แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระธาตุปางม่วง บ.ปางม่วง ต.ห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง (รอยพระพุทธบาท , พระเกศาธาตุ ๒ เส้น) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_5657.jpg



IMG_5654.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทวังมะนาว  วัดพระธาตุปางม่วง พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  พระพุทธบาทะ  ยัง  ตัตถะ  โยนะกะปุเร  มุนิโร  จะปาทัง  ตัง  ปาทะวะลัญชะ  นะมะหัง  สิระสา  นะมามิ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5684.JPG



รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย และ หลวงพ่อเกษม เขมโก ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ


IMG_5640.JPG



IMG_5639.JPG



รูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพุทธพระบาท วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ



คำไหว้พระครูบาเจ้าศรีวิชัย

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  อะยังวุจจะติ  สิริวิชะยะจะนะ  จะ  มหาเถโร  อุตตะมัง  สีลัง  นะระเทเวหิ  ปูชิโต  โสระโห  ปัจจะยาทิมหิ  มหาลาภา  ภะวันตุเม  อะหัง  วันทามิ  สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา  อะหัง  วันทามิ  สัพพะโส  สาธุ  สาธุ  สาธุ  อนุโมทามิ


IMG_5643.JPG



รูปเหมือนหลวงพ่อเกษม เขมโก ประดิษฐานภายใน มณฑปครอบรอยพระพุทธบาท วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ


คำไหว้หลวงพ่อเกษม เขมโก
(กล่าวนะโม ๓ จบ)
โอกาสะ โอกาสะ อาจาริโย เมนาโถ ภันเตโหตุ
อายัสมา เขมโก ภิกขุ เมนาโถ ภันเตโหตุ
อาจาริยัง วันทามิหัง



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5612.JPG



IMG_5690.JPG



IMG_5700.JPG



IMG_5702.JPG



IMG_5713.JPG



IMG_5715.JPG



หลังจากเรากราบนมัสการรอยพระพุทธบาทวังมะนาว วัดพระธาตุปางม่วง เสร็จแล้ว เราก็เดินไปกราบนมัสการพระธาตุปางม่วง วัดพระธาตุปางม่วง กันต่อนะคะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตามรอยพระ-20-220712-170.jpg



IMG_5740.JPG



IMG_5802.JPG



IMG_5796.JPG



IMG_5790.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุปางม่วง บรรจุพระเกศาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตามรอยพระ-20-220712-165.jpg



IMG_5805.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุปางม่วง เป็นสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย เพราะผู้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์นั้นเป็นคนอินเดีย คือ นายคาบินเยน โภราด่า ซึ่งเป็นนายช่างคุมคนงานในสมัยนั้น ทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานทางศาสนาอันดับที่ ๗ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ ๖๗ ตอนที่ ๑๕ วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๔๓ ค่่ะ


IMG_5786.JPG



ลักษณะเด่นของพระธาตุปางม่วง
คือ จะมีสัญลักษณ์รูปดาบไขว้กันปรากฏอยู่ด้านข้าง ๔ ด้าน ของพระบรมธาตุเจดีย์ และมีกระโจมรูป ๓ เหลี่ยม ตรงปลายของกระโจมจะมีสัญลักษณ์คล้ายหอก ๓ ง่าม อยู่ตรงส่วนนอกค่ะ


IMG_5803.JPG


IMG_5767.jpg



IMG_5813.jpg



IMG_5815.jpg



พระพุทธรูปองค์เล็ก ประดิษฐานภายในกระโจม ตามชั้นฐานทั้งสี่ด้าน องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5784.JPG



ตำนานพระธาตุดอยปางม่วง นครลำปาง



(แหล่งที่มา : ประชุม ดวงแก้วมูล ถวายโดย อาจารย์ศรีเนตร ทิพยมณี. (๒๕๔๙). ตำนานพระธาตุดอยปางม่วง นครลำปาง. หน้า ๑-๑๐.)


