แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน"

ชื่อกระทู้: ธรรมะสำหรับผู้ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์และสานุศิษย์พระโพธิสัตว์ ; หลวงปู่ทวด [สั่งพิมพ์]

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 03:53     ชื่อกระทู้: ธรรมะสำหรับผู้ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์และสานุศิษย์พระโพธิสัตว์ ; หลวงปู่ทวด

9.2.jpg



ธรรมะสำหรับผู้ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์

และสานุศิษย์พระโพธิสัตว์ ; หลวงปู่ทวด



ข้าพเจ้าได้คัดลอกหนังสือธรรมะ เทศน์โดย สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ ฉายา หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) จากหนังสือ "ธรรมะจากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด): ชุดการดำเนินตามแนวพระโพธิสัตว์" รวบรวมโดย เกหลง พานิช


ซึ่งเป็นหนังสือที่ผู้รวบรวมได้รวบรวมมาจากพระธรรมเทศนา ซึ่งดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ ฉายา หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด) ทรงเสด็จมาเทศน์โปรดสัตว์ในอดีตไว้ที่สำนักปู่สวรรค์


โดยผ่านร่างของมนุษย์ผู้เคยมีกรรมพัวพันและชาตินี้ครองชีวิตอย่างสะอาดดั่งผู้ทรงศีลที่ดี (อาจารย์สุชาติ โกศลกิติวงศ์ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔ ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว ฉายาว่า "อริยวังโสภิกขุ" และบำเพ็ญอยู่อย่างสงบในป่า ปัจจุบันท่านมรณภาพแล้ว เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๘) มีนื้อหาทั้งหมด ๕๕ ตอน


คำเทศน์เหล่านี้ก็ได้บันทึก วัน เดือน ปี ไว้ เรียกว่าเป็นเรื่องของวิญญาณมาทำงาน ท่านจะเชื่อว่าหลวงปู่ทวดมาเทศน์หรือไม่ เป็นสิทธิเสรีภาพของท่าน แต่ขอให้ท่านอ่านสำนวนโวหารของการโต้ตอบนั้น ผู้รวบรวมคิดว่า ไม่ใช่คนธรรมดาจะตอบได้ และใคร่ขอร้องท่านผู้อ่าน จงอ่านอย่างใจเป็นกลางก่อนที่จะลงความเห็น เชื่อหรือไม่เชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนหลักกาลามสูตรไว้ให้พิจารณา เราควรใช้หลักนั้นให้เป็นประโยชน์


คุณเกหลง พานิช ผู้รวบรวมเห็นว่า คำสอนเหล่านี้ไม่ควรเก็บไว้รับรู้เฉพาะกลุ่มสานุศิษย์เท่านั้น จึงได้รวบรวมให้โครงการธรรมไมตรีดำเนินการจัดพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

และถึงแม้ว่าเว็บแดนนิพพานจะก่อตั้งขึ้นมา เพื่อผู้ปรารถนาพระนิพพาน แต่ยังมีอีกหลายท่านที่ตั้งใจปรารถนาพระโพธิญาณหรือเป็นพระโพธิสัตว์และสานุศิษย์พระโพธิสัตว์ ข้าพเจ้าหวังว่าเนื้อหาบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ปรารถนาพระนิพพาน พุทธภูมิหรือพระโพธิสัตว์ และสานุศิษย์ของพระโพธิสัตว์ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบารมีและการทำงานช่วยกันโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์


ขอให้ทุกท่านที่มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ จงประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์ มีความสุขความเจริญ ขอให้ดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด


o5.png



  ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
         เกหลง พานิช. ธรรมะจากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด): ชุดการดำเนินตามแนวพระโพธิสัตว์ เล่ม ๑-๔. กรุงเทพฯ: บริษัท สามวิจิตรเพรส จำกัด, พฤศจิกายน ๒๕๔๖.

(แก้ไขข้อมูลล่าสุด : 8 พฤษภาคม 2566)



รูปภาพที่แนบมา: 9.2.jpg (2023-5-8 13:40, 97.95 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTF8ZGEzNzdmNzR8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: o5.png (2023-6-8 09:10, 4.01 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 1
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzMxMjV8NDllY2YyZWR8MTcxNDcyNDUyNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 04:01

สารบัญ



หลักของพระพุทธศาสนา


สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ ฉายา หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)


สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี


เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ

๑.   
สำนักปู่สวรรค์และอุดมการณ์ ๑๐ ประการ


๒.   ปณิธาน ๘ ประการของพระโพธิสัตว์


๓.   จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ


๔.   สังคมพระโพธิสัตว์


๕.   การดำเนินงานตามแนวพระโพธิสัตว์


๖.   น้ำใจพระโพธิสัตว์


๗.   พรของพระโพธิสัตว์


๘.   พระโพธิสัตว์


๙.   สัจจบารมี

๑๐.  ความแน่วแน่


๑๑.  อารมณ์ของสตรีในการทำงานใหญ่


๑๒.  ความเงียบที่น่ากลัว


๑๓.  ความยิ่งใหญ่อันแท้จริง


๑๔.  ธรรมะเพื่อสันติสุข


๑๕.  การบูชาครู


๑๖.  โลกนี้ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าใคร


๑๗.  การเป็นผู้ใหญ่กับกรรมตามสนอง


๑๘.  สังคมของมนุษย์


๑๙.  ตามรอยองค์สมณโคดม


๒๐.  ความสามัคคี


๒๑.  การทำบุญ


๒๒.  ทางสามแพร่ง


๒๓.  กฎแห่งอนัตตา


๒๔.  วิบากกรรมของประเทศ


๒๕.  ระวังภัย


๒๖.  ชิงลูกตะกร้อ


๒๗.  สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับความอยู่รอดของประเทศ


๒๘.  พุทธภาวะ พุทธภาระ


๒๙.  งานพิทักษ์เอกราชและศาสนา


๓๐.  มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ


๓๑.  การเสียสละเพื่อส่วนรวม


๓๒.  คำอนุโมทนาของหลวงปู่ทวด


๓๓.  ชีวิตของนักพรต


๓๔.  มองกันคนละมุม


๓๕.  หลักการทำงานใหญ่


๓๖.  การปรับปรุงงาน


๓๗.  สิ่งอัศจรรย์ของโลก


๓๘.  ขันติบารมี


๓๙.  การเสวยกรรม


๔๐.  คนเสียสละอย่างแท้จริง


๔๑.  เตรียมตน


๔๒.  เมื่อเกิดเป็นมนุษย์


๔๓.  งานดุลกรรมระดับโลก


๔๔.  สันดานมนุษย์


๔๕.  ความวุ่นวายเกิดจากจิต


๔๖.  ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว


๔๗.  การเป็นอยู่ของโลกวิญญาณ


๔๘.  สำนึกบุญคุณครู


๔๙.  การเป็นผู้นำที่ดี


๕๐.  อุเบกขาบารมี


๕๑.  การทำงานย่อมมีอุปสรรค


๔๒.  สันติเจดีย์


๕๓.  การอุทิศตนเพื่อสันติภาพ


๕๔.  งานพลิกประวัติศาสตร์โลก


๕๕.  โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่ความสลาย

ปริศนาธรรมหลวงปู่ทวด

IMG_5095-removebg-preview.1.png



ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ :


ตอนที่ 1 - 7

http://www.dannipparn.com/thread-72-1-1.html


ตอนที่ 8 - 17

http://www.dannipparn.com/thread-72-2-1.html


ตอนที่ 18 - 27
http://www.dannipparn.com/thread-72-3-1.html


ตอนที่ 28 - 37

http://www.dannipparn.com/thread-72-4-1.html


ตอนที่ 38 - 47

http://www.dannipparn.com/thread-72-5-1.html


ตอนที่ 48 - 55

http://www.dannipparn.com/thread-72-6-1.html




รูปภาพที่แนบมา: IMG_5095-removebg-preview.1.png (2023-1-24 17:58, 30.83 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzA5NTh8NGM1ODA5YjV8MTcxNDcyNDUyNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 04:12

wp2_800.jpg



หลักของพระพุทธศาสนา

pngegg.5.3.1.png



• การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ นี่เป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

• ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นประธาน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ

• ความเพ่งพินิจย่อมไม่มีแก่ผู้หาปัญญามิได้ ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เพ่งพินิจ ผู้ใดมีความเพ่งพินิจทั้งปัญญา ผู้นั้นย่อมอยู่ใกล้นิพพาน

• ขันธ์ห้านั้นเป็นภาระหนักแล คนเราเป็นผู้แบกภาระไว้ การรับภาระเป็นทุกข์หนักในโลก วางภาระเสียได้เป็นสุข หมดความปรารถนาแล้วนิพพาน



154628r2eihu25uyrrqa22.jpg



สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์

หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)

pngegg.5.3.2.png


พระคาถาบูชา


อิติ อิติ โพธิสัตว์



คติธรรมประจำใจ


พูดมาก   เสียมาก

พูดน้อย   เสียน้อย

ไม่พูด   ไม่เสีย

นิ่งเสีย   โพธิสัตว์


*********


ไม่ยึด  ไม่ทุกข์  ไม่สุข

ละได้ย่อมสงบ



DSC01098.1.jpg



สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

(หรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี)

pngegg.5.3.3.png



พระคาถาบูชา


นะโม โพธิสัตว์โต พรหมรังษี



ตักเตือนตนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

การเป็นคน  ให้เหมือนคน  

ต้องเป็นคน  ไม่ถือตน

เมื่อถือตน  ย่อมเป็นคน  ไม่ถึงตน


การเป็นคน  ต้องเป็นคน  ไม่หยามคน

เมื่อหยามคน  ย่อมถึงการ  เป็นพาลชน

อันพาลชน  ย่อมพาลคน  ทั่วทุกทิศ

เมื่อพาลคน  วาระจิต  ย่อมเศร้าหมอง


ถือทิฐิ  อกุศล  

วาระกรรม  วิบากขึ้น  

ย่อมสนอง  คนพาลเอย



6.jpg



เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ

เจ้าแห่งพิธีการของโลกวิญญาณ

(หัวหน้ารูปพรหม ๑๖ ชั้น ตำแหน่งผู้พิชิตมาร)

p4.png



พระคาถาบูชา


ชินนะปัญจะระ



พระโอวาทของเสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ


เกิดเป็นมนุษย์มีเวลาสั้นมาก ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และมีคุณค่าต่อตนเอง

เวลาที่ท่านเสียไปโดยใช่เหตุ เช่น นั่งนินทา และหัวเราะโดยไร้สาระ ควรจะให้มีคุณค่าต่อจิตวิญญาณของตนเอง

การจะทำงานเพื่อมนุษยชาตินั้น ต้องมีใจเด็ดเดี่ยว ยอมทนทุกข์เพื่อสุขในบั้นปลาย เรื่องส่วนรวมต้องมาก่อนเรื่องส่วนตัว งานนั้นก็สำเร็จได้



รูปภาพที่แนบมา: wp2_800.jpg (2023-1-17 14:45, 241.71 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzA3MDB8OThjZWRkNjZ8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: 6.jpg (2023-1-17 16:06, 98.99 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzA3MDh8NmU5ZTA1ZWR8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: 154628r2eihu25uyrrqa22.jpg (2023-1-22 18:41, 253.55 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzA4NTR8NTE1OWZiZGZ8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: DSC01098.1.jpg (2023-1-31 16:49, 98.23 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMDB8MDRmODg5YmF8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.1.png (2023-5-8 15:47, 9.52 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTV8N2M5N2E0NDJ8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.2.png (2023-5-8 15:47, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTZ8ZWQ4NWZmMjJ8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: pngegg.5.3.3.png (2023-5-8 15:47, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTd8Mzk5YTc1YTh8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: p4.png (2023-5-8 15:48, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTh8MWFkMjNmYWF8MTcxNDcyNDUyNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:05

S__31309826.jpg


ตอนที่ ๑

สำนักปู่สวรรค์และอุดมการณ์ ๑๐ ประการ



สำนักปู่สวรรค์


สำนักปู่สวรรค์ ตั้งขึ้นโดยมติของโลกวิญญาณ อันมีพรหมโลก เทวโลก และนรกโลก สำนักปู่สวรรค์โลกวิญญาณตั้งอยู่ที่สวรรค์ ชั้นที่ ๕ เป็นที่พำนักของบรมครูของสวรรค์ ปู่ครูที่สวรรค์ หรือพวกมีวิชาความรู้บนสวรรค์ เทพพรหมทุกชั้นฟ้าที่เป็นพวกที่มีวิชาความรู้ เขาเอาที่นั่นเป็นที่พบปะกันบนสวรรค์

โดยมี สมเด็จพระสังฆราชคูรูปาจารย์ (หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด) เป็นองค์ประธานดูแลโลกมนุษย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ทรงเป็นองค์อำนวยการ และเสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ ผู้พิชิตมาร หัวหน้ารูปพรหม ๑๖ ชั้น ทรงเป็นเจ้าแห่งพิธีการ ทั้ง ๓ พระองค์นี้ทรงเป็น “ท่านบรมครูสำนักปู่สวรรค์”

จึงเป็นการทำงานของโลกวิญญาณโดยตรง เพื่อช่วยสัตวโลกที่กำลังตกอยู่ในทะเลแห่งความบ้าคลั่งในยุคแห่งกลียุคนี้ สำนักปู่สวรรค์มีหน้าที่แก้ เรียกว่า มีหน้าที่ปิดทองก้นพระ


อุดมการณ์ ๑๐ ประการของสำนักปู่สวรรค์


๑. ช่วยบำบัดทุกข์ทั้งกายและใจให้ชนทุกชั้น
๒. ประหารกิเลสของมนุษย์ที่เห็นแก่ตัวให้เบาบางลง
๓. ทำลายความเชื่อที่งมงายหลงเข้าใจผิด
๔. ผดุงความเป็นธรรมของสังคม
๕. เทิดทูนพระมหากษัตริย์และสันติภาพเป็นสรณะ
๖. ส่งเสริมศาสนาให้ดีขึ้นทุกวิถีทาง
๗. ยินดีอุปถัมภ์นักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่หวังพระนิพพาน
๘. ร่วมมือกับผู้ปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์
๙. ส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมเข้าสู่จิตใจเยาวชน

๑๐. ยืนยันโลกหน้ามีจริง เพื่อไม่ให้มนุษย์ที่ทำบาปมากขึ้น




รูปภาพที่แนบมา: S__31309826.jpg (2023-1-17 17:39, 98.08 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzA3MTN8Yjc4MmIyZDZ8MTcxNDcyNDUyNXww


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:07

ตอนที่ ๒

ปณิธาน ๘ ประการของพระโพธิสัตว์



ปณิธาน ๘ ประการของพระโพธิสัตว์


๑. พระโพธิสัตว์จักต้องบำเพ็ญตนให้เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงสัตว์ โดยไม่ปรารถนารับผลตอบแทนใดๆ จากสัตว์ทั้งหลาย

๒. พระโพธิสัตว์สามารถเสวยสรรพทุกข์แทนสรรพสัตว์ได้ โดยมิย่นย่อท้อถอย


๓. พระโพธิสัตว์สร้างคุณงามความดีไว้มิประมาณเท่าไร ก็สามารถอุทิศให้แก่สัตว์ทั้งหลายได้ ไม่หวงแหนตระหนี่ไว้


๔. พระโพธิสัตว์ตั้งจิตอยู่ในสมถธรรมอันสม่ำเสมอในปวงสัตว์ ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ถ่อมตนไว้ไม่ลำพอง โดยปราศจากความขัดข้องใดๆ


๕. พระโพธิสัตว์เห็นพระโพธิสัตว์ทุกๆ องค์ ปานประหนึ่งเห็นพระพุทธองค์ อนึ่งพระสูตรใดที่ยังมิได้สดับตรับฟัง ครั้นได้มีโอกาสสดับตรับฟังแล้ว ก็ไม่บังเกิดความคลางแคลงกังขาอย่างไรในพระสูตรนั้นๆ


๖. พระโพธิสัตว์ไม่หันปฤษฏางค์ให้แก่ธรรมะของพระอรหันตสาวก แต่สมัครสมานเข้ากันได้กับธรรมะดังกล่าวนั้นๆ


๗. พระโพธิสัตว์ไม่เกิดความริษยาในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ผู้อื่น และไม่เกิดความหยิ่งทะนงในลาภสักการะอันบังเกิดแก่ตนเอง สามารถควบคุมจิตของตนไว้ได้


๘. พระโพธิสัตว์จักต้องหมั่นพิจารณาโทษของตนอยู่เป็นนิจ ไม่เที่ยวเพ่งโทษโพนทะนาโทษของผู้อื่น ตั้งจิตมั่นคงเด็ดเดี่ยวในการสร้างบารมีโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์

นี้แลชื่อว่าคุณธรรมอันเป็นคุณสมบัติ ๘ ประการของพระโพธิสัตว์ ผู้ใดปฏิบัติได้ตามนี้ ผู้นั้นก็จักได้เป็นพระโพธิสัตว์



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:08

ตอนที่ ๓

จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ



จริยธรรมของพระโพธิสัตว์ ๑๐ ประการ



๑. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (มีความเจ็บไข้หรือโรคภัยเป็นธรรมดา)

๒. พระโพธิสัตว์ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่า จะไม่มีภยันตราย (มีภัยอันตรายเป็นธรรมดา)


๓. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตให้บริสุทธิ์ (ย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา)


๔. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ (จะต้องมีมารขัดขวางการปฏิบัติโพธิจิตเป็นธรรมดา)

๕. พระโพธิสัตว์คิดว่าจะทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้ผลสำเร็จผลเร็ว (ปล่องวางเรื่องกาลเวลา ทำงานเพื่องาน)


๖. พระโพธิสัตว์คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้ผลประโยชน์จากเพื่อน (รักผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ)


๗. พระโพธิสัตว์ไม่ปรารถนาเลยว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอทุกอย่าง (ไม่มีความเห็นแก่ตัว)

๘. พระโพธิสัตว์ทำความดีแก่ผู้อื่น ไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน (ต้องการให้ผู้อื่นพ้นทุกข์)


๙. พระโพธิสัตว์เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะมีหุ้นส่วนด้วย (ไม่ปรารถนาในลาภและสรรเสริญ)


๑๐. พระโพธิสัตว์เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทาแล้ว ไม่ปรารถนาจะได้โต้ตอบหรือฟ้องร้อง (การใส่ร้ายป้ายสี ติเตียน นินทา เป็นธรรมดาของโลก)

ขอให้พิจารณาทบทวนดูให้ดี จริยธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นการปฏิบัติธรรมชั้นสูงของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เรียกว่า มหาอุปสรรค หรือเครื่องกีดขวางโพธิจิต คือ ผู้ปฏิบัติธรรมทั้งหลายหนีไม่พ้นสิ่งแวดล้อมที่ขัดขวางอย่างแน่นอน หากไม่รู้เท่าทันหรือเตรียมพร้อมไว้ก่อน ผู้ปฏิบัติธรรมจะท้อถอยหรือสูญเสียโอกาสไป



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:10

ตอนที่ ๔

สังคมพระโพธิสัตว์



เจริญพร

สานุศิษย์ทั้งหลาย วันนี้ได้มาพบกันอีกครั้งหนึ่ง เป็นการชุมนุมของ “ผู้เสียสละเข้ามาร่วมทำงาน” สังคมของฆราวาสในสายตาของคนภายนอกที่เรียกตนว่า “เจริญแล้ว” เขาก็จะเรียกพวกเรานี้เป็นพวกงมงายเป็นพวกบ้า


ทั้งนี้เราต้องคิดว่า  “การทำดีเพื่อส่วนรวมในสังคม” เป็นจุดสำคัญ เราจะต้องมีธรรมะเรียกว่า “ขันติ” และ “ทมะ” ต่ออุปทาน เพราะว่าในชีวิตแห่งการเป็นสัตวโลกที่ประกอบด้วยมนุษย์ “นานาจิตตัง” มนุษย์ส่วนมากถือดี อวดดี ยึดตน แล้วก็มีตัวอิจฉา ไม่อยากเห็นคนอื่นดีกว่าตนในสังคมปุถุชน

ในขณะนี้ เรากำลังจะสร้างสังคมใหม่ เพื่อให้มนุษย์ระลึกถึงนามธรรม และเตรียมตัวว่าตายแล้วไปไหน สังคมกลียุคเช่นนี้ มนุษย์มีตัวโลภ โกรธ และหลงครอบงำ ทีนี้ภาวะที่เราจะทำงาน จุดสำคัญเราจะต้องหนักแน่นและมีสติพร้อมในการวินิจฉัยเหตุการณ์ ข้อเท็จจริง และการที่จะเข้ามาสู่การทำงาน เพราะว่า สังคมปัจจุบันเต็มไปด้วย “สังคมลมปาก” พลังแห่งสังคมลมปากเช่นนี้ จึงเป็นสังคมที่

เราจะต้องมีสติพร้อมในการวินิจฉัยเหตุการณ์
เราจะต้องมีสติพร้อมในการวินิจฉัยความจริงเท็จ
เราจะต้องมีสติพร้อมในการที่จะเข้ามาสู่การทำงาน


ทีนี้จุดสำคัญในการทำงานมีอยู่อย่างหนึ่งคือ การทำงานใหญ่นั้นต้องประกอบด้วยคนมากหน้านานาบุคคล เขาเรียกว่า คนเรานี้สังขารเป็นอนิจจัง สังขารเคลื่อนสู่ความสลายแห่งกายเนื้อ และทุกคนมีความสามารถของตนไม่เหมือนกัน รวมทั้งทุกคนต่างก็มีความคิดไม่เหมือนกัน ทีนี้ภาวะแห่งการที่มนุษย์มีความสามารถไม่เหมือนกัน มีความคิดไม่เหมือนกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะต้องเกิดปัญหาขึ้น

เพราะฉะนั้นการทำงานกับคนทั้งหลายในหมู่มาก เราจะต้องใช้หลักวินิจฉัยให้ละเอียดและขจัดปัญหาในสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งเราเล็งเห็นเป็นสิ่งที่ร้ายให้ออกจากสมองและสังคมนั้นให้หมด ท่านจะต้องเข้าใจว่า จะต้องมีอารมณ์แห่งการกระทบของอายตนะทั้งภายนอกและภายใน ทำให้เราฟุ้งซ่านและตื่นเต้น


ทีนี้เราต้องอย่ามีความวิตกกลัวว่าจะเป็นอย่างนี้อย่างนั้น เราต้องถือว่าการทำดีต้องได้ดี ทำชั่วต้องได้ชั่ว เราต้องเป็นผู้ที่มีความสุขุมรอบคอบในการดูในการแลทั้งหลายที่เกิดขึ้น คือ เราต้องเข้าใจตามหลักพระพุทธศาสนาว่า

ภาวะทั้งหลายล้วนแต่มีเหตุผล
เหตุเกิดขึ้นต้องมีสมุฏฐาน
สมุฏฐานก่อให้เป็นปัจจัย


ฉะนั้นเราจะต้องมีสติพิจารณาถึงสมุฏฐาน ถึงเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้แต่เนิ่นๆ ภาวะแห่งสังคมของมนุษย์ซึ่งต่างคนต่างมีกรรมของตนเป็นจุดเสวย ประเทศก็มีกรรมของประเทศ บ้านก็มีกรรมของบ้าน ศาสนาก็มีกรรมของศาสนา เราทำงานเราตั้งปณิธานได้ แต่เราอย่ายึดปณิธานนั้นๆ ปุถุชนทำอะไรก็จะมีผิดมีถูกรวมกันไปในชีวิตแห่งการเสวยกรรมในโลกมนุษย์ ทีนี้จะทำอย่างไรจึงจะทำงานผิดน้อยที่สุด วิธีปฏิบัติคือ

เราจะต้องมีสติพร้อม
เราจะต้องไม่เกียจคร้าน
และรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและนำมาวินิจฉัยประกอบเรื่อง


เมื่อท่านมีองค์ประกอบเหล่านี้ครบแล้ว โครงสร้างของสังคมก็จะเจริญขึ้น สังคมนั้นๆ จะเข้าไปสู่ความหายนะยาก เพราะอะไรเล่า เพราะว่าเราอยู่ในสังคมที่ล้วนแต่มีผู้มีสติ ผู้ที่ร่วมในสังคมล้วนแต่ฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะเตือนให้รู้ว่า การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่งนั้น จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ


จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างขี้ฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วก็จะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงานในสัมมาอาชีวะแห่งการเลี้ยงตนชอบ นี่คือความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัยสี่

ฉะนั้นเมื่อองค์สมณโคดมมีสังขารอยู่ได้บำเพ็ญบารมีในโลกมนุษย์ มาเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งยุค ได้พิจารณาถึงเหตุและโดยปัจจัยในสิ่งที่จะพ้นกองทุกข์ได้ก็คือ ทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องเปลี่ยนแปลงตามภาวะกรรมวิบาก พระองค์ก็ได้วินิจฉัยว่า ในการที่จะให้เกิดช้าก็ดี ในการที่จะให้พบความสุขก็ดี ในการที่จะให้พ้นทุกข์ก็ดี มันอยู่ที่นามธรรม


ภาวะนามธรรม ได้มีอำนาจฌาน ญาณ ในด้านมีสติพิจารณาตนกำกับไว้ว่า ในระหว่างการเป็นคนนี้ จะต้องทำอะไรบ้าง หลังจากตายแล้วจะไปไหน สิ่งเหล่านี้ก็จะเตือนให้เราไม่ต้องมีทุกข์มาก การที่เราจะต้องไม่มีทุกข์มากนั้น

เราจะต้องรู้ว่า เรานี้ต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราจะต้องเป็นตัวของเราเอง และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเรา สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดเราไม่ควรทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานศาสนานั้น เป็นงานที่ยาก เป็นงานที่จะต้องใช้สมองและรับคำนินทาคำสรรเสริญมาก


สิ่งเหล่านี้ท่านทั้งหลายที่มีกรรมพัวพันกันมาในอดีต และได้เข้ามาร่วมในสังคม “ที่แหวกแนว” ในกลียุคเช่นนี้ ก็คิดว่าทุกคนจะต้องมาพบปะเพื่อการสนทนาธรรมก็ดี ปรึกษาการงานที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็ดี ได้เสียสละเวลามาพบและคุยกันย่อมก่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญาเกิดขึ้นได้ ๒ ทาง คือ

