แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 7892|ตอบ: 0
go

ความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


7 a2 U; I  u7 }% p 372584671.jpg 5 n7 {; O& l2 E( n1 b7 \
ความเป็นมาของรอยพระพุทธบาทบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี3 [; @  J+ o- X, o8 q' g3 w) W- ]8 R
4 ~. `' |7 B  ~- v7 y: N( E$ b% L
โดยบางแสนโพส วันเสาร์ ที่ 30 เดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2552 เวลา 21:43:22+ @* [3 v" }( _6 u- l) k# R
+ [% W, R& l$ ?: x, ~6 i! G+ a
การบูชารูปและรอยพระพุทธบาทในหมู่พุทธศาสนิกชนมีมานานแล้ว เนื่องจากมีความเชื่อว่า ครั้งที่พระพุทธองค์ยังมีพระชนม์อยู่ได้เคยเสด็จประทับหรือเคยเสด็จไปเยี่ยมเยียนนานประเทศ และได้ประทับรอยไว้ แม้ในพระบาลีจะไม่ปรากฏการอ้างว่า พระพุทธองค์ได้ประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่แห่งใด แต่ในลังกาซึ่งมีคติเกิดขึ้นในภายหลัง ว่าพระพุทธองค์ได้ประทับรอยพระพุทธบาทประดิษฐานไว้ 5 แห่ง คือ สุวรรณมาลิก สุวรรณบรรพต เขาสุมนกูฎ เมืองโบนกบุรี และที่หาดไนลำน้ำนัมทานที ส่วนคติการบูชารอยพระพุทธบาทในประเทศไทยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี สมัยสุโขทัย ต่อเนื่องมาจนถึงสมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ จนเป็นประเพณีถึงปัจจุบัน; v4 }- b- X) j& [( ^9 h( I0 X, N

, c5 ?" e# f+ I) x) t f1104246276.jpg
8 D, m: J6 c/ B9 z$ f- s! `2 g7 ]
# b) q/ Z8 ?! w4 k/ E+ u          การค้นพบรอยพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณบรรพตนั้น (เขาสุวรรณบรรพต คือ บริเวณเทือกเขาเขียวในพื้นที่อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี)มาปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชการสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม(พ.ศ.2153 - 2171) โดยมีเรื่องเล่าว่าพระภิกษุสงฆ์ไทยกลุ่มหนึ่งเดินทางไปยังลังกาทวีป เพื่อไปบูชารอยพระพุทธบาทที่เขาสุมนกูฎ พระสงฆ์ลังกาถามว่ารอยพระพุทธบาทที่มีอยู่ 5 รอยนั้น มีแห่งหนึ่งที่ประดิษฐานอยู่ ณ เขาสุวรรณบรรพต ในดินแดนสยามประเทศ ชาวไทยไม่ไปบูชารอยพระพุทธบาทที่นั่น คณะพระภิกษุสงฆ์เหล่านี้ หลังจากกลับมาถึงจึงนำความมากราบทูลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้มีตราสั่งหัวเมืองให้เที่ยวตรวจค้นดูตามภูเขาว่าจะมีรอยพระพุทธบาทอยู่ ณ ที่แห่งใดหรือไม่3 A9 ~, f* I& s9 b' ~
5 ]5 f. E( K1 ~2 b
b1279948692.jpg + c; V' b- A5 q% n& D. ?
  r7 P+ N. j, I6 c9 W
          ครั้งนั้นเจ้าเมืองบางปลาสร้อยสืบได้ความว่ามีรอยอยู่ในศิลาเหมือนรูปเท้าคน ตั้งอยู่บนเนินเขาทางทิศตะวันออกของเมืองบางปลาสร้อย บริเวณเทือกเขาเขียว ใกล้ห้วยน้ำคงคาลัยซึ่งเป็นห้วงน้ำใหญ่ในครั้งนั้น จึงมีใบบอกเขามายังกรุงศรีอยุธยา ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และได้ตั้งกองทหารมาตรวจสอบและรักษาตลอดถึงการทำแผนที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของรอยให้ชัดเจนแล้วทำเป็นใบบอกส่งกลับถวายพระเจ้าทรงธรรม รอยพระพุทธบาทที่เมืองบางปลาสร้อยนี้ หลังมีปบบอกส่งกลับถวายพระเจ้าทรงธรรมแล้วก็เป็นที่สนใจของผู้คน ผู้ศรัทธาเป็นอย่างมากจึงมีการเดินทางมาสนมัสการเสมอ แต่จะเดินทางมานมัสการจะทำใด้เพียงไม่กี่เดือนในแต่ละปีเพราะมีอุปสรรคจากกระแสน้ำในห้วงน้ำคงคาลัยที่เชียวมากในฤดูน้ำ การเดินทางจะมาได้ก็ในช่วงปลายเดือนยี่ถึงกลางเดือนห้าเท่านั้น โดยมาทางเรือจากท่าตะกรูด (อำเภอพานทอง) พายเรือทวนน้ำมาตามห้วงน้ำคงคาลัย ขึ้นที่ท่าวัดคงคาลัยและค้างแรมที่วัดนี้หนึ่งคืน รุ่งเช้าจึงข้ามฟากจากวัดคงคาลัยมาขึ้นที่ท่าขุนด่าน(ปัจจุบันคือบ้านห้วยมะไฟ หมู่4 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี) แล้วใช้เกวียนบรรทุกสิ่งของขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทด้วยการที่เดินทางมาได้ในเวลาจำกัดในแต่ละปี จึงมีการทำจำลองรอยพระพุทธบาทนี้ไปประดิษฐานที่วัดบางทรายเพื่อให้ผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธาได้นมัสการตลอดทั้งปี ต่อมาห้วงน้ำคลคาลัยตื้นเขิน(ปัจจุบันเหลือเพียงร่องน้ำลึก เป็นห้วงบ้านบึงและห้วยควายเผือก) ไม่สะดวกกับการเดินทางมานมัสการรอยพระพุทธบาทบางปลาสร้อยจึงได้มีการขาดช่วงไป จะมีผู้มานมัสการเพียงเฉพาะผู้ที่ทราบที่ตั้งและอยู่ในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น จากคำเล่าลือว่ามีรอยพระพุทธบาทประดิษฐานอยู่ในบริเวณเนินเขาหลังศาลพ่อขุนด่านเท่านั้น แต่สอบถามร่องรอยที่ตั้งที่แท้จริงไม่มีผู้ใดชี้ชัดได้4 M+ Z) h- Z* R& V% `5 |

