แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดร่ำเปิง บ.ร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเขี้ยวแก้ว) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-12 02:23  

Picture-873.jpg

อุโบสถ วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติอุโบสถ วัดร่ำเปิง ที่มีอยู่ในเวลานี้ได้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ โดยมีผู้มีจิตศรัทธาช่วยซ่อมให้ได้ใช้ในการปฏิบัติสังฆกรรมมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับพระพุทธรูปพระประธานนั้น เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ ๗๐๐ - ๘๐๐ ปี เป็นศิลาขนาดหน้าตักกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๔๗ นิ้ว โดย จ.ส.ต ประยุทธ ไตรเพียร และคณะ ได้นำถวายไว้เป็นสมบัติของวัดร่ำเปิง เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๑๘ และมีชื่อว่า หลวงพ่อศรีอโยธยา

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:14 โดย pimnuttapa

  
Picture-870.jpg
Picture-871.jpg

พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายใน ศาลา อยู่บริเวณด้านหน้า วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-11 04:55  

Picture-866.jpg

ศิลาจารึก ซึ่งเรียกว่า สิลาฝักขาม อยู่ด้านข้าง พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ข้างซ้าย ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติศิลาจารึก


พระยอดเชียงราย ได้จารึกประวัติการสร้างวัดนี้ลงในศิลาจารึก ซึ่งเรียกว่า สิลาฝักขาม (ตัวหนังสือฝักขาม) ดังมีใจความว่า...

“สองพันสามสิบห้าปีจุลศักราชได้แปดร้อยห้าสิบสีตัวในปีเต๋าใจ๋ (เหนือ) เดือนวิสาขะไทยว่าเดือนเจ็ดออก (ขึ้น) สามค่ำวันศุกร์ไทย ได้ฤกษ์อันถ้วนสอง ได้โยคขื่ออายูสมะ ยามกลองงายแล่วสองลูกนาที” ซึ่งแปลเป็นภาษาปัจจุบันว่า “วันศุกร์ขึ้นสามค่ำเดือนเจ็ด ปีชวด พุทธศักราชสองพันสามสิบหาปี เวลา ๐๘.๒๐ น. ได้ฤกษ์ภรณี (ดาวงอนไถ) ได้โยคมหาอุจจ์” คือการก่อสร้างวัดได้ส่วนกันทั้งทางฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร โดยพระองค์ได้ทรงมีพระราชบัญชาให้พระมเหสีชื่อ พระนางอะตะปาเทวี เป็นผู้ดำเนินการสร้าง พระนางอะตะปาเทวี ได้ประชุมแต่งตั้งกรรมการดังต่อไปนี้

รายนามพระมหาเถระ
๑. พระมหาสามีญาณโพธเจ้า
๒. พระมหาเถระสุระสีมหาโพธิเจ้า
๓. พระมหาเถระธรรมเสีนาปติเจ้า
๔. พระมหาเถระสัทธรรมฐิระประสาทเจ้า
๕. พระมหาเถระญาณสาครอารามิตรเจ้า
(ในศิลาจารึกว่ามีประมาณ ๑๐๐ รูป แต่ปรากฏชื่อเพียง ๕ รูป)

รายพระนามและนามผู้สร้างฝ่ายอาณาจักร
๑. พระนางอะตะปาเทยี ประธานกรรมการออกแบบดำเนินการสร้าง
๒. เจ้าเมืองญี่ เจ้าเมืองเชียงราย ผู้เป็นพระราชปิตุลา
๓. เจ้าอติวิสุทธ เจ้าหมื่นเมืองตินเชียง
๔. เจ้าหมื่นคำพร้ากลาง
๕. เจ้าหมื่นธรรมเสนาปติ เมืองจา
๖. เจ้าหมื่นหนังสือวิมลกิรติสิงหราชมนตรี
๗. เจ้าพันเชิงคดีรัตนปัญโญ
๘. เจ้าหมื่นโสม ราชัณฑ์คริก

