แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดถ้ำตับเตา ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ (รอยพระพุทธหัตถ์ , พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC01025.JPG



ประวัติวัดถ้ำตับเตา



(แหล่งที่มา : อินทร์ศวร  แย้มแสง ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง. ประวัติวัดถ้ำตับเตา, หน้า ๑-๘.)


ถ้ำตับเตา เป็นศาสนสถานโบราณนานนับเวลาหลายร้อยปีมานานแล้ว ตั้งอยู่ในหมู่บ้านที่ ๑๓ บ้านถ้ำตับเตา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณวัดมีเนื้อที่ดินประมาณ ๓๕ ไร่ มี ลำธารน้ำใสสะอาดไหลผ่านกลางบริเวณวัด ไหลจากหนองน้ำเล็กๆ ที่เกิดจากตาน้ำผุห่างไปทางด้านหลังถ้ำ ประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ

ตาน้ำผุและสระน้ำเล็กๆ นี้เกี่ยวพันกับตำนานของวัดถ้ำตับเตา วัดนี้ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาถ้ำตับเตา และเป็นภูเขาลูกหนึ่งในเทือกเขาที่กั้นเขตอำเภอไชยปราการกับอำเภอเชียงดาวทางทิศใต้และเป็นเทือกเขาหลายลูกสลับซับซ้อนกันกั้นเขตแดนไทยกับพม่าทางทิศตะวันตก

วัดถ้ำตับเตาจะสร้างในสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฏแน่ชัด เพียงแต่สันนิษฐานเอาตามหลักฐานที่เป็นสิ่งก่อสร้างในวัด คือพระพุทธรูปไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๙ เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบันท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถคราวพระองค์ยกกองทัพเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอูในประมาณปี พ.ศ.๒๑๓๕  

และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวพักพลที่เมืองหางซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทยและทราบจากปลัดอำเภออาวุโสคุณปลายมาศ  พิรดาภา ว่า  มีผู้เฒ่าอายุมากท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่า

ก่อนนี้ถ้ำนี้มีป้ายเขียนบอกไว้ว่า ณ ถ้ำนี้เคยเป็นที่ประทับพักกองทัพของสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าอาวาสสันนิษฐานเช่นนี้ว่า ด้วยเหตุผลที่พระพุทธรูปไสยาสน์องค์นี้เก่าแก่โบราณ ซึ่งคนโบราณแต่ละถิ่นแคว้นจะมีลักษณะศิลปะการก่อสร้างเป็นของตนเอง ถ้าสร้างโดยช่างฝีมือล้านนาไทยคงจะต้องมีลักษณะแบบล้านนา ถ้าสร้างแล้วก็คงมอบให้เจ้าเมืองฝางเป็นผู้อุปัฏฐากดูแลวัดแห่งนี้ และจะต้องเป็นวัดร้างมาหลายครั้ง เพราะภัยสงคราม

จนกระทั่งมาถึงยุคสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้มีการบูรณะสร้างใหม่ขึ้นอีกครั้งในสมัยเจ้าหลวงมหาวงศ์ เจ้าหลวงเมืองฝางคนที่ ๒ ยุดฝางคนล่าสุดนี้ประมาณปี พ.ศ.๒๔๓๔ – ๒๔๓๕ เพราะมีปรากฏในตำนานโยนกเชียงแสน เมืองฝาง ไชยปราการฯ ของคุณสงวน  โชติสุขรัตน์ กล่าวว่า เจ้าหลวงมหาวงศ์ ได้เดินทางมารับหน้าที่และมาพักที่ถ้ำแห่งนี้ (คงจะต้องบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำด้วย) และต่อมาก็ได้สั่งให้มีการบูรณะศาสนสถาน คือสร้างวัดพระบาทอุดมและวัดถ้ำตับเตา ทั้งสองแห่งเป็นแห่งแรกหลังจากร้างไปนาน

ก่อนที่เจ้าหลวงมหาวงศ์จะสั่งให้บูรณปฎิสังขรณ์สร้างวัดถ้ำตับเตาขึ้น ได้มีฝรั่งชาวนอรเวย์ ชื่อ มร.คาร์ลบ็อก มาสำรวจธรรมชาติในล้านนาไทยเข้ามาพักที่เมืองฝาง สมัยเจ้าหลวงสุริโยยศ เจ้าหลวงที่มาแผ้วถางก่อสร้างเมืองฝาง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๒๔ – ๒๔๓๔  เขาบันทึกถึงความสำคัญของสถานที่นี้ไว้ว่า ถ้ำแห่งนี้เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนามามากกว่าร้อยปีขึ้นไป มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระนอน ก่อด้วยอิฐโบกปูนทาด้วยยางไม้และปิดทอง ชำรุดทรุดโทรมมาก ยางไม้และทองหลุดร่อนลงเป็นแห่งๆ รอบๆ พระนอนองค์ใหญ่นี้มีพระสาวกนั่งมากมายประนมมือฟังคำสวด (คงหมายถึงคำสอนเทศนามากกว่า)

