แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดไหล่หินหลวง บ.ไหล่หิน ม.๒ ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:16 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07605.JPG


IMG_9508.JPG



ประวัติวัดเสลารัตนปัพพตาราม (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) และ


ตำนานพระมหาป่าเกสระปัญโญ



(จัดทำโดย พระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร  อตฺตสาโร ปะละ) เจ้าคณะตำบลไหล่หินและเจ้าอาวาส เรียบเรียงจากประวัติวัดไหล่หินหลวง (๔ กันยายน ๒๕๑๒) โดย สามเณรดวงจันทร์ ครุขยัน)


ศาสตราจริกาอ้างว่า สมัยหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้งยังทรงพระทรมานสำราญอยู่ในเขตเชตวันวิหาร มีคืนวันหนึ่งยามใกล้รุ่งพระองค์ทรงรำพึงว่าตั้งแต่กูตถากตะได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูตญาณมา ถึงบัดนี้นับได้ ๒๕ พรรษา แล้วต่อเมื่อกูมีพระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา เมื่อใดกูตถากตะก็จะได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน แล้วควรกูจะอธิษฐานธาตุให้ย่อยเพื่อให้คนทั้งหลายและพระอรหันต์ได้นำไปบรรจุไว้เป็นที่บูชาเสมอเหมือนดังกูตถากตะยังทรงมีพระชนอยู่ ทรงรำพึงดังนี้แล้ว

พอพระองค์ดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วได้ ๒๑๘ ปี ยังมีพระยาองค์หนึ่งทรงพระนามว่า ศรีธรรมโศกราช ได้ทรงชนะข้าศึกทั้งหลายแล้วได้อาศัยเจ้านิโครธสามเณรอยู่ได้เลิกถอยความเลื่อมใสต่อพวกเดียรถีย์ทั้งหลายเสียแล้ว จึงบังเกิดปสาทศรัทธาอันแก่กล้าต่อบวรพระพุทธศาสนาอยากจะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์พระธรรมขันธ์

ต่อมาพระองค์ทรงพิจารณาหาพระสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ดังกล่าว ก็พบที่เมืองราชคฤห์นคร แล้วพระองค์ก็อัญเชิญมาสู่เมืองปาตรีบุตรนคร พระองค์ทรงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุมอบให้พระเถระเจ้าทั้งสองพระองค์ คือ พระกุมารกัสสปะ และพระเมฆิยะเถระเจ้า ท่านได้นำพระอัฐิของพระพุทธองค์บรรทุกหลังช้างมาจากประเทศอินเดีย เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

IMG_9383.JPG


พอขบวนอัญเชิญมาถึงม่อนหินแห่งนี้ ขบวนช้างเชือกนั้นก็ไม่ยอมเดินทางต่อ ถึงเจ้าจะขับจะใสอย่างไร ช้างก็ไม่ยอมเดินทางต่อ อันเป็นเหตุที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก องค์พระอรหันต์ผู้เป็นประมุขของขบวนนั้น จึงพร้อมด้วยผู้คนที่ติดตามได้ปรึกษาหารือกันว่าสมควรที่จะสร้างองค์พระเจดีย์องค์หนึ่งเพื่อเป็นอนุสรณ์และได้อัญเชิญพระอัฐิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุเอาไว้ด้วย โดยก่อพระเจดีย์สูง ๔ ศอก พระอรหันต์ทั้งสองพระองค์ทรงทำนายพยากรณ์เอาไว้ว่า สถานที่แห่งนี้จักได้ชื่อตามเหตุการณ์ที่ผ่านมาว่า “วัดเสลารัตนปัพพตาราม” (วัดไหล่หินหลวงแก้วช้างยืน) เพื่อให้สมกับที่เป็นมาของวัด

แล้วพระอรหันต์ทั้งสองพระองค์พร้อมด้วยผู้คนที่ติดตามก็นำขบวนช้างไปได้อย่างน่าอัศจรรย์ก็ไปบรรจุไว้ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ฉะนั้นท่านผู้เฒ่าผู้แก่เล่าสืบๆ กันมาว่า วัดไหล่หิน เป็นพี่ของวัดพระธาตุลำปางหลวงเพราะว่าพระบรมธาตุนำมาบรรจุทีหลัง

