แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

 

   

ค้นหา
เจ้าของ: pimnuttapa
go

วัดถ้ำตับเตา ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ (รอยพระพุทธหัตถ์ , พระเกศาธาตุ) [คัดลอกลิงค์]

Rank: 8Rank: 8

DSC01263.JPG



IMG_0449.JPG



IMG_0455.JPG



หินงอกหินย้อย ภายใน ห้องโถงส่วนลึกสุดที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์นิ่ม ภายใน ถ้ำมืด (ถ้ำลอดบาป) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ



DSC01247.JPG



IMG_0448.JPG



IMG_0458.JPG



IMG_0459.JPG



หินงอก ภายใน ห้องโถงส่วนลึกสุดที่ประดิษฐานพระธาตุเจดีย์นิ่ม ถ้ำมืด (ถ้ำลอดบาป) วัดถ้ำตับเตา ค่ะ


DSC01276.JPG



หลังจากเรากราบนมัสการพระธาตุเจดีย์นิ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็เดินย้อนกลับออกจากถ้ำมืดทางเดิมค่ะ


การเดินทางมาวัดถ้ำตับเตา วันนี้ขอจบการเดินทางด้วยภาพป้ายคติธรรมภายในวัด และธรรมเทศนาจากพระโพธิญาณเถร ท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท จากองค์บรรยายธรรมเทศนา : ฉบับเหนือเวทนา โดยแม่ชีวัดถ้ำตับเตา แจกเป็นธรรมทาน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙ เลยนะคะ สวัสดีค่ะ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ภาพป้ายคติธรรม ภายใน วัดถ้ำตับเตา



DSC00973.JPG



ถ้าไม่มีคำว่า “อุปสรรค”

ก็จะไม่รู้จักคำว่า “พยายาม”

…………………………..



DSC00983.JPG



•   ปุถุชนผูกพันกันด้วย ผลประโยชน์

•   นักปราชญ์ผูกพันกันด้วย ความรู้และน้ำใจ

•   กัลยาณมิตรผูกพันกันด้วย คุณธรรม

…………………………..



IMG_0551.JPG



ป่าไม้ให้ร่มเงา

ทั้งบรรเทาอุทกภัย

ช่วยกันรักษาไว้

และปลูกใหม่ให้ร่มเย็น

…………………………..



IMG_0552.JPG



“ แดดร้อนจ้าถ้าเราเข้าร่มไม้

ความร้อนไซร้เสื่อมลดสดชืนสม

ทุกข์ร้อนรุ่มสุมกายใจระทม

เข้าสู่ร่มพระธรรมฉ่ำชื่นใจ ”

…………………………..



IMG_0555.JPG



สิ่งที่มากระทบน้ำ        ทำให้เกิดคลื่นฉันใด

สิ่งที่มากระทบใจ        ก็ทำให้เกิดทุกข์ฉันนั้น

…………………………..



IMG_9898.JPG



อารมณ์ที่น่าสงสารที่สุด

คือ การทำตนให้ต่ำลง

…………………………..



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ภาพป้ายคติธรรม ภายใน วัดถ้ำตับเตา



IMG_9931.JPG



จิตเหมือนนก


แม้นกจะมีปีกที่สามารถบินอยู่ในอากาศได้ แต่ก็มิอาจจะดำรงชีพอยู่ในความเวิ้งว้างเช่นนั้นได้ตลอดไป นกจึงต้องบินแล้วลงเกาะกิ่งไม้บางขณะจากกิ่งโน้นสู่กิ่งนี้ ...จิตก็เช่นกันที่มิอาจจะดำรงตนอยู่ได้โดยไร้ที่เกาะ ฉะนั้นจิตจึงใช้อารมณ์ที่ดีและหลีกเลี่ยงมิให้จิตต้องจับเกาะอยู่กับอารมณ์ชั่วร้ายอันเป็นเหตุที่ทำให้จิตเศร้าหมองสูงสุด แม้นกจะไม่อาจดำรงตนอยู่ในความเวิ้งว้างได้ แต่อาริยะชนสามารถที่จะสร้างความว่างอันปราศจากความยึดมั่น (ต่ออารมณ์ดีและอารมณ์ร้าย) ให้เป็นที่เกาะสุดท้ายของจิตได้

ฐิตสาโร  ภิกขุ


…………………………..



