แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 4552|ตอบ: 8
go

วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ม.๕ ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (พระเกศาธาตุ)

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:05 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1430.jpg



วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง

บ.ป่าห้า  ม.๕  ต.โหล่งขอด  อ.พร้าว  จ.เชียงใหม่

[พระเกศาธาตุ]



Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:09 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC00171.jpg



วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ตั้งอยู่ หมู่ที่ ๕ บ้านป่าห้า ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ค่ะ


การเดินทางไปวัดพระธาตุม่วงเนิ้ง  ดูข้อมูลแผนที่จากเว็บ google ได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

https://www.google.co.th/maps/place/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87/@19.090397,99.184016,17z/data=!3m1!4b1!4m2!3m1!1s0x30da1d85e6b4e75b:0x132414509869d7ff



DSC00173.jpg


DSC00180.jpg



บรรยากาศภายใน วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:11 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1417.JPG


DSC00195.jpg



IMG_1437.jpg



IMG_1440.jpg



วิหาร วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


ประวัติการสร้างวิหาร

ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย เคยมาพัก และสร้างวิหารไม้ไว้เป็นอนุสรณ์ ประมาณพ.ศ.๒๔๗๓



IMG_1422.jpg



DSC00189.jpg



จิตรกรรมฝาผนังหน้าบันด้านหลัง วิหาร วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ



Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:12 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1435.jpg



IMG_1423.jpg



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ประดิษฐานพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค่ะ



DSC00182.jpg



ตำนานพระธาตุม่วงเนิ้ง จากตำนานพระเจ้าเลียบโลก


กล่าวว่า  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับนั่งฉันภัตตาหารเพล ณ ที่สถานที่แห่งนี้ คำว่า “ม่วงเนิ้ง” มาจากพระพุทธเจ้าทรงนำบาตรไปแขวนกับต้นมะม่วง เนื่องจากบาตรหนักทำให้กิ่งมะม่วงโน้มลงมา ต้นมะม่วงดั้งเดิมสูงใหญ่มาก (มีต้นมะม่วงอยู่หน้าวิหารปรากฏให้เห็นจนถึงปัจจุบัน) เมื่อพระพุทธเจ้าฉันภัตตาหารเพลเรียบร้อยแล้ว ได้เทข้าวที่เหลือกองไว้ แล้วพระพุทธองค์ทรงลูบพระเกศาวางไว้บนกองข้าว ต่อมาได้สร้างเจดีย์ครอบไว้



DSC00184.jpg



ประวัติพระธาตุม่วงเนิ้ง


(แหล่งที่มา : พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุงจ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).  กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์, หน้า ๑๗๒-๑๗๓.)


พระธาตุแห่งนี้ ถือว่าเป็นพระธาตุที่อยู่ทางใต้สุดของเมืองก็ว่าได้ โดยมี พระธาตุนางแล อยู่ทางเหนือสุดของพื้นที่ ตามหนังสือประวัติที่ท่านเจ้าคณะอำเภอเมืองพร้าวให้มามีเรื่องราวเล่าว่า


พระธาตุม่วงเนิ้งโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว มีผู้คนนับถือกราบไหว้มานานหลายชั่วอายุคน เล่ากันว่าน่าจะมีอายุนานนับพันปีมาแล้ว เพราะฉะนั้น สถานที่นี้ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ หลังจาก ท่านครูบาศรีวิชัย มาทำการบูรณะซ่อมแซม วัดพระธาตุใจเมือง เสร็จเรียบร้อยแล้ว ตอนขากลับท่านพร้อมด้วยคณะศิษย์ที่เป็นภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกา ก็ได้เดินทางกลับสู่วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่


แต่ในระหว่างทาง ท่านได้แวะขึ้นไปนมัสการองค์ พระธาตุม่วงเนิ้ง ในเวลาจวนบ่ายมากแล้ว หลังจากท่านไหว้แล้ว ได้ยืนทัศนารอบๆ บริเวณผืนแผ่นดินในตำนานโหล่งขอดแล้วพูดว่า


“มีของดีอยู่ในองค์พระธาตุม่วงเนิ้งไม่มาก ขนาดเท่าฝ่ามือนี้”

ว่าแล้วท่านก็ทำอุ้งมือเป็นรูปเรือให้ดู แล้วยังชี้นิ้วมือไปที่ภูเขาอีก ๒ ลูก พร้อมกับพูดว่า


“ยังมีพระธาตุอีก ๒ ดวงในเขตนี้ คือที่ ดอยเวียง (ชาวเวียงเรียก “ดอยคูเมือง”) และที่ ดอยสามเหลี่ยม วันเวลาใดที่พระธาตุ ๓ วงนี้ลุกเรื่อเรืองขึ้นมาเมื่อใด ชาวโหล่งขอดจะได้ยะนา (ทำนา) ข้าวสาร”


