แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดพระพุทธบาทตากผ้า ม.๖ ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

IMG_7147.JPG



ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_6918.JPG



ประวัติศาลาการเปรียญหลังใหญ่ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ศาลาการเปรียญหลังใหญ่ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนของหลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พื้นเป็นคอนกรีตปูกระเบื้อง ส่วนของฝาผนังก่อด้วยศิลาแลง ฉาบทับด้วยปูน ศาลาการเปรียญหลังใหญ่นี้ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ของวัด ใช้เป็นที่ทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็นของพระภิกษุ-สามเณร อุบาสก-อุบาสิกาภายในวัด รวมทั้งใช้เป็นที่ฉันภัตตาหารเช้าเพลของพระภิกษุ-สามเณรภายในวัดด้วย

ส่วนด้านหน้าของศาลาการเปรียญ เรียกว่า ศาลาดาดฟ้า ใช้สำหรับฉันภัตตาหารของสามเณรภายในวัดเช่นกัน ด้านหน้าของศาลาดาดฟ้า เป็นที่บูชาวัตถุมงคลของวัด

ด้านหลังของศาลาการเปรียญ เรียกว่า ศาลากรรมฐาน ใช้สำหรับสอนกรรมฐานแก่พระภิกษุบวชใหม่ และใช้เจริญกรรมฐานของพระภิกษุ-สามเณร อุบาสก-อุบาสิกา และพุทธศาสนิกชนผู้เข้าปฏิบัติธรรมทั่วไป



IMG_6945.JPG



วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระพุทธบาทตากผ้า
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของศาลาการเปรียญหลังใหญ่ เป็นวิหารที่เก่าแก่คู่กับวัดพระพุทธบาทตากผ้ามานาน เป็นวิหารทรงไทย ฝาผนังก่อด้วยศิลาแลง หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ส่วนของหน้าบันแกะสลักลวดลายสวยงามมาก ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งปางมารวิชัย เรียกกันว่า "พระเจ้าทันใจ"


IMG_6949.JPG



พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานภายใน วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_6951.JPG



ประวัติการสร้างพระเจ้าทันใจ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


พระเจ้าทันใจ วัดพระพุทธบาทตากผ้า สร้างด้วยปูนปั้น ช่างสกุลล้านนา ปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน หน้าตักกว้าง ๑.๒๑ เมตร สูง ๑.๙๐ เมตร มีพุทธลักษณะสง่างาม เป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในวัดที่สำคัญในภาคเหนือ และต้องสร้างให้เสร็จภายใน ๑ วัน เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ มีพุทธานุภาพ สามารถให้เกิดโชคลาภ เกิดความสำเร็จแก่ผู้ขอพรได้ตามความปรารถนาอย่างทันอกทันใจ

การสร้างพระเจ้าทันใจ เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน เพราะจะต้องเตรียมการเพื่อสร้างให้เสร็จภายในวันเดียว คือ เริ่มทำพิธีสร้างองค์พระตั้งแต่ ๖ โมงเป็นต้นไป และสร้างให้แล้วเสร็จก่อนตะวันตกดิน คือ ก่อน ๑๘ นาฬิกา จึงเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง เชื่อว่าเป็นเพราะพุทธานุภาพ เทวานุภาพที่บันดาลให้ปราศจากอุปสรรค และความตั้งใจมั่นของผู้สร้างที่ได้พร้อมจิตพร้อมใจร่วมกันสร้าง แต่ถ้าการสร้างไม่เสร็จภายในวันเดียว จะเป็นพระพุทธรูปธรรมดาไป

เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จะบรรจุหัวใจคล้ายหัวใจมนุษย์ที่ทำด้วยวัตถุมีค่า และนิยมบรรจุสิ่งของมีค่าไว้ในพระพุทธรูปด้วย ในระหว่างทำพิธีสร้างองค์พระ พระสงฆ์จะเจริญพุทธมนต์ตลอดคืนจนสว่าง และสามารถทำพิธีพุทธาภิเษกได้ในเย็นอีกวันหนึ่ง


IMG_6927.JPG


IMG_6935.JPG


ศาลาพระสังกัจจายน์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_6939.JPG



รูปพระสังกัจจายน์ ประดิษฐานภายใน ศาลาพระสังกัจจายน์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