IMG_8922.JPG



ต่อมาราวประมาณ จ.ศ.๑๐๐๐ เศษ (ตรงกับพุทธศักราชได้ ๒๑๘๑) โดยสร้างเป็นอารามเล็กๆ สถานที่แห่งนี้มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยบวชเรียนเป็นจำนวนมาก และมีสามเณรน้อยองค์หนึ่งได้เดินทางมาจากวัดหลวงป่าซางเมืองหริภุญชัย (ตอนนี้ยังไม่แน่และไม่ปรากฏชัด) ได้มาอาศัยร่วมกับสามเณรวัดนี้ สามเณรน้อยองค์นี้เป็นผู้สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ใช้ผ้าจีวรสีคล้ำ และไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ บนศีรษะมีแต่โรคเรื้อรัง (โรคขี้โขกขี้ขาก) ไม่มีใครจะสนใจและนับถือ พระเณรในวัดเดียวกันที่โตกว่าก็ชอบรังแก อีกประการหนึ่งก็ไม่ชอบท่องบ่นเล่าเรียน เขียนอ่าน ตามสมภารวัดท่านสั่งเท่าไรนัก ไม่เอาใจใส่ มักเก็บตัวอยู่แต่ผู้เดียวปลีกตัวออกจากหมู่คณะ

มีวันหนึ่ง ครั้นใกล้เข้าฤดูเข้าพรรษา พระอาจารย์ที่ท่านได้มอบธรรมใบลานมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มหาพลให้ไปท่องเล่าเรียนเพื่อจะได้แสดงโปรดคณะศรัทธาฟังเสียงทำนองเณรน้อย พอวันเข้าพรรษา แต่สามเณรน้อยองค์นี้ก็หาได้ท่องบ่นเล่าเรียนไม่ คล้ายกับไม่สนใจใยดีอะไรเลยถึงกับท่านอาจารย์ไม่พอใจหาว่าเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่เชื่อฟังคำสั่งสอน

พอถึงวันเข้าพรรษา วันนั้นท่านอาจารย์ก็เรียกสามเณรน้อยองค์นั้นไปแสดงธรรมให้ศรัทธาชาวบ้านฟัง แต่เณรน้อยองค์นั้นเมื่อกราบพระรัตนตรัยและท่านอาจารย์แล้ว จึงได้วางธรรมใบลานผูกนั้นไว้หน้าพระประธาน ตนเองก็ขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์ด้วยมือเปล่า แสดงโดยปฏิภาณปากเปล่า ท่านอาจารย์ก็นึกสงสัย จึงหยิบธรรมใบลานผูกนั้นมาตรวจดูตามไปด้วย แต่ปรากฏว่าสามเณรเทศนาได้ดีไม่มีผิดพลาดแม้แต่ตัวเดียวตลอดทั้งกัณฑ์ ซึ่งนอกจากเทศน์ได้ถูกต้องแล้ว ยังแก้ไขข้อความผิดในคัมภีร์อีกด้วย เช่น มีข้อความตอนหนึ่งในกัณฑ์กล่าวพรรณนาถึงพันธุ์ไม้ในป่าว่า “ใบจ้อล่อหูกวาง” แต่ท่านเทศน์เป็น “ใบจ้อล่อหูฟาน” เมื่อสมภารถามท่านให้เหตุผลว่าจ้อล่อ (อินทนิล) น่าจะมีใบเหมือนหูฟาน (เก้ง) มากกว่าหูกวาง

เมื่อท่านอาจารย์ทดสอบความรู้ความสามารถของเณรน้อยนี้แล้ว ท่านอาจารย์จึงเก็บธรรมใบลานทั้งหมดที่มีอยู่ในวัดมาตัดเชือกออกทุกผูกทุกกัณฑ์มากองปนกันเป็นกองเดียวกัน แล้วให้เณรน้อยเป็นผู้เรียงให้ได้เป็นผูกใดผูกนั้น ปรากฏว่าสามเณรน้อยองค์นั้นเรียงได้เป็นอย่างดีใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงก็เสร็จเรียบร้อยไม่มีผิดพลาดให้เหมือนเดิมทุกอย่างแม้แต่ใบเดียว ต่อจากนั้นมาจึงมีผู้เลื่อมใสในตัวสามเณรน้อย และมีผู้เกรงขามเลื่องลือในตัวท่าน

