แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 9610|ตอบ: 9
go

วัดหลวง ม.๑ ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC08924.JPG



วัดหลวง  

ม.๑ ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

[พระบรมธาตุเจดีย์]

----------------------


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 17 ตุลาคม 2565)


Rank: 8Rank: 8

DSC08867.JPG



วัดหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ บ้านเมืองพร้าว หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ และเป็นวัดประจำอำเภอปาย


DSC08869.JPG



ประตูทางเข้า วัดหลวง



DSC08873.JPG



รูปปั้นสิงห์ ประดับประตูทางเข้า วัดหลวง


Rank: 8Rank: 8

DSC08923.JPG



DSC08935.JPG



DSC08911.JPG



DSC08926.JPG



DSC08928.JPG



DSC08929.JPG



DSC08933.JPG



พระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง

สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ หลังจากพระยาดำรงเจ้าฟ้าพ่อเมืองปายได้ถึงแก่พิราลัยไป บุตรของพระยาดำรงคือ พระยาราช ก็ขึ้นปกครองเมืองแทน เจ้าฟ้านำราษฎรเมืองปายก่อสร้างพระเจดีย์ โดยทำการก่อสร้างครอบองค์พระพุทธรูป เป็นระยะเวลา ๓ ปี พระเจดีย์แล้วเสร็จเรียบร้อย

ต่อมาพระยาราช จัดพิธียกฉัตรเจดีย์เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งมีพระภิกษุออ หรือครูบาออ ไม่ทราบฉายา เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น


DSC08932.JPG



คำนมัสการพระบรมธาตุเจดีย์

(ว่านะโม ๓ จบ) วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุ ปะติฏฐิตา สะรีระธาตุโย เกศาธาตุโย อะระหันตา ธาตุโย เจติยัง คันทะกุฏิง จะตุละสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธ สัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ ทุระโส อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ สิระสาฯ


DSC08925.JPG



ประวัติวัดหลวง



วัดหลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔ บ้านเมืองพร้าว หมู่ที่ ๑ ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๓ งาน ๕๙ ตารางวา สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๔ เป็นวัดใหญ่และเป็นวัดประจำอำเภอปาย

เป็นที่ทำการของเจ้าคณะอำเภอปาย มาตั้งแต่สมัยเจ้าฟ้าปกครองเมือง สันนิษฐานว่าคงจะสร้างพร้อมกับที่เจ้าฟ้าผู้ครองเมืองปาย ได้ย้ายเมืองจากที่เดิมคือตำบลเวียงเหนือ มาตั้งเมืองใหม่ในพื้นที่ตำบลเวียงใต้ในปัจจุบัน ซึ่งการย้ายหอเจ้าฟ้าและเมืองปายใหม่ในครั้งนั้น ราวปี พ.ศ.๒๓๔๖ และบริเวณที่สร้างวัดนี้เดิมก็เป็นวัดร้างมาก่อนแล้ว โดยมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ก่อด้วยอิฐถือปูน ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมประดิษฐานอยู่

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระยาดำรงเจ้าฟ้าพ่อเมืองปายได้ถึงแก่พิราลัยไป บุตรของพระยาดำรงคือ พระยาราช ก็ขึ้นปกครองเมืองแทน เจ้าฟ้านำราษฎรเมืองปายก่อสร้างพระเจดีย์ โดยทำการก่อสร้างครอบองค์พระพุทธรูป เป็นระยะเวลา ๓ ปี พระเจดีย์แล้วเสร็จเรียบร้อย พระยาราชเสมายกฉัตรเจดีย์
(ต่างทีกองมู) พ.ศ.๒๔๔๔ ซึ่งในสมัยนี้นั้น มีพระภิกษุออ หรือครูบาออ ไม่ทราบฉายา เป็นเจ้าอาวาสและเป็นเจ้าคณะอำเภอปกครองคณะสงฆ์ ซึ่งกิจกรรมด้านต่างๆ ได้เป็นไปอย่างดีมาก วัดวาอารามเจริญรุ่งเรือง ด้วยครูบาออเป็นผู้มีอิทธิพล มีคนเคารพยำเกรงมาก

ในปี พ.ศ.๒๔๔๔ เจ้าฟ้าเมืองปาย พร้อมด้วยราษฎร ได้พร้อมใจกันสร้างกุฏิศาลาการเปรียญ รวม ๗ หลัง หลังกลางมีขนาดใหญ่และสวยงามมาก โดยสร้างในแบบศิลปะไทใหญ่ (พม่า) วัสดุเป็นไม้ทั้งหมด เสา ฝา-เพดาน ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงามด้วยกระจกตัดแต่งเป็นชิ้นเล็กๆ ตามเสาลงรักปิดทอง ต่อมาไม่นานได้ก่อสร้างบ่อน้ำอีก

