05:18, 56.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Mzl8NzJiOWQ4MmV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:10

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:42 โดย pimnuttapa

  
DSC06414.jpg

หออุตตระเทพบุตร ประดิษฐานใต้ ต้นขะจาว วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06414.jpg (2009-5-29 05:19, 64.09 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDB8ZmFiMjM4OGR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:10

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:43 โดย pimnuttapa

  
DSC06415.jpg

รูปอุตตระเทพบุตร ประดิษฐานภายใน หออุตตระเทพบุตร วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06415.jpg (2009-5-29 05:23, 59.88 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDF8ZmE1NTMzY2F8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:15

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:25  

DSC06409.jpg

หอระฆัง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06409.jpg (2009-5-29 05:25, 43.57 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDJ8NDMwOWY2MGZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:15

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:27  

DSC06418.jpg

ศาลาระฆัง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

“ระฆังใบใหญ่” เจ้าหอคำดวงทิพย์ เจ้าผู้ครองนครลำปาง สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๖ ส่วน “ระฆังใบเล็ก” เจ้าญาณรังษีราชธรรม เจ้าผู้ครองนครลำปาง สร้างถวายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑

รูปภาพที่แนบมา: DSC06418.jpg (2009-5-29 05:27, 52.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDN8MDdkM2YyZWN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:15

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:28  

DSC06412.jpg

วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวิหารบริวารอีกหลังหนึ่ง ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์คู่กับวิหารน้ำแต้มค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06412.jpg (2009-5-29 05:28, 40.64 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDR8NWIyNjFjNDl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:19

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:30  

DSC06421.jpg

วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง ตามตำนานไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด ใครเป็นผู้สร้าง แต่คงมีมาก่อนแล้วประมาณอายุ ๗๐๐ ปีเศษ เดิมทีเป็นวิหารเปิดโล่ง แต่ถูกซ่อมในพ.ศ. ๒๓๔๕ ตัววิหารจึงเป็นอาคารปิดทึบ ขนาดกว้างประมาณ ๑๐ เมตร ยาวประมาณ ๒๕ เมตร หน้าบันมีขนาดใหญ่ โครงสร้างอาคารกับผนังบางส่วนเป็นไม้ล้วน มีแต่ผนังที่ติดดินซึ่งใช้อิฐฉาบปูน ภายในวิหารมีรูปอากาศเป็นกลุ่มก้อน และรูปเงาพระบรมธาตุปรากฏด้วยค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06421.jpg (2009-5-29 05:30, 44.98 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDV8NTlhNjdmZDd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:19

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:43 โดย pimnuttapa


DSC06423.jpg
เดี๋ยวเราเข้าไปข้างในกันเลยนะคะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06423.jpg (2009-5-29 05:31, 53.7 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDZ8MjdmYmU4ZGR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:21

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:44 โดย pimnuttapa


DSC06426.jpg

พระประธานองค์ใหญ่ (พระเจ้าพระพุทธ) และพระพุทธรูปเชียงแสนองค์ใหญ่น้อย ประดิษฐานอยู่เต็มอาคาร ภายใน วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06426.jpg (2009-5-29 05:33, 53.7 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDd8N2ZjYzZmYTJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:22

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:44 โดย pimnuttapa

  
DSC06431.jpg

พระประธานองค์ใหญ่ (พระเจ้าพระพุทธ) ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง พระประธานองค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูนลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒๐๙ นิ้ว สูง ๒๒๕ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปสิงห์สามปางมารวิชัยศิลปะเชียงแสนที่สวยงามมากค่ะ

คำไหว้พระประธาน (พระเจ้าพระพุทธ)


  (กล่าวนะโม ๓ จบ) เขลังคะระเถหิ ริติ เจติยัง ปิลัมภะคะคาเม อุณณาเทเส เทเวนะกุตตาอุตตุลา ภิทัยยา อะหังวันทามิ สัพพะทา





รูปภาพที่แนบมา: DSC06431.jpg (2009-5-29 05:35, 59.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDh8OTZlN2JkZGJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:26

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:45 โดย pimnuttapa


  
DSC06584.jpg

หลังจากเรากราบนมัสการพระเจ้าพระพุทธ ที่ประดิษฐานภายในวิหารพระพุทธเรียบร้อยแล้ว เราจะไปกราบนมัสการรอยพระพุทธบาท ที่ประดิษฐานภายในซุ้มรอยพระพุทธบาทกันต่อเลยนะคะ ตามมาเลยค่ะ







รูปภาพที่แนบมา: DSC06584.jpg (2009-5-29 05:37, 45.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NDl8MGUxOTdkMjB8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:26

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:40  

DSC06435.jpg

อุโบสถศิลปะล้านนา วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้างเมื่อพ.ศ. ๒๐๑๙ โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก เจ้าผู้ครองนครลำปางในสมัยนั้นเป็นผู้สร้าง กว้างด้านละ ๖.๗๖ เมตร ยาวด้านละ ๑๔.๔๐ เมตร เดิมเป็นอาคารไม้เปิดโล่ง แต่มาบูรณะครั้งหลังสุดเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๖๗ จึงปิดทึบ ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06435.jpg (2009-5-29 05:40, 53.72 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTB8MzhmMGQwMDZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:31

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:45 โดย pimnuttapa


DSC06437.jpg

ซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นสถาปัตยกรรม ฐานก่ออิฐขึ้นเป็นชั้น รูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายฐานเจดีย์ กว้างประมาณ ๙.๕๐ เมตร สร้างขึ้นในสมัยเจ้าหาญแต้ท้อง (พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ส่งมาครองเมืองลำปาง) ประมาณปี พ.ศ. ๑๙๙๒ โดยครอบรอยพระพุทธบาทไว้ หลังคาเป็นจั่วและมีพะไลล้อมรอบค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06437.jpg (2009-5-29 05:42, 51.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 8
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTF8ZmU4Y2NiNWZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:33

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:46 โดย pimnuttapa

  
DSC06449.jpg

ห้ามผู้หญิงขึ้นไปบนซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ เสียดายจัง




รูปภาพที่แนบมา: DSC06449.jpg (2009-5-29 05:45, 57.2 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTJ8MWRlMTFlOGN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:35

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 06:48  

DSC06450.jpg

รอยพระพุทธบาทจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า ซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง ผู้หญิงสามารถกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทได้บริเวณด้านหน้านี้นะคะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06450.jpg (2009-5-29 05:48, 53.56 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTN8YjU4MTkxMzZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:35

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:47 โดย pimnuttapa


DSC06451.jpg

รอยพระพุทธบาทจำลองขนาดเล็ก ประดิษฐานด้านหน้า ซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06451.jpg (2009-5-29 05:50, 45.48 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTR8MmU2NjY5MzN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:38

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:47 โดย pimnuttapa

  
DSC06438.jpg

รอยพระพุทธบาท ประดิษฐานภายใน ซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) พระพุทธบาทะ ยัง ตัตถะ โยนะกะปุเร  มุนิโร  จะปาทัง ตัง ปาทะวะลัญชะนะมะหัง สิระสา นะมามิ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06438.jpg (2009-5-29 05:54, 63.42 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTV8YzljYWMwYjl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:38

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:48 โดย pimnuttapa


DSC06442.jpg
DSC06441.jpg

แสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุ และพระวิหารด้านมุมกลับ ภายใน ซุ้มรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06442.jpg (2009-5-29 06:30, 48.04 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTZ8NGUwMmY5NTd8MTcxNDk5NDEyNnww



รูปภาพที่แนบมา: DSC06441.jpg (2009-5-29 06:35, 46.14 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTh8NmM4ZmUyYzl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:44

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:48 โดย pimnuttapa

  
DSC06447.jpg

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญสำหรับพี่ๆ กลุ่มนี้และอีกกลุ่มหนึ่ง (แต่ไม่ทันขอถ่ายรูปไว้) ที่ใจดีช่วยขึ้นไปถ่ายรูปรอยพระพุทธบาทและแสงหักเหปรากฏเป็นเงาพระธาตุและพระวิหารด้านมุมกลับ ภายใน ซุ้มรอยพระพุทธบาท ให้ ขอบพระคุณมากๆ เลยค่ะ   




รูปภาพที่แนบมา: DSC06447.jpg (2009-5-29 06:39, 36.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NTl8ZmRlYjI5NWN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:51

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 07:42  

DSC06593.jpg

วิหารพระศิลา หรือวิหารละโว้ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06593.jpg (2009-5-29 06:42, 44.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjB8YzQ4ZjIyMzh8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:51

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 07:43  

DSC06455.jpg

วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้างเมื่อประมาณปีพ.ศ.๑๒๐๐ เจ้ากรุงละโว้พระราชบิดาของพระนางจามเทวีสร้างไว้ อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ กว้าง ๓ วา ๒ ศอก ๖ นิ้ว ยาว ๘ วา เป็นอาคารเปิดโล่ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรกค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06455.jpg (2009-5-29 06:43, 53.58 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjF8N2EzYjg2ZTF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:51

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 07:46  

DSC06457.jpg

หน้าบันด้านหน้า วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06457.jpg (2009-5-29 06:46, 52.54 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjJ8NDgzZDUwY2V8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:51