๑. ปัญญาที่เรียกว่า “ปัญญารู้บริสุทธิ์” ปัญญารู้บริสุทธิ์นั้นมันจะต้องเกิดจากการทำสมาธิจิตให้เป็นฌานญาน จึงจะเกิดปัญญารู้บริสุทธิ์


๒. ปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า ปัญญาจากการพบปะหรือปัญญาในโลกมนุษย์ ปัญญานี้เกิดจากการสนทนาปรึกษา เกิดจากความคิด เกิดจากการเห็น เกิดจากการอ่านมาก เป็นปัญญาที่เรียกว่า “ปัญญาจากภายนอกเข้าสู่ภายใน” ส่วนปัญญารู้บริสุทธิ์นั้นเกิดขึ้นจากการทำสมาธิจากภายในสู่ภายนอก

ขณะนี้ทุกคนที่มานั่งอยู่ในที่นี้ก็เรียกว่า มีปัญญาจากภายนอกเข้าสู่ภายในกันมาก จนเรียกว่า “อิ่มตัว” และกำลังค้นในเรื่องปัญญาจากภายในสู่ภายนอก อาตมาคิดว่าทุกคนคงตระหนักดี เวลานี้ภาวะโลกมนุษย์ร้อนเป็นไฟ เราจะต้องทำให้ดินแดนน้อยๆ แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่สงบเยือกเย็นเกิดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ เป็นสิ่งที่ให้โลกมนุษย์พิจารณาว่า

สิ่งลี้ลับในโลกนี้ยังมีอยู่มาก
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในโลกนี้ยังมี
ความยุติธรรมของโลกนี้ยังมี


เพราะฉะนั้นเราทั้งหลายที่เรียกว่า “ผู้มีกรรมน้อย” ได้มาร่วมใน “สังคมพระโพธิสัตว์” ในการบำเพ็ญตนเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ก็จำเป็นต้องอดทนต่อไป เพื่อช่วยส่วนรวม ให้ยึดมั่นตามเป้าหมายที่เราได้วางไว้ไม่มากก็น้อย หวังว่าทุกคนจงตั้งสติให้ดีและขอให้ทุกคนมีพลานามัยที่ดี


เขาเรียกว่ากายเนื้อดี จะทำให้กายในสบาย ทีนี้ ถ้าเราจะให้กายเนื้อดี เราจะต้องทำจิตใจให้สงบ เพราะว่าจิตที่ไม่รวมนิ่งย่อมฟุ้งซ่าน อันจะทำให้กายเนื้อแตก เพราะใช้ธาตุไฟมากเกินไป นี่เป็นหลักธรรมดาของ “หลักสรีรศาสตร์” ของมนุษย์

ฉะนั้นอาตมาก็ไม่มีอะไรจะเทศน์มากกว่านี้

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:17

ตอนที่ ๕

การดำเนินงานตามแนวพระโพธิสัตว์



การที่ท่านจะทำงาน ท่านต้องเข้าใจว่า งานทุกอย่างย่อมต้องมีอุปสรรค จะต้องมีการไม่เข้าใจงาน จะต้องมีการไม่สำเร็จบ้าง สัจจะแห่งความเจริญของการเป็นปุถุชน การที่จะร่วมกันทำงานนั้นสิ่งสำคัญคือ

- เราจะต้องทำด้วยความรัก (รักงานที่ทำ)
- ทำด้วยความฉันทะ (พอใจในงานที่ทำ)
- ทำด้วยความวิริยะ (ขยันในงานที่ทำ)
- ทำด้วยความอุตสาหะ (บากบั่นในงานที่ทำ)
- ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัยในหมู่คณะ แนวงาน ผลงาน สิ่งที่ตั้งปณิธาน ก็จะมีทางสำเร็จ


ทีนี้การมาสู่สังคมของสำนักปู่สวรรค์นั้น ก็เท่ากับเรามาสู่อาณาจักรซึ่งเป็นอาณาจักรหนึ่ง เป็นอาณาจักรของผู้ที่จะเสียสละ เพื่อช่วยโกยสัตว์ให้พ้นทุกข์ ภาษาชาวบ้านก็เรียกว่า (เรายอมทุกข์เพื่อความสุขของคนอื่น) โดยเฉพาะในคนหมู่มากย่อมเกิด “นานาจิตตัง นานาวาระ นานากรรม” เพราะบางครั้งในหมู่คณะที่ทำงานย่อมต้องมีอารมณ์เกิดขึ้น สิ่งนี้เป็นสิ่งธรรมดาของการเป็นปุถุชน


แต่เมื่อเรามีอารมณ์ไม่พอใจเกิดขึ้นแล้ว เราต้องแลให้ดี พิจารณาว่าจะต้องทำอย่างไร จึงจะให้เพื่อนร่วมงานด้วยกันอย่ามีความแหนงใจ ฉะนั้นอย่าเก็บความในใจไว้ ทุกคนต่างก็ได้ให้สัจจะว่า “ปากกับใจต้องตรงกัน” คือทุกคนจะต้องมีคติว่า เรามาสู่สังคมนี้ เป็นสังคมของพี่ ของน้อง ของชาติ และของโยมที่มีกรรมพัวพันกันมา เมื่อมาสู่สังคมเดียวกันนี้ จำเป็นที่จะต้อง

๑. เมื่อไม่เข้าใจในการทำงานก็ควรขจัดออกไปเสีย


๒. สิ่งทั้งหลายควรพูดกันด้วยใจจริง เสร็จแล้วก็ควรขจัดออกไปเสียเลิกกันไป อย่ายึดอารมณ์ที่มีความแคลงใจกัน อยู่ในครรลองของระเบียบวินัยที่หมู่คณะได้วางไว้ในองค์กรนั้นๆ ในอาศรมนั้นๆ ในวัดนั้นๆ ก็จะเจริญตามเป้าหมายของงานได้ แต่ถ้าเรามาร่วมงานแล้ว ตั้งแง่ตั้งงอนมาถืออารมณ์ ไม่ถือในแนวทางแห่งความสามัคคีในหมู่คณะ ก็ไม่สามารถทำให้เกิดผลงานที่ดีได้ เพราะไม่ทำตามครรลองของระเบียบที่วางไว้

ฉะนั้นจึงใคร่จะให้คติว่า ถ้าท่านจะเป็นคณะกรรมการก็เท่ากับเสนอตัวเข้ามาเป็น “กรรมกร” นั่นเอง คือเข้ามารับใช้คนอื่น จึงควรทำงานอย่างมีครรลอง มีระเบียบถ้อยทีถ้อยอาศัย เปิดอกซึ่งกันและกัน สังคมก็จะเจริญได้นาน และจะสามารถเผยแผ่สัจธรรม เผยแผ่อุดมการณ์เข้าสู่จิตใจมนุษย์ในสยามได้มาก

การทำงานนั้นจุดสำคัญเราต้องมี “ขันติบารมี” เป็นหลัก ยิ่งในสังคมปัจจุบันนี้ เป็นสังคมที่มีจิตใจเสื่อม พลังที่จะนำนามธรรม นำเรื่องสวรรค์ นำเรื่องนรกเข้าสู่จิตใจผู้มีจิตใจเสื่อมนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก


ฉะนั้นทุกคนจงมีกำลังใจ เมื่อเราได้ปวารณาตัวเพื่อความสุขของคนอื่น เราได้มาร่วมสังคมที่เป็นกรรมกร เพื่อรับใช้คนอื่น มาให้บริการคนอื่น และทุกคนต้องมีพลานามัยดีคือ สังขารของตนดี จึงจะทำงานได้ ต้องอยู่อย่างมีระเบียบวินัยในการควบคุมตัว คือ

๑. อย่าอยู่ในที่หนาวเกินไปและร้อนเกินไป


๒. กินอาหาร (สิ่งปฏิกูลบำรุงปฏิกูล) ให้ขันธ์อยู่ ต้องอย่ากินให้มากเกินไปและอย่าให้หิวเกินไป


๓. เรื่องการนอน ก็อย่านอนมากเกินไปและอย่าน้อยเกินไป เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ดำเนินตามสายกลาง


วางระเบียบอย่างเป็นกิจจะลักษณะ รู้จักให้สังขารที่ปรุงแต่งนี้ ได้เดิน ได้นั่ง ได้นอนตามธรรมชาติแห่งขันธ์ ๕ ของการเป็นมนุษย์ แล้วเมื่อนั้นก็จะมีพลานามัยดี การที่พลานามัยดี เราจะต้องควบคุมจิตใจให้ดี ต้องอย่ามีอารมณ์ร้าย อย่าให้อารมณ์โทสะ โมหะ โลภะ เข้ามาครอบครองมากเกินไป

ทีนี้เราจะต้องควบคุมอารมณ์แห่งโทสะ โมหะ และอารมณ์แห่งโลภะได้ ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณากายในกาย ด้วยการทำกรรมฐานหรือทำสมาธิให้จิตนิ่ง ให้จิตเป็นหนึ่งเพื่อพักผ่อน ให้ธาตุอยู่เป็นปกติ เมื่อจิตเป็นหนึ่งก็ส่องให้เกิดปัญญาขึ้น ก็ย่อมที่จะเป็นคนมีความเจริญในการเป็นมนุษย์

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:21

ตอนที่ ๖

น้ำใจพระโพธิสัตว์



พระประมวล - กราบนมัสการหลวงปู่ที่เคารพ โปรดให้โอวาทด้วยครับ

หลวงปู่ทวด - คือการใช้พลังจิต มีบารมีของเทพพรหมผ่านในการรักษาโรคนั้น เป็นเรื่องที่เขาเรียกว่า ความพิสดารของจิต จำเป็นที่จะต้องได้รับการชำระจากกิเลส จิตจะต้องสงบ จะต้องยิ้มผ่องใส จะต้องปราศจากในความโลภ ความโกรธ ความหลง จิตนั้นจะต้องเป็นเอกัคตาจิตอย่างเป็นหนึ่ง พลังจิตอันนั้นก็คงที่ และก็จะเป็นพลังที่สามารถช่วยมนุษย์ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บแห่งกายเนื้อนั้นได้ นอกจากโรคกรรมวิบากขนาดหนัก

ทีนี้สำหรับในสิ่งที่จะตั้งปรารถนานั้น ต้องเข้าใจว่าความปรารถนาของมนุษย์ เป็นสิ่งที่คิดได้ แต่กรรมเป็นสิ่งที่จะส่งผล และบุญวาสนาที่สะสมมาก็ย่อมที่จะสำเร็จสัมฤทธิ์ผล แต่ในฐานะที่คิดจะช่วยเพื่อนมนุษย์นั้นน่ะ ก็มีความแน่วแน่แห่งอารมณ์ของการเป็น ที่เขาเรียกว่า จิตโพธิสัตว์ เพราะฉะนั้นการที่จะประพฤติปฏิบัติการเป็นพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์จะต้องมี “ขันติ” เป็นหลัก

พระโพธิสัตว์จะต้องทนทุกข์ทรมานทุกอย่าง เพื่อความสุขของคนอื่น เพื่อความสุขของสัตวโลก เพื่อความสุขของหมู่คณะ เพื่อความสุขของเผ่าพันธุ์ เพื่อความสุขของคนที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง นั่นคือ พระโพธิสัตว์บารมี


ฉะนั้นในการคิดทุกอย่าง เราต้องอย่าคิดแต่ได้ เราต้องคิดความเสียด้วย ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า ปุถุชนทั่วไปตั้งเป้าหมาย ตั้งความหวัง ตั้งสิ่งโน้นสิ่งนี้สูงเกินไป และสิ่งโน้นสิ่งนี้ ถ้าไม่สมความคิด ไม่สมความหวัง ไม่สัมฤทธิ์ผล เกิดความเสียใจ เกิดความท้อใจ เกิดความน้อยใจ เป็นต้น

เพราะฉะนั้นในการที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อมนุษย์นั้น

๑. จะต้องอย่ามีจิตหวั่นไหวในอารมณ์คำพูดของคนที่เข้ามาเกี่ยวข้อง


๒. จะต้องตั้งมั่นในสติ และจุดสำคัญวิชาจะไม่เสื่อม ต้องเคารพครูบาอาจารย์ ความกตัญญู วิชานั้นจึงไม่เสื่อม


๓. พยายาม “ละ” ถึงที่สุด พระโพธิสัตว์จะไม่มีอะไรติดตัว และพระโพธิสัตว์จะต้องพร้อมที่จะควักตา ตัดแขน ตัดขา ควักหัวใจ ผ่าไส้ ผ่าท้องให้กับผู้ขอ นั่นจึงจะเรียกว่า เป็นพระโพธิสัตว์ที่แท้จริง


แต่ถ้าสภาวะการดุลกรรมในสภาวะอะไรทั้งหลาย และในสภาวะการทำงานก็ต้องเป็นทีมงาน ทีมงานที่ดีทุกคนจะต้องเก็บอารมณ์ เก็บความพอใจไม่พอใจส่วนตัวออกไป เราจะต้องแยกคำว่า “ส่วนตัว” “ส่วนรวม” ออกจากจิตของเราให้ได้ และสิ่งที่คิดก็จะสัมฤทธิ์ผลได้


(วันเสาร์ที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:24

ตอนที่ ๗

พรของพระโพธิสัตว์



ในภาวะทั้งหลายการเป็นมนุษย์ ท่านบอกว่า ท่านได้มีการผิดพลาด ท่านต้องเข้าใจว่า ในการทำงานทุกอย่าง ผู้ไม่เคยผิดแสดงว่าผู้นั้นไม่เคยทำงาน แต่เราจะทำอย่างไร จึงให้มันผิดน้อยที่สุด ภาษาของนักปราชญ์เขามีคำหนึ่งว่า จงรับความจริงและอภัยให้กับความผิดพลาดที่ผ่านไป


ที่นี้ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย ชีวิตแห่งการตายนั้นก็ง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นซิยาก เราจะทำอย่างไรจึงให้อยู่ได้อย่างสบาย ในภาวะแห่งการอยู่ที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์

ทีนี้เราจะอยู่อย่างอารมณ์เช่นนี้ได้นั้น จะทำอย่างไรก็คือ อยู่อย่างมีธรรมารมณ์ของเราเอง การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ของเราเองนั้นคือ อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคนและรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ ทำเพื่อหวังลาภสักการะ


ถ้าเราทำงานเพื่อสิ่งที่เราจะต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อผลตอบแทน ทำเพื่อหวังผลประโยชน์ ทำเพื่อหวังสักการะ ถ้าเราทำการงานเพื่อหวังผลต่างๆ แล้ว ถ้าสิ่งที่เราหวังนั้นไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราก็ย่อมเกิดความโทมนัส เกิดความเสียใจ เกิดความน้อยใจ เกิดความเวทนา แต่ถ้าเราอยู่อย่างชีวิตที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพราะกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมที่จะมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

การมีชีวิตอยู่นั้น เราจะอยู่อย่างเพื่อเงินตรา หรืออยู่อย่างเพื่อชื่อเสียง หรืออยู่เพื่อเกียรติยศ หรืออยู่อย่างเพื่อวัตถุ หรือถ้าเราอยู่อย่างที่กล่าวมาแล้ว ก็เท่ากับเราไม่เป็นตัวของตัวเอง คืออยู่อย่างเอาชีวิตจิตวิญญาณแห่งการเกิดนั้นมาฝากอยู่กับสิ่งสมมุติ ฝากอยู่กับเงินที่มนุษย์สมมุติขึ้นมาใช้ ฝากกับชื่อเสียงที่ไม่มีตัวตน ฝากอยู่กับยศถาบรรดาศักดิ์ที่ตั้งขึ้นมา ฝากอยู่กับวัตถุที่ไม่จีรังที่ต้องสลาย นั่นเป็นการอยู่อย่างงมงาย อยู่อย่างโง่เขลา


แต่ถ้าจะใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข อยู่อย่างมีความเป็นมนุษย์ ภาษาปักษ์ใต้ เรียกว่า ตนอยู่อย่างแลตน แลตนนั้นแหล่ คือการอยู่อย่างแท้จริง ความเงียบมีสัจจะ ความเงียบมีธรรมะ การแลตนย่อมที่จะรู้การบกพร่องตนได้ เปรียบเสมือนหนึ่งชีวิตเราเดินไปข้างหน้า ตัวเราย่อมมองไม่เห็นตัวเราเอง ต่อเมื่อมีคนอื่นมองหลังเราตามมาและอธิบายถึงตัวเรา จึงรู้ว่าเป็นอย่างไร

ฉะนั้นการที่จะอยู่นั้น ต้องอยู่อย่างมีความหวัง คือเราต้องถือว่าอยู่อย่างมีประโยชน์ อยู่อย่างให้คนอื่นคิดถึงด้วยความบริสุทธิ์ อยู่อย่างมีหน้าที่ที่เราเกิดมาต้องทำ เพราะเราเป็นคน


คนเรานั้น ถ้าจะเป็นคนดีต้องหัดมีความเมตตาเป็นหลัก มีความกรุณาเป็นสรณะ มีความอภัยเป็นจิตใจ เพราะจิตใจถ้ามีอภัยต่อกันและกันแล้ว จิตใจนั้นเป็นจิตที่มีความสุขอย่างยิ่ง เพราะเราอยู่อย่างไม่มีความอาฆาต อยู่อย่างมีความเมตตา อารมณ์แห่งความเมตตาของจิตนั้นแหละ จะทำให้อารมณ์ของเราเกิดปีติอย่างดีตลอดเวลา

ในเมื่อท่านทั้งหลายก็อุตส่าห์สมัครตนมาเป็นสานุศิษย์ มาสมัครเป็นสาวกของอาตมา ก็ขอให้ท่านต้องอยู่อย่างอารมณ์แห่งการเป็นพระโพธิสัตว์ คือมีอารมณ์แห่งการให้ มีอารมณ์แห่งการอภัย มีอารมณ์แห่งความไม่ยึด มีอารมณ์แห่งความนิ่งเฉย มีอารมณ์แห่งการที่จะต้องยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างในกฎของอนิจจัง อนัตตา

ในวันนี้ท่านทั้งหลายก็อุตส่าห์มากันมาก และท่านที่ไม่ได้มาก็ส่งกระแสจิตมาก็ดี ก็ขออนุโมทนาในการที่ท่านทั้งหลายตั้งใจอุตส่าห์วิริยะคิดถึง และท่านทั้งหลายยังได้ช่วยกันบำเพ็ญอีกอารมณ์หนึ่ง คือ


ท่านได้ร่วมกันบำเพ็ญอธิษฐานบารมี เพื่อให้โลกเกิดสันติ เพื่อให้มนุษย์อยู่อย่างเป็นสุข เพื่อให้ประเทศไทยเป็นเอกราช ซึ่งเป็นอารมณ์ดีมาก เพราะว่าการอธิษฐานนั้นเป็นการตั้งสัจจะเพื่อแผ่เมตตาให้กับสัตวโลก จิตแห่งการอธิษฐานนี้นับว่าเป็นจิตที่สูง คือท่านได้พยายามปรับจิตวิญญาณของท่านให้เป็นผู้ให้ ไม่ใช่ผู้ขอและไม่ใช่เป็นผู้ยึ

เพราะฉะนั้นอาตมาจึงหวังว่า ถ้าท่านทั้งหลายร่วมกันอธิษฐานและพยายามปฏิบัติจิตวิญญาณ ให้อธิษฐานเรื่อยๆ ไป เท่ากับท่านได้ทำงานสำคัญของการเป็นมนุษย์ที่ดี คือ

• ท่านได้พยายามฝึกจิตวิญญาณของท่านให้มีเมตตาเพื่อสัตวโลก
• ฝึกให้จิตใจนั้นไม่เป็นคนคับแคบ
• ฝึกให้ตนเป็นผู้เสียสละ


เพราะฉะนั้น ธรรมารมณ์แห่งการอธิษฐานนี้แหละ เป็นธรรมารมณ์ของพระโพธิสัตว์ที่สรรเสริญมนุษย์ว่า มนุษย์ผู้นั้นเริ่มมีอารมณ์แห่งการเป็นพระโพธิสัตว์ และท่านทั้งหลายก็ขอพร

อาตมาก็ขอบอกท่านว่า พรที่ดีที่สุด ก็คือ การให้ ให้ทุกอย่างแก่สัตวโลก ให้ทุกอย่างแก่เพื่อนมนุษย์ ให้ทุกอย่างแก่ประเทศชาติที่ท่านอยู่ ให้ทุกอย่างแก่สังคมที่ท่านเกี่ยวข้อง ให้ทุกอย่างแก่หมู่คณะที่ท่านมีกิจส่วนร่วม นั่นคือ พรอันสูงสุด


ฉะนั้นเราก็ขอให้ท่านจงมีพรนี้ประจำใจ สำหรับท่านที่จะขอให้พลานามัยสุขภาพแข็งแรงนั้น เราก็ขอให้ท่านได้พรนี้ด้วยพลังจิตแห่งบารมีที่เราสะสมมา และสำหรับใครที่อธิษฐานว่า ขอให้ท่านร่ำรวยนั้น เราอยากให้ท่านรวยน้ำใจ ไม่ใช่รวยทรัพย์ รวยวัตถุ และการรวยทรัพย์ รวยวัตถุ ย่อมไม่สามารถที่จะนำจิตวิญญาณของท่านขึ้นสูงไปถึงพระนิพพานได้

ฉะนั้นสิ่งทั้งหลายที่ท่านขอเรา ก็ให้ตามที่ท่านขอ แต่ให้ด้วยหลักระเบียบและให้แบบอารมณ์พระโพธิสัตว์

เจริญพร

(วันวิสาขบูชา เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๑)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:32

ตอนที่ ๘

พระโพธิสัตว์



คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต
ลูกจะถามเรื่องธรรมะ การปฏิบัติธรรมะ หลวงปู่ใช้อะไร ใช้วิธีไหน ใช้อะไรเป็นอารมณ์

หลวงปู่ทวด – อาตมาใช้น้ำ

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต อ๋อเพ่งน้ำ กสิณน้ำ

หลวงปู่ทวด – กสิณเป็นจุดรวมของจิต จิตนิ่งแล้วองค์ฌานหรือโลกุตรฌาน ไอ้นั่นเป็นบารมีสะสมมาแต่ละชาติเสริมแต่ง

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต
ลูกทราบว่าหลวงปู่น่ะ ต้องการเป็นพระโพธิสัตว์ใช่ไหมคะ เพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตใช่ไหมคะ

หลวงปู่ทวด – มีความตั้งใจเช่นนั้น

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต ฉะนั้นหลวงปู่ก็เคยจะปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานหรือเปล่า

หลวงปู่ทวด – ก็ตามแนวที่วางมา แต่ว่าท่านทำเข้าไปถึงแล้ว บางอย่างมันไม่ใช่ตามแนวนั้น

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต เพราะว่าถ้าท่านทำไปแล้ว ก็ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์สิคะ

หลวงปู่ทวด – คือ คำว่าฌานญาณมันอยู่คล้ายๆ ว่า ถ้าในลักษณะก็คือ เปรียบให้มันง่ายให้มนุษย์เข้าใจ จุดที่ถึงเขาเรียกว่า “เตรียม” การเตรียมนั้น อยู่ที่เราตัดสินใจว่า จะเดินทางไหน

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิตนี่หลวงปู่ยังไม่ยอมมาทางมหาสติปัฏฐาน เพราะว่าทางมหาสติปัฏฐาน ถ้าทำถึงจุดแล้วจะไม่เกิด หลวงปู่ก็จะไม่ได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ลูกก็คิดเอาเอง หลวงปู่จะเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ต้องได้ฌาน เพื่อจะลงมาเกิดอีกใช่ไหม ต้องมาเกิดอีกใช่ไหมคะ

หลวงปู่ทวด – ถ้าไม่เกิด แล้วความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าจะเป็นได้อย่างไร

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต นั่นนะซิ พระพุทธเจ้าต้องตรัสรู้ในเมืองมนุษย์ หลวงปู่ก็ขึ้นไปบำเพ็ญบารมีบนสวรรค์จนกว่าจะถึงเวลา ฉะนั้นลูกจะไม่ถามเรื่องมหาสติปัฏฐาน เพราะว่ามหาสติปัฏฐานนั้นพระพุทธเจ้าว่าไปสู่ความพ้นทุกข์ มีอยู่ทางเดียวที่รับรองไว้ ทางอื่นพ้นทุกข์ไม่ได้ เช่นพวกกสิณนี้ก็ต้องไปเป็นพรหม หลวงปู่เป็นพรหมอยู่ชั้นไหน

หลวงปู่ทวด อาตมาก็ไม่รู้ว่าอยู่ชั้นไหน เพราะมันไปหมดทุกชั้น

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต ที่อยู่ประจำ

หลวงปู่ทวด – ที่อยู่ขณะนี้ อยู่ชั้นดุสิต

คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต อ๋อไม่ใช่พรหมซิคะ ชั้นดุสิตน่ะชั้นเทพเทวดา

หลวงปู่ทวด – นี่เพราะมนุษย์เข้าใจอย่างนี้ ผู้เตรียมตัวเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบเหตุการณ์ในโลกมนุษย์ก็ดี ถึงแม้ว่าจะเป็นพรหมเป็นอะไร เขาก็ต้องมาอยู่ชั้นดุสิต เพราะดุสิตเป็นจุดเตรียมที่จะขึ้นสูงลงต่ำ ดุสิตเป็นจุดที่ใกล้มนุษย์ที่จะทราบเหตุการณ์ในโลกมนุษย์ได้ง่าย ไม่ใช่เขาเจาะจงให้เทวดาอยู่ที่นั่น พระศรีอริยเมตไตรยเวลานี้ก็อยู่ชั้นดุสิต

(เทศน์เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 22:55

ตอนที่ ๙

สัจจบารมี



วันนี้อาตมาขอเทศน์โปรดสานุศิษย์ทุกคนว่า เราเข้ามาสังคมพระโพธิสัตว์นี้เพื่ออะไร จุดที่เราต้องถามตัวเราเองก่อน คือเมื่อเรามีสัจจะแห่งการถวายตนที่จะมาร่วมสังคมทำงานเพื่อมนุษยชาติ

