แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 15552|ตอบ: 39
go

วัดเจดีย์เจ็ดยอด ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8


DSC00326.jpg



วัดเจดีย์เจ็ดยอด

ต.ช้างเืผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่

[พระบรมธาตุเจดีย์]



วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด นับเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ และน่าสนใจแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อว่า วัดมหาโพธาราม หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร เป็นวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดี องค์ที่ ๒๒ แห่งพระราชวงศ์มังราย โปรดให้สร้างขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๙๙๙ และจัดได้ว่าเป็นอารามที่มีความสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา กล่าวคือ ในปีพุทธศักราช ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราช โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ วัดมหาโพธารามแห่งนี้เอง ซึ่งวงการพระพุทธศาสนาได้ยอมรับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘ นับจากที่ได้ทำมาแล้ว ๗ ครั้ง ในประเทศอินเดียและศรีลังกา

นอกจากนั้น วัดเจ็ดยอดยังมีปูชนียวัตถุ และโบราณสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา ประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ และคุณค่าในทางศิลปกรรมประเภทพุทธศิลป์ในสมัยอาณาจักรล้านนา ที่น่าสนใจหลายแห่ง ที่สำคัญคือ
มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช และสัตตมหาสถานที่ยังเหลืออยู่โดยรอบวัดเจ็ดยอด



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-10-4 04:06  

DSC09914.jpg

ประวัติวัดเจดีย์เจ็ดยอด

วัดเจดีย์เจ็ดยอด ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ ชื่อเป็นทางราชการชื่อ วัดโพธาราม แต่ชาวบ้านเรียกว่า วัดเจ็ดยอด หรือวัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไปเรียกตามลักษณะเครื่องยอดส่วนบนของหลังคาวิหารที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์ มีจำนวนเจ็ดองค์เจ็ดยอดด้วยกัน แต่ชื่อของวัดที่มีมาแต่เดิมเมื่อคราวแรกสร้างวัดนี้ ชื่อว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร"

มีเรื่องราวปรากฏเป็นตำนานวัดเจ็ดยอดเป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งพระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน แห่งวัดหอธรรม เก็บรวบรวมไว้มีความตอนหนึ่งว่า สมัย “สมเด็จพระเจ้าศิริธรรมจักรวัตติโลกราช” เชียงใหม่มีฐานะเป็นเสมือนศูนย์กลางของดินแดนล้านนาในด้านเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ลัทธิลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเชียงใหม่ มีพระเถระชาวเชียงใหม่ที่ทรงภูมิความรู้ในพระไตรปิฎกและมีชื่อเสียง เช่น พระมหาญาณคัมภีร์ มหาเมธังกร พระศีลสังวะ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาประดิษฐานเผยแพร่ในเชียงใหม่และเมืองต่างๆ ในดินแดนล้านนา พระเถระเหล่านี้เมื่อกลับมาจากลังกาแล้ว ได้มาจำวัดอยู่ที่วัดพระยืนนอกเมืองหริภุญชัย ทำการบวชให้กับกุลบุตรเป็นจำนวนมาก เมื่อพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับถึงกิตติคุณสีลาจารวัตรของพระเถระเหล่านั้น ก็ทรงศรัทธาเสื่อมใสเป็นอันมาก ถึงกับทรงพระราชมณเฑียรในเมืองเชียงใหม่ ต่อมา โปรดให้นิมนต์พระเถระเหล่านั้นจากวัดพระยืนมาจำวัดอยู่ที่นี่ และยังสร้างวัดอีกมากมาย อาทิ วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวง พระเจ้าติโลกราชได้ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างสถูป เจดีย์ เสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก


ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกทรงผนวชท่ามกลางคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก มีมหาญาณมงคลเป็นอุปัชฌาย์ พระอดุลสถิตยาทิกรมมหาสามีเฌร เป็นพระกรรมวาจารย์ พระเจ้าติโลกราชได้สดับพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงส์แห่งการปลูกต้นมหาโพธิ์จากสำนักสงฆ์ลังกาวงศ์ ก็ทรงเสื่อมใสและมีรับสั่งให้พิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมและได้สร้างพระอารามขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ.๑๙๙๘ ทรงได้พืชพันธุ์มหาโพธิ์จากคณะสงฆ์ที่ไปลังกาจึงโปรดให้นำมาปลูกไว้ที่อารามแห่งนั้น เป็นสาเหตุให้อารามได้รับขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม"


ต่อมาพ.ศ.๒๐๒๐ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘ นับว่าเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาวัดเจ็ดยอดได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่าเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๙ หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองอื่นหมดสิ้น

ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดีบรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอด หรือวัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้เองค่ะ



DSC09916.jpg

ซุ้มประตูโขง วัดเจ็ดยอด เป็นประตูเข้าออกหลักของวัด กว้าง ๓.๑๐ เมตร ยาว ๓.๘๐ เมตร ก่อด้วยอิฐ ผนังด้านนอกประดับลายปูนปั้น ด้านบนมุงซุ้มหลังคา จากลักษณะโครงสร้างประตูที่กำแพงอิฐ ขนาดกว้าง ๑.๓๕ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร ต่อเชื่อมออกไปเพื่อแสดงขอบเขตของวัดและล้อมรอบศาสนสถานต่างๆ ไว้


ประวัติซุ้มประตูโขง วัดเจ็ดยอด

ซุ้มประตูโขง สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกมหาราช เมื่อคราวที่ปลูกต้นมหาโพธิ์และสร้างสัตตมหาสถานในปี พ.ศ.๑๙๙๘ มีลักษณะเป็นประตูกำแพงขนาดใหญ่ ส่วนบนทำเป็นซุ้มโค้ง ด้านข้างเป็นผนังหนาทั้ง ๒ ด้านย่อมุม เพื่อใช้เป็นโครงสร้างรองรับส่วนบนซึ่งเป็นยอดมณฑป ปัจจุบันส่วนบนพังทลายลงมาแล้ว เหลือเพียงโครงสร้างด้านข้างซึ่งเป็นผนังหนาทั้ง ๒ ข้าง มีรูปทรงที่สมบูรณ์ อาจเทียบได้กับซุ้มประตูโขงที่วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง ซึ่งจะเห็นได้จากโครงสร้างที่เหลืออยู่ของซุ้มประตูวัดเจ็ดยอด อาทิ ยอดบัวที่ฐานจังหวะการย่อมุม หรือแม้แต่ซุ้มด้านข้างที่ติดต่อกับส่วนแนวกำแพง และโครงสร้างหรือเส้นรอบนอก การวางตำแหน่งของลวดลายบางชนิดที่นำมาประดับตกแต่ง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันค่ะ


Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:30 โดย pimnuttapa

  

DSC09918.jpg

ซุ้มประตูโขง และแนวกำแพง วัดเจ็ดยอด ค่ะ


DSC00304.jpg

ลายพรรณพฤกษา ซุ้มประตูโขง วัดเจ็ดยอด ค่ะ  


DSC00303.jpg
เดี๋ยวเราเข้าไปในวัดเจ็ดยอดกันเลยนะคะ ตามมาเลยค่ะ  


DSC09913.jpg

ทางเดิน วัดเจ็ดยอด วางตัวแนวเฉียงออกไปทางแกนตะวันออด-ตะวันตก ไปยังซุ้มประตูโขงที่กำแพง ยกขอบทั้งสองข้าง กว้าง ๐.๖๐ เมตร ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:30 โดย pimnuttapa

  

DSC09895.jpg

มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด ค่ะ

โพธิบัลลังก์ คือสถานที่พระพุทธเจ้าทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ณ ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ด้านทิศตะวันออก ทรงตั้งวิริยาธิษฐานปฏิภาณพระองค์ว่า "ตราบใดที่ยังไม่บรรลุพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้ ก็จะไม่ยอมลุกจากที่ประทับนั้น แม้มังสะและโลหิตจะเหือดแห้งสูญสิ้นไปเหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที"
ปัจจุบันคือมหาวิหารเจ็ดยอด