ตรงมุมสุดของโถงถ้ำ มีพระพุทธรูปนั่งองค์ขนาดย่อมๆ ปางประทานพร ตั้งอยู่บนพื้นที่สูงสุดของถ้ำใกล้ๆ มีบันไดไม้โทรมๆ พาดเพื่อให้คนเดินขึ้นไปถ้ำเล็กชั้นบนได้ นอกนั้นมีพระหินแกะขนาดต่างๆ ที่มีพระธุดงค์และพวกพ่อค้าเดินทางนำมาจากเขตไทยใหญ่นำมาถวายที่ถ้ำแห่งนี้ ตามบริเวณพื้นถ้ำมีเศษจีวรเก่าๆ หมอน เสื่อเก่า คนโทน้ำ ธูปเทียน และอื่นๆ ที่มีผู้นำมาบูชาสักการะ ตรงทางเข้าปากถ้ำมีคนมาสร้างตกแต่งไว้อย่างหยาบๆ ดูเก่าและนานใช้อิฐและปูนขาวสร้างเป็นประตูทางเข้าถ้ำตรงเหนือประตูมีหินแกะเป็นรูปนกยูง

มร.คาร์ลบ็อก กล่าวว่า ก่อนๆ นี้ คงเป็นพวกชาวไทยใหญ่มาสร้างเป็นศาสนสถานเพราะการที่สลักรูปนกยูงนั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ชาวไทยใหญ่และพม่าใช้ในพิธีสำคัญ เขาเล่าว่า คนเมืองฝางได้บอกว่าพวกชาวเงี้ยวนับถือถ้ำนี้มาก พวกพ่อค้ามาจากต่างแดนในเขตไทยใหญ่มาค้าขายในล้านนาก็ดี พวกพ่อค้าชาวล้านนาไทยเดินทางไปค้าขายในเขตไทยใหญ่ก็ดี ล้วนแต่ต้องเดินทางผ่านมาทางนี้ และจะเข้าแวะนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำนี้

จากคำบอกเล่าของเขาทำให้เราทราบว่า วัดถ้ำตับเตาคงสร้างมานานเป็นร้อยๆ ปี และเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา และถือกันว่าเป็นสถานที่เจ้าเมืองที่เดินทางมาปกครองเมืองฝาง หรือเดินทางไปราชการยังเมืองเชียงใหม่ต้องเดินทางผ่านมาทางนี้ พักที่นี้ต้องสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำเสมอ

บรรดาพระพุทธรูปทั้งใหญ่และเล็กในถ้ำตับเตาตามที่บรรยายมาแล้วยังมีพระพุทธรูปไม้แกะองค์สูงประมาณเมตรเศษอีกจำนวนมาก ที่สำคัญคือยังมีสถูปเจดีย์องค์ขนาดย่อมๆ มีลวดลายปูนสวยงามมาก แต่มีรอยถูกเจาะเอาปูนสมัยใหม่มาโบกปิดตรงรอยเจาะ สังเกตปูนที่มาปิดทับนั้นเก่าประมาณ ๓๐ ปีเศษ

สิ่งที่ขาดหายไปจากถ้ำตับเตาคือพระปรางประทานพรที่ มร.คาร์ลบ็อก กล่าวถึง หินแกะสลักรูปหนุมานและรูปนกยูง ตลอดจนหินจารึกด้วยอักษรโบราณที่ยังไม่มีใครอ่านออกได้เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก ตลอดจนรูปปั้นพระสาวกรอบๆ องค์พระนอนก็ถูกทำลาย ที่เห็นเดี๋ยวนี้ก็ทราบจากเจ้าอาวาสว่าปั้นขึ้นใหม่แทนองค์เดิม วัดถ้ำตับเตาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๒


IMG_0544.JPG



สิ่งสำคัญในถ้ำที่ยังคงเหลือ จากมนุษย์ใจบาปที่ลักขโมยไป ได้แก่ พระไสยาสน์ พระเจ้าตนหลวง พระเจ้าทันใจ สถูปเจดีย์เก่าแก่สวยงาม พระพุทธรูปหินอ่อนขนาดกลางๆ ไม่กี่องค์ พระพุทธรูปไม้แกะขนาดเมตรเศษ ในส่วนลึกของถ้ำมีเจดีย์องค์หนึ่ง ลึกเข้าไปในถ้ำมืดประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นเจดีย์เปียกชุ่มและนิ่ม ผู้เข้าไปสักการะมักเอาเหรียญเงินแถบ (รูปี) เหรียญบาทสตางค์แดง เหรียญโบราณต่างๆ ติดองค์เจดีย์มีแอ่งน้ำตื้นๆ ถือเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้