บัดนี้ จักได้กล่าวอุปัติเหตุที่พระบรมธาตุแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้มาประดิษฐานอยู่บนม่อนนี้ มีเนื้อความว่า ในอดีตกาลสมัยหนึ่ง เมื่อสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเชตะวันมหาวิหาร อันเป็นของนายอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถีพระมหานคร ในครั้งนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ ๖๐ พรรษา หลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๕ พรรษา ในราตรีวันหนึ่งพระองค์ทรงรำพึงในพระหฤทัยว่า บัดนี้เรามีพระชนมายุนับได้ ๖๐ ปีเข้ามานี้แล้ว ครั้นพระชนมายุได้ ๘๐ ปี เราก็จักเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เราควรอธิษฐานพระบรมธาตุออกเป็น ๓ ส่วนแจกให้แก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายนำไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์แล้วสักการบูชา

อนึ่งประเทศใดที่ยังไม่มีเราควรไปอธิษฐานบรรจุไว้ ณ ประเทศนั้น และทรงรำพึงต่อไปว่าอีกประการหนึ่ง เราควรเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายและประดิษฐานพระศาสนาไว้ในประเทศต่างๆ ดังนั้น ครั้นออกพรรษาแล้วพระองค์ทรงเสด็จออกจากพระเชตวันไปในวันเดือนยี่เหนือแรม ๑ ค่ำ (เดือน ๑๒ ได้) พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๓ รูป คือ พระโสณเถระ พระรัตนเถระ และพระอุตระเถระ และพระอานนท์เถระผู้เป็นเสกขบุคคลและท้าวสักกะเทวราชและสมเด็จพระเจ้าอโศกราชผู้ครองเมืองกุสินารายเสด็จไปเป็นพระพุทธอุปปะฐากพระองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ใคร่รื้อสัตว์ออกจากสงสารวัฏฏะทุกข์ ไม่เลือกหน้ามนุษย์บุคคลชนิดใด ถึงแม้ว่าจะอยู่ทิศหนตำบลใดไม่ว่าไกลหรือใกล้ พระองค์ก็จำเป็นจะไปเมตตาสัตว์นาๆ น้อยใหญ่

ในห้วงจตุทิศ อัฐทิสาโดยลำดับมาถึงเขาแห่งหนึ่งอันอยู่ใกล้แม่น้ำชื่อว่าแม่ตาล อันอยู่ทางทิศพายัพของโยนกนคร พอเสด็จมาถึงที่นั้นยังมีมหายักษ์ ๒ ตนอยู่และหลาน มีชื่อว่านายมหันตยศ ซึ่งอยู่อาศัยบนเขาลูกนี้ ได้อดอาหารมาได้ ๗ วันแล้ว ได้แลเห็นพระองค์มาจึงอยากจะกินพระองค์ แต่พระองค์กลัวมหายักษ์นั้นก็หาไม่ แต่พระองค์อยากจะให้มันไล่พระองค์ ให้มันอิดหิวก่อนแล้วค่อยเรียกมันมาสั่งสอน คิดดังนั้นแล้วมหายักษ์จึงไล่พระองค์มาทางทิศใต้ และทิศตะวันออกเฉียงใต้แห่งเขาลูกนั้น แล้วมหายักษ์จึงเนรมิตให้เป็นฝนเป็นลมใส่พระองค์ ท้าวมหาพรหมจึงเอาฉัตรมากั้นกางฝนให้พระองค์ มหายักษ์ไล่ตามพระองค์ไปๆมาๆก็ไม่ทันพระองค์ พระองค์เห็นมันอ่อนเพลียเต็มที่แล้วจึงร้องบอกว่าท่านไม่รู้จักกูหรือ มหายักษ์ตอบว่า กูไม่รู้ และแล้วพระองค์จึงบอกว่ากูเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าเทวดาและมนุษย์อินทร์พรหมยักษ์ทั้งหลาย