059.jpg


IMG_6991.JPG



หอสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_6963.JPG



ประวัติหอสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


หอสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ใช้สำหรับสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทางวัดจัดให้มีการสรงน้ำขึ้นเป็นประจำทุกปี ในงานประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุประจำปี ซึ่งตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ เหนือ ซึ่งอยู่ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี

หอสรงน้ำนี้ เป็นทรงไทยรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคายอดมณฑป สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก มีแท่นสำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาในงานประเพณีสรงน้ำในวันอัฐมีบูชาของทุกปี หอสรงน้ำนี้ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ภายหลังมีการสร้างอนุสาวรีย์ท่านครูบา
พรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) เพื่อเป็นอนุสรณ์ด้วย



IMG_6970.JPG


IMG_6972.JPG



อนุสาวรีย์ครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานด้านหน้า หอสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


060.jpg



วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า



IMG_6981.JPG



ประวัติวิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สร้างเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ซึ่งพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้ คุณสิทธิ ศิลปวานิช พร้อมครอบครัว เป็นเจ้าภาพสร้างถวาย ทำพิธีเททองหล่อเมื่อ วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ และวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ในการก่อสร้างพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ คุณอรุณี สิรินทะสมบัติ พร้อมครอบครัว ญาติพี่น้อง เป็นเจ้าภาพใหญ่ ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา


IMG_6985.JPG



IMG_6987.JPG



IMG_6994.JPG



IMG_6997.JPG



รูปท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ประดับบันไดทางขึ้น วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7003.JPG



IMG_7005.JPG



IMG_7021.JPG



พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7020.JPG



ประวัติการสร้างพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

วัดพระพุทธบาทตากผ้า


พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองเหลือง ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยทรงเครื่องแบบกษัตริย์ ประดับอัญมณีมีค่า หน้าตักกว้าง ๑.๙๕ เมตร สูง ๒.๕๙ เมตร จำนวน ๕ องค์ พร้อมทั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นๆ และองค์รวมอีก ๑ องค์ ซึ่งมีพระพุทธลักษณะเช่นเดียวกัน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ มาบรรจุในองค์รวมนี้ด้วย

ภัทรกัปป์ แปลว่า กัปป์ที่เจริญ หมายถึงว่า เป็นกัปป์ที่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ ได้แก่
๑. พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒. พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
๔. พระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕. พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า

ในจำนวน ๕ พระองค์นี้ ได้ลงมาจุติตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ๔ พระองค์แล้ว ปัจจุบันเป็นยุคศาสนาของพระโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อไปจะเป็นยุคศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า จะลงมาจุติตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลอนาคตข้างหน้าสืบต่อไป


IMG_7011.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระจอมศาสดากกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑) ในภัทรกัปป์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7012.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระจอมศาสดาโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒) ในภัทรกัปป์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7015.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระจอมศาสดากัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓) ในภัทรกัปป์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7017.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระจอมศาสดาโคตมะสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือ องค์ปัจจุบัน) ในภัทรกัปป์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7019.JPG



พระพุทธรูปสมเด็จพระจอมศาสดาศรีอริยะเมตไตรยะสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕) ในภัทรกัปป์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7042.JPG



IMG_7043.JPG


066.jpg



IMG_7053.JPG


IMG_7070.JPG



IMG_7057.JPG



รอยตากผ้าจีวรองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า สถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งพระพุทธเจ้า ได้รับสั่งให้พระอานนท์ พระภิกษุผู้อุปัฏฐาก นำจีวรของพระพุทธองค์ไปตากผึ่งให้แห้งบนลานหิน จนปรากเป็นรอยตากผ้ามาจนถึงปัจจุบัน

รอยที่ปรากฏอยู่บนแผ่นศิลาแลงขนาดใหญ่ มีความกว้าง ๒.๙๗ เมตร ยาว ๔.๒๓ เมตร รอบรอยตากผ้าได้ทำฐานด้วยศิลาแลง ขนาด ๐.๓๐ x ๓.๓๐ เมตร มีความสูง ๐.๓๗ เมตร ตั้งใบเสมาที่ทำด้วยศิลาแลงไว้บนฐานโดยรอบจำนวน ๓๓ ใบ