DSC01007.JPG



ลักษณะของถ้ำตับเตา  วัดถ้ำตับเตา  แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ดังนี้

๑. ถ้ำแจ้ง เป็นห้องโถงถ้ำกว้างใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระเจ้าตนหลวง สถูปเจดีย์ และพระพุทธรูปไม้แกะสลัก พระหินแกะ พระพุทธรูปองค์เล็กองค์น้อย มีโพรงที่ลอดไปยังถ้ำขนาดเล็กที่เรียกว่า ถ้ำเสบียง ซึ่งอยู่ติดไปทางทิศตะวันออกติดกัน
        
๒. ถ้ำมืด อยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตก มีลานหินแคบๆ เป็นทางเดินจากหน้าถ้ำแจ้งไปยังถ้ำมืดได้ ถ้ำมืดนี้มีลักษณะเป็นโพรงชอนลึกเข้าไปในภูเขา ภายในมีหินงอกหินย้อยสองข้างทางเหมือนฉากท้องพระโรงงดงามมาก มีความลึกเข้าไปประมาณ ๕๐๐ เมตร ก้นถ้ำมีเจดีย์เปียกดังกล่าวมานานแล้ว
ถ้ำมืดนั้นสมัยก่อนต้องอาศัยคบเพลิงหรือตะเกียงเจ้าพายุส่องให้แสงสว่าง เพราะไม่มีแสงอาทิตย์ส่องถึง ปัจจุบันทางวัดได้เดินสายไฟโยงไปตามที่ต่างๆ ในถ้ำแล้ว (ติดต่อขอเข้าชมถ้ำมืด ทำบุญค่าเปิดไฟฟ้า ๑๐๐ บาท ต่อคณะ)


IMG_2559.JPG


วัดถ้ำตับเตาได้มีเจ้าอาวาสปกครองดูแล พัฒนาปรับปรุงต่อเนื่องกันมาหลายรูปแบบดังนี้ (เท่าที่ทราบชัดเจนในยุคหลัง)

๑. หลวงพ่อประภา พ.ศ.๒๔๕๐ มีเชื้อเจ้าลาว เรียกว่า สมเด็จประภา ขณะที่ท่านมาอยู่เป็นเจ้าอาวาสนั้น มีลูกศิษย์ตามมาด้วยรูปหนึ่งเป็นภิกขุ ชื่อ แก้ว ซึ่งได้เป็นกำลังช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างพระตนหลวง ซึ่งมีศิลปะแบบล้านนา ต่อมาพระลูกศิษย์รูปนี้คือ หลวงปู่แก้ว  สุทโธ  ได้ไปอยู่วัดดอยโมคคัลลาน อ.จอมทอง

๒. หลวงพ่อครูบาธรรมชัย พ.ศ.๒๔๙๒ สร้างวิหารพระนอนในถ้ำ ตลอดจนพัฒนาบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างวัตถุต่างๆ เช่น รูปปั้นพระสาวกล้อมรอบพระพุทธไสยาสน์หลายสิบองค์ สร้างที่พักสงฆ์ สร้างศาลา สร้างสถานที่พักสำหรับประชาชน พัฒนาซ่อมแซมถนนเข้าสู่ถ้ำระยะทาง ๔ กิโลเมตร เป็นระยะเวลา ๕ ปี สิ้นเงินไปถึง ๑๔๓,๙๐๐ บาท ต่อมาท่านย้ายไปอยู่วัดทุ่งหลวง อ.แม่แตง

๓. ครูบาสิทธิ  อภิวัณโณ พ.ศ.๒๔๙๗ มาอยู่ไม่นานนัก ต่อมาไปอยู่วัดปางต้นเดื่อ ดอยลาง

๔. พระครูโสภณ  เจติยาราม เจ้าคณะอำเภอฝาง ขณะนั้น พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นเจ้าอาวาสเพื่อดำเนินการบูรณะวัดแห่งนี้ โดยสร้างบันไดขึ้นถ้ำจากพื้นราบขึ้นไป เพราะเดิมไม่มีบันได ใครจะเข้าถ้ำต้องปีนเขาขึ้นไป

๕. พระครูวิทิตธรรมรส เจ้าอาวาสวัดพระบาทอุดม เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ.๒๕๑๒ สร้างกุฏิสงฆ์ในบริเวณด้านหน้าวัด

DSC01753.JPG


๖. หลวงปู่บุญเย็น หรือพระครูพรหมประกาศิต เจ้าอาวาสวัดบ้านท่า มาเป็นเจ้าอาวาสสร้างกำแพงด้านหน้าวัด สร้างซุ้มประตู