DSC00333.jpg

ประวัติมหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด

ปรากฏเรื่องว่าสาเหตุของการสร้างวัดนี้คือ พระเจ้าติโลกราชนั้น ท่านครองราชย์อยู่ที่เชียงใหม่ ในช่วงเวลาที่พระพุทธศาสนามีอายุครบ ๒,๐๐๐ ปี พอดี ในปี พ.ศ ๒๐๐๐ พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ช่างฝีมือคนหนึ่งชื่อว่าหมื่นด้ามพร้าคต เดินทางไปยังพุทธคยาอินเดีย เพื่อไปจำลองรูปแบบของมหาวิหารที่พุทธคยาให้มาสร้างไว้ที่เชียงใหม่ที่เห็นคือ วิหารเหมือนด้ามพร้าคต

พุทธคยาคือ สถานที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งใน ๔ แห่ง ที่เราเรียกว่า สังเวชยสถาน ๔ รูปแบบของวิหารแห่งนี้ก็ไม่ใหญ่โต หรือเหมือนวิหารพุทธคยาแท้จริง ก็เลยมีการถกเถียงกันว่ารูปแบบที่ช่างไปเอาต้นแบบจากอินเดียมาจริง หรือไปแค่เมืองพุกามประเทศพม่ากันแน่ เพราะในพม่าก็มีวิหารคล้ายๆ แบบนี้ ซึ่งพระเจ้าอนุรุทธิหรืออโณรทาของพม่า ก็ให้ไปจำลองมาสร้างไว้ที่เมืองพุกาม เพราะฉะนั้นพระเจ้าติโลกราชก็ให้ไปจำลองวิหารพุทธคยามาสร้างไว้ที่เชียงใหม่ ในการเปรียบเทียบทั้งที่พุทธคยา พุกาม พม่า และที่นี่ปรากฏว่าขนาดของเราเล็กสุดกว่าที่อีก ๒ แห่ง ที่เหลือที่พุกามจะใหญ่โตพอๆ กับอินเดียที่เป็นตนแบบ รูปแบบของเราจะแตกต่างออกไปบ้าง


ลักษณะสถาปัตยกรรม มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด ก่อด้วยศิลาแลง กว้าง ๑๗ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และสูง ๑๘.๖๕ เมตร โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้ ๓ ส่วน คือ ส่วนฐาน เป็นฐานบัว และด้านหน้ากระดานรองรับ ส่วนที่ทำเป็นคูหา ซึ่งส่วนนี้ทำเป็นลักษณะแบบอุโมงค์เพดานโค้งลึกเข้าไป ภายในสุดผนังด้านหลังของคูหา มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป ผนังด้านข้าง ๒ ด้านก่อด้วยอิฐศิลาแลงหนาหลายชั้น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักข้างบน ระหว่างความหนาของผนังนี้ได้ทำเป็นทางเดินแคบๆ มีขั้นบันไดขึ้นสู่ชั้นบน ส่วนบน หรือหลังคาเหนือคูหาขึ้นไปประกอบด้วยยอด ๗ ยอดด้วยกัน คือ กลุ่มยอดทรงกรวยเหลี่ยมแบบยอดศีขรจำนวน ๕ ยอด มียอดสูงใหญ่อยู่กลางยอดเล็กเป็นบริวารประกอบอยู่ ๔ มุม ที่มุขด้านหน้าซึ่งยื่นออกมาทำเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่ด้านละองค์