กฎของความจริงแล้ว
คำว่าเพื่อชาติแล้ว
ไม่มีเพื่อเรื่องกอบโกย
ถ้าเพื่อเพื่อนมนุษย์ส่วนรวม
ก็ไม่มีเพื่อความสุขส่วนตัว


เพราะฉะนั้นอาตมาจึงบอกว่า การที่จะก้าวขยายงานต่อไป อาตมาไม่กล้าคิด ระบบตายเอาดาบหน้า เมื่อกองทัพธรรมเราควรจะแข็งแกร่ง แต่มันก็ยังไม่จริงจังเต็มที่ ซึ่งที่จริงแล้วถ้ากำลังแค่นี้ อาตมาคิดว่าเอากันจริงๆ ทำงานใหญ่ได้


คำว่า “พิภพ” หรือคำว่า “สังคมของสัตวโลก” ถ้าเราเข้าไปยุ่งแล้ว เราก็ต้องมีทุกข์ เพราะอะไร ท่านลองสังเกต มนุษย์ทุกคนทำงานด้วยตัวโลภเป็นหลัก แต่ท่านมาทำงานอยู่ในสังคมพระโพธิสัตว์ เราเรียกว่าไม่เอาอะไร และมีเรื่องภาระหนึ่งที่ว่า ถ้าเราอยู่ต่อไป งานก็ต้องก้าวหน้าอยู่เรื่อย ไม่เช่นนั้นเขาไม่เรียกว่า “กงล้อแห่งธรรมจักร” มันต้องหมุนไปเรื่อย ถ้าตราบใดเรายังไม่หยุด

เพราะฉะนั้นอาตมาจะขอร้องและวิงวอนให้ทุกคนควรจงคิดว่า เรามานี้เพื่ออะไร เราทุกคนที่มาที่นี่ ก็มาด้วยความไม่โลภ มาทำเพื่อจาคะ ก็ขอให้มีการสำรวจ สังวร พิจารณาตนทุกขณะจิต แล้วก็เอาจริงตามฐานะสุดความสามารถ คือ มีความจริงใจและจริงจังในเรื่องการทำงานมากขึ้นทุกวัน


เมื่อท่านกล้าตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวในการกระโดดลงเรือพระโพธิสัตว์ พร้อมที่จะช่วยกันโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์ ซึ่งขนาดอาตมานี่ก็กระโดดเข้ามาแล้ว ร่วมนำเรือพระโพธิสัตว์กับท่านโต ก็ถือว่าในเรื่องที่จะปล่อยให้ท่านตายนี้ไม่มี อาตมาห่วงท่านอยู่เสมอ โดยขอเตือนท่านว่า การเป็นคนมันมีอยู่สองทาง คือ สายพระอรหันต์ และสายพระโพธิสัตว์

ทางหนึ่ง สายพระอรหันต์ เราหยุดทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วทำสมาธิละลายกิเลสจนสามารถทำให้สำเร็จมรรคผลหลุดพ้นจากสังสารวัฏ และเอาตัวรอดมุ่งทางแห่งนิพพาน


ทางสอง สายพระโพธิสัตว์ เราจะต้องทำงานเพื่อส่วนรวม เมื่อเราจะทำงานก็คือ การจะก่อทุกข์ให้เรา


เพราะฉะนั้นเวลาบำเพ็ญจิตถึงจตุตถฌานสี่ ที่จะขึ้นเรื่องในการที่จะซอยไปสู่อภิญญาหรือว่าเข้าไปเล่นในญาณ คำว่าฌานกับญาณนี่มันต้องแยก ตอนนี้เขาจะต้องตั้งสัจจบารมี จะไปเป็นพระอรหันต์ โดยเอาตัวรอดเป็นยอดดี หรือจะไปเป็นพระโพธิสัตว์ โดยว่าจะเอาตัวเองทำงานช่วยเหลือคนอื่น

ส่วนมากผู้บำเพ็ญในเหล่าพุทธสาวกถึงจุดนี้แล้ว เขาจะหยุดนิ่ง ใช้กระแสจิตพิจารณา เพราะฉะนั้นการเป็นมนุษย์ก็ต้องมีเข็มทิศของเรา ในการตั้งเข็มทิศ ตั้งแล้วจะต้องแข็งและแน่นเหมือนภูเขา ไม่ใช่เอนเหมือนต้นอ้อ ภูเขาไม่กลัวลม ภูเขาไม่กลัวฝน ภูเขาไม่กลัวฟ้าร้อง

เพราะฉะนั้นท่านจะต้องศึกษาว่า เจตนาของผู้บำเพ็ญแล้ว ตั้งอะไรลงไปแล้ว คำว่าถอยไม่มี ทีนี้เขาสามารถสำเร็จตามเป้าหมาย หรือว่าสร้างคุณงามความดีจนมีคนบูชาก็เพราะว่า การตั้งเข็มทิศของเขาเหล่านั้น เมื่อตั้งแล้วเอาช้างมาลากก็ไม่ยอมไป อารมณ์ของผู้ที่เข้าใจถ่องแท้แล้วทำงานเพื่ออุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ย่อมยอมตายทุกเมื่อ เพื่อสัจจบารมี


เมื่อคนเราตั้งความแน่วแน่หนึ่ง พลังจิตจดจ่อหนึ่ง กุศลแน่วแน่หนึ่ง พลังภายในหนึ่ง เทวดาอนุโมทนาหนึ่ง ก็สำเร็จได้

ผู้ที่ทำอะไรไม่สำเร็จ เพราะจิตเปลี่ยนทุกวินาที ภาวะจิตแบบลิง เขาเหล่านั้นจึงไม่ได้เกิดความสำเร็จแห่งชีวิตในทางโลกหรือทางธรรม เขาเหล่านั้นจึงมิสามารถที่จะยื่นตัวออกไปเหนือเพื่อนมนุษย์โลกนี้ เพราะสัจจบารมีไม่เข้มแข็ง คนเหล่านี้จึงยังต้องตกอยู่ในฐานะปุถุชนที่ดิ้นรนท่ามกลางทะเลโลกียะที่กำลังบ้าคลั่ง

(วันเสาร์ที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:00

ตอนที่ ๑๐

ความแน่วแน่



การทำงานให้ธรรมนำโลกในการรณรงค์ มนุษย์ที่จะร่วมกันในการทำงานเพื่อส่วนรวม อาตมาถือว่าเรื่องจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จนั้น ก็ขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่จะดำเนินการ แต่ว่าทุกคนก็คงเข้าใจดี ในสภาวะของสยามประเทศในขณะนี้ ทีนี้การที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม จะทำงานเพื่องานใหญ่ จะทำงานเพื่อมนุษยชาติ จะทำงานเพื่อศาสนา จะทำงานเพื่อสันติสุข

หลักแห่งความจริงของการทำงานใหญ่ ผู้ที่ทำงานจะต้องมีขันติเป็นสรณะ และความล้มเหลวหรือสำเร็จของงานนั้น ขึ้นอยู่กับหัวหน้าสายงานจะต้องมีความหนักแน่นในการทำงาน จะต้องไม่มีการอ่อนไหวตามลมปากของมนุษย์ที่เข้ามาสู่กระแสเรา งานนั้นก็จะสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเข้าใจว่า มนุษย์ที่เกิดเป็นคนมันมีหลายระดับ สิ่งที่กลมก็ต้องมองกันคนละด้านมุม และตามภาวะของจิตของคนที่มีธรรมะขั้นไหน ก็มองในขั้นนั้นไปได้ ทีนี้ ขณะนี้ท่านกำลังทำงานชิงกับเวลา และการรวมฝ่ายธรรมะที่แสนอ่อนแอ เป็นงานที่มิใช่จะทำง่าย แต่ท่านจะมีน้ำใจตั้งมั่นอยู่ในความศรัทธาแห่งความแน่วแน่ เหมือนดั่งการบำเพ็ญจิต


ครั้งหนึ่งมีธรรมนิยายเรื่องหนึ่ง “เป้าหมายแห่งความแน่วแน่” ของพระโพธิสัตว์ พระพุทธเจ้าได้เกิดเป็น “อีแต” หรือนางแตอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง เกิดน้ำท่วมและท่วมลูกทั้งหมดพัดลงไปสู่น้ำทะเล ความแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์ที่เสวยชาติเป็นนางแตนั้น ก็เลยพยายามใช้หางฟาดวิดน้ำในทะเลเพื่อให้น้ำทะเลแห้ง เป็นการที่จะช่วยลูกของตนที่อยู่ในกลางทะเลแห่งความบ้าคลั่ง

จนกระทั่งร้อนถึงพระอินทร์ต้องลงมาถามนางแตว่า “หางอันนิดหนึ่งของท่านจะตวัดน้ำในทะเลทั้งทะเลแห้งนั้น จะต้องใช้เวลากัปกี่กัลป์ จึงสามารถทำให้น้ำทะเลทั้งทะเลแห้งได้”

นางแตก็ตอบพระอินทร์ว่า “ถึงแม้ทะเลจะลึกจะใหญ่ขนาดไหน ฉันมีความแน่วแน่ที่จะช่วยลูกฉันที่ตกอยู่ในทะเลนี้ให้ขึ้นจากการจมน้ำตาย ถึงแม้จะใช้หางน้อยๆ ตวัดน้ำขึ้นสู่บนบกได้ทีละไม่กี่หยด ฉันก็ตั้งเป้าหมายไว้แล้วว่า ถึงตวัดจนตาย ฉันก็ขออธิษฐานเกิดมาเป็นอีแตอีก เพื่อมาตวัดน้ำในทะเลทั้งทะเลให้แห้ง เพื่อช่วยลูกให้พ้นจากการจมน้ำตาย”

ฉะนั้นนี่เป็นอุทาหรณ์ ให้สังวรว่าการทำงานใหญ่นั้น ถ้าจิตท่านไม่เข้มแข็ง ไม่แน่วแน่ เกรงกลัวก็ไม่สำเร็จ ดังเช่น กำลังดำเนินแผนเผยแผ่ “โลกวิญญาณส่งทูตสันติภาพชี้จุดบอดและจุดแก้ของเมืองไทย” ในขณะนี้ อุปสรรคอีกนานาประการที่จะเข้าถึงท่าน แต่ถ้าท่านไม่มีน้ำใจอันแน่วแน่ ไม่มีความเสียสละในเรื่องส่วนตัว ไม่มีการยอมสละทรัพย์ที่ตนมีอยู่ ก็คิดว่าจะไม่ได้รับความเห็นใจจากผู้ที่กำลังมองท่านทำงาน และผลแห่งการกู้ประเทศของท่านก็จะไม่สัมฤทธิ์ผล

ฉะนั้น ขั้นแรกท่านกำลังเดินในสนามรบแล้ว ท่านกำลังประกาศรบแล้ว ท่านควรมีอุทาหรณ์แห่งความแน่วแน่ในเป้าหมาย และคัดเลือกบุคคลที่มีความจริงจัง รวมกลุ่มเป็นพลัง ก็คิดว่าพอที่จะช่วยท่านได้ ดังอุทาหรณ์เมื่อนางแตมีความแน่วแน่ พระอินทร์ร้อนอาสน์ต้องลงมาช่วย และใช้อิทธิฤทธิ์บันดาลให้น้ำทั้งทะเลแห้ง เพื่อช่วยลูกน้อยของเขาขึ้นจากน้ำได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านคงเข้าใจว่าขณะนี้ประเทศสยามของท่านกำลังจะมีอะไร และท่านกำลังจะทำอะไร ถ้าระหว่างเดินทางอยู่นั้น ท่านหวั่นไหวต่ออารมณ์ ต่อปากคนที่เข้ามา ต่ออิทธิพลมืดที่บีบเข้ามาแล้วไซร้ ท่านก็ไม่มีกระแสแห่งความสำเร็จในเป้าหมายได้ อันนี้ก็ให้คิดกันเอง อาตมากลับละ

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๗)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:03

ตอนที่ ๑๑

อารมณ์ของสตรีในการทำงานใหญ่



สานุศิษย์หญิง – กราบนมัสการหลวงปู่เจ้าค่ะ ดิฉันขอกราบทูลถามว่า ดิฉันมีโครงการรวบรวมสานุศิษย์หญิงที่ร่วมตั้งสัจจะอย่างแน่วแน่ว่าจะช่วยทำงานศาสนา โดยจะพยายามคัดเลือกตัดสินอย่างยุติธรรม รับเฉพาะคนที่พร้อมตายด้วยกันได้เจ้าค่ะ ขอพระเมตตาหลวงปู่โปรดให้คำแนะนำด้วยเจ้าค่ะ

หลวงปู่ทวด – อารมณ์แห่งการทำงานของสตรี ก็ต้องเข้าใจว่า ทัศนะของอาตมาก็พูดแบบท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระว่า

สตรีเต็มไปด้วยอารมณ์ สตรีเต็มไปด้วยความหวั่นไหว สตรีเต็มไปด้วยความทิฐิของความพอใจไม่พอใจ สตรีเขาเรียกว่า ยกเรื่องส่วนตัวกับส่วนรวมไม่ออก อารมณ์คนเราเช่นนี้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายทั่วทั้งโลกตลอดเวลา ถึงแม้สตรีจะเป็นเพศมารดาก็จริง


แต่ในภาวะนี้ต้องเข้าใจว่า อยู่ในภาวะที่ท่านจะยึดอุดมการณ์ หรือยึดบุคคล หรือยึดอะไรในการทำงานใหญ่ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดในลักษณะงานของการทำงานแล้ว งานศาสนาไม่ใช่งานราชการ ประเทศไทยจะพังก็เพราะระบบราชการที่ยืดเยื้อ ซึ่งทำไมระบบราชการไม่บริหารแบบสมัยเก่า เช่น ยุคพ่อขุนรามคำแหง เป็นต้น คือเรียกว่า มาปรึกษามาคุยกันสุจริตทั้งกายและใจ

ที่นี้ลักษณะของผู้หญิง เราจะถือว่าเราจะไปมองแง่ไหนว่าเขาทำผิด มองแง่ไหนว่าเขาถูก เรื่องนี้เป็นการพูดลำบาก จะเอาอะไรเป็นเครื่องวัดว่า คนนี้ใช้ได้หรือไม่ได้ และจะเอาอะไรเป็นเครื่องวัดในอารมณ์การพิจารณาของมนุษย์ที่ตัดสินว่า นี่คือ “ความยุติธรรม”


เมื่อของมันอยู่ตรงกลาง คนอยู่ทิศเหนือมองของนั้นเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง คนอยู่ทิศใต้มองของนั้นเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสัจจะแห่งความเจริญมีอยู่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ มันมีดีก็ต้องมีชั่ว มีถูกก็ต้องมีผิด เพียงแต่มีส่วนใดมากน้อยเท่านั้น ที่เราจะมีความสามารถเลือกใช้ส่วนที่ดีของเขาได้

ทีนี้บางเรื่องนี่ มนุษย์จะเอาแต่อารมณ์ตัวเป็นใหญ่ คือ บางคนแบบเอาตามใจฉัน ฉันพอใจฉันก็ทำ ฉันไม่พอใจฉันก็ไม่ทำ และอาตมาขอเตือนให้เหล่าสตรีทั้งหลายหมั่นบำเพ็ญจิตว่า จงพยายามละลายกิเลสแห่งการเป็นคนเจ้าอารมณ์ เจ้าบทบาท เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย งดเว้นอารมณ์แห่งการจองเวรอาฆาตมาดร้าย นินทาความผิดของคนอื่น และพร้อมที่จะแผ่มหาเมตตา อันเป็นการฝึกให้จิตใจไม่คับแคบ มิฉะนั้นแล้ว สตรีก็จะทำงานใหญ่ไม่ได้

จะเห็นตั้งแต่โบราณกาลลงมา สตรีมีอำนาจเมื่อใด ส่วนมากประเทศนั้นหมู่คณะนั้น ก็ต้องฉิบหายล่มจมไม่ช้าก็เร็ว โดยไม่มีวันดีขึ้นได้ เมื่อสตรีเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ทำลายโลก จึงขอเตือนสติเพียงเท่านี้ และเตือนบุรุษทั้งหลายว่า จะทำงานร่วมกับสตรี ต้องมีจิตใจหนักแน่นและไม่หูเบา แล้วท่านก็จะทำงานกับสตรีได้

(วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:06

ตอนที่ ๑๒

ความเงียบที่น่ากลัว



ภาวะปัจจุบันอาตมารู้สึกว่า ท่านได้พยายามทุกวิถีทางในการขยาย กระจายแผนงาน เพื่อที่จะแข่งขันกับเวลาทันเหตุการณ์ ทุกคนก็คงรู้ว่า ท่านกำลังจะทำอะไร ขณะนี้ไฟกำลังจะไหม้ ท่านก็กำลังจะเดินเข้าไปทางไฟ แล้วก็จะดับไฟ แต่ว่าการที่จะเดินทางเข้าไปในกองไฟ แล้วก็จะดับไฟนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ทำง่าย โดยเฉพาะน้ำน้อย

เมื่อสถานการณ์ทั่วไปก็เรียกว่า เป็นสถานการณ์ของการเงียบ อย่างการอยู่ในป่าเรียกว่า “เงียบอย่างน่ากลัว” ในความเงียบย่อมมีความวังเวง มีอะไรซ่อนเร้นอยู่ในความเงียบ


สัตว์ป่าเมื่อเห็นศัตรู จะเข้าตะครุบศัตรู สัตว์นั้นก็จะเรียนเดินอย่างเงียบ เพื่อไม่ให้ศัตรูรู้ เพื่อการตะครุบ นั่นคือ “สัญชาตญาณของสัตว์ป่า” และในภาวะท่านจะเข้าหาไฟและดับไฟ แล้วก็ประกาศท้าทายไฟ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิดมาก แต่ว่าทั้งนี้และทั้งนั้น ระดับสมองจะต้องเพิ่มมากขึ้นและมีความจริงจังกว่านี้

คำว่า “การไปฝึกปรมัตถธรรมนั้น” ท่านต้องเข้าใจคำว่า ปรมัตถ คืออะไร ปรมัตถเป็นธรรมะขั้นสูง ปรมัตถธรรม ธรรมะแห่งความหลุดพ้น ธรรมะแห่งความหลุดพ้นย่อมต้องไม่มีทิฐิมานะในอัตตาของตัวตนของการ “ยึด” เพราะว่า “ยึด” แล้วก็จะหลง และการทำงานนั้นคนหนึ่งจะอุดช่องรั่วทั่วประเทศ มันย่อมอุดไม่ไหวแน่ มันก็จะต้องให้มันรั่วบ้าง

ในเมื่อคนจำนวนมากเขาไม่รู้สึกตัวว่า “ภัยกำลังลุกเป็นไฟ” กรรมที่เขาสร้างกันเอง คนหนึ่งไปดุลกรรมคนทั้ง ๔๓ ล้านคน มันไม่ไหวแน่ เพราะฉะนั้นสถานการณ์ขณะนี้ก็คิดว่า ท่านกำลังจะเข้าไปในกองไฟ ท่านก็ต้องมีไฟถือบ้าง และขอให้ทุกคนรับทราบขณะนี้ ท่านกำลังท้าทายไฟทั้งโลก


เพราะฉะนั้นก็คิดว่าเพียงแค่ให้ท่านฟังแค่นี้ แล้วก็ให้ท่านไว้วินิจฉัย และการทำงานต้องเข้าใจว่า “ขณะนี้ทุกวินาทีมีค่ามาก” ถ้าท่านคิดว่าท่านจะครองความเป็นเอกราชของไทยและไม่อยากเป็นทาส

(เทศน์เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:09

ตอนที่ ๑๓

ความยิ่งใหญ่อันแท้จริง



หม่อมเจ้าชุมปกะบุตร ชุมพล ทรงอาราธนาธรรม

หลวงปู่ทวด - เจริญพร การทำงานทุกอย่างนั้น เราต้องทำด้วยหลักแห่งความเมตตาและเสียสละ คือทำด้วยหลักแห่งการไม่มีการยึดมั่นในอัตตา ทุกวันนี้โลกมนุษย์ยุ่งเหยิง ก็เพราะว่าโลกมนุษย์ยึดมั่นในอัตตา คือการทำอะไรก็แล้วแต่ มนุษย์ล้วนแล้วแต่ยึดในตน คือหากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มนุษย์ทุกคนต่างคนต่างมีกรรม ต่างคนต่างมีภาวะ ต่างคนต่างมีวิบาก แต่ทุกคนไม่แลตน แลแต่ความยิ่งใหญ่


ทีนี้ ท่านลองศึกษาลองดูรอบๆ ว่า อะไรเป็นความยิ่งใหญ่อันแท้จริง มนุษย์บางคนทำงานหวังมีทรัพย์ นึกว่าตนมีทรัพย์มากก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่ มนุษย์บางคนทำงานหวังมียศสมมติแห่งบัญญัติที่เขาแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ เป็นเจ้าเมือง เป็นนายทหาร เป็นนายด่าน ก็นึกว่าสิ่งนั้นเป็นความยิ่งใหญ่ มนุษย์ทุกคนบางคนที่ทำงาน ก็นึกว่าตนที่มีอยู่ใหญ่ๆ มีอะไรใหญ่ๆ ก็เรียกว่าใหญ่ มนุษย์บางคนก็ยึดในตนว่า ฉันมีที่ดินมากๆ ก็เป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่

การต่อสู้ในสังคมปัจจุบัน ซึ่งเป็นสังคมมนุษย์แห่งความวุ่นวายนั้น ทุกคนหวังเป็นผู้ยิ่งใหญ่ แต่แล้วไม่มีใครได้ใหญ่จริง ทีนี้ความยิ่งใหญ่อันถาวรจะมีได้อย่างไร อาตมาว่า มี แล้วอาตมาจะค่อยอธิบายให้ท่านฟังต่อไป

ในการฟังเทศน์นั้น ต้องมีความนิ่งของจิตและมีความวินิจฉัยในวาจาแห่งคำพูด แล้วต้องแลด้วยความสงบ ภาษาใต้เขาพูดว่า “แล” เช่น บางคนดิ้นรน ดิ้นรนจะเป็นนู่นเป็นนี่ เป็นโน่น เป็นเสนาบดี เป็นหัวหน้า ก็เป็นใหญ่ในตอนที่อยู่ในตำแหน่งเท่านั้น พอออกจากตำแหน่งก็ไม่ใหญ่ บางคนก็หวังจะขึ้นไปนั่งเมือง ตอนได้นั่งเมืองก็ใหญ่ แต่พอออกจากการนั่งก็ไม่ใหญ่ แล้วก็มีแต่เรื่องตามมา บางคนก็นึกว่า ฉันมีอำนาจแล้วใหญ่ มีเงินแล้วใหญ่ มีปืนแล้วก็ใหญ่


สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ใหญ่ไม่จีรัง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งใหญ่แห่งอนิจจัง ใหญ่อย่างไม่เที่ยง ใหญ่อย่างไม่ถาวร ใหญ่อย่างไม่คงทน และการที่มนุษย์เกิดความวุ่นวายทั่วสรรพธุลีในโลกแห่งสมมติ เพราะต่างคนต่างมาเป็นใหญ่กัน

ที่นี้ ท่านอยากจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ที่เขาไม่ลืมง่ายไหม การเป็นนักการเมือง การเป็นเสนาบดี การเป็นรัฐบาล การเป็นอะไรก็แล้วแต่ เป็นอธิบดีก็ไม่ใหญ่ถาวร และบางคนใหญ่อย่างเขาจำยอมให้ใหญ่ ใหญ่อย่างไม่ใช่ชนะหัวใจเขา เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นว่า บุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่ท่านทั้งหลายกำลังหลง กำลังยึดอยู่ เขาอยู่เพียงชั่วขณะ ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักกบฏ เป็นนักปกครอง เป็นนักการเมือง เป็นนักการค้า เป็นเศรษฐี เป็นเสนาบดี เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ก็ใหญ่แค่เป็นยุคๆ


แต่ใหญ่อีกอย่างหนึ่ง ที่ใหญ่อันแท้จริงและใหญ่ชั่วนิรันดร มีใหญ่เป็นเวลายาวนานจนกว่าโลกสลาย คือการใหญ่อันแท้จริง ต้องใหญ่แห่งการเป็นนักปราชญ์

ทำไมอาตมาจึงบอกว่า ต้องใหญ่แห่งการเป็นนักปราชญ์เล่า? ท่านจะเห็นว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็เป็นนักปราชญ์และเป็นบรมศาสดา พระองค์ได้สิ้นจากโลกมนุษย์ก็เป็นเวลา ๒,๐๐๐ กว่าปี ชื่อเสียงเกียรติคุณของพระองค์อันยิ่งใหญ่และใหญ่อย่างไม่ต้องมีคนบังคับให้นับถือ ใหญ่อย่างที่มีผู้นับถือด้วยหัวใจ ด้วยใจจริง รองมาก็คือ พระเยซูคริสต์ ถัดลงมาก็พระมะหะหมัด เล่าจื๊อ เต้าจื๊อ เหล่านี้ ต่อมาก็พระอริยสงฆ์และพวกที่เป็นพระเกจิอาจารย์ พวกนี้เขาเรียกว่า “ใหญ่ที่แท้จริง”

เพราะอะไรอาตมาจึงเรียกมนุษย์พวกนี้ว่าใหญ่ที่แท้จริงเล่า นักปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ นักเปลี่ยนแปลงการปกครองที่ยิ่งใหญ่ พอสิ้นจากโลกมนุษย์ไม่นาน มนุษย์รุ่นอนุชนต่อๆ มา ที่มาใช้กรรมในโลกมนุษย์ก็ลืมไป แล้วก็มีเพียงส่วนน้อยที่จะศึกษาประวัติ แต่ว่า นักวิชาการ นักปราชญ์ นักลัทธิที่ตั้งขึ้นมาในศาสนา ในด้านนามธรรม ถึงแม้ว่ามนุษย์ในยุคที่มีนักปราชญ์และบรมศาสดายังคงมีสังขารอยู่ สิ้นจากโลกมนุษย์เป็นพันๆ ปี อนุชนรุ่นหลังเกิดมาก็ยังนับถือนักปราชญ์และบรมศาสดาอยู่