IMG_0533.JPG


๗. พระอาจารย์บุญช่วย  ฐิตสาโร พ.ศ.๒๕๒๔ - ๒๕๔๐ สร้างบันไดขึ้นถ้ำใหม่แทนบันไดเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ได้ทำการบูรณะในถ้ำด้วยการเทปูนปูพื้นที่ด้วยกระเบื้อง สร้างศาลาอเนกประสงค์ และเสนาสนะสงฆ์อื่นๆ

๘. พระอาจารย์ศิลปะชัย  ญาณโว พ.ศ.๒๕๔๑ - ปัจจุบัน ได้เริ่มทำการสร้างบูรณะกุฏิสงฆ์ด้านฝั่งตะวันออกของลำธารและด้านหลังถ้ำ พัฒนาสถานที่ให้น่าดูและสวยงาม


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01000.JPG



DSC01293.JPG



IMG_9986.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานด้านหน้า บันไดทางขึ้น ถ้ำแจ้ง-ถ้ำมืด วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



IMG_0514.JPG



DSC01294.JPG



IMG_0009.JPG



IMG_0014.JPG



ขอเชิญร่วมตักบาตรพระประจำวัน บริเวณด้านหน้า บันไดทางขึ้น ถ้ำแจ้ง-ถ้ำมืด วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0015.JPG



พระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานภายใน ศาลาตักบาตรพระประจำวัน วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_9962.JPG



IMG_9979.JPG



IMG_9974.JPG



พระพุทธรูป และภาพปริศนาธรรม อยู่ด้านข้างบันไดทางขึ้น ถ้ำแจ้ง-ถ้ำมืด วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_9973.JPG



ความหมายของภาพปริศนาธรรม


โลก  หมายถึง  สัตว์ประเสริฐ และสัตว์เดรัจฉาน ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่บนโลกใบนี้

โลงศพ  หมายถึง  สัญลักษณ์แทนความตาย


พระพุทธเจ้า หรือ พุทธะ  คือ  ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลส ตัณหา และจะไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกแล้ว นั่นคือ การเข้าสู่ห้วงแห่งพระนิพพานนั่นเอง



IMG_0029.JPG



ความหมายรวม


๑. โลงศพตั้งอยู่บนโลก หมายถึง สรรพสัตว์ทั้งโลกทั้งมวล ล้วนต้องตายและอยู่ใต้ความตายทั้งสิ้น ไม่มีใครจะหลีกหนีความตายได้พ้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีมากหรือน้อยด้วยลาภ ยศ สุข สรรเสริญก็ตาม

๒. พระพุทธเจ้านั่งอยู่บนโลงศพ  นั่นหมายความว่า ผู้ที่ปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงพระนิพพานอันอมตะแล้วย่อมอยู่เหนือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ดังคำกล่าวที่ว่า ความตายอยู่เหนือโลก แต่พุทธะผู้รู้ละย่อมอยู่เหนือโลกและความตาย



IMG_9964.JPG


IMG_9969.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์ ๒ ตน อยู่บันไดทางขึ้น/ลง พระพุทธรูปและภาพปริศนาธรรม วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0520.JPG



IMG_0523.JPG



DSC00997.JPG



IMG_0527.JPG



ร้านธูปเทียนทอง วัดถ้ำตับเตา  พุทธศาสนิกชนสามารถบูชาดอกไม้ธูป เทียน  บูชาเทียนสืบชะตา เทียนวันเกิดกำไรข้อมือ ซื้ออาหารปลา และติดต่อไฟฟ้าเข้าชมถ้ำมืด (ทำบุญค่าไฟเข้าถ้ำมืด ๑๐๐ บาท ต่อคณะ) ติดต่อแม่ชีได้ที่นี่ค่ะ



DSC01292.JPG



IMG_9988.JPG


IMG_0020.JPG



บันไดทางขึ้นถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ประมาณ ๕๐ ขั้น ค่ะ

เดี๋ยวเราเดินขึ้นบันไดไปถ้ำแจ้งกันก่อน แล้วค่อยไปถ้ำมืดลำดับถัดไปนะคะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01091.JPG


DSC01044.JPG


IMG_0121.JPG



ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


ป้ายคำเตือนจากทางวัด  ห้ามขีดเขียนทำลายสถานที่วัตถุโบราณแลตามในรูถ้ำ



DSC01035.JPG



ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



DSC01033.JPG



IMG_0102.JPG



DSC01032.JPG



หอเทพารักษ์ บริเวณด้านหน้า ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



IMG_0247.JPG



IMG_0104.JPG



รูปปั้นกุมภัณฑ์  บริเวณด้านหน้า ซุ้มประตูทางเข้า/ออก ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


ตำนานยักษ์กุมภัณฑ์ ผู้รักษาวัดถ้ำตับเตา


(แหล่งที่มา : หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปิยธรรมภาณี (ศรีมูล ปิยธัมโม) คณะศิษยานุศิษย์ วัดพระธาตุจอมแตง รวบรวม ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐.)


