แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดอูปา (บุพพาราม) ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ. เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 03:59 โดย pimnuttapa

  
DSC00215.jpg

พระพุทธรูป รูปพระอุปคุตมหาเถระจกบาตร และรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย (เรียงจากขวา–ซ้าย) ประดิษฐานภายใน วิหารครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบุพพาราม ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 03:59 โดย pimnuttapa

  
DSC00219.jpg

พระพุทธรูป และรูปพระอุปคุตมหาเถระจกบาตร (เรียงจากขวา-ซ้าย) ประดิษฐานภายใน วิหารครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบุพพาราม ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 04:00 โดย pimnuttapa

  
DSC00220.jpg

รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน วิหารครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบุพพาราม ค่ะ

เรามากราบนมัสการครูบาเจ้าศรีวิชัย พร้อมกันเลยนะคะ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) ศรีวิชัยชะนะ มหาเถโร สัพพะราโภ นิรัน (ตรัง) ๓ จบ ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 04:00 โดย pimnuttapa


DSC00217.jpg

เชิญร่วมทำบุญตักบาตรพระประจำวันเกิด ภายใน วิหารครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบุพพาราม ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-19 11:57  

DSC00226.jpg

ประตูทางเข้า/ออก บ่อน้ำทิพย์ วัดบุพพาราม ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-19 11:59  

DSC00227.jpg

บ่อน้ำทิพย์ วัดบุพพาราม ค่ะ

ประวัติบ่อน้ำทิพย์ วัดบุพพาราม


บริเวณที่ตั้งวัด นอกจากเดิมเคยเป็นคุ้มสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้ว วัดนี้ยังเคยเป็นที่อยู่ของพระสังฆราช สมัยพระสังฆราชราชปุสระเทวะ และมีความสำคัญในระบบความเชื่อ พระเจ้ากาวิละนำพลจากเวียงป่าซางเป็นเวลา ๕ วัน ถึงเชียงใหม่เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๓๓๙ ก็ได้พักแห่งแรกที่วัดบุพพาราม จากนั้นจึงนำขบวนไปทางใต้ ทางทิศตะวันตกและทางเหนือของเมือง ไหว้พระที่วัดเชียงยืน แล้วจึงเข้าเมืองทางประตูหัวเวียงตามประเพณีโบราณ และจัดให้ "ลวะจูงหมาพาแชกนำเข้าเมือง" เหมือนครั้งพระยามังรายเข้าเมือง

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๔๐) และสมัยเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๔๔- ๒๔๕๒) ได้อัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทองเข้าเมืองเชียงใหม่มาประดิษฐานที่วัดบุพพาราม ให้ประชาชนสรงน้ำเป็นประจำในเดือน ๔ ใต้เดือน ๖ เหนือ น้ำบ่อในวัดจึงเรียกว่า บ่อน้ำทิพย์

บ่อน้ำนี้ขุดสร้างขึ้นก่อนสร้างวัด เป็นบ่อน้ำที่อยู่ในพระราชอุทยานของพระเจ้าติโลกราช (กลางอุทยานพระเจ้าติโลกราช) เมื่อพระเจ้าเมืองแก้วทรงสร้างวัดบุพพาราม พระพุทธรูปปฏิมากรและพระเจดีย์ขึ้น จึงได้ใช้น้ำอันบริสุทธิ์สะอาดและเยือกเย็นแจ่มใสมาสรงองค์พระบรมสารีริกธาตุเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อันเป็นที่เคารพสักการะยิ่ง แล้วจึงได้สงวนบ่อน้ำนี้ไว้เป็นน้ำสำหรับสรงน้ำพระ ถือเป็นบ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์ ห้ามสตรีเข้าไปกล้ำกรายภายในค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-19 12:01  

DSC00228.jpg

เดี๋ยวเราเดินไปกราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดบุพพาราม กันต่อเลยนะคะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 04:02 โดย pimnuttapa

  
DSC00229.jpg

พระบรมธาตุเจดีย์ วัดบุพพาราม ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 04:02 โดย pimnuttapa