IMG_0554.JPG



โรงแรมใจ


โรงแรมคือ เรือนพักของผู้สัญจร ที่อาศัยพักผ่อนเพียงชั่วคราวแล้วก็จากหาย คนแล้วคนเล่า ผู้เป็นเจ้าของ(โรงแรม) จึงไม่ควรยึดติดต่อผู้อาศัยเหล่านั้น จิตก็เช่นกัน...เป็นเสมือนที่พักผ่อนของอารมณ์หลากหลาย อันมี ความรัก ความเกลียด ความโลภ โกรธ หลง และความสุข ความทุกข์ ฯลฯ เป็นดั่งผู้พักอาศัย ที่หมุนเวียนเปลี่ยนกันเข้าออกในห้องหัวใจอยู่ตลอดเวลา

ฉะนั้นผู้มีสติรู้เท่าทัน จึงไม่ยึดมั่นกับอารมณ์ที่ผ่านพักเพียงชั่วคราวเหล่านั้น เพราะรู้ว่ามันต้องเกิดๆ ดับๆ โดยธรรมชาติอยู่เช่นนั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครสามารถเก็บกักอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใดไว้ในห้องใจได้ตลอด จึงมักมีอารมณ์รักแทรกผ่านเข้ามาพักหลังจากความเกลียดโกรธได้ผ่านพ้นไปแล้วเสมอ

ฐิตสาโร  ภิกขุ



บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

IMG_0001.jpg




องค์บรรยายธรรมเทศนา : ฉบับเหนือเวทนา



(แหล่งที่มา : พระโพธิญาณเถร ท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท. หนังสือธรรมะ “องค์บรรยายธรรมเทศนา : ฉบับเหนือเวทนา”. โดยแม่ชีวัดถ้ำตับเตา แจกเป็นธรรมทาน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙.)


ตอนที่ ๑


...คนที่ไม่รู้จักสุข  ไม่รู้จักทุกข์นั้น  ก็จะเห็น
ว่าสุขกับทุกข์นั้น  มันคนละระดับ  มันคนละราคากัน
ถ้าผู้รู้ทั้งหลายแล้ว  ท่านจะเห็นว่า  
สุขเวทนากับทุกขเวทนา  มันมีราคาเท่าๆ กัน

...พระพุทธองค์จึงให้หาที่พึ่ง  คือ  หาใจของเรา
ใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ  โดยมากคนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญ
ไปมองดูที่อื่นไม่สำคัญ  เป็นต้นว่า  กวาดบ้าน  ล้างจาน
ก็มุ่งความสะอาดล้างถ้วยล้างจานให้มันสะอาด
ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งความสะอาด  แต่ใจเจ้าของไม่เคยมุ่งเลย
ใจของเรามันเน่า  บางทีก็โกรธหน้าบูดหน้าเบี้ยวเท่านั้นแหละ
ก็ไปมุ่งแต่จานให้จานมันสะอาด  ใจของเราไม่สะอาดเท่าไรก็ไม่มองดู...

a1 (139) - Copy.gif




ตอนที่ ๒


อยู่กับงูเห่า



ขอให้คำขวัญแก่โยม ลูกศิษย์ใหม่ที่เดินทางจากลอนดอนมาพักอยู่ที่วัดหนองป่าพง ขอให้ทำความเข้าใจในธรรมะที่ได้ศึกษาแล้วที่วัดหนองป่าพงนี้ โดยย่อก็คือ ให้ปฏิบัติให้พ้นทุกข์ในวัฏฏสงสาร

