แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
ดู: 95490|ตอบ: 84
go

อนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-6 20:19 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_0078.4.JPG


อนุพุทธประวัติ  ๘๐  องค์



ข้าพเจ้าได้คัดลอกเนื้อหาประวัติแห่งอนุพุทธะ ๘๐ องค์ จากหนังสือ “อนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์” ซึ่งเป็นหนังสือที่พรรณนาความเป็นไปแห่งพระสาวกผู้ใหญ่ตั้งแต่ต้นจนนิพพาน เนื้อความไม่ย่อนัก ไม่พิสดารนัก


ข้าพเจ้าได้ตรวจพิจารณาเห็นว่าหนังสืออนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์ ได้อำนวยประโยชน์ให้แก่กุลบุตรผู้จะเป็นศาสนทายาทช่วยกันประกาศพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แพร่หลาย ซึ่งเป็นทางบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อสัมมาปฏิบัติของผู้นับถือพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อทราบแล้วจะได้พากันประพฤติปฏิบัติแต่ในทางดีงาม อันจะเป็นกุศลผลบุญในปัจจุบันและภายหน้าต่อไป  


L50.png



ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :

          คณะตรีมิตร. อนุพุทธประวัติ ๘๐ องค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงเจริญ.


(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 31 กรกฎาคม 2566)

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 09:58 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

1365_0.2.jpg


สารบาญ


รายนามพระสาวกผู้ใหญ่  ๘๐  รูป

l10.png


๑.   พระอัญญาโกณฑัญญะ *

๒.   พระวัปปะ

๓.   พระภัททิยะ

๔.   พระมหานามะ
๕.   พระอัสสชิ

๖.   พระยสะ
๗.   พระวิมละ

๘.   พระสุพาหุ

๙.   พระปุณณชิ
๑๐.  พระควัมปติ
๑๑.  พระอุรุเวลกัสสปะ
*

๑๒.  พระนทีกัสสปะ

๑๓.  พระคยากัสสปะ
๑๔.  พระสารีบุตร
*

๑๕.  พระโมคคัลลานะ *

๑๖.  พระมหากัสสปะ *

๑๗.  พระมหากัจจายนะ *

๑๘.  พระอชิตะ
๑๙.  พระติสสเมตเตยยะ
๒๐.  พระปุณณกะ
๒๑.  พระเมตตคู
๒๒.  พระโธตกะ
๒๓.  พระอุปสีวะ
๒๔.  พระนันทะ
๒๕.  พระเหมกะ