IMG_7036.JPG



ตำนานรอยตากผ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์มายังดินแดนสุวรรณภูมิ จนกระทั่งเสด็จมายังดินแดนล้านนา ขณะที่พระองค์เสด็จผ่านแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำปิง และแม่น้ำกวง รับสั่งให้พระอานนท์นำจีวรไปซักในแม่น้ำ จากนั้นเสด็จมาเรื่อยๆ จนถึงบริเวณผาลาดแห่งนี้ แล้วทรงหยุดรับสั่งให้พระอานนท์นำจีวรไปตากบนแผ่นศิลาแลงขนาดใหญ่บนผาลาดใกล้ๆ บริเวณที่ประทับ ซึ่งปรากฏเป็นรูปรอยตารางขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าคล้ายๆ รอยตากผ้าจีวรบนแผ่นศิลาขึ้นปรากฏถึงปัจจุบัน และภายหลังสถานที่แห่งนี้จึงมีนามปรากฏว่า วัดพระพุทธบาทตากผ้า

ลักษณะของรอยตากผ้าจีวร เป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้า คล้ายกับรอยคันนา (ผืนนา) ของชาวมคธอินเดีย ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จผ่านเมืองราชคฤห์ ทรงทอดพระเนตรเห็นคันนาของชาวมคธ จึงตรัสกับพระอานนท์ว่า

“ดูกรอานนท์ เธอสามารถที่จะทำจีวร ให้เหมือนกับคันนาของชาวมคธได้หรือไม่?” พระอานนท์จึงรับพระพุทธดำรัสมาดำเนินการ และได้ออกแบบตรงตามพุทธประสงค์ จึงทำให้เกิดเป็นแบบของจีวรนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนปัจจุบันพระสงฆ์ก็ยังใช้จีวรที่ออกแบบโดยพระอานนท์เป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปี


IMG_7061.JPG



คำไหว้รอยตากผ้า

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ท่อง ๓ จบ)
        
อิมัสมิง เทวะมะนุสสานัง สัตถุโน ภะคะวะโต ปะริโภคะเจติยัง อะหัง วันทามิ สิระสาฯ นิพพานะปัจจะโย โหตุฯ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7072.JPG



หอพระ อยู่ใกล้ รอยตากผ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7075.JPG



IMG_7077.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานภายใน หอพระ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7045.JPG



รอยเท้าพระอรหันต์ อายุ ๗ ขวบ ประดิษฐานใกล้ รอยตากผ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_5433.JPG



พระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_5423.JPG



ประวัติพระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


พระอุโบสถ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของวิหารจตุรมุข เป็นอาคารทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคามีสองชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบทอง พื้นปูด้วยไม้ปาเก้ ฝาผนังเป็นศิลาแลงโบกด้วยปูน ประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้แกะสลักลายไทย ลงรักปิดทองอย่างสวยงาม หน้าต่างประตูพระอุโบสถ มีทั้งหมด ๑๒ ช่อง บนซุ้มหน้าต่างประดับลวดลายด้วยรูป ๑๒ นักษัตร ฝีมือประณีตบรรจงมาก

ด้านในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราชมงคลบพิตรปางมารวิชัย สถิตอยู่ซุ้มเรือนแก้วอันงดงาม พุทธลักษณะสร้างเลียนแบบพระพุทธชินราช มีอัครสาวก คือ พระมหาโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร ประนมมืออยู่เบื้องซ้ายและขวาของพระพุทธรูป

พระอุโบสถหลังใหม่นี้ บูรณะซ่อมแซมจากหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาและได้รับพระราชทานเมื่อ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖ กำหนดเขตกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๓๐ เมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาตัดลูกนิมิตประกอบพิธีผูกพัทธสีมาพระอุโบสถเมื่อ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙



IMG_5421.JPG



โรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_6978.JPG


IMG_6988.JPG



ถ้ำฤาษี วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7023.JPG



ประวัติถ้ำฤาษี วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ถ้ำฤาษี ตั้งอยู่กลางลานของวัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นถ้ำขนาดเล็ก ที่เกิดจากการขุดเจาะเอาศิลาแลง เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างกำแพง อุโบสถ วิหาร และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในวัด จนเกิดเป็นถ้ำขนาดเล็ก มีบันไดทอดลงไปภายในถ้ำ ด้านในถ้ำ มีช่องสำหรับลอดเข้าไปแล้ววนกลับมาที่เดิมได้ ด้านบนของถ้ำ ทางวัดได้สร้างศาลาขนาดเล็กครอบเอาไว้อีกชั้น เพื่อป้องกันแดดและฝน