ถ้ำตับเตา ก่อนที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้มีพุทธดำริว่า เราตถาคตจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงถาวรจนถึง ๕,๐๐๐ วัสสา โดยถือเอาดินแดนปัจจันตประเทศแห่งดินแดนสุวรรณภูมิ ต่อไปภายหน้าจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง พระพุทธองค์จะต้องเสด็จไปยังดินแดนดังกล่าว เพื่อโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลาย

ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าสาวกติดตามพระองค์เข้าสู่นิคมน้อยใหญ่ตามลำดับ จนถึงแคว้นกุมภะมิตรนคร (ลำปาง) พระองค์ได้พบยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า โสกยักษ์ เป็นยักษ์ที่มีความเกเร ชอบเที่ยวกินเนื้อมนุษย์อาหาร พระองค์ได้แสดงธรรมโปรดยักษ์ตนนั้นจนซาบซึ้งในพระธรรม เมื่อยักษ์ตนนั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว จิตใจก็เข้าถึงบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มีความสะดุ้งเกรงกลัวต่อบาป และได้สละสิ้นทุกอย่างได้ไปถือศีลในถ้ำแห่งหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นถ้ำตับเตาในปัจจุบันจนถึงกาลดับไป


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0243.JPG



IMG_0120.JPG



IMG_0186.JPG



บันไดนาคทางลงสู่ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



DSC01039.JPG



IMG_0111.JPG



DSC01070.JPG



IMG_0113.JPG



IMG_0238.JPG



พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) เป็นพระพุทธรูปก่อถือปูนขนาดใหญ่มาก หน้าตักกว้าง  ๙ วา ๒ ศอก สูง ๑๓ วา ๒ ศอก ประดิษฐานอยู่บนแท่นภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา สร้างโดยหลวงพ่อประภา อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกวัดถ้ำตับเตา พ.ศ.๒๔๕๐ ต่อมา พ.ศ.๒๔๙๒ หลวงพ่อครูบาธรรมชัย ได้บูรณะองค์พระประธานในถ้ำที่ยังสร้างไม่เสร็จให้แล้วเสร็จเป็นองค์พระประธานสมบูรณ์ค่ะ


IMG_0112.JPG



IMG_0225.JPG



คำไหว้พระเจ้าตนหลวง วัดถ้ำตับเตา

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า ๓ จบ)   
        ศิ ละ พิม พัง สุรุ ปัจจะโย เว พุท ธัง นะมะ สันโต อะหัง วันทามิ สัพพะทา



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01068.JPG



IMG_0192.JPG



สถูปเจดีย์  ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0211.JPG



IMG_0202.JPG



พระเจ้าทันใจ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0210.JPG


IMG_0204.JPG



IMG_0201.JPG



IMG_0194.JPG



พระพุทธรูปต่างๆ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


IMG_0207.JPG


รูปเหมือนพระภิกษุ ประดิษฐานด้านหน้า พระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง) ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0115.JPG



IMG_0236.JPG



ด้านหลังพระพุทธรูปประธาน (พระเจ้าตนหลวง)  ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา จะมีโพรงลอดไปยังถ้ำปราสาท ผู้หญิงห้ามขึ้นไป ยังด้านบนแท่นประดิษฐานพระประธานค่ะ



DSC01080.JPG



DSC01047.JPG



IMG_0131.JPG



IMG_0127.JPG



IMG_0124.JPG



วิหารพระนอน ภายใน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา สร้างโดย หลวงปู่ครูบาธรรมชัย พ.ศ.๒๔๙๒ ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01059.JPG



IMG_0145.JPG



IMG_0141.JPG



IMG_0146.JPG



พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา เป็นพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ ขนาดความยาวไม่น้อยกว่า ๙ เมตร หรือประมาณ ๕ วา สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนพอกด้วยยางไม้รักปิดทองในแบบศิลปะอยุธยา

ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกาทศรถ คราวพระองค์ยกกองทัพเพื่อจะเข้าตีพม่าและตีเมืองตองอูในประมาณปี พ.ศ.๒๑๓๕  และสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงยกกองทัพหลวงไปทางเชียงดาวพักพลที่เมืองหาง ซึ่งในขณะนั้นเป็นเมืองในราชอาณาจักรไทยค่ะ



DSC01076.JPG


รูปปั้นพระอรหันต์และพระสงฆ์สาวก ล้อมรอบพระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานภายใน วิหารพระนอน ถ้ำแจ้ง (ถ้ำรับบุญ) วัดถ้ำตับเตา แสดงถึงตอนพระพุทธเจ้าประชวร หลังจากรับบิณฑบาตจากนายจุนทะ ณ ถ้ำตับเตาแห่งนี้ พระพุทธองค์ก็ทรงประชวรและอาเจียน เนื่องจากอาหารเป็นพิษ พระภิกษุจำนวนมากได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าตอนพระพุทธเจ้าอาพาธหนัก ขณะที่ทรงประชวรอยู่ก็ทรงประทับที่ถ้ำตับเตา ตามตำนานถ้ำตับเตาที่กล่าวไว้ค่ะ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

DSC01082.JPG



ตำนานถ้ำตับเตา


(แหล่งที่มา : อินทร์ศวร  แย้มแสง ผู้ค้นคว้าเรียบเรียง. ประวัติวัดถ้ำตับเตา,  หน้า ๙-๑๓.)