ต่อมา จ.ศ.๑๐๑๒ (พ.ศ.๒๑๙๓) ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นามฉายาตามที่พระอุปัชฌาย์ท่านตั้งไว้ว่า “มหาเกสระปัญโญภิกขุ” และได้ตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำให้วัดไหล่หินหลวงเจริญรุ่งโรจน์ เพราะท่านเป็นผู้เลื่องลือและก็ได้เล่าสืบๆ กันมาดังนี้ ท่านพระมหาเกสระปัญโญ เป็นพระนักปฏิบัติ นักศึกษาศาสนธรรมคำสั่งสอนอันยืนยงปรากฏว่าท่านมีความรู้แตกฉานสามารถแต่งและเขียนธรรม (จาร) ได้วันละมาก เล่ากันว่าท่านเขียนอักขระพื้นเมืองเหนือลงในใบลานด้วยเหล็กจารวันหนึ่งๆ ได้มูลเหล็กจารเต็มกะลามะพร้าว (มะพร้าวเต่า) ซึ่งหาใครเสมอเหมือนมิได้เลย

นอกจากนี้ท่านยังได้ประพฤติปฏิบัติสมณธรรมอย่างจริงจังโดยปฏิบัติอยู่ที่ถ้ำฮางฮุ้ง (ถ้ำฮุ้งคาว) ซึ่งอยู่ใกล้บ้านทุ่งขาม หมู่ที่ ๕ ตำบลไหล่หิน (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลใหม่พัฒนา) จนจิตเป็นสมาธิได้ฌาณสมาบัติมีอภินิหาร เป็นอัจฉริยะสามารถเหาะเบื้องบนหนอากาศได้ เพราะท่านพระมหาเกสระปัญโญ มีอภินิหารดังกล่าวแล้วนี่เอง จึงเลื่องลือท่านว่าท่านไปบิณฑบาตโปรดสัตว์ให้ศรัทธาสาธุชนถึงที่ไกลๆ ได้ เล่ากันว่าท่านจำวัตรอยู่ที่วัดไหล่หินตื่นเช้าไปบิณฑบาตศรัทธาถึงหมู่บ้านไทยใหญ่ แคว้นเชียงตุง (เป็นเขตของสหภาพพม่าเดี๋ยวนี้) ทุกเช้า

จนวันหนึ่งอุบาสกไทยใหญ่ (เงี้ยว) ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านได้นมัสการถามท่านว่า “ท่านพระคุณเจ้าจำพรรษาอยู่วัดใดพระคุณเจ้า” ฝ่ายท่านพระมหาเกสระปัญโญ จึงตอบเป็นคำปริศนาว่า “เจริญพรอาตมาอยู่วัด “บุบบ่แตก” หรือ “ขบบ่แตก”  (ขบไม่แตก) เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงได้ฟังดังนั้น แล้วได้สั่งให้เสนาอำมาตย์เที่ยวค้นวัดชื่อดังกล่าวจนทั่วเมืองเชียงตุง ก็ไม่พบวัดชื่อดังกล่าวแห่งใด

ด้วยแรงศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านเป็นล้นพ้น อยู่มาวันหนึ่งเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงก็สั่งให้เสนาอำมาตย์เอามะพร้าวลูกหนึ่งมาปลอกเปลือกออกแล้วขูดให้เกลี้ยงแล้วผ่ากะลาออกเป็นสองซีกแล้วให้เก็บรักษาเอาไว้ซีกหนึ่ง อีกซีกหนึ่งเอาไปใส่บาตรพระเถระเจ้า ขณะเมื่อมาบิณฑบาตในตอนเช้าพร้อมกับนมัสการว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าฉันเนื้อมะพร้าวแล้วเก็บกะลาไว้ด้วย” ข้าพเจ้าจะได้ไปรับเอากะลาทีหลัง

จากนั้นอุบาสกไทยใหญ่ได้สั่งให้บริวารออกติดตามหาวัดของพระเถระเจ้าและกะลามะพร้าวดังกล่าวโดยแรงศรัทธาแรงกล้าในองค์พระเถระ ต่อมาเป็นเวลา ๗ เดือน เสนาอำมาตย์พวกหนึ่งได้เดินทางมาทางเขลางค์นครได้ถามสืบๆ กันมาก็ได้พบวัดไหล่หินแห่งนี้ จึงได้แวะนมัสการพระเถระก็เกิดความปรีดาปราโมทย์ยิ่งนัก

พวกเสนาอำมาตย์จึงนมัสการถามท่านว่า “กะลามะพร้าวที่ท่านเจ้าฟ้าเชียงตุงได้ถวายพระคุณเจ้ามีอยู่หรือเปล่า” พระมหาเกสระปัญโญเจริญพรตอบว่า ยังมีอยู่พร้อมกับหยิบกะลามะพร้าวออกมาจากใต้เตียงนอนยื่นให้เสนาอำมาตย์ของเจ้าฟ้าเชียงตุงก็ได้ตามความประสงค์ที่ได้เที่ยวตามหาเป็นเวลาแรมปี อย่างนี้ก็ได้เอาซีกกะลามะพร้าวของท่านพระมหาเกสระปัญโญและซีกของตนมาประกบดูก็ใช่คู่กันจริง