IMG_7027.JPG



IMG_7029.JPG



รูปปั้นพระฤาษี ประดิษฐานภายใน ถ้ำฤาษี วัดพระพุทธบาทตากผ้า เพื่อเป็นที่กราบไหว้บูชาและขอพรแก่ประชาชนทั่วไป



IMG_7033.JPG


IMG_7035.JPG



รอยเท้าพระอรหันต์ อายุ ๗ ขวบ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7087.JPG



พิพิธภัณฑ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7090.JPG



ประวัติพิพิธภัณฑ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


พิพิธภัณฑ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นอาคารก่อด้วยปูนเสริมใยเหล็ก ใช้สำหรับจัดเก็บวัตถุสิ่งของเก่าแก่ของวัด ทั้งถ้วยโถ ชาม หม้อต่างๆ อาวุธเก่าๆ แจกัน พระเครื่องต่างๆ รวมทั้งใช้เก็บสิ่งของของท่านครูบาพรหมา เช่น อัฏฐบริขาร ได้แก่ บาตร จีวร อังสะ สังฆาฏิ หมวก รวมทั้งสมุดบันทึกกิจวัตรประจำวันของท่านครูบา สมุดบันทึกคำสอนของท่านครูบา เป็นต้น พิพิธภัณฑ์นี้ปัจจุบันไม่ได้มีการเปิดให้เข้าชมแล้ว        


IMG_7124.JPG


IMG_7127.JPG



รอยพระบาท ประดิษฐานใกล้ พิพิธภัณฑ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7093.JPG


069.jpg



รอยเท้าพระอรหันต์ อายุ ๗ ขวบ ประดิษฐานใกล้ พิพิธภัณฑ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7092.JPG



หอระฆัง-หอกลอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7099.JPG



IMG_7095.JPG



ฆ้อง วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

073.jpg


IMG_7103.JPG



ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นต้นไม้คู่บารมีของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ใต้ต้นไม้นี้ท่านครูบาเจ้าได้เคยนั่งปฏิบัติธรรมบำเพ็ญกรรมฐาน สั่งสอนธรรมแก่พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย


IMG_7108.JPG



ประวัติต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า


ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นสถานที่สำหรับนั่งประพฤติปฏิบัติธรรมของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก และพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ภายในวัด เป็นประจำทุกวัน เวลา ๐๔.๐๐ น. และประมาณเวลา ๑๒.๐๐ น. - ๑๘.๐๐ น. ซึ่งท่านครูบาใช้ลานบุนนาคนี้ เป็นที่สอนกรรมฐานแก่พระภิกษุ สามเณร และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ ปัจจุบันถึงแม้ท่านครูบาได้มรณภาพไปแล้ว ลานบุนนาคนี้ก็ยังคงใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ภายในวัด เป็นประจำทุกวันเหมือนเช่นเคย

บุนนาคต้นนี้ เป็นต้นไม้ที่เป็นประหนึ่งว่ามีชีวิตจิตใจ เพราะแม้ว่าพื้นดินของวัดพระพุทธบาทตากผ้า จะเป็นหินศิลาแลงเป็นส่วนมาก หาที่เป็นดินที่เหมาะแก่การปลูกต้นไม้นั้นมีน้อย ยิ่งลานปฏิบัติธรรม สถานที่ปลูกต้นบุนนาค ก็ยิ่งมีหินศิลาแลงปรากฏอยู่โดยทั่วไป ยิ่งไม่น่าเชื่อว่า บุนนาคต้นนี้จะสามารถเจริญเติบโตขึ้นได้ และสามารถชูกิ่งก้านสาขาไปโดยรอบ ให้ความร่มเย็นแก่ผู้ปฏิบัติธรรม ตามที่ท่านครูบาได้ตั้งใจไว้จนถึงปัจจุบัน