วัสดุในการก่อสร้าง มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) คือ ศิลาแลงเป็นหลัก เป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่สลักลวดลายไม่ได้ต้องใช้ปูนขาวฉาบลงไปบนผิว ตกแต่งเป็นลวดลายเครื่องประดับ จะเห็นว่ามีผนังด้านยาวทำเป็นรูปเทวดานั่งพนมมือ ซึ่งเป็นรูปแบบของประติมากรรมในศิลปะล้านนาตอนปลาย ได้รับอิทธิพลจากสุโขทัย หน้าเป็นรูปไข่ บ่าใหญ่ เอวเล็ก ขัดสมาธิราบ คล้ายพระพุทธรูปแต่พนมมือ เพราะฉะนั้นก็คงจะทำเป็นรูปเทวดาไม่ใช่เป็นพระพุทธรูปหรือรูปพระสาวก เพราะมีเครื่องทรงเป็นเทวดา ระหว่างเทวดาแต่ละองค์จะมีเสาเล็กๆ คั่นอยู่เป็นระยะๆ อาจจะเป็นรูปแบบที่รับจากอินเดีย เทวดาที่มาประดับหมายถึง เทวดาที่มาบูชาพระพุทธเจ้าตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้


ล้อมรอบมหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) แห่งนี้จะมีเจดีย์ล้อมรอบเจ็ดองค์เรียกว่า สัตมหาสถาน คือ สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญสมาธิหลังจากตรัสรู้แล้ว ในสถานที่ทั้ง ๗ แห่งๆ ละ ๗ วันเป็นเวลาทั้ง ๔๙ วัน เพราะพุทธเจ้าพอตรัสรู้แล้ว ท่านไม่แน่พระทัยว่าธรรมที่ตรัสรู้แล้วยากเกินไปหรือเปล่าที่จะสอนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ถ้ายากเกินไปสอนไปแล้วฟังไม่รู้เรื่องไม่เกิดประโยชน์ ตอนแรกไม่แน่ใจว่าจะประกาศพระศาสนาหรือไม่ แต่ในที่สุดก็มาใคร่ครวญดูแล้ว เห็นว่ามนุษย์ทั้งหลายสามารถแบ่งได้เป็น ๔ ประเภท เทียบเท่ากับดอกบัว ๔ เหล่า ด้วยกัน

ประเภทที่ ๑ เป็นบุคคลที่มีปัญญาฉลาดมาก เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ พอต้องแสงแดดนิดเดียวก็บานทันที เปรียบเสมือนคนมีปัญญาเป็นเลิศ พอแสดงธรรมโปรดให้ฟังครั้งเดียวก็บรรลุตามได้
ประเภทที่ ๒ คือบุคคลที่ฉลาดธรรมดาไม่มากนัก เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริมน้ำ โดนแดดสักวันหนึ่งหรือครึ่งวันก็บานได้เหมือนกัน ก็เปรียบเหมือนคนค่อนข้างฉลาด สั่งสอนสัก ๒ - ๓ ครั้งก็บรรลุตามได้

ประเภทที่ ๓ ก็เปรียบเสมือนคนมีปัญญาดี เปรียบเสมือนบัวที่อยู่ใต้ผิวน้ำ ต้องรอแสงพระอาทิตย์สักวันก็จะโผล่มาพ้นน้ำบานได้อีก เปรียบเสมือนคนปัญญาดี
ประเภทที่ ๔ ก็เปรียบเสมือนบัวใต้น้ำ เปรียบเสมือนมีคนปัญญาทรามคือโง่มาก สอนเท่าไหร่ก็ฟังไม่รู้เรื่อง เปรียบเสมือนดอกบัวซึ่งเป็นเหยื่อ แต่เต่า ปลา ต่อไป เมื่อท่านใคร่ครวญแล้วท่านก็เลยตัดสินพระทัยประกาศพระศาสนา เพราะถือว่ามีบัวถึง ๓ ประเภทที่จะสั่งสอนได้

เพราะฉะนั้นคือสถานที่ๆ ท่านไปใคร่ครวญพระธรรมในสถานที่ ๗ แห่งๆ ละ ๗ วัน ที่เรียกสัตตมหาสถาน เพราะฉะนั้นสัตตะมหาสานที่วัดเจ็ดยอดถือว่าเป็นสัตตะมหาสถานแห่งแรกในเมืองไทยที่สร้างขึ้น แต่ก็มีที่อื่นที่สำคัญในกรุงเทพฯ ก็คือที่วัดสุทัศนเทพวราราม ที่สร้างขึ้นในสมัย ร.๓ มีสัตตะมหาสถานเหมือนกัน