จึงกราบลาท่านมหาเกสระปัญโญ กลับไปแจ้งความให้เจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงได้รับทราบ แล้วจึงได้พาข้าทาสบริวารเดินทางมาทางจังหวัดเชียงรายได้ผ่านดอยมันหมูมา จึงได้ให้เสนาอำมาตย์ตัดไม้มันหมูมาเป็นเสาวิหาร ไม้ที่นำมาจากดอยมันหมูนั้นมีอยู่ตรงหน้าพระประธานทางทิศใต้ต้นที่หนึ่ง เดี๋ยวนี้ได้เอาปูนหล่อครอบ เสาต้นนี้ปรากฏว่าเมื่อฝนจะตกน้ำจะท่วมบ้าน จะปรากฏว่ามีน้ำมันซึมออกมาให้เห็น เป็นข้อสังเกตเอาไว้นับว่าเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก

ขณะที่ท่านมหาป่าเกสระยังอยู่ที่กุฏิเดิม ลำบากและขาดแคลนหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่มีทั้งวิหารและเสนาสนะ ชาวไทใหญ่กลุ่มนั้นจึงกลับไปพาช่างไทใหญ่ฝีมือดีและร่วมกับชาวบ้านแถบนั้นช่วยกันสร้างวิหารวัดไหล่หินหลังนี้ขึ้นมา สำหรับพ่อปู่ทอนและพ่อปู่ยักข์ก็ได้มาร่วมก่อสร้างร่วมกับเจ้าฟ้าเมืองเชียงตุงในปี จ.ศ.๑๐๔๕ พ.ศ.๒๒๒๖ และไม่ยอมกลับบ้านเชียงใหม่จนเป็นที่มาของเหล่าปู่ทอนและเหล่าปู่ยักข์มาจนถึงปัจจุบันนี้


IMG_9237.JPG



รายนามเจ้าอาวาส วัดไหล่หินหลวง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


๑. พระมหาเถระเจ้า (ไม่ทราบชื่อและฉายาที่แน่นอน) พ.ศ.๒๐๙๓

    พระมหาป่าเจ้ารูปที่ ๑ ท่านครูบาได้จารคัมภีร์ใบลานหลายเรื่อง อาทิ อัฏฐนิบาตชาดก จารเมื่อ ๒๐๙๓ และได้ปลูกต้นไม้ยางนา (ธุดงควัตร) สร้างป่าในวัด และไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส


๒. พระอุตมะ (องค์แรก)  

๓. ครูบาคันธวงศา

๔. พระสุมนต์

๕. พระสินชัย

๖. พระสังฆราชกุดี


๗. พระมหาป่าเกสระปัญโญ พ.ศ.๒๑๗๓-๒๒๙๕

     พระมหาป่าเจ้ารูปที่ ๒ ธำรงพระไตรปิฏก จารคัมภีร์ใบลานได้มากที่สุดในแคว้นลานนาไทย เป็นพระนักปฏิบัติ เป็นผู้นำในการพระศาสนา และพระอริยบุคคลแห่งนครลำปาง ระยะห่างอายุพระมหาป่าเจ้ารูปที่ ๒ กับ พระมหาป่าเจ้ารูปที่ ๑ ห่างกัน ๑๒๗ ปี


๘. ครูบาก๋าวีเจ้า พ.ศ.๒๒๔๗-๒๓๙๐

    แตกฉานทางศัพทศาสตร์และศาสตร์ต่างๆ ฟังและดูกิริยาอาการของสัตว์ทุกชนิดได้ ชาติภูมิ บ้านแม่แก้(บ้านกิ่ว) ปัจจุบันบ้านแม่แก้ เรียกตามนามลำน้ำจากบ้านแม่แก้เป็นหนองบัวและเป็นบ้านกิ่วตอนเจ้าติ๊บจ้าง(ทิพย์ช้าง) ตีพม่าที่วิหารลำปางหลวงแตกหนีมาทางกองกิ่ว(ทางแคบ) พ.ศ.๒๒๗๕ เป็นต้นมา


๙. ครูบาคำ

๑๐. ครูบาอุตมะ (องค์กลาง)

๑๑. ครูบากาวี (องค์กลาง)

๑๒. ครูบาอุตมะ (องค์เล็ก)

๑๓. ครูบาปวงคำ

๑๔. ครูบากาวี (องค์สุดท้าย)

๑๕. พระอินถาถาวโร

๑๖. เจ้าอธิการแก้วสุทัทธสีโล

๑๗. พระคำป้อพลธมฺโม รก.

