แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ (พระธาตุส่วนกลางกระหม่อมองค์ที่ ๒) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:11 โดย pimnuttapa



Picture-157.jpg

พระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนกลางกระหม่อม เกือบเท่าเม็ดถั่วเขียวมีสีสันวรรณะเรืองรองดังทองอุไร และถือเป็นพระธาตุสำหรับคนเกิดปีมะแมค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:12 โดย pimnuttapa



Picture-148.jpg

รอบองค์พระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๕ ประการได้แก่

๑. ฉัตร ๔ มุม ทำด้วยทองเหลือง สร้างโดยพระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. ๒๓๔๘ มีความหมายว่า เป็นสัญลักษณ์ของความร่มเย็น ซึ่งแสดงให้ถึงความสงบร่มเย็นที่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปในทิศทั้ง ๔ ทิศ
๒.สัตติบัญชร หรือ รั้วหอก มีขนาดด้านละ ๗ วา  ด้านตะวันออกมีซี่ ๑๒๐ เล่ม ด้านตะวันตกมี ๑๓๓ เล่ม ด้านใต้มี ๑๓๐ เล่ม และด้านเหนือมี ๑๒๐ เล่ม รวมทั้ง ๔ ด้าน เป็นจำนวน ๕๐๓ เล่ม ซึ่งมีที่มาจากเหตุการณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุของโทณพราหมณ์ เมื่อภายหลังการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เนื่องจากเหตุการณ์แย่งพระบรมสารีริกธาตุของเมืองต่างๆ เพื่อนำไปบูชาประจำเมือง โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่ง โดยใช้ทหารถือหอกรอบพระบรมสารีริกธาตุไว้ เพื่อป้องกันการแย่งชิง จึงเป็นที่มาของรั้วหอกรอบพระบรมธาตุ นอกจากนี้ มีปราสาทอยู่ทั้ง ๔ มุม ราวเทียนอีกด้านละ ๙ วา ๓ ศอก รวม ๔ ด้านได้ ๓๙ วา อนึ่ง ด้านตะวันออกมีประทีปทอง ๒๙ ดวง ด้านตะวันตก ใต้ และเหนือมีทิศละ ๒๗ ดวง ที่มุมทั้ง ๔ มีอีกมุมละ ๔ ดวง รวมทั้งหมดมี ๑๑๓ ดวง

๓. หอยอ ลักษณะเหมือนวิหารขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุ ภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ มีความหมายถึง การบูชาหรือสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า (ยอคุณ)
๔. หอท้าวโลกบาล ซึ่งเป็นหอยอดแหลมขนาดเล็ก ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ ที่ประดิษฐานของท้าวโลกบาลทั้ง ๔ ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาสิ่งสำคัญต่างๆ ทั้ง ๔ ทิศ ทำหน้าที่รักษาพระบรมธาตุ
๕. ไหดอกบัว หรือปูรณะฆะฏะ (ปูรณะ แปลว่า เต็ม สมบูรณ์ ฆฏะ แปลว่า หม้อ) แปลว่า หม้อที่แสดงถึงความสมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในล้านนาไทย






Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-6-24 01:32  

Picture-143.jpg

ซุ้มปราสาททางเข้า/ออก พระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:13 โดย pimnuttapa

  

Picture-206.jpg

รูปภาพพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ค่ะ   

ประวัติวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร


สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๑๖ (ค.ศ. ๑๓๗๓) ในสมัยของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๐๓๐ โดยมีตำนานที่เล่าเกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยสุเทพไว้ว่า ในสมัยพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ พ.ศ.๑๘๙๘ - ๑๙๒๘) ผู้ทรงมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้โปรดให้สร้างพระเจดีย์บนดอยสุเทพ โดยทรงนิมนต์พระมหาสุมนเถระเจ้าจากเมืองสุโขทัยให้มาประกาศศาสนาที่เมืองเชียงใหม่ และในครั้งนั้น พระมหาสุมนเถระเจ้าได้นำเอาพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาด้วย