ท่านจะเห็นว่า ผู้ที่เข้ามาเป็นพุทธสาวกก็ดี ผู้ที่เป็นชาวคริสต์สาวกก็ดี ผู้เข้ามาเป็นอิสลามมิกชนก็ดี หรือว่าผู้ที่เข้ามาเป็นในลัทธิใดลัทธิหนึ่งแห่งศาสนาก็ดี เขาเรียกว่า นามธรรมแห่งการนับถือนักปราชญ์นั้นๆ เขาเหล่านั้นเข้ามาด้วยศรัทธา เข้ามาด้วยความอยากรู้อยากเห็นถึงอัจฉริยะถึงความเป็นอยู่ของบรมศาสดาที่ตนศรัทธาจากนามธรรม


และใหญ่อีกอย่างหนึ่งคือ ใหญ่ในการสร้างสิ่งสมมติแห่งวัตถุในโลกมนุษย์ให้ยืนยาว แต่ก็ไม่จีรังเท่าความยิ่งใหญ่แห่งการอยู่เหนือหัวใจมนุษย์ที่เกิดมา

ฉะนั้นท่านทั้งหลายในการเป็นมนุษย์นั้น ที่วุ่นวายที่ยุ่งเหยิงทั่วสรรพธุลีในโลกมนุษย์ เกิดจากความอยากเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ ทีนี้การอยากเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายที่ไม่ถ่องแท้นั้น เพราะไม่รู้จักทางเลือก ก็เป็นผู้ยิ่งใหญ่แบบร้อนๆ ใหญ่แบบใจเต้นไม่ปรกติ ใหญ่อย่างที่เรียกว่า ไม่มีความจีรังถาวร

ฉะนั้นตามทัศนะอาตมาแล้ว อยากให้ท่านทั้งหลายหาทางใหญ่อย่างใจไม่เต้น หาทางใหญ่อย่างจีรัง หาทางใหญ่อย่างมั่นคง คือใหญ่แห่งการศึกษาเข้าถึงธรรมชาติ เข้าถึงอมตธรรม เข้าถึงสัจจะถึงโลก และเรียนตนเป็นนักปราชญ์ ที่สืบต่อศาสนา ความยิ่งใหญ่อันแท้จริงอยู่ที่ “ต้องชนะใจของมนุษย์” ที่เราปกครองและเขายอมให้เราปกครองโดยศรัทธาเราอย่างจริงใจจากภายในออกสู่ภายนอก ไม่ศรัทธาเราแต่ปาก ใจไม่นับถือ

ฉะนั้นท่านทั้งหลายที่ได้มีโอกาสมาศึกษาและมาฟังธรรมเตือนสติแห่งการเป็นผู้ยิ่งใหญ่ อาตมารู้ว่า ขณะนี้ท่านโตกำลังวางแผนงานใหญ่ แต่ใหญ่ด้วยการสร้าง “ธรรมาวุธ” ขึ้นในประเทศสยาม ใหญ่อย่างที่กระตุ้นมนุษย์ให้เข้าสู่คุณธรรม ใหญ่อย่างให้มนุษย์มีอุดมการณ์และมีจุดแห่งความยึดในการดำรงชีวิต


ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะสัมฤทธิ์ผล ก็อาศัยท่านทั้งหลายที่รับตนเป็นกรรมการหรือเป็นอะไรนั้น ก็เรียกว่า เป็นทหารธรรมที่จะไปขยายไปดำเนินงานให้ลุล่วงให้ผลงานเป็นอมตะชั่วนิรันดร์

ขอยุติเพียงแค่นี้ อาตมภาพไม่มีอะไรจะเทศน์มากกว่านี้ เพราะอาตมามีคติยึดมั่นอยู่แล้วว่า “พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์” และใคร่ขออำนวยพรให้ท่านทั้งหลาย จงสัมฤทธิ์ผลในชีวิตแห่งการเป็นมนุษย์ และขอให้ท่านทั้งหลาย จงละจากกิเลสเข้ามาสู่ธรรมะและมีจุดแห่งการไปถึงนิพพานเถิด

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:13

ตอนที่ ๑๔

ธรรมะเพื่อสันติสุข



เจริญพร

สานุศิษย์ทั้งหลาย วันนี้ก็เป็นวันนิมิตดีวันหนึ่งของโลกมนุษย์ ซึ่งท่านทั้งหลายตอนบ่ายก็ได้ฟังเหตุการณ์เรื่องราวของมนุษย์โลก และในขณะนี้เทวโลกก็กำลังประชุมเรื่อง เมืองเขมรแตกแล้วไทยจะเป็นอย่างไร คิดว่าทุกคนที่ฟังในตอนบ่ายนั้น ก็ให้เข้าใจว่า ขณะนี้สยามประเทศของเราตกอยู่ในฐานะอะไร เหตุการณ์เป็นอย่างไร
คิดว่าทุกคนฟังแล้ว คงจะไม่ใช่ปล่อยทิ้ง หรือว่าแลไปแล้วก็ไม่แลต่อ

ปัญหาอย่างทางปักษ์ใต้ ทางปักษ์ใต้มันเป็นปัญหาเรื้อรังมานานตั้งแต่สมัยที่อาตมาอยู่ที่วัดช้างให้ เริ่มสร้างวัดช้างให้ คือทางนั้นเขาเรียกว่ามณฑลอยู่ทางใต้ จึงเป็นการที่เมืองหลวงแลไม่ถึง ดูแลไม่ถึงทั้งน้ำทั้งทะเล ทางนั้นก็ติดไปทางมลายู เมื่อมลายูเข้ามา ก็มาสอนในคัมภีร์อัลกูรอาน เขาก็พยายามสอนว่า ดินแดนแห่งนี้มันของมลายู

ถ้าจะพูดว่าเป็นดินแดนของใครนั้น มันก็เป็นเรื่องที่น่าคิด เมื่อยุคสุโขทัยเรืองอำนาจ พ่อขุนรามคำแหงได้ตีตลอดแหลมมลายูถึงสิงคโปร์ ถ้าเราจะพูดเรื่องที่ดิน มันก็เป็นเรื่องที่จะต้องต่อสู้จะต้องแย่งกัน ปัญหาเหล่านี้มันเกิดขึ้นเรื้อรังมานานหลายศตวรรษ

ทีนี้ ในปัญหาปัจจุบัน เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์มีกระแสจิตในการวาง ในการหยุดก่อเรื่องก่อราว หันมารวมกัน เพื่อพาจุดยุติให้เกิดสันติสุขในโลกมนุษย์ ปัญหาเรื่องคน คนย่อมจะมีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นกิเลสเข้าออกในด้านมนุษย์

ปัญหาเรื่องโลภะ โทสะ โมหะ ของมนุษย์ เรานั้นจะทำอย่างไร เพียงแต่ให้เบาบาง อย่าพูดคำว่าหมดกิเลส ตราบใดที่ยังเป็นมนุษย์ ตราบนั้นกิเลสตัณหายังต้องมีอยู่ในสังขาร ในสังสารวัฏ เพียงแต่อย่าให้ประมาท อย่ายึดในตน ให้รู้จักสังวรหนึ่ง ให้รู้จักสันโดษเพียงพอในตนที่มีอยู่หนึ่ง ถ้ามนุษย์ทั้งโลกยึดหลักแห่งการรู้สึกสังวรตน รู้จักสันโดษตนในขอบเขต ก็คิดว่าสันติสุขจะเกิดขึ้นได้

ภาวะขณะนี้ในโลกมนุษย์นั้นเป็นภาวะ “กลางกลียุค” ภาวะที่อยู่ในกลางกลียุคเช่นนี้ การที่จะรวมฝ่ายธรรมะให้อยู่อย่างเป็นกลุ่มเป็นก้อนก็เป็นเรื่องที่ยาก แต่ปัญหาที่ว่ายากน่ะ ทุกอย่างในโลกมนุษย์มันไม่ยากเกินความสามารถของมนุษย์ที่มีความจริงใจในการที่จะประกอบความดี
คือ เราจะทำความดี เราควรจะยึดในคติที่ว่า

ทำความดีเพื่อความดี
ทำความดีเพื่อคนอื่น
ทำความดีเพื่อความสุขของส่วนรวม


สิ่งเหล่านี้
ถ้าทุกคนมีกระแสจิตเข้ามาอยู่ในกระแสนี้ ก็ย่อมจะทำให้เกิดสันติสุขได้ การที่จะเข้าสู่กระแสนี้ได้ อยู่ที่การเผยแพร่ การพูด การอ่าน ซึ่งเราจะเป็นการที่จะออกไปสู่มนุษย์โลก เป็นกระแส “ประชาชนพลังธรรม”

เมื่อทุกคนรู้ว่า ขณะนี้สยามประเทศอยู่ในภาวะที่อันตราย เมื่อท่านรู้ว่าอันตราย แต่ถ้าทุกคนมาท่องแต่อันตราย แต่ไม่รวมกันทางสันติ มันก็ไม่มีทางพ้น เช่นในการที่ท่านเป็นชาวพุทธ ท่านท่องแต่ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา ท่องแค่นี้ ถ้าท่านไม่ปฏิบัติในศีล ไม่ทำสมาธิ ปัญญานี้ก็ย่อมจะเกิดไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น

ท่านจะต้องแข่งกับอันตราย ด้วยการสละความสุขของตน เพื่อขจัดอันตรายให้เป็นไม่อันตราย นั่นเป็นหลักที่ท่านควรที่สังวร อย่าฟังแล้วก็ผ่าน แลครั้งเดียวก็ไม่แล นี่ก็เป็นการที่ไม่ดี ฉะนั้นอาตมาก็หวังว่า คงจะเป็นคติให้ท่านคิด แล้วมีอะไรอีกไหม


เลขาธิการ –
ภาวการณ์ของเขมรจะแตกนี้ จะมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไรบ้างครับ หลวงปู่ครับ

หลวงปู่ทวด –
คือ ผู้นำ ถ้าเขานำทัพเข้ามา ภาษาชาวบ้านก็ว่า เป็นผู้ที่มีความแค้นต่อผู้นำฝ่ายไทยในอดีต และก็เป็นการที่เขาใช้เครื่องมือของฝ่ายที่โลกมนุษย์เรียกว่า ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ปัญหานี้เป็นปัญหาที่น่าคิด ถ้าเขาทำสำเร็จ ท่านก็ต้องใช้สมองคิดว่า มันมีอะไรเกิดขึ้นในแผนงานที่เขาทำอยู่ มันมีมือที่จะมาเสริมของเขา มีทหารเข้าไปมาก ทหารต่างชาติ

(เทศน์เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:18

ตอนที่ ๑๕

การบูชาครู



อาตมาในฐานะเป็นประธานรับผิดชอบสำนักปู่สวรรค์ ขออนุโมทนาในกุศลที่ท่านทั้งหลายได้จัดขึ้น คือ การบูชาครูบูรพาจารย์


การบูชาครูนั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกรูปทุกนามควรปฏิบัติ เพราะครูบาอาจารย์เป็นพ่อแม่คนที่สอง รองจากพ่อแม่ที่ให้กำเนิดแก่เรา ซึ่งสอนเราแค่การอยู่การกินการเดิน เรียกว่า เลี้ยงกายเนื้อและคอยดูแลเรา เมื่อเราเป็นเด็ก แต่พ่อแม่ที่ให้ปัญญา ให้ความรู้ ให้สมอง ให้เราเป็นคนนั้น เป็นพ่อแม่คนที่สองก็คือ ครู

เพราะฉะนั้น คนที่รู้จักบูชาครู รู้จักเคารพครู คนนั้นย่อมที่จะมีทางเจริญ ตามหลักของธรรมะถือว่า บูรพาจารย์เป็นผู้เลิศ เป็นผู้สร้างสรรค์ เป็นผู้ทำงานให้โลกเจริญ

ทีนี้ คนที่มาที่นี่มาจากปักษ์ใต้ก็มีมาก และบางคนถามว่า เหตุใดอาตมาจึงมาโลกมนุษย์ มนุษย์เรานี้การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เมื่อเราเป็นโรคทั้งกายและใจด้วยแล้ว จะทำให้สมองไม่ดี


ทีนี้ การที่จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บหายนี่ ตัวเราก็ต้องรู้จักรักษาตัวเรา อย่าให้อารมณ์ ๓ อย่างเข้าสิง อารมณ์ ๓ อย่างนี้ จะทำให้เราเป็นทั้งไข้กายไข้ใจและไข้อะไรๆ อีก ฉะนั้นเราต้องรักษาอารมณ์ของเรา คือ

อารมณ์ที่ ๑  อย่าให้มีตัวโทสะเกิดขึ้น
อารมณ์ที่ ๒  อย่าให้มีตัวโลภะเข้าแทรก
อารมณ์ที่ ๓  อย่าให้ตัวโมหะต้องกาย


ถ้าท่านรักษาอารมณ์ได้ โรคจะเข้ากายเราน้อยที่สุด ท่านก็จะมีสุขภาพที่ดีที่สุด และ
ขอให้ทุกคนอภัยซึ่งกันและกันในหมู่มนุษย์ และก็จะต้องมีความสามัคคีในหมู่มนุษย์ โดยคิดว่า ที่เราเกิดมานี้เท่ากับเรามาแลโลกที่เต็มไปด้วยความยุ่งยาก ให้มาใช้กรรม

ฉะนั้นวันนี้ผู้ที่มาด้วยใจและกายก็ดี ที่มาดูเล่นก็ดี ที่มาสังเกตการณ์ก็ดี ที่ไม่สามารถมาก็ดี ส่งกระแสจิตมาที่นี่ ทั้งเทพพรหมที่มาร่วมในพิธีนี้ อาตมภาพในนามประธานใหญ่สำนักปู่สวรรค์ขออนุโมทนา


ให้ท่านทั้งหลาย จงมีความสุขความเจริญ เทพพรหมที่อยากได้ฌานญาณสูงก็ให้ได้ฌานญาณนั้น มนุษย์ที่จะปฏิบัติให้ถึงธรรมก็ให้ได้ถึงธรรม ผู้ที่คิดว่าอดกินก็ให้มีกินจนเหลือกิน ขอให้สมปรารถนา แต่ไม่ใช่คิดในสิ่งไม่ดี คือให้ปรารถนาแต่สิ่งดี

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๖)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:21

ตอนที่ ๑๖

โลกนี้ไม่มีใครยิ่งใหญ่กว่าใคร



ว่าตามความจริงของธรรมชาติของธรรมะแล้ว ไม่มีใครใหญ่ ต้องผลัดกันใหญ่ จึงจะเป็นส่วนรวมได้ และจะต้องรู้จักคำว่า “ใหญ่ที่ใด” เรียกว่ารู้จักในกาลเทศะ อย่างเช่น เราจะไปเรือ ในนั้นใครใหญ่ที่สุดในเรือท่านรู้ไหม นายท้ายเรือใหญ่ที่สุด เพราะชีวิตเราอาศัยอยู่กับเขา เขาเป็นคนขับเรือ เพราะฉะนั้นการที่วางตัวเป็นใหญ่ในสังคมก็ดี ในการเป็นใหญ่ในโลกมนุษย์ก็ดี ต้องรู้จักกาลเทศะ

เราอยู่ในบ้านใครใหญ่ บิดามารดาใหญ่ เราอยู่ในที่ทำงาน ผู้ร่วมงานเหนือเราใหญ่ เราอยู่ในโรงเรียน เราเป็นครูย่อมใหญ่กว่านักเรียน แต่ถ้าท่านดูให้ทั่วแล้ว ไม่มีใครใหญ่ ผลัดกันใหญ่ต่างที่ คือเทศะ ประเทศ ผลัดกันใหญ่ต่างกรรม คือการงานที่ทำ ต่างวาระ คือกาลเวลา ถ้าคนเรารู้จักใช้ความพิจารณา ก็ไม่เกิดการทะเลาะและอิจฉากัน

ทุกวันนี้โลกมนุษย์ยุ่งเหยิง ก็เพราะว่ามนุษย์ไม่พิจารณาในตัวตน ไม่คิดถึงการ “เป็นใหญ่” ว่าเป็นอย่างไร

ใหญ่ถูกที่ คือ ใหญ่ให้เหมาะกับสถานที่
ใหญ่ถูกกาลเทศะ คือ ใหญ่ให้เหมาะสมกับเวลา
วางตนถูกเทศะ คือ ให้เหมาะสมกับสถานที่
คำพูดต้องถูกกาลเทศะ คือ ให้เหมาะสมแก่เวลา


เพราะว่ามนุษย์เรานี่ คนพูดมีทัศนะอย่างหนึ่ง คนฟังก็มีทัศนะอีกอย่างหนึ่ง ย่อมไม่เหมือนกัน นานาจิตตัง คือ คนพูดมีเจตนาดี แต่คนฟังเข้าใจในทางเจตนาร้ายก็ได้ เพราะว่าคนฟังมีอกุศลและกิเลสติดอยู่ในตน คือ มีอกุศลอารมณ์เกลียดคนๆ นั้นอยู่ ก็ย่อมปรุงใจไปสู่ทางที่ไม่ดี ในทางที่ผิด แต่ถ้า
คนฟังมีเจตนารมณ์รักใคร่คนพูด มีเจตนาบริสุทธิ์ต่อคนที่พูด คำพูดของคนนั้น ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่ไม่ดี ก็แปรเจตนานั้นไปในทางที่ดีก็ได้ นี่คือเรื่องของอารมณ์มนุษย์

ในการที่เราจะทำงานใหญ่ เราจะต้องวางตนให้ใหญ่ถูกที่ถูกกาลเทศะ คนเราถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว โลกนี้ไม่มีอะไรใหญ่ เพราะสรรพสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นผู้มีกรรมพัวพันกันในอดีต แผ่นดินนี้ไม่มีขอบเขตกั้น ถ้ามนุษย์ไม่แบ่งกัน ทุกคนที่เกิดเป็นมนุษย์ก็ไม่มีขอบเขต ไม่แบ่งเป็นประเทศ ทุกคนเป็นสัตวโลกที่เกิดมาใช้กรรม ถ้าทุกคนพิจารณาให้ซึ้งถึงธรรมะอันแท้จริงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดมแล้ว ความสันติสุขย่อมเกิดขึ้นในโลกมนุษย์

แต่ทุกวันนี้ ความสันติสุขในโลกมนุษย์ไม่มี เพราะว่าทุกคนไม่ยอมพิจารณาให้ถ่องแท้ในธรรมะว่า ความจริงนั้นสัตวโลกทุกคนมีกรรมพัวพันกันมา ไม่ว่าจะเกิดเป็นฝรั่งเป็นจีนหรือเป็นพวกแขก หรือชาติอะไรก็แล้วแต่ ก็ล้วนแต่เกิดเป็นคนเพื่อมาใช้กรรมทั้งสิ้น ขอบฟ้านี้ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวก ยิ่งยุคนี้เป็นยุคก้าวหน้า มีนกเหล็กบินได้ บินประเดี๋ยวเดียวก็ถึงประเทศโน้นประเทศนี้ ไม่เห็นมีอะไรมากั้นเขตแดนว่าเป็นประเทศใด เพียงแต่มาสมมุติกัน มาแบ่งกัน มาถือกัน มาอวดทิฐิกัน จึงเกิดความยุ่งยากขึ้นในโลกมนุษย์

เพราะฉะนั้นการเป็นคน ท่านจะต้องรู้จักการพิจารณาตน ท่านต้องรู้จักจับอารมณ์ แล้วจะไม่มีอะไรที่น่าติดน่ายึด ที่คนอื่นเขาว่าเรา ถ้าคนฟังมีสมอง เขาก็จะต้องคิดว่า คนที่ว่าคนนี้ใช้ไม่ได้เพราะอะไร เพราะว่าคนดีเขาไม่เที่ยวด่าคน นี่เป็นหลักความจริง และคนที่มีสมองมีความคิด เขาจะต้องมีความรู้สึกนึกคิดว่า คนๆ นี้พอลับหลังก็ว่าคนนี้คนนั้นได้ ถ้าเราฟังเขาว่า เราเชื่อเขา หลังจากที่เขาจากเราไป เขาไปเจออีกคนหนึ่ง เขาจะไม่ด่าเราหรือ นี่สำหรับคนที่มีปัญญา ปัญญาของการเป็นคน แต่ถ้า “ปัญญาที่ไม่ได้เป็นคนแล้ว” ก็ถือคำด่า ถือคำชม เป็นหลัก

เพราะฉะนั้นผู้ที่มาในสถานที่นี้ควรทราบว่า อาตมาเป็นประธานที่เขาเรียกว่า “เป็นประมุขของสำนักปู่สวรรค์” อาตมาใช้คำว่า “นิ่งเสียพระโพธิสัตว์” เป็นตัวอย่าง เมื่อเราจะมาเป็นศิษย์พระโพธิสัตว์กันแล้ว ก็ควรจะมี “จิตแห่งความนิ่ง” เสียบ้าง คือไม่มีการถืออารมณ์ใดๆ เป็นหลัก อารมณ์ของการชมไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดี คำชมหรือคำด่าก็จับออกมาดูไม่ได้ เพียงแต่เป็นอารมณ์ของอายตนะที่ผ่านไป ว่าเป็นคำชมหรือคำด่า


เพราะฉะนั้นคำสรรเสริญหรือคำนินทา ถ้าเราไม่ยึดคำสรรเสริญหรือคำนินทาเป็นหลัก เราก็มีความสงบของจิตได้ เมื่อจิตสงบได้ดีก็เกิดประภัสสร เมื่อเกิดประภัสสรก็เกิดปัญญา ปัญญาที่ดีก็ทำให้จิตอิ่มเอิบ ก็ทำให้ร่างกายผ่องใส ไม่มีทุกข์ไม่มีร้อน

ดังที่ทุกวันนี้เกิดความทุกข์ความร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโน่นยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นธรรม ถ้าเป็นอาตมาแล้วมีความเห็นว่า สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรม จึงมาเกิดเป็นสัตวโลก สัตวโลกทุกคนจะต้องใช้กรรมตามวาระตามกรรม ถ้าทุกคนจะถืออารมณ์ ก็เกิดจากการเข่นฆ่า เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดอายตนะ

สิ่งเหล่านี้แหล่ มนุษย์ไม่สอนไม่พูดไม่พิจารณากัน จึงทำให้เกิดความฟุ้งซ่านขึ้นในโลกมนุษย์มากขึ้น ฉะนั้นท่านที่จะมาเป็นสาวกของอาตมา เป็นสานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์ซึ่งอาตมาเป็นประธานอยู่นี้ ท่านจะต้องมีอารมณ์นิ่งเสียบ้าง แล้วจะดี ถ้าท่านไปติดในคำนินทา ติดพรรคพวก ติดหมู่คณะ ติดอะไรต่างๆ จะมีความสำเร็จความสามัคคีของงานไม่ได้ ในโลกนี้ ถ้าไม่มีการพูดกัน ก็ยิ่งแคลงใจกันมาก นี่เป็นธรรมดาของโลก

แม้แต่ศัตรูของเราก็ดี ถ้าเราเข้าไปคุยกับศัตรูด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใสและด้วยความบริสุทธิ์ของจิต ศัตรูคู่อริก็จะกลายเป็นมิตรได้ นี่เป็นธรรมดาของธรรมชาติที่คนติดอารมณ์ แต่ถ้าท่านถือหลักแห่งความจริงของธรรมชาติแห่งธรรมะแล้ว ย่อมไม่ติดอารมณ์ เมื่อท่านไม่มีอารมณ์ยึดคำว่า “สรรเสริญ นินทา” ก็ไม่เห็นมันโผล่ออกมาให้ดูว่า “นี่เป็นคำสรรเสริญ นี่เป็นคำนินทา” เพียงแต่เป็นอารมณ์ที่มากระทบอายตนะหูเท่านั้น

อารมณ์อันนี้เกิดจากอารมณ์ฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ภายในแสดงออกทางปาก มากระทบหูของเราให้เราฟัง เมื่อเราฟังแล้วเก็บมาปรุงก็เกิดความฮึกเหิม ถ้าเราไม่ปรุงก็จะสบายใจ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากเป็นคนที่มีอายุวรรณะ ผิวพรรณผ่องใส ก็อย่าไปถืออารมณ์ของคนอื่นมาปรุง จะต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำไปแล้วสัตวโลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือหลักความจริงของธรรมะ

อาตมาไม่อยากเทศน์ เพราะว่าเทศน์ไปแล้วก็เสีย เพราะเทศน์ไปแล้วก็อย่างนั้น มนุษย์ยังยึดกันมาก


“แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุดฉันนั้น”


“ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกัน ย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก”


เพราะฉะนั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงสอนธรรมะในชมพูทวีป พระองค์ตรัสว่า พระองค์กลัวคนที่มีอนุสัยสันดานเดิมที่นอนนิ่งเกาะกินอยู่มาเป็นกัปกัลป์แห่งชาติ ซึ่งสัตวโลกย่อมไม่เหมือนกัน ย่อมมีกรรม ย่อมมีภาวะ ย่อมมีอะไรต่างๆ เฉพาะตน เพียงแต่ว่าเขายอมพิจารณาตัวเอง ขัดเกลาสันดานของตัวเองหรือไม่


เพราะว่าสันดานนี่นะ ให้ใครขัดเกลาไม่ได้ เปรียบเสมือนหนึ่งคนที่ท้องหิว ไม่มีใครรู้ว่าท่านหิว ต้องตัวท่านเองจึงจะรู้ว่าหิว เมื่อตัวท่านรู้ว่าท่านหิว แต่ท่านไม่อ้าปาก เขาใส่ข้าวไปในปากของท่านได้ไหม ฉันใดก็ฉันนั้น

เพราะฉะนั้นเรื่องสันดานของคน จึงเป็นเรื่องที่แก้ยาก ตามพุทธพจน์ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสว่า พระองค์ไม่กลัวสัตว์ดุร้าย พระองค์ไม่กลัวมหาโจร พระองค์ไม่กลัวคนเคยชิน พระองค์ไม่กลัวสตรี แต่พระองค์กลัวคนที่มีสันดานเดิมที่นอนนิ่งเกาะกินอยู่มาเป็นกัปกัลป์แห่งชาติ