มหายักษ์ได้ยินดังนั้นแล้วจึงเข้าใจทัน แล้วจึงเข้ามานมัสการกราบไหว้พระองค์ พระองค์แม้รู้จึงแกล้งถามว่า ท่านเป็นใคร มีชื่ออย่างไร มหายักษ์ตอบว่า ข้าพระพุทธเจ้านี้ชื่อว่านายมหายักษ์ ได้อยู่รักษาป่าเขานี้มาตั้งแต่ก่อนเนิ่นนานนักหนาแล้ว เมื่อนั้นพระองค์จึงเทศนาอกุศลกรรมอันเป็นบาปให้มหายักษ์ฟัง แล้วจึงปันศีล ๕ ประการให้มหายักษ์ว่า (๑.) ปาณา ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์ (๒.) อทินนา ห้ามไม่ให้ถือเอาสิ่งของไม่อนุญาต (๓.) กาเม ห้ามไม่ให้ประพฤติผิดในกาม (๔.) มุสา ห้ามไม่ให้พูดเท็จ (๕.) สุรา ห้ามไม่ให้ดื่มสุราหรือเมรัยอันเป็นมูลของอกุศลทุกอย่าง ท่านมหายักษ์จงรับเอาศีลแห่งพระตถาคตไปจนตลอดชีวิต มหายักษ์จึงรับเอาศีล ๕ ประการจากพระพุทธเจ้า แล้วจึงมีใจโสมนัสยินดียิ่งนัก

แล้วพระพุทธเจ้าจึงรำพึงต่อไปว่า สถานะที่นี้ภายหน้าจักเป็นบ้านเมืองอันใหญ่ เราควรให้เกศาแก่มหายักษ์ให้เอาบรรจุไว้บนเขาที่มหายักษ์อาศัยอยู่นั้น เมื่อเราให้เกศาแก่มหายักษ์ให้เอาบรรจุไว้ในสถานที่นั้นให้เป็นที่กราบไหว้และบูชาแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คนและเทวดาทั้งหลายจักได้ถึงธรรมวิเศษมากนัก คิดดังนั้นแล้วพระองค์จึงยกพระหัตถ์เบื้องขวาลูบพระเศียร ได้พระเกศาติดพระหัตถ์ออกมาหนึ่งเส้น พระองค์ก็เอามอบให้พระอานนท์เถระ พระอานนท์เถระก็เอามอบให้มหายักษ์


แล้วมหายักษ์ก็ถามว่า จักให้ข้าเอาไปบรรจุไว้ที่ใด พระองค์จึงกล่าวว่า ให้เอาบรรจุไว้ที่ม่อนดอยที่มหายักษ์อาศัยอยู่ที่นั้น แล้วพระองค์เถระทั้งหลาย ท้าวสักเทวราช พระเจ้าอโศกราชจึงพร้อมกับเอาพระเกษาของพระพุทธเจ้าไปบรรจุไว้ที่นั้น และท้าวสักเทวราชจึงอธิษฐานแยกแผ่นดินให้เป็นช่องลึกประมาณ ๒๐ วา แล้วจึงเนรมิตผะอบทองคำใส่เกษาธาตุพระพุทธเจ้า แล้วเนรมิตผอบเงินใส่ผอบทองคำ แล้วเนรมิตผะอบทองเหลืองใส่ผอบเงิน แล้วเอาลงบรรจุไว้ที่นั้น ท้าวสักเทวราชก็ให้มหายักษ์อยู่รักษาพระเกษาธาตุไปจนตลอด ๕๐๐๐ พระพรรษา

IMG_5761.JPG



แล้วพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ดูก่อนอานนท์ สถานที่นี้ภายหน้าจักเป็นบ้านเมืองอันหนึ่ง และในที่มหายักษ์เนรมิตให้เป็นฝนเป็นลมใส่พระตถาคตนั้น ภายหน้าชนทั้งหลายจักเรียกว่า เวียงลม และในที่พระตถาคตเรียกมหายักษ์มาสั่งสอน และให้ศีลห้าแก่มหายักษ์นั้น ภายหน้าจักเป็นเวียง ชนทั้งหลายจะเรียกว่า เวียงต้าน เหตุพระตถาคตได้ปากต้านเจรจา สั่งสอนยักษ์ที่นั้น ภายหน้าต่อไปชนทั้งหลายจักเรียกชื่อว่า เวียงตาล อีก และที่มหาพรหมเอาฉัตรมากั้นกลางฝนให้พระตถาคตนั้นภายหน้าชนทั้งหลายจะเรียกว่า ห้างฉัตร และในดอยม่อนน้อยที่มหายักษ์เอาเกษาพระตถาคตบรรจุไว้นี้ ภายหน้าชนทั้งหลาย จักเรียกว่า ดอยนาย
เหตุเป็นที่อยู่ของมหายักษ์นั้น

