แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 3914|ตอบ: 8
go

เปลี่ยนชื่อแล้วทำไมจึงไม่สุข ไม่รวยเสียที [คัดลอกลิงค์]

Rank: 1

          พอดีไปเจอบทความนี้จาก http://torthammarak.wordpress.com    เลยคิดว่าอาจจะเป็นประโยชน์สำหรับบางคนที่คิดจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลอยู่...ส่วนตัวเองไม่เคยคิดเลยค่ะ ทั้งๆที่รู้ว่าชื่อตัวเองนั้นตามหลักการตั้งชื่อนั้นผิดล้วนๆ  เพราะตัวเองเกิดวันจันทร์ ห้ามสระทุกๆ ตัวแต่ชื่อเรามีเพียบ.....แต่ก็ไม่เคยมีความคิดที่จะเปลี่ยนชื่อตัวเลยค่ะเพราะคิดว่าชื่อของตัวเองก็ไพเราะเพราะพริ้งดีอยู่แล้ว...แถมแม่เป็นคนตั้งให้เองโดยไม่ได้พึ่งตำราใดๆทั้งสิ้น ตำราคุณนายแม่นี่แหละศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแล้วว...แอบบอกชื่อตัวเองนิดนึงนะคะ...“ทิพนารินทร์”...และที่สำคัญไม่รู้ความหมายอีกต่างหากแต่นั่นก็ไม่ได้สำคัญใช้ชื่อนี้มาตั้งแต่เกิดแล้วก็ดีบ้างร้ายบ้างลุ่มๆดอนๆ  ไปตามโชคชะตากำหนด....เคยมีคนบอกว่าถ้าเปลี่ยนชื่อแล้วรวยเค้าจะเปลี่ยนชื่อเหมือนกับเศรษฐีระดับโลกกันไปเลย  เปลี่ยนได้แต่ชื่อแต่ดวงเปลี่ยนไม่ได้ ชะตากรรมเปลี่ยนไม่ได้ก็คงไร้ความหมาย  เพราะไม่มีใครใหญ่เกินกรรม   ตามบทความเค้าว่าไว้อย่างนี้ค่ะ

                คนในยุคนี้หรือแม้แต่ยุคไหนก็ตามเมื่อชีวิตไม่พบกับความสุขหรือได้ในสิ่งที่ปรารถนาก็มักจะพยายามที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของตน เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมดาของสัตว์โลกหนึ่งในการที่พยายามเปลี่ยนโชคชะตาชีวิตของตนให้ดีขึ้นนั้นคือการเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเพื่อให้ชีวิตของตนนั้นเป็นมงคลมากขึ้น

หลายคนมีความชื่อว่าหากเปลี่ยนชื่อแล้วชีวิตจะดีขึ้นทันตาเห็น เปลี่ยนชื่อแล้วจะรวยทันที ซึ่งก็อาจจะเป็นจริงได้ถ้ารู้จักวิธีที่ถูกต้อง


3 ?" v0 F, l* r$ @8 @. w% g( q

เรื่องของความต้องการแรงปรารถนาใดๆ ที่อยากจะได้ในการเปลี่ยนชื่อเรื่องของชื่อที่เปลี่ยนมาแล้วนั้นจะไม่ขอพูดถึงเป็นเรื่องของจริตความชอบความต้องการของแต่ละคนแต่จะแนะนำว่าถ้าเปลี่ยนชื่อแล้วทำอย่างไรถึงจะสุขและรวยได้จริง

1. เมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วให้หมั่นสร้างบุญขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรอย่างสม่ำเสมอ

/ h# F' Z6 K2 A7 A

เหตุผลที่ต้องบอกในเรื่องนี้เป็นเรื่องแรกเพราะหลายคนเข้าใจกันผิดๆ ว่าหากไปเปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุลแล้วจะทำให้เจ้ากรรมนายเวรเขาจำไม่ได้จะได้ตามหาตัวไม่เจอแล้วจะได้หมดเวรหมดกรรมกันไปเหมือนกับบางคนที่พยายามจะหลอกเจ้ากรรมนายเวรหรือดวงวิญญาณประเภทไปตัดสติกเกอร์ติดรถว่า “รถคันนี้สีขาว” ทั้งๆ ที่เป็นรถสีดำ