DSC00334.jpg
DSC09936.jpg

DSC09956.jpg

ผนังวิหารด้านนอก มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด โดยรอบประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปเทพชุมนุมในท่าพนมมือนั่งขัดสมาธิ และท่ายืนพนมมือค่ะ




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:34 โดย pimnuttapa


DSC00374.jpg
DSC00375.jpg

พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ประดิษฐานภายใน มหาวิหารเจ็ดยอด (โพธิบัลลังก์) วัดเจ็ดยอด ค่ะ  




Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:35 โดย pimnuttapa

  
DSC09949.jpg
DSC00339.jpg

เจดีย์พุทธคยา วัดเจ็ดยอด ประดิษฐานด้านหลังมหาวิหารค่ะ    

รูปแบบเจดีย์พุทธคยา วัดเจ็ดยอด มีบันไดทางขึ้น-ลงอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ถ้าเรามองด้านล่างขึ้นไปถึงตรงกลาง จะคล้ายคลึงกับเจดีย์หลวง สันนิษฐานแล้วยอดที่พังลงมาก็ควรจะใกล้เคียงกับยอดองค์นี้ เพราะระยะเวลาใกล้เคียงกันมากคือ พระเจดีย์หลวงองค์นี้ได้สร้างหลังจากพระเจ้าติโลกราชสวรรคตสิ้นพระชนม์อายุเวลาไม่กี่ปี คือรัชกาลต่อกันเลย เพราะฉะนั้นรูปแบบก็ควรจะใกล้เคียงกัน คือมีกระพุ่มยอดเป็นอันเดียวไม่ใช่ ๕ ยอด เหมือนอย่างที่เคยนิยมทำกัน


DSC09945.jpg
DSC00350.jpg

พระเจ้าทันใจ (พระพุทธรูปประจำโพธิบัลลังก์ คือ พระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชร) ประดิษฐานภายใน มุข เจดีย์พุทธคยา วัดเจ็ดยอด ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-10-4 05:04  

DSC00359.jpg

ฐานอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส อยู่ด้านข้าง วิหาร วัดเจ็ดยอด ค่ะ


DSC09899.jpg

บ่อน้ำโบราณ อยู่ด้านข้าง วิหาร วัดเจ็ดยอด ค่ะ


DSC00358.jpg

กำแพงแก้ว วัดเจ็ดยอด รอบล้อมมหาวิหารเจ็ดยอดและเจดีย์พุทธคยาค่ะ


DSC00347.jpg

ฆ้อง-ระฆัง อยู่ด้านข้าง เจดีย์พุทธคยา วัดเจ็ดยอด ค่ะ

Rank: 8Rank: 8

DSC00328.jpg

วิหารด้านหน้า วัดเจ็ดยอด เป็นศาสนสถานที่ได้รับการสร้างขึ้นใหม่ คือ สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๑๒ - ๒๕๑๓ แบบล้านนารุ่นหลัง แต่ก็จัดว่าเป็นศาสนสถานที่มีความสวยงามแห่งหนึ่งค่ะ

Rank: 8Rank: 8

แก้ไขครั้งสุดท้าย: 2010-12-20 07:35 โดย pimnuttapa


DSC00364.jpg

พระพุทธรูปปางรำพึง ประดิษฐานด้านข้าง ประตูทางเข้า/ออก วิหารด้านหน้า วัดเจ็ดยอด ค่ะ   


DSC00369.jpg

ภายใน วิหารด้านหน้า วัดเจ็ดยอด ค่ะ






Rank: 8Rank: 8

แก้ไขล่าสุด pimnuttapa เมื่อ 2009-9-20 02:44  

DSC00368.jpg

จิตรกรรมฝาผนัง ภายใน วิหารด้านหน้า วัดเจ็ดยอด ค่ะ

‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-20 05:00 , Processed in 0.071231 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.