ขอให้โยมจำไว้ในใจว่า อารมณ์ทั้งหลายนั้น จะเป็นอารมณ์ที่พอใจก็ตาม หรืออารมณ์ที่ไม่พอใจก็ตาม อารมณ์ทั้งสองอย่างนี้ มันเหมือนงูเห่า งูเห่ามันมีพิษมาก ถ้ามันฉกคนแล้วก็ทำให้ถึงแก่ความตายได้ อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี ทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า

วันนี้จึงขอให้โอวาทย่อๆ แก่โยม ขอให้เป็นผู้มีสติอยู่ทั้งกลางวันกลางคืน จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ให้นอนด้วยสติ นั่งด้วยสติ เดินด้วยสติ ยืนด้วยสติ จะพูดก็พูดด้วยสติ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีสติอยู่ด้วยทั้งนั้น

เมื่อมีสติแล้ว สัมปชัญญะความรู้ตัวมันก็จะเกิดขึ้นมา สติกับสัมปชัญญะเป็นของคู่กัน เมื่อทั้งสองอย่างนี้เกิดขึ้นพร้อมกันแล้ว ก็จะนำปัญญาให้เกิดตาม ทีนี้เมื่อมีทั้งสติสัมปชัญญะปัญญาแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่ตื่นอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนนั้น ไม่ใช่ธรรมะที่เพื่อฟังเฉยๆ หรือรู้เฉยๆ แต่เป็นธรรมะที่ต้องปฏิบัติ ต้องทำให้เกิดขึ้น ต้องทำให้มีขึ้นในใจของเราให้ได้ จะไปที่ไหนก็ให้มีธรรมะ จะพูดก็ให้มีธรรมะ จะเดินก็ให้มีธรรมะ จะนอนก็ให้มีธรรมะ จะทำอะไรๆ ก็ให้มีธรรมะทั้งนั้น คำว่า "มีธรรมะ" นี้ก็คือ จะทำอะไรก็ตาม จะพูดอะไรก็ตาม ให้ทำด้วยปัญญา ให้พูดด้วยปัญญา ให้นึกคิดด้วยปัญญา ผู้ใดมีสติสัมปชัญญะควบคู่กับปัญญาอยู่ตลอดเวลาแล้ว ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้พระพุทธเจ้าทุกเมื่อ

ดังนั้น แม้เมื่อโยมจากวัดหนองป่าพงนี้ไปแล้ว ก็จงเป็นผู้ปฏิบัติให้ธรรมะทั้งหลายมารวมอยู่ที่ใจ มองลงไปที่ใจ ให้เห็นสติ ให้เห็นสัมปชัญญะ ให้มีปัญญา เมื่อมีทั้งสามอย่างนี้แล้ว มันจะมีการปล่อยวาง รู้จักเกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ

ที่เรียกว่า "เกิดๆ ดับๆ" นี้คืออะไร คืออารมณ์ซึ่งมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ดับแล้วมันก็เกิดขึ้นมา ในทางธรรมะเรียกว่า การเกิดดับ มันก็มีเท่านี้ ทุกข์มันเกิดขึ้นแล้ว ทุกข์มันก็ดับไป ทุกข์ดับไปแล้ว ทุกข์ก็เกิดขึ้นมา นอกเหนือจากนี้ไปก็ไม่มีอะไร มีแต่ทุกข์เกิด แล้วทุกข์ก็ดับไป มีเท่านี้

เมื่อเห็นเช่นนี้แล้ว จิตของเราก็จะเห็นแต่การเกิดดับอยู่เสมอ เมื่อเห็นการเกิดดับอยู่เสมอ ทุกวัน ทุกเวลา ตลอดทั้งกลางวันตลอดทั้งกลางคืน ตลอดทั้งการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะเห็นได้ว่ามันไม่มีอะไรจริงๆ มีแต่เกิดดับอยู่เท่านี้เอง แล้วทุกอย่างมันก็จบอยู่ตรงนี้ เมื่อเห็นอารมณ์เกิดดับอย่างนี้อยู่เสมอไปแล้ว จิตใจก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเมื่อคิดไปแล้ว ก็ไม่มีอะไรมากมาย มันมีแต่การเกิดแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิด เกิดแล้วก็ดับ มันมีอยู่เท่านี้