; M: Z" v( k* E# { a198511717.jpg
1 I* y+ y) s; Z9 Z1 h4 J4 O
' `1 r% N+ \8 X! ?  A% }4 s0 h          ต่อมาชาวบ้านชุมชนบ้านห้วยมะไฟ หมู่4 ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีความเห็นตรงกันว่าควรค้นหารอยพระพุทธบาทให้พบ เพราะเชื่อว่าตำนานที่เล่าขานกันมาอาจเป็นความจริง โดยมีผู้ร่วมตำนานในครั้งนี้ประมาณสิบกว่าคน ได้ชักชวนกันสืบค้นหามาตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2552 ซึ่งเป็นการค้นพบได้ยากเพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งศักดิ์ จะปรากฏให้เห็นในเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น จนกระทั่งในวันที่ 8 พฤษภาคม 2552 เป็นวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนา ทางกลุ่มผู้คนหาพบรอยพระพุทธบาทจึงค้นพบเวลาประมาณ 9 โมงเศษ ซึ่งมีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร กว้างประมาณ 30 เซนติเมตร จากนั้นได้มีการปิดทองที่รอยพระพุทธบาทและชาวบ้านได้มีการประชุมเพื่อดำเนินการบูรณะบริเวณรอยพระพุทธบาทให้ส่วยงาม เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของชุมชน และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ได้จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวต่อไป/ x. B, K! y! I* ?- b* e$ O) J
8 `/ U3 j9 |! i% i. R: a" S; ^# M

. ?+ {/ v  y  u/ w1 k* D( m: r0 {4 i* {ปริญญา/ข่าว/ภาพ
/ W+ Y+ S# I6 ghttp://www.bangsaenpost.com/Q1/thememenu.php?id=6720&PHPSESSID=e3dd5d202efbc691978479f095d3ab53

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-6-13 22:06 , Processed in 0.138941 second(s), 17 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.