พระเจ้ากือนาเกิดความเลื่อมใสมาก จึงโปรดให้มีพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุเพื่อจะได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูปเจดีย์ของวัดบุปผาราม ในขณะที่กระทำพิธีสรงน้ำพระบรมธาตุอยู่นั้นเอง พระบรมธาตุได้แยกออกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนากับพระมหาสวามีสุมนะจึงได้พร้อมใจกันทำพิธีบรรจุพระบรมธาตุองค์ใหม่ไว้ที่วัดสวนดอก ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมนำไปประดิษฐานไว้ที่ดอยสุเทพ โดยเริ่มจากการอัญเชิญผอบพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสถิตเหนือเศวตคชาธารช้างมงคลแล้ว อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป หากพระบรมธาตุประสงค์จะสถิตอยู่ ณ ที่ใด ก็ขอให้ช้างมงคลหยุด ณ ที่แห่งนั้น

และในระหว่างทางที่ช้างมงคลเดินทางไป ก็ได้หยุดเดินถึงสามครั้ง ทำให้เกิดชื่อของดอยช้างนูนและดอยงาม ครั้งที่สามซึ่งถือเป็นครั้งสำคัญ เนื่องจากช้างมงคลได้ไต่เขาไปจนถึงยอดดอยวาสุเทพบรรพตแล้วร้องเสียงดังจนก้องสะท้านไปทั่วภูเขา เมื่อเดินประทักษิณ ๓ รอบแล้ว จึงคุกเข่าหมอบลง และทันทีที่อาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังแล้ว ช้างมงคลนั้นล้มลงตายในทันที ซึ่งหมายความว่าจะไม่ยอมเป็นพาหนะของผู้ใดอีก

เหตุการณ์ในครั้งนั้น ปรากฏในพงศาวดารโยนก ว่า “… พระเจ้านครเชียงใหม่ให้สร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่ง ซึ่งเสด็จมาใหม่ไว้ในวัดบุปผารามนั้น ส่วนพระบรมธาตุองค์เดิมซึ่งพระมหาสุมนะเถระนำมาจากเมืองสุโขทัยนั้น เมื่อจะแสวงหาที่อันสมควรสร้างพระสถูปเจดีย์จึงเชิญผอบพระบรมธาตุขึ้นสถิตเหนือพระคชาธาร อธิษฐานเสี่ยงช้างพระที่นั่งปล่อยไป ช้างทรงพระบรมธาตุนั้นก็บ่ายหน้าเดินออกประตูหัวเวียงไปขึ้นสู่ดอยอุจฉุบรรพต (ดอยสุเทพ) ไปถึงผาลาดก็หยุดรออยู่ครู่หนึ่ง ก็ขึ้นต่อไปจนถึงจอมเขาแล้วก็หยุดอยู่ ณ ที่นั้น พระเจ้านครพิงค์เชียงใหม่กับพระมหาสุมนะเถระจึงพร้อมใจกันสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุนั้นไว้ ณ จอมเขาที่นั้น ในปีชวด อัฐศก จุลศักราช ๗๔๘ พิศาขมาส เพ็ญวันพุธ จันทร์เสวยฤกษ์ ๑๖ เป็นฤกษ์สถาปนาพระเจดีย์ธาตุสุเทพอันปรากฏอยู่ ณ จอมเขาหลังเมืองเชียงใหม่สืบมาจนทุกวันนี้ ” ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:14 โดย pimnuttapa



Picture-172.jpg

การสร้างเจดีย์ประดิษฐานพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เริ่มจากการขุดยอดดอยลึก ๓ ศอก แล้วเอาแท่งหินใหญ่ ๗ ก้อนมากรุเป็นผนังเหมือนหีบใบใหญ่ เมื่อนำพระบรมธาตุลงวางแล้ว ใช้หินถมทับให้แน่นหนาจนถึงปากแล้วจึงก่อสถูปสูง ๕ วา ครอบปากหลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง พระเจดีย์องค์นี้สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.๑๙๒๘ โดยมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ ๓ วา สูง ๗ วา ค่ะ