ฉะนั้นเมื่อคิดแล้วก็ไม่รู้จะไปเอาอะไรกับมัน พอคิดได้เช่นนี้ จิตก็จะปล่อยวาง ปล่อยวางอยู่กับธรรมชาติ มันเกิดเราก็รู้ มันดับเราก็รู้ มันสุขเราก็รู้ มันทุกข์เราก็รู้ รู้แล้วไม่ใช่ว่าเราจะไปเป็นเจ้าของสุขนะ หรือเมื่อทุกข์ขึ้นมา เราก็ไม่เป็นเจ้าของทุกข์เหมือนกัน เมื่อไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์มันก็มีแต่การเกิดดับอยู่เท่านั้น ก็ปล่อยไปตามธรรมชาติของมันอย่างนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไร

อารมณ์ทั้งหลายที่ว่ามานี้ เหมือนกันกับงูเห่าที่มีพิษร้าย ถ้าไม่มีอะไรมาขวาง มันก็เลื้อยไปตามธรรมชาติของมัน แม้พิษของมันจะมีอยู่ มันก็ไม่แสดงออก ไม่ได้ทำอันตรายเรา เพราะเราไม่ได้เข้าไปใกล้มัน งูเห่าก็เป็นไปตามเรื่องของงูเห่า มันก็อยู่อย่างนั้น

ดังนี้ ถ้าหากเป็นคนที่ฉลาดแล้ว ก็จะปล่อยหมด สิ่งที่ดีก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชั่วก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ชอบใจก็ปล่อยมันไป สิ่งที่ไม่ชอบก็ปล่อยมันไป เหมือนอย่างเราปล่อยงูเห่าตัวที่มีพิษร้ายนั้น ปล่อยให้มันเลื้อยของมันไป มันก็เลื้อยไปทั้งพิษที่มีอยู่ในตัวมันนั่นเอง

ฉะนั้น คนที่ฉลาดแล้ว เมื่อปล่อยอารมณ์ก็ปล่อยอย่างนั้น ดีก็ปล่อยมันไป แต่ปล่อยอย่างรู้เท่าทัน ชั่วก็ปล่อยมันไป ปล่อยไปตามเรื่องของมันอย่างนั้นแหละ อย่าไปจับ อย่าไปต้องมัน เพราะเราไม่ต้องการอะไร ชั่วก็ไม่ต้องการ ดีก็ไม่ต้องการ หนักก็ไม่ต้องการ เบาก็ไม่ต้องการ สุขก็ไม่ต้องการ ทุกข์ก็ไม่ต้องการ มันก็หมดเท่านั้นเอง ทีนี้ความสงบก็ตั้งอยู่เท่านั้นแหละ

เมื่อความสงบตั้งอยู่แล้ว เราก็ดูความสงบนั้นแหละ เพราะมันไม่มีอะไรแล้ว เมื่อความสงบเกิดขึ้นความวุ่นวายก็ดับ พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านตรัสว่า นิพพานคือความดับ ดับที่ตรงไหน? ก็เหมือนไฟเรานั่นแหละ มันลุกตรงไหน มันร้อนตรงไหน? มันก็ดับที่ตรงนั้น มันร้อนที่ไหนก็ให้มันเย็นตรงนั้น ก็เหมือนกับนิพพานก็อยู่กับวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารก็อยู่กับนิพพาน เหมือนกันกับความร้อนกับความเย็น มันก็อยู่ที่เดียวกันนั่นเอง ความร้อนก็อยู่ที่มันเย็น ความเย็นก็อยู่ที่มันร้อน เมื่อมันร้อนขึ้น มันก็หมดเย็น เมื่อมันหมดเย็น มันก็ร้อน