๑๘. เจ้าอธิการจันทร์ตาจนฺทรํสี (อุรา)

๑๙. เจ้าอธิการศรีวรรณจกกวโร (ตาวี)

๒๐. พระสมพรเขมธมฺโม (ธรรมนูญ) รก.

๒๑. พระอธิการทองอนามโย (จอมแปง)



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:40 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07617.JPG


IMG_9471.JPG



จุดธูป เทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ


IMG_9474.JPG



DSC07624.JPG



IMG_9477.JPG



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์  วัดไหล่หินหลวง  พร้อมกันเลยนะคะ

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        ป๋าต๊ะกินะ  กะตั๋วมหาเจ๋ติยะ  ธาตุโย  โกตะมะ  อะหัง  วันตามิ  ธาตุโย

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆ ที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:44 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07616.JPG


DSC07610.JPG



DSC07625.JPG



พระพุทธรูป ประดิษฐานบนแท่นบูชา ด้านหน้า กำแพงแก้ว รอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  


DSC07612.JPG


พระพุทธรูป ประดิษฐานบนฐานเขียง องค์พระบรมธาตุเจดีย์ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:47 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07646.JPG



IMG_9525.JPG



DSC07629.JPG



DSC07630.JPG



IMG_9528.JPG



อุโบสถ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ  


อุโบสถ วัดไหล่หินหลวง (หลังเดิมไม่ปรากฏผู้สร้าง) และ พ.ศ. ลูกนิมิต หรือพัทธสีมา เรียกว่าผาตั้ง จนถึงปัจจุบัน ต่อมา พ.ศ.๒๔๕๙ มีครูบาอุตมะ(องค์เล็ก) พร้อมด้วยเจ้าหลวงบุญวาทวงศ์มานิตย์ เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายเป็นประธานสร้าง ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๕ เมตร ได้บูรณปฏิสังขรณ์ส่วนข้างบนหลังคา โดยใช้ลูกนิมิตเดิมทุกอย่าง(พัทธสีมา)

ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๔ ได้ก่อแท่นแก้ว ทำพื้น และทำรั้วไม้ล้อมรอบพระอุโบสถ ได้อัญเชิญพระประธาน พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๒ องค์มาประดิษฐานในพระอุโบสถ โดยมีคุณพ่อจุลคุณแม่อำนวย คล้ายมณี เป็นผู้อุปถัมภ์ในสมัยพระครูอภัยสุวรรณกิจ (ทอง อนามโย  จอมแปง) และพระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร อตฺตสาโร  ปะละ) รองเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๒ ได้บูรณะฉาบปูนฝาผนังใหม่โดยกรมศิลปากรในสมัยเดียวกัน



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:51 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07604.JPG


DSC07584.JPG



IMG_9421.JPG



IMG_9538.JPG



DSC07641.JPG



DSC07639.JPG



กู่ช้างยืน หน้าวิหาร ด้านขวามือ วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ค่ะ

จากตำนานความเป็นมาของพระธาตุเจดีย์ดังกล่าวข้างต้นเกี่ยวกับช้างในขบวนแห่พระธาตุที่ได้มาหยุด ณ สถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างกู่เป็นอนุสรณ์ให้กับช้างที่นำพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้ามาจากประเทศอินเดียมายังวัดไหล่หิน ไว้หน้าวิหารด้านขวามือ เป็นกู่เตี้ยๆ รูปช้างยืนแบกหีบบรรจุพระธาตุแก้ว ดังนั้นการที่ชาวบ้านเรียกวัดไหล่หินอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดไหล่หินแก้วช้างยืน” ก็เนื่องมาจากสาเหตุดังกล่าวนี้



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-17 23:55 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07583.JPG



IMG_9416.JPG



IMG_9460.JPG



DSC07642.JPG



DSC07643.JPG



มะพร้าวผ่าซีก หน้าวิหาร ด้านซ้ายมือ วิหารโบราณ วัดไหล่หินหลวง ที่ชาวเชียงตุงเอาใส่บาตรพระมหาเกสรปัญโญเจ้า ซึ่งมาค้นพบที่วัดไหล่หินหลวงค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-18 00:01 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_9356.JPG