และในน้ำห้วยที่ไหลมาแต่ทิศเหนือลงมาตะวันตกดอยที่นั้นยังมีผาลาดก้อนหนึ่ง มหายักษ์เอาให้พระพุทธเจ้าซักผ้าและนั่งอาบน้ำ แล้วพระพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า ดูก่อนอานนท์ สถานที่นี้ภายหน้าชนทั้งหลายจะเรียกว่า มะหินซักผ้า เพราะมหายักษ์เอาผ้ามาให้พระตถาคตนั่งอาบน้ำและซักผ้านั้น และในเมื่อพระตถาคตนิพพานไปแล้วได้ ๓๐๐ ปี ยังจักมีพญาองค์หนึ่งมีชื่อว่า ศรีธรรมมาอโศกราช เป็นบุตรของพระเจ้าพินทุสารของพระตถาคต แล้วจักมีพระราชอาญาไปสร้างพระเจดีย์แปดหมื่นสี่พันหลังทั่วไปในชมพูทวีป ลังก๋าทวีปทั้งมวล แล้วจักมีพระราชอาญาให้มาสร้างพระมหาธาตุเจ้าที่นี้แล้วด้วยอิฐทั้งมวล แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาจากที่ต่างๆ มาสมโภชน์อบรมทำการฉลองอยู่ ๗ วัน ๗ คืน เหล่าชนทั้งหลายก็มีใจเลื่อมใสศรัทธาในพระธาตุเจ้ามากนัก แล้วจักอยู่ไปนานไปได้ ๓๐๐ ปี


แล้วจักร้างห่างไปนานได้ ๒๐๐ ปี แล้วจักมีเศรษฐีคนหนึ่งชื่อว่า นางจามเทวี อยู่เมืองลัวะปุ่งคือ เมืองหริภุญชัย (คือเมืองลำพูนเดี๋ยวนี้) ได้นำเงินและทองคำมาบริจาคสร้างพระเจดีย์ที่นี้ด้วยดินและอิฐทั้งมวล แล้วสร้างศาลาบันไดขึ้นไปไหว้พระธาตุเจ้าให้รุ่งเรืองมากนัก แล้วทำการมหกรรมฉลอง แล้วอธิษฐานมะนาวลูกหนึ่งจ่อมลงวังแม่น้ำที่นี้ให้ผุดออกน้ำบ่อเลี้ยงวัดพระธาตุลำปางหลวง เพราะนางได้สร้างวัดพระธาตุลำปางหลวง แล้วก็ได้มาสร้างพระธาตุเจ้าที่นี้ ด้วยเดชอำนาจบุญของนาง มะนาวลูกนั้นจึงผุดออกน้ำบ่อเลี้ยงลำปางหลวง เมื่อนั้นชนทั้งหลายจึงเรียกสถานที่นั้นว่า วังมะนาว มาจนถึงทุกวันนี้