วัฏฏสงสารกับนิพพานนี้ก็เหมือนกัน ท่านให้ดับวัฏฏสงสาร คือ ความวุ่น การดับความวุ่นวายก็คือการดับความร้อน ไฟทางนอกก็คือไฟธรรมดา มันร้อน เมื่อมันดับแล้วมันก็เย็น แต่ความร้อนภายในคือ ราคะ โทสะโมหะ ก็เป็นไฟเหมือนกัน ลองคิดดู เมื่อราคะความกำหนัดเกิดขึ้น มันร้อนไหม? โทสะเกิดขึ้นมันก็ร้อน โมหะเกิดขึ้นมันก็ร้อน มันร้อน ความร้อนนี่แหละที่ท่านเรียกว่าไฟ เมื่อไฟมันเกิดขึ้นมันก็ร้อน เมื่อมันดับมันก็เย็น ความดับนี่แหละคือนิพพาน

นิพพานคือสภาวะที่เข้าไปดับซึ่งความร้อน ท่านเรียกว่า สงบ คือดับซึ่งวัฏฏสงสาร วัฏฏสงสารคือความเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างนั้น เมื่อถึงนิพพานแล้ว ก็คือการเข้าไปดับซึ่งความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง อันนั้น เรียกว่า การดับราคะ ดับโทสะ ดับโมหะ ก็ดับที่ใจของเรานั่นแหละ คือใจถึงความสงบ

ในความสงบนั้น สุขก็ไม่มี ทุกข์ก็ไม่มี แต่มนุษย์เรานั่นแหละจะอดสุขไม่ได้ เพราะเห็นว่าความสุขเป็นยอดของชีวิตแล้ว แม้พระนิพพานก็ยังมาว่าเป็นความสุขอยู่ เพราะความคุ้นเคย ตามเป็นจริงแล้ว เลิกสิ่งทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นความสงบ

เมื่อโยมกลับบ้านแล้วขอให้เปิดเทปธรรมะนี้ฟังอีก จะได้มีสติ เมื่อโยมมาอยู่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ โยมร้องไห้ เมื่ออาตมาเห็นน้ำตาของโยม อาตมาก็ดีใจ ทำไมจึงดีใจ? ที่ดีใจก็เพราะว่า นี่แหละ โยมจะได้ศึกษาธรรมะที่แท้จริงละ ถ้าน้ำตาไม่ออกก็ไม่ได้เห็นธรรมะ เพราะน้ำนี้เป็นน้ำไม่ดี ต้องให้มันออกให้หมด มันถึงจะสบาย ถ้าน้ำนี้ไม่หมด ก็จะไม่สบาย มันก็จะเป็นอยู่อย่างนี้ อยู่เมืองไทยก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้ กลับไปกรุงลอนดอนก็จะร้องไห้อีก มีชีวิตอยู่ก็จะร้องไห้อยู่อย่างนี้แหละ เพราะน้ำนี้มันเป็นน้ำกิเลส เมื่อทุกข์ก็บีบน้ำนี้ให้ไหลออกมา เมื่อสุขมากก็บีบน้ำนี้ออกมาอีกเหมือนกัน ถ้าหมดน้ำนี้เมื่อใดก็จะสบาย ถ้าโยมทำได้ โยมก็จะมีแต่ความสงบ ความสบาย

ขอให้โยมรับธรรมะนี้ไปปฏิบัติ ไปปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ให้มันตายก่อนตาย มันถึงสบาย มันถึงสงบ

ขอให้โยมมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมะให้พ้นจากวัฏฏสงสาร.


...ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามีอยู่เป็นอยู่นั้น

มันเป็นสักแต่ว่า “อาศัย” เท่านั้น ถ้ารู้ได้เช่นนี้ ท่านว่ารู้เท่าตามสังขาร

ทีนี้แม้จะมีอะไรอยู่ก็เหมือนไม่มี ได้ก็เหมือนเสีย เสียก็เหมือนได้...


