แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระเจดีย์ซาวหลัง บ.วังหม้อ ม.๒ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

21#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 17:58 |แสดงโพสต์ทั้งหมด


DSC03262.jpg


ศาลาร่วมทำบุญกับวัด และเชิญปิดทองพระประจำวันเกิด วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03264.jpg


รูปเหมือนสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ประดิษฐานภายใน ศาลาร่วมทำบุญ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03265.jpg


DSC03267.jpg



ที่ตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนบ้านวังหม้อ (ธงไชยศึกษา) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง มียาสมุนไพรจำหน่ายด้วยค่ะ


DSC03268.jpg



รูปเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์ ประดิษฐานภายใน ที่ตั้งกองทุนมูลนิธิโรงเรียนบ้านวังหม้อ (ธงไชยศึกษา) วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


พระคาถาบูชาเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์  

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) โอมะ นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กะรุณีโก  สัพพะ สัตตานัง โอสะถะทิพพะมันตัง ปะภาโส สุริยาจันทัง โกมาระภัจโจ ปะภาเสสิ วันทามิ สุเมธะโส อะโรคา สุมะนะโหมิ สาธุ



Rank: 8Rank: 8

22#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:10 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC09423.jpg



วิหารพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03302.jpg



DSC03290.jpg

พระแสนแซ่ทองคำ ประดิษฐานภายใน บุษบก วิหารพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


คำไหว้พระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  สุวรรณะ พุทธะรูปัง วันทามิหัง  โทสัง  ขะมะตุเม (ว่า ๓ จบ)



DSC03301.jpg


ประวัติพระแสนแซ่ทองคำ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง

พระเจ้าแสนแซ่ทองคำ เป็นพระพุทธรูปทองคำหนัก ๑๐๐ บาท สองสลึง โดยชาวบ้านขุดพบเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะล้านนาราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ชาวบ้านนำมาถวายไว้ที่วัด ‘'พระแสนแซ่ทองคำ'' คือพระพุทธรูปที่ใช้ ‘'แซว่‘' คือหมุดตอกตรึงองค์พระ สร้างโดยการเคาะขึ้นรูปทั้งองค์ แบ่งเป็นส่วนต่างๆ มาสวมต่อกัน ซึ่งผู้กล่าวว่าพระแสนแซ่ทองคำองค์นี้เข้าลักษณะพระสีหลักขณะตามตำรับช่างโบราณเชียงแสนสมัยล้านนาหรือกรุงศรีอยุธยาพร้อมทั้งให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า พระแสนแซ่ทองคำเป็นพระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ น้ำหนักทองคำรวม ๑๐๐ บาทกับอีก ๒ สลึง สร้างโดยการเคาะตีขึ้นทั้งองค์แล้วจึงนำส่วนต่างๆ มาประกอบกัน

พุทธลักษณะของพระเจ้าแสนแซ่ คือมีขนาดหน้าตักกว้าง ๙ นิ้วครึ่ง สูง ๑๕ นิ้ว ในช่องพระเศียรมีผอบหรือกล่องบรรจุพระบรมธาตุ นอกจากนี้ พระเศียรซึ่งสามารถถอดออกเป็นชิ้นได้ ๓๒ ชิ้น นั้นได้รับการประดับด้วยอัญมณีสีต่างๆ สำหรับในองค์พระพุทธรูปมีใบลานทองคำซึ่งจารึกบทคาถาเป็นอักขระพื้นเมืองขดรวมกันอยู่ในที่หัวใจและปอด ที่สำคัญคือพระเจ้าแสนแซ่เป็นพระพุทธรูปทองคำองค์แรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุแห่งชาติ

การค้นพบพระพุทธรูปองค์นี้ มีขึ้นในวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๖ โดยนายบุญเทียม เครือสาร อดีตผู้ใหญ่บ้าน โดยขณะที่เขากำลังเดินเก็บหญ้าอยู่ ได้พบดินก้อนโตขนาดเท่าผลมะม่วง มีสีออกวาวคล้ายโลหะ เมื่อนำไปล้างพบว่าเป็นเศียรพระพุทธรูป เขาจึงนำไปถวายพระครูสิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดในขณะนั้น ภายหลังทราบว่าเป็นเศียรพระพุทธรูปทองคำ จากนั้นนายบุญเทียม เจ้าของสวนได้จุดธูปเทียน ณ บริเวณที่ค้นพบเศียรพระพุทธรูป แล้วลงมือขุดลงไปลึกประมาณ ๑ คืบ ได้พบสิ่งที่เป็นพระศอ เมื่อขุดลึกลงไปอีกประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ก็พบองค์พระ เขาจึงนำไปมอบให้คณะสงฆ์