บุนนาคนี้ เป็นต้นไม้มงคลเพียงต้นเดียวที่มีความสำคัญยิ่งต่อท่านครูบา อาจกล่าวได้ว่า เป็นต้นไม้คู่บารมีของท่านครูบามาตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่ท่านครูบาได้รับอาราธนาจากคณะสงฆ์และศรัทธาญาติโยมมาประจำอยู่ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า ท่านครูบาได้อธิษฐานปลูกไว้หน้ากุฏิที่พักอาศัย เมื่อแรกเริ่มมาอยู่วัดพระพุทธบาทตากผ้า จุดมุ่งหมายที่สำคัญก็เพื่อให้ความร่มเย็นป้องกันความร้อนให้แก่ผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีความร่มรื่นเย็นสบาย มีความสัปปายะทั้งกลางวันและกลางคืน และได้ทำหน้าที่ปกป้องพระภิกษุ สามเณร ศรัทธาญาติโยมผู้มาประพฤติปฏิบัติธรรม ได้รับความสะดวกสบายร่มเย็นเป็นสุขตลอดระยะเวลาอันยาวนานหลายสิบปี

ต้นบุนนาคที่ปลูกไว้ก็เจริญเติบโตทอดกิ่งก้านสาขา มีใบเขียวสดงดงาม ออกดอกถูกต้องตามฤดูกาล และได้เหี่ยวเฉาลงกะทันหันอย่างน่าใจหาย เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลง ประหนึ่งว่าจะเหี่ยวเฉายืนต้นตายตามท่านครูบาไป พระภิกษุสามเณรและญาติโยม ได้ช่วยกันดูแลรักษาเป็นอย่างดี ได้ตั้งใจอธิษฐานให้สามารถฟื้นกลับมาเขียวขจีเหมือนอย่างเดิม อาจกล่าวได้ว่า บุนนาคต้นนี้ เป็นต้นไม้ที่ทำให้เกิดการอนุสรณ์ถึงท่านครูบา เป็นทั้งสัญลักษณ์และจุดรวมใจในการประพฤติปฏิบัติธรรมของคณะศิษยานุศิษย์ ตลอดถึงญาติโยมสาธุชนทั่วไป เมื่อเดินผ่านทุกครั้ง มีความรู้สึกว่าท่านครูบายังคงนั่งปฏิบัติธรรมภายใต้ต้นไม้ต้นนี้อยู่เป็นประจำ ทำให้เกิดแรงศรัทธาปสาทะ เพื่อดำเนินรอยตามปฏิปทาของท่านครูบา


IMG_7104.JPG


IMG_7105.JPG



รูปเหมือนครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานใต้ต้นบุนนาค วัดพระพุทธบาทตากผ้า



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

075.jpg



กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


IMG_7114.JPG



กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า เดิมนั้นเป็นกุฏิที่พักของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งของท่านครูบาพรหมา และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงพระธาตุของพระสาวกของพระพุทธเจ้า


IMG_7119.JPG


IMG_7123.JPG


IMG_7118.JPG



รูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) ประดิษฐานภายใน
กุฏิหุ่นขี้ผึ้งครูบา วัดพระพุทธบาทตากผ้า


071.jpg



ประวัติหุ่นขี้ผึ้งครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า


หุ่นขี้ผึ้งของครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก (พระสุพรหมยานเถร) วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นหุ่นที่ปั้นเท่าองค์จริง ประดิษฐานไว้กลางกุฏิไม้สักหลังใหม่ แต่เดิมเป็นอาคารที่คณะศิษย์ได้สร้างถวายท่านครูบา เพื่อใช้เป็นกุฏิเจ้าอาวาส ท่านครูบาจะพักอยู่ห้องเล็กๆ ทางด้านหลัง และด้านหน้าเป็นที่รับแขกที่ไปขอเข้าพบ เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลง คณะศิษย์จึงได้สร้างรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้งเท่าองค์จริงท่านครูบาตั้งไว้แทน