ในสมัยตอนปลายสมัยพุทธกาล ขณะที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์พรรษาชราภาพมากแล้ว หลังจากทรงตรากตรำพระวรกายในการเที่ยวประกาศพระศาสนาในถิ่นฐานต่างๆ จนมีพุทธสาวกและพุทธบริษัทสี่เป็นปึกแผ่น จนจะได้เวลาเสด็จดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพานตามคำทูลอาราธนาของพญามาร

พระพุทธองค์ได้เสด็จรับบิณฑบาตอาหารที่ประกอบขึ้นด้วยสุกรมัทวะจากนายจุนทะ เป็นเนื้อหมู (น่าจะเป็นเนื้อหมูเป็นโรค บ้างก็ว่าอาหารประกอบขึ้นจากเห็ดที่งอกจากหลุมฝังศพหมูตายด้วยโรค) หลังจากรับบิณฑบาต พระพุทธองค์ก็ทรงประชวร มีอาเจียนบ่อย เพราะอาหารเป็นพิษ ขณะที่ทรงประชวรอยู่นั้น ก็ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่ถ้ำแห่งนี้ พร้อมด้วยพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก (ถ้ำแห่งนี้ยังไม่มีชื่อในขณะนั้น ก็คือถ้ำตับเตาในปัจจุบันนี้เอง)

ขณะที่พระองค์ประทับพักพระวรกายที่ถ้ำ ความได้ทราบถึงพระสงฆ์สาวกจำนวนหนึ่ง ๕๐๐ รูป ก็พากันเดินทางมายังถ้ำแห่งนี้ เพื่อเข้าเฝ้าเยี่ยมพระอาการประชวร พระสงฆ์เหล่านี้ บ้างเป็นพระอรหันต์สำเร็จอภิญญา บ้างเป็นพระอริยเจ้าระดับรองลงมา บ้างยังเป็นพระสุปฏิปันโนที่เป็นกัลยาปุถุชนก็มี เมื่อทราบพระอาการหนักหนาสาหัส ก็มีความเห็นให้พระสงฆ์สาวกผู้สำเร็จอรหันต์ทรงอภิญญา เหาะไปบอกหมอชีวกโกมารภัจจ์ ให้มารักษาพยาบาลสมเด็จพระบรมครูของโลก

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจจ์ก็เดินทางมาพร้อมพระอรหันตเจ้า ให้โอสถเพื่อรักษาพระอาการประชวรหวังจะให้หายจากพระโรคนั้น แต่รักษาอยู่ได้ ๓ วัน พระอาการก็ไม่บรรเทามีแต่ทรุดลง ก็ให้พระอรหันต์เจ้ารูปเดิมนั้นเดินทางไปเชิญพระฤาษีผู้เป็นอาจารย์ประสิทธิ์ประสาทวิชาการแพทย์แก่ตน ให้เดินทางมาทำการรักษาพยาบาลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝ่ายพระฤาษีผู้อาจารย์ก็เดินทางมาพร้อมด้วยยาสมุนไพรจำนวนมาก เมื่อมาถึงก็ขอตรวจอาการโดยการสำรวจตรวจดูสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงอาเจียนออกมาก็ทราบว่าเป็นการประชวรด้วยพาร้ายจากอาหารสุกรมัทวะ จะรักษาด้วยยาธรรมดาไม่ได้ แต่มียาอยู่ขนานหนึ่งเรียกว่า เป็นยาวิเศษก็สามารถว่าได้เพราะเป็นโอสถทรงคุณค่าสูงรักษาอาการป่วยได้ทุกอย่างไม่ว่าอาการจะหนักหนาประการใดก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงขออาราธนาพระอรหันต์เจ้ารูปนั้นไปเอายามาให้ พระพุทธสาวกอรหันต์รูปนั้นเวียนไปเอายาถึง ๓ รอบก็ไม่ตรงตามความต้องการ ตกลงหมอชีวกโกมารภัจจ์ต้องเดินทางไปเอามาด้วยตนเองโดยอาศัยอิทธิฤทธิ์ของพระอรหันต์เจ้าองค์นั้นช่วยพาไปและกลับมาโดยเร็ว