ต่อมาองค์พระพุทธรูปได้รับการเก็บรักษาไว้ ณ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ภายหลังทางกรมศิลปากรได้ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมา โดยผู้อำนวยการกองพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและดร.ชูวงศ์  ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดในครั้งนั้นเป็นกรรมการรับพระ จากนั้นในวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๗ ช่างได้ดำเนินการนำเศียรของพระพุทธรูปจนสำเร็จเรียบร้อย และนำมาประดิษฐาน ณ วัดเจดีย์ซาวหลังจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ทางวัดยังมีงานบุญประจำปีซึ่งจะจัดขึ้นในวันเพ็ญเดือนเก้าเหนือ (เดือน ๗ ใต้) ของทุกๆ ปี  


Rank: 8Rank: 8

23#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:11 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03280.jpg



DSC03303.jpg



วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี และโขงพระพุทธรูป วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ
  

DSC03284.jpg


DSC03287.jpg


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน โขง วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03281.jpg


รูปพระมหากัจจายนเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


คาถาบูชาพระมหากัจจายนเถระ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  กัจจายะนะมหาเถโร  สัพพะสันตาปะวัตติโต  สัพพะเวระมะติกกันโต  สัพพัตถะ  สัมมานะสัมปันโน  อลีติภูโต  สัทธา  เว  ภะวะตุ  หิตายะ  ธะนะสุขัง  โหตุ  ตัสสะ  มหากัจจายะนะมหาเถรัสสะ  ลาโภ  จะ  มหาลาโภ  จะ  อุปปันนา  โหนตุ  สัพพะทาฯ



DSC03283.jpg


รูปพระสีวลีมหาเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารพระมหากัจจายะนะและพระสีวลี วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ



คำอาราธนาพระสีวลีมหาเถระ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  เทวะตานะระปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  สีวะลี  จะ  มหาเถโร  ยักขา เทวาภิปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยา  ทิมหิ  อะหังวันทามิ  ตังสะทา



Rank: 8Rank: 8

24#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:11 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03304.jpg


DSC03310.jpg


ถ้ำหลวงพ่อมะขามเฒ่า พระครูวิมลคุณากร วัดพระเจดีย์ซาวหลัง บูรณะ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๐ ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

25#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:12 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03277.jpg


ห้องสมุดประชาชน วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03279.jpg



DSC03306.jpg


ทางไปบ่อน้ำสองพี่น้อง อยู่ด้านหลัง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ตามมาเลยค่ะ


Rank: 8Rank: 8

26#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:12 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03312.jpg


DSC09425.jpg



พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

27#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:12 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03316.jpg


DSC09427.jpg



ประตูทางเข้า/ออก บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC09438.jpg


DSC03319.jpg



รูปอนุสรณ์สองพี่น้องสร้างบ่อน้ำถวายแด่พระอรหันต์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ



DSC03321.jpg


หอเทพารักษ์ บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ  


Rank: 8Rank: 8

28#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:12 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC09437.jpg


DSC03324.jpg



บ่อน้ำบ่อพี่ วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


DSC03322.jpg


ประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง
วัดพระเจดีย์ซาวหลัง  

เมื่อพระยามิลินทร์ได้สร้างพระธาตุเจดีย์ซาวหลังน้อมถวายเป็นมหาสังฆทานอันยิ่งใหญ่แด่พระสงฆ์ทั้งปวง ซึ่งมีพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองร่วมเป็นประธานอนุโมทนาอยู่ด้วย และนับแต่นั้นมาพระอารามแห่งนี้ก็มีชื่อเรียกว่า “วัดป่า(พระ)เจดีย์ซาวหลัง”

ต่อมาได้มีชายหนุ่มกำพร้าอนาถาสองพี่น้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในละแวกนั้น เป็นคนเข็ญใจ แต่สองพี่น้องคู่นี้เป็นผู้มีจิตใจฝักใฝ่ในพระรัตนตรัยเป็นอย่างยิ่งและมิได้ตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อถึงวันธรรมะสวนะทั้งสองก็จะละจากการหาเลี้ยงชีพมาสดับรับฟังพระธรรมเทศนา ให้ทาน และรักษาศีล เจริญภาวนา อยู่มิได้ขาด อยู่มาวันหนึ่ง ทั้งสองพี่น้องต่างปรึกษาหารือถึงความเป็นอยู่ยากจนข้นแค้นของตัวเองและรำพึงถึงวาสนาที่อาภัพช่างไม่เหมือนผู้อื่นเขาเลย พลันชายผู้พี่กล่าวว่า