๒๖.  พระโตเทยยะ
๒๗.  พระกัปปะ
๒๘.  พระชตุกัณณี

๒๙.  พระภัทราวุธะ
๓๐.  พระอุทยะ

๓๑.  พระโปสาละ
๓๒.  พระโมฆราช
*

๓๓.  พระปิงคิยะ
๓๔.  พระราธะ *

๓๕.  พระปุณณมันตานีบุตร *

๓๖.  พระกาฬุทายี *๑๐

๓๗.  พระนันทะ *๑๑

๓๘.  พระราหุล *๑๒

๓๙.  พระอุบาลี *๑๓

๔๐.  พระภัททิยะ *๑๔

๔๑.  พระอนุรุทธะ *๑๕

๔๒.  พระอานนท์ *๑๖

๔๓.  พระภัคคุ

๔๔.  พระกิมพิละ
๔๕.  พระโสณโกฬิวิสะ *๑๗

๔๖.  พระรัฏฐปาละ *๑๘

๔๗.  พระปิณโฑลภารทวาชะ *๑๙

๔๘.  พระมหาปันถกะ *๒๐

๔๙.  พระจูฬปันถกะ *๒๑

๕๐.  พระโสณกุฏิกัณณะ *๒๒

๕๑.  พระลกุณฏกภัททิยะ *๒๓

๕๒.  พระสุภูติ *๒๔

๕๓.  พระกังขาเรวตะ *๒๕

๕๔.  พระวักกลิ *๒๖

๕๕.  พระกุณฑธานะ *๒๗

๕๖.  พระวังคีสะ *๒๘

๕๗.  พระปิลินทวัจฉะ *๒๙

๕๘.  พระกุมารกัสสปะ *๓๐

๕๙.  พระมหาโกฏฐิตะ *๓๑

๖๐.  พระโสภิตะ *๓๒

๖๑.  พระนันทกะ *๓๓

๖๒.  พระมหากัปปินะ *๓๔

๖๓.  พระสาคตะ *๓๕

๖๔.  พระอุปเสนะ *๓๖

๖๕.  พระขทิรวนิยเรวตะ *๓๗

๖๖.  พระสีวลี *๓๘

๖๗.  พระพาหิยทารุจิริยะ *๓๙

๖๘.  พระพากุละ *๔๐

๖๙.  พระทัพพมัลลบุตร *๔๑

๗๐.  พระอุทายี

๗๑.  พระอุปวาณะ
๗๒.  พระเมฆิยะ
๗๓.  พระนาคิตะ

๗๔.  พระจุนทะ

๗๕.  พระยโสชะ

๗๖.  พระสภิยะ

๗๗.  พระเสละ

๗๘.  พระมหาปรันตปะ

๗๙.  พระนาลกะ

๘๐.  พระองคุลิมาละ


หมายเหตุ: * เลขที่อยู่หลังชื่อ มีตั้งแต่ ๑ ถึง ๔๑ เฉพาะแต่สาวกผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งเอตทัคคะ เพื่อเป็นการสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการดูเฉพาะประวัติของพระสาวกผู้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะจะได้ตรวจได้โดยง่าย


IMG_5095.1.png


ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :


ตอนที่ 1 - 8

http://www.dannipparn.com/thread-673-1-1.html


ตอนที่ 9 - 18

http://www.dannipparn.com/thread-673-2-1.html


ตอนที่ 19 - 28

http://www.dannipparn.com/thread-673-3-1.html


ตอนที่ 29 - 38

http://www.dannipparn.com/thread-673-4-1.html


ตอนที่ 39 - 48

http://www.dannipparn.com/thread-673-5-1.html


ตอนที่ 49 - 58

http://www.dannipparn.com/thread-673-6-1.html


ตอนที่ 59 - 68

http://www.dannipparn.com/thread-673-7-1.html


ตอนที่ 69 - 78

http://www.dannipparn.com/thread-673-8-1.html


ตอนที่ 79 - 80

http://www.dannipparn.com/thread-673-9-1.html


l28.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 10:41 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

IMG_0290.1.JPG


ตอนที่ ๑   

ประวัติพระอัญญาโกณฑัญญเถระ

3.png



ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในบ้านพราหมณ์ ชื่อว่า โทณวัตถุ ไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อว่า “โกณฑัญญะ” เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ศึกษาเล่าเรียนจบไตรเพทและรู้ลักษณะมนต์ คือตำราทายลักษณะ ฯ  


คราวเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาประสูติใหม่ได้ประมาณ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะตรัสให้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาเลี้ยงโภชนาหารในการพิธีทำนายพระลักษณะตามพระราชประเพณี แล้วเลือกพราหมณ์ ๘ คน จากพราหมณ์พวกนั้น ให้เป็นผู้ตรวจและทำนายลักษณะ ฯ


ครั้งนั้น โกณฑัญญพราหมณ์ยังเป็นหนุ่ม ได้รับเชิญในการนี้ด้วย ทั้งนี้ได้รับเลือกเข้าในจำพวกพราหมณ์ ๘ คน แต่เป็นผู้ที่มีอายุกว่าเพื่อน ฯ พราหมณ์ ๗ คน ตรวจลักษณะแล้วทำนายคติแห่งพระมหาบุรุษเป็น ๒ ทางว่า ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกทรงผนวช จักได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกในโลก ฯ


ส่วนโกณฑัญญพราหมณ์เห็นแน่แก่ใจว่า พระองค์จักเสด็จออกผนวช จึงได้ทำนายคติแห่งมหาบุรุษเป็นทางเดียวว่า พระองค์จักเสด็จออกทรงผนวช แล้วจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นศาสดาเอกของโลกแน่ ฯ ตั้งแต่นั้นมาก็ตั้งใจไว้ว่า ถ้าพระมหาบุรุษออกทรงผนวชเมื่อใด ตนเองยังมีชีวิตอยู่ จักออกบวชตามเมื่อนั้น ฯ


ครั้นมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชแล้ว และกำลังบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ โกณฑัญญพราหมณ์ได้ทราบข่าว จึงชวนพราหมณ์อีก ๔ คน คือ วัปปะ ๑ ภัททิยะ ๑ มหานามะ ๑ อัสสชิ ๑ รวมเป็น ๕ ซึ่งเรียกว่า ปัญจวัคคีย์ ออกบวชติดตามพระมหาบุรุษ คอยปฏิบัติอยู่ทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมใด จักเทศนาสั่งสอนให้บรรลุธรรมนั้นบ้าง ฯ