เพราะฉะนั้นผู้ที่จะดัดสันดานเดิมของตนที่ไม่ดี จะต้องหมั่นพิจารณาตนเอง จึงจะได้ผลและดัดสันดานที่ไม่ดีได้


เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:27

ตอนที่ ๑๗

การเป็นผู้ใหญ่กับกรรมตามสนอง



วันนี้อาตมาขอเทศน์เรื่องการเป็นผู้ใหญ่กับกรรมตามสนอง ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ก็คือ ต้องสุขุมรอบคอบและจะต้องไม่ยึดติด “เสียง” เป็นหลัก

“เสียง” นี่ไม่มีตัวตน แต่เสียงสามารถทำให้มนุษย์ฆ่ากันได้ เสียงสามารถทำให้มนุษย์รักกันได้ ถ้ามนุษย์ผู้ใดคิดจะทำงานเพื่อส่วนรวมก็ดี จะอวดตนเป็นผู้ใหญ่ก็ดี ควรจะต้องไม่ติด “เสียง” เป็นจุดแรกก่อน

การเป็นผู้ดีจะต้องมีสัจจะ ไม่กล่าวร้ายบุคคลที่สามลับหลัง เช่น นาย ก. เป็นผู้ใหญ่ ได้ยินนาย ข. มาพูดเรื่องนาย ค. ให้ฟัง นาย ก. จะต้องคิดทันทีว่า นาย ข. นี้ เป็นบุคคลเช่นไร นาย ก. จะต้องมีความสำนึกว่าหากนาย ข. เป็นผู้ดี เขาควรจะต่อว่านาย ค. โดยที่คนๆ นั้นอยู่ต่อหน้า ไม่ใช่คนๆ นั้น
ไม่มีโอกาสพูด ไม่มีโอกาสแก้ตัว

โลกทุกวันนี้ยุ่งยาก ก็เพราะมนุษย์ที่อวดตนหรือยกตน ยังไม่มีจรรยาในการ “พิจารณาตน” ถ้าสัตวโลกอยู่กันอย่างไม่ยึดสิ่งใดเลย โลกนี้ย่อมสงบ ท่านต้องเข้าใจว่า “การให้ทุกข์เขานั้น ทุกข์นั้นถึงตัวท่านเองแน่นอน” นี่เป็นหลักความจริง

สมัยเมื่ออาตมามีสังขารอยู่ปัตตานี ในระยะเริ่มแรกสร้างวัดช้างให้ มีแขกมลายูคนหนึ่งมาบวชอยู่ในวัดของอาตมา แขกมลายูคนนี้ไม่รู้ภาษาสยาม รู้แต่ภาษามลายู ทีนี้เมื่อรู้แต่ภาษามลายู จะสอนให้สวดมนต์ก็ดี จะสอนการอ่านก็ดี ย่อมทำไม่ได้


อาตมาจึงบอกเขาว่า ถ้าเช่นนั้นก็ไม่ต้องสวดมนต์ละ ท่องเพียงสองคำก็พอ คือ “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” แขกคนนั้นที่อยู่ในปกครองของอาตมา ตื่นเช้าขึ้นมาก็ออกบิณฑบาตตามปกติ กลับมาก็นั่งท่องแต่คำว่า “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว”

มีแขกมลายูด้วยกันเป็นพวกเลี้ยงแพะ เลี้ยงแกะ มาเที่ยวที่วัดบอกว่า พระองค์นี้มันพูดอะไรของมันไม่ทราบ ท่องแต่ “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” แขกคนนี้ไม่นับถือศาสนาพุทธ แต่รู้ภาษาไทยดี ก็บอกว่าไม่จริง “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นไม่ถึงตัวหรอก” จึงตั้งใจพิสูจน์คำว่า “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” จริงหรือไม่


วันหนึ่งได้ไปทำโรตีแบบที่ทางปักษ์ใต้เขาชอบกินกันสมัยนั้น คือโรตีแบบแขก แล้วใส่ยาพิษลงไปด้วย นำไปใส่บาตร พระมลายูที่ท่อง “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” บังเอิญเจ้ากรรมวันนั้น พระมลายูองค์นี้บิณฑบาตได้อาหารมามาก แล้วก็ฉันอิ่ม จึงนำโรตีสองชิ้นที่แขกนั้นใส่บาตรไปเก็บเอาไว้


ส่วนคนที่ต้องการพิสูจน์คำว่า “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” มีลูกอยู่สองคน พอเที่ยงก็หิ้วข้าวมาส่งให้พ่อซึ่งเลี้ยงวัวอยู่ในแถบวัดนั้นกิน แถวนั้นมันเป็นโคกโพธิ์ ด้านขวามีภูเขาน้อยๆ เด็กทั้งสองเดินเที่ยวไปถึงกุฏิของพระที่ท่อง “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว”  

พระองค์นี้เห็นว่า เด็กทั้งสองนี้น่ารัก บัดนี้มันก็เลยเพลแล้ว โรตีที่เก็บไว้ก็จะเสียเปล่า จึงนำเอาโรตี ๒ แผ่น ที่พ่อเด็กเขาใส่ยาพิษที่จะให้พระนี้ฉัน ให้เด็กทั้งสองคนนั้นกิน เด็กสองคนนั้นกินแล้วก็กลับไปถึงบ้านก็ป่วยทันที ครั้นใกล้จะตาย พ่อถามว่า “เมื่อเจ้าเอาข้าวไปส่งให้พ่อน่ะ เจ้าไปกินอะไรหรือเปล่า” ลูกสองคนนั้นบอกว่า ไปที่กุฏิพระองค์หนึ่งที่เป็นชาวมลายูด้วยกัน เห็นท่องแต่ “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” เห็นว่าแปลก ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ท่องแต่คำคำนี้คำเดียว พระนั้นสงสารลูกได้ให้โรตีสองอันกิน

ในที่สุดผลแห่งการพิสูจน์ว่า “ให้ทุกข์เขา ทุกข์นั้นถึงตัว” ก็ปรากฏขึ้น เขาต้องการฆ่าพระองค์นั้น แต่กลับกลายเป็นฆ่าลูกสุดที่รักของเขาเอง เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องกลัว เรามีความบริสุทธิ์ เรามีความเที่ยงธรรม เรามีหลักขันติ สัจจะ บริสุทธิ์ เมตตา คุณธรรมเหล่านี้จะรักษาให้เราปลอดภัยทุกอย่าง

ทีนี้การเป็นคน ท่านยึดเสียงหรือไม่ ท่านยึดคำพูดดีหรือไม่ ถ้าท่านยังยึดสิ่งเหล่านี้แล้ว ท่านจะเป็นนักพรตที่ดีไม่ได้ ท่านจะเป็นนักบุญที่ดีไม่ได้ ท่านจะเป็นนักปกครองคนที่ดีไม่ได้ มนุษย์เราถ้ายังติดเสียง ติดคำชมและด่า มนุษย์นั้นยังมีใจไม่ถึงธรรม “สัจธรรมเป็นธรรมอันประเสริฐ”


ทำไมสำนักปู่สวรรค์ถึงยึดจุดนี้ เพราะว่าความจริงย่อมเป็นความจริง สิ่งที่เลวก็เป็นความจริงแห่งความเลว สิ่งที่ดีก็เป็นความจริงของความดี ที่จะกล่าวต่อไปในยุคต่างๆ ของมันเอง โดยไม่มีอะไรแปรเปลี่ยนไปได้ ธรรมชาติของโลกียะและโลกุตระมันเดินของมันเอง เราจะชนะความเลวด้วยความดี เราต้องมีอุเบกขา หมายถึง คิดว่าสิ่งนี้เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อ ไม่ใช่ทำเพื่อความมีอำนาจ เมื่อท่านทำใจได้เช่นนี้ ท่านก็จะเป็นคนที่ดีได้และจะเป็นนักเสียสละที่ดีได้

ทีนี้ การที่เราจะให้คนอื่นเหมือนเราหมดย่อมไม่ได้ มนุษย์ต่างคนต่างเกิดมาในโลกนี้ มีกรรมวิบากของคนไม่เหมือนกัน เมื่อมีกรรมวิบากของคนไม่เหมือนกัน สิ่งแวดล้อมไม่เหมือนกัน มีคุณธรรมไม่เท่ากัน เราจะเอาใจของเราเป็นสรณะ ว่าที่เราทำนี้ถูก ทุกคนจะต้องว่าถูก เหมือนเรานั้นไม่ได้


ท่านเข้าใจคำว่า “นานาจิตตัง” คือ แต่ละคนมีความคิดของตนเป็นหลัก เราจะทำอะไร ควรมีความสุขุมรอบคอบ เราต้องคิดถึงคนอื่นว่า ทุกคนไม่เก่งเหมือนเรา ทุกคนไม่เหมือนเรา

ดังนั้นจำเป็นต้องมีอภัยทานเป็นสรณะ ถ้าไม่มีการให้อภัยเป็นหลัก เมื่อมนุษย์ผู้นั้นตายไป ก็จะมีแต่กิเลสตัณหาแห่งความยึดมั่นในตน จะมีแต่ความพยาบาทอาฆาตจองเวร เมื่อจิตไม่บริสุทธิ์ ย่อมเป็นทางนำไปสู่อบายภูมิ นี่คือหลักความจริงของโลกวิญญาณ

เพราะฉะนั้นอาตมาจึงไม่อยากจะเทศน์อะไรมาก เพียงแค่ขอให้เข้าใจว่า จงมีขันติ สัจจะ บริสุทธิ์ เมตตา จงตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมทุกๆ ประการ อย่าติดเสียง ไม่ว่าเสียงดีหรือเสียงไม่ดี อันตรายใดๆ จะทำอะไรท่านไม่ได้เลย

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๔ เวลา ๑๔.๔๕ น.)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:32

ตอนที่ ๑๘

สังคมของมนุษย์



คืนนี้อาตมภาพขอเทศน์เรื่อง “สังคมของมนุษย์” การฟังเทศน์ก็ดี การเรียนธรรมะก็ดี การเรียนวิชาความรู้ก็ดี เราจะต้องฟังด้วยจิตแน่วแน่ พิจารณาตามไป และจะต้องรู้ว่าอะไรเป็น “หลัก” อะไรเป็น “ขยายความ”

คำว่า “สังคมมนุษย์” นั้น ขยายความตามหลักก็คือว่า มนุษย์ที่อยู่กันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นคณะ และตัวเราปรับตัวให้เข้ากับคนหมู่มากต่อหมู่คณะ เสมือนหนึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโคดมได้สำเร็จเป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ได้ตั้งอาณาจักรแห่งธรรม คือ
สังคมธรรมะของพระองค์ ก็ได้พรรคพวกจากวิธีการเผยแพร่ความรู้ของพระองค์

สังคมใดก็ดี หมู่คณะใดก็ดี เขาย่อมมีหลักการและอุดมการณ์ของเขา ดังเช่นสำนักปู่สวรรค์นี่ อาตมภาพเป็นผู้บัญชางาน มีพวกเจ้าเป็นผู้ช่วยเผยแผ่การทำงาน อาตมามีหลักการหลักหนึ่ง คือ ทำการรักษาคนป่วย ส่วนคนที่จะมาศึกษาธรรมะ มาเรียนวิปัสสนากรรมฐานก็มาได้ สถานที่นี้บำบัดทุกข์ทั้งกายและใจ

ทีนี้คำว่า “สังคมมนุษย์” นั้นเป็นอย่างไร เราจะเข้าไปอยู่ในสังคมของเขา เราจะต้องทำตนอย่างไร คนที่จะมาร่วมสังคมของสำนักปู่สวรรค์เราจะปฏิบัติกับเขาอย่างไร หลักมีอยู่ว่า ในการติดต่อกับมนุษย์ทุกคน เราจะต้องศึกษาในด้านจิตและวาทศิลป์ของฝ่ายที่มาติดต่อ หรือในการที่ตัวเราจะไปติดต่อกับเขา คือหมายถึง การที่บุคคลปฏิบัติต่อบุคคลโดยการติดต่อระหว่างกัน

ข้อแรก เราจะท่องขึ้นในใจว่า มนุษย์ทุกคนล้วนแต่นานาจิตตัง ต่างคนต่างมีความคิดของตัวเอง ต่างคนต่างมีอุดมการณ์ของตัวเอง สังคมแต่ละชั้นจึงไม่เหมือนกัน เช่น


สังคมของนักกฎหมาย ก็มีหลักนิตินัยนิติธรรมเป็นหลักหรือเป็นอุดมการณ์ พวกนักกฎหมายจึงต้องปฏิบัติตนตามระบบ คือนิติธรรมอันนั้นจะต้องศึกษาวินิจฉัยในนิติธรรมนั้นว่าเป็นอย่างไร ใคร่ครวญแล้วจะปฏิบัติตามกฎหมายที่วางไว้ในรูปอย่างไร ควรช่วยในกรณีใด เช่น ควรช่วย เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าคนนั้นบริสุทธิ์

สังคมของเจ้าเตี้ย หมายถึง ลูกศิษย์คนหนึ่งที่มาร่วมประชุม มันก็ว่ากูจะขายอะไรๆ นั้น จะขายไปได้เมื่อไรก็ได้ ขายได้ยิ่งมากยิ่งดี มันก็มีอุดมการณ์ของมันอย่างหนึ่งว่า กูผลิตให้มากๆ กูขายได้มากๆ กูได้กำไร เมื่อกูได้กำไรมากๆ กูก็กินน้ำเมาได้มากๆ มันก็เป็นอุดมการณ์สวรรค์ของเจ้าเตี้ย

สังคมนักการค้า ก็ต้องวางแผนการติดต่อว่าจะติดต่อในรูปการอย่างไร สิ่งนี้เราจะเจรจากับเขาอย่างไร ถ้าเราจะต้อง “มุสา” แต่มุสาในทางที่ชอบ การที่มุสาออกไปนั้น วาจาของเราเรียกว่า วจีกรรม สำหรับวจีกรรมนี้เป็นโทษหนักที่สุด วจีกรรมที่เราจะกล่าวออกไปนั้น เมื่อเรากล่าวออกไปแล้ว

หนึ่ง ฝ่ายที่เราติดต่อจะต้องไม่เสียหาย
สอง จะต้องไม่เสียหายแก่ตัวเราเอง


และไม่ใช่เพียงแค่นี้ เราจะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า คำพูดของเราคำนี้ในอนาคตกาลเป็นผลร้ายหรือผลดีต่อเรา เขาเรียกว่า สร้างมโนกรรมแล้วค่อยแสดงออกทางวจีกรรม คือเป็นคำพูดออกมา เพราะฉะนั้นก่อนที่จะพูดอะไรออกมานั้น จะต้องวินิจฉัยในใจก่อน แล้วค่อยพูดออกมา ทีนี้การที่เราจะคิดติดต่อกับเขา
เราต้องอย่าเป็นนักพูดมาก แล้วจงพยายามหัดเป็นนักฟังที่ดี

สมมุติว่า “ที่เราชวนเขาเข้ามาสำนักปู่สวรรค์ เราจะต้องฟังวาจาฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นอย่างไร แล้วเราจะต้องวินิจฉัยคำพูดนั้นว่า เขาแสดงออกด้วยความจริงใจหรือแสดงออกด้วยอารมณ์ หรือว่าเราจะติดต่อการงานใดก็แล้วแต่ เราจะต้องพิจารณา แล้ววางหลักการอันใดอันหนึ่งที่จะไปหักล้างความเข้าใจเดิมของเขาให้เขาเชื่อถือ


คือ ให้ “เกิดศรัทธา” ไม่ว่าสังคมใดก็แล้วแต่ เราจะต้องคุยให้เขาเกิดศรัทธา ให้เขาโน้มเอียงมาทางเหตุผลของเรา เพราะว่าถ้าบุคคลฟังด้วยความเต็มใจ เมื่อฟังแล้วมักเชื่อตามเหตุผลที่ถูกต้อง

อาตมาเทศน์คืนนี้ก็เท่ากับท่านได้ศึกษาพระไตรปิฎกทั้งหมดคือ มนุษย์ทุกคนต่างฝ่ายต่างมีเหตุผลของตัวเองและการโต้เถียงใดๆ ก็ดี มักลงเอยด้วยเหตุผลของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเหตุผลหรือคำพูดของเราที่ได้เลือกสรรมา ไม่สามารถหักล้างเหตุผลของเขาได้ เราก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้ ถ้าเหตุผลของเราหักล้างเหตุผลของเขาได้ เราก็เป็นฝ่ายชนะ นี่คือ “การต่อสู้ของโลกมนุษย์”

ทีนี้เราต้องฟังข้อหนึ่งว่า การที่เราจะเข้าสังคมใดก็แล้วแต่ ถ้าไม่จำเป็นแล้ว อย่าพยายามปฏิบัติตามคำว่า “เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม” ข้อนี้เป็นข้อที่ล้าสมัย ผู้ที่ไม่มีอุดมการณ์จึงจะใช้ข้อนี้ เพราะอะไรเล่า เพราะว่าเมื่อเราศึกษาธรรมะ เราเข้าใจธรรมะ เราจะต้องเป็นผู้ปรับปรุงสังคม ผู้ที่จะปรับปรุงสังคมนั้น คือผู้ที่จะเข้าไปทำให้สังคมเจริญในทางที่ดี ไม่ใช่คล้อยตามสังคม อาตมาจึงว่า “เข้าเมืองตาหลิ่ว ไม่ต้องหลิ่วตาตาม”

ส่วนมากที่เราเข้าไปในงานเลี้ยงอะไรก็แล้วแต่สมัยนี้ เขาชอบกินเหล้ากัน เมื่อเขาเรียกให้เรากิน เราบอกว่าเราไม่กิน เขาก็ต้องถามว่า เพราะเหตุใดเราจึงไม่กิน เราจะแสดงวาจาอะไรออกไป เราก็ต้องคิดให้ดีเสียก่อน ดูซิพวกนั้นเมากันขนาดไหน ถ้ามันเพิ่งตึงๆ เราก็อาจพูดว่า


การกินสรุาเมรัยนั้น ท่านก็ย่อมรู้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ถ้าเป็นสิ่งดี ศีลห้าย่อมไม่บัญญัติไว้ เช่น บุคคลหนึ่งเป็นคนสุภาพอ่อนหวานเป็นคนที่ดี ไปๆ มาๆ ก็ลงเจ้าเตี้ยทุกที เจ้าเตี้ยเมื่อมันยังไม่กินเหล้า ดูมันสุภาพมันพูดดี แต่พอมันกินเหล้า มันพูดอะไรก็ไม่รู้ มันพูดแหง๋วๆ การกินเหล้านี้ ทำให้เราเมาขาดสติ บางครั้งปฏิบัติการอะไรลงไป มันก็ทำให้ได้ผลไม่ดี

ถ้าเราเป็นเช่นนี้ เราจะเข้าสังคมใดก็แล้วแต่ ย่อมจะได้คำว่าเป็น “คนขี้เหล้า” คำว่า “ขี้” นี้เป็นคำที่ไม่ดีทั้งนั้น ขี้เหล้า ขี้เล่น ขี้เกียจ สิ่งที่ไม่ดี รู้สึกว่าทุกทุกคำมีแค่คำว่า “ขี้” เช่นนี้ทั้งนั้น คนขี้เหล้า คนขี้เล่น คนขี้บุหรี่ คนขี้กัญชา คนขี้ฝิ่น สิ่งเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ไม่ดี มันจึงใช้เป็นคำขึ้นต้นสมมุตินามของคำพูดมนุษย์ หลักของภาษาสยามมันก็ขึ้นต้นด้วย “ขี้” เพราะฉะนั้น เราจะต้องคิดปรับปรุงให้ตัวเราเป็น “แก้ว” ไม่ใช่เป็น “ขี้” เราจะทิ้งสิ่งที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ไหม

ทุกคนที่มีการติดต่ออยู่ในสังคม อาตมาอยากจะให้ทุกคนหลังจากทำงานทุกอย่างเสร็จแล้ว คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก ๕ นาที หรือ ๑๐ นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้น สิ่งนี้เป็นอย่างไร สิ่งนั้นเป็นอย่างไร ทำถูกต้องหรือไม่ แล้วลงเอยด้วยรูปอย่างไร ปัจจุบันเป็นอย่างไร อนาคตจะเป็นอย่างไร


คือ ให้ปลีกตัว มีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาเรื่องของตัวเอง อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มันเอาแต่เรื่องคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง เพราะฉะนั้น เราจงหาเวลามามองตัวเอง แล้วเราจะได้ทำอะไรผิดพลาดให้น้อยลง คือผิดพลาดน้อย

โดยที่เราคิดเสร็จแล้ว คิดอย่างใจเย็นๆ ว่า สิ่งที่ผิด เราจะต้องกาลงไปว่าผิด แล้วเราจะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้น ถ้าเราผิด เราควรแก้ตัวใหม่ ไม่ใช่พอทำผิดแล้วก็บอกว่า เอ้อไม่ผิด ของเราถูก มันก็เข้าข้างตัวเอง

การติดต่อกับสังคมใดก็ดี การเข้าสังคมใดก็ดี ควรยึดหลัก ๒ ประการ คือ

หนึ่ง เราจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมนั้น
สอง เราจะต้องเป็นผู้ปรับปรุงสังคมนั้นให้ดีขึ้น


นักการค้าที่ดี นักการเมืองที่ดี นักธุรกิจที่ดี ควรจะสังวรในข้อนี้ เพราะว่ามนุษย์เราทุกคนอยู่ในโลกนี้ไปได้ไม่นาน ที่เขาเรียกว่า “มนุษยสัมพันธ์” ก็คือ มนุษย์จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน


อาตมภาพมาสัมพันธ์กับมนุษย์ก็เพื่อที่จะมาช่วยมนุษย์ในเรื่องบางอย่าง พวกเจ้าก็ต้องช่วยเหลืออาตมาให้สำนักนี้ตั้งอยู่ได้ เพื่อที่จะได้ปรับปรุงตบแต่งสังคมปัจจุบัน ให้พวกเจ้าไปคิดกันเอาเอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราจะต้องพยายามทดลองเข้าไปคุยกับคนนี้ ที่เขาคุยออกมามีอะไรเป็นหลัก อะไรเป็นขยายความ แล้วนั่นแหละจะเป็นการลับปัญญาของเรายิ่งๆ ขึ้นไป เราจะได้ทำอะไรไม่ผิด ทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมมนุษย์ปัจจุบันเสื่อมลงมาก มันกำลังไปสู่อบายภูมิ ปัจจุบันเป็นเวลาแห่งกลียุค

อาตมภาพขอกล่าวเพียงแค่นี้ ขอให้พวกที่ฟังในวันนี้กลับไปใช้สัญชาตญาณการเป็นปุถุชน รู้จักพิจารณาหาเหตุผลและปฏิบัติตาม ขอให้อยู่เย็นเป็นสุข

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:38

ตอนที่ ๑๙

ตามรอยองค์สมณโคดม



คืนนี้เป็นคืนขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เมื่อย้อนไปในอดีตกาลสองพันกว่าปีก่อนนั้น สภาวะเวลานี้โลกมนุษย์ได้สูญสิ้นพระบรมศาสดาองค์สำคัญองค์หนึ่งในแคว้นภารตะ แต่โลกวิญญาณได้ต้อนรับดวงวิญญาณดวงหนึ่งซึ่งโลกวิญญาณส่งมาทำงานได้สำเร็จผลตามที่ได้กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นคืนนี้อาตมภาพจะขอเทศน์ในหัวข้อว่า "ตามรอยองค์สมณโคดม"

สภาพการณ์เวลานี้ ทุกคนในโลกมนุษย์ที่กล่าวว่า “ข้านี้คือชาวพุทธ” แต่หารู้ไม่ว่าการเป็นชาวพุทธนั้นเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการศาสนาขององค์สมณโคดมในปัจจุบันนี้ เป็นวิถีการแห่งปลายกลียุคของโลกมนุษย์ อยู่ในระหว่างเข้าใจผิด ตีธรรมะขององค์สมณโคดมไปในทางที่ผิด


อย่างเช่น พระภิกษุในปัจจุบันก็ดี ฆราวาสในปัจจุบันก็ดี นักบวชในปัจจุบันก็ดี ทั้งบรรพชิตและฆราวาสโดยมากถือในหลักแห่งการติด หนึ่งติดในนิกาย สองติดในปรมัตถ์ บ้างติดในพระสูตร บ้างติดในพระวินัย แต่หารู้ไม่ว่ากฎเกณฑ์เหล่านี้เกิดจากอะไร

กฎเกณฑ์เหล่านี้ เช่น พระวินัยก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ศีล ๑๐ ก็ดี ศีล ๑๐๘ ก็ดี ศีล ๒๒๗ ก็ดี ศีลเท่าไหร่ก็ดี เกิดจากสภาวะแห่งผู้ที่เข้ามาในศาสนาขององค์สมณโคดมไม่ปฏิบัติตามหลักแนวทางขององค์สมณโคดมที่วางไว้ จึงบัญญัติวินัยเหล่านี้ขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหลักของพระสูตร ซึ่งเป็นการสอนในระหว่างบุคคลที่ฟังเข้าใจในสูตรนั้นๆ


เพราะฉะนั้น โลกมนุษย์เวลานี้หลงอยู่ในพระไตรปิฎก ซึ่งสภาวะอันนี้แหล่ ไม่คิดไม่นึกว่าพระไตรปิฎกเกิดขึ้นมาเพราะอะไร

การที่พระไตรปิฎกเกิดขึ้นมา ก็เพราะเหล่าอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย เหล่าเกจิอาจารย์ทั้งหลายก็ได้รวบรวมคำเทศนาสั่งสอนขององค์สมณโคดมรวมไว้ในทางอรรถกถาบ้าง ในทางฎีกาบ้าง หลังจากองค์สมณโคดมได้ปรินิพพานไปแล้วประมาณ ๓ พรรษา แต่หารู้ไม่ว่าโลกในปัจจุบันนี้ คนทุกคนเข้าใจว่าคำเทศน์เหล่านั้นเป็นขององค์สมณโคดม องค์สมณโคดมได้เทศน์เอาไว้ยังมากกว่า ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แต่รวบรวมไว้ไม่พร้อม


และโดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคปัจจุบันนี้ กฎขององค์สมณโคดมที่วางไว้ไม่เสื่อม แต่มนุษย์เสื่อม การบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ของมนุษย์ทุกวันนี้ ติดนิกาย ติดอาจารย์ ติดพรรค ติดพวก ติดเหล่า ติดคณะ เพราะอะไรเล่า และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเพณีการบวชในกรุงสยามนั้น เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่รู้ว่าเป็นหลักของใคร เพราะอะไรเล่า

เมื่อสองพันกว่าปีก่อนนั้น ผู้ที่จะบวชเป็นบรรพชิตนั้น ถือว่าสละแล้วซึ่งโลกียะเพื่อบำเพ็ญไปสู่ในหลักแห่งโลกุตระ เพื่อหลุดพ้นแห่งวัฏสงสารการเวียนว่ายตายเกิดนั้น


แต่หารู้ไม่ว่า ปัจจุบันนี้การบวชแก้บน บวชสามเดือนบ้าง บวชสิบห้าวันบ้าง บวชสิบวันบ้าง เหล่านี้แหละ ทำให้พุทธศาสนาของเราเสื่อม เพราะคนเรามองไม่เข้าใจ กฎอันนี้อาตมากล้าพูดว่า องค์สมณโคดมไม่เคยบัญญัติเลย ว่ามีบวชแก้บน มิฉะนั้นจะมีพระอรหันต์ พระอนาคามีหรือ เพราะว่าบวชแล้วต้องบวช หมายถึง เราสละแล้ว

ทีนี้สภาวะนั้น เหล่าฆราวาสทั้งหลาย ถ้าอยากจะบวชสามเดือน บวชสิบห้าวันนั้น อาตมาอยากจะขอร้องว่าอย่าไปบวชเลย เสียข้าวของ เสียผ้าเหลืองเปล่าๆ ถ้าจะบวชจริงๆ ก็ให้ “บวชใจ” หรือกักบริเวณบำเพ็ญของตนเอง ถือแบบพระจริงๆ โดยไม่ต้องไปโปรดสัตว์ไปบิณฑบาตก็ได้ เรียกว่า บวชจริงๆ บวชทางใจ


การบวชแก้บน คือ การที่บางคนไปห่มผ้าเหลือง ห่มแล้วกลับมากลับเป็นคนไม่ดี เพราะอะไรเล่า เพราะคนในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วรู้เพียงแค่ละอองของพุทธะ ไม่รู้ว่าพุทธแท้เป็นอย่างไร

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักแห่งความจริงแล้ว ถ้าเราจะเป็นชาวพุทธที่แท้จริง อาตมาอยากจะบอกว่า ไม่ต้องไปศึกษาพระไตรปิฎก ไม่ต้องไปศึกษาอรรถกถาฎีกาใดๆ ทั้งนั้น ควรจะศึกษากายในกาย ควรจะศึกษาสังขารในสังขาร ควรจะศึกษาวิญญาณในวิญญาณ เพราะอะไรเล่า เพราะว่านี่คือหลักแห่งความจริงที่องค์สมณโคดมวางไว้

ทีนี้ถ้าเราจะเป็นชาวพุทธแบบพุทธของโลกียะ อยากให้เขาถือว่า ฉันนี่แหละรู้เรื่องพระพุทธศาสนา เรียกว่าเอาแค่ชนะการพูดนั่นก็ควรศึกษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ายิ่งศึกษาตำรายิ่งยุ่ง ยิ่งไม่รู้เรื่อง ถ้าจะศึกษาในหลักธรรมะอรรถกถาฎีกาต่างๆ หรือหลักธรรมะที่เกจิอาจารย์คนนี้บัญญัติไว้ เกจิอาจารย์คนนั้นบัญญัติไว้แล้ว ทั้งชาติที่เกิดมาเป็นมนุษย์ก็ศึกษาไม่จบ เพราะตำราทั้งหลายเกิดสะสมกันขึ้นมา เพราะฉะนั้นยิ่งศึกษาก็ยิ่งฟุ้งซ่าน

การเป็นชาวพุทธที่แท้จริง หรือการตามรอยองค์สมณโคดมที่แท้จริง คือ การปฏิบัติ การพิจารณากายในกาย การพิจารณาธรรมในธรรม การพิจารณาวิญญาณในวิญญาณ การพิจารณาสังขารในสังขาร นี้แหละผู้นั้นจะเดินตามรอยองค์สมณโคดมที่แท้จริง


และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “บวช” นั้น หมายความว่า ตัดแล้วซึ่งโลกียะ ไม่ยุ่งแล้วซึ่งโลกของโลกียะ บวชตัวเพื่อที่จะบำเพ็ญให้ถึงจุดพุทธะ แล้วเอาหลักแห่งการบำเพ็ญถึงจุดแห่งพุทธะที่องค์สมณโคดมได้วางไว้ มาเผยแพร่สอนคนอื่นต่อไป

แต่ทุกวันนี้
รู้สึกว่าโลกของศาสนาพุทธกำลังไปสู่กาลแห่งความเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้กลายเป็นว่าบรรพชิตต้องอยู่ในปกครองของฆราวาส บรรพชิตจะต้องมีการตั้งตำแหน่งอะไรทั้งหลาย ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ก่อให้จิตฟุ้งซ่าน เพราะฉะนั้นผู้ที่จะบำเพ็ญไปตามองค์สมณโคดมไม่สมควรหลงในตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์เจ้าคุณเจ้าอะไรที่เขาตั้งกัน

เมื่อสมัยที่อาตมาอยู่ ณ กรุงศรีอโยธยา ได้รับตำแหน่งเป็นพระสังฆราชในวงศ์ของพระรามาธิบดีที่ ๒ อาตมาได้เป็นสังฆราชอยู่ ๓ พรรษา อาตมาหนีตำแหน่งสังฆราชไปสร้างวัดที่ปัตตานี เพราะอะไรเล่า


เพราะว่าทีแรกๆ เราก็ไม่รู้ นึกว่าเป็นสังฆราชเราก็ต้องทำตามแบบองค์สมณโคดม จะไปไหนๆ หรือไปในวังเราก็เดินไป แต่เขาบอกว่าไม่ได้ ท่านเป็นสังฆราชเดินไปไม่ได้ ต้องให้คนแบกไป นั่งเปลอะไรก็ไม่รู้ สองคนแบกกันไป อาตมาก็คิดในใจว่าแย่แล้ว พอเป็นสังฆราชก็กลายเป็นคนป่วย เดินไม่ได้ ต้องให้เขาหาม ทีนี้ถ้าเราขืนหลงอยู่ในตำแหน่งนี้ เราก็ยิ่งฟุ้งกันใหญ่ ไม่รู้อะไรเป็นอะไร อาตมาเลยหนีไปจำพรรษาอยู่ ณ น้ำตกทรายขาว

วิถีการพิจารณาของอาตมาที่บำเพ็ญอยู่นั้น อาตมาไม่ได้มีอะไร อาตมาเริ่มด้วยการเพ่งน้ำในน้ำตกว่า น้ำนี้ไหลมาอย่างไร มาจากจุดใด มาอย่างไร ไปอย่างไร จึงรู้ว่ามันเป็นน้ำ เรื่องนี้เป็นเรื่องของธรรม มิฉะนั้นองค์สมณโคดมจะไม่เทศน์เอาไว้ว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดปฏิบัติธรรม ผู้นั้นรู้เอง”

อีกจุดหนึ่งที่มนุษย์ไม่ยอมสนใจ คือ ไม่สนใจค้นกายในกายของตนเอง สิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “พุทธะ” นั้นอยู่ในกาย ถ้าจิตของผู้นั้นสามารถค้นเข้าไปถึงกายในกายอันบริสุทธิ์ สิ่งนี้ภาษาทางโลกเรียกว่า “พลัง” ชนิดหนึ่งที่ยอดเยี่ยมอยู่ในตัวเรา แต่เราไม่รู้จักค้นออกมาใช้ เพราะอะไรเล่า


ทำไมเราจึงถามเหตุใดองค์สมณโคดมจึงสามารถระลึกชาติได้ เพราะมีบุพเพนิวาสานุสติญาณ มีอนาคตังสญาณ หรือมีญาณอะไร สิ่งเหล่านี้เราไม่ต้องไปรับรู้ เราไม่ต้องยุ่ง เราต้องไม่ไปคิดถึงว่าเราจะได้ฌานโน้นฌานนี้ หลักของการปฏิบัติอันหนึ่งมีอยู่ว่า เราจะยึดอะไรเป็นสรณะของการเริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

คำว่า “กรรมฐาน” นั้นหมายถึง การกำหนดจิตของเราให้จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อรวมพลังจิตไม่ให้ฟุ้ง รวมพลังของจิตอันนั้นไม่ให้ฟุ้งแล้ว รวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งรวมจนได้อารมณ์แห่งการ ปีติ คือนิ่งเฉยแห่งจุดนั้น เมื่อนั้นให้ขึ้นวิปัสสนา

“วิปัสสนา” คือ ให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา “อนัตตา” คือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกแห่งอรหันต์ โลกแห่งโพธิสัตว์ โลกแห่งอนาคามี โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา ทำอย่างไรเราจึงจะไปสู่จุดแห่งการเป็นอนัตตา (ไม่ใช่อัตตา) ได้


กฎแห่งกรรมมีอยู่ว่า มนุษย์ทุกคนจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ไม่รู้จักกี่ภพไม่รู้จักกี่ชาติ ไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการเป็นมนุษย์ เมื่อไม่มีที่สิ้นสุดแห่งการเป็นมนุษย์ มันก็เวียนอยู่นี่ วนอยู่นี่ โดยไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะหลุดออกจากคลื่นอันนี้ มันแสนจะลำบาก แสนจะเหนื่อยยาก


จึงหาวิธีการปฏิบัติ พูดง่ายๆ ก็คือ ธรรมชาติเคลื่อนไปสู่ธรรมชาติ แต่เราจะบำเพ็ญไปสู่นิพพาน คือ สามารถทำจุดใดจุดหนึ่งให้เหนือธรรมชาติ นี่คือภาษาของหลักแห่งธรรมะ ซึ่งฟังแล้วก็ไม่เข้าใจ เมื่อผู้ใดปฏิบัติ ผู้นั้นรู้เอง

สิ่งใดที่เราแทงทะลุปรุโปร่ง มีจุดเริ่มแรกจุดหนึ่งซึ่งเรียกว่า จิตได้ฌาน เมื่อจิตได้ฌานแล้ว เราจะทำสิ่งใด เราก็สามารถรู้โดยจิตที่ได้ฌาน คือสภาวะแห่งธรรมชาติอันนั้นมีให้เราใช้ เพราะอะไรเล่า เพราะว่าธรรมชาติมีกฎของมัน กฎแห่งการลงโทษ กฎแห่งการปลดปล่อย กฎแห่งความอิสระ ฉันใดก็ฉันนั้น


วิธีการนี้แหละจึงทำให้รู้ว่า การที่จะเดินตามรอยองค์สมณโคดมที่แท้จริงนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตำรา ไม่ใช่อยู่ที่เป็นนักพูด เราพูดมากแล้วเราเก่ง หาใช่สิ่งเหล่านี้ไม่

ถ้าจะเดินตามรอยองค์สมณโคดม ขั้นแรกแห่งการเป็นปุถุชน ก็ต้องปฏิบัติในหลักศีล เมื่อศีลบริสุทธิ์แล้ว ก็ให้ปฏิบัติในหลักแห่งความเป็นสมาธิ เมื่อมีสมาธิแล้ว ให้ขึ้นสู่จุดแห่งปัญญา คือ เอาสมาธิพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ถึงพลังแห่งความสำเร็จของมัน


สิ่งนี้ถ้าเปรียบเทียบกับทางโลกก็มีอยู่สองทาง สุดยอดของนิพพานคือ ละจนถึงที่สุด สุดยอดของความรักคือ เพิ่มกิเลสจนถึงที่สุด ทั้งสองทางนี้รวมกลุ่มเดินของมันแข่งกันไป ถ้าสภาวะนั้น ผู้นั้นจิตอยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ถึงจุดอันหนึ่งมันก็เป็นความสำเร็จของมัน คือ สำเร็จทางโลกียะหรือโลกุตระ เหล่านี้แหละเป็นสิ่งที่แท้จริงขององค์สมณโคดม

ผู้ที่จะเดินตามรอยองค์สมณโคดม ต้องละหลง ละโกรธ ละชอบ ละโน่นละนี่ ละเสียงกลิ่นรส ละโภชนาหาร ฉันได้ทุกอย่างเหลืออยู่แต่ความสามารถรักษาอารมณ์แห่งจิตนั้นให้เป็นจิตนิ่ง แล้วใช้จิตแห่งการปีตินิ่งนี้พิจารณาทั้งของการจุติของสรรพสัตว์ทางโลก นั่นแหละจะถึงจุดแห่งความสำเร็จ คือเป็นผู้ที่เดินตามรอยองค์สมณโคดม เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่จะเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ก็ควรจะปฏิบัติในกฎแห่งการ

พิจารณากายในกาย
พิจารณาธรรมในธรรม
พิจารณาวิญญาณในวิญญาณ
นั่นแหละคือสานุศิษย์อันแท้จริงขององค์สมณโคดม


เจริญพร


(เทศน์ในวันวิสาขบูชา

เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐ เวลา ๒๓.๓๕ น.)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:44

ตอนที่ ๒๐

ความสามัคคี



เจริญพร

วันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ เป็นวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันแห่งองค์สมณโคดมได้ประกาศให้มีพระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ พระอนาคามีขึ้นในโลกมนุษย์ และเป็นวันที่อาตมภาพได้รับการสถาปนาแต่งตั้งจากพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงอโยธยา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทไธศวรรย์ แห่งแผ่นดินอโยธยา


การที่จะโปรดสัตว์นั้น ถ้ามนุษย์ยังไม่มีจิตเข้าซึ้งถึงธรรม มนุษย์นั้นก็ย่อมที่จะติดในด้านวัตถุ จุดแรกแห่งความเสื่อมในโลกมนุษย์นี้ เกิดจากมนุษย์ไม่มี “สามัคคีธรรม” เพราะเหตุใดเล่า อาตมาจึงเทศน์ดังนี้

ดังเช่น ในวิถีการศาสนาก็ดี มีการแบ่งสมมติสงฆ์ เป็นค่าย เป็นเหล่า เป็นคณะ เป็นหมู่ การแบ่งเหล่า การแบ่งหมู่ การแบ่งคณะนั้น เป็นสภาพการณ์ของการไม่ได้ปลูกความกลมเกลียวในหมู่ชนแห่งมนุษย์ในโลก จึงเกิดความยุ่งเหยิงขึ้น เพราะฉะนั้น เราเป็น “สำนักธรรมะแห่งโลกวิญญาณ”  

เราจะทำอย่างไร จะทำให้ความสามัคคีแห่งธรรมสงบและมีความสันติบรรลุถึงจุดแห่งความสำเร็จในโลกมนุษย์ ถ้าในหมู่ใดคณะใดก็ตาม แม้แต่ประเทศชาติที่ตั้งคณะทำงานเพื่อส่วนรวมก็ดี เพื่อส่วนตัวก็ดี ถ้ามนุษย์ผู้ใดในหมู่มนุษย์เหล่านั้นไม่มีความยึดมั่นในความสามัคคีของหมู่ของคณะแล้วไซร้ กิจการในการบริหารของประเทศก็ดี ของสงฆ์ก็ดี ของสำนักก็ดี ย่อมไม่มีความสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของอุดมการณ์

ในสภาพการณ์นี้แหละจะทำอย่างไร จึงจะทำให้เหล่ามนุษย์มีความสามัคคีดำรงตนอยู่ในสัมมาทิฐิเห็นชอบ เพราะว่า เหล่ามนุษย์นั้นมีตัว “เจ้าโลภะ” เข้าครอบงำ บางคนมี “เจ้าโทสะ” เข้าครอบงำ เมื่อมนุษย์ผู้ใดมีตัว “เจ้าโทสะและเจ้าโลภะ” มาพบกันในกายมนุษย์แล้ว มนุษย์ผู้นั้นย่อมไม่รู้จักความอิ่มและความพอในตัวตน เมื่อไม่มีความอิ่มและความพอในตัวตน ก็ย่อมมีความหิวโหยเกิดขึ้น ดั่งเหล่าผีเปรตทั้งหลาย

ทีนี้จะทำอย่างไรให้มนุษย์รู้ตนและเข้าใจตน คือ ต้องให้มนุษย์หยุดและพิจารณาตน สภาพการณ์แห่งการพิจารณาตนนั้น ก็ใช้หลัก “ความเป็นอริยะ” ซึ่งประกอบด้วยศีลและมรรค ๘ เป็นเบื้องต้น ในการพิจารณาตนจะต้องมี “สติสัมปชัญญะ” ให้พร้อมควบคุมตนให้สงบ


เพราะเหตุใดองค์สมณโคดมจึงวางหลักแห่งการปฏิบัติฌานก็ดี ปฏิบัติญาณก็ดี ว่าจะต้องมีสมาธิเป็นพื้นฐานก่อน จึงขึ้นไปสู่วิปัสสนา

แต่ทุกวันนี้ มนุษยโลกถูกวัตถุนิยมปกปิดและการยกยอปอปั้นของมนุษย์ด้วยกันที่ยกตนจนเลิศลอย ดังเช่น สมมติสงฆ์ บางคนเป็นสมมติสงฆ์แต่ผ้าเหลือง จิตใจนั้นไม่ได้เป็นสงฆ์เลย เพราะเขาไม่ได้อบรมจิต มนุษย์ผู้นั้นย่อมไม่มีความสงบและการครองผ้ากาสาวพัสตร์ก็ย่อมร้อน


ทีนี้จะทำอย่างไร ให้ความสันติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ได้ ก็จะต้องใช้หลักธรรมทั้งหลายตีเข้าไปในหมู่ชนเพียงกลุ่มน้อยที่กุมบังเหียนโลก เมื่อมนุษย์ที่กุมบังเหียนโลกรู้จักตน รู้จักพอ เขาก็ย่อมไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่โลก

ทุกวันนี้ “กฎแห่งธรรมในธรรมชาติ” ถูกมนุษย์เปลี่ยนแปลงโดยการสร้างวัตถุ โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร การสนองของวัฏฏะ เป็นการสนองกรรมของกรรมเทียม ก็เพราะว่ามนุษย์ทั้งหลาย “ไม่รู้ซึ้ง” ในหลักแห่งความเป็นจริงของความเป็นคนนั่นเอง

นโยบายและอุดมการณ์ของโลกวิญญาณ ที่จะทำงานชิ้นนี้ให้สำเร็จ ก็ต้องการให้เหล่ามนุษย์ที่จะเข้ามาเป็นลูกมือ ได้เข้ามาฝึกจิตของตนให้มีพลังอันแน่วแน่ เพื่อที่จะร่วมกันโปรดสัตว์ต่อไป


เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:50

ตอนที่ ๒๑

การทำบุญ



เจริญพร

สานุศิษย์ทั้งหลาย คืนนี้เป็นคืนวันพระ อาตมาจะเทศน์ “เรื่องการทำบุญ”

อะไรเรียกว่า “บุญ” อะไรเรียกว่า “การทำบุญ” และเมื่อทำบุญแล้ว จะได้อะไรจากการทำบุญ การทำบุญในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดี โลกมนุษย์ปัจจุบันนี้ มนุษย์ส่วนมากทำบุญเพื่อหวังผลที่จะได้ชื่อเสียง ได้ลาภ ได้เกียรติยศ


เราเป็นพุทธสาวก เป็นพุทธบริษัท การทำบุญที่ดีที่สุด คือ เราช่วยเหลือเขาในสิ่งที่เขาเริ่มทำ โดยเราช่วยเหลือเขา โดยพิจารณาด้วยสามัญสำนึกของการเป็นมนุษย์ปุถุชนว่า สิ่งที่เราควรจะช่วยหรือไม่

และระหว่างเราทำบุญนั้น เราไม่ต้องคิดอะไร จงอธิษฐานในการทำบุญนั้นว่า สิ่งนี้ข้าฯ ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ขอให้ข้าพ้นทุกข์ ขอให้การกระทำข้าฯ สนองข้าฯ ในชาตินี้หรือชาติหน้าเถิด การทำบุญเราไม่จำเป็นจะต้องทำด้วยการหวังผลในปัจจุบันหรืออนาคตกาล ส่วนมากสังคมในปัจจุบันนี้

มนุษย์ใจบาป มันมีมาก
นักบุญใจบาป มันมีแยะ


และการทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย แต่ส่วนมาก สังคมปัจจุบันของมนุษย์ล้วนแต่จะดูไปก่อนว่า สิ่งนั้นเขาทำไปในรูปอย่างไร เมื่อเขาทำลงไปแล้ว มันอยู่ได้ เขาก็จะไปผสมโรงกันเป็นส่วนมาก แต่ระหว่างที่จะก่อตั้งมานั้น รู้สึกว่าผู้ที่จะร่วมมือมันน้อยเต็มที นี่คือสัญชาตญาณของมนุษย์ปัจจุบันนี้


การทำอะไรก็แล้วแต่ เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยความอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อนนั่นแหละ มันจะพาไปสู่ทางหายนะ เมื่อเราเกิดอารมณ์ร้อน เราจะไปทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจงอย่าทำ นั่งให้จิตใจสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งนั้นไปได้โดยสะดวก อาตมาได้เทศน์ไว้แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมีแต่สำเร็จ

ทุกอย่างมีกาลเวลาแห่งการสำเร็จของผลงาน แต่ไม่ใช่นั่งอยู่ในบ้านเฉยๆ แล้วก็รอให้ทุกอย่างสำเร็จๆ อย่างเช่น พวกบ้าหวังลาภ ยศ ขอให้มีเงินทองไหลมาเทมา แต่ไม่ทำงานเลย มันจะเกิดผลขึ้นได้อย่างไร เพราะทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุแล้วจึงเกิดผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ


เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงจะรู้ซึ้งถึงพระพุทธศาสนานั้นสอนให้เราอยู่ในหลักกฎแห่งกรรม คือ ใครทำดี ดีสนอง หมั่นสร้างกุศล ท่านจะดีแล เพราะอะไรเล่า ทำดีดีจึงสนอง ผลแห่งการกระทำที่ทำลงไป มนุษย์ไม่รู้แต่เทวดาย่อมรู้ เราทำด้วยจิตที่เรียกว่า จิตสงบ ทำโดยถือว่าสิ่งนี้เป็นหน้าที่ที่เราจะต้องทำ ผลของการกระทำนั้นคือ ถ้าทำดี เราก็ได้ผลดี ถ้าทำชั่ว เราก็ได้ชั่ว เรียกว่า หว่านพืชหวังผล เมล็ดพืชชนิดใดย่อมเกิดผลชนิดนั้น เช่น

สมมุติง่ายๆ ว่า เราได้นั่งวิปัสสนากรรมฐานหนึ่งก็ดี ผลแห่งการกระทำของเราก็ย่อมดี ถ้าไม่เชื่อก็จะยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การทำบุญในใจ ด้วยการสวดมนต์แผ่เมตตา ก่อนนอนก็ดี ตื่นเช้าก็ดี เรานั่งสวดมนต์แผ่เมตตาถึงพรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด เราท่องอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทุกวันๆ แล้วจงดูซิว่า การติดต่อการงานของเรามันจะเป็นอย่างไร


รับรองว่าไปไหน อาตมาบอกได้ว่า วิญญาณมนุษย์นั้นละเอียดยิ่งกว่าอณูปรมาณู วิญญาณมนุษย์เสมือนหนึ่งน้ำ ซึ่งเป็นของเหลวที่เราจะจับขึ้นมาไม่ได้ แต่เราเห็นเป็นน้ำ เมื่อเราตั้งจิตดี จะเกิดดวงวิญญาณจิต ถ้าไฟในดวงวิญญาณจิตของเราบริสุทธิ์ จะสามารถต่อดวงไฟในจิตทุกๆ ดวงได้

จิตเราตั้งมั่นแผ่กุศลทุกๆ ดวง ทุกๆ รูป ทุกๆ นาม ผลแห่งการตั้งจิตแน่วแน่ที่เรียกว่า ปณิธาน หรือการตั้งจิตแผ่เมตตา เมื่อจิตเรามีเมตตาบริสุทธิ์มอบของดีให้เขา เหมือนหนึ่งสมมุติง่ายๆ เช่น


เราให้ของเขากิน คนที่กินย่อมคิดถึงเราว่า อ้อ คนนี้เป็นคนดี คนนี้เขาให้เรากิน คนนี้รู้ว่าเราไม่มีจะกิน นั่นแหละ ผลก็คือ จิตของเขาระลึกถึงบุญคุณของเราไว้ และเขาหากาลเวลาตอบแทนเรา ถ้ามนุษย์ที่ไม่รู้บุญคุณของผู้อื่น มนุษย์ผู้นั้นทำการงานย่อมไม่ขึ้น เขาเรียกว่า อกตัญญูอกตเวที

ทีนี้ทำไมเมื่อเราแผ่เมตตาให้ทุกรูปทุกนามแล้ว เราไปติดต่องานต่างๆ ย่อมสะดวก เพราะอะไรเล่า เพราะว่ากายในรับทราบ จิตเราบริสุทธิ์ต่อผู้อื่น ผลสะท้อนของดวงจิตประสานกันได้ เรียกว่า กายในรับทราบ


ทีนี้เมื่อเราได้กรรมฐานแล้ว ถ้าเราจะใช้กรรมฐานนั้นไปในทางที่ชั่ว เช่น บีบรัดเขาก็ดี เห็นผู้หญิงคนนี้สวย คิดจะเอามาเป็นเมียก็ดี ใช้หลักกรรมฐานบังคับจิตก็ดี ผลที่ฝึกมาก็ย่อมเสื่อม แต่ถ้าเสื่อมแล้ว เราก็อย่าถืออัตตาทิฐิ แม้ถืออัตตาทิฐิมันก็ต้องตายไปทั้งนั้น

เพราะอะไรเล่า พุทธองค์ได้สอนให้มนุษย์ไว้ว่า ผลแห่งการกระทำนั้น ต้องสนองต่อเรา เพราะฉะนั้น อาตมาจึงอยากให้ทุกคนที่ได้ฟังคำเทศน์ของอาตมาแล้ว อย่าลงความเห็นเชื่อ ณ บัดนี้ เพราะว่าต้องการจะให้ไปใช้สัญชาตญาณตัวเองคิดเสียบ้าง

พระพุทธองค์ได้เคยเทศน์ให้แก่พระอนุรุทธะว่า


“อนุรุทธะ สิ่งที่ตถาคตกล่าวไปนี้ เจ้าเชื่อหรือไม่”


พระอนุรุทธะตอบว่า…..