Rank: 8Rank: 8




DSC_0540.jpg



Picture-205.jpg



รูปภาพพระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ แห่งราชวงค์มังราย ค่ะ   

ในสมัยพระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ ๑๒ แห่งราชวงค์มังราย (ระหว่างพ.ศ.๒๐๓๘ - ๒๐๖๘) ได้ไปนิมนต์พระเถระรูปหนึ่งอยู่ที่วัดอโศการาม (วัดกู่ละมัก) จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นพระที่ประชาชนเคารพนับถือมากองค์หนึ่ง ชื่อว่าพระมหาญาณมงคลโพธิ มาเป็นพระประธานในการบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โดยมีการเสริมองค์พระเจดีย์ใหม่โดยขยายฐานออกไปด้านละ ๖ วา สูง ๑๑ วา ซึ่งเป็นขนาดที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้

นับจากที่ได้บูรณะครั้งแรกมาได้ ๑๓ ปี คือ พ.ศ.๒๐๘๑ พระเจ้าชายคำ พระราชโอรสของพระเจ้าเกษเกล้า ได้ขึ้นครองราชย์เมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้พระราชทานทองหนัก ๑,๗๐๐ บาท ให้ตีแผ่นเป็นทองจังโกปิดพระบรมธาตุ อนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๐๘๘ มีการก่อสร้างวิหารด้านหน้าและด้านหลัง ศาลาระเบียงรอบองค์พระเจดีย์ทั้ง ๔ ด้าน และจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด ดังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้ากาวิละทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระบรมธาตุด้วยการสร้างฉัตรโลหะปักไว้ที่มุมและสร้างรั้วเหล็กล้อมรอบองค์พระธาตุค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:16 โดย pimnuttapa

  

Picture-174.jpg

วิธีการบรรจุพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ คือบรรจุลงในกุ คือคล้ายๆ กล่องสี่เหลี่ยม บรรจุแก้วแหวนเงินทองเพื่อเป็นศิลาฤกษ์พร้อมกับพระบรมธาตุเอาไว้ แล้วไปฝังไว้ตรงดิน เป็นธรรมเนียมของการประดิษฐานครั้งโบราณ จะไม่ไว้ที่องค์ระฆัง หรือส่วนบนของสถูปเจดีย์ แต่จะฝังไว้ใต้ดิน การสร้างพระเจดีย์อยู่ข้างบนเหนือพระบรมธาตุนี้ เป็นคติตรงกันหมดตั้งแต่สมัยทวาราวดี, สุโขทัย ล้านนา ส่วนการที่เราเอาพระบรมธาตุมาไว้ที่องค์ระฆังหรือเจดีย์หรือพระปรางค์จะเริ่มตั้งแต่อยุธยาตอนกลาง ก่อนนั้นเอาไว้ใต้ดินทุกครั้ง ที่เป็นแบบกล่องหินมีฝาปิดฝังไว้ใต้ดินมีพระเจดีย์ครอบ พระเจดีย์องค์นี้สร้างทับลงไปบนพระบรมสารีริกธาตุ องค์ที่ได้มาจากเมืองบางจาง พระสุมนเถระอัญเชิญขึ้นมาพร้อมกับที่วัดสวนดอกค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:17 โดย pimnuttapa



Picture-189.jpg

ลักษณะพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังสิบสองเหลี่ยมตามแบบล้านนาตอนปลาย เป็นเจดีย์ทรงกลมมาก่อน ตั้งอยู่บนฐานสูงซ้อนกันหลายชั้น มีแผ่นจังโกปิดทองเหลืองอร่ามทั้งหมด แต่ถ้าดูจากสายวิวัฒนาการของพระเจดีย์องค์นี้แล้ว จะอยู่ปลายสุดของเจดีย์ทรงล้านนา เจดีย์แบบตอนปลาย เราเห็นมาแล้วที่วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ จะเป็นเจดีย์ทรงกลมคือองค์ระฆังเป็นทรงกลม