เมื่อพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างเต็ม นับประมาณได้ถึง ๖ ปีแล้ว ทรงสันนิษฐานว่ามิใช่ทางพระโพธิญาณ ทรงใคร่พระทัยจะทำความเพียรในทางจิต จึงทรงเลิกทุกรกิริยานั้นเสีย ฝ่ายปัญจวัคคีย์ซึ่งมีโกณฑัญญะเป็นหัวหน้าสำคัญว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรแล้ว จึงหมดความเลื่อมใส เกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์เสีย ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ


เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้ว ทรงดำริหาคนที่จะรับพระธรรมเทศนา นาทีแรกในชั้นต้นทรงระลึกถึงอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตร ซึ่งพระองค์ได้เคยไปพำนักอาศัยศึกษาในลัทธิของท่าน แต่ท่านทั้ง ๒ ได้สิ้นชีพไปก่อนแล้ว ในลำดับนั้นทรงระลึกถึงพวกปัญจวัคคีย์ภิกษุทั้ง ๕ ที่เคยอุปัฏฐากพระองค์มา ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ


ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล เข้าใจว่าพระองค์เสด็จมาเพื่อแสวงหาผู้อุปัฏฐาก จึงได้ทำกติกานัดหมายกันว่า พระสมณโคดมนี้คลายจากความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากแล้ว เสด็จมา ณ บัดนี้ พวกเราทั้งหลายไม่พึงไหว้ไม่พึงลุกขึ้นต้อนรับ และไม่พึงรับบาตรและจีวรของพระองค์เลย ก็แต่ว่าพึงแต่งตั้งอาสนะที่นั่งไว้ ถ้าพระองค์ปรารถนาก็จักประทับนั่ง ฯ


ครั้นพระองค์เสด็จเข้าไปถึงแล้ว อาศัยความเคารพที่เคยประพฤติต่อพระองค์ มาบันดาลให้ลืมกติกาการนัดหมายที่ทำกันไว้เสีย พร้อมกับลุกขึ้นต้อนรับและทำสามีจิกรรมดังที่เคยทำมา แต่ยังแสดงกิริยากระด้างกระเดื่อง พูดกับพระองค์ด้วยถ้อยคำไม่เคารพ พระองค์ตรัสห้ามเสีย และตรัสบอกว่า เราได้ตรัสรู้อมฤตธรรมโดยชอบเองแล้ว ท่านทั้งหลายคอยตั้งใจฟังเถิด เราจะแสดงให้ฟัง เมื่อท่านทั้งหลายตั้งใจประพฤติตามที่เราสั่งสอนแล้ว ไม่ช้าก็จักบรรลุอมฤตธรรมนั้น ฯ


เธอเหล่านั้นกล่าวคัดค้านพระองค์ถึง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งว่า พระองค์คลายจากความเพียรเสียแล้ว ไฉนจะบรรลุอมฤตธรรมได้เล่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนให้เธอทั้งหลายระลึกถึงกาลหนหลังว่า ท่านทั้งหลายได้ยินได้ฟังบ้างหรือว่า วาจาเช่นนี้เราได้เคยพูดแล้วในกาลก่อน ฯ ภิกษุปัญจวัคคีย์ระลึกขึ้นได้ว่า พระวาจาเช่นนี้พระองค์ไม่เคยตรัสเลย จึงพากันตั้งใจฟังพระธรรมเทศนา ที่พระองค์จะตรัสเทศนาสั่งสอนสืบต่อไป


สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสพระปฐมเทศนา ประกาศพระสัมมาสัมโพธิญาณแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ซึ่งมีนามว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรฯ ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ ดวงตาคือปัญญาอันเห็นธรรมได้บังเกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา”


ธรรมจักษุในที่นี้ได้แก่ พระโสดาปัตติมรรค เรียกท่านผู้ที่ได้บรรลุว่า พระโสดาบัน ฯ (เมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ท่านโกณฑัญญะได้เห็นธรรมแล้ว แต่ยังติดขันธ์ ๕ อยู่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ มิได้ถามขันธ์ ๕ ต่อพระองค์ เพราะทราบอยู่แล้ว อาทิ ท่านอัญญาโกณฑัญญะ พระองค์ทรงเปล่งพระอุทานว่า ยังติดขันธ์ ๕ อยู่ ก็หลุดพ้นจากขันธ์ ๕ ในเวลาต่อมา  


และในหนังสือเล่มนี้ไม่ปรากฏเรื่องขันธ์ ๕ จึงมีความประสงค์จะให้ผู้สนใจอ่านศึกษา จึงเอาเรื่องที่พระองค์ตรัสสอนภิกษุสงฆ์ที่มาห้อมล้อมพระองค์ ในเวลากลางคืนวันเพ็ญ ขณะเมื่อพระองค์ประทับอยู่ที่บุพพารามวิหารในเรื่องขันธ์ ๕ มาให้ทราบโดยย่อว่า


ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย เธอควรเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณทั้งสิ้น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา


นี่แหละภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายความยินดี เมื่อคลายความยินดีก็หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็รู้ว่าหลุดพ้น รู้ว่าสิ้นความเกิดแล้ว สำเร็จพรหมจรรย์แล้ว ได้ทำสิ่งที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีสิ่งอื่นที่จะต้องทำอีกแล้ว


ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็ชื่นชมยินดี ขณะที่ตรัสอยู่นั้นภิกษุ ๖๐ องค์ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต) จึงเปล่งอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ” แปลว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ๆ เพราะอาศัยคำว่า “อญฺญาสิ” จึงได้คำนำหน้านามของท่านว่า “อัญญาโกณฑัญญะ” ตั้งแต่กาลนั้นมา ฯ


อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้ว จึงได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุด้วยพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด” พระวาจานั้นย่อมสำเร็จเป็นอุปสมบทของท่าน


การอุปสมบทอย่างนี้เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา ฯ ผู้ได้รับพระพุทธานุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาเช่นนี้เรียกว่า เอหิภิกษุ ฯ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับพระพุทธานุญาตเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ด้วยพระวาจาเช่นนั้นเป็นองค์แรก ฯ จำเดิมแต่นั้นมา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอนท่านทั้ง ๔ ที่เหลือจากนั้นด้วยปกิณณกเทศนาให้ได้ดวงตาเห็นธรรม และรับให้เป็นพระภิกษุด้วยพระวาจาเช่นเดียวกัน ฯ


ในลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสเทศนาเป็นทางอบรมวิปัสสนาเพื่อวิมุตติ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันมีนามว่า “อนัตตลักขณสูตร” ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา จิตของท่านทั้ง ๕ ก็หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปทาน ท่านได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ ประพฤติจบพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้


ในคราวที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงส่งสาวกไปประกาศศาสนาคราวแรก ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ช่วยเป็นกำลังประกาศพระศาสนาองค์หนึ่ง แต่มิได้ปรากฏว่าไป ณ แว่นแคว้นแดนตำบลใด สันนิษฐานได้ว่า ท่านไปบ้านพราหมณ์ ชื่อว่า โทณวัตถุ แขวงกรุงกบิลพัสดุ์ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่าน เพราะมีหลักฐานที่ท่านพาปุณณมานพผู้เป็นหลาน บุตรนางมันตานีซึ่งเป็นน้องสาวของท่านเข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ฯ (จะพามาบวชในคราวนี้หรือคราวไหน ขอนักธรรมวินัยใคร่ครวญเถิด) ฯ


ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดาว่า เป็นยอดเยี่ยมกว่าภิกษุทั้งหลายผู้รัตตัญญู แปลว่า “ผู้รู้ราตรี” หมายถึง ท่านเป็นผู้เฒ่าอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้านไม่มีความสบาย จึงได้ถวายบังคมลาสมเด็จพระบรมศาสดาไปอยู่ที่ป่า พระคันถรจนาจารย์กล่าวว่าฉัททันต์ ประมาณได้ ๑๒ ปี ได้ดับขันธปรินิพพาน ณ ที่นั่น ก่อนพุทธปรินิพพาน ฯ


4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 11:04 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๒

ประวัติพระวัปปเถระ

3.png



ท่านพระวัปปะ เป็นบุตรพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ คราวเมื่อพระมหาบุรุษประสูติใหม่ พราหมณ์ผู้บิดาของท่านได้ถูกเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพระราชพิธีทำนายพระลักษณะ ได้เห็นพระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ จึงมีความเคารพในพระองค์เป็นอันมาก แต่ไม่มีความหวังในการที่จะเห็นพระองค์ ในเมื่อจะถึงคราวเป็นเช่นคำพยากรณ์ จึงได้สั่งบุตรของตนไว้ว่า เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ออกบวชติดตามเมื่อนั้น

ครั้นเมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชแล้ว และกำลังบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ท่านพระวัปปะพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า จึงพากันออกบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษ คอยอยู่เฝ้าปฏิบัติทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าพระองค์ได้บรรลุธรรมใด จักทรงสั่งสอนให้ตนได้บรรลุธรรมนั้นบ้าง ฯ