“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่พระองค์สอนมานั้น ข้าพระพุทธเจ้ายังไม่เชื่อ พระเจ้าข้า”

องค์สมณโคดมซึ่งเป็นผู้สำเร็จ ได้ตรัสว่า..…


“อนุรุทธะ เจ้าได้ปัญญาแล้ว”

เพราะอะไรเล่า การเทศน์ของอาตมาก็เช่นเดียวกัน สิ่งที่อาตมาเห็นในรอบจักรวาลนี้มีมาก ซึ่งพวกเจ้านั้นจะไม่ได้เห็นไม่ได้พบสิ่งเหล่านั้น ตถาคตเทศน์สิ่งเหล่านั้นให้ฟัง เจ้าก็ยังไม่ได้เห็นไม่ได้พบ ขอให้เจ้าจงอย่าได้เชื่อ จนกว่าได้เห็นได้พบสิ่งนั้น จึงค่อยลงความเห็นเชื่อลงไป นั่นแหละคือ ผู้ที่ปฏิบัติทางญาณที่แท้จริง

ถ้าเป็นพวกเราพูดอย่างนั้นอย่างนี้ อีกคนหนึ่งจะว่าอย่างไร จริงหรือไม่ ถ้าเป็นฝ่ายตรงข้ามก็จะพูดว่า “โอ๊ย ไม่เชื่อ ไม่จริง” มันก็ต้องลงไปเตะปากกัน แต่ผู้สำเร็จเขาย่อมไม่ทำอย่างนั้น

ศาสนาใดๆ ก็ดี ล้วนแต่เดินไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางแห่งความสำเร็จ คือ “ความสุข” ยอดของทุกข์ คือ “ความสุข” พุทธศาสนาไม่บังคับ เพราะองค์สมณโคดมเล็งเห็นการณ์ไกล ซึ่งไม่เหมือนศาสดาองค์อื่นๆ ซึ่งใช้กฎบังคับ นั่นเป็นเพียงแต่เทวะมาเกิด หาใช่มาปรับปรุงสังคมมนุษย์ไม่ ท่านเหล่านั้นแต่ศึกษาธรรมะ ธรรมะที่แท้จริง คือ “ธรรมชาติ”

ผู้ที่จะศึกษา “ธรรมชาติ” นั้น จะต้องศึกษาธรรมะ ไม่ต้องไปศึกษาพระไตรปิฎก ธรรมะอยู่ที่ขันธ์ห้าของเรา กายเรามีอะไรเป็นใหญ่เป็นประธาน ก็คือใจ กายเรามีอะไรเป็นเครื่องมือของใจ ก็มีสมอง กายเรามีอะไรเป็นเครื่องมือของสมอง ก็มีตา หู จมูก ลิ้น ซึ่งรัฐบาลในกายเรานี้มีครบทุกอย่าง เมื่อตาเราเห็น เรียกว่า จักขุวิญญาณ กระทบรูป รูปเป็นสมมตินาม ตาได้กระทบ ได้รายงานเข้าทางประสาท ประสาทได้รายงานเข้าทางใจ ว่าได้พบเห็นสิ่งนี้ จะทำอย่างไรต่อ ใจก็สั่ง

ถ้าผู้มีสมาธิก็สั่งด้วยฌาน ถ้าผู้ไม่มีสมาธิก็สั่งด้วยโมหะ โทสะ โลภะ คือ “อารมณ์แห่งความหลง” ซึ่งจักขุวิญญาณนั้นรายงานมาทางประสาท ประสาทรายงานทางใจนั้น มันเร็วกว่ายิ่งกว่าอะไรๆ เอาปรอทวัดไม่ได้หรอก ไม่ทันการรายงานของสังขารทั้งห้านี้


ทีนี้ทุกอย่างอยู่ที่มันจะทำ ใจมันก็สั่ง สมมติว่าเราเห็นผู้หญิงคนหนึ่งสวย ประสาทตานั้นได้เห็น ก็เข้ามารายงานทางประสาทรวม คือสมอง และก็รายงานเข้ามาทางใจว่า บัดนี้เห็นสาวคนหนึ่งสวยมาก ทีนี้ ถ้าใจเราอยู่ในอารมณ์หลง คือปรุงแต่ง หรือถ้าใจเราไม่ปรุงแต่ง เราย่อมบอกว่า ถึงสวยก็รับรู้ว่าสวยเท่านั้นเอง

ทีนี้ มนุษย์ทุกๆ คน ยิ่งๆ หนุ่มด้วย มันชอบปรุงแต่งว่า คนนี้สวยดี มันน่าจะมาเป็นภรรยาของเรา ถ้าเรายิ่งปรุงแต่งใจว่าสวย เราก็ตามไป ใจก็สั่งขาซึ่งเป็นกระทรวงคมนาคมให้เดิน ทีนี้ใจเราวินิจฉัยว่า ผู้หญิงที่นุ่งกระโปรงนี้สวย แล้วเราก็ไปดูคนแก่ว่า เมื่อแก่แล้วเป็นอย่างไร อาตมาได้เทศน์ไว้แล้วว่า คู่แท้ย่อมไม่คลาดแคล้วกัน มันก็จะมีกาลเวลาแห่งการพบกัน ไม่ใช่เห็นสวยๆ ก็ตามยิกๆ ไป พอตามไปถึง บางทีก็ถูกผู้หญิงด่า ก็ต้องหน้าแห้งเดินกลับไป

เพราะฉะนั้น การทำอะไรควรวินิจฉัย จะเป็นการทำมาหากินก็ดี การหาทรัพย์ก็ดี การกระทำทุกอย่างอยู่ที่ขันธ์ทั้งห้า เรามีกระทรวงทุกกระทรวงอยู่ในกายเราอยู่แล้ว กระทรวงคมนาคมคือเท้าสองข้างของเรา ที่จะเดินไปหาอะไรก็ได้ กระทรวงพาณิชย์หรือที่เรียกว่ากระทรวงการค้า มันก็อยู่ที่มือของเราปากของเรา กระทรวงตากระทรวงหูของเรานี้ก็คอยรายงานทุกอย่างอยู่ในขันธ์ห้านี้ และทุกสิ่งทุกอย่างจะต้องถือว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งของตน นั่นคือหลักแห่งสัจธรรมของพระพุทธศาสนา

เพราะอะไรเล่า อาตมาจึงว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน เราจะสมมติง่ายๆ ว่า เราหิวข้าวนั้น ตัวเราหิวใช่ไหม คนอื่นจะรู้ว่าเราหิวหรือ เราหิวข้าว ตัวเราหิวก็ต้องขวนขวายหามากินเอาเอง ถ้าเราไปบอกคนอื่นว่า เราหิวข้าว บางทีอาจจะไปพบคนที่ไม่เคยหิว ไม่รู้จักคำว่าหิวข้าวเป็นอย่างไร เพราะว่าเขาเหล่านั้นเคยอยู่แต่ในความสุข เคยแต่อยู่ในกามคุณ ย่อมไม่รู้ชีวิตอันแท้จริงของการเป็นมนุษย์

อาตมาได้เทศน์มาคืนนี้ ก็มีเพียงเท่านี้


เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:56

ตอนที่ ๒๒

ทางสามแพร่ง



การที่อาตมามาวันนี้ก็เพียงแต่มาพูดหลักธรรมบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ปัจจุบัน ภาวะมนุษย์ปัจจุบันที่เกิดมาเจริญเติบโต แล้วกำลังเดินอยู่ในทางสามแพร่ง

ทางสามแพร่งในโลกมนุษย์คืออะไร ก็คือ ทางโลกียะ ทางโลกุตระ และทางขันติ คืออยู่เฉย ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ ทางนรก ทางสวรรค์ และทางนิพพาน


ในปัจจุบันนี้ ทางไหนเป็นทางที่เด่นที่สุดในสังคมโลกมนุษย์ อาตมาคิดว่า ทางเด่นที่สุดในสังคมโลกมนุษย์ในขณะนี้ ในยุคนี้คือ ทางนรก เพราะอะไรเล่า เมื่อท่านออกจากชายคาบ้านของท่านสู่ถนนพื้นพิภพที่มนุษย์สร้าง ก็ล้วนแต่มีสิ่งที่ยั่วยวนกิเลสตัณหา ท่านจะเห็นว่าทางแห่งนรกกำลังเจริญก้าวหน้าเข้ามาสู่ ตา หู จมูก ลิ้น และสู่กาย ใจ ตลอดทางที่ท่านเดินทางมาจะเห็นว่า มีโรงเหล้าสุราทุกหนทุกแห่ง

แล้วมนุษย์ก็อยู่ในภาวะที่กิเลสเข้าครอบงำจนต้องตามกัน ทุกคนรู้ว่าเหล้าเป็นสิ่งไม่ดี แต่ทุกคนก็อดไม่ได้ ทุกคนรู้ภาวะแห่งความตายคืบคลานก้าวหน้าเข้ามาหาตน แต่ทุกคนก็ไม่ละความเห็นแก่ตัว คือ ตัวโลภของตน เพราะอะไรเล่า ก็เพราะอารมณ์แห่งตัวหลงได้เข้าสู่ในภาวะจิตอันบริสุทธิ์ของคนแล้ว ทีนี้ภาวะวิบากของมนุษย์ทุกคน ก็มีอารมณ์ผุดเข้าผุดออกของนรก สวรรค์ นิพพานสับเปลี่ยนอยู่ในจิตใจของตนแทบทุกรูปทุกนาม

ในขณะนี้ สานุศิษย์ก็กำลังประสบทางสามแพร่ง ทางหนึ่ง คิดจะมาร่วมมือกับท่านโต ทางหนึ่งก็คือ เรื่องส่วนตัวเป็นใหญ่ ทางหนึ่งก็คือ ที่จะมาทำงานในสำนัก ทางหนึ่งก็คือ คิดถึงกิจการของตน ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหาที่น่าคิดสำหรับการเป็นมนุษย์ในกลางกลียุคเช่นนี้


เราทำงานทวนกระแส ท่านคิดว่าจะไม่ถึง หรือภาวะที่จะฉุดเขาไปสู่ทางสวรรค์นิพพานมากกว่าดิ่งสู่นรก ตามทัศนะของอาตมา อาตมาเชื่อมันสมองท่านโตว่าเป็นไปได้ ถ้ามนุษย์ที่เอาจริงกับท่านมีเพียงพอ ทุกๆ คนต่อสู้อยู่ในสังคมมนุษย์เพื่ออะไร เพื่อความสุขใช่ไหม แต่ถ้าท่านหันเข้ามาสู่คำว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นคืออะไร สุขที่แท้จริงก็คือนามธรรม คือใจ

ทุกวันนี้มนุษย์ประสบความทุกข์ เพราะไม่เข้าซึ้งถึงจุดสุดยอดแห่งนามธรรม นามธรรมคือ “ละ” การไม่เข้าซึ้งถึงความเป็นอยู่ของตัวเองว่าต้องการอะไร จึงได้เกิดความทุกข์ทุกหย่อมหญ้า ถ้าทุกคนหันมายึดมั่นธรรมะว่า มนุษย์เกิดมาล้วนแต่มีกรรมของตนเป็นหลัก ครอบครัวที่เราเกี่ยวข้อง ผู้ที่มาเป็นลูกเป็นหลาน ที่มาเป็นผัว ที่มาเป็นเมีย ที่มาเป็นพ่อ ที่มาเป็นแม่ ก็มีกรรมของตนที่มาเสวย


ถ้าเรารู้จัก “ละ” ด้วยการเตรียมตัวก่อนตาย คือรู้แน่ว่าทุกคนจะต้องตาย มีชีวิตอยู่ไม่ถึงร้อยปีก็ต้องตาย ตายก่อนจะดีหรือไม่ ถ้าทัศนะของอาตมาแล้ว จากกันระหว่างเป็นดีกว่าจากกันระหว่างตาย

เพราะอะไรเล่า ทุกคนที่มีชีวิตอยู่ในสังคม ถ้ารู้จักคิดว่า วันหนึ่งเรากินเพียงสามมื้อ มื้อหนึ่งกินไม่เกิน ๒ ชาม ก็อิ่มแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายมีใจทำงานทวนสังคม ผู้ที่นั่งอยู่ในที่นี้ส่วนมากทำได้ เพราะทุกคนในด้านวัตถุแล้ว ตามญาณทัศนะของอาตมาตามการรับรู้จากศูนย์รวมกรรม ทุกคนมีวัตถุเกินมี


ถ้ามีชีวิตอยู่อย่างไม่ยึดปัจจัย ๔ เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า เราใส่อย่างไม่ต้องเอาตัวไปฝากกับสังคม ชุดหนึ่งใส่มันจนขาด ก็คิดว่าชุดหนึ่งใส่ได้เป็นหลายๆ ปี ถ้าท่านไม่ยึดสี ยึดสวย ยึดงาม เมื่ออาตมาบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์จนกระทั่งอาตมาสิ้นจากโลกมนุษย์ อาตมาใช้อัฐบริขารจีวรตั้งแต่บวชถึงตายเพียง ๔ ชุดเท่านั้น

ฉะนั้น ท่านคิดว่าท่านจะทำงานเพื่อสังคมมนุษย์ ท่านคิดว่าท่านจะทำเพื่อศาสนา ท่านคิดว่าท่านจะกู้เอกราชของชาติไทยแล้ว ท่านสามารถนุ่งห่มเสื้อผ้าที่ปะได้หรือไม่ ถ้าท่านเอาตัวไปฝากไว้กับสังคม เมื่อไม่มีรถนั่งแล้วทำงานไม่ได้ ถ้าพูดความจริงกันแล้ว ธรรมชาติสร้าง “ตีน” ให้มนุษย์เดิน ให้ทำได้ทุกอย่าง


ถ้าเราไม่มีใจแห่งความ “ละ” ถึงปรมัตถธรรม เราก็ยืนลังเลอยู่ในทางสามแพร่งนี้จนกระทั่งตาย ก็ไม่ได้ทางใดทางหนึ่งที่จะไป

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๗)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-24 23:59

ตอนที่ ๒๓

กฎแห่งอนัตตา



ชีวิตสัตวโลกเป็นอนิจจัง แต่ละคนที่เกิดมาเป็นสัตว์ประเสริฐนี้ ถ้าจะนับว่าเป็นกุศลก็เป็นกุศล จะนับว่าเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล เพราะว่า

กุศลนั้นหมายถึง เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ที่เรียกว่าสัตว์ประเสริฐนี้ มีหนทางฝึกฝนด้านบำเพ็ญฌาน การบำเพ็ญญาณก็เพื่อไปสู่โลกแห่งความหลุดพ้นคือ โลกุตรฌานหรือสำเร็จเป็นพรหมเบื้องสูง

ที่ว่าเป็นอกุศลก็คือ มนุษย์บางจำพวกไม่ใช้สมองให้เป็นประโยชน์ แล้วก็เหลิงในการภาวะกรรมที่ตนครอบครอง หลงในเกียรติที่สมมุติ หลงในยศถาบรรดาศักดิ์ที่โกหกกัน

เมื่อมนุษย์แบกสิ่งโกหกอยู่ในตัว คิดว่านั่นคือความเจริญและเป็นสิ่งสำคัญ มนุษย์ผู้นั้นก็ตกอยู่ในกองทุกข์ เพราะเมื่อท่านได้เกียรติที่คนโกหกให้ท่านมีเกียรติ ท่านต้องทำทุกวิถีทางที่จะต้องโกหกตัวเองเพื่อรักษาคำว่า “มีเกียรติ” ไว้ นี่คือทุกข์ นี่คืออกุศล และเกียรติเป็นสิ่งพอกพูนให้ร่างกายของท่านเกิดความหนักอกหนักใจกับสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เมื่อท่านตกอยู่ในภาวะที่มีเกียรติ ท่านมีทุกข์มากในการวางตัว ในการอยู่ในสังคม ในการเข้าหมู่คณะ

ทีนี้มนุษย์บางจำพวกที่หลงในเกียรติจนลืมตน ถือว่าตนเป็นผู้มีอำนาจ คิดว่าจะไม่ตาย เมื่อคิดว่าตัวไม่ตาย ก็เกิดอัตตาทิฐิในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็เกิดกรรมวิบากขนาดหนักกับมนุษย์ผู้นั้น เมื่อถึงวาระถึงคราวดวงตกก็อยู่ในอกุศลวิบาก เกิดความทุกข์มากขึ้น


ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนไว้ว่า ทุกอย่างในโลกนี้เป็นอนิจจัง อนัตตา ถ้าท่านจะมีความสุขที่สุด ท่านต้องพยายามเป็นผู้ไม่มีเกียรติ ไม่ยึดเกียรติและไม่หลงเกียรติ เพราะสิ่งที่เป็นความสุขอันแท้จริงนั้นคือ “นามธรรม” แต่มนุษย์ไม่พยายามคิดค้นในด้านนามธรรม มนุษย์คิดหลงอยู่ในด้านวัตถุธรรม จึงติดความประมาท เมื่อเกิดความประมาทขึ้น สิ่งที่ท่านติดว่าจะเป็นไปไม่ได้ก็จะเป็นไปได้

มนุษย์บางจำพวกมีอัตตาทิฐิ เกิดอารมณ์ ถืออารมณ์ของตัวเป็นใหญ่ จึงไม่มี “ขันติ” ขันตินำความสุขมาให้ท่านได้ ขันติคือความอดทน อดทนต่อคำพูดของมนุษย์ทั้งดีและชั่ว ก็จะนำความสงบมาให้ท่านได้ แต่ถ้าท่านไม่มีขันติ ท่านหลงในอัตตา ท่านยึดในตัวตน ท่านก็เกิดความทุกข์


ดังตัวอย่างเช่น คนที่ด่าท่าน เขาด่าด้วยโทสะครอบงำ เขาจึงด่าท่าน แต่ท่านถูกตัวโมหะครอบงำท่าน ทำให้ท่านเกิดปฏิกิริยาขึ้น เรียกว่า “ตัวหลง” ภาวะนี้ก็จะสามารถทำให้หลงในสิ่งที่เรียกว่า “จุดเล็กไปจุดใหญ่กับฝ่ายตรงข้าม”

ในขณะนี้สังคมมนุษย์ตกอยู่ในภาวะที่ทุกเหล่าล้วนแต่ถูกตัวโทสะโมหะครอบงำ เมื่อทุกเหล่าถูกตัวโทสะโมหะครอบงำ ความยุติธรรมในสังคมมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ความยุติธรรมและสัจธรรมในอีกโลกหนึ่งคือ “โลกวิญญาณ” โลกวิญญาณไม่มีคำว่าญาติ ไม่มีคำว่ามิตร โลกวิญญาณมีศูนย์รวมกรรม ใครสร้างกรรมดีก็จะเสวยกรรมดีนั้นๆ ใครสร้างกรรมชั่วก็จะเสวยในกรรมชั่วนั้นๆ

ฉะนั้นในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นมนุษย์ ที่เรียกว่ากุศลส่งให้เกิดก็ได้ อกุศลส่งให้เกิดก็ได้ จงพยายามระลึกถึงพุทธพจน์ ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท แล้วก็ตั้งตนอยู่ใน “ตนนั้นแหล่เป็นที่พึ่งแห่งตน” ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนี้แหล่เป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากวัฏฏะได้


ทำไมพระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเล่า” เพราะวาระสังขารได้สิ่งปฏิกูลบำรุงปฏิกูลเพื่อใช้ขันธ์อยู่ให้จิตวิญญาณมาใช้กรรม ถ้าท่านมีเพื่อนมีหมู่คณะที่รักท่าน เอาข้าวมาให้ท่านถึงหน้า แต่ท่านไม่ยอมอ้าปาก ข้าวนั้นก็เข้าปากท่านไม่ได้ “นี่แหละคือความจริงที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” เริ่มแสดงให้ท่านเห็น ถ้ามีเพื่อนใจดีงัดปากกรอกข้าวใส่ปากท่าน แต่อวัยวะของท่านไม่ยอมช่วยตนเอง คือไม่ยอมกลืน เมื่อถึงภาวะนี้ก็ไม่มีใครช่วยท่านได้อีกแล้ว

ในขณะนี้ทุกอย่างในโลกมนุษย์กำลังเข้าสู่ความสลาย กำลังเข้าสู่หายนะ ท่านที่ได้อ่านธรรมะนี้ ขอให้ท่านจงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และขอให้ทุกคนจงพยายามทำ “สติปัญญา” ให้ดีเข้มแข็ง ต้อนรับสิ่งทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ ส่วนตัวของท่านให้เข้าซึ่งถึงกฎแห่งอนัตตา คือ


ทุกอย่างต้องสลาย
เมื่อมีเกิดขึ้นก็ต้องมีสลาย


เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-25 00:03

ตอนที่ ๒๔

วิบากกรรมของประเทศ



การที่จะประกาศตัวรับใช้สังคมแห่งสัตวโลกนั้น จะต้องมีลูกมือทำงานอย่างจริงจัง และถ้าจะทำงานโกยสัตวโลกกันจริงแล้ว อาตมาขอถามท่านว่า พวกทำงานจะเลือกทาง “โลกียะ” หรือ “โลกุตระ”

คนที่จะเดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกียะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกียะ ย่อมจะสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกียะและโลกุตระง่ายแล้ว ทำไมองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดมต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์ก็เป็นทั้งมหาจักรพรรดิทั้งธรรมราชาไม่ดีหรือ แต่มันเป็นไปไม่ได้

โลกของโลกุตระและโลกียะเดินคู่ขนานกัน เราต้องตันสิน ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญ อย่างอาตมา ถ้าพูดกันตามภาษาชาวบ้าน มองอย่างผิวเผินแล้วอาตมาเป็นคนอกตัญญู แม่ของอาตมาอายุ ๔๔ จึงจะมีลูกคืออาตมา อาตมาเป็นลูกชายคนเดียว พ่อของอาตมาเป็นอิสลาม แต่อาตมาเมื่อเห็นพระสวดมนต์ก็คิดว่าดี จึงไปขออนุญาตพ่อแม่บวช อยากบวชดูว่ามันจะเป็นอย่างไร


พอบวชแล้วบารมีเก่าช่วยให้ไม่อยากสึก ทั้งพ่อและแม่มาร้องไห้ที่หน้ากุฏิ อาตมายืนยันว่าไม่สึกก็ไม่สึก จึงหนีจากจะทิ้งพระ (ตำบลหนึ่งในจังหวัดสงขลา) มาที่สงขลาทั้งที่แม่แก่แล้ว อายุตั้งห้าหกสิบ ตอนเป็นเณร แม่อายุห้าสิบกว่า เมื่ออาตมาเป็นพระ แม่อายุหกสิบกว่าแล้ว อาตมาทิ้งทั้งพ่อแม่มาอยู่สงขลา ไม่ไปมองไม่ไปแลเลย แล้วเดินทางไปเมืองอโยธยา

การทำงานเพื่อส่วนรวมบางอย่างต้องยอมเสียสละ อาตมาคิดแล้วเห็นว่า “นี่เป็นทางหลุดพ้นได้ เป็นทางที่จะให้เราไปสู่สวรรค์ได้ ถ้าเราติดพันกับพ่อแม่แล้ว ตลอดทั้งชาติก็ไม่มีทางจะสำเร็จได้” เราเกิดมาเพราะมีกรรม เราเกิดเป็นลูกเขาก็เพราะกรรม จึงได้มาเป็นลูกเขา เขาเป็นพ่อแม่เรา มีเราเป็นลูกคนเดียว เขาก็มีกรรม ผลสุดท้ายเป็นอย่างไร อาตมาสบายแล้วก็ช่วยพ่อแม่ไปสู่สวรรค์ได้ นี่เป็นตัวอย่างให้ท่านคิด

มีนิทานอยู่เรื่องหนึ่ง กล่าวถึง “กลียุค” ในประเทศพม่าเมืองหงสาวดี ขณะนั้นแผ่นดินไร้ประมุขปกครองแผ่นดินว่างกษัตริย์ บุราณกาลเขาถือว่า คนที่เป็นพระเจ้าแผ่นดินจะต้องเป็นคนบุญหนัก จะต้องเป็นคนของสวรรค์ส่งมาและไม่เมาอำนาจง่ายๆ อำมาตย์ทั้งหลายได้ประชุมกันว่า เอาอย่างนี้ดีไหม เราปล่อยหงส์ไปตัวหนึ่ง ถ้าหงส์ตัวนี้ไปเกาะใคร เราจะเชิญคนนั้นมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน


เมื่อปล่อยหงส์ไป หงส์ตัวนั้นก็บินมาที่เมาะตะมะ มีพระภิกษุสงฆ์สองรูปกำลังพูดกันถึงเรื่อง “กลียุค” ภิกษุรูปหนึ่งพูดว่า “ถ้าฉันได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ฉันจะบูรณะบ้านเมืองให้อาณาประชาราษฎรมีความสุข จะไม่ถือทิฐิ ไม่โลภ ไม่มีโทสะ จะไม่ให้อำนาจฝ่ายต่ำครอบงำ จะปกครองด้วยความเป็นธรรม

ภิกษุอีกรูปหนึ่งก็บอกเพื่อนว่า “ถ้าฉันได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ฉันจะมีเมียมากๆ จะกินเหล้าเมาสุราทุกเช้าเย็น จะสะสมเงินทองสร้างปราสาทให้หรูหรา”