ในสมัยที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารงานการปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ ทางราชการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญเขตเขลางค์นคร มาเป็นนายอำเภอคนแรกของอำเภอปาย ก็ได้มาพึ่งบารมีของครูบาออปกครองดูแลทุกข์สุขของราษฎร มีการกล่าวโดยไม่มีการยืนยันว่าในช่วงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองจากเจ้าฟ้ามาเป็นนายอำเภอ ในระหว่างช่วงเวลาที่ว่างพ่อเมือง อันเนื่องมาจากการถึงพิราลัยของเจ้าฟ้า การใช้เวลาในการแต่งตั้ง ตลอดถึงการใช้เวลาในการเดินทาง ครูบาออได้ปกครองดูแลเมืองปายแทนเจ้าฟ้าพ่อเมือง ก่อนมอบอำนาจให้นายอำเภอปกครองดูแลตามระเบียบของทางราชการ ซึ่งถือได้ว่าท่านมีบทบาทสำคัญ และมีส่วนช่วยให้การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นอย่างดียิ่ง

ครูบาออเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงองค์แรก และเป็นเจ้าคณะอำเภอองค์แรกของอำเภอปาย เมื่อท่านครูบาออได้มรณภาพ พ.ศ.๒๔๕๗ ต่อมาวัดหลวงก็มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลมาโดยตลอดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


พ.ศ.๒๔๘๖ นายทุนเอ นางคำหลู่ สมุทรนาวิน รับปวารณาเป็นเจ้าศรัทธาใหญ่ และนายจอง สุวรรณะ นามสกุล จองสุวรรณ พร้อมด้วยกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า ประชาชน ได้รื้อถอนกุฏิเก่าที่สร้างมานาน เครื่องต่างๆ ทรุดโทรมผุพังไปมาก ทำการก่อสร้างใหม่อีก แล้วสร้างกุฏิชั่วคราวขึ้นอีก ๒ หลัง โดยเจ้าศรัทธาใหญ่ บริจาคเป็นทุนทรัพย์ เป็นเงินประมาณ ๗,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๙๕ เริ่มทำพิธีฝังลูกนิมิตพัทธสีมา


พ.ศ.๒๔๙๖ เริ่มสร้างอุโบสถ ทางกรมการศาสนาช่วยเหลือเงินอุดหนุนบูรณะวัด ๒๐,๐๐๐ บาท สมทบช่วยสร้างอุโบสถ และซ่อมแซมบันได


พ.ศ.๒๔๙๘ ซ่อมแซมกุฏิหลังที่ ๓


พ.ศ.๒๕๑๒ จ.ส.ต.คำ นางปอย มาริษะ พร้อมด้วยบุตร เริ่มก่อสร้างกำแพงที่หน้าวัดทางทิศตะวันออก โดยทางด้านเหนือประตู จ.ส.ต.คำ นางปอย มาริษะ เป็นเจ้าภาพ ทางด้านใต้ประตู นายหว่าละ นางฟู แก้วยิธิ เป็นเจ้าภาพ สร้างไปจนหมดเขตวัดด้านใต้

พ.ศ.๒๕๑๓ เริ่มสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดหลวง คณะศรัทธาบริจาค และได้รับเงินช่วยเหลือจากกรมการศาสนา เป็นเงินอุดหนุนบูรณะวัด จำนวน ๔๐,๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๑๕ นายกัณฑ์ นางคำผอง ไชยวงค์ สร้างศาลา ๙ ห้อง บ่อน้ำ ส้วม และรื้อศาลาเก่า

พ.ศ.๒๕๑๖ ได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา เริ่มปรับปรุงตามบริเวณวัด

พ.ศ.๒๕๑๗ วันที่ ๒๑ มกราคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมราษฎรในท้องที่อำเภอปาย และทรงได้เสด็จแวะมานมัสการพระประธานและพระพุทธรูปในอุโบสถ ได้ทรงทอดพระเนตรพระเจดีย์ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งว่า พระเจดีย์คงสร้างมานานแล้วเก่าแก่มาก คณะศรัทธาจึงช่วยกันปฏิสังขรณ์ซ่อมแซ่มพระเจดีย์ตามฐานที่พังไปบ้าง หลังจากที่ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับไปได้ประมาณ ๒ เดือน