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ ไม่อาจรอดพ้นจากข่ายพระญาณของสมเด็จพระสุคตเจ้าไปได้ พระองค์ก็ปรารภแก่พระอานนท์ พุทธอนุชาว่า ตถาคตได้รับอาราธนาจากพญามารเพื่อเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้วหนึ่งประการ และยังได้รับบิณฑบาตอาหารมื้อสุดท้ายที่ทำให้สำเร็จผลานิสงส์อันมากแก่ผู้ถวาย คือนายจุนทะ ผู้ถวายอาหารสุกรมัทวะ สมเด็จพระพุทธองค์ตรัสว่า อาหารสองมื้อที่ให้ผลานิสงส์มากแก่ผู้ถวายบิณฑบาตพระพุทธเจ้า คืออาหารมื้อแรกที่ทำให้สำเร็จพระโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และอาหารมื้อสุดท้ายที่พระพุทธเจ้าฉันแล้วจะเสด็จเข้าสู่การดับขันธปรินิพพาน


ดังนั้นถ้าพระองค์ทรงรับโอสถจากพระฤาษีมาฉันทำให้หายอาการประชวร ก็จะไม่เป็นการรักษาสัจจะแก่พญามาร และจะทำให้อาหารมื้อสุดท้ายที่ได้รับบิณฑบาตไม่มีผลานิสงส์แก่ผู้ถวายเต็มที่ จำเป็นจะต้องหาทางไปจากถ้ำแห่งนี้เพื่อแสวงหาสถานที่อันเหมาะสมแก่การดับขันธ์สู่ปรินิพพาน สมเด็จพระพุทธองค์ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า  ขอให้เพดานถ้ำจงบังเกิดเป็นโพรงเพื่อจักพาพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐากเสด็จเหาะหนีไปทางอากาศได้

ครั้นเมื่อพระฤาษีนำเอาโอสถวิเศษนั้นให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ มาถวายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็พาเอาพระอานนท์เหาะขึ้นสู่อากาศหายไปและเสด็จไปยังเมืองกุสินารายน์ การที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเหาะหนีไปนั้น ทำให้พระสงฆ์สาวกทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนพากันโศกเศร้าร่ำไห้คร่ำครวญอื้ออึงไป ส่วนที่เป็นพระอริยเจ้าก็สงบสำรวมพิจารณาเหตุการณ์ด้วยธรรม และต่างพากันแสวงหาสถานที่บำเพ็ญสมณธรรมต่อไปตามควรแก่ตน

เมื่อพระสงฆ์เหล่านี้ได้สำเร็จอรหันตผลแล้วครบถ้วน ก็พากันมายังบริเวณหน้าถ้ำแห่งนี้พร้อมกันดับขันธ์นิพพานหมดสิ้น ทิ้งให้ซากศพทอดร่างไว้บนพื้นปฐพี และส่งกลิ่นเน่าเหม็นตลบไปทั่วป่าบริเวณนั้น พระอินทร์จึงให้เทพบุตรผู้มเหศักดิ์ตนหนึ่งนำเอาไฟทิพย์จากสวรรค์มาเผาผลาญซากศพพระอรหันต์เหล่านั้น ไฟทิพย์ที่มีความร้อนแรงยิ่งนัก เผาไหม้กินอาณาเขตกว้างขวางปริมณฑลถึง ๘,๐๐๐ วา ไหม้ลงไปในแผ่นดินลึก ๑,๐๐๐ วา

ความร้อนแรงของไฟทิพย์นี้ส่งความร้อนไปถึงเมืองบาดาลแห่งหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของพญานาคชื่อว่า อุรุนาคราช พระยานาคตนนี้จึงนำบริวารพันหนึ่งชำแรกพื้นดินขึ้นมา ปล่องที่พญานาคนำบริวารชำแรกพื้นดินขึ้นมาคือ ตาน้ำผุดที่ได้ก่อให้เกิดหนองน้ำเล็กๆ ด้านหลังถ้ำนั้นเอง หนองน้ำแห่งนี้ได้ไหลเป็นลำธารใสสะอาดผ่านบริเวณวัดและไหลลงสู่แม่น้ำฝางในที่ไกลออกไปทางทิศตะวันออก ได้หล่อเลี้ยงบำรุงพื้นที่เกษตรกรรมหมู่บ้านถ้ำและบ้านศรีดงเย็น บ้านอ่าย พื้นดินบริเวณวัดถ้ำตับเตาและบริเวณใกล้เคียงจึงเป็นพื้นที่มีขุ่นขาวคล้ายขี้เถ้าปนอยู่และจะเป็นอย่างนี้ไปจนถึงยุคสมัยพระศรีอริยเมตไตรยภายหน้า