คำว่า “ทำนาข้าวสาร” หมายถึงอะไร ยังคงเป็นปริศนาของชาวบ้านมาจนถึงวันนี้ แต่ที่เป็นความจริงก็คือว่าท่านคิดจะบูรณะพระธาตุม่วงเนิ้งตามนิมนต์ของชาวบ้านนี้เหมือนกัน แต่อาชญาทางบ้านเมืองแจ้งให้ท่านรีบกลับวัดพระสิงห์โดยด่วนเพื่อแก้ข้อกล่าวหาอธิกรณ์กับทางคณะสงฆ์


เมื่อท่านกลับไป ๒ เดือน ต่อมาท่านได้จัดส่ง พระหน่อคำ มาเป็นตัวแทนของท่านเพื่อทำการซ่อมแซมพระธาตุม่วงเนิ้งจนแล้วเสร็จ สถานที่นี้จึงเป็นที่มาของประวัติเมืองพร้าว โดยพ่อเฒ่าคนหนึ่งในหมู่บ้านเล่าว่า


“ในสมัยพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดสัตว์ที่เรียกกันว่า “พระเจ้าเลียบโลก” เข้ามาสู่เขตล้านนาไทย พระองค์ได้เสด็จบิณฑบาตมาถึงหมู่บ้านเขตนี้ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีผู้คนทำบุญใส่บาตรกันมากจนข้าวล้นบาตรหนักอึ้ง จนต้อง “ปาวบาตร” (คำว่า “ปาวบาตร” คือที่มาของ คำว่า “เมืองปาว” หรือ “เมืองป๊าว” หรือ “เมืองพร้าว” ในกาลต่อมา)


องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปาวบาตรมายั้งพักที่ป๋างแห่งหนึ่ง (คำว่า “ป๋าง” คือ ที่พักชั่วคราวของคนเดินทาง “ปาง” ก็เรียก) ต่อมาสถานที่นั้นก็มีผู้คนเรียกว่า “แม่ป๋าง” แล้วเพี้ยนมาเป็น “แม่ปั๋ง” จนทุกวันนี้…”


ต่อมาพระพุทธองค์เสด็จมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีทิวเขาเป็นเสมือนกำแพงล้อมรอบ สายสนุกบาตรเกิดขาด เพราะทนทานต่อน้ำหนักของข้าวในบาตรไม่ได้ จึงใช้ให้พุทธอุปัฏฐากคือ พระอานนท์ ไปหาด้ายมาเย็บสายสนุกบาตร พระอานนท์จึงได้เดินย้อนกลับไปหาด้ายจากที่พักริมทางเดินที่ผ่านมาแล้วนั้น เป็นด้ายสีม่วง ภาษาล้านนาเรียกสีม่วงว่า “สีปั๋ง” นี่คือเป็นที่มาของคำว่า “แม่ปั๋ง” อีกเช่นกัน


ขณะที่สายบาตรของพระพุทธองค์ขาดและยังหาด้ายมาเย็บต่อไม่ได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงทำการ “ขอดสายบาตร” (หมายถึงขมวดสายบาตร) นี้จึงเป็นที่มาของคำว่า “โหล่งขอด” (คำว่า “โหล่ง” หมายถึง แผ่นดินที่เป็นที่ราบและมีภูเขาล้อมรอบ”


พระพุทธองค์ได้นำบาตรไปคล้องไว้กับมะม่วงต้นหนึ่งบนภูเขา มะม่วงต้นนั้นไม่สามารถจะทานน้ำหนักของบาตรที่มีข้าวเต็มอยู่ได้ก็โน้มยอดลงมา (คำว่า “โน้ม” เรียกตามภาษาชาวเหนือว่า “เนิ้ง”)


หลังจากเสร็จภัตกิจแล้ว ข้าวในบาตรของพระพุทธเจ้าและของพระอานนท์ยังเหลืออยู่มากมาย พระพุทธองค์จึงทรงบัญชาให้พระอานนท์เทข้าวออกจากบาตร แล้วก่อเป็นเจดีย์ข้าวสุกไว้ที่ริมต้นมะม่วงที่โน้มกิ่งนั้นไว้ คนทั้งหลายก็พากันเรียกว่า พระธาตุม่วงเนิ้ง จนตราบเท่าทุกวันนี้


ท่านผู้เฒ่าเล่าต่อไปอีกว่า เดิมทีนั้นมะม่วงคำ (ทอง) ต้นนั้นมีปลายโน้มเอียงปกคลุมหลังคาวิหารอยู่คล้ายจะล้มทับองค์พระธาตุ แต่ต่อมาก็มีลมพัดอย่างแรง จึงทำให้มะม่วงต้นนั้นล้มลงไปทางภูเขา ไม่เป็นอันตรายกับองค์พระธาตุเลย จนเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจมาก


มะม่วงต้นนั้นไม่ปรากฏร่องรอยให้เห็นอีกแล้ว แต่มีต้นมะม่วงอีกต้นหนึ่ง ที่มีลักษณะลำต้นใหญ่โตมาก มีอายุนับ ๑๐๐ ปี ขึ้นอยู่หน้าวิหารทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แผ่สาขาร่มเงาเป็นที่ร่มเย็นแก่ผู้ที่ขึ้นไปนมัสการพระธาตุตราบเท่าทุกวันนี้”



Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:13 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1439.jpg



จุดธูปเทียน ถวายดอกไม้ ลูกแก้วจักรพรรดิ เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา  และขอโมทนาบุญกับผู้สร้าง ผู้บูรณะ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในบุญกุศล ณ สถานที่แห่งนี้ทั้งหมดทั้งมวลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและอนาคต และตั้งจิตอธิษฐานเพื่อให้ ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ตั้งอยู่คู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อไปจน ๕๐๐๐ ปี ค่ะ สาธุ สาธุ



IMG_1424.jpg



IMG_1428.jpg



เดี๋ยวเรามากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง พร้อมกันเลยนะคะ

(กล่าวนะโม ๓ จบ) วันทามิ วังคะฐาเน เกสา อัมพา กาเยติ ทาติ นิพพานัง ปะระมัง สุขัง

ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม และพระอริยสงฆ์เป็นที่พึ่ง ข้าพเจ้าขอกราบนอบน้อมบูชาพระคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเสียสละสั่งสมบารมีนับชาติมิถ้วน ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศธรรมนำเวไนยสัตว์ออกจากสังสารวัฏ พร้อมกราบพระธรรม  และพระอริยสงฆ์ ขอตั้งสัจจะอธิษฐานด้วยอานิสงส์ผลแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ถึงซึ่งพระนิพพาน แม้ต้องเกิดในทิพย์จุติใดๆ ขอเกิดภายใต้ร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสัตบุรุษผู้รู้ธรรมอันประเสริฐมีกรรมสัมพันธ์ที่ดี ได้เกิดท่ามกลางกัลยาณมิตร ห่างไกลจากพาล มีโอกาสฟังธรรมประพฤติธรรม จนเป็นปัจจัยให้เจริญด้วยสติและปัญญาญาณ ตามส่งชาตินี้และชาติต่อๆไป จนถึงพระนิพพานในกาลอันควรเทอญ กรรมใดๆที่ล่วงเกินต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายในอดีตชาติก็ตามปัจจุบันชาติก็ตาม กราบขออโหสิกรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ขออุทิศกุศลผลบุญให้แด่ท่านผู้มีพระคุณ ญาติพี่น้อง เจ้ากรรมนายเวร ตลอดจนท่านที่ขวนขวายในกิจที่ชอบในการดำรงรักษาไว้ซึ่งประเทศชาติ  พระพุทธศาสนา และองค์พระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์ ขอให้ท่านทั้งหลายดังกล่าวนามมานั้นจงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์และมีความสุขฯ ทั่วกันทุกท่านเทอญ


Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:17 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1427.jpg



สถูปอัฐิของครูบาสุเทพ อดีตเจ้าคณะตำบลโหล่งขอด อยู่ด้านข้าง วิหาร วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


DSC00170.jpg


หอพรหม วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:18 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

DSC00202.jpg



ต้นมะม่วง ด้านหน้า วิหาร วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


IMG_1431.jpg



กุฏิสงฆ์ วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ



IMG_1421.jpg



อาคารเสนาสนะ วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง ค่ะ


Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:19 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_1434.jpg



การเดินทางมากราบนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง วันนี้ก็ขอสิ้นสุดการเดินทางเลยนะคะ สวัสดีค่ะ   



Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2009-12-3 03:20 |แสดงโพสต์ทั้งหมด
  ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
          • วัดพระธาตุม่วงเนิ้ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
                               
          • พระชัยวัฒน์ อชิโต สำนักงานธัมมวิโมกข์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี. (๒๕๔๙, ๙ กรกฎาคม). ตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๒ (พิมพ์ครั้งที่ ๑).  กรุงเทพฯ: เยลโล่การพิมพ์.         
          • ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. พระธาตุม่วงเนิ้ง. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.m-culture.in.th/album/71995. (วันที่ค้นข้อมูล : ๓ ธันวาคม ๒๕๕๒)
          • และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน




สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-3-29 08:01 , Processed in 0.333416 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.