ความคุ้นเคยที่พบเห็นเป็นประจำก็คือว่า ผู้ที่มุ่งมาสู่วัดพระพุทธบาทตากผ้านั้น มาเพื่อกราบนมัสการปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ ขอเข้าปฏิบัติกรรมฐาน และเพื่อศึกษาเล่าเรียน สิ่งหนึ่งที่เป็นความตั้งใจก็คือ การได้มาพบและสนทนาธรรมกับท่านครูบา ปกติแล้วท่านครูบาจะมารับแขกที่ด้านหน้ากุฏิ บางครั้งท่านรับแขกตั้งแต่เช้าถึงเย็น จะขอโอกาสก็เฉพาะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวัน ก็คือการปฏิบัติธรรมด้านหน้ากุฏิใต้ต้นบุนนาค เวลาทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น บางครั้งท่านครูบารับแขกตลอดวัน ญาติโยมมาขอเข้าพบติดๆ กัน ท่านครูบาเกิดอาการเมื่อยล้าตามอายุสังขาร แต่ก็ต้องใช้ความอดทน เพราะท่านครูบาเห็นว่ากว่าญาติโยมจะมาถึงวัดพระพุทธบาทตากผ้าก็แสนลำบาก เมื่อตั้งใจมาแล้วก็สมควรจะได้พบและได้รับฟังโอวาทคำสอนเกี่ยวกับเรื่องศีลธรรมกัมมัฏฐาน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เข้าพบ

บางครั้งท่านครูบารับแขกถึงกับจะเป็นลมก็มี แต่ก็ต้องใช้ความอดทนเพื่อรักษาศรัทธาของผู้ที่พบเห็น ท่านครูบาเห็นว่าญาติโยมที่มาเยี่ยมวัดจะต้องจัดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องให้การต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อท่านครูบาได้ถึงแก่มรณภาพลงแล้ว ความคุ้นเคยที่ว่ากุฏิไม้สักแห่งนี้ เป็นที่เคยรับแขกเป็นประจำของท่านครูบา แม้เมื่อท่านครูบาจากไปแล้ว คณะศิษย์และญาติโยมก็ยังเวียนไปที่กุฏิไม้สักนี้มิได้ขาด ทำเสมือนว่าท่านครูบายังมีชีวิตอยู่ ด้วยเหตุนี้ คณะศิษย์จึงได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งเท่าองค์จริงขึ้นเมื่อ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๗ นำมาตั้งประดิษฐานไว้ด้านหน้ากุฏิ ตรงที่ท่านครูบาเคยนั่งรับแขกเป็นประจำ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_7107.JPG



กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า


074.jpg



IMG_7112.JPG



กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า กุฏิหลังนี้เคยเป็นที่พักของท่านครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก มานานหลายปี ก่อนจะย้ายไปพักที่กุฏิไม้หลังใหม่ เนื่องจากถูกปล่อยร้างไว้ ภายหลังจึงได้ทำการบูรณะซ่อมแซม และทำเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ซึ่งแกะสลักจากไม้ตะเคียนทอง อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี


077.jpg


IMG_7111.JPG



หลวงพ่อตะเคียนทอง หรือ สมเด็จพระพุทธสิทธิเทพมุนีศรีบุญฤทธิ์ ประดิษฐานภายใน กุฏิหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า
พระพุทธรูปองค์นี้ สร้างจากไม้ตะเคียนทอง อายุประมาณ ๑,๐๐๐ ปี บูชาด้วยน้ำมันจันทร์ น้ำมันหอม ดอกไม้หอม ดอกไม้มงคลต่างๆ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง และครอบครัว


076.jpg



ประวัติหลวงพ่อตะเคียนทอง วัดพระพุทธบาทตากผ้า


หลวงพ่อตะเคียนทอง หรือ สมเด็จพระพุทธสิทธิเทพมุนีศรีบุญฤทธิ์ วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้ตะเคียนทองที่มีอายุนับพันปี หน้าตักกว้าง ๑.๖๕ เมตร สูง ๑.๙๐ เมตร เป็นพระปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย สร้างเสร็จเมื่อ วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๗ หลวงพ่อตะเคียนทององค์นี้ มีพุทธลักษณะที่พิเศษกว่าองค์อื่นๆ ที่สร้างจากไม้ตะเคียนทองต้นเดียวกัน คือ มีตาไม้ตรงกับพระเนตรทั้ง ๒ ข้างขององค์พระ เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง มีพุทธลักษณะสง่างาม

ไม้ตะเคียนทองต้นนี้ มีอายุนับพันปี ชาวบ้านเล่าว่า เคยถูกฟ้าผ่า และถูกไฟเผามาแล้ว ยืนต้นอยู่ที่ใกล้วัดน้ำอินทร์ อ.ลอง จ.แพร่ คราวหนึ่งได้มีพระธุดงค์ได้พบคุณสิทธิ ศิลปวานิช และได้เล่าเรื่องไม้ตะเคียนทองต้นนี้ให้ฟัง และแนะนำว่าควรที่จะนำมาแกะเป็นพระ ปกติคุณสิทธิเป็นผู้ที่สร้างพระที่หล่อด้วยทองเหลือง เพราะทำง่ายและใช้เวลาไม่นานนัก แต่พอได้รับคำแนะนำจากพระธุดงค์ จึงมีความสนใจ และได้เดินทางไปดูต้นตะเคียนทองดังกล่าว

ครั้งแรก ได้ทำการบวงสรวงอธิษฐานขอให้ได้สำเร็จดังประสงค์ ได้บอกแก่ชาวบ้านว่า จะนำมาสร้างเป็นพระพุทธรูปไม้ตะเคียนทอง แต่การเจรจาไม่ตกลงกัน ครั้งที่ ๒ ได้ทำการบวงสรวงอีก และได้ไปเจรจากับชาวบ้าน เป็นอันตกลงว่าให้ทำบุญกับทางวัด เพื่อนำปัจจัยไปสร้างศาลา จึงจะสามารถนำไม้ตะเคียนทองไปได้ เป็นอันว่าได้ไม้ตะเคียนทองมาสมความปรารถนา ก่อนนำขึ้นรถ เพื่อนำไปแกะสลักเป็นองค์พระที่จังหวัดลำพูน ก็ได้บวงสรวงอีกครั้งหนึ่ง การขนย้ายไม่ได้มีอุปสรรคแต่ประการใด

ต้นแบบการสร้างองค์พระ พุทธลักษณะขององค์พระได้ผสมผสานจากต้นแบบพระพุทธรูปหลายแห่งด้วยกัน คือ เศียรและพระพักตร์ได้แบบมาจากเศียรของพระเก่า สมัยสุโขทัย ลักษณะลำตัวขององค์พระ ได้แบบมาจากพระสุโขทัยไตรมิตร นิ้วพระบาท ได้แบบมาจากหลวงพ่อเป่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จังหวัดสุโขทัย นอกนั้นช่างได้ออกแบบเพิ่มเติม

เริ่มแรกได้ทำการแกะเป็นองค์พระจำลองก่อน แต่ก็ไม่ได้พุทธลักษณะ การสร้างองค์พระจำลองก็ไม่สำเร็จ ใช้ไม่ได้ ทำให้ช่างเกิดความไม่มั่นใจ คุณสิทธิจึงได้ทำพิธีบวงสรวงอีกครั้ง และถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ ๖๕๐ รูป และได้เริ่มทำการแกะองค์พระใหม่ ด้วยความมุ่งมั่นและความอุตสาหะของช่าง จึงทำให้การแกะสลักสำเร็จลงได้อย่างสวยงามถึง ๙ องค์ ใช้เวลาถึง ๑ ปีเต็ม เมื่อทำพิธีพุทธาภิเษกแล้ว ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดศิริเขต จังหวัดสุโขทัย และภายหลังได้มีผู้มาอัญเชิญไปประดิษฐานตามวัดต่างๆ ๙ แห่ง หนึ่งในนั้นคือ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จังหวัดลำพูน แห่งนี้

สำหรับผู้ที่ไม่ได้องค์พระ เพราะจำนวนจำกัด คุณสิทธิจึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างเป็น หลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อพุทธโสธร และหลวงพ่อวัดไร่ขิง ซึ่งทั้ง ๔ องค์ มีขนาดเล็กกว่า และได้ทำเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก มีทั้งพระยืนและพระนั่งสมาธิ หน้าตักกว้าง ๙ นิ้วบ้าง ๕ นิ้วบ้าง ได้ถวายไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นจำนวนมาก



IMG_7129.JPG



เดี๋ยวเราเดินไปกราบนมัสการรอยเท้าครูบาพรหมา พฺรหฺมจกฺโก ซึ่งอยู่ด้านหลังวัดพระพุทธบาทตากผ้า กันต่อเลยนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-24 23:15 , Processed in 0.079014 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.