แต่เรามาดูองค์นี้ องค์ระฆังเป็น ๘ เหลี่ยม ฐานกลมเป็น ๘ เหลี่ยม องค์ระฆังที่เป็นทรงกลมแล้วมาเป็น ๘ เหลี่ยมนี่ คือวิวัฒนาการสุดท้าย แต่สิ่งที่ไม่เลียนแบบ คือตั้งอยู่บนฐานสูงมาก ประดับด้วยแผ่นทองจังโก คือเอกลักษณ์ของเจดีย์ล้านนา ล้อมรอบพระบรมธาตุ คือรั้วมีฉัตรทองปักอยู่ ๔ มุม คล้ายกับที่เราเห็นมาแล้ว คือพระธาตุลำปางหลวง ซึ่งเป็นอิทธิพลของพม่า

ฐานองค์พระบรมธาตุ มีรูปสิบสองนักษัตร ซึ่งเป็นทองเหลืองที่ครูบาศรีวิชัยท่านลงสลักเป็นรูปสัตว์ต่างๆ สิบสองราศี แล้วเอาไปปิดไว้ตามพระเจดีย์ จารึกไว้ตอนครูบาท่านมาบูรณะและสร้างทางเมื่อพ.ศ. ๒๔๗๗ ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:19 โดย pimnuttapa

  

Picture-146.jpg

คำนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ มีด้วยกัน ๕ บท คือ

บทที่ ๑ คำนมัสการเฉพาะองค์พระบรมธาตุ “สุวรรณเจติยัง เกชาวะระ มัตถะลุงคัง วะรัญญะ ธาตุง สุเทเวหิ สัพพบูชิตัง นะราเทเวหิ อะหัง วันทามิ ธาตุโย”
บทที่ ๒ คำนมัสการองค์พระบรมธาตุด้านทิศตะวันออก “ปัญญาวะสมิง เยวะจันทิมา ทาวัยยะ”
บทที่ ๓ คำนมัสการองค์พระบรมธาตุด้านทิศใต้ “ปิตะกะตะเย สาสะนิยา นิเกติ”
บทที่ ๔ คำนมัสการองค์พระบรมธาตุด้านทิศตะวันตก “โมณะ ปะถะ มะวะลัง ปาปายะฌานัง อะระหัง สังฆะ โสปานัง”
บทที่ ๕ คำนมัสการองค์พระบรมธาตุด้านทิศเหนือ “ปะถะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตะวา ปัตตะจีวะรัง ยังยัง ฌาตังตัง สังฆมัชเฌ ปุจฉาสวานะ”

อนึ่ง ทุกๆ ปี จะมีงานประเพณีนมัสการและสรงน้ำพระบรมธาตุดอยสุเทพ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือน ๖ และวันเพ็ญ เดือน ๗ หรือวันวิสาขบูชา ซึ่งชาวบ้านจะจัดริ้วขบวน ถือประทีปธูปเทียนไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ โดยมีพระสงฆ์เดินนำหน้า ชาวบ้านเดินตามหลัง ตามตำนานกล่าวว่า ประเพณีเดินขึ้นดอยเพื่อไปนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘ ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ซึ่งยังถือปฏิบัติกันอยู่จนทุกวันนี้ค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-18 23:20 โดย pimnuttapa

Picture-202.jpg

เรามากราบนมัสการพระบรมธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพ พร้อมกันเลยนะคะ

  (กล่าวนะโม ๓ จบ) สุวัณณะเจติยัง เกสาวะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหัง วันทามิ สัพพะทาฯ ปัญญะวา อัสมิงเยวะ จันทิมา อิวะธาระยัง ปิฏะกัตตะเยสาสะนะ นียานิเกติฯ โมกขะ ปะฐะมะวะรัง อะปายะนิวาระณัง อะระหัง สัคคะโส ปาณัง ปะฐะมัง อุปัชฌังคาหาเปตวา ปัตตะจีวะรังยังยังชาตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉาสะวาหะฯ (กราบ ๓ ครั้ง)

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อม บูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพานแม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงมีแต่ความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ




‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-5 13:08 , Processed in 0.070656 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.