พ.ศ.๒๕๑๗ ซ่อมแซมไม้กระดานพื้นกุฏิที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ทางหัวหน้าสถานีตำรวจเป็นศรัทธาเจ้าภาพร่วมกับคณะศรัทธาทุกคนช่วยกัน

พ.ศ.๒๕๑๘ ซ่อมแซมบ่อน้ำ ซ่อมสิงห์หน้าวัดใกล้บ่อน้ำ

พ.ศ.๒๕๑๙ สร้างกุฏิใหม่หลังที่ ๔


พ.ศ.๒๕๒๐ สร้างศาลาอเนกประสงค์


พ.ศ.๒๕๒๙ สร้างศาลาแก้วยิธิ


พ.ศ.๒๕๓๖ สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กยาว ๑๐๐ เมตร


พ.ศ.๒๕๓๗ สร้างกุฏิพักติดกับกุฏิศาลาการเปรียญหลังใหญ่


พ.ศ.๒๕๓๘ สร้างโรงครัว รั้วรอบพระเจดีย์ ปฏิสังขรณ์หลังคากุฏิศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ขุดบ่อน้ำ ๑ บ่อ


พ.ศ.๒๕๓๙


- สร้างกุฏิเล็ก ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง อาจารย์แสน ใจแปง และบุตร เป็นเจ้าภาพ

- ดำเนินงานร่วมกับ คณะสงฆ์ ข้าราชการ และประชาชนในอำเภอปาย อุปสมบทหมู่พระภิกษุในการถวายเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตามโครงการของรัฐบาล โดยกระทรวงศึกษาธิการ

- จัดงานสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง เป็นปีแรก

รายนามเจ้าอาวาสวัดหลวง

๑. ครูบาออ ไม่ทราบนามฉายา พ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๗

๒. พระหลู่ หรือพระเชียงตอง ต่อมาเดินทางกลับไปเชียงตอง

๓. พระเกหล่า มารักษาการชั่วคราว

๔. พระภิกษุยง (ครูบายง) มรณภาพ พ.ศ.๒๔๙๒

๕. พระครูอนุศิษย์ศาสนการ จากวัดป่าขาม (เจ้าคณะอำเภอ) มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง มรณภาพ พ.ศ.๒๔๙๖

๖. พระครูโสภณสวัสดิการ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าเป็นเจ้าคณะอำเภอในขณะเป็นเจ้าอาวาสวัดโป่ง ต.เวียงเหนือ ได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๓๒

๗. พระอธิการจำรัส ฐิตธมฺโม พ.ศ.๒๕๓๒-๒๕๓๖

๘. พระครูอนุรักษ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดโป่ง ต.เวียงเหนือ เจ้าคณะอำเภอปาย ได้รับนิมนต์มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวง เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๖

**บรรณานุกรม (เอกสารอ้างอิง)
๑. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๙ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ.๒๕๓๕ กรมการศาสนา
๒. อาจารย์เจริญ วรรณยอดคำ บันทึกประวัติวัดหลวง ๑ มกราคม ๒๕๑๙
๓. อาจารย์นงเยาว์ ติยะวงค์ เอกสารรายงานประเพณีพื้นบ้านท้องถิ่น-โบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญ

----------------------


(แหล่งอ้างอิงข้อมูล : เอกสารประวัติวัดหลวง เรียบเรียงโดย พระปองพล กลฺยาโณ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๙ เวลา ๒๔.๑๐ น.)



Rank: 8Rank: 8

DSC08874.JPG



DSC08875.JPG



DSC08917.JPG



พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมทำบุญถวายสังฆทาน ใส่บาตรพระประจำวันเกิด บูชาดอกไม้ ธูปเทียน และทำบุญบำรุงวัดต่างๆ ตามจิตศรัทธากับทางวัดได้ ภายในวัดหลวง



DSC08916.JPG



กำแพงรั้วล้อมรอบ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘  



DSC08914.JPG



ระฆัง อยู่ด้านหน้ากำแพงรั้ว พระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง


DSC08932.JPG



DSC08919.JPG



รูปปั้นสิงห์ อยู่ภายในกำแพงรั้วล้อมรอบมุม
ทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง


DSC08921.JPG



DSC08920.jpg



DSC08936.JPG



รูปปั้นช้างหมอบ อยู่ภายในกำแพงรั้วล้อมรอบทั้งสี่ทิศ พระบรมธาตุเจดีย์ วัดหลวง


Rank: 8Rank: 8

DSC08946.JPG



DSC08941.JPG



DSC08943.JPG



DSC08930.JPG



DSC08938.JPG



อุโบสถ วัดหลวง

สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๖ มีพระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐


DSC08937.JPG



ซุ้มหน้าต่าง อุโบสถ วัดหลวง


DSC08942.JPG



DSC08944.JPG



ศาลาอเนกประสงค์ วัดหลวง


Rank: 8Rank: 8

DSC08880.JPG



DSC08909.JPG



DSC08881.JPG



DSC08883.JPG



DSC08882.JPG



DSC08907.JPG



กุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


DSC08885.JPG



DSC08886.JPG



ภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


DSC08891.JPG



DSC08892.JPG



ศิลาจารึกวัดศรีเกิด ภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


Rank: 8Rank: 8

DSC08887.JPG



ห้องเก็บรักษาพระพุทธรูปต่างๆ ภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


(หมายเหตุ : ห้ามสุภาพสตรีเข้าห้องเก็บรักษาพระพุทธรูป)


DSC08894.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


DSC08895.JPG



DSC08951.JPG



หลวงพ่อพระเพชร ประดิษฐานภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


DSC08906.JPG



DSC08950.JPG



หลวงพ่อพระเพชร วัดหลวง

เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๒ นิ้ว ศิลปะเชียงแสน แบบฐานสูง หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ เดิมบริเวณวัดหลวงนี้เป็นวัดร้างมาก่อน โดยมีองค์พระพุทธรูปพอกด้วยปูนประดิษฐานอยู่ ต่อมาชาวบ้านบังเอิญพบเข้า แล้วปูนที่หุ้มพระพุทธรูปอยู่ได้กะเทาะออก จึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย สมัยเชียงแสน มีพุทธลักษณะสวยงามมาก


เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองปาย อายุประมาณ ๕๐๐ ปี สร้างสมัยเดียวกับหลวงพ่ออุ่นเมือง วัดน้ำฮู อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน


Rank: 8Rank: 8

DSC08952.JPG



DSC08904.JPG



DSC08903.JPG



DSC08902.JPG



DSC08899.JPG



DSC08900.JPG



DSC08901.JPG



DSC08905.JPG



พระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ปางต่างๆ ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง  


DSC08948.JPG



พระพุทธรูปหยกขาวทรงเครื่อง ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง



DSC08949.JPG



พระพุทธรูปหยกขาว ศิลปะพม่า ประดิษฐานภายในกุฏิศาลาการเปรียญ วัดหลวง


Rank: 8Rank: 8

IMG_3674.jpg



IMG_3675.jpg



IMG_3677.jpg



พระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์ใหญ่ วัดหลวง


DSC08876.JPG



DSC08872.JPG



DSC08871.JPG



โรงเรียนปริยัติธรรม วัดหลวง สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๓



DSC08878.JPG



ศาลาแก้วยิธิ วัดหลวง สร้างเมื่อ
พ.ศ.๒๕๒๙


Rank: 8Rank: 8

DSC08870.JPG



DSC08945.JPG



DSC08927.JPG



i00530.jpg



i00533.jpg



i00531.jpg



การเดินทางมาวัดหลวง ขอจบการเดินทางด้วยภาพบรรยากาศยามบ่ายและยามค่ำคืนภายในวัด สวัสดีค่ะ

----------------------


ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        • วัดหลวง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
        • เจ้าอาวาสวัดหลวง (พ.ศ.๒๕๕๒) และพระภิกษุสงฆ์วัดหลวง
        •
เอกสารประวัติวัดหลวง เรียบเรียงโดย พระปองพล กลฺยาโณ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๙

**หมายเหตุ :


ท่านใดประสงค์จะนำรูปภาพหรือเนื้อหาบทความไปใช้ประโยชน์ที่อื่น สามารถนำไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจากข้าพเจ้าก่อน


และได้โปรดกรุณาให้เครดิตอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่มา : เว็บแดนนิพพาน และกรุณาอย่าลบหรือครอบตัดเครดิตแหล่งที่มาบนรูปภาพ “Photo by Dannipparn.com”


(ป.ล. หากว่ากระทู้บทความนี้ มีข้อผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าต้องขออภัยในความผิดพลาดต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไปไว้ ณ ที่นี้ด้วย และจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป)


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-19 21:13 , Processed in 0.081700 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.