แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: Mr_Romeo
go

วัดพระยืน ม.๑ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน (พระยืนศิลา) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

Picture-276.jpg



Picture-296.jpg



พระเจดีย์ วัดพระยืน รูปทรงมณฑป มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานภายในซุ้มจระนำทั้งสี่ทิศ เครื่องบนประกอบด้วยเจดีย์ห้ายอด โดยมีเจดีย์ระฆังและเจดีย์ทรงกลมขนาดเล็กเป็นประธาน คล้ายคลึงกับอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม และเจดีย์วัดป่าสัก จังหวัดเชียงรายครับ


Picture-338.jpg


Picture-268.jpg



ประวัติพระเจดีย์ วัดพระยืน

เมื่อปีพ.ศ.๑๒๐๔ พระสุเทวฤาษีได้สร้างนครหริภุญชัยขึ้น เมื่อสร้างนครได้ ๒ ปี จึงได้อัญเชิญพระแม่เจ้าจามเทวีจากเมืองละโว้มาเสวยราชสมบัติ และเมื่อพระแม่เจ้าจามเทวีครองราชย์ได้ ๗ ปี เมื่อปีพ.ศ.๑๒๑๓ พระองค์จึงได้สร้างวัดทางทิศตะวันออกของเมือง สร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และเสนาสนะให้เป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ เรียกชื่อวัดนี้ว่า "อรัญญิการาม"

ปีพุทธศักราช ๑๖๐๖ สมัยพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์องค์ที่ ๓๒ แห่งนครหริภุญชัยมีผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุผุดขึ้นมาจากพื้นดินกลางเมืองเปล่งรัศมีต่างๆ พระองค์จึงมีบัญชาให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายสร้างพระสถูปปราสาทสูง ๑๒ ศอกมี ๔ เสาประตู ๔ ด้านตรงผอบที่พระบรมสารีริกธาตุผุดขึ้นนั้นภายหลังเรียกว่า "พระบรมธาตุหริภุญชัย" และพระเจ้าอาทิตยราชทรงหล่อพระมหาปฏิมากรทองสัมฤทธิ์สูง ๑๘ ศอก เสร็จแล้วได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทางทิศตะวันออกหลังพระวิหารวัดอรัญญิการาม และสร้างปราสาทสถูปเป็นที่ประดิษฐานพระมหาปฏิมากร (พระพุทธรูปยืน) นั้นด้วย เรียกชื่อว่า “วัดพุทธอาราม”


ต่อมาปีพ.ศ.๑๙๑๒ พระเจ้ากือนา กษัตริย์นครพิงค์เชียงใหม่ ได้นิมนต์พระสุมณะเถระจากเมืองสุโขทัยมาจำพรรษาที่วัดพระยืน จากนั้น จ.ศ.๗๓๒ (พ.ศ.๑๙๑๓) ได้ร่วมกับพระเจ้ากือนาสร้างมณฑปหนึ่งองค์ และโปรดให้สร้างพระพุทธรูปสี่องค์ ซึ่งศิลาจารึกวัดพระยืนกล่าวว่า เดิมมีอยู่แล้วองค์หนึ่ง สร้างขึ้นอีกสามองค์ รวมเป็นสี่องค์ ประดิษฐานไว้ในพุทธมหาวิหาร คือ วัดพระยืน เมื่อปีระกา เดือนยี่ออก ๓ ค่ำ วันอังคาร ซึ่งปรากฏตามหลักศิลาจารึกความว่า “พระมหาเถระเป็นเจ้า จึงให้แรกสร้างพระยืนเป็นเจ้าในปีระกา เดือนยี่ออก ๓ ค่ำวันไตยกาบเส็ด วันเม็งอังคาร เมื่อจักได้สร้างศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ดฯ....ถัดนั้นท่านเป็นเจ้าให้แรกมาฆะ คือประชัยรากพระพุทธรูปยืนทั้ง ๓ ตน อันมาหนด้านใต้ ด้านเหนือ เมื่อวันหนวันตกนั้น ปีระกาเดือน ๓ แรม ๔ ค่ำฯ...วันศุกร์ศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ดโสด กระทำพระยืนเป็นเจ้าในปีระกามาแล้วในปีจอ”