เมื่อเห็นพระองค์ทรงละทุกกรกิริยาที่ทรงประพฤติมาแล้วเป็นเวลา ๖ ปี จึงมีความเห็นร่วมกันว่า พระองค์คลายความเพียรเวียนมาเพื่อความเป็นผู้มักมากในกามคุณเสียแล้ว คงจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหนึ่ง จึงมีความเบื่อหน่ายคลายความเคารพนับถือ พากันไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ

เมื่อพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรทางใจได้ตรัสรู้แล้ว จึงเสด็จไปโปรดประทานพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนาในวันเพ็ญแห่งเดือนอาสาฬหะ ฯ

ในลำดับนั้น ทรงตรัสปกิณณกเทศนา ในเมื่อจบเทศนานั้น ท่านพระวัปปะและภัททิยะ ได้ดวงตาเห็นธรรม* คือได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” ก็ได้สำเร็จพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคล

ท่านได้ช่วยเป็นกำลังพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาคราวแรกองค์หนึ่ง เมื่อท่านดำรงอายุอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

        
* ในอรรถกถาตติยสามนต์ แก้ว่า การได้ดวงตาเห็นธรรมของท่านทั้ง ๔ ต่อไปนี้ ไม่ได้พร้อมกัน ได้คนละวัน คือ วันปาฏิบท วันค่ำหนึ่ง ท่านพระวัปปะได้ดวงตาเห็นธรรม วันที่ ๒ ท่านภัททิยะ วันที่ ๓ ท่านพระมหานามะ วันที่ ๔ ท่านพระอัสสชิ วันที่ ๕ เป็นวันแสดงอนัตตลักขณสูตร ฯ

4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 11:39 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๓   

ประวัติพระภัททิยเถระ

3.png



ท่านพระภัททิยะ มีชาติภูมิอยู่ในเมืองกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นบุตรพราหมณ์คนหนึ่งในจำพวกพราหมณ์ ๑๐๘ คน เมื่อถูกเชิญเลี้ยงโภชนาหารในการพิธีทำนายพระลักษณะพระมหาบุรุษ ท่านได้ยินบิดาบอกเล่าให้ฟังว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้องตามมหาบุรุษลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ จึงมีความเคารพนับถือในพระองค์เป็นอันมาก  


เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า ดำริเห็นร่วมกันว่า บรรพชาของพระมหาบุรุษจักไม่เลวทรามเสื่อมเสียประโยชน์ คงจะอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย ดำริอย่างนี้แล้ว จึงพากันออกบวชติดตามเสด็จ คอยเฝ้าอุปัฏฐากทุกเช้าค่ำ ด้วยหวังว่าถ้าพระองค์ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้ว จักสั่งสอนตนให้บรรลุธรรมบ้าง ฯ

ครั้นเห็นพระองค์ทรงละทุกกรกิริยาที่ประพฤติมาแล้วเป็นเวลา ๖ ปี จึงมีความเบื่อหน่ายในการที่จะปฏิบัติต่อไป ด้วยเข้าใจว่าพระองค์กลายเป็นผู้มักมากคลายความเพียรเสียแล้ว เห็นจะไม่บรรลุธรรมวิเศษอันใดอันหนึ่ง จึงพากันละพระองค์เสีย ไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ


เมื่อพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดประทานพระธรรมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นปฐมเทศนา แต่หาได้สำเร็จมรรคผลอะไรเพราะเทศนานั้นไม่  

ต่อมาได้ฟังปกิณณกเทศนาที่พระองค์ตรัสสอน ท่านพร้อมด้วยพระวัปปะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ก็ทรงรับให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา


เมื่อมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว ได้ฟังพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” ในสำนักพระองค์ ในวันที่พระอรรถกถาจารย์กำหนดว่า แรม ๔ ค่ำ แห่งอาสาฬหะ ก็มีจิตพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ได้เป็นพระอรหันตขีณาสพ ประพฤติจบพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้

ท่านได้ช่วยเป็นกำลังพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาคราวแรกองค์หนึ่ง เมื่อท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 22:16 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๔   

ประวัติพระมหานามเถระ

3.png



ท่านพระมหานามะ เกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงกบิลพัสดุ์ ได้ยินพราหมณ์ผู้เป็นบิดาเล่าว่า พระมหาบุรุษมีพระลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ เพราะได้เห็นพระองค์ในครั้งถูกเชิญเลี้ยงโภชนาหารในการพิธีทำนายพระลักษณะ จึงได้มีความเคารพนับถือและเชื่อในพระองค์เป็นอันมาก ฯ