เรื่องเล่านี้เป็นความเข้าใจผิดอย่างมหันต์เจ้ากรรมนายเวรนั้นเขาตามที่จิต ไม่ได้ตามที่รูปร่างหน้าตาหรือชื่อที่ต่อให้ไปเปลี่ยนอีกร้อยชื่อเขาก็ตามเจอไม่มีพลาด

เพราะกรรมที่เราทำกับเขานั้นถูกบันทึกไว้ในจิต ไม่ว่าจะตายแล้วเกิดใหม่กี่ชาติ ตายไปเกิดเป็นสัตว์อะไรรูปร่างอะไร  เกิดเป็นคนสัญชาติไหน ทวีปไหน เจ้ากรรมนายเวรเขาตามเจอทุกชาติภพแน่นอนคนที่เปลี่ยนชื่อต้องเข้าใจในเรื่องนี้เสียก่อน   ครูบาอาจารย์ท่านเมตตาสอนไว้ว่าเมื่อเราจะเปลี่ยนชื่อให้เกิดมงคลกับตัวนั้นเราต้องทำบุญเพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับตนเองเสียก่อน โดยเริ่มจาก

- วันก่อนที่จะเปลี่ยนชื่อหนึ่งวัน ให้ใส่บาตรหรือทำสังฆทานแล้วอุทิศบุญกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร (จะใส่กี่รูปก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีให้เท่ากับอายุของตนบวกอีกหนึ่ง เช่น อายุ 25 ปี ก็ใส่ 26 รูป ถ้าไม่มีปัจจัยให้ใส่ตามกำลังอย่าไปยืมเงินใครมาทำเป็นอันขาด เพราะจะติดหนี้กรรมเขาอีก)

ตอนสำคัญคือการอุทิศบุญแผ่เมตตา ต้องแผ่เมตตาให้ตัวเองก่อน


0 R/ O' u6 F% R" q  v0 W8 ^; [& e

เพราะถ้าเราไม่มีกำลังแล้วเราจะไปช่วยใครเขาได้คนที่กำลังจมน้ำนั้น ต้องช่วยตัวเองก่อนไม่ใช่ไปช่วยคนอื่น ตัวเองจะพาลจมน้ำตายเอาต้องเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตใหม่ชื่อใหม่ได้ด้วยในการที่จะช่วยเหลือใครต้องดูกำลังของตนด้วย

หลังจากนั้นให้อุทิศบุญแผ่เมตตาเจ้ากรรมนายเวรต้องเอ่ยแบบเจาะจงด้วยว่าอุทิศให้กับเจ้ากรรมนายเวรโดยเฉพาะที่ทำให้ตนเองพบกับความลำบากขัดสนหรือเจอกับอุปสรรคในเรื่องใดก็ว่าไป

แล้วบอกว่าตอนนี้ตนเองนั้นสำนึกผิดแล้วขอส่งบุญที่ทำนั้นเพื่อชดใช้ในสิ่งที่เคยทำกับท่านทั้งหลายถ้าท่านมารับบุญแล้วยินดีในบุญนี้ โปรดถอนตัวจากอุปสรรคกรรมที่ท่านทำให้เกิดขึ้นและขอให้อโหสิกรรมต่อท่าน เลิกจองเวรจองกรรมกันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปและอุทิศบุญนี้ให้กับเทวดาประจำตัวของตน เพื่อให้ท่านได้รับบุญทุกครั้ง