และต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๔๔๗ พระคันธวงศ์เถระ (ครูบาวงศ์) ภายหลังที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลวิลาศ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้ก่อสร้างสถูปที่พังทลายแล้ว แต่องค์พระปฏิมากรสมัยที่พระเจ้าอาทิตยราชและพระสุมณะเถระกับพระเจ้ากือนาสร้าง ๔ องค์นั้นยังอยู่ การก่อสร้างขึ้นใหม่ได้ก่อหุ้มพระปฏิมากรทั้ง ๔ องค์เดิมไว้ภายในและได้สร้างก่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีก ๔ องค์

ต่อมานายอเล็กซานเดอร์ บราวน์ กริสโวลด์ ได้ทำการศึกษาสถาปัตยกรรมที่วัดพระยืนแห่งนี้ และได้ทราบจากพระภิกษุเมืองลำพูนว่า เจดีย์วัดพระยืนองค์ปัจจุบัน เจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูน ได้ให้หนานปัญญาเมือง ชาวบ้านหนองเส้ง ซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวงเป็นผู้ออกแบบและคุมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่แทนเจดีย์องค์เดิม ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมณฑปมีประตูโขงโล่งถึงกันทั้งสี่ด้าน ข้างในกลวง มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานทั้งสี่ด้าน สภาพเจดีย์เดิมชำรุดมากเหนือซุ้มขึ้นไปพังทลายลง เจ้าหลวงอินทยงยศจึงให้สร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เดิมที่ปรักหักพังไป เจดีย์องค์ใหม่นี้มีฐานสูงกว่าเดิมมาก ด้านบนมีระเบียงรอบ มีบันไดทางขึ้นสี่ด้าน จากการศึกษาของนายกริสโวลด์เห็นว่า สถาปัตยกรรมของวัดพระยืนนี้เป็นการสร้างเลียนแบบโดยย่อส่วนจากสถาปัตยกรรมพม่าแบบพุกาม ในราวพุทธศตวรรษ ๑๗

ปีพ.ศ.๒๔๗๑ กรมศิลปากร ได้ขึ้นทะเบียนเจดีย์วัดพระยืนเป็นมรดกของชาติ จนกระทั่งเมื่อพ.ศ.๒๕๔๘-๒๕๔๙ กรมศิลปากรได้จัดงบประมาณเพื่อทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ วัดพระยืน รวมทั้งการปรับภูมิทัศน์โดยรอบของวัด ในขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ปรับภูมิทัศน์ของวัดอยู่นั้นก็ได้พบสิ่งปลูกสร้างก่อด้วยฐานอิฐถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยมีการขุดพบฐานเจดีย์สมัยสุโขทัย ถนนที่ปูลาดด้วยอิฐโบราณ รวมถึงการขุดพบฐานเสนาสนะ



Rank: 8Rank: 8

Picture-292.jpg



Picture-342.jpg


ซุ้มจระนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนทั้งสี่ทิศ พระเจดีย์ วัดพระยืน ครับ


Picture-256.jpg


พระพุทธรูปองค์เล็ก ประดิษฐานบนแท่นบูชา ข้างบันไดด้านหน้า พระเจดีย์ทิศตะวันออก วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-254.jpg


ศิลาจารึกรูปใบเสมา อยู่ข้างบันไดด้านหน้า พระเจดีย์ทิศตะวันออก วัดพระยืน ครับ



Picture-267.jpg



ใบเสมา อยู่ด้านหน้า องค์พระเจดีย์ทิศเหนือ วัดพระยืน ครับ


Picture-273.jpg



Picture-272.jpg



ศิลาจารึกอีกแห่งหนึ่ง อยู่ด้านหน้า พระเจดีย์ทิศเหนือ วัดพระยืน ครับ


ประวัติศิลาจารึก วัดพระยืน


ลักษณะเป็นศิลาจารึกรูปใบเสมา วัสดุหินชนวนสีเทา ขนาดกว้าง ๕๕ เซนติเมตร สูง ๙๐ เซนติเมตร หนา ๑๐.๕ เซนติเมตร ตัวอักษรไทยคล้ายลายสือไทยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย จารึกนี้มีอักษรทั้ง ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มีข้อความ ๕๐ บรรทัด ด้านที่ ๒ มีข้อความ ๔๐ บรรทัดเช่นกัน