IMG_9548.JPG



IMG_9536.JPG



IMG_9500.JPG



IMG_9518.JPG



IMG_9476.JPG



IMG_9466.JPG



ศาลาบาตร และภายในศาลาบาตร วัดไหล่หินหลวง ค่ะ



ศาลาบาตร วัดไหล่หินหลวง หลังเดิมเป็นไม้ทั้งหลัง ไม่ปรากฏผู้สร้างและพ.ศ. ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๗๔ ครูบาอุตมะ(องค์เล็ก) ได้ทำการก่อสร้างยังไม่ทันเสร็จท่านได้มรณภาพเสียก่อน ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๗๕ ครูบาปวงคำ พร้อมผู้ใหญ่บ้านน้อยป้อ ครุขยัน ได้สร้างต่อเสร็จทั้ง ๓ ด้าน พร้อมกันนี้ยังได้ทำรั้วรอบพระธาตุเจดีย์ในคราวเดียวกัน

ต่อมา พ.ศ.๒๕๓๓ ทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้บูรณะส่วนด้านบนหลังคาได้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผา(ดินขอ) ในสมัยพระครูอภัยสุวรรณกิจ (ทอง อนามโย จอมแปง) เจ้าอาวาส และพระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร อตฺตสาโร ปะละ) รองเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๕๒ กรมศิลปากรได้บูรณะบางส่วน อาทิ ปานลม ดังที่เห็นในปัจจุบันในสมัยเดียวกัน



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-18 00:04 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_9643.JPG



หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนา สุวัณณะกีฏะศรัทธาสามัคคี วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนา มีข้อความบันทึกไว้ที่ตัวอาคารว่า “สุวรรณกีฎะศรัทธาสามัคคี” นอกจากนี้ยังมีปูชนียวัตถุอื่นๆ ซึ่งได้แก่ คัมภีร์ใบลานเก่าแก่ของล้านนาไทย เตียงนอน แท่นนั่งเขียนหรือจารคัมภีร์โบราณ พร้อมอาสนะและบริขารอื่นของพระมหาเกสรปัญโญ รวมทั้งต้นลานประหลาด

โดยการริเริ่มของเจ้าอธิการจันทร์ตา  จนฺทรํสี (อุรา) เจ้าอาวาส ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ต่อมา พ.ศ.๒๕๑๖ ได้ขอรับบริจาคจากชาวบ้านโดยผู้ใหญ่รุ่งโรจน์  ปินตา และทางวัดไหล่หิน ริเริ่มเก็บรวบรวมโบราณวัตถุต่างๆ ไว้ในชั้นต้นนำไปวางแสดงในกุฏิหลังเก่า ต่อมาจึงได้สร้าง “หอพิพิธภัณฑ์โบราณล้านนา สุวัณณะกีฏะศรัทธาสามัคคี” ขึ้น แยกเป็นเอกเทศออกมาในปี พ.ศ.๒๕๓๐ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๓ โดยมีพระครูอภัยสุวรรณกิจ (ทอง  อนามโย จอมแปง) พร้อมพระครูสุนทรเสลคุณ (ชัยพร  อตฺตสาโร  ปะละ) รองเจ้าอาวาส ได้รับความอุปถัมภ์จากพ่อเลี้ยงประจวบ แม่เลี้ยงจันทร์ฟอง  สุวัณณกีฏะ จากเมืองลำปาง

ภายในตรงกลางห้อง ประดิษฐานพระพุทธรูปบุเงิน บุทอง ขนาดเล็กๆ จำนวนมากไว้ในตู้ มีลูกกรงเหล็กล้อมรอบไว้อย่างมั่นคงถึงสองชั้น ของอื่นๆ ที่นำมาเก็บไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ก็มีอาทิ เครื่องถ้วย เครื่องเขิน เงินตราโบราณ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี หากแต่ที่โดดเด่นก็คือบรรดาเครื่องไม้จำหลักทางศาสนา นอกจากนั้นก็ยังเครื่องรางของขลัง ผ้ายันตร์และตะกรุดแบบต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นคติความเชื่อในท้องถิ่นที่ยังมิได้มีการศึกษาค้นคว้ากันนัก

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถือได้ว่ามีกำเนิดมาจากหมู่คณะศรัทธาของชาวบ้านร่วมกับพระสงฆ์โดยแท้ จนถึงบัดนี้คณะกรรมการสองคน จากจำนวน ๒๐ คน จะผลัดเปลี่ยนกันมาเฝ้าดูแลทุกวัน ท่านเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นขุมคลังความรู้มหาศาลที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวของวัด ชุมชน และวัตถุสิ่งของที่นำมารวบรวมไว้ได้ดียิ่งกว่าแผ่นป้ายหรือหนังสือนำชมใดๆ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-18 00:09 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07561.JPG