- วันที่เปลี่ยนชื่อ ในตอนเช้าเมื่อตื่นมาให้ไหว้พระ สวดมนต์(ทำในบทแรกที่กล่าวไปแล้วทั้งหมดในเรื่องทำให้ชีวิตดีขึ้นสุขขึ้นร่ำรวยขึ้นทันตาเห็นขอให้ย้อนกลับไปดูเพราะสำคัญมาก) และไปเปลี่ยนชื่อในวันนี้พยามทำให้ตัวเองมีความสุขใจมากที่สุด อย่าไปโกรธแค้นเคืองอะไรตั้งใจให้อโหสิกรรมทุกเรื่อง

; ?, X! U! M! X+ r9 ^: ?; g9 U! v

ในวันนี้ให้รีบไปทำสังฆทานเสียจะวัดไหนก็ได้ ตอนกล่าวอุทิศบุญให้ใช้ชื่อใหม่ทันทีและหลังจานี้พยายามบอกถึงชื่อใหม่ให้กับคนที่รู้จักได้รู้ ไปเปลี่ยนหลักฐานต่างๆเสีย ทั้งชื่อบัญชี ชื่อในบัตรประชาชนทำอะไรได้ก็ให้รีบทำเสียให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

ให้เอาชื่อใหม่เขียนลงกระดาษขอเมตตาพระสงฆ์เอาชื่อของเราไปวางที่ฐานพระพุทธรูปในวัดหรือไม่สะดวกให้เอาชื่อใหม่นี้มาวางที่ฐานพระพุทธรูปที่เรากราบไหว้ที่บ้านที่ทำงานเพื่อให้เกิดความเป็นมงคล

- หลังจากนั้นให้เปลี่ยนกรรมปัจจุบันของตนเสีย โดยต้องตั้งมั่นในศีล 5 อย่างมั่นคงพยายามรักษาศีล 5ให้ได้ในทุกวัน สมาทานศีลทุกวันทั้งในตอนเช้าและอีกครั้งในก่อนเข้านอน พิจารณาว่าในระหว่างวันเราผิดศีลหรือไม่ถ้ายังพลาดยังผิดอยู่ไม่เป็นไรตั้งใจในวันรุ่งขึ้น จะทำให้ดีที่สุด

- ต้องลด ละ เลิกในการทำกรรมชั่วทั้งปวงทันที อะไรที่เคยทำผิดพลาดมาแล้วในตอนที่เป็นชื่อเดิมต้องเลิกให้หมดดูง่ายๆ ว่าถ้าเราทำแล้วเราเดือดร้อน คนอื่นเดือดร้อนหรือไม่ สิ่งเหล่านั้นแหละคือกรรมชั่ว

- หมั่นสร้างบุญอย่าหยุด แล้วอธิษฐานจิตขอให้บุญที่สำเร็จแล้วนั้นเป็นพลังส่งให้ชีวิตพบแต่ความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมทำไมต้องอธิษฐานให้ดีทั้ง 2 ทางก็เพราะว่าในทางโลกเรามีความสุขในชาตินี้แต่ในทางธรรมจะเป็นเสบียงติดตัวเราไปในทุกชาติ ทุกภพ

- หมั่นสงเคราะห์สัตว์ปล่อยสัตว์ เพื่อให้ชีวิตเขาเหล่านั้นพบสุขบุญที่ทำตรงแบบนี้จะส่งผลให้อุปสรรคกรรมแม้จะเข้ามาในชีวิตที่ไม่มีทางเลี่ยงได้เพราะมาจากกรรมเก่า จะมีคนช่วยเหลือให้รอดได้

- หมั่นทำทานบ่อยๆเท่าที่จะทำได้ ทานที่ทำนั้นจะทำให้เกิดโภคทรัพย์การเงิน ไม่ขัดข้อง ไม่ฝืดเคือง ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะช่วยให้ทุกท่านพบกับความสุขความเจริญตามที่ท่านปรารถนา