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:49 โดย pimnuttapa

  
DSC06463.jpg

ภายใน วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06463.jpg (2009-5-29 06:48, 50.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjN8MTQ4YzBhMjl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:55

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:49 โดย pimnuttapa


DSC06465.jpg

พระพุทธเมตตา ประดิษฐานภายใน วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

คาถาบูชาพระพุทธเมตตา


  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อิติปิ โส ภะคะวา นะมามิหัง ตัง ภะวะวันตัง พุทธะเมตตัง) อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะ ทัมมะสารถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ พุทธะ เมตตัง จิตตัง มะมะ พุทธะ พุทธานุภาเวนะ ธัมมะ เมตตัง จิตตัง มะมะ ธัมมะ ธัมมานุภาเวนะ  สังฆะ สังฆานุภาเวนะ

ขอพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ พุทธบารมี ของพระพุทธเมตตา ที่ข้าพเจ้าได้บูชาแล้ว จงมีอานุภาพ พลานุภาพ บุญญฤทธิ์ อันยิ่งใหญ่ อำนวยพรส่งผลให้ข้าพเจ้า จงตั้งมั่นในสัมมาทิฏฐิตลอดชีวิต ขอให้ครอบครัว ธุรกิจ การงาน ของข้าพเจ้า จงชนะตลอด ปลอดภัยตลอด ร่ำรวย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บตลอดชีวิตและมีพลานามัยที่สมบูรณ์ยิ่งเทอญ





รูปภาพที่แนบมา: DSC06465.jpg (2009-5-29 06:52, 41.24 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjR8NDI1ZTZhODZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:58

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:49 โดย pimnuttapa

  
DSC06469.jpg

พระนาคปรก ประดิษฐานภายใน บุษบก วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06469.jpg (2009-5-29 06:56, 61.46 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjV8ODNmY2RjMzF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:58

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:50 โดย pimnuttapa


DSC06472.jpg

พระนาคปรก เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดในกรุงละโว้สมัยนั้น ศิลปกรรมสมัยลพบุรี สร้างจากหินสีเขียว หน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๒๘ นิ้ว ครั้นเมื่อ พ.ศ. ๑๒๑๕ พระราชบิดาของพระนางจามเทวีมอบให้มาประดิษฐานไว้ ณ วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06472.jpg (2009-5-29 06:58, 58.35 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NjZ8NjYwMDVhNWV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 16:58

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:50 โดย pimnuttapa


DSC06474.jpg

พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านหน้า บุษบก ภายใน วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06474.jpg (2009-5-29 06:59, 60.22 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Njd8ZDU1NDkzM2R8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:02

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:51 โดย pimnuttapa


DSC06473.jpg

พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านข้าง บุษบก ภายใน วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06473.jpg (2009-5-29 07:02, 55.84 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Njh8MmM2ZDZmMWZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:02

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:05  

DSC06475.jpg

ปล่องหนานทิพย์ช้าง อยู่ด้านข้าง วิหารละโว้ (วิหารพระเจ้าศิลาหรือวิหารจามเทวี) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

ประวัติปล่องหนานทิพย์ช้าง


ในระหว่างปีพ.ศ. ๒๒๗๒ - ๒๒๗๕ บ้านเมืองในล้านนาไทยมิได้เป็นปกติสุข เกิดการจราจลไปทุกหนทุกแห่งบ้านเมืองในล้านนาไทย เช่น เชียงแสน เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงใหม่ ต่างเมืองก็ตั้งตัวเป็นอิสระไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนชันกาลก่อน เชียงแสน เชียงราย ตกอยู่ในอำนาจของพม่า เชียงใหม่มีเจ้าองค์คำ (หรือองค์นก) เป็นเจ้าผู้ครองนครและกำลังพุ่งติดพันกับพม่าอยู่ เมืองลำพูนมีท้าวมหายศครองนคร เมืองแพร่เมืองน่านต่างก็มีเจ้าผู้ครองนครเป็นอิสระ

ส่วนนครลำปางนั้นไม่มีเจ้าผู้ครองนคร มีแต่ขุนเมือง ๔ คน ควบคุมกันอยู่ แต่บังคับราชการงานเมืองไม่สิทธิ์ขาด เพราะมัวแต่แก่งแย่งอำนาจกัน ในขณะนั้นมีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดนายาง (บ้างก็ว่าวัดนายาบ บัดนี้อยู่ในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง) มีความรู้เชี่ยวชาญในวิทยาคม ไสยศาสตร์ เป็นผู้ที่นิยมนับถือของชาวเมืองว่าเป็นผู้มีบุญ มีผู้มาสมัครเป็นลูกศิษย์และบริวารเป็นอันมาก และสมภารวัดสามขา สมภารวัดบ้านฟ่อน ก็ได้ลาสิกขาออกมาเป็นเสนาซ้ายขวาของสมภารวัดนายาง ซึ่งลาสิกขาบทแล้วนั้นตั้งเป็นก๊กขึ้นก๊กหนึ่ง ซึ่งขุนเมืองทั้ง ๔ นั้นหาอาจปราบปรามได้ไม่

ครั้นข่าวนี้ได้ทราบถึงท้าวมหายศผู้ครองนครลำพูน ก็ยกทัพมายังนครลำปางเพื่อจะปราบปรามผู้มีบุญนั้น สมภารวัดนายางได้คุมสมัครพรรคพวกออกต่อสู้กองทัพเมืองลำพูนเป็นสามารถสู้รบกันถึงคลุมบอนที่ตำบลป่าตัน กองทัพสมภารวัดนายางสู้กองทัพเมืองลำพูนมิได้ ก็แตกพ่ายหยีไป สมภารวัดนายางกับเสนาซ้ายขวาและพวกที่ยังเหลืออยู่จึงไปยังวิหารหลวงวัดพระธาตุลำปางหลวง กองทัพเมืองลำพูนก็ยกไปล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้ ครั้นเวลาค่อนรุ่งสมภารวัดนายางกับพวกหลบหนีออกจากที่ล้อมได้ ก็พาพวกหลบหนีมุ่งลงไปทางใต้ กองทัพเมืองลำพูนไล่ติดตามทันกลางทาง จึงเกิดการสู้รบกันอีก สมภารวัดนายางกับพรรคพวกได้แต่ไม้ค้อน (ไม้ตะพด) กับไม้เสารั้วสวนเป็นอาวุธเข้าต่อสู้ทัพเมืองลำพูนเป็นสามารถจนชาวลำพูนจวนจะแพ้อยู่แล้ว บังเอิญสมภารวัดนายางถูกกระสุนของชาวลำพูนที่ระหว่างคิ้วล้มลง เสนาซ้ายขวาเข้าประคองก็ถูกกระสุนล้มลงทั้งคู่ เสนาวัดบ้านฟ่อนถูกกระสุนที่หางตา เสนาวัดสามขาถูกที่หัวเข่าถึงแก่มรณกรรมทั้งสามคน ส่วนพรรคพวกนั้นเมื่อเห็นประมุขเป็นอันตรายก็พากันหลบหนีไป ที่หนีไม่ทันก็ถูกพวกลำพูนฆ่าตายที่นั้น

เมื่อได้ชัยชนะแล้ว กองทัพลำพูนก็ยกมาตั้งอยู่ที่วัดลำปางหลวง แล้วให้คนออกไปเรียกเก็บเงินภาษีและบังคับเอาข้าวของทรัพย์สิน ข้าวปลาอาหารไปบำรุงกองทัพ เมื่อผู้ใดขัดขวางไม่ยอมให้หรือไม่มีจะให้ก็จับตัวมาลงโทษและทารุณกรรมต่างๆ เป็นที่ทนทุกข์เวทนา บ้างก็ถึงแก่ชีวิต ทำให้ชาวเมืองนครลำปางได้รับความเดือนร้อนเป็นอันมาก ผู้หญิงใดสวยงามก็ถูกบังคับให้เป็นนางบำเรอ ครั้นแล้วท้าวมหายศแม่ทัพเมืองลำพูนก็คิดอุบายแต่งตั้งให้หาญฟ้าแมบ หาญฟ้าง้ำ หาญฟ้าฟื้น นายทหารเอกซ่อนอาวุธเข้าไปเจรจาความเมืองต่อขุนเมืองทั้ง ๔ คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือน จะเรน้อย และท้าวขุนทั้งหลายประชุมกันที่สนามว่าการนั้น พอถึงเวลาได้ที่ก็พร้อมกันฟันแทงขุนเมืองลำปางล้มตายลงหลายคน และกองทัพเมืองลำพูนก็ยกหนุนเข้ามาปล้นเอาเมืองลำปาง ได้ล่าฆ่าฟันผู้คนจุดไฟเผาพลาญบ้านเมืองราษฏรไหม้เป็นอันมาก พวกขุนนางที่รอดตายคือ ท้าวลิ้นก่าน จะเรน้อย นายน้อยธรรมและชาวบ้านพากันหนีไปอาศัยอยู่ตามที่ต่างๆ คือ ประตูผา เมืองลอง เมืองตีบ เมืองต้า เมืองเมาะ เมืองจาง เมืองนครลำปาง ครั้งนั้นได้กลายเป็นเมืองร้างไปหาผู้คนอยู่อาศัยมิได้ เพราะต่างก็กลัวข้าศึกชาวเมืองลำพูน