เมื่อพระมหาบุรุษออกทรงผนวชแล้ว ท่านพร้อมด้วยพราหมณ์อีก ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า พากันออกบรรพชาตามเสด็จ คอยปฏิบัติพระองค์อยู่ ต่อมาพระมหาบุรุษทรงเลิกการบำเพ็ญทุกกรกิริยา หันมาบำเพ็ญเพียรในทางใจ พวกท่านพากันเข้าใจว่าไม่บรรลุธรรมวิเศษเสียแล้ว จึงเกิดความเบื่อหน่าย พากันหลีกหนีพระองค์ไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ

ครั้นพระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปตรัสเทศนา
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดเป็นครั้งแรก และทรงตรัสปกิณณกเทศนาในวันเป็นลำดับไป ท่านได้สดับเทศนาทั้ง ๓ นั้น แต่ก็หาได้สำเร็จมรรคผลอันใดไม่

เมื่อได้สดับปกิณณกเทศนาในวาระที่ ๔ ท่านกับพระอัสสชิ ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ภายหลังได้ฟังเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” ก็ได้สำเร็จพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคล

ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในตอนปฐมโพธิกาล ท่านองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในจำนวนนั้น ได้ช่วยเป็นกำลังพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาในนานาชนบท สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อและความเสื่อมใส ได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัย ท่านดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png

บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 22:21 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๕   

ประวัติพระอัสสชิเถระ

3.png



พระอัสสชิ เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาลในกรุงกบิลพัสดุ์ พราหมณ์ผู้เป็นบิดา ได้เห็นพระมหาบุรุษมีลักษณะถูกต้องตามตำราลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ ในคราวที่ถูกเชิญเลี้ยงโภชนาหารในพิธีทำนายพระลักษณะของพระองค์ จึงได้มาบอกเล่าให้ท่านฟังและสั่งไว้ว่า

บิดาก็เฒ่าชราแล้ว เห็นจะไม่ทันเห็นพระองค์ ถ้าพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชเมื่อใด ให้ออกบวชตามเสด็จเมื่อนั้น ตั้งแต่นั้นมาท่านมีความเคารพนับถือและเชื่อในพระองค์มาก คอยให้ถึงสมัยเช่นนั้นอยู่

เมื่อพระมหาบุรุษเสด็จออกทรงผนวชแล้ว และทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ท่านได้ทราบข่าวจึงพร้อมด้วยพราหมณ์ ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า พากันออกบวชตามเสด็จ เฝ้าปฏิบัติอยู่ทุกเช้าค่ำ ตลอดเวลาที่พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี ยังไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใด ทรงทราบแน่ในพระทัยว่าไม่ใช่ทางพระโพธิญาณ จึงทรงเลิกทุกรกิริยานั้นเสีย ตั้งพระทัยบำเพ็ญเพียรในทางใจสืบไป ฯ

พวกท่านพากันเข้าใจว่า เห็นจะไม่ได้บรรลุธรรมพิเศษอันใดอันหนึ่งแน่นอน จึงเกิดความเบื่อหน่าย พากันละทิ้งพระองค์เสีย หลีกไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ

ครั้นพระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญเพียรทางใจได้ตรัสรู้แล้ว จึงเสด็จไปตรัสเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดเป็นปฐมเทศนา ในลำดับนั้นทรงตรัสปกิณณกเทศนา ท่านได้สดับเทศนานั้นพอเป็นเครื่องปลูกความเชื่อและความเลื่อมใสแต่หาได้สำเร็จมรรคผลอันใดไม่

ครั้นได้สดับปกิณณกเทศนาที่พระองค์ตรัสในวาระที่ ๒ ท่านกับพระมหานามะ ได้ดวงตาเห็นธรรม จึงได้ทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัย พระองค์ทรงรับให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ครั้นกาลต่อมา ได้ฟัง “อนัตตลักขณสูตร” ที่พระองค์ทรงแสดงในลำดับปกิณณกเทศนานั้น ท่านพร้อมด้วยพระภิกษุอีก ๔ รูป คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ ได้บรรลุเป็นพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลก่อนพระอริยสาวกทั้งหมด

ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาทรงส่งสาวกออกไปประกาศพระศาสนาในตอนปฐมกาล ท่านองค์หนึ่งซึ่งอยู่ในจำนวนนั้น ได้ช่วยเป็นกำลังพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาในนานาชนบท ปรากฏว่าท่านเป็นผู้เฉลียวฉลาด รู้จักประมาณตน ไม่โอ้อวดหรือเย่อหยิ่ง กิริยามารยาทเป็นที่น่าเลื่อมใส

ในเมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ในกรุงราชคฤห์ อุปติสสปริพาชก เดินมาแต่สำนักของปริพาชก ได้เห็นท่านเข้าเกิดความเลื่อมใส จึงขอให้ท่านแสดงธรรมให้ฟัง

ท่านกล่าวว่า ผู้มีอายุ เราเป็นคนใหม่ บวชยังไม่นาน เพิ่งมายังพระธรรมวินัย ไม่อาจแสดงธรรมแก่ท่านโดยกว้างขวาง เราจักกล่าวแก่ท่านโดยย่อพอรู้ความ แล้วท่านก็แสดงธรรมแก่อุปติสสปริพาชก ความว่า

“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระศาสดาทรงแสดงเหตุของธรรมนั้น และความดับแห่งธรรมนั้น พระศาสดาทรงสั่งสอนอย่างนี้” ฯ อุปติสสปริพาชกได้ฟังก็ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วท่านได้ชักนำให้ไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา

ภายหลังปรากฏว่า อุปติสสปริพาชกอุปสมบทในพระพุทธศาสนา มีนามว่า พระสารีบุตร เป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา จัดว่าท่านอัสสชิได้ศิษย์สำคัญองค์หนึ่ง ฯ ท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 22:40 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๖   

ประวัติพระยสเถระ

3.png



ท่านพระยสะ เป็นบุตรเศรษฐีในพระนครพาราณสี ซึ่งมีเรือน ๓ หลัง เป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู สมัยนั้นเป็นฤดูฝน ยสกุลบุตรอยู่ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มีสตรีล้วนประโคมดนตรีบำรุงบำเรออยู่ ไม่มีบุรุษเจือปน


ในคืนวันหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อน หมู่ชนที่เป็นบริวารหลับต่อภายหลัง มีแสงไปสว่างอยู่ ยสกุลบุตรเมื่อตื่นขึ้นเห็นหมู่ชนที่เป็นบริวารหลับมีอาการพิกลต่างๆ ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส ปรากฏแก่ยสกุลบุตรดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า

ครั้นยสกุลบุตรได้เห็นแล้วเกิดความสลด คิดเบื่อหน่าย จึงเปล่งอุทานออกมาว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” สวมรองเท้าเดินออกจากประตูเรือนไป แล้วออกจากประตูเมืองเดินตามทางที่จะไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

ในเวลานั้นจวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรเปล่งอุทานเดินมายังที่ใกล้ จึงตรัสเรียกว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง เชิญมาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน” ยสกุลบุตรได้ยินดังนี้ จึงถอดรองเท้าเดินเข้าไปถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง


พระบรมศาสดาตรัสเทศนา อนุปุพพิกถาฟอกจิตยสกุลบุตรให้ห่างไกลจากความยินดีในกามแล้ว และในที่สุดแสดงเทศนา อริยสัจ ๔ ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมพิเศษ ณ ที่นั่งนั้น ภายหลังพิจารณาภูมิธรรมที่ตนได้เห็นแล้ว จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฯ

ฝ่ายมารดาของยสกุลบุตร พอรุ่งเช้าก็ขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก จึงบอกแก่เศรษฐีผู้เป็นสามีให้ทราบ เศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาในทิศทั้ง ๔ ส่วนตนเองก็เที่ยวออกหาด้วย เผอิญเดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกตั้งอยู่ ณ ที่นั้น จึงตามเข้าไป


เมื่อเศรษฐีเข้าไปถึงแล้ว พระบรมศาสดาตรัสเทศนาอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ในที่สุดเทศนา เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ว่า

“ข้าพระพุทธเจ้าถึงพระองค์กับพระธรรมและภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระองค์จงจำข้าพระพุทธเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึกตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป” เศรษฐีนั้นได้เป็นอุบาสกอ้างเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก ฯ

เศรษฐีผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่ายสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว จึงขอให้กลับไปเพื่อให้ชีวิตแก่มารดา เพราะมารดาโศกเศร้าพิไรรำพันนัก ภายหลังทราบว่ายสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่ควรกลับไปครอบครองเรือนบริโภคกามคุณเหมือนแต่ก่อน จึงทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับพระยสะเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จรับบิณฑบาตในเวลาเช้า พระองค์ทรงรับด้วยพระอาการนิ่งอยู่ เศรษฐีทราบว่าทรงรับแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายอภิวาทกระทำประทักษิณแล้วหลีกไป