พระพุทธองค์ยังได้ทำนายไว้อีกว่าสถานที่แห่งนี้จะได้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา เมื่อกาลเวลาผ่านกึ่งพุทธกาลไปแล้วสถานที่ถ้ำแห่งนี้จะได้รับการปรับปรุงพัฒนาเจริญมากขึ้น ผู้คนพุทธมามกะทั้งหลายจากทั่วสารทิศหลั่งไหลกันมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในถ้ำแห่งนี้ และได้ชื่อว่าถ้ำดับเถ้า และจะเป็นสถานที่รื่นรมย์ด้วยกระแสแห่งรสธรรมอันวิเศษเป็นสถานที่ชำระจิตใจให้สะอาดจากธุลีมลทินอาสวะกิเลส


อนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงอดีตของพระอรหันต์ทั้ง ๕๐๐ รูป ที่พากันมาถวายบังคมเยี่ยมพระอาการประชวร และต่อมาสำเร็จอรหันตผลและพากันมาดับขันธ์นิพพาน ณ ที่แห่งนี้พร้อมกันว่า

ในสมัยพุทธกาลแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามหากัสปะ พระพุทธองค์พระองค์นั้นได้นำพระสงฆ์สาวกเดินทางมาพักพระอริยาบถ ณ ถ้ำแห่งนี้ และได้สวดท่องบทพระธรรมเทศนาได้รับฟังมาด้วยเสียงอันไพเราะกังวาล ฝูงค้างคาวจำนวน ๕๐๐ ตัว ที่เกาะอยู่ตามเพดานถ้ำได้ฟังกระแสร์เสียงอันไพเราะกังวานนั้นก็มีความเคลิบเคลิ้มจิตตกภวังค์หล่นลงมากระทบพื้นหินตาย

ด้วยอำนาจแห่งบุญที่เหล่าค้างคาวนั้นได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนาก็พากันบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีปราสาทวิมานสูง ๑๒ โยชน์ รุ่งเรืองงดงามด้วยความเป็นทิพย์แดนสวรรค์แห่งนั้นมีปราสาทเรียงรายกันไปดุจนิ้วมือถึง ๕๐๐ องค์ เหล่าเทพบุตร ๕๐๐ องค์ นี้จึงมีชื่อว่า อังคุลีเทพบุตร ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์เจ้าลงมาบังเกิดเป็นพระสิทธัตถะกุมาร และออกผนวช เป็นนักบวชในพระศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้า และสำเร็จพระอรหันต์โดยครบถ้วน

ฝ่ายพระฤาษีอาจารย์หมอชีวกโกมารภัจจ์ เมื่อไม่อาจจะถวายพระโอสถอันวิเศษยิ่งนักแก่พระพุทธองค์ให้หายพระประชวรได้ ก็มีความเสียใจยิ่งนัก ยกมืออันสั่นเทาที่กำถ้วยโอสถขึ้นพลางกล่าวว่า อันโอสถวิเศษของตูนี้จะไม่มีไว้สำหรับรักษาผู้ใดอีกต่อไป ไม่มีประโยชน์อันใดแล้วจะรักษาไว้ ว่าแล้วก็สาดโอสถนั้นทิ้งไปทั่วบริเวณ ทำให้พื้นดินบริเวณถ้ำตับเตานี้มีพืชสมุนไพรขึ้นจำนวนมากมายหลายชนิด แต่เพราะอำนาจคำกล่าวที่คล้ายคำสาปว่าไม่มีประโยชน์อันใดจะรักษาไว้ จึงทำให้สมุนไพรที่เกิดขึ้นบริเวณภูเขาถ้ำตับเตามีคุณภาพในการประกอบขึ้นเป็นรักษาโรคต่างๆ อ่อนมาก ไม่เหมือนสมุนไพรชนิดเดียวกันที่เกิดขึ้นในที่อื่นมีคุณภาพดีกว่า

การเรียบเรียงเรื่องราวประวัติ วัดถ้ำตับเตา ผู้เรียบเรียงได้ข้อมูลจากเอกสารแผ่นปลิวของวัดถ้ำตับเตาที่เจ้าอาวาสพิมพ์โรเนียวแจกญาติโยม จากเอกสารตำนานถ้ำตับเตาเรียบเรียงขึ้นมาของคุณ ส. สุจิตโต ซึ่งพระครูโสภณเจติยารามได้พิมพ์ขึ้นมานานแล้ว จากหนังสือตำนานเมืองโยนกเชียงแสนเมืองฝางไชยปราการฯ ของคุณสงวน  โชติสุขรัตน์ หนังสือสมัยพระปิยะมหาราชของ มร.คาร์บล็อก แปลโดย เสถียร  พันธรังสี และอัมพร  จุลานนท์

ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านดังกล่าวนามมาแล้วทุกท่าน บุญกุศลและความดีงามทั้งหลายจะพึงบังเกิดขึ้นจากข้อเขียนของข้าพเจ้าครั้งนี้ ขอบุญกุศลนั้นจงได้เป็นส่วนแห่งกุศลแก่ท่านเหล่านั้นด้วยเทอญ


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-24 09:45 , Processed in 0.124209 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.