ครั้งนั้นมีพระมหาเถรรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอธิการพระแก้วชมพูเป็นที่นับถือของประชาชนเป็นอันมาก ท่านดำริการที่จะกอบกู้เมืองนครลำปางให้พ้นจากอำนาจของกองทัพเมืองลำพูนซึ่งมายึดครองอยู่นั้น จึงได้ซ่องสุมผู้คนและลูกศิษย์ลูกหาไว้ ครั้นได้กำลังพอสมควรแล้ว จึงไปเจรจาว่ากล่าวกับจะเรน้อยและท้าวลิ้นก่านที่หนีอยู่ยังประตูผา (เหนือเมืองนครลำปาง) ขอให้กลับมาคิดกอบกู้บ้านเมือง แต่ขุนเมืองทั้งสองเกิดการท้อถอยเสียแล้ว จึงแจ้งแก่พระมหาเถรเจ้าว่า สุดแล้วแต่พระมหาเถรเจ้าจะเลือกเอาผู้ใดสามารถขับไล่ข้าศึกถอยไปและกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จแล้ว ก็ขอมอบบ้านเมืองให้ผู้นั้นปกครองตลอดไป
         
พระมหาเถระเจ้าวัดพระแก้วชมพูได้ทราบดังนั้น ก็กลับมาวัดแล้วปรึกษากับญาติโยมและบรรดาศิษยานุศิษย์ว่า เมื่อไม่มีผู้ใดสามารถกอบกู้บ้านเมืองได้ เราจักขอลาสิกขาเพื่อจะเป็นหัวหน้ากอบกู้บ้านเมือง พวกญาติโยมและศิษย์ทั้งหลายต่างคนก็ขอนิมนต์ไว้ก่อน ขอให้ครูบาเจ้าจงคิดดูเรื่องโหราศาสตร์ ครูบาเจ้าก็ชำนาญมาก ขอให้ครูบาเจ้าลงเลขทำนายดู พระมหาเถรเจ้าก็ทำตามตำราที่เรียนมาจนเรียบร้อยก็เห็นว่า “หนานทิพย์ช้าง” นายบ้านคอกงัวซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาและธนูเป็นอันมาก และเคยเป็นหมอคล้องช้างป่าได้ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า ทิพย์ช้าง พระมหาเถรเจ้าจึงใช้ให้คนไปเรียกตัวทิพย์ช้างมาไต่ถามว่า จะกอบกู้บ้านเมืองจากพวกข้าศึกชาวลำพูนได้หรือไม่ ทิพย์ช้างก็รับรองอย่างแข็งขันว่า “ข้าศึกชาวลำพูนก็เดินดิน กินข้าวเหมือนกับเรา เราหาเกรงกลัวไม่”


รูปภาพที่แนบมา: DSC06475.jpg (2009-5-29 07:05, 23.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1Njl8Y2UyZTVhNGN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:14

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:07  

DSC06497.jpg

รอยกระสุนปืน รั้วด้านหน้า พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

ประวัติปล่องหนานทิพย์ช้าง (ต่อ)


พระมหาเถรเจ้าจึงตั้งให้ทิพย์ช้างเป็นที่ “เจ้าทิพย์เทพบุญเรือน” เป็นหัวหน้าคุมคน ๓๐๐ คน ไปรบกับทัพเมืองลำพูนที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เจ้าทิพย์เทพบุญเรือนจึงแต่งตั้งให้หนานนันต๊ะสาร   หนานชัยพล น้อยไชยจิต ชาวบ้านผู้กล้าหาญและฝีมือเข้มแข็งเป็นแม่กองคุมไพร่พลแบ่งเป็น ๓ กอง กองละ ๑๐๐ คน ยกออกจากเวียงดิน (คือบ้านคอกงัวของทิพย์ช้าง ซึ่งได้สถาปนาว่า เวียงดิน อยู่ทางเหนือเมืองลำปาง) มุ่งตรงไปยังวัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งท้าวมหายศตั้งพักไพร่พลอยู่ เจ้าทิพย์เทพบุญเรือน (ทิพย์ช้าง) ยกไปถึงนั้น เป็นเวลากลางคืนค่อนข้างดึกและโอบล้อมวัดพระธาตุลำปางหลวงไว้อย่างแข็งแรงทุกด้าน เมื่อจัดวางกำลังเรียงรายไว้โดยรอบแล้ว เจ้าทิพย์บุญเรือนก็ลอดคลานเข้าไปภายในวัดพระธาตุลำปางหลวงทางท้องร่องสำหรับระบายน้ำเวลาฝนตก (เป็นช่องระบายน้ำกว้างประมาณ ๑ ศอก อยู่ทางทิศตะวันตกและมีจนทุกวันนี้) และเข้าไปถึงภายในวัดโดยง่าย

เมื่อเจ้าทิพย์เทพบุญเรือนลอดเข้าไปถึงภายในวัดชั้นในแล้ว ก็เข้าไปถามยามรักษาการณ์ว่า ท้าวมหายศเมืองลำพูนอยู่ที่ไหน ยามรักษาการณ์ตอบว่า ท้าวมหายศอยู่ข้างทางในหมู่พลมีธุระสิ่งใดหรือ เจ้าทิพย์เทพบุญเรือนก็ตอบว่า ข้ามาจากเมืองลำพูน เจ้าแม่เทวี (หมายถึง ชายาท้าวมหายศ) ใช้ให้มาส่งหนังสือด่วน ยามรักษาการณ์ได้ฟังเช่นนั้นแล้วก็หลงเชื่อว่านึกเป็นความจริง จึงอนุญาตให้เจ้าหนานทิพย์เทพบุญเรือนเข้าไปหา ท้าวมหายศซึ่งกำลังเล่นหมากรุกกับทหารคนสนิทและนางบำเรอที่วิหารหลวงมุมตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อเจ้าหนานทิพย์บุญเรือนเห็นและแน่ใจว่าบุคคลตรงหน้านั้นคือ ท้าวมหายศ จึงคลานเข้าส่งหนังสือที่ปลอมมานั้นให้แก่ท้าวมหายศ เมื่อท้าวมหายศรับหนังสือนั้นแล้ว เจ้าทิพย์บุญเรือนก็ถอยออกมาได้ที่พอสมควร จึงยกปืนที่ถือไปนั้นยิงท้าวมหายศทันที ท้าวมหายศถูกกระสุนล้มลงขาดใจตายในวงหมากรุก


รูปภาพที่แนบมา: DSC06497.jpg (2009-5-29 07:07, 66.75 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzB8MDU4MTE2MjB8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:20

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:09  

DSC06496.jpg

รอยกระสุนปืน รั้วด้านหน้า พระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

ประวัติปล่องหนานทิพย์ช้าง (ต่อ)


ลูกกระสุนที่ยิงท้าวมหายศยังทะลุไปถูกรั้วทองเหลืองของพระเจดีย์ (ตามที่เห็นอยู่ทุกวันนี้) แล้วเจ้าทิพย์เทพบุญเรือนก็รีบหลบหนีลอดออกไปตามช่องระบายน้ำที่เข้ามา แล้วนำทหารลำปางเข้าโจมตีทันที ทหารเมืองลำพูนไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็ถูกทหารลำปางฆ่าตายเป็นอันมาก ที่เหลือตายก็แตกพ่ายหนีไป เจ้าทิพย์เทพบุญเรือนยกทัพติดตามไปจนถึงดอยดินแดง (ดอยผีปันน้ำ) จึงเลิกทัพกลับ และแวะนมัสการพระที่วัดปงยางคก ซึ่งเป็นวัดที่เคยบวชเรียนอยู่ ต่อมาจึงมีประเพณีเมื่อถึงเทศกาลตานก๋วยสลาก (ทานสลากภัต) ประจำปี ต้องจัดที่วัดปงยางคกก่อนวัดอื่นในนครลำปาง และเลยมาขอขมาเทพารักษ์และพระธาตุลำปางหลวง เมื่อขับไล่ปราบกองทัพเมืองลำพูนแตกพ่ายหนีไปแล้ว พระมหาเถรเจ้าวัดพระแก้วชมพูพร้อมด้วยประชาราษฏรชาวเมืองทั้งหลายก็พร้อมใจกันตั้งพิธีปราบดาภิเษกสรงน้ำมุรธาภิเศกให้หนานทิพย์ช้างหรือเจ้าทิพย์เทพบุญเรือนสถาปนาให้เป็น “เจ้าสุละวะฤาไชยสงคราม” เจ้าผู้ครองนครลำปาง ในปี พ.ศ. ๒๒๗๕ (จุลศักราช ๑๐๙๒) ในครั้งนั้นนครลำปางปกครองตนเองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อเชียงใหม่หรือกรุงศรีอยุธยา

ต่อมาพระเจ้าสุลวฤาไชยมีพระโอรส ๗ องค์ จึงถูกเรียกว่าราชวงศ์เจ้า ๗ ตน ได้ส่งพระโอรสไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ภายหลังอาณาจักรทางเหนือก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกประมาณ ๒๐๐ ปี จนถึงสมัย ร.๑ พญากาวิละได้ขอกำลังจากสยามไปช่วยรบกับพม่า ร.๑ จึงได้ส่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ไปช่วยรบจนได้ชัยชนะกลับมา อาณาจักรทางเหนือจึงยอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับสยาม ร.๑ ทรงตั้งพญากาวิละขึ้นเป็นเจ้าเมืองปกครองเชียงใหม่ เป็นต้นตระกูล ณ เชียงใหม่ ค่ะ


รูปภาพที่แนบมา: DSC06496.jpg (2009-5-29 07:09, 35.63 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzF8MGVmZDMyNGZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:22

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:11  

DSC06517.jpg

วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

ประวัติวิหารน้ำแต้ม คำว่า น้ำแต้ม แปลว่า ภาพเขียน วิหารน้ำแต้ม คือวิหารภาพเขียน ส่วนการสร้างนั้นไม่ปรากฏมีการกล่าวถึงอย่างชัดเจนอยู่ในตำนานและเอกสารใดๆ แต่จากข้อความที่ปรากฏในตำนานและศิลาจารึกทำให้เชื่อได้ว่า วิหารหลังนี้ควรจะสร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ทั้งนี้มีข้อความที่ปรากฏในตำนานวัดพระธาตุลำปางหลวงและศิลาจารึกที่วัดพระธาตุลำปางหลวงกล่าวตรงกันว่าใน พ.ศ. ๒๑๐๖ ได้มีการหล่อ "พระเจ้าล้านทอง" ขึ้น ถัดนั้นมาก็ได้มีการหล่อพระพุทธรูปสำริดขึ้นองค์หนึ่ง น้ำหนักได้สามหมื่นทองแล้วนำมาประดิษฐานไว้ในวิหารด้านเหนือ ซึ่งวิหารในที่นี้ก็คือ วิหารน้ำแต้ม ที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระบรมธาตุ จากหลักฐานดังกล่าวทำให้สันนิษฐานได้ว่า วิหารน้ำแต้มควรจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียงกับการหล่อพระเจ้าล้านทองในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๒ เพื่อประดิษฐานพระเจ้าสามหมื่นทอง แต่บางแห่งก็เข้าใจว่าสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราชประมาณปี พ.ศ. ๒๐๔๔ เจ้าหาญแต่ท้องเป็นผู้สร้าง


รูปภาพที่แนบมา: DSC06517.jpg (2009-5-29 07:11, 47.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzJ8OTY0ODRkZjB8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:26

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:13  

DSC06482.jpg

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง

วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ทางทิศเหนือขององค์พระธาตุลำปางหลวง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นวิหารโถงขนาด ๕ ห้อง มีผนังปิดทึบเฉพาะห้องท้ายวิหารที่ยกเก็จออกไปเท่านั้น แผงผังของวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มียกเก็จออกทางด้านหน้า ๒ ช่วง ด้านหลัง ๑ ช่วง ฐานเป็นพื้นปูนยกสูงขึ้นมาประมาณ ๓๐ เซนติเมตร โครงสร้างของวิหารเป็นแบบเสาคานรับน้ำหนักเสา วิหารมีทั้งเสาไม้และเสาปูน

กล่าวคือ เสาข้างวิหารทั้งสองด้านและเสากลางคู่หน้าสุด จะเป็นเสาปูนสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนเสาหลวงจะเป็นเสาไม้กลมตั้งเป็นคู่อยู่กลางวิหาร โครงสร้างหลังคาจะเป็นระบบที่ทางล้านนาเรียกว่า ขื่อม้าตั่งไหม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอลดชั้นลงด้านหน้าสองชั้นด้านหลังหนึ่งชั้น ซึ่งสอดคล้องกับการย่อเก็จของส่วนฐานและลดหลังคาปีกนกด้านข้างลงข้างๆ ละหนึ่งตับ ชายคาของหลังคาด้านข้างคลุมลงมาต่ำมาก จึงทำให้รูปทรงของวิหารดูค่อนข้างเตี้ยซึ่งเข้าใจว่าเพื่อกันน้ำฝนและแสงแดด รวมทั้งยังมีฝาหยาบหรือคอสองช่วยปกป้องแสงแดดและน้ำฝนไว้อีกชั้นหนึ่ง

ห้องท้ายวิหาร ผนังจะก่ออิฐฉาบปูนสูงขึ้นไปจนจรดท้องขื่อทั้งสามด้าน ทำให้มีลักษณะเป็นห้องหรือกระเป่าก่อเป็นฐานยกสูงขึ้นประมาณ ๘๐ เซนติเมตร เต็มพื้นที่ สำหรับเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปไม้หลายองค์ บริเวณด้านหน้าของห้องท้ายวิหารจะมีฐานชุกชีขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นฐานบัวลูกแก้วยกเก็จสองชั้นกว้างประมาณหนึ่งเมตรเศษ ต่อยื่นออกมา ตรงกึ่งกลางจากฐานห้องท้ายวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปประธานของวิหารหลังนี้ ซึ่งก็คือ พระเจ้าสามหมื่นทอง

จากการตรวจสอบบริเวณรอยแตกที่ส่วนฐานห้องท้ายวิหารที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับฐานชุกชีประดิษฐานพระเจ้าสามหมื่นทอง ได้พบว่า ส่วนของฐานห้องท้ายวิหารได้ก่อทับปิดส่วนหนึ่งของฐานชุกชีไว้ จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ฐานที่ก่อปิดเต็มพื้นที่ของห้องท้ายวิหารนั้น เป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำขึ้นใหม่ในภายหลัง แต่เดิมห้องท้ายวิหารน่าจะมีฐานแคบๆ อยู่ติดผนังปูนท้ายวิหารเป็นแนวยาวตลอดสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ โดยไม่มีส่วนใดเชื่อมต่อกับฐานชุกชีพระเจ้าสามหมื่นทองเลย ซึ่งการทำฐานติดกับผนังท้ายวิหารเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏอยู่ที่วิหารวัดเวียง และวิหารวัดปงยางคก


รูปภาพที่แนบมา: DSC06482.jpg (2009-5-29 07:13, 41.27 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzN8N2MwN2ZmNjV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:30

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:15  

DSC06490.jpg

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง (ต่อ)

จากร่องรอยของฐานชุกชีเดิมของพระเจ้าสามหมื่นทองที่ถูกก่อปิดทับนั้น ได้พบว่า บริเวณดังกล่าวของเดิมจะมีการทารัก (ชาด) เป็นสีพื้นไว้โดยไม่มีการประดับลวดลายใดๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ลวดลายปิดทองลายฉลุที่ประดับฐานชุกชีพระเจ้าสามหมื่นทอง ปัจจุบันนี้เป็นงานที่ทำขึ้นใหม่ในระยะหลัง และควรจะเป็นช่วงเวลาเดียวกับการก่อฐานเต็มพื้นที่ห้องท้ายวิหาร การซ่อมแซมทำขึ้นในช่วงใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด แต่เมื่อพิจารณาถึงเงื่อนไขในทางประวัติศาสตร์และลักษณะของลวดลายที่ปรากฏแล้ว เชื่อว่าวิหารน้ำแต้มได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่วัดพระธาตุลำปางหลวงได้รับการทำนุบำรุงจากเจ้านายในสายตระกูลเชื้อเจ้าเจ็ดตนค่อนข้างมาก

ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้น คงได้มีการเปลี่ยนตัวไม้โครงสร้างเครื่องบนใหม่เกือบทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้มีการทำงานลายคำประดับตกแต่งใหม่แต่อย่างใด ดังนั้นที่บริเวณตัวไม้โครงสร้างหลังคาจึงไม่ปรากฏร่องรอยของงานลายคำอยู่เลย ยกเว้นขื่อบางตัวที่ไม่ได้ถูกเปลี่ยนออกไป ซึ่งยังคงเหลือร่องรอยให้เห็นว่า แต่เดิมโครงสร้างหลังคาของวิหารแห่งนี้จะมีงานศิลปกรรมลายคำประดับตกแต่งอยู่ด้วย นอกจากนี้ที่บริเวณหน้าแหนบหรือหน้าบันด้านในกับแผงคอสองและเสาปูนด้านข้างของวิหารได้พบมีภาพจิตรกรรมเขียนสีประดับอยู่ด้วย

ส่วนหน้าแหนบหรือหน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นช่องลูกฟักในแบบโครงสร้างม้าตั่งไหมที่เรียบๆ มีลวดลายสลักไม้เฉพาะที่กรอบช่องกลางเท่านั้น ตอนล่างลงมาของหน้าแหนบด้านหน้าเป็นโก่งคิ้วหรือรวงผึ้งเรียบๆ คันทวยเป็นไม้สลักลวดลายรูปพญาลวงประกอบกับลวดลายพรรณพฤกษาหลายรูปแบบ ป้านลมจะเป็นแบบไม้แผ่นตรง ปาดเรียบ ปิดหัวแป บริเวณปลายป้านลมชำรุด ช่อฟ้าด้านหน้าเป็นปูนปั้นมีลักษณะเป็นแท่งเหลี่ยมตั้งตรง ส่วนที่อยู่ด้านหลังจะเป็นดินเผา จึงทำให้เข้าใจว่า ของเดิมควรเป็นดินเผา ส่วนที่เป็นปูนนั้นคงจะเป็นส่วนที่ซ่อมแซมในภายหลัง ช่อฟ้าดังกล่าว มีลักษณะคล้ายคลึงกับช่อฟ้าดินเผาเคลือบในสมัยสุโขทัย สันหลังคาประดับด้วยแผ่นดินเผาที่ปั้นเป็นกระหนกตัวเหงาปักยึดติดกับปูนสันหลังคาตลอดแนว ทำหน้าที่คล้ายบราลี บริเวณกึ่งกลางสันหลังคาจะมีดินเผาแผ่นเดี่ยว ขนาดใหญ่กว่าดินเผาแผ่นอื่นๆ ทำรูปทรงและลวดลายเป็นพุ่มปลายแหลม ทำหน้าที่เป็นปราสาทเฟื้องค่ะ


รูปภาพที่แนบมา: DSC06490.jpg (2009-5-29 07:15, 59.96 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzR8YTIwNWQ4M2V8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:30

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:51 โดย pimnuttapa


DSC06489.jpg

พระเจ้าสามหมื่นทอง เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ สูง ๒ ศอก ๑ คืบ (กว้าง ๕๒ นิ้ว สูง ๗๑ นิ้ว) สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๐๔๔ โดยพระชายาของเจ้าหาญศรีธัตถะ มหาสุรมนตรี เป็นผู้สร้างถวาย ประดิษฐานเป็นพระประธานภายใน วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06489.jpg (2009-5-29 07:16, 60.61 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzV8OTUwMDM2NDV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:30

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:18  

DSC06486.jpg

จิตรกรรมฝาผนังลายรดน้ำปิดทองรูปต้นโพธิ์ แตกกิ่งก้านสาขาอยู่กลางเบื้องต้นเบื้องหลัง พระประธาน ภายใน วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง ด้านซ้ายและขวาเป็นภาพดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อันเป็นสัญลักษณ์ของจักรวาล ทวยหรือหูช้างรอบอาคารสลักเป็นลวดลายหน้านาค สลับกับลายดอกกวงต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมบนแผ่นไม้แผงคอสอง เป็นเรื่องประวัติพระอินทร์เป็นนิทานธรรมบท ซึ่งพบอยู่เพียงแห่งเดียวในล้านนา นอกจากนั้น เป็นเรื่องพระนางสามาวดี ซึ่งเป็นนิทานธรรมบท ทั้งสองเรื่องเป็นนิทานอธิบายพระสูตรในพระไตรปิฎกที่พระพุทธโฆษาจารย์ แปลจากลังกาเป็นภาษาบาลี เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๐ สันนิษฐานว่า แพร่หลายเข้ามาในไทยพร้อมกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ ประมาณ พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ จากรูปแบบศิลปะและตัวอักษรธรรมล้านนาที่อธิบายประกอบภาพ รวมทั้งเอกสารตำนานต่างๆ พอสรุปได้ว่า ภาพเขียนในวิหารน้ำแต้มได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกาม ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๒–๒๓ ค่ะ


รูปภาพที่แนบมา: DSC06486.jpg (2009-5-29 07:18, 58.26 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1NzZ8Yjc0NTM5ODJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:38

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 08:33  

DSC06493.jpg

วิหารต้นแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง กว้าง ๓ วา ๑ ศอก ๕ นิ้ว ยาว ๗ วา ๒ ศอก สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเก่าเมื่อพ.ศ. ๒๕๑๐ มีผังแบบคล้ายวิหารน้ำแต้ม ไม่ปรากฏผู้สร้าง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ทำจากไม้ขนาดเท่ากับองค์จริงของหนานทิพย์ช้าง เป็นพระพุทธรูปประจำตระกูลของเจ้านายฝ่ายเหนือ คือ ณ.ลำปาง ณ.ลำพูน ณ.เชียงใหม่ และเชื้อเจ็ดตน ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06493.jpg (2009-5-29 07:32, 48.92 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODN8NjY2ZjAxNzd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:38

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:55 โดย pimnuttapa


DSC06520.jpg

ภายใน วิหารต้นแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06520.jpg (2009-5-29 07:31, 39.68 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODJ8ZDJiMWVkYWF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:41

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 06:56 โดย pimnuttapa

  
DSC06521.jpg

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารต้นแก้ว วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระพุทธรูปประจำตระกูลของเจ้านายฝ่ายเหนือ ซึ่งสร้างจากไม้มงคลยาว ตั้งแต่พระเศียรถึงพระบาท ๗๗ นิ้ว ค่ะ   

บันทึกเรื่องการสมโภชพระพุทธไสยาสน์ (พระเจ้านอน) พระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ โดย อริยะ เลิศรัตนกร

ใครสร้างพระพุทธไสยาสน์ (หรือพระเจ้านอน) ข้าพเจ้าได้รับคำบอกเล่าจากพระครูสิงหนันทะ อดีตเจ้าคณะแขวงสบยาว ขุนเลิศลำปาง อดีตกำนันตำบลลำปางหลวง ซึ่งทั้งสองได้ถึงแก่มรณภาพ ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว ตลอดถึงท่านพระครูถา ถาวโร เจ้าอาวาส ผู้เฒ่าผู้แก่อีกหลายคนว่าพระพุทธไสยาสน์หรือพระเจ้านอน เจ้าทิพช้างเป็นผู้สร้างประมาณ พ.ศ. ๒๒๗๕ เมื่อพระองค์ปราบศึกสงครามแล้วได้ขึ้นครองนคร แต่ด้วยที่ได้ทำบาปฆ่าคนตายมากที่ในวัดหรือนอกวัด มีท้าวมหายศเป็นต้น จึงได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่งลักษณะเท่าพระองค์เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่วัดพระธาตุลำปางหลวง

เจ้าทิพช้าง หรือพระองค์เจ้าสุละวะฦาไชยสงคราม ท่านได้ตั้งสัจจอธิษฐานในการสร้าพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหากบุญของท่านตลอดถึงราชตระกูลพระองค์ ยังจะรุ่งเรืองอยู่ ขอให้พระพุทธรูปองค์นี้มีวรรณ หากถึงคราวตระกูลจะเสื่อมก็ขอให้พระพุทธรูปองค์นี้มีอันเป็นอันเป็นไป เพื่อให้ลูกหลานในราชตระกูลนี้รู้ จะแก้ไขเสียก่อน

ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๖ พระอุระของพระพุทธรูปแตกร้าว ไม้โพธิ์ลังกาเหี่ยว ไม่นานเท่าไรไม้โพธิ์ลังกากลับสดชื่นคืนมาเช่นเดิม ส่วนพระพุทธรูปหม่นหมอง เจ้านายในราชตระกูลไม่ได้เอาใจใส่ เพราะไม่รู้ความเป็นมา ท่านเจ้าอาวาสสมัยนั้นซ่อมแซมพระอุระด้วยผงเกษรดอกไม้ ลงรักปิดทอง ต่อมานานเข้าก็แตกร้าวอีก จนถึงวันที่ ๑๘ กรกฏาคม ๒๕๐๗ เจ้านายในราชตระกูลฝ่ายเหนือ มีพ.ท. พิเศษ พระเพชรคีรีศรีสงคราม เจ้าบุญส่ง ณ ลำปาง เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ เจ้าแม่ทิพวรรณ์ ณ เชียงตุง และเจ้านายอีกจำนวนมาก ไปทำการซ่อมแซม นำผงดอกไม้หอม ๑๐๘ ชนิด อุดพระอุระที่แตกร้าวสร้างแท่นแก้วใหม่ไว้ที่วิหารต้นแก้ว เหนือวิหารหลวง โดยฝีมือของครูบาถา ถาวโร เจ้าอาวาสอัญเชิญมา แล้วทำพิธีสมโภชพุทธาภิเษกเสียใหม่ โดยเจ้านายผู้เข้าพิธีนุ่งขาวห่มขาวทุกคน พระราชวิสุทธี เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นำพระมากพรรษาสวดพุทธาภิเษก ข้าราชกรชั้นผู้ใหญ่ไปร่วมงานพิธีเป็นจำนวนมาก มีพลตรีโสภณ กะราลัย ผู้บัญชาการทหาร พ.ต.อ. สนั่น นรินทร์ ศรศักดิ์ รองผู้บังคับการตำรวจ พ.ต.ท. ชูเดช ขนิษฐานนท์ นายสุบิน เกษทอง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นายเฉลิม ถาวรเวช นายอำเภอเมืองลำปาง นอนนั้นมมีพ่อค้าปะชาชนคหบดี ผู้แทนหนังสือพิมพ์เป็นจำนวนมาก

เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น.
ขณะที่พระสงฆ์กำลังสวดอยู่ก็ได้มีพญาหงษ์ทอง ๗ ตัว บินวนเวียนอยู่รอบๆ บริเวณพิธี ประชาชนผู้ร่วมงานต่างสาธุการ และเข้าใจว่าคงจะเป็นวิญญาณของพระเจ้า ๗ ตนมาดูพิธีการ ขอให้ตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือจงเจริญ หลังจากพญาหงษ์ทอง ๗ ตัว บินอยู่พักหนึ่งก็บินหนีไปจากสายตา ทันใดนั้นผู้ที่อยู่ในพิธีก็ต้องขนลุก ด้วยความมหัศจรรย์ใจ เพราะได้มีดวงไฟประหลาดโตขนาดลูกฟุตบอลเปล่งฉัพพรรณรังษี เป็นอภินิหารมี ๗ สี ลอยวนเวียนอยู่นานถึง ๑๕ นาที พุทธศาสนิกชนต่างกราบไหว้บูชาว่า เป็นพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากดวงไฟประหลาดหายไปแล้ว ก็ได้มีฝูงผึ้งหลวงบินผ่านมาในบริเวณพิธีอีกน่าอัศจรรย์ยิ่ง

สำหรับวันที่ ๑๘ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๐๗ มีการสวดมนต์ สวดเบิกตลอดคืน วันที่ ๑๗ กรกฏาคม ๒๕๐๗ เวลา ๑๖.๐๐ น. ได้มีพิธีเบิกพระเนตร ครั้นเวลา ๑๕.๐๐ น. ได้มีดวงรัศมีแสงต่างๆ ลอยวนเวียนอยู่เหนือบริเวณพิธีอีกประมาณ ๑๕ นาที ประชาชนพากันกราบไหว้บูชา ขณะที่มีการแห่พระพุทธรูปพระเจ้าทิพช้างไปรอบๆ ขันธสีมา ๙ รอบแล้ว อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นแก้วที่สร้างขึ้นใหม่ในวิหารต้นแก้ว พระบรมสารีริกธาตุก็ได้แสดงอภินิหารมาเปล่งรัศมีวนเวียนอีกนานประมาณ ๑๕ นาที ก็หายวับไป พอพิธีแห่พระพุทธรูปครบ ๙ รอบ ก็อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนแท่นแก้วใหม่ หลังจากที่เจ้านายฝ่ายเหนือ และศรัทธาชาวบ้านลำปางหลวง พ่อค้าประชาชนข้าราชการได้ร่วมกันบูรณะพระเจ้าทิพช้างและทำพิธีพุทธาภิเษกเรียบร้อยแล้ว ชาวลำปางทั่วๆ ไปต่างกล่าวกันว่า นับแต่วันนี้ต่อไปชาวลำปางและเจ้านายในราชตระกูลฝ่ายเหนือ จะอยู่ร่มเย็นเป็นสุข ทั้งนี้เพราะดวงพระวิญญาญของพระเจ้าทิพช้าง หรือพระองค์เจ้าพญาสุละวะฦาไชยสงคราม ซึ่งเป็นผู้กอบกู้ล้านนาไทย เป็นต้นตระกูลเจ้า ณ ลำปาง ณ เชียงใหม่ และเชื้อเจ็ดตนได้พ้นจากความห่วงใยที่ว่า ตระกูลเจ้านายฝ่ายเหนือจะเจริญรุ่งเรือง ก็เพราะเจ้านายได้มีความสามัคคีร่วมกันบูรณะพระพุทธรูปประจำตระกูลด้วยความเรียบร้อยและได้ทำการสมโภชน์เป็นประเพณีประจำปี คือวันที่ ๑๘ กรกฏาคมทุกปี ในการบูรณะและสร้างแท่นแก้วใหม่ ตลอดถึงงานพิธี สิ้นเงินประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท





รูปภาพที่แนบมา: DSC06521.jpg (2009-5-29 07:28, 45.91 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODB8Y2Q2NGFhZWF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:41

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:05 โดย pimnuttapa

  
DSC06526.jpg

เดี๋ยวเราจะไปกราบนมัสการพระแก้วมรกตที่อาคารพระแก้วกันต่อเลยนะคะ อย่าพึ่งเหนื่อยกันซะก่อนนะคะ เดินตามมาเลยค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06526.jpg (2009-5-29 07:30, 62.04 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODF8MGFmNWFhZDV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:41

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:09 โดย pimnuttapa


DSC06529.jpg

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ศรีลังกา วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06529.jpg (2009-5-29 07:35, 75.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODR8Yzk0YmNhMGV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:41

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:12 โดย pimnuttapa


DSC06527.jpg

หอบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ศรีลังกา วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06527.jpg (2009-5-29 07:49, 60.74 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODV8YWNjYjc1NzJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:44

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:12 โดย pimnuttapa

  
DSC06532.jpg

อนุสาวรีย์พระครูมหาเจติยาภิบาล (ถา ถาวโร) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06532.jpg (2009-5-29 07:56, 52.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODZ8MzM2MjAzMGJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:48

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:13 โดย pimnuttapa

  
DSC06534.jpg

รูปเหมือนพระครูมหาเจติยาภิบาล (ถา ถาวโร) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06534.jpg (2009-5-29 08:03, 25.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODd8YjQ4MjU5Nzl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:48

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:13 โดย pimnuttapa

  
DSC06535.jpg

สถูปพระอัฐิเจ้านางศรีอโนชา (แม้เจ้าครอกศรีอโนชา) วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งพระนางทรงเป็นพระขนิษฐาของพระเจ้ากาวิละ และพระอัครชายาในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท (บุญมา) (ในรัชกาลที่ ๑) ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06535.jpg (2009-5-29 08:04, 53.73 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODh8OGI3OTc2YTJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:48

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:17 โดย pimnuttapa


DSC06539.jpg

รูปภาพเจ้านางศรีอโนชา (แม้เจ้าครอกศรีอโนชา) พระนางทรงเป็นพระธิดาของเจ้าฟ้าชายแก้วและเจ้าแม่จันทาเทวี เชื้อสายของพระยาสุละวะฤาไชยสงคราม (ทิพย์ช้าง) ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06539.jpg (2009-5-29 08:07, 46.62 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1ODl8MWQ5MjA3MmF8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:54

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:09  

DSC06546.jpg

อาคารพระแก้ว และพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06546.jpg (2009-5-29 08:09, 50.67 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTB8NjdlY2IyZDh8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:54

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:17 โดย pimnuttapa


DSC06554.jpg

ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06554.jpg (2009-5-29 08:10, 54.77 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTF8NjZiYjgzNzl8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:54

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:18 โดย pimnuttapa

  
DSC06561.jpg

พระแก้วมรกต ประดิษฐานภายใน บุษบก ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ   


คำไหว้พระแก้วมรกต วัดพระธาตุลำปางหลวง

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) มณีตินามัง รัตตะเนนะ การัง ชาตัง ชะนานัง วะระปูชะนียัง สัตถา ชินาเสวิตัง ชะเนนะสุ พุทธะพิมพัง สิระสา นะมามิหัง





รูปภาพที่แนบมา: DSC06561.jpg (2009-5-29 08:12, 54.38 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTJ8Mzg5NjE1M2Z8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:54

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:18 โดย pimnuttapa

  
DSC06563.jpg

พระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) ประดิษฐานภายใน ซุ้มพระแก้วมรกต อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ   

พระแก้วมรกต คือ พระแก้วดอนเต้า
เชื่อกันว่าเป็นพระแก้วองค์เดียวกับที่เขียนไว้ในตำนานพระแก้วดอนเต้า วัดพระบรมธาตุดอนเต้า จังหวัดลำปาง พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะเชียงแสน พระพักตร์ค่อนข้างเขียว พระเศียรเรียบ ไม่มีเม็ดพระศกตกแต่ง ไม่มีพระเกตุมาลา เนื่องจากใช้เป็นโครงสร้างรองรับเครื่องทรง ซึ่งทำพิเศษออกไปต่างหาก แกะสลักจากหินสีเขียว องค์พระหน้าตักกว้าง หกนิ้วครึ่ง สูงแต่ฐานแก้วถึงเศียรแปดนิ้ว ฐานเดิมทำแผ่นเงินทาบ ลวดลายงดงามมาก ต่อมาพ.ศ. ๒๔๗๗ พระธรรมจินดานายก (ผาย) เจ้าคณะจังหวัดลำปาง เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหารเป็นประธาน ได้ชักชวนนักบุญทั้งหลายในเวียงและบ้านนอกช่วยกันบริจาคทองคำทำฐานใหม่ด้วยแผ่นทองคำทาบ เปลี่ยนเอาอันเก่าออก เอาฐานใหม่ใส่ตลอดถึงบัดนี้ น้ำหนักทองคำ ๑๙ บาท ๑ สลึง ๑ เฟื้อง มีชฎาทองคำ (กระโจมคำ ) สำหรับเป็นเครื่องทรงพระแก้วมรกต เพราะพระแก้วมรกตไม่มีเกตุ ไม่มีโมลีเหมือนพระองค์อื่นๆ ทราบจากคนเฒ่าคนแก่ว่า เจ้าแม่อูบแก้ว บ้านเชียงราย อำเภอเมืองลำปาง เป็นศรัทธาถวายเป็นเครื่องทรงพระแก้วมรกต แต่เมื่อใดนั้นไม่ปรากฏ น้ำหนักทองคำประมาณ ๕ บาท

ส่วนเครื่องทรงของพระแก้วมรกต คือ สร้อยสังวาลย์ ทำด้วยทองคำหนัก ๗ บาท พระอินทจักษ์ (พระครูประสาทศรัทธาเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวง) เป็นผู้นำศรัทธาจ้างช่างบ้านปง (ช่างคำ) อำเภอห้างฉัตร มาทำถวายเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๕ พระแก้วมรกตทรงจีวรห่มเฉียง พระสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ปลายแต่งเป็นแฉก ๒ แฉก ซ้อนกัน ๒ ชั้น ทั้งนี้แต่เดิมนั้นฐานทำด้วยแผ่นเงินทาบ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๗๗ เปลี่ยนเป็นแผ่นทองคำทาบ ทรงเครื่องทรงทองคำตามฤดูกาล และเครื่องทรงชุดใหม่ เจ้าหญิงทิพวรรณ ณ เชียงตุง ถวายเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ราคา ๖,๐๐๐ บาท



ตำนานพระแก้วมรกต (พระแก้วดอนเต้า) วัดพระธาตุลำปางหลวง

ดูกรอานนท์ เมื่อศาสนาตถาคตล่วงไปแล้ว ๑๐๐๐ ปี ลูกศิษย์แห่งตถาคตจักได้จุติจากดวงดาวดึงษาลงมาปฏิสนธิ์ในเมืองกุกุตนคร เมื่อจำเริญวัยขึ้นมาก็จักได้ออกบวชเป็นภิกขุภาวะ ตั้งอยู่ในเพศสมณะจนได้เป็นเถรแล้ว พร้อมกันนั้นทางเทวดาองค์หนึ่งก็ได้จุติลงมาเกิดในเมืองกุกุตนครเช่นเดียวกัน และนางได้มีใจเลื่อมใสต่อศาสนาตถาคตเป็นอันมาก นางได้มาเป็นผู้อุปถากพระมหาธาตุเจ้าวัดม่อนดอนเต้าและพระมหาเถรด้วย นางผู้นี้ชื่อว่า “สุชาดา” อยู่มาวันหนึ่งพระมหาเถรคิดอยากจะสร้างพระพุทธรูปสักองค์หนึ่ง แต่หาวัตถุอันจักมาสร้างและสลักไม่มี เมื่อนั้นมีพระยานาคตนหนึ่ง ซึ่งรักษาอยู่ในแม่น้ำอันมีชื่อวังกะนะที (แม่น้ำวัง) ได้ไปเมืองนาคแห่งพระองค์ ไปนำเอาแก้วมรกตลูกหนึ่งมา แล้วพระยานาคก็เอาแก้วมรกตลูกนั้นเข้าใส่ไว้ในหมากเต้า (แตงโม) นำไปไว้ในไร่ของนางสุชาดา

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง นางสุชาดาเข้าไปในไร่เพื่อจักเก็บดอกไม้ ไปบูชาพระมหาธาตุและถวายพระมหาเถร นางได้พบหมากเต้าลูกนั้นมีสีสันวรรณะกว่าลูกอื่นๆ นางก็นำไปสู่สำนักมหาเถรในวัดมหาธาตุดอนเต้า และถวายให้แก่พระมหาเถร เมื่อพระมหาเถรรับเอาแล้วก็จัดแจงผ่าแตงโมนั้น ปรากฎว่าในแตงโมนั้นมีแก้วมรกตลูกหนึ่ง พระมหาเถรและนางสุชาดา เมื่อได้เห็นแก้วมรกตนั้นแล้วก็มีความโสมนัสยินดีเป็นอันมาก ส่วนพระมหาเถรเมื่อได้แก้วนั้นมาก็จัดการสลัก เพื่อให้เป็นพระพุทธรูป แต่สลักทีไรหาเข้าไม่และพระมหาเถรพยายามสลักอยู่หลายวันก็ไม่สำเร็จ

วันหนึ่งขณะที่พระมหาเถระกำลังพิจารณาแก้วมรกตที่จะสลักเป็นพระพุทธรูปอยู่ที่หน้ากุฏิ ปรากฏว่ามีชายแก่คนหนึ่งไม่ทราบว่ามาจากทิศใด เข้ามาถามมหาเถระว่า ข้าแต่พระมหาเถระเป็นเจ้า ท่านจักกระทำสิ่งอันใด เมื่อพระมหาเถรได้ฟังชายแก่นั้นถาม จึงตอบว่า เราจักสลักแก้วมรกตนี้เป็นรูปพระพุทธรูปแต่สลักเท่าใดก็ไม่เข้าแข็งนัก แล้วพระมหาเถรจึงถามชายแก่นั้นว่า ตัวอุบาสกยังมีความเข้าใจและเป็นช่างในทางนี้หรือ ชายแก่นั้นก็รับว่า ตนพอจะเข้าใจบ้าง ฝ่ายพระมหาเถรเมื่อทราบจากชายแก่นั้นก็มีความโสมนัสเป็นอันมาก รีบลุกขึ้นจากที่เพื่อเข้าไปเอาเครื่องมือให้ชายแก่นั้น ครั้นพระมหาเถรกลับออกมาจากกุฏิ พระมหาเถรก็แลเห็นองค์พระพุทธรูปแก้วมรกต มีสีสันวรรณผ่องใสงดงามมากนัก แต่พระมหาเถรมองหาชายแก่ในที่นั้นไม่พบ จึงออกเที่ยวตามหาจนทั่วบริเวณก็ไม่พบปะที่ใดเลย พระมหาเถรจึงมาคิดในใจว่า ชรอยว่าพระอินทร์และเทวดาลงมานิมิตรให้ ครั้นแล้วพระมหาเถรพร้อมด้วยนางสุชาดาต่างก็มีความโสมนัสเป็นล้นพ้น กิติศัพย์เรื่องนี้ได้ร่ำลือไปในหมู่ประชาชนจนทั่วเมือง ประชาชนต่างพากันมาทำการสักการะบูชาพระพุทธรูปเจ้าเป็นอันมาก ส่วนพระมหาเถรและนางสุชาดาก็พร้อมกันนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาทำการอบรมสมโภชพระพุทธรูปเจ้าเสร็จแล้ว ฉนั้นสถานที่แห่งนี้จึงปรากฏนามในต่อมาว่า “วัดพระแก้วดอนเต้า” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

ต่อจากนั้นมีบุคคลบางพวกบางหมู่ก็เล่าลือว่า พระมหาเถรกับนางสุชาดาเป็นชู้ด้วยกัน เรื่องนี้ได้ทราบถึงอำมาตย์ของเจ้าปกครองนครแห่งนี้ ได้นำความขึ้นกราบทูลเจ้าผู้ครองนครให้ทราบ เจ้าผู้ครองนครเมื่อทรงทราบเรื่องนี้แล้ว หาได้ทรงพิจารณาให้ถ่องแท้เท็จจริงอย่างใดไม่ จึงทรงบัญชาให้เพชฌฆาตให้นำเอานางสุชาดาไปฆ่าเสีย ณ ที่ริมฝั่งน้ำแม่วังคะนะที  ก่อนลงมือฆ่า นางสุชาดาได้กระทำสัตยาอธิษฐานว่า ถ้าข้าได้กระทำการเป็นชู้กับพระมหาเถรจริงดังผู้กล่าวหาแล้วก็ให้เลือดแห่งข้าพุ่งลงสู่พื้นดิน และถ้าตัวข้านี้มิได้กระทำการเป็นชู้กับพระมหาเถร ก็ขอให้เลือดแห่งข้าพุ่งขึ้นสู่อากาศ อย่าได้ตกลงสู่พื้นดินเลย เมื่อเพชฌฆาตลงดาบและคอนางขาด ปรากฏว่า เลือดของนางได้พุ่งขึ้นสู่อากาศโดยมิได้ตกลงมาบนพื้นดินเลย

ดังนั้น เมื่อพวกเพชฌฆาตได้เห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงพากันกลับเอาเหตุการณ์ไปกราบทูลให้เจ้าผู้ครองนครเมืองนั้นทรงทราบ  เมื่อผู้ครองนครทรงทราบเหตุการณ์เช่นนั้น พระองค์จึงลุกจากพระแท่นแล้วแล่นไปมาล้มลงขาดใจตายไปในบัดเดี๋ยวนั้น  ตั้งแต่นั้นมา พระมหาเถรเจ้าก็หนีจากสำนักวัดพระแก้วดอนเต้าไปพำนักอยู่วัดลัมภะกัปป (วัดพระธาตุลำปางหลวง) พร้อมกับนำเอาพระพุทธรูปแก้วมรกตไปด้วย ดังนั้นพระพุทธรูปแก้วมรกตองค์นั้นจึงได้สถิตอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

หมายเหตุ ตำนานพระพุทธรูปแก้วมรกตของวัดพระธาตุลำปางหลวงนี้ ข้าพเจ้า (เกษม เกาะปินะ) ได้เขียนตามตำนานฉบับใบลานอักษรพื้นเมือง ซึ่งขอยืมจากวัดพระธาตุลำปางหลวง และตำนานฉบับนี้ผู้แต่งเติมได้อ้างเป็นพระพุทธทำนาย จึงจะขอแปลตัดตอนเฉพาะเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธรูปแก้วมรกต ดังปรากฏมาแล้วนั้น





รูปภาพที่แนบมา: DSC06563.jpg (2009-5-29 08:17, 59.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTN8ODQ0MzhmY2J8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:59

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:19 โดย pimnuttapa

  
DSC06556.jpg

พระแก้วมรกตจำลอง ประดิษฐานด้านหน้า ซุ้มพระแก้วมรกต ภายใน อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06556.jpg (2009-5-29 08:21, 59.17 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTR8MzQyMTI3YjV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 17:59

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:26  

DSC06541.jpg

ศาลาการเปรียญ วัดพระธาตุลำปางหลวง ขนาดกว้าง ๑๒.๘ เมตร ได้รับการต่อเติมในปีพ.ศ. ๒๕๑๑ อยู่ด้านหน้า อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06541.jpg (2009-5-29 08:26, 64.31 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTV8YTBkYzVlZWR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:00

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:28  

DSC06547.jpg

หอสรงน้ำพระโบราณขนาดเล็ก วัดพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งสร้างด้วยไม้ อยู่ด้านข้าง อาคารพระแก้วและพิพิธภัณฑ์ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06547.jpg (2009-5-29 08:28, 46.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTZ8NmU1MDEyZjV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:00

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:29  

DSC06549.jpg

กุฏิขันติโก วัดพระธาตุลำปางหลวง สร้างเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06549.jpg (2009-5-29 08:29, 63.66 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTd8M2M3NWQ4ZWR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:11

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:31  

DSC06544.jpg

กุฏิอาคันตุกะ วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06544.jpg (2009-5-29 08:31, 55.47 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTh8Y2UxYzU1NzZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:12

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:33  

DSC06572.jpg

พิพิธภัณฑ์ วัดพระธาตุลำปางหลวง อยู่ด้านหลัง องค์พระบรมธาตุเจดีย์และหลังซุ้มรอยพระพุทธบาท สร้างโดยเจ้าหาญแต้ท้องในปี พ.ศ. ๑๙๙๒ เป็นที่เก็บโบราณวัตถุเช่น แผงพระพิมพ์ ชิ้นส่วนพระพุทธรูป เป็นต้น ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06572.jpg (2009-5-29 08:33, 63.63 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM1OTl8OWRkMzIxMjJ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:12

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:35  

DSC06571.jpg

ต้นจันท์ขาว อายุ ๒๐๐ ปี วัดพระธาตุลำปางหลวง อยู่ด้านหน้า พิพิธภัณฑ์ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06571.jpg (2009-5-29 08:35, 73.4 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 4
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDB8MTA4YTEyNmN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:12

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:36  

DSC06540.jpg

กุฏิพระแก้ว และหอไตร (เรียงจากซ้าย-ขวา) วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06540.jpg (2009-5-29 08:36, 51.62 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDF8NmM3MDk3NDN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:16

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:38  

DSC06577.jpg

กุฏิพระแก้ว และหอไตร (เรียงจากซ้าย-ขวา) วัดพระธาตุลำปางหลวง ตอนกำลังมีการบูรณะกุฏิพระแก้วและหอไตร ซึ่งมีช่วงการบูรณะตั้งแต่มิถุนายน ๒๕๐๐–พฤษภาคม ๒๕๑๑

กุฏิพระแก้ว (ภาพด้านขวา) วัดพระธาตุลำปางหลวง ไม่ปรากฏเวลาและผู้สร้าง แต่คงมีอายุไม่น้อยกว่า ๔๐๐ ปี เคยเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแก้วมรกตมาก่อน ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาส มูลเหตุที่คนโบราณเรียกอาคารประดิษฐานพระแก้วว่า “กุฏิพระแก้ว” อาจสืบเนื่องมาจากเหตุผลสองประการ คือ อาคารดังกล่าวตั้งอยู่ภายนอกเขตสังฆาวาส อันเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ (หมู่กุฏิ) จึงเรียกว่ากุฏิ และอาจมาจากความเชื่อที่ว่า พระแก้วเป็นพระบูชา ไม่ใช่พระประธานในวิหารก็ได้

จากการสืบค้น ไม่ปรากฏความเป็นมาที่แน่ชัด ลักษณะกุฏิพระแก้วที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นอาคารแบบล้านนาชั้นเดียว จากในแกนทิศเหนือถึงใต้ ก่ออิฐถือปูน ขนาดกว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๕ เมตร หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินขอ พื้นซีเมนต์ขัดมัน นอกจากใช้ประดิษฐานพระแก้วแล้ว ยังเป็นพิพิธภัณฑ์ของวัดอีกด้วย ทั้งนี้ในอดีตเคยมีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในจังหวัดลำปาง และมีการบูรณะวัดพระธาตุลำปางหลวงครั้งใหญ่ ในสมัยเจ้าเมืองหาญศรีธัตนะ (พ.ศ. ๒๐๓๙-พ.ศ. ๒๐๕๐) กุฏิพระแก้วก็อาจจะถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้ค่ะ


รูปภาพที่แนบมา: DSC06577.jpg (2009-5-29 08:38, 52.37 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDJ8MjdiZjJkMzN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:16

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:40  

DSC06582.jpg

หอไตร วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

หอไตร ศิลปะแบบพื้นเมืองล้านนา ไม่ปรากฏประวัติแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยเจ้าเมืองหาญศรีธัตนะ (พ.ศ. ๒๐๓๙ - พ.ศ. ๒๐๕๐) เช่นเดียวกับกุฏิพระแก้ว ลักษณะหอไตรที่ปรากฏในปัจจุบัน เป็นอาคารแบบล้านนา ๒ ชั้น วางในแกนเหนือทิศใต้ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๘ เมตร เชื่อมติดกับกุฏิพระแก้ว ชั้นล่างก่อด้วยอิฐถือปูน แต่งเป็นฐานบัวสูงประมาณ ๓.๔๐ เมตร ชั้นบนเป็นไม้ ฝาผนังบานออกทั้งสี่ด้านคล้ายลักษณะหีบพระธรรม ตกแต่งผนังด้วยลายฉลุลงรักปิดทองประดับด้วยกระจกสี ภายในประกอบด้วยเสา ๑๒ ต้น มีช่องหน้าต่างเล็ก ๔ ช่อง โครงสร้างหลังคาไม้ซ้อนกัน ๒ ชั้น จากการบูรณะ พบลวดลายบนแผ่นกระเบื้องดินขอที่ใช้มุงหลังหอไตรกับกุฏิพระแก้วด้วยเช่นกัน แบ่งได้เป็นลายเครือเถา ลายสัตว์ ลายคน ตัวอักษร และลายขูดขีด (ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษาแล้วและกำลังดำเนินการประกาศกำหนดขอบเขตอยู่)


รูปภาพที่แนบมา: DSC06582.jpg (2009-5-29 08:40, 41.79 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDN8MDk3ZWY2ZWR8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:16

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:22 โดย pimnuttapa


DSC06580.jpg

หอประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ อยู่ด้านหน้า หอไตร วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06580.jpg (2009-5-29 08:41, 52.03 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDR8ODZhMjFjODN8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:21

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-29 09:43  

DSC06575.jpg

หอกลอง อยู่ด้านหลัง หอไตร วัดพระธาตุลำปางหลวง ค่ะ

รูปภาพที่แนบมา: DSC06575.jpg (2009-5-29 08:43, 56.9 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 2
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDV8NjZhMTFjOTd8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:21

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:28 โดย pimnuttapa

  
DSC06600.jpg

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญคุณลุง วิทยากรประจำวัดพระธาตุลำปางหลวง ที่กรุณาช่วยแนะนำข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้แก่ข้าพเจ้าในครั้งนี้ ขอบพระคุณมากๆ ค่ะ




รูปภาพที่แนบมา: DSC06600.jpg (2009-5-29 08:45, 49.87 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 3
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDZ8YWY0MjczOGV8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:22

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:25 โดย pimnuttapa

  
DSC06583.jpg

การเดินทางท่องเที่ยวทำบุญนมัสการพระบรมธาตุ วัดพระธาตุลำปางหลวง  ก็ขอลาด้วยภาพพระบรมธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง เลยนะคะ สวัสดีค่ะ   




รูปภาพที่แนบมา: DSC06583.jpg (2009-5-29 08:46, 43.6 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=MTM2MDd8YTVlMWQ3NjZ8MTcxNDk5NDEyNnww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-2-1 18:26

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-23 07:25 โดย pimnuttapa

  

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
• วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ. ลำปาง
• หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (คัดลอกจาก หนังสือพุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง. นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง ๒๕๔๐-๒๕๔๕. พิมพ์ครั้งที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕. หน้า ๑๒๕-๑๒๗.)

• หนังสือตำนานพระธาตุลำปางหลวง ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานเจ้าเจ็ดตน วัดพระธาตุลำปางหลวง.จัดพิมพ์เพื่อเก็บเงินบำรุงวัด พิมพ์ครั้งที่ ๑๓ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘.
• หนังสือลายคำล้านนา
http://www.thainews70.com/news/news-culture/view.php?topic=431
• และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญในครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทานค่ะ








ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://www.dannipparn.com/) Powered by Discuz! X1.5