IMG_9344.JPG


m1.JPG



พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2019-4-18 00:11 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC07548.JPG



IMG_9609.JPG



IMG_9610.JPG



รูปเหมือนพระมหาป่าเกสรปัญโญ ประดิษฐานภายใน พิพิธภัณฑ์ ๑ – เรื่องเล่าครูบามหาป่าเจ้า วัดไหล่หินหลวง ค่ะ


ครูบามหาป่าเจ้า ตำนานนักบุญเมืองเขลางค์ล้านนา สมณะต้นแบบในการฝึกสอนธุดงควัตร ๑๓ ขึ้นชื่อเรื่องสอนวิปัสนากรรมฐานอันโด่งดัง เป็นพระเถระฝ่ายวิปัสสนาที่มีชื่อเสียง ในสมัยนั้นนับว่าครูบามหาป่าเจ้าแห่งสำนักวัดไหล่หิน ถือเป็นยอดเกจิอาจารย์ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ ในปี พ.ศ.๒๒๒๐

เป็นพระเกจิอาจารย์สายป่า สร้างเอกลักษณ์ถือหลักวินัยธุดงควัตรที่เคร่งที่สุดและความมีอิทธิฤทธิ์พิเศษประจำตัวมากมายจนเป็นที่เลื่องลือมาจวบจนปัจจุบัน มีผู้คนกราบสักการะมากมายทั่วทุกสารทิศ จึงเป็นที่มาในการก่อสร้างรูปปั้นครูบามหาป่าเจ้าองค์ใหญ่ สมกับตำนานและชื่อเสียงอันโด่งดังของครูบาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


IMG_9554.JPG



ประวัติพระมหาป่าเกสรปัญโญ วัดไหล่หินหลวง

พระมหาป่าเกสระปัญโญ รูปนี้นับเป็นพระเถระองค์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดสูงเม่นเมืองแพร่อย่างมาก ปรากฏเรื่องราววัดสูงเม่นเมืองแพร่เคยเดินทางมาขนเอาคัมภีร์ครูบามหาป่าเกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวงถ้ำดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว ๑๐ กิโลเมตรเศษนำขึ้นช้างพลายต่าง(นำใส่หลังช้าง) กลับเมืองแพร๋

ประวัติการถ่ายทอดพระคัมภีร์ของพระมหาป่าวัดไหล่หินหลวงของครูบาวัดสูงเม่นเมืองแพร่ ปรากฏในหลักฐานคัมภีร์สถาวกัณณี มีความที่เจรจาไว้ท้ายตำนานผูกที่ ๓ จารเมื่อ จ.ศ.๑๒๐๑ (พ.ศ.๒๓๙๘) ว่า "อุบาสกมูลศรัทธา หนานมณีวรรณค้ำชูครูบาเจ้าวัดสูงเม่นเมืองแพร่มาเมตตาในวัดป่าหินแก้วกล้างริมยาวไชยวรรณแล" คำจารในสถาวกัณณีฉบับดังกล่าวแสดงว่าการคัดตำนานจากต้นฉบับของพระมหาป่าเกสระปัญโญร้อยกว่าปี และเป็นสมัยที่ผ่านเข้ามาถึงสมัยเจ้าวงศ์ ๗ ตนครองเมืองนครลำปางแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่ต้นฉบับที่คัดไว้นี้ไว้ที่วัดไหล่หิน ตัวจริงคงจะไปอยู่ที่วัดสูงเม่นเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๒

ประวัติพระมหาป่าเกสระปัญโญ วัดไหล่หินหลวง คู่กับประวัติมหาปัญโญ วัดพระธาตุลำปางหลวง คือ เป็นพระองค์พี่และองค์น้อง เดิมพี่น้องทั้งสองคนนี้เป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเสด็จ เป็นชาวบ้านแม่แก้ เขตตำบลลำปาง ต่อมาสามเณรองค์พี่ได้ไปศึกษาที่วัดป่าซางเมืองลำพูน เป็นสามเณรที่มีความผิดแปลกไปจากสามเณรรูปอื่นๆ ตรงที่ว่าเงียบขรึม ท่องบ่นธรรมคัมภีร์โดยไม่ยอมออกเสียง เหมือนกับสามเณรรูปอื่น และชอบเขียนตัวอักษรบนใบลาน