...อารมณ์นี้ก็เหมือนกับงูเห่าที่มีพิษร้ายนั้น

อารมณ์ที่พอใจก็มีพิษมาก อารมณ์ที่ไม่พอใจก็มีพิษมาก

มันทำให้จิตใจของเราไม่เป็นเสรี ทำให้จิตใจไขว้เขวจากหลักธรรมของพระพุทธเจ้า...  




บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html

Rank: 8Rank: 8

ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
        •  วัดถ้ำตับเตา ม.๑๓ ต.ศรีดงเย็น อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่  
        •  แม่ชี วัดถ้ำตับเตา
        •  พระโพธิญาณเถร ท่านเจ้าประคุณหลวงพ่อชา สุภัทโท. หนังสือธรรมะ “องค์บรรยายธรรมเทศนา : ฉบับเหนือเวทนา”. โดยแม่ชีวัดถ้ำตับเตา แจกเป็นธรรมทาน เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๙.
        •  นาคฤทธิ์ รวบรวมชำระสะสาง (๒๕๔๐-๒๕๔๕). (๒๕๔๕, ๑ ตุลาคม). พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับชำระสะสาง (พิมพ์ครั้งที่ ๑). เชียงใหม่: ลานนาการพิมพ์, หน้า ๓๔-๓๕.
        •  หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูปิยธรรมภาณี (ศรีมูล ปิยธัมโม) คณะศิษยานุศิษย์ วัดพระธาตุจอมแตง รวบรวม ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐.
        •  ประวัติ พระครูวรเวทย์วิสิฐ (ครูบาธรรมชัย  ธมฺมชโย) วัดทุ่งหลวง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ตอนที่ ๑๓-๑๖. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :  http://www.dharma-gateway.com/mo ... a-chai-hist-01.htm. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙))
        •   และทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวทำบุญครั้งนี้

หมายเหตุ   
ถ้าหากข้าพเจ้าพบข้อผิดพลาดจากภาพที่ลงบอร์ดไปเรียบร้อยแล้วว่าไม่ตรงกับข้อมูลที่ถูกต้องในภายหลัง หรือพบว่าสถานที่นั้นมีโบราณวัตถุ โบราณสถาน ฯลฯ ที่สำคัญแต่ยังไม่ได้นำมาลงบอร์ด ข้าพเจ้าขออนุญาตนำภาพหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถานที่นั้นนำมาลงบอร์ดเพิ่มเติมในภายหลัง เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระศาสนาสืบต่อไป และขออภัยในความบกพร่องต่างๆ ในฐานะปุถุชนที่ย่อมทำผิดและถูกสลับกันไป หวังว่าสมาชิกและท่านผู้อ่านทุกท่านจะให้อภัยในความบกพร่องทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย

ถ้าหากสมาชิกท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดพระธาตุหรือรอยพระพุทธบาทที่ลงบอร์ดนี้เรียบร้อยแล้ว สามารถโพสข้อมูลเพิ่มเติมนั้นต่อจากบอร์ดข้างล่างนี้ได้เลย เพื่อประโยชน์สูงสุดในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญเป็นอย่างสูงสำหรับธรรมทาน


บันทึกของมิรา : http://www.dannipparn.com/forum-36-1.html
‹ ก่อนหน้า|ถัดไป

สมาชิกที่เพิ่งอ่านหัวข้อนี้

คุณต้องเข้าสู่ระบบก่อนจึงจะสามารถตอบกลับ เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

แดนนิพพาน ดอท คอม

GMT+7, 2024-4-19 20:49 , Processed in 0.087796 second(s), 15 queries .

Powered by Discuz! X1.5

© 2001-2010 Comsenz Inc. Thai Language by DiscuzThai! Team.