ตัวอักษรที่ใช้เป็นอักษรไทยคล้ายกับที่ปรากฏบนจารึกสุโขทัย บอกปีศักราชชัดเจน คือจุลศักราช ๗๓๒ (พ.ศ.๑๙๑๓) มีใจความกล่าวถึงพระสุมนเถระนำเอาพุทธศาสนาลักธิลังกาวงค์จากสุโขทัยมา เผยแพร่ในดินแดนล้านนาไทยซึ่งตรงกับสมัยของพระเจ้ากือนา จารึกหลักนี้ถือได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรล้านนาไทย ศิลาจารึกหลักนี้มีข้อความที่ถอดออกมาเป็นคำอ่านภาษาไทยปัจจุบันได้ดังนี้

คำอ่านด้านที่ ๑
นโม ตสฺส ภควโต
อันว่าพระเศลาจารึกเจ้าท้าวสองแสนนา อันธรรมิกราช ผู้เป็นลูกรักแก่พญาผายูเป็นหลานแก่พญาคำฟู เป็นเหลนแก่พญามังรายหลวงเจ้าท้าวนี้เมื่อสุดชนมาพิธี ปีเดือนพ่อตน ดังอั้นจึงได้เสวยราชชัยศรีมีศักดิ์มีบุญฤทธิ์เดชะตบะหนักหนา เป็นญามหาธรรมิกราช อาจบังเกิดศรัทธาใน ศาสนาพระศีรัตนตรัย และจึงให้ไปอาราธนานิมนต์พระมหาเถรเป็นเจ้าผู้หนึ่งชื่อมหาสุมนเถร อันอยู่ในนครสุโขทัย คาบนั้นบ่มิได้มาแลพอยจึงให้ไปบ่าบวงสรวงอาราธนาอัญเชิญพระมหาเถรเป็นเจ้าด้วยเคารพหนักหนาคาบหนึ่โสด คาบนั้นท่านเป็นเจ้าจึงลีลามาด้วยศิษย์คนตนล้วนผู้ดีย่อมอริยสงฆ์ทรงศีลาจาร อุกฤษฏ์หนักหนา

พระมหาเถรเป็นเจ้านั้นโสด ประกอบด้วยอิริยาบทอันดีมีอินทรีย์อันสานต์ทานอดญาณกรัตตัญญูตา กอปรด้วยปัญญาและศีลาจารบุญสมภารรู้ฉลาดในโวหารอรรถธรรมทั้งหลาย รู้สั่งสอนคนเข้าในไตรสรณคมน์ และผู้ใดจักจมไปในจตุราบายนรกไซร้ ท่านยกออกบอกหนนทางสวรรค์ด้วยอันว่าให้จำศีลกระทําเพียรภาวนา เมื่อท่านเป็นเจ้ามานั้นในปีระกาเดือนเจียงวันศุกร์ วันท่านเป็นเจ้าจักเถิง วันนั้น ตนท่านพญาธรรมิกราชบริพาร ด้วยฝูงราชโยธามหาชนพลลูกเจ้าลูกขุนมนตรีทั้งหลาย ยายกันให้ถือกระทงข้าวตอกดอกไม้ไต้เทียน ตีพาทย์ดังพิณฆ้องกลองปี่สรไน พิสเนญชัย ทะเทียดกาหล แตรสังข์มาน กังสดาลมารทงค์ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง อีกทั้งคนร้องโห่อื้อดาสะอ้านทั่วทั้งนครหริภุญชัยแล

จึงไปรับพระมหาเถรเจ้า อัญเชิญเข้ามาในพระพิหาร โอยทานเวนทั้งกุฏีสถานอาวาสนี้แก่พระมหาเถรเป็นเจ้านั้นแล้ว จึงบำเรอแก่พระมหาเถรเป็นเจ้าแลฝูงสงฆ์ทั้งหลายด้วยจตุปัจจัยอันควรดี ฝูงคนอันอยู่ภายในกุมกามเชียงใหม่ผู้นก็ดีฝูงคนอันมีในเมืองหริภุญชัยนี้ก็ดี เขามีใจศรัทธาแก่พระมหาเถรเป็นเจ้า บางคนเข้าบวชจำศีลกระทำวีระอันดีแห่งสำนักพระมหาเถรเป็นเจ้า แต่นั้นจึงบังเกิดเป็นบุญธรรมหนักหนา พระมหาเถรเป็นเจ้ามาอยู่บมินานเท่านใด ท่านจึงรำเพิงไปมาพิจาร(ณา)...เจ้ามาอยู่มินานเท่าใด ท่านจึงรำเพิงไปมาพิจาร (ณา)าสนี้ กับพระพุทธรูปยืนอันสถิตอยู่ด้านปลา............ก นี้ อันอาจารย์เถ้าแก่แต่ชั่วก่อนหากกระทำประ........มหาเถรเป็นเจ้าจึงตริได้ด้วยกำลังปัญญา จัก...........ธ..........ชน คนสับบุรุษทั้งหลาย..............................................พระเป็น..................เถิงห้า........