แล้วพระธาตุเจ้าจักรุ่งเรืองไปได้ ๕๐๐ ปี แล้วจักร้างห่างไปได้อีก ๕๐๐ ปี แล้วจักมีผู้มีบุญสมภารบารมีทั้งหลายได้มาเกิดในบ้านเมืองนี้ แล้วได้มารู้มาเห็นยังพระธาตุเจ้า แล้วจักมีศรัทธาเลื่อมใสในพระธาตุ แล้วจักพากันมาสร้างตกแต่งยังพระธาตุเจ้าและสร้างศาลาบาตรและสร้างบันไดที่ขึ้นไปไหว้พระธาตุเจ้า แล้วพากันมาสมโภชน์อบรมยังพระธาตุเจ้าในที่นี้เป็นอันประเสริฐยิ่งนัก เป็นที่คนและเทวดาทั้งหลายได้ถึงธรรมวิเศษมากนัก และเหตุดังนั้นบุคคลผู้ใดได้มากระทำอนารัทธะ (สกปรก บ้วนน้ำลาย คายเสมหะอาจมทั้งหลาย) ในสถานที่นี้ ย่อมจักเป็นอันตรายแก่บุคคลนั้น และบุคคลผู้จักมาไหว้นมัสการพระธาตุเจ้าที่นี้ให้ได้บูชาที่แผ่นหินลาดที่พระตถาคตซักผ้าและอาบน้ำก่อน แล้วจึงได้ขึ้นไปไหว้และบูชาพระธาตุเจ้าก็จักพ้นจากอันตรายต่างๆ และบุคคลผู้ใดได้มาสักการบูชาพระธาตุเจ้าที่นี้ อย่าได้กระทำอนารัทธะ คือว่าเสียมุตตะอาจ๋มใส่หน้าผาและบนดอยพระธาตุเจ้าอยู่นี้ไม่ดี จักเป็นอันตรายต่างๆ นาๆ แก่บุคคลผู้นั้น และเหตุเทวดาและมหายักษ์อันอยู่รักษาสถานที่นี้ไม่ถูกใจ


และดูก่อนอานนท์ บุคคลใดได้มาแผ้วมาถางมาสร้างแปงสถานที่นี้ และมาก่อพระเจดีย์ก๋วมพระธาตุเจ้า และได้มาสร้างถนนหนทางขึ้นไปไหว้พระพุทธเจ้า และมาสร้างพระวิหารและศาลาบาตรไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่สมณะพราหมและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายที่ได้มาไหว้สาสักการบูชาพระธาตุเจ้าที่นี้ ก็จักมีผลานิสงส์กว้างขวางมากนักในภพนี้และภพหน้าตลอดถึงพระนิพพาน แม้จักปรารถนาเป็นพระเจ้าก็ดี จักปรารถนาเป็นพระสมเด็จพุทธเจ้าและอรหันตาสาวกก็ดี แม้จักปรารถนาเป็นพญาจักรวัติราชก็ดี แม้นจักปรารถนาเป็นเศรษฐีก็ดี แม้จักปรารถนาเอาเงินและทองคำสมบัติอันใดก็ดี ก็จักสมดังมโนปนิธานปรารถนาทุกประการ ครั้นแตกก๋ายทำลายขันธ์จุติโลกนี้ไปแล้ว ก็จักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองคำสูงได้ร้อยโยชน์ มีนางฟ้าได้แสนโกฏิเป็นบริวาร แม้นจุติจากสวรรค์ที่นั้นแล้ว ก็จักลงมาเกิดในตระกูลท้าวพญามหากษัตริย์ พราหมณะ คหบดีเศรษฐี ประกอบด้วยโภคทรัพย์สมบัติมากนัก เมื่อภายหน้าก็จักได้เป็นอัครสาวกของพระศรีอริยะเมตไตรย ตนจักลงมาตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลข้างหน้า

และประการหนึ่งบุคคลผู้ใด คือว่าเจ้านาย ท้าวพญา ประชานาราช เศรษฐี พราหมณะ คหบดี และนักบวชผู้ใดก็ดี ได้มาเมตตาภาวนาในสถานที่นี้ ก็จักมีอานิสงส์อันมากนักนับไม่ได้ ครั้นแตกกายทำลายขันธ์จากโลกนี้แล้วก็จะได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต มีวิมานคำสูงได้ ๖๐ โยชน์ มีนางฟ้าได้แสนโกฏิเป็นบริวาร บุคคลผู้ใดมีจิตศรัทธาได้มากวาดแผ้วขยะมูลฝอย ออกแล้งขนทรายมาเรี่ยไรใส่สถานที่นี้ให้รับราบรื่นก็ดี ก็จักมีอานิสงส์อันมากนัก ครั้นแตกกายทำลายขันธ์จากโลกนี้แล้ว ก็จักได้ไปเกิดในชั้นฟ้าวิมานคำสูงได้ ๕๐ โยชน์ มีนางฟ้าได้สามหมื่นเป็นบริวารประการหนึ่ง