ในประวัติไม่ได้บอกชัดว่าใช้เวลาสร้างนานเท่าใด กล่าวแต่ว่าสำเร็จแล้วทุกประการ พร้อมทั้งสร้างพระพุทธรูปเป็นประธาน และพระพุทธรูปตามซุ้มที่พระบรมธาตุเจดีย์กับได้สร้างพระไตรปิฎกและพระราชทานทรัพย์ (นา) เงิน (เบี้ย) ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า “มีราชเตทั้งหลายอันกฎหมายไว้กับอารามนี้นาสามล้านห้าหมื่นพัน ไว้กับเจดีย์สี่ด้าน สี่แสนเบี้ยไว้กับพระเจ้า (พระประธาน) ในวิหาร ห้าแสนเบี้ยไว้กับอุโบสถ สี่แสนเบี้ยไว้เป็นจังหัน (ค่าภัตตาหาร) ล้านห้าแสนห้าหมื่นพันเบี้ยไว้ให้ผู้รักษากิน สองแสนเบี้ยให้ชาวบ้านยี่สิบครัวเรือนไว้เป็นผู้ดูแลและอุปัฏฐากรักษาวัด”

เนื่องจากประวัติการสร้างวัดร่ำเปิง หรือวัดตโปทารามนี้ รวบรวมมาจากหลายทางด้วยกัน ทำให้เข้าใจสับสนไปได้ในทัศนะแตกต่างกันโดยเฉพาะเกี่ยวกับชื่อ วัดร่ำเปิง วัดตโปทาราม และพระนามมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงราย คือในศิลาจารึกปรากฏพระนามว่า พระนางอะตะปาเทวี แต่ไม่ปรากฏพระนามว่า พระนางโปร่งน้อย ซึ่งในหนังสือพงศาวดารโยนกของพระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ปรากฏพระนามว่า พระนางโปร่งน้อย ไม่ปรากฎพระนาม อะตะปาเทวี


นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างกันเกี่ยวกับบุคคลผู้ร่วมในการสร้างวัด ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า “จุลศักราช ๘๕๔ (พ.ศ. ๒๐๓๕) ปีชวดจัตวาสก พระเจ้ายอดเชียงราย เจ้านครพิงค์เชียงใหม่ ให้สถาปนาพระอารามแห่งหนึ่งชื่อว่า ตะโปทาราม ให้ขุดรื้อนิมิตสีมาของเก่าที่พระญาณมงคลเถรผูกไว้นั้นขึ้นชำระผูกพัทธสีมาใหม่ มีพระมหาเวฬุวันมหาเถระ พระสัทธรรมสัณฐิเถระ พระญาณโพธิเถระ พระสุริสิงห็เถระ พระนารถเถระ พระสัทธรรมสัณฐิเถระ กับภิกษุหลายรูปจัดการผูกพัทธสีมาใหม่ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ

จากการพิจารณาข้อความที่ปรากฏในศิลาจารึกและจากหนังสือประวัติวัดร่ำเปิง ซึ่งพิมพ์แจกในงานกฐินสามัคคีทอด ณ วัดร่ำเปิง วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๐๙ โดยมีผู้เขียน ๒ ท่าน คือ ท่านอาจารย์มุกดาอัยยเสน ที่อ้างว่าเขียนจาก คำบอกเล่าของพระยาประชากิจกรจักร์กับหนังประวัติวัดร่ำเปิง พิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๑๔ ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๗ และพิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๙ เรียบเรียงโดย นายปวงคำ ตุ้ยเขียว ซึ่งอ้างว่าอาศัยหลักศิลาจารึก และหนังสือคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ พงศาวดารโยนก และหนังตำนานเมืองเหนือแล้ว ก็อาจจะประมวลเค้าความให้ต่อเนื่องอยู่ในแนวเดียวกันไว้ว่า