คำอ่านด้านที่ ๒
ฉลองรองตีนภายใต้ให้ไปกล่าวพิจารณาการอันจักกระทำพระนั้น แห่งท่านพระยามหาธรรมิกราชผู้เป็นเจ้าเมือง ท่านพระยาครั้นได้ยินว่าพระมหาเถรเป็นเจ้าจักกระทำพระดังอั้นเยียบังเกิดศรัทธายินดีหนักหนา จึงให้ฝูงมนตรีมาอยู่จำนำแต่งกระทำด้วยพระมหาเถรเป็นเจ้าโสด ถัดนั้นพระมหาเถรเป็นเจ้าจึงให้บอกแก่ฝูงอุบาสกอุบาสิกามหาชนคนทั้งหลาย ท่านสัปปุรุษและฝูงนั้น ท่านนักปราชญ์ทั้งหลายให้หาหินแลงแปลงเลียด แล้วท่านให้พิทธดูฤกษ์พารกาลฉายานาทีตรียางศ์นพางค์ลัคนาอันเป็นมหามงคล แล้วพระมหาเถรเป็นเจ้าจึงให้แรกทคุกบ่อนบัลลังก์พระยืนเป็นเจ้านี้ ในปีระกาเดือนยี่ ออกสามค่ำ วันไทยวันกาบเส็ด วันเม็ง วันศุกรพารเมื่อจักใกล้รุ่ง มุงดูศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ด ๗๓๑ ได้ฤกษ์เจ็ดอันชื่อบุรนรรพสุ

ถัดนั้นท่านเป็นเจ้า พอยให้อรกทคุกประชนรากพระพุทธรูปยืนทั้งสามคน อันมีหนด้านใต้ด้านเหนือเมือหนตะวันตกนั้นก็ปีระกา เดือนสาม แรมสี่ค่ำ วันไทยวันกัดเรา วันเม็งวันพารศุกร์ ตูฉายาเมื่อตะวันขึ้นสิบห้าฝ่าตีนม ได้จิตรฤกษ์ ศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ดโสด ๗๓๑ กระทำพระยืนเป็นเจ้านี้ในปีระกามาแล้วในปีจอพอได้สองเข้า ท่านเป็นเจ้าให้ฉลองในสองปีนั้นสามคาบ ในกาลเมื่อฉลองนั้น ท่านพระยาธรรมิกราชเเละหากรังแต่งการะยาทานอัสสบริสการทั้งหลายมาถวายให้เป็นมหาทานทุกด้านแล ด้วยเดชชะบุญพระมหาเถรและท่านพญาธรรมิกราชอันดีหนักหนา หากังวลอันตรายบได้สักอัน วันอันท่านใส่ยอดพระเป็นเจ้านั้น พระหากกระทำปาฏิหาริย์ส่องชาลรังสีมีหกฉันดูใสพาวในกลางหาวงามดังแสงเคียกรุ้งฝูงพลทั้งหลายหันอัศจรรย์หนักหนา

เมื่อฉลองพระยืนเป็นเจ้าคาบหลังนั้นโสดในเดือนหกบุรณมีวันพฤหัสบดี ท่านพญาธรรมิกราชให้ทานแปลงปราสาทอันหนึ่งและประดับงามดีหนักหนา ผิจักอุปมาไปดังมหาไพชยนต์ปราสาทนั้นดายแล จึงสรงพระธาตุเป็นเจ้าด้วยน้ำสุคนธศรีสินธุธารา แล้วจึงบูชาพระธาตุเป็นเจ้าด้วยเครื่องบูชาอันพิเศษหนักหนาและครบถ้วนสามวัน เมื่อพญาธรรมิกราชสรงพระธาตุวันลุนั้นในสุพวรรณภาชน์ พระธาตุเป็ฯเจ้าจึงกระทำปาฏิหาริย์เวียนไปมาในขันคําแลจึงบันลือรังสีรัศมีออกต่างๆ ฉัน ท่านพญาบังเกิดศรัทธา จึงให้อัญเชิญฝูงมหาเถรนุเถรทั้งหลายเข้าดูปาฏิหาริย์..........(อัน)นครวรงามดีเพิงมีใจอัศจรรย์หนักหนาดังอั้น................ประดิษฐากพระมหาพุทธรูปหล่อ.............................เดือนสิบเอ็ด แรมค่ำหนึ่ง...............มพอเด็ดมาลับศักรา................................ในปีนั้นจ.............................(พระเป็น)................