DSC08708.jpg

ประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดบุพพาราม

ต่อจากที่พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราชทรงสร้างพระมหาพุทธรูปแล้ว พระองค์ทรงสร้างเจดีย์อีก ๑ องค์ ณ วัดบุพพาราม ในจุลศักราช ๘๗๒ ปีมะแม กว้างประมาณ ๑๒ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก ปิดด้วยทองเหลืองทั้งองค์ รูปแบบทรงล้านนาไทย บรรจุพระเกศาธาตุ ลำดับนั้น เหล่าพระสงฆ์และคณะศรัทธาชายหญิงทั้งหลาย ก็ได้เปลื้องอาภรณ์เครื่องประดับออกมาบูชาปรารถนาเป็นบุญกุศล เพื่อถวายไว้ ณ พระพุทธศาสนาสืบไป

ได้เริ่มก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ เมื่อเดือน ๓ สำเร็จเดือน ๖ ขณะทำการก่อสร้างได้ปรากฏความอัศจรรย์เป็นอเนกประการ ต่อมาพระราชาจึงได้ถือเป็นจารีตประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในเดือน ๖ เหนือ เดือน ๔ ได้สืบกันมาเป็นเวลาช้านาน จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ทิ้งประเพณีอันดีงามนี้ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-22 04:03 โดย pimnuttapa

  
DSC08703.jpg

การบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ วัดบุพพาราม

คุณหลวงโยธการวิจิตร (พยาตกา) อุปโยคิน ได้เสียสละทรัพย์ส่วนตัว เสริมองค์พระเจดีย์ทั้งองค์ โดยเปลี่ยนรูปทรงใหม่เป็นศิลปกรรมผสมพื้นเมือง พม่า มอญ จากของเดิมเป็นศิลปกรรมไทยล้านนา ฐานกว้างประมาณ ๑๒ ศอก สูงประมาณ ๓๐ ศอก ที่นี้คุณหลวงโยธการวิจิตร มาบูรณะขยายฐานกว้าง ๓๘ ศอก สูง ๔๕ ศอก มีฉัตรเล็กๆ อยู่ ๘ ฉัตร มีต้นดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง อย่างละ ๔ ต้น และมีฉัตรใหญ่อันเป็นยอดสูงสุด ๑ ฉัตร เป็นศิลปกรรมพม่าผสมมอญ บูรณะเมื่อปีจอ จ.ศ. ๑๒๖๐ พ.ศ. ๒๔๔๑ สำเร็จในปีนั้นเอง และได้ทำบุญยกฉัตรวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๑ ตรงกับเดือน ๕ เหนือ แรม ๑๕ ค่ำ

ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๙๙ พระอุดมกิติมงคล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ย้ายมาจากวัดเชตวัน โดยการอาราธนาจากญาติโยมศรัทธามาอยู่แล้ว ต่างคนต่างอยากบูรณะพระเจดีย์ที่ทรุดโทรมมากอีก คณะศรัทธามีปัจจัยเพียง ๑๐๐๐ กว่าบาทเท่านั้น โดยเริ่มลงมือบูรณะเมื่อวันพฤหัสบดี แรม ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู จ.ศ. ๑๓๒๓ ตรงกับวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔ บุรพอาษาฒฤกษ์เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ - ๑๑.๐๐ น. ให้ช่างลงมือจัดตั้งนั่งร้าน โดยรอบพระเจดีย์ประมาณ ๒๙๐ เล่ม จากฐานชั้น ๓ ขึ้นไปถึงยอดฉัตร ก่อนจะทำการบูรณะได้อาราธนาพระสงฆ์ ๔ รูป มารับเครื่องไทยทาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ทำการก่อสร้าง อุทิศให้เป็นปัตติทานมัยกุศลในครั้งนี้โดยทั่วกัน การบูรณะได้สำเร็จลงเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ ตรงกับเดือน ๕ ขึ้น ๑๐ ค่ำ วันพฤหัสบดี เวลา ๙.๓๐ น. แห่งภรณีฤกษ์ ได้อาราธนาพระสงฆ์เถรานุเถระ จำนวน ๙ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ ยกฉัตรเจดีย์ขึ้นสู่ยอด แล้วถวายไทยทานและภัตตาหารเพล มีญาติโยมมาร่วมอนุโมทนาเป็นจำนวนมาก รวมเวลาทำการบูรณะ ๔ เดือน กับ ๖ วัน จึงสำเร็จรวมสิ้นทุนทรัพย์ในการบูรณะ ๒๖,๙๗๘ บาท ค่ะ




‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-17 11:25 , Processed in 0.046970 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.