การเปลี่ยนชื่อนั้นมีหลักง่ายๆ อยู่อย่างหนึ่งที่ครูบาอาจารย์ท่านให้สังเกตเมื่อเราไปหาผู้รู้ให้ตั้งชื่อให้ ขอให้ลองดูว่าชื่อใหม่ที่ได้นั้นเราชอบหรือไม่เพราะถ้าเราชอบก็แสดงว่าเรามีบุญเชื่อมกับชื่อใหม่ที่เป็นมงคลนี้ เพราะแม้แต่เรายังไม่ชอบชื่อใหม่รับรองว่าชื่อนั้นอาจจะไม่ใช่ชื่อที่จะทำให้ชีวิตตนเองดีขึ้นก็ได้

# U  ~: f2 V" `8 _) N3 ^$ ^3 R: ?; a" ?

และครูบาอาจารย์ท่านยังฝากมาบอกกับคนที่เปลี่ยนชื่อทุกคนหากยังสร้างกรรมชั่วไม่ลด ละเลิก ถึงจะเปลี่ยนร้อยชื่อ พันชื่อจะกี่ภพกี่ชาติก็ไม่มีทางพบกับความเจริญแน่นอน

Rank: 1

ขอบคุณที่ร่วมกระทู้ครับ น่าสนใจมากครับ

Rank: 1

เห็นด้วยค่ะ  ชื่อดีแต่ยังก่ออกุศลกรรมอยู่ก้อจะไม่พบสุข/ R; M  S2 |" `- \& E

Rank: 9Rank: 9Rank: 9

เปลี่ยนชื่อแล้ว อย่าลืมโอนบุญ จากชื่อเดิมมาเป็นชื่อใหม่นะ อธิษฐานว่า "ข้าพเจ้า(ชื่อนามสกุลใหม่) ขอโอนบุญที่จะส่งไปยังสัมปรายภพหน้าที่ทำในนาม (ชื่อเดิม นามสกุลเดิม) มายังชาติปัจจุบัน ในนาม (ชื่อนามสกุลใหม่) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขอผลบุญทั้งหมดรวมตัวส่งผลให้ข้าพเจ้า มีความคล่องตัวทั้งทางโลกทางธรรม คิดหวังสิ่งใดสมความปราถนา" ' h6 I" k! `5 b$ T$ x
4 s1 q8 ^* Z" {) y
แล้วกล่าวคำเบิกบุญว่า "เอหิ เอหิ เอหิ ปุญญานิ กะตะมะยัง โอโนชะยามะ" แล้วอธิษฐานจิตในสิ่งที่ปราถนา แล้วทำจิตให้นิ่ง จนรู้สึกมีลมเย็นๆ พัดมากระทบหน้าผากและกาย แล้วกล่าว สาธุๆ สามครั้ง
) i5 E. s  O; u: I( G4 Z- i1 l0 H) U! Y7 `  @

8 _: L1 o1 ^2 W: ~0 @# g% @* Yปล.เปลี่ยนชื่อและนามสกุลมากี่ครั้งก็กล่าวชื่อนั้น นามสกุลนั้นให้หมด เพื่อไม่ให้บุญตกค้างอยู่ชื่อเดิม ให้โอนมาชื่อใหม่ให้หมด บุญจะได้รวมตัวโดยเร็ว
& x9 H0 B0 C2 q
! \4 P$ Q% @, c+ u! ~9 F' N

, J0 }+ e. [* o$ \0 [$ xอันนี้แนวทางของผู้ฝึกด้านจิตอภิญญาจะใช้แนวนี้2 o" O4 x: y: |

Rank: 1

สาธุค่ะ

Rank: 1

- t- E. B& M" m5 Z& g+ ^
"พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน"
- E6 S8 A( u5 T' a0 Q/ u- R7 X$ d! w# Y
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุคราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพานตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่งโดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า - F% _* ?7 `( k& d7 `. X  B

7 Y) X7 D3 O) R; G0 F7 Q“ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย ”กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย“ ' ]( w, L( D5 V, H' M" w: q8 d# E