เมื่อเศรษฐีหลีกไปแล้ว ยสกุลบุตรทูลขออุปสมบท พระบรมศาสดาทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า “ท่านจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” ในที่นี้ไม่ได้ตรัสว่า “เพื่อจะทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ” เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วฯ

ครั้นเวลารุ่งเช้าวันนั้น พระบรมศาสดามีพระยสะเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จไปรับบิณฑบาตในเรือนเศรษฐี ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ แก่สตรีทั้ง ๒ คือ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ให้สตรีทั้ง ๒ นั้นได้เห็นธรรมแล้ว แสดงตนเป็นอุบาสิกาเกิดขึ้นในโลกก่อนกว่าหญิงอื่น ครั้นเสร็จภัตกิจ ได้ตรัสเทศนาสั่งสอนชนทั้ง ๓ แล้ว เสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ฯ

การอุปสมบทของพระยสะ นับว่าอำนวยประโยชน์ให้แก่ชนเป็นอันมาก เพราะท่านอุปสมบทเพียงองค์เดียว ยังเป็นเหตุชักจูงผู้อื่นเข้ามาอุปสมบทด้วย เช่น สหายของท่านอีก ๕๔ คน ที่ได้มาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาก็เพราะอาศัยท่าน ท่านได้ช่วยพระบรมศาสดาประกาศพระศาสนาตอนปฐมโพธิกาลองค์หนึ่ง ท่านดำรงอายุสังขารอยู่พอสมควรแก่กาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 22:46 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๗   

ประวัติพระวิมลเถระ

3.png



ท่านพระวิมละ เป็นบุตรของเศรษฐีในพระนครพาราณสี เป็นสหายที่สนิทและชอบพอของพระยสะ เมื่อพระยสะผู้เป็นสหายออกบวช แล้วท่านได้ทราบข่าว จึงคิดว่าพระธรรมวินัยที่พระยสะออกบวชนี้ จักไม่เลวทรามเป็นเสื่อมเสียจากประโยชน์เป็นแน่ คงจะเป็นธรรมวินัยอันประเสริฐ อำนวยประโยชน์สุขให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม

ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงไปชักชวนสหายอีก ๓ คน คือ สุพาหุ ปุณณชิ ควัมปติ พากันเข้าไปหาพระยสะบอกความประสงค์ในการมาของตนๆ ให้ท่านทราบ พระยสะจึงพาท่านพร้อมด้วยสหาย ๓ คน ไปเฝ้าสมเด็จพระบรมศาสดา ทูลขอให้พระองค์ทรงสั่งสอนให้ได้บรรลุธรรมพิเศษและประทานอุปสมบทอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา และทรงสั่งสอนให้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคล ฯ


คราวเมื่อสมเด็จพระบรมศาสดาทรงส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนาในตอนปฐมโพธิกาล ท่านก็ได้ช่วยประกาศพระศาสนาในนานาชนบท สั่งสอนกุลบุตรให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใส ให้ได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัย เมื่อท่านดำรงชีพอยู่ถึงกาลกำหนดอายุขัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

pimnuttapa โพสต์เมื่อ 2011-6-7 22:50 |แสดงโพสต์ทั้งหมด

ตอนที่ ๘   

ประวัติพระสุพาหุเถระ

3.png



ท่านพระสุพาหุ เป็นบุตรของเศรษฐีสืบๆ กันมาในเมืองพาราณสี เป็นสหายกับท่านพระยสะ เมื่อได้ทราบข่าวว่ายสกุลบุตรออกบวชแล้ว จึงคิดว่าธรรมวินัยที่ยสกุลบุตรออกบวชนั้น จักไม่เลวทรามแน่แล้ว คงเป็นธรรมวินัยอันประเสริฐ อำนวยประโยชน์สุขให้แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม

ครั้นคิดอย่างนั้นแล้ว จึงพร้อมด้วยสหายอีก ๓ คน คือ วิมละ ปุณณชิ ควัมปติ พากันเข้าไปหาท่านพระยสะ ไหว้แล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้งนั้นพระยสะจึงพาสหายเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอให้พระองค์ตรัสสั่งสอน

พระองค์ก็ตรัสสั่งสอนด้วยเทศนา อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ทรงรับให้เป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ลำดับนั้นทรงสั่งสอนปกิณณกเทศนาให้บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคล

ท่านได้ช่วยเป็นกำลังประกาศพระศาสนาตอนปฐมโพธิกาลองค์หนึ่ง เมื่อท่านดำรงชีพอยู่ถึงกาลกำหนดอายุขัยแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ฯ

4.png


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-10-4 18:15 , Processed in 0.312742 second(s), 16 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.