บุคคลผู้ใดได้มาสักการบูชาพระธาตุเจ้าที่นี้แล้วได้ให้ไทยะวัตถุทานแก่พระธาตุเจ้าที่นี้แล้ว จักแผ่ผายกุศลนำบุญไปหาวงศาคนญาติทั้งหลายที่เป็นเปรตอยู่ในอบายทั้งสี่มีนรก เป็นต้น ถ้าหากพ่อแม่พี่น้องวงศาคณาญาติทั้งหลายได้มาสักการบูชาและได้ให้ไทยะวัตถุทาน แด่พระธาตุเจ้าที่นี้แล้วอุทิศส่วนกุศลไปหาเขาทั้งหลายเหล่านั้น ก็จักได้พ้นจากอบายทั้งสี่นรก เป็นต้น ก็จักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นฟ้าจะแล

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดงเนื้อความนี้แก่พระอานนท์แล้ว ท้าวสักเทวราชและสมเด็จพระเจ้าอโศกราชเป็นต้น ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ทรงพาบริวารเสด็จไปโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายต่อไป แล้วก็กลับไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร แขวงเมืองสาวัตถีมหานครตามเดิมวันนั้น และในเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จกลับไปสู่ป่าเชตวันอารามแล้ว ส่วนมหายักษ์ทั้งสองก็อยู่รักษาพระธาตุเจ้าไปตลอดชีวิต แล้วในเมื่อเลี้ยงสิ้นอายุจุติแล้วก็ได้บังเกิดเป็นเทพารักษ์อยู่รักษาพระธาตุเจ้าต่อไปเหตุท้าวสักเทวราชได้บัญญัติไว้ให้อยู่รักษาพระธาตุเจ้าไปตลอด ๕๐๐๐ พระพรรษา

เหตุนั้นสาธุชนทั้งหลายทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตผู้ใดได้ไปกราบไหว้สักการบูชาด้วยอามิสสะบูชา เป็นต้นว่าข้าวตอกดอกไม้สุคนธ์ของหอมก็ดี ด้วยข้าวน้ำโภชนาหารก็ดี ด้วยเงินทองเสื้อผ้าก็ดี ชั้นที่สุดเพียงกราบไหว้ด้วยมือสิบนิ้วก็ดี จงระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าด้วย พระพุทธคุณว่า “อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ”  เป็นต้น ย่อมได้ชื่อว่าเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน อาจสำเร็จมะโนปณิธิความปรารถนาทุกประการ กล่าววัดพระธาตุดอยปางม่วงก็ยุติลงเท่านี้



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5788.JPG



ประวัติวัดพระธาตุปางม่วง



ลำดับต่อไปนี้จักได้บรรยายการก่อสร้างวัดพระธาตุดอยปางม่วง โดยย่อต่อไป คือ วัดพระธาตุดอยปางม่วงนี้ เป็นปูชนียสถานอันสำคัญของจังหวัดลำปางแห่งหนึ่ง พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตั้งแต่พญาศรีธรรมมาอโศกราชธรรมมิกะ และโดยอดีตกาลประมาณ ๑,๔๐๐ กว่าปี สมัยพระแม่เจ้าจามเทวี ผู้ครองนครหริภุญชัย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ได้มาประทับเมืองเวียงตาลซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอห้างฉัตร ซึ่งมีพระโอรสองค์ที่ ๒ เป็นเจ้าเมือง ได้สุบินว่ามีชีปะขาวรูปหนึ่ง ชรอยว่าเป็นท้าวสักกะเทวราชจำแลงกายมาทูลพระนางว่าที่บนดอยกุโสนั้นมีพระเกศาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ เส้น บรรจุอยู่ พระนางจึงเล่าสุบินนิมิตให้แก่พระราชบุตรผู้เป็นเจ้าเมืองฟัง พระราชบุตรจึงให้ข้าราชบริพารออกตรวจค้นหาดอยกุโส