“ในชาติปางก่อนเราทั้งสองอาจจะไม่เคยได้ทำบุญให้ทานรักษาศีลเป็นแน่แท้ คงจะเป็นมัจฉริยะตระหนี่ถี่เหนียวมีจิตใจคับแคบไม่เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นเขา เกิดมาชาตินี้ จึงกำพร้าพ่อแม่แต่เยาว์วัย ยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ได้รับการดูถูกเหยียดหยามดังเช่นทุกวันนี้”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องจึงกล่าวว่า “คงจะเป็นผลกรรมตามสนองดังพี่ว่า แล้วเราทั้งสองจะทำประการใด” ชายผู้พี่จึงกล่าวปลอบโยนและชักชวนน้องชายว่า “น้องอย่าได้เศร้าเสียใจ และคิดย่อท้อให้กับความทุกข์ยากในปัจจุบันนี้เลย นับเป็นบุญของเราทั้งสองอยู่ที่ไม่เสียชาติ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์อีก ได้มาพบพระพุทธศาสนา และพระอรหันต์เจ้าทั้งสอง ควรที่เราจะประกอบคุณงามความดีไว้ เพราะความยากจนมิได้เป็นอุปสรรคในการกระทำความดี เราควรจะสร้างทำอะไรสักอย่างหนึ่งตามกำลังและศรัทธาที่เรามีอยู่ ถวายแด่องค์พระอรหันต์”

เมื่อชายผู้พี่กล่าวจบ ชายผู้น้องก็มีความชื่นชมยินดี และทั้งสองต่างปรึกษากัน ในที่สุดก็ตกลงใจสร้างบ่อน้ำถวายคนละบ่อ แล้วทั้งสองก็พากันไปเลือกดูสถานที่ เมื่อได้เป็นที่พอใจแล้ว วันต่อมาสองพี่น้องก็พากันมาพร้อมด้วยเครื่องมือขุด ก่อนจะขุดทั้งสองพี่น้องก็พากันคุกเข่าประนมมืออธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่า “ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นคนยากจนไร้ทรัพย์สมบัติ ขาดที่พึ่งอาศัย ต่างก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปรารถนาจะขุดบ่อน้ำถวายพระอรหันต์ ณ ที่นี้คนละบ่อ แต่ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นผู้มีกำลังน้อย เมื่อขุดขออย่าให้น้ำออกลึกจนเกินกำลัง ขอให้ลึกพอประมาณเถิด”

เมื่อทั้งสองอธิษฐานแล้วก็ลงมือขุดพร้อมกัน พอขุดได้ไปลึกประมาณ ๑ วา ก็มีน้ำใสสะอาดไหลซึมออกมาพร้อมกัน สองพี่น้องเมื่อเห็นเช่นนั้นต่างก็ปลื้มปีติลืมความเหน็ดเหนื่อยทั้งสิ้น จึงรีบตกแต่งบ่อน้ำให้เรียบดีแล้ว จึงนำเอาดินกี่ (อิฐ) ซึ่งเตรียมไว้แล้วมาก่อเป็นรูปบ่อน้ำสี่เหลี่ยม เมื่อเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว สองพี่น้องก็ได้น้อมถวายแด่พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสอง เพื่อจะได้ใช้อาบและฉัน และเพื่อให้เป็นสาธารณะประโยชน์โดยทั่วไป

บ่อน้ำทั้งสองนี้ (นับว่าแปลกมิใช่น้อย เท่าที่ทางวัดได้ขุดต่อมา บ่อบ่อหนึ่ง ปรากฏว่าลึกไม่ต่ำกว่า๕-๖ วา จึงจะพบน้ำ) อยู่ทางทิศเหนือของวัด ห่างจากกำแพงประมาณ ๗๐ เมตร ปัจจุบันนี้ยังคงมีน้ำใสสะอาดอยู่ตามเดิม ชาวบ้านเรียกกันว่า “บ่อน้ำสองพี่น้อง” จนทุกวันนี้



Rank: 8Rank: 8

29#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:13 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC09439.jpg


DSC03328.jpg



บ่อน้ำบ่อน้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ

ตามประวัติบ่อน้ำสองพี่น้อง อายุได้ ๒,๐๐๐ กว่าปี บูรณะเมื่อพ.ศ.๒๔๖๔ เชื่อกันว่าน้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดมีโรคภัยไข้เจ็บเยียวยาเท่าใดไม่หาย และมีเรื่องทุกข์ร้อนทางใจ ก็ไปตั้งสัจจะอธิษฐานขอดื่มและอาบสระเกล้าดำหัวจะทำให้ผู้นั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บและทุกข์ร้อนทางใจได้ เมื่อต้องการนำไปใช้ให้ตั้งจิตอธิษฐานแล้วตักเอาน้ำด้วยสัจจะคารวะเถิด
เวลาจะตักน้ำในบ่อน้ำ ไม่อนุญาตให้นั่งบริเวณขอบปากบ่อน้ำ


Rank: 8Rank: 8

30#
pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-2-2 18:13 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC03323.jpg


DSC09435.jpg


รูปปั้นพระฤาษี บริเวณ บ่อน้ำสองพี่น้อง วัดพระเจดีย์ซาวหลัง ค่ะ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-15 22:05 , Processed in 0.067413 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.