, \# P! c# I6 P: F3 y! Rอานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกลลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์ “เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดีถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลยเราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้นถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอแต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก” % g, |% {$ z; ~# H& @& J: j$ \+ _

* i2 B. k: o1 i1 W8 h1 C" q4 N“ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้วเรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดสิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดาจะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”
5 I( U* Q7 y2 L: W2 R6 P
4 y& E% `2 ^/ h, h% J9 j6 _/ g! o“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ” 7 p2 p" }7 V2 D, _- z) l0 W9 o; n
7 k5 s- D5 e9 R2 f: w
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนังมีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝนกล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่าสมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ” 2 X$ ^/ i& f+ P0 A
, ^4 R4 j: V7 `# f' c# v' k
“ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ” " l0 I) O' g/ R: K

& V' M$ {, }' d0 x4 n& q- q“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลายบท 4 คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุดบรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร
, ~9 H$ `; c. A9 n1 O0 q; [5 M. l2 [  _6 l) O4 [; C, V
”--------------------------------------------
. I4 A4 J" T. ?* A
5 K3 m5 d/ d1 s: _! m' a5 z“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”
; K# |4 s1 s) k$ |/ a5 F* _* H, m
- `- R& q; J2 T- _$ E% n9 ?% K“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง” ) L1 {9 k0 k$ n# G7 }; f6 `
3 H4 @8 n. A. B
“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร ” 2 x+ z$ Z# Y8 e/ e, f+ o# Z( V7 X
5 y& F9 ^3 W; c& ?% a' Q
“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ” : @( z* i' t% h

+ w' V  S: o! l“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ” , m5 ]8 H9 H8 c% |* l% i: }0 U+ P
5 N4 L- J! F. i8 z7 s
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”
0 O; l: q! k, I. \+ J# f: p1 Y2 Q  w6 \1 o  N
------------------------------------------ 7 c. a( A4 f5 s- H4 n) N; d

( P5 R, k+ a  H: m7 @5 B, G“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ” " S* W8 U  D0 x6 i  s/ L; V: j5 \

: Z& ^) k& x2 k. I6 g# J! h# a- S“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”
7 H7 B' b* C+ N! K/ @
5 v( E& w6 s! \6 i+ k! E6 `3 R“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ” + n& n+ G$ b9 ]  O  P" k5 q
5 t9 p1 ~4 |( }
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย ”
. Q4 i, K' ^5 O$ y& J9 I9 ]. m* c) ^9 a- m
- h. W1 g0 `! r5 F' @0 e“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”
6 E, A) y6 p( `+ c  R
! |  X6 M  o$ W$ u/ f9 x“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ” 8 q# @/ R( p3 n9 W/ \6 V( w0 i9 H
' v4 I" k+ D* K0 }1 G) w' O
“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ” 9 ^, E$ S: J: v+ s( n

# m1 O: `; o2 o" U& R“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ” 1 \4 p) p4 ~8 x* i" `, |: n

$ g% R8 \/ L! q# U7 W“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนาข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุขบำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ” : \( R+ j0 f+ l+ A7 r
: B5 N9 q, x" e
“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ” 9 t; x9 M6 k! p0 h! V. |# Q

# ?0 F' X; \' x5 s$ D“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลหยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ” 4 M% u) ^- ~4 c$ d" n% V

- P) W# X0 S4 R0 S) o“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหูช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรคเป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆเจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ” $ b* M( Z( `# ~9 {" ]# l8 x4 T# x
4 q: @6 O! |. V' J
“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพานครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน คือ ดับขันธ์อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสียอาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา ”
& u0 u1 p% x- K2 y+ _
; |! p: z% [0 K. u1 @) N/ P* l8 Q“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”
6 V5 _, x! {7 d/ r# i! V, ^/ I% L0 O- U9 n) Y6 O+ k
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ” 0 V1 E- x5 z; ?/ Z; W  ?+ J( M5 h

