แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระสิงห์ (อโศการาม) ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:16  

DSC00185.jpg

พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) ประดิษฐานภายใน พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองล้านนาไทยมาแต่โบราณกาล ในวันสงกรานต์จะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) ประดิษฐานบนรถบุษบกแห่รอบเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการบูชาเป็นประเพณีสืบมา และผนังด้านหลังพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) เขียนเป็นลายทองคล้ายกู่ มีต้นไม้ต่างๆ ประดับอยู่อย่างสวยงามค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:21  

DSC00187.jpg
DSC00188.jpg

พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์)  เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑ เมตร สกุลช่างแบบเชียงแสน ซึ่งมีพระพุทธลักษณะองค์อวบอ้วนมาก พระอุร (อก) ใหญ่ ประทับขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า) สั้นเหนือพระถัน พระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระหนุ (คาง) เป็นรอยหยักกลมพระองคุลี (นิ้วมือ) ไม่เสมอกัน เม็ดพระศก (ผม) ใหญ่ พระรัศมีเป็นต่อมกลมแบบบัวตูม พระกรขวาวางเหนือพระชานุ (เข่า) เล่นนิ้วพระหัตถ์ พระกรซ้ายคล้ายกับหักศอก

ประวัติพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) วัดพระสิงห์  


ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๘ (พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๗๐๐ ปี กษัตริย์ ๓ องค์ และพระอรหันต์ ๒๐ องค์ในลังกา ปรารถนาจะเห็นองค์พระพุทธเจ้า จึงให้พระยานาคตนหนึ่งเนรมิตตนเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา กษัตริย์และประชาชนเกิดความเลื่อมใสศรัทธาพร้อมทั้งกล่าวสรรเสริญและสักการบูชาถึง ๗ วัน กษัตริย์ ๓ องค์ และพระอรหันต์ ๒๐ องค์ โปรดให้หล่อพระพุทธรูปปฏิมาด้วยทองสำริด และได้ถวายพระนามว่า พระพุทธสิหิงค์ เพราะมีพระอุระสง่าเช่นราชสีห์ ตามตำนานว่าพระพุทธสิหิงค์มาจากลังกา-นครศรีธรรมราช–สุโขทัย–อยุธยา–กำแพงเพชร-เชียงราย และสุดท้ายที่เชียงใหม่)

ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ สมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่พระวิหารหลวง และพระเมืองแก้ว (พระเจ้าธรรมจักรพรรดิราช) โปรดให้สร้างพระวิหารลายคำขึ้นสำหรับประดิษฐานพระพุทธสิงห์ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:30  

DSC00186.jpg

เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์) ภายใน พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ พร้อมกันนะคะ

คำไหว้พระพุทธสิหิงค์


(กล่าวนะโม ๓ จบ) อิติ  ปะวะระ  สิหิงโค  อุตตะมะยะโสปิ  เตโช  ยัตถะ  กัตถะ  จิตโตโส  สักกาโร  อุปะโท  สะกาละ  พุทธะสาสะนัง  โชตะยันโตวะ  ทีโป  สุระนะเรหิ  มะหิโต  ธะระมาโนวะ  พุทโธติ


Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:37  

DSC00189.jpg
Picture-819.jpg

ผนังเขียน พระวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ เป็นผนังจิตรกรรมสวยงามมาก และบานประตูหน้าต่างผนังเขียนเป็นลายทองคล้ายกู่ มีต้นไม้ต่างๆ ประดับอยู่เช่นเดียวกับผนังด้านหลังพระประธาน ส่วนผนังด้านข้าง ๒ ด้าน ด้านทางเหนือ เป็นเรื่องสังข์ทอง เขียนโดยช่างเชียงใหม่ และด้านใต้ เป็นเรื่องสุวรรณหงส์ เขียนโดยช่างกรุงเทพ เพื่อประชันฝีมือกันว่าใครจะเขียนได้สวยกว่ากันในสมัย ร.๔ เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเชียงใหม่ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-30 07:42  

Picture-823.jpg

กู่ลาย วัดพระสิงห์ ประดิษฐานด้านหลัง พระวิหารลายคำค่ะ

กู่ลาย วัดพระสิงห์ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมี ๕ ยอด มีทางเชื่อมจากผนังด้านหลังวิหารลายคำเข้าสู่อุโมงค์ของกู่ลาย เป็นสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมของล้านนา ตามตำนานกล่าวว่า กษัตริย์มังรายองค์ที่ ๑๔ สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๙ ในกู่ลายมีของมีค่าจำนวนมาก และพระองค์ทรงให้บรรจุไว้ที่เดิมค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:34  

Picture-822.jpg

ทางเชื่อมจากผนังด้านหลังวิหารลายคำเข้าสู่อุโมงค์ของกู่ลาย วัดพระสิงห์ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-5-30 07:40  

DSC00192.jpg

พระพุทธรูป ประดิษฐานประจำซุ้มทั้ง ๓ ทิศ กู่ลาย วัดพระสิงห์ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:46  

Picture-816.jpg

พระอุโบสถสองสงฆ์ วัดพระสิงห์ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 10:49  

DSC00178.jpg

พระอุโบสถสองสงฆ์  วัดพระสิงห์  เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา กว้าง ๖ วา ๑๐ นิ้ว ยาว ๑๔ วา ๑ ศอก หลังคา ๓ ชั้น มีลายสลักไม้อยู่ตามตัวอาคาร และกรอบประตู - หน้าต่างเป็นลายปูนปั้นปิดทองทำเป็นลายพันธุ์พฤกษาประกอบเป็นรูปสัตว์ ตับของหลังคาจะมีองศาที่ไม่เสมอกัน มุงกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าในระกา ซุ้มประตูและหน้าบันมีพระพุทธปฏิมาประดิษฐานอยู่ประสาทกลางบุษบก ซึ่งมีลวดลายสวยงามมาก พระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์องค์ที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์มังรายเป็นผู้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๓๑-๑๙๕๔ และได้ทำนุบำรุงสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ค่ะ


DSC00206.jpg

ประตูทางเข้า/ออก พระอุโบสถสองสงฆ์ วัดพระสิงห์ เป็นสถาปัตยกรรมล้านนา ลักษณะเป็นรูปแบบพิเศษ แตกต่างกับอุโบสถทั่วไปคือ มีมุขสองด้าน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ทั้งสองด้านมีซุ้มประตูตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงามค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-4-13 12:20  

DSC00180.jpg

พระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐานภายใน พระอุโบสถสองสงฆ์  วัดพระสิงห์ ค่ะ

พระพุทธปฏิมาประธาน หรือพระเจ้าทองทิพย์ ประดิษฐานตรงกลาง พระอุโบสถสองสงฆ์ตามแบบลังกา ซึ่งอุโบสถหลังนี้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ตอน ภาพที่เราเห็นเป็นพระอุโบสถสองสงฆ์พื้นที่ตอนที่หนึ่ง (ด้านเหนือ) เป็นที่พระภิกษุสงฆ์ทำสังฆกรรมค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-29 20:26 , Processed in 0.083699 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.