Rank: 8Rank: 8

Picture-341.jpg


Picture-332.jpg



คำไหว้พระเจดีย์ วัดพระยืน

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) อะหัง วันทามิ ติฏฐะพุทธะรูปัญจะ เจติยัญจะ สักกัจจัง วะระสัญยิตัง อิมินา ปุญเญนะ สะทา โสตถิ ภะวันตุเม


ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาอย่างยิ่ง ซึ่งพระพุทธรูปยืน และพระเจดีย์อันประเสริฐ  ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


Rank: 8Rank: 8

Picture-287.jpg


Picture-290.jpg



วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8


Picture-275.jpg

สถูปเจดีย์ วัดพระยืน อยู่ด้านหลัง วิหารพระเจ้าทันใจและฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย ครับ


Picture-284.jpg


ฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ภายในพบพระพุทธรูปศิลปะหริภุญชัย อยู่ด้านหน้า สถูปเจดีย์และด้านหลังวิหารพระเจ้าทันใจ ครับ


Picture-222.jpg


รูปภาพฐานเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-215.jpg



Picture-216.jpg



รูปภาพเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย ถูกค้นพบใต้ฐานพระเจดีย์ที่ฝังอยู่ใต้ดิน บริเวณหลัง วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระยืน ครับ



ประวัติการค้นพบเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย วัดพระยืน เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรได้ขุดพบเศียรพระพุทธรูปสมัยหริภุญชัย สันนิษฐานว่ามีอายุในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ และโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากอยู่ใต้ฐานพระเจดีย์ที่ฝังอยู่ใต้ดินบริเวณหลังวิหารพระเจ้าทันใจ ซึ่งนับเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญทางวิชาการและโบราณคดีชิ้นใหม่ที่พบล่าสุด


Picture-229.jpg


พระสิบ ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-231.jpg


พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ครุฑแบก ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ



Picture-233.jpg



พระพิมพ์ซุ้มปรางค์
ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ



Picture-235.jpg



พระสิบสอง ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-237.jpg


พระพุทธซุ้มพระพุทธคยา ถูกค้นพบที่ใต้ฐานพระเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Rank: 8Rank: 8


Picture-295.jpg



ฐานวิหารสมัยสุโขทัย ตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของเจดีย์ทรงกลมศิลปะสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-294.jpg



ฐานส่วนด้านหลังวิหารสมัยสุโขทัย วัดพระยืน ครับ


Picture-227.jpg



รูปภาพฐานวิหารสมัยสุโขทัย วัดพระยืน ตอนพึ่งถูกขุดค้นพบครับ


Picture-220.jpg


รูปภาพสะพานโบราณ (รูปเก่า) สะพานไม้เชื่อมต่อระหว่างวัดพระธาตุและวัดพระยืนครับ


Picture-225.jpg



รูปภาพทางเดินปูอิฐ สันนิษฐานว่าเป็นถนนพระราชดำเนินของพระเจ้ากือนาเสด็จมานมัสการพระสุมนเถระครั้งพำนักอยู่วัดพระยืนครับ


Rank: 8Rank: 8

Picture-278.jpg


วิหารแสงทองส่องธรรม วัดพระยืน ครับ


Picture-280.jpg


รูปพระมหากัจจายนเถระ ประดิษฐานภายใน วิหารแสงทองส่องธรรม วัดพระยืน ครับ


คำไหว้พระมหากัจจายนเถระ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ)  อิมินา  สักกาเรนะ  สาวะกะสังโฆ  กัจจายะ  นะเถโร มหาเตชะ  วันโต  พุทธะโภ  คาวะโห  ปาระมิตาโร  อิทธิฤทธิ  ติตะมะณะตัง  สะระณัง  คัจฉามิ



Rank: 8Rank: 8

Picture-331.jpg


ฐานอิฐโบราณสถาน วัดพระยืน อยู่ด้านข้างซ้าย วิหาร ครับ


Picture-334.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระยืนศิลาและพระเจดีย์ วัดพระยืน วันนี้ก็ขอจากกันไปด้วยภาพบรรยากาศเก่าๆ ของวัดพระยืนเลยนะครับ สวัสดีครับ


‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-29 09:23 , Processed in 0.100050 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.