ไม่นานก็พบว่า อยู่ตรงข้ามตำบลห้วยตาน พระแม่เจ้าจามเทวีก็ได้มาสร้างพระเจดีย์และศาลา และนมัสการพระธาตุนี้ แล้วจึงรับสั่งให้พระราชบุตรเตรียมไพร่พลไปตั้งปางตรงจุดที่ต้นมะม่วง ทำพิธีเฉลิมฉลองเจ็ดวันเจ็ดคืน เริ่มตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๖ ใต้ ซึ่งตรงกับเดือน ๘ เหนือ แรม ๘ ค่ำ กำหนดนี้ได้ปฏิบัติเป็นประเพณีสรงน้ำพระธาตุมาตราบเท่าทุกวันนี้มิได้ขาด การฉลองที่จัดขึ้นในครั้งนั้นเรียกว่า “งานปางม่วน” เพราะมีการละเล่นสารพัดเท่าที่จะมีได้ในยุคนั้น ชาวเมืองอื่นที่อยู่ใกล้เคียงก็มาร่วมม่วนด้วย จึงเรียกติดปากว่า “ปางม่วนนานๆ เข้าก็เลยเพี้ยนมาเป็นปางม่วงจนทุกวันนี้

ต่อมามีนายช่างชาวอินเดียชื่อ นายคาบิเยน โภราค่า ซึ่งเป็นช่างควบคุมงานซ่อมรางรถไฟที่เสียหายจากพายุฝนทำให้ต้องทำการซ่อมให้แล้วเสร็จก่อนวันพิธีเปิดรถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ได้ร่วมประเพณีสรงน้ำพระธาตุปางม่วง ได้รับรู้เรื่องเล่าความเป็นมาและปาฏิหาริย์จากผู้เฒ่าผู้แก่จนเกิดความเลื่อมใสศรัทธา และเห็นว่าบรรดาพุทธศาสนิกชนทุกสารทิศต่างก็ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่งในการขึ้นไปสักการบูชาองค์พระธาตุ รวมถึงการถวายอาหารแด่พระสงฆ์สามเณร เพราะทางขึ้นไปนั้นสูง ทั้งไม่มีบันได ต้องปีนป่ายขึ้นอย่างลำบากยากยิ่ง และพิจารณาเห็นว่าองค์พระเจดีย์ที่มีอยู่นั้นเล็กเกินไปไม่สมกับความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนที่มาสักการบูชาอย่างมาก จึงอยากจะสร้างให้องค์ใหญ่กว่าเก่าแต่ติดขัดที่ตนเองไม่ได้ร่ำรวยจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบเรียนให้เจ้าบุญวาทย์ เจ้าเมืองลำปาง

ท่านเจ้าหลวงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา สั่งเบิกเงินจากคลัง ๔ ปีบให้สร้างองค์เจดีย์ตามความประสงค์ และได้แล้วเสร็จก่อนกำหนดวันทำพิธีเปิดรถไฟสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ และในวันเปิดทางเดินรถไฟเจ้าบุญวาทย์ได้ขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์องค์ใหม่ เกิดความพอใจ แต่ทางขึ้นไปนมัสการไม่สะดวก จึงมอบเงินให้อีก ๘ ปีบให้นายคาบิเยน สร้างบันไดขึ้น และศาลาพักใกล้องค์พระเจดีย์อีกหนึ่งหลัง (บันไดที่นายคาบิเยนสร้างขึ้นคราวนั้น ไม่ได้ลาดซีเมนต์อย่างที่เห็นทุกวันนี้ เพียงแต่เอาหินมาเรียงซ้อนกันเป็นขั้นๆ ขึ้นไปเท่านั้น)


IMG_5792.JPG



ประเพณีสรงน้ำพระธาตุปางม่วง จะจัดขึ้นในวันแรม ๘ ค่ำ ของเดือน ๘ เหนือ และเดือนเกี๋ยง แรม ๑๕ ค่ำ ของทุกปี พิธีจะมีเพียง ๑ วัน โดยชาวบ้านที่เลื่อมใสศรัทธาจะนำเครื่องสักการบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน ตลอดจนอาหารนำมาถวายแด่พระสงฆ์ นำน้ำอบน้ำหอมมาสรงน้ำพระธาตุ และจัดให้มีการทำบั้งไฟจากชาวบ้านในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงร่วมทำบุญสืบมาตลอดถึงปี พ.ศ.๒๔๙๕ ท่านตุ๊แก้วเจ้าอาวาสวัดม่วงคำ จังหวัดลำปาง ได้ย้ายสำนักมาเป็นเจ้าอาวาสที่นี้ และมาเป็นผู้อำนวยการสร้างสิ่งถาวรวัตถุต่างๆ และได้สร้างพระบาทสำรองขึ้นอีกหนึ่งรอยและสร้างรูปพญานาคเลิกปั่งปวน (แผ่พังพาน) ไว้ทางด้านเหนือของพระธาตุนี้ เพื่อให้เป็นที่กราบไหว้บูชาแก่บรรดาประชาชนทั้งหลาย


และนอกจากนี้ยังมีศรัทธาทั้งหลาย ฝ่ายบรรพชิตมีท่านพระครูสุขะบทบริหาร เจ้าคณะอำเภอห้างฉัตรเป็นประธาน ฝ่ายคฤหัสถ์มีคณะศรัทธาบ้านปางม่วงและห้างฉัตร แม่ฮาว เป็นต้น และบรรดาประชาชนทั้งหลายในจังหวัดลำปางนี้และต่างจังหวัดลำปาง ได้พากันสร้างพระวิหาร พระพุทธรูป และบันไดนาค ศาลาบาตร ถังน้ำ กุฏิ ให้เป็นที่อาศัยแก่พระภิกษุและสามเณร และบรรดาประชาชนทั้งหลายที่ได้มานมัสการกราบไหว้บูชาวัดพระธาตุนี้ต่อไปข้างหน้า ทั้งนี้ก็ด้วยอาศัยแด่ท่านผู้มีจิตศรัทธามาช่วยอุปถัมภ์จึงเป็นผลสำเร็จประโยชน์มาได้ ขอเดชะยานุภาพพระธาตุเจ้าจงคุ้มครองรักษาผู้ที่มีจิตศรัทธาบริจาคเงินบำรุงวัดพระธาตุทั้งหลายทุกๆ ท่าน ทุกทิวาราตรีกาลเทอญ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ตามรอยพระ-20-220712-166.jpg


ถวายดอกบัว ลูกแก้วจักพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



IMG_5754.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระธาตุปางม่วง วัดพระธาตุปางม่วง พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ)  วันทามิ  เจติยัง  สัพพัง  สัพพัฏฐาเนสุ  ปะติฏฐิตา  สะรีระธาตุโย  เกศาธาตุโย  อะระหันตา  ธาตุโย  เจติยัง  คันทะกุฏิง  จะตุละสี  ติสสะหิสเส  ธัมมักขันเธ  สัพเพสัง  ปาทะเจติยัง  อะหังวันทามิ  ธาตุโย  วันทามิทุระโส  อะหังวันทามิ สัพพะทา  อะหัง  วันทามิ  สิระสา ฯ

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แต่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5874.jpg



รูปภาพถ่ายพระธาตุปางม่วง วัดพระธาตุปางม่วง เมื่อปี ๒๔๙๖ พระอธิการ สมพงษ์ จารุวังโส ถวายเป็นที่ระลึกในงานฉลองหอระฆัง ๑๒ มี.ค. ๒๕๕๔ ค่ะ  


IMG_5571.JPG



IMG_5806.JPG


ต้นโพธิ์ อยู่ด้านหน้า พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_5728.JPG



IMG_5851.JPG



อุโบสถ อยู่ด้านข้าง พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุปางม่วง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๓ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ยกเป็นพระอุโบสถ ฝังลูกนิมิต วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๔ ค่ะ


IMG_5733.JPG



หน้าบันด้านหน้า อุโบสถ วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ


IMG_5736.JPG



จิตรกรรมบานประตูด้านหน้า อุโบสถ วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ


IMG_5854.JPG


พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน อุโบสถ วัดพระธาตุปางม่วง ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-29 14:43 , Processed in 0.116793 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.