4 y5 V( Z0 e0 ^  j! L4 H# V! {ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานครมีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง 9 u4 l& Y8 L3 M7 t9 ]7 a/ \% P: k

Rank: 1

ตัวอย่างคำสุภาพ พอดีเข้าไปอ่านพบเลยนำมาให้อ่านเพื่อเราจะหลงลืมกันไปบ้าง คำบางคำเราก็เป็นคำสุภาพ  แต่ก็มีบางคำที่ยังคงใช้ คำเดิมกันอยู่ เช่น  ดอกมะลิ = ดอกมัลลิกา  ถึงแม้ชื่อเปลี่ยนเมื่อเอ่ยขึ้นมาเราก็นึกกันได้ว่าหน้าตามันเป็นเช่นไร มีตัวอย่างให้ดูกัน + ?/ M: D1 G. f  H9 J2 W) X( e) n
คำสามัญ               คำสุภาพ. a1 A- j( M) n9 S. x+ |
ผักบุ้ง                ผักทอดยอด
! h9 T5 E  d) A) p0 g; uผักกระเฉด        ผักรู้นอน6 F' r: J. M$ D: S
ผักตบ              ผักสามหาว* X) s. L% L3 I9 o& g
ผักอีริ้น             ผักนางริ้น
+ O+ ~3 k0 f- i* Yต้นสลิด            ต้นขจร- ]8 C4 K& ?; b+ t! p) _9 T
ดอกสลิด           ดอกขจร
: r! J, l, C5 C5 `ดอกซ่อนชู้        ดอกซ่อนกลิ่น
# l) p) @, I  @4 X4 @- Aดอกนมแมว       ดอกถันวิฬาร์
1 U9 g* I; ~: }/ _6 tดอกยี่หุบ           ดอกมณฑาขาว
: [; @1 v& g; U. Q8 V  Z7 S1 Rดอกขี้เหล็ก       ดอกเหล็ก: g( R" Y( X+ ?( A  l
ดอกมะลิ           ดอกมัลลิกา
3 ?& R- r. a& E ถั่วงอก            ถั่วเพาะ
( x4 N5 }- F" K7 N. c" q เห็ดโคน          เห็ดปลวก5 Y+ d, Y& V2 C3 x2 \
ฟักทอง            ฟักเหลือง# h+ s( f  z& w5 b' v5 g
ต้นตำแย          ต้นอเนกคุณ
1 N, Y) i+ g; g/ D& X  H% ~5 cหมอตำแย         หมอผดุงครรภ์" D' b$ N7 x1 W$ }
ต้นเหงือกปลาหมอ     ต้นจะเกรง
7 d# j' Q; M! b- `( M+ m& d ต้นทองกวาว, ต้นทองหลาง        ต้นปาริชาติ- ~$ }8 g0 _; _" H" R- f5 i- r
ต้นพุงดอ              ต้นหนามรอบข้อ7 v1 I! t' _6 b; L
กล้วยไข่ กล้วยกระ,  กล้วยเปลือกบาง    กล้วยสั้น    กล้วยกุ
3 r% n+ L; o  x เถาตูดหมูตูดหมา        เถากระพังโหม4 L# R+ M* \+ \9 _3 ^2 o0 q
เถาหมามุ้ย                 เถามุ้ย' s$ ^# {. p/ K; F8 V
แตงโม                      ผลอุลิด
* Z% J# i, D  x( h& P$ A) P' `4 K1 zหัวปลี                         ปลีกล้วย
5 V6 h. i( o  h! e) h0 ]กล้วยบวชชี                 นารีจำศีล

Rank: 1

อนุโมทนาสาธุครับ กระผมอ่านพุทธโอวาทก่อนปรินิพพานแล้ว อิ่มใจ สุขใจมากครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ อนุโมทนาสาธุครับ

Rank: 1

ผมขอคัดลอก พุทธโอวาทไว้อ่านเตือนใจนะครับ สาธุครับ
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-5-20 23:39 , Processed in 0.051376 second(s), 14 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.