ความเงียบขรึมของสามเณรเกสระนี้เองที่ทำให้เจ้าอธิการวัดป่าซางเฮือก ลำพูน วิตกกังวลเรื่องการเทศน์ เกรงว่าจะแข่งกับสามเณรอื่นที่มีความขยันไม่ได้ในการท่องบ่นพระธรรมกันเจื่อยแจ้ว ในระหว่างพรรษาหนึ่ง เจ้าอธิการได้มอบธรรมเวสสันดรชาดกให้ท่องบ่น ก็มิเห็นสามเณรรูปนั้นท่องบ่น ครั้งถึงวันเทศกาลออกพรรษาแล้ว มีการตั้งธรรมหลวง สวดเบิก และเทศนาจับสลาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนจัดได้กัณฑ์มหาพนและตรงกับเวรสามเณรเกสระ เจ้าอธิการมีความวิตกกังวลมากที่สุด แต่ปรากฏว่าสามเณรเกสระสามารถเทศน์ได้โดยปากเปล่าโดยมิต้องอาศัยการอ่าน เทศน์ได้ถูกต้อง

นอกจากนี้เวลามีการรวบรวมคัมภีร์ต่างๆ ที่กระจัดกระจาย เชือกผูกหลุดหลายคัมภีร์ใบลานปะปนกันหลายผูก สามเณรรูปนี้ก็สามารถรวบรวมปะติดได้อย่างคล่องแคล่วเก็บเรียบร้อยเข้าที่เดิมซึ่งเป็นวิธีสอบปฏิภาณแบบหนึ่ง เจ้าอธิการซึ่งก็ทรงทราบแต่บัดนั้นว่า “สามเณรเกสระ มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งเหนือกว่าสามเณรรูปอื่นๆ เป็นที่เลื่อมใสตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าซางเมืองลำพูน”

พระมหาป่าเกสระปัญโญ ซึ่งในคำจารึกบนแผ่นไม้ในการสร้างพระวิหาร ในปี พ.ศ.๒๒๒๖ ประวัติศาสตร์พื้นฐานปริยัติที่ได้จากลำพูน แต่ท่านก็เป็นพระที่ถือธุดงค์วัตรจนมีชื่อเป็นพระมหาป่ารูปหนึ่งของวัดไหล่หิน ผลงานของพระมหาป่า เกสระปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เป็นที่แพร่หลายด้วยการจารใบลานไว้มาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ทางศักราชจารึก สมัยพระมหาป่าเกสระปัญโญ สร้างพระวิหารวัดไหล่หินหลวงในปี พ.ศ.๒๒๒๖ และความสมบูรณ์เป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบันนี้

เรื่องพระมหาป่าเกสระในพงศาวดารเหนือเมืองเถิน ได้อ้างถึงมหาป่าเจ้าหล้า (วัดไหล่หิน) ซึ่งเป็นองค์เดียวกันนี้ เป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวงเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๗ มีศิษย์ร่วมครูที่นับถือติดต่อกัน คือวัดปงยางคก วัดศรีกลางเวียง ได้วางกฎธรรมเนียมไว้ว่า วัดทั้งสามแห่งนี้จะต้องปฏิบัติเยี่ยมเยียนกันเมื่อใครเจ็บไข้ได้ป่วย นอกจากนี้ยังมีวัดที่ถือมีครูเดียวกัน คือวัดห้วยเกี๋ยง วัดดอนเหิง (วัดร้างดอนเหิงปัจจุบัน) วัดป่าตาล วัดหนองแลก และวัดห้างนา ทั้งนี้ถือเอาวัดเมืองเถินเป็นต้นเค้า

นอกจากนั้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๓ ได้มีการพบวัดที่ครูบามหาป่าไปสร้างไว้ที่เมืองม้า เขตปกครองพิเศษ ประเทศพม่า ติดกับเมืองลา เส้นทางที่จะออกไปสู่สิบสองปันนา ประเทศจีน วัดดังกล่าวชื่อว่า “วัดราชสัณฐานเชียงตุ้ง) ซึ่งลักษณะของเจดีย์มีลักษณะคล้ายคลึงกับวัดไหล่หินหลวง และมีตำนานเรื่องเล่าของครูบามหาป่าที่เหมือนกัน และผู้คนแถวนั้นจะเรียกครูบามหาป่าว่า “ครูบาซาน” (ซาน แปลว่า เหาะเหินเดินอากาศได้)



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-3-28 17:11 , Processed in 0.346589 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.