มันเป็นกรรมของพม่า หงส์ที่เขาปล่อยมา จึงบินไปเกาะบนบ่าของพระภิกษุที่ไร้สัจธรรม อำมาตย์ก็เชิญภิกษุผู้ไร้สัจธรรมองค์นั้นไปเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ภิกษุนั้นบอกกับเพื่อนว่า “เห็นไหมมันเป็นยุคของฉัน ฉันก็จะทำตามที่พูดไว้ คือเมื่อฉันมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ฉันจะต้องเมาสุรา มีเมียมากๆ” นี่เป็นวิบากกรรมของประเทศ

ทีนี้พูดถึงอนุสัยของมนุษย์ ท่านเคยอ่านหนังสือพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีพระธรรมบทหนึ่งกล่าวว่า มีชายสองคนเป็นเพื่อนกัน ต่างคนต่างอธิษฐานว่า “ถ้าเธอได้เป็นเทวดาหรือว่าเธอได้ดี เธอได้ไปสวรรค์แดนนิพพาน ก็อย่าลืมฉันที่ยังไม่สำเร็จมาช่วยโปรดฉันด้วย” ชายสองคนตั้งจิตอธิษฐานเหมือนกันอย่างนี้ เมื่อต่างคนต่างตายจากโลกมนุษย์ ชายคนหนึ่งได้เป็นเทวดา อีกคนหนึ่งไปเป็นหนอนอยู่ในกองขี้  

คนที่เป็นเทวดาก็มามองๆ ดูเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ได้ตกลงกันไว้ว่า ถ้าใครสำเร็จได้ไปสู่ทางที่ดีต้องมาบอกกัน ต้องมาช่วยกันให้ไปในทางที่ดี เมื่อมองลงมาเห็นเพื่อนที่เกิดเป็นหนอนอาศัยอยู่ในขี้ ก็ลงมาบอกเพื่อนที่เป็นหนอนอยู่ในขี้ว่า


“เธอเป็นหนอนอยู่ทำไม ไปเป็นเทวดาดีกว่า อยู่ในเทวโลก เขามีทิพยอาหาร นึกอะไรนึกจะกินอะไรในวิมานอาหารก็ลอยมาให้กิน”

เพื่อนคนนั้นมีอนุสัยไม่ดีบอกว่า “ไม่เอาน่ะ ฉันเป็นหนอนที่สบาย ไม่ต้องไปนึกอะไร ตื่นเช้าก็มีคนมาปล่อยให้ฉันกินไม่ต้องนึก” นี่เรียกว่าอนุสัย

เพราะฉะนั้นการโปรดสัตว์ ท่านต้องระลึกว่า “บางคนมีอนุสัยแบบหนอน คือไม่อยากเป็นเทวดา” เราก็อย่าไปพูดให้มันเหนื่อย ขอให้ท่านถือเป็นคติประจำใจ เมื่อพบกับผู้มีอนุสัยแบบนี้ว่า

พูดมาก     เสียมาก
พูดน้อย     เสียน้อย
ไม่พูด       ไม่เสีย
นิ่งเสีย      โพธิสัตว์


เจริญพร

โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-25 00:07

ตอนที่ ๒๕

ระวังภัย



ขณะนี้เหตุการณ์ของประเทศไทย ทุกอย่างมันเชี่ยวและแรง เขาจึงถามความเห็นว่าควรทำอย่างไร

อาตมาก็บอกว่า เมื่อฝ่ายธรรมะมันหลับอยู่ ก็ควรให้มันตายไปกับกระแสน้ำเสียบ้าง เพราะความสบาย ความยึดตน เราจะไปทะนงว่าเรามีตั้งสี่สิบล้าน ผู้นำเรายังกินเหล้าเมายา ยังอยู่ในห้องที่สบาย และอาตมาพูดที่นี่เป็นเวลาหลายปีแล้ว ก็รู้สึกว่าเฉยๆ เพราะว่ายังไงๆ เทวดาต้องช่วย ถ้าเกิดเทวดาไม่ช่วยท่านจะทำยังไงบ้าง

ฉะนั้นอาตมาจึงว่า เพื่อให้เขาเกิดเรื่องกันขึ้นบ้าง ใครมีไหวพริบดีก็ชิงจังหวะไป ถ้ากรรมฝ่ายธรรมะไม่หนัก ก็คงจะชิงและปรับปรุงเหตุการณ์ได้ ถ้ากรรมฝ่ายธรรมะหนักก็ชิงไม่ได้ ก็จะเกิดกลียุคขึ้นมากขนาดหนัก แล้วตอนนี้คิดว่า เราจะช่วยได้ก็ช่วยไป ถ้าเราช่วยไม่ได้ก็ต้องปล่อย

ถ้าท่านไม่เชื่อ เวลานี้ท่านออกจากที่นี่ เดินไปตามร้านเหล้าจากสำนักนี้ไปร้านเหล้าตลอดไปถึงฝั่งเมืองบางกอกว่าร้านไหนไม่เต็มบ้าง บุญบารมีมันก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ขอให้ท่านสร้างบารมีไว้บ้าง แล้วก็สวดมนต์ไว้ให้ดี

อาตมายังเชื่อสมองท่านโต ปัญหาอยู่ที่มนุษย์ว่า วันนี้เอาจริง พรุ่งนี้ไม่เอาจริง ชั่วโมงนี้ว่าจริง แต่ว่าอีกสามชั่วโมงเปลี่ยนใจแล้ว เพราะว่าจิตใจมนุษย์เราไม่ได้ฝึกความแน่วแน่ของนามธรรม ก็ย่อมหวั่นไหวตามอารมณ์มนุษย์บ้าง ย่อมรักตัวกลัวตายขึ้นมาบ้าง ก็มีความเสียดายตระหนี่ขึ้นมาบ้าง นั่นเป็นธรรมดาของมนุษยโลก


แล้วก็คนทำงานอยู่สิบคน ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า คนหาเงินอยู่คนเดียวแต่คนกินตั้งพันคน คนหาเงินมันจะอยู่ไหวเหรอ เรื่องของประเทศก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นทางที่หนึ่ง ทางโลกก็ให้ท่านต้องคิดไป ไม่ใช่เทวดาหรืออาตมาต้องมาวางแนวให้ฝึกการปลุกคนให้ตื่น จะต้องรีบรวมกลุ่มทำงานเผยแพร่สัจธรรม

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๘)



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-25 00:14

ตอนที่ ๒๖

ชิงลูกตะกร้อ



ในลักษณะการเป็นอยู่ของโลกวิญญาณแล้ว เรื่องการชิงดีชิงเด่น เรื่องการแพ้ชนะ เรื่องอะไรเหล่านี้ทางโลกวิญญาณเขาไม่มี เขาอยู่กันเป็นกลุ่มๆ พวกมารเขาก็อยู่ตามโลกของมาร เทพเจ้าก็อยู่กันตามที่อยู่ของเทพ พรหมก็อยู่ตามความเป็นอยู่ของพรหม ยมโลกเขาก็อยู่กันตามความเป็นอยู่ของยมโลก แต่ในโลกมนุษย์นี้เป็นโลกแห่งสื่อกลางของการใช้กรรม

ขณะนี้เป็นกลางกลียุค ทีนี้ปัญหาเวลานี้ ก็คือว่าอาตมาได้รับการขอเห็นใจและร่วมมือจากท่านโต ทีนี้ปัญหาก็คือ การทำงานท่านต้องเข้าใจว่า ท่านกำลังจะทำงานอะไรเป็นหลักก่อน งานในขณะนี้ที่ท่านจะทำเป็นงานที่เปรียบเสมือนหนึ่งก็คือว่า สงครามแย่งชิงมนุษย์


ถ้าเปรียบอีกจุดหนึ่งก็คือ ขณะนี้ในโลกมนุษย์แบ่งเป็น ๒ ค่าย มนุษย์เปรียบเสมือนหนึ่งลูกตะกร้อ ขณะนี้ลูกตะกร้อชาวไทยทุกฝ่ายที่เล่นนุ่งชุดแดงเป็นเครื่องหมายอุ้มอยู่ ถ้าภาษาชาวบ้านก็คือว่า ท่านจะลงไปแย่งลูกตระกร้อลูกนี้จากมือผู้นุ่งชุดแดง ซึ่งท่านเป็นกลุ่มผู้นุ่งชุดขาว

ทีนี้การเป็นกลุ่มผู้นุ่งชุดขาวที่จะแย่งชิงตะกร้อมาอยู่มือนั้น จำเป็นที่จะต้องมีไหวพริบ มีชั้นเชิง มีความวิริยะ มีความอุตสาหะ มีความจดจ่อ มีความแน่วแน่ มีสติพร้อม และมีการใช้ปัญญา ก็ย่อมที่จะแย่งลูกตระกร้อลูกนั้นมาอยู่ในมือท่านได้

ทีนี้วิธีการทำงานต้องเข้าใจว่า ท่านกำลังทำงานกับใครเป็นหลักเป็นจุดสำคัญแต่ก็ในด้านอุปนิสัยของผู้นำ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นทุกคนต้องมีสติว่า ไม่ใช่วันนี้ฉันเอาแน่ พรุ่งนี้ฉันยังไม่แน่ มะรืนนี้ไม่เอาเลย เมื่อไม่ได้ถูกบีบรัด ฉะนั้นปัญหาเหล่านี้ ท่านจะให้คำตอบยังไง และท่านจะรักษาระดับอารมณ์แห่งความเอาแน่ของท่านได้ตลอดหรือไม่

ทีนี้ การทำงานเราต้องหวังว่า งานนั้นต้องสำเร็จได้มันจึงทำได้ดี ฉะนั้นเมื่อเห็นว่าทุกคนในวินาทีนี้ อาตมาก็ไม่อยากจะพูดให้มันหวังมากเกินไป เมื่อในวินาทีนี้เห็นว่าทุกคนมี “ความแน่วแน่จดจ่อ” เมื่อจิตแน่วแน่จดจ่อกับงานดีแล้วย่อมก้าวต่อไปเพื่อชัยชนะ และถ้าไม่เห็นทางชนะหรือไม่สำเร็จก็อย่าทำดีกว่า มันเหนื่อยเปล่า

และการที่ท่านจะเป็นผู้นำนั้น ที่สำคัญยิ่งกว่าอะไรก็คือ คำว่า “ไม่สู้” ไม่มี เพราะฉะนั้นอาตมาคิดว่า ผู้นำนั้นต้องมีชั้นเชิงหาทางทำเองของท่าน ปัญหามันมีอยู่ว่า วันหนึ่งเราต้องทำงานกันจริงๆ จังๆ และเวลาทำก็ตั้งเป้าไว้ว่า “ต้องชนะ ต้องสำเร็จ มันจึงจะเกิดผล”

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 20:58

ตอนที่ ๒๗

สิ่งศักดิ์สิทธิ์กับความอยู่รอดของประเทศ



เจริญพร

วันนี้เท่าที่แลก็เป็นนิมิตที่ดีที่ทางเหนือทางใต้ก็มา ภาคอีสานก็มาร่วมกันที่นี้ การทำงานศาสนาเป็นงานที่ลำบาก งานที่ต้องใช้ขันติธรรมเป็นหลัก ดังนั้นงานของศาสนาเป็นงานใหญ่เป็นงานที่ต้องใช้สมอง ต้องใช้ความคิด ต้องใช้ความวิริยะ ต้องใช้ความขันติ ต้องใช้ความแลตน


ทีนี้ ในขณะนี้ในเรื่องประเทศสยาม เป็นภาวการณ์ของกรรมวิบากที่ฝ่ายอสูร ฝ่ายปีศาจเขากำลังรุ่งเรืองและดำเนินการสำเร็จของเขา ก็ใกล้เข้ามาแล้ว ทีนี้ในภาวะแห่งการใกล้เข้ามาแล้ว

เมื่อท่านยังติดในทรัพย์   ไม่ช้าก็จะไม่มีทรัพย์ยึด
ถ้าท่านยังห่วงในเรื่องบ้าน   ไม่ช้าก็จะไม่มีบ้านห่วง
เพราะฝ่ายอสูรปีศาจพวกนี้ไม่มีบ้าน


ทีนี้มาแลมนุษย์ในยุคปัจจุบัน มันเป็นยุคที่น่าอนาถ เป็นยุคแห่งการที่เรียกว่าเห็นแก่ตัว เห็นแก่การกิน เห็นแก่ความเป็นอยู่ เห็นแก่ความสบายที่จะเอาตนรอด ไม่ได้คิดว่าในสังคมนี้ สังคมการเป็นสัตวโลกที่สืบเผ่าพันธุ์นี้ ที่คุยกันรู้เรื่องในภาษาไทย จะต้องมีการพัวพัน จะต้องมีการช่วยเหลือจะต้องมีการค้ำจุน จะต้องมีการเรียกว่าแลกันไป

แต่สังคมกลางกลียุคเช่นนี้ เป็นสังคมที่ล้วนแต่มีมานะทิฐิในการที่ยึดตน ในการที่หลงตน ในการที่จะให้ตนสบาย เมื่อภาวะเป็นเช่นนี้ ก็เป็นการที่เปิดช่องว่างให้ผู้ที่เรียกว่าทำลายศาสนา หรือว่าเหล่าปีศาจ เหล่าอสูรบำเพ็ญเกิดมาในกลางพิภพนี้ มีทางดำเนินผลสำเร็จ ถ้าเราพูดในลักษณะของดวงดาวโหราศาสตร์ก็เรียกว่า ดวงอสูรดวงปีศาจกำลังขึ้น


ในปัญหา เมื่อดวงอสูรดวงปีศาจกำลังขึ้นนี้ ท่านที่ถือว่าคนเป็นฝ่ายธรรมะ ท่านที่ถือว่าท่านกำลังมีความรักแผ่นดิน แต่ว่าท่านก็ยังยึดในตน ท่านไม่มีการวางตน ไม่มีการรวมพลัง ไม่มีการที่จะทำกันอย่างเอาจริงเอาจังเป็นชีวิตจิตใจแล้ว ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย

ท่านอาจจะถามว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์หายไปไหน ต้องเข้าใจว่าประเทศลาวจะพินาศก็ดี เทวดาของประเทศเขา เขาก็มากันมาก แต่ว่ามนุษย์ที่ติดในวัตถุยุคปัจจุบัน ที่เขาไปถือว่าเป็นเรื่องเหลวไหล เป็นเรื่องไร้สาระ เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะวัตถุเข้าครอบงำจิตใจของมนุษย์ ประเทศเหล่านั้นเห็นเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง มองข้ามไป ตั้งตนอยู่ในความประมาท

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินนี้ ซึ่งท่านทั้งหลายก็ได้มาได้เข้าใจ เหตุการณ์มันจะเป็นอย่างไร ถ้ายังตั้งตนอยู่ในตนที่ยึดตน ที่คิดว่าเราก็ช่วยแต่ปากก็พอ และช่วยส่งกระแสจิต แล้วท่านคิดว่าท่านจะอยู่ได้หรือ ถ้าท่านคิดว่าท่านอยู่ได้ก็เชิญอยู่


แต่ถ้าท่านอยู่ไม่รอด ประเทศสยามหรือประเทศไทยอยู่ไม่รอด ท่านจะมาโทษวิญญาณไม่ได้ ต้องโทษพวกท่านเอง ความอยู่รอดของมนุษย์ไม่ใช่ความอยู่รอดของเทวดา เทวดาเพียงแต่ส่งเมตตามาช่วย ถ้าท่านไม่ยอมช่วยตนเอง แล้วก็จะมาว่าอาตมาไม่ได้

เวลานี้ต้องเข้าใจว่างานของเทวดา คำว่า “ไม่สำเร็จ” ไม่มี ที่ไม่สำเร็จเพราะมนุษย์ห่วง มนุษย์ไม่เอาจริงเอง มนุษย์ยึดตน ห่วงสมบัติ เพราะฉะนั้น ก็ถึงเวลาแล้วที่ท่านต้องตัดสินใจให้แน่ว่า จะเอาบ้าน หรือเอาประเทศ ถ้าจะเอาประเทศก็ต้องเลิกยึด เลิกห่วงใยในเรื่องบ้าน เรื่องสมบัติ เรื่องลูก เรื่องเมีย ต้องวางให้หมดอย่างจริงจัง


แล้วเสียสละความสุขส่วนตัวและทรัพย์สินเงินทอง มาช่วยกันพิทักษ์รักษาให้ประเทศมีเอกราชอยู่รอด อาตมาก็คิดว่า มีทางสำเร็จ

เจริญพร

(พระโอวาทเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๘ เวลา ๑๙.๓๐ น.)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 21:03

ตอนที่ ๒๘

พุทธภาวะ พุทธภาระ



เจริญพร

คืนนี้ซึ่งเป็นคืนแห่งวิสาขบูชา เป็นการสมมติของการนับในโลกมนุษย์ สภาวะแห่งการสมมตินี้ ถ้าว่าตามหลักแห่งความจริงแล้ว คำว่า “วิสาขบูชา” ก็อยู่ในภาวะของมันคือ สภาพแห่งการวนเวียนมาและเวียนไป นี้เป็นสิ่งสมมติของมนุษย์

เพราะฉะนั้นคืนนี้ที่มีพรหม เทพ มนุษย์ทั้งหลายมาชุมนุมกันในพิธีในวันนี้ คำเทศน์ของอาตมานี้ อาตมาจะให้หัวข้อว่า “พุทธภาวะ พุทธภาระ”

อะไรเรียกว่า พุทธภาวะ นั้น ในสภาวะแห่งการเป็นพุทธะนั้น มันก็เป็นภาวะของพุทธะ การถึงก็ไม่ใช่พุทธะ การไม่ถึงก็ไม่ใช่พุทธะ ภาวะอันนั้น คืออยู่ในกึ่งกลางพุทธะและในวิถีการแห่งการเป็นพุทธภาวะนั้น มันมีอยู่ในหลักแห่งการปณิธานพุทธภาวะและปัญญาพุทธภาวะ


และในวิถีการปัญญาพุทธภาวะนั้น เป็นวิถีการแห่งการเรียนสมมติของโลกมนุษย์ และการที่ผู้ที่รู้ว่าตัวว่า “เป็นพุทธในปัญญา” นั่นแหล่ จะเป็นบุคคลที่รู้ และเป็นบุคคลที่จะต้องไปสู่ในอบายภูมิมากกว่าที่จะไปถึงพุทธภูมิ

เพราะอะไรเล่า เพราะในสภาพการณ์แห่งการนั้น ได้ถือว่าตีข้อธรรมะข้อใดแหลกแตกแล้ว ก็ถือว่านั้นมันไม่ถึงหรอก ผู้ใดเข้าใจว่าตัวนั้นถึงพุทธภูมิ ผู้นั้นเข้าไม่ถึงพุทธภูมิ เพราะอะไรเล่า เพราะในวิถีการที่จะบำเพ็ญตนเป็นพุทธภูมิ บำเพ็ญตนเป็นพุทธเจ้านั้น จะต้องเป็นการตั้งปณิธานมาจากแต่ละอสงไขย และในสภาพการณ์แห่งการที่จะเป็นพุทธภาวะนั้นจะต้องมี

หนึ่ง อธิษฐานบารมี
สอง บุญในอดีตชาติ
สาม พลังแห่งจิตในการปฏิบัติทางฌาน


ทีนี้ ในสภาวการณ์แห่งวิถีการที่จะถึงพุทธะนั้นแหล่ เจ้าตัวก็ไม่ทิ้งว่า ตัวนั้นคือพุทธะ คือวิถีการแห่งการเป็นพุทธะ จะต้องแสดงแก่ในหมู่ชนผู้นับถือ ผู้ที่เห็นเข้าใจ คือ ในวิถีการ อาตมาทำไมจึงไม่พูดว่าพุทธภาวะ พุทธภาระ คือ


ในภาวการณ์นั้นแหล่ องค์สมณโคดมเมื่อได้บำเพ็ญตนว่า สำเร็จเป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วไซร้ องค์สมณโคดมนั้นก็ได้มีวิถีการหาหมู่คณะแห่งการตั้งศาสนาพุทธขึ้น ณ ในครั้งกระนั้น องค์สมณโคดมต้องมีภารกิจแห่งการปฏิบัติ เมื่อวิถีการที่จะแสดงว่า ข้านี้แหละคือผู้ที่อยู่เหนือธรรมะ ในสภาวะแห่งการแสดงตนว่าเป็นผู้ที่อยู่เหนือโลก เหนือธรรมนั้นแหละ จะแสดงอย่างไร

ในอดีตกาลครั้งหนึ่ง องค์สมณโคดมจะไปโปรดเหล่าชฏิลทั้งหลาย ในสภาวะนั้นแหล่ องค์สมณโคดมไปถึง ได้แสดงว่า เรานี่คือผู้ถึงแห่งสภาวะพุทธะ เรานี้พุทธะ เรานี้คือผู้อยู่เหนือโลก อยู่เหนือธรรม เหล่าชฏิลทั้งหลายที่จะทดสอบว่า “อันที่องค์สมณโคดมถือว่าตนเป็นถึงพุทธะนั้นจริงหรือไม่”

เหล่าชฏิลได้นิมนต์องค์สมณโคดมไว้เพื่อฉันข้าว ในวิถีการแห่งการทดสอบอารมณ์ขององค์สมณโคดม เหล่าชฏิลเอาอะไรให้องค์สมณโคดมฉัน เขาเหล่านั้นได้นำข้าวสาลีและกับที่ให้องค์สมณโคดมฉันนั้น มีสองอย่างคือ ขี้วัวและเยี่ยววัว


ในสภาวะอันนี้แหล่ องค์สมณโคดมต้องพิสูจน์ว่า ตนนั้นสามารถฉันขี้วัวและเยี่ยววัวนั้นเข้าไป จึงจะถือว่าเป็นผู้ถึงแห่งพุทธะ ในสภาวะอันนี้แหล่ องค์สมณโคดมก็ได้แสดงอัจฉริยะแห่งการเป็นพุทธะให้เห็น โดยองค์สมณโคดมได้เข้าอาโปปฏิฌาน เข้าฌานขั้นละลายอาหารนั้นเป็นอากาศ ตัวองค์สมณโคดมก็เป็นอากาศ ได้ฉันข้าวสาลีพร้อมด้วยขี้วัวและเยี่ยววัวนั้นเข้าไปหมด

หลังจากในวิถีการฉันเสร็จแล้ว องค์สมณโคดมยังได้แสดงธรรมะข้อ “เครื่องไม่จีรังนี้ปฏิกูลเปื่อยเน่าไปทั้งสิ้น” จนเหล่าชฏิลนั้น ได้รับรู้ว่าอ้อนั้นหนอองค์สมณโคดมยังสามารถฉันลงไป ฉันเสร็จแล้วก็ยังสามารถมีการเทศน์ให้ฟังด้วย ซึ่งเป็นการว่า จิตนั้นถึงวิมุตติจิตอันแท้จริงแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้นี้เป็นเอหิปัสสิโกเป็นยอดแห่งอัจฉริยะตามหลักของปัจจุบัน และในวิถีการแห่งการที่องค์สมณโคดมในการพิสูจน์ตนเป็นพุทธภาวะนั้น ก็มีอีกครั้งหนึ่ง

องค์สมณโคดมได้เดินทางไปสู่หมู่บ้านในสาวัตถี ในหมู่บ้านสาวัตถีนั้นล้วนแต่นับถือพราหมณ์ และในสภาวะองค์สมณโคดมไปถึง
เหล่าชาวสาวัตถีในหมู่บ้านทั้งหลายก็ได้พิสูจน์ว่า องค์สมณโคดมถึงพุทธภาวะจริงหรือไม่ ก็นิมนต์องค์สมณโคดมนอนอยู่กลางแจ้ง ในภาวะคืนแห่งองค์สมณโคดมนอนอยู่ ณ ที่นั้น คืนนั้นได้เกิดฝนห่าใหญ่อย่างท่วมแผ่นดิน องค์สมณโคดมก็ไม่เปียก แม้จะนอนอยู่ที่นั่น

ซึ่งในภาวะอันนี้แหล่ การที่จะถึง “พุทธภาวะ” นั้นไม่ใช่เป็นสิ่งที่ง่าย ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราคิดว่าจะพูดว่า เราถึงพุทธะก็ถึง มันจะต้องเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้ชาวโลกเขาเห็นว่า เราถึงพุทธภาวะได้จริงดังที่เราแอบอ้าง ดังที่เราอวดตน และองค์สมณโคดมก็ไม่เคยไปอวดว่า ตนนี่ถึงแห่งพุทธะ


หลักแห่งการเป็นนั้น สภาวะพุทธะ เรียกว่า พุทธะนั้น อยู่ในหลักแห่งวิถีการของมัน ของธรรมชาติแห่งพุทธะ ซึ่งมีสภาพการณ์นี้ ไม่มีผู้ใดรับตัวว่าถึงพุทธะ แล้วก็ถึงพุทธะ เพราะอะไรเล่า ผู้ถึงพุทธะก็ไม่ใช่ ผู้ไม่ถึงพุทธะก็ไม่ใช่ อยู่ในสมมุติแห่งส่วนสายกลางนั่นแหล่

และพูดอีกอย่างหนึ่ง ในวีถีการเรียกว่า ภาวะและภารกิจขององค์สมณโคดมที่ปฏิบัติอยู่ในวิหารเชตวันก็ดี การโปรดสัตว์โดยการบิณฑบาตนั้น องค์สมณโคดมก็ได้เดินทางที่เรียกว่ากิโลๆ เป็นโยชน์ๆ ไปโปรดผู้ที่จะถ่ายกรรมให้เขา จะได้ยกระดับจิตแผ่กุศลให้เขา


ไม่เหมือนพระภิกษุสงฆ์ในปัจจุบันนี้เรียกว่า เดินนิดหน่อย ก็ขี้เกียจเดิน แล้วก็เดินเข้าวัด และในวิธีการอันนี้แหล่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ให้พิสูจน์ว่า ผู้ที่ว่าเวลานี้บวชเป็นพระสงฆ์นั้น ไม่ได้ปฏิบัติตามภารกิจที่องค์สมณโคดมถือมา พระบางองค์เรียกว่า สักแต่ห่มผ้าเหลือง กินแล้วