ภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ ภายใน วิหาร วัดพระบาทอุดม
พุทธประวัติ ตอน "เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงออกผนวช"
พุทธประวัติ ตอน "ผจญมาร" ...แม่ธรณีผุดขึ้นมาช่วยพุทธองค์บิดเกศาเกิดเป็นมหาสมุทรขับไล่พญามารและพญามารก็ปราชัยแก่พระบารมี
พุทธประวัติ ตอน "บัวเหนือน้ำบัวใต้น้ำ" ...ทรงพิจารณาหาทางที่จะสั่งสอนและทรงเห็นความแตกต่างในระดับสติปัญญาของคนสี่ระดับ
จำพวกที่ ๑ ในระดับสูงนั้นเป็นผู้มีปัญญาสูงเพียงได้ฟังหัวข้อธรรมก็จะเข้าใจในทันทีเปรียบเหมือนดอกบัวเปี่ยมน้ำพอได้รับแสงอาทิตย์ก็จะบาน
จำพวกที่ ๒ ในระดับรองลงมา เป็นผู้ฉลาดพอควร เมื่อได้ฟังคำอธิบายซ้ำก็จะเข้าใจ เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่เหนือน้ำ จะบานในวันต่อไป
จำพวกที่ ๓ ในระดับลงมาฉลาดเล็กน้อย พอจะสอนเข้าใจต้องใช้เวลานานพอควร เปรียบเหมือนดอกบัวใต้น้ำลึกอีกหลายวันจึงจะโผล่เหนือน้ำ
จำพวกที่ ๔ เป็นผุู้โง่ทึบ เปรียบบัวก้นสระไม่อาจเรียนรู้ อาจจะตกเป็นอาหารของเต่าปลาเสีย
พุทธประวัติ ตอน "ผจญพญาภุชงค์" ...พญาภุชงค์ทรงสำแดงเดชกลายเป็นพญานาคพันภูเขาขัดขวางทางเดินของพุทธองค์และในที่สุดก็ยอมถวายคารวะอภิวาท
พุทธประวัติ ตอน "ผจญอฬวะกะยักษ์" ...ทรงแสดงธรรมโปรดจนยักษ์เลื่อมใสศรัทธาถวายคารวะอภิวาท
พุทธประวัติ ตอน "องคุลิมาล" ....องคุลิมาลตะโกนก้องให้หยุด พุทธองค์ทรงตรัสว่า เราหยุดแล้วท่านสิยังไม่หยุด...ทรงแสดงธรรมกลับใจองคุลิมาล
พุทธประวัติ ตอน "ช้างนาฬาคีรี" ...ทรงแผ่เมตตาบารมี ช้างนาฬาคีรี ซึ่งถูกมอมเหล้าก็สร่างเมาทันที
พุทธประวัติ ตอน "วันมาฆบูชา ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต"
...เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปฎิโมกข์ (การไม่ทำความชั่วทั้งปวง, การบำเพ็ญแต่ความดี, การทำจิตของตนให้ผ่องใส) แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ อันเป็นหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา หรือหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันต์เอหิภิกขุผู้เป็นทั้ง ๑,๒๕๐ รูป ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย ในวันเพ็ญเดือน ๓
|