แต่เดิมนั้นวัดร่ำเปิงเป็นวัดเก่าอยู่ก่อนแล้ว และคงมีชื่อว่า ตะโปทาราม เพราะพระเจ้ายอดเชียงราย มีพระมเหสีทรงพระนามว่า โปร่งน้อย มีความดีความชอบ รับหน้าที่เป็นประธานดำเนินการสร้างวัดตะโปทารามขึ้นใหม่จนแล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงทรงตั้งพระนามเป็นเกียรติแก่พระนางโปร่งน้อยว่า “พระนางอะตะปาเทวี” โดยแปลงรูปคำจาก ตะโป ชื่อวัดเดิม ซึ่งเป็นภาษาบาลีแปลว่า เครื่องเผา ความร้อน ความเพียร ความสำรวม อันหมายถึงธรรมเครื่องเผาบาปให้สิ้น แต่พระองค์คงจะทรงเห็นว่าตะโป หรือตะปา มีความหมายไปในทางให้ความร้อน จึงเติม คำว่า “อะ” ลงข้างหน้าให้มีความหมายในทางความเย็นแทน ซึ่งก็ปรากฏว่าพระมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงราย มีพระนามเป็นภาษาไทยว่า “พระนางสิริยศวดี”


ดังมีปรากฏในหนังสือประวัติวัดร่ำเปิงพิมพ์ครั้งที่ ๑ บทเนื้อเรื่องพิเศษว่า “พระศรีสัทธรรมมหาบรมจักรพรรดิ์ธรรมราชบพิตร” (หมายถึง พระเจ้ายอดเชียงราย ) มีอัครมเหสี ชื่อ อะตะโปเทวี พระราชโอรสชื่อ ปนัดดา หรือดิลกปนัดดาธิราช หรือพ่อท้าว เมืองแก้วหรือพระยาตาธิปราช พระชนนีของพระองค์ ชื่อพระนางสิริยศวดี หรือพระนางโปร่งน้อย จึงให้สันนิษฐานว่า หลังจากพระเมืองแก้วได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเจ้ายอดเชียงรายผู้เป็นราชบิดาแล้ว ได้ทรงตั้งพระนามให้พระราชชนนีใหม่ว่า พระนางสิริยศวดี ก็ย่อมเป็นได้ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:14 โดย pimnuttapa

  
Picture-861.jpg
Picture-863.jpg

พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ ประดิษฐานด้านหน้าข้างขวา-ซ้าย พระประธาน ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:13 โดย pimnuttapa


Picture-864.jpg

ประวัติพระพุทธรูป ตโปทาราม (พระพุทธรูปอาตะปะมหามุนีปฏิมากร)  

พระนางอะตะปาเทวี (พระนางเรือนเย็น หรือพระนางโปร่งน้อย หรือพระนางสิริยสวดี) พระอัครมเหสีของพระเจ้ายอดเชียงรายทรงสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๕ เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมริดฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางพิชิตมาร หน้าตักกว้าง ๕๙ เซนติเมตร สูง ๘๒ เซนติเมตร ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ วิหารเดิมเกิดชำรุดทรุดโทรมจนใช้การไม่ได้ และมีต้นไม้ขึ้นปกคุมอยู่ทั่วไป แผ่นศิลาจารึกได้จมดินอยู่ในวิหาร คณะสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่จึงได้ประชุมตกลงกันให้อัญเชิญพระประธานไปประดิษฐานไว้ ณ ด้านหลังวิหาร วัดพระสิงห์ และทำการก่อสร้างวิหารขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ท่านพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) รักษาการเจ้าอาวาส ขณะนั้นได้อาราธนาหลวงพ่อตโปจากวัดพระสิงห์กลับสู่วิหารวัดร่ำเปิง เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:13 โดย pimnuttapa

  
Picture-858.jpg

พระพุทธรูปตโปทาราม (พระพุทธรูปอาตะปะมหามุนีปฏิมากร) ประดิษฐานภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:12 โดย pimnuttapa

  
Picture-867.jpg

ภายใน วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:12 โดย pimnuttapa


Picture-856.jpg

พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหน้าข้าง ประตูทางเข้า/ออกด้านหน้า วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-21 09:11 โดย pimnuttapa

  

Picture-849.jpg

พระพุทธรูปปางลีลา ประดิษฐานด้านหน้าข้างขวา วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ   


Picture-850.jpg

พระพุทธรูปปางรำพึง ประดิษฐานด้านหน้าข้างซ้าย วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-11 05:35  

Picture-847.jpg

วิหาร วัดร่ำเปิง ค่ะ

ประวัติวัดร่ำเปิง (วัดตโปทาราม) (ต่อ)


ต่อจากยุคสมัยของพระยอดเชียงราย สภาพวัดร่ำเปิงได้ร้างมาหลายยุคหลายสมัย และเมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง กองทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาครอบครองใช้เป็นที่ปฏิบัติการ ปรากฏว่าได้มีผู้ลักลอบขุดพระบรมธาตุเจดีย์ได้นำเอาพระพุทธรูปและวัตถุโบราณต่างๆ ไป อุโบสถและวิหารที่พระเจ้ายอดเชียงรายและพระมเหสีทรงสร้างขึ้นพร้อมกับวัด ได้ชำรุดทรุดโทรมแตกปรักหักพังจนสภาพต่างๆ แทบไม่หลงเหลืออยู่เลย

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลงแล้ว พวกชาวบ้านที่อพยพหลบภัยไปอยู่ที่อื่นก็ทยอยกันกลับมา สภาพวัดก็ยังขาดการบำรุงรักษาบางครั้งขาดพระจำพรรษา ถ้ามีก็เพียงรูปเดียว ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๔ เริ่มมีการก่อสร้างวิหารขึ้นใหม่ แล้วจึงได้อาราธนาพระภิกษุชาวบ้านร่ำเปิงรูปหนึ่งชื่อ หลวงปู่จันทร์สม หรือครูบาสม มาปกครองดูแลวัดได้ระยะหนึ่ง ทำให้วิหารแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ต่อมาท่านถึงแก่มรณภาพ วัดก็ขาดพระจำพรรษาไปจนถึงปลายปี ๒๕๑๗

พระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองมางและเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระประจำสำนักวัดเมืองมาง ได้ปฏิบัติการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยวางโครงการงานวิปัสสนากรรมฐานขึ้นอีกแห่งหนึ่ง จึงได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดร่ำเปิงหรือตโปทารามแห่งนี้ แล้วชักชวนชาวบ้านในท้องถิ่น ตลอดถึงผู้ใจบุญทั้งหลายช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ฟื้นฟูขึ้น และได้เปิดป้ายสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดร่ำเปิง เมื่อ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยท่านพระครูพิพัฒน์คณาภิบาล (ทอง สิริมงคโล) รักษาการเจ้าอาวาส วัดร่ำเปิง (ตโปทารม) ได้อัญเชิญพระประธาน (หลวงพ่อตะโป พระประธานในพระวิหารนั้นได้อาราธนาจากวัดพระสิงห์กลับสู่วัดตโปทาราม) เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๘ ตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๑๑ ค่ำ ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และได้พัฒนาก่อสร้างถาวรวัตถุ ตลอดจนซ่อมแซมบูรณะถาวรวัตถุภายในวัดให้เจริญรุ่งเรือง

ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนตำแหน่งจากพระครูชั้นพิเศษเป็นพระราชคณะที่ “พระสุพรหมยานเถร” และในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ถัดมาท่านเจ้าพระคุณพระสุพรหมยานเถรได้รับบัญชาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ณ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จึงได้เจ้าอาวาสองค์ใหม่เป็นผู้ดูแลสืบต่อมา โดยท่านเจ้าอาวาสรูปใหม่ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเจ้าคุณฯ อดีตเจ้าอาวาสทุกประการพร้อมทั้งได้ก่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ๓ ชั้น เพื่อส่งเสริมในด้านพระอภิธรรมอีกทางหนึ่งด้วยค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-19 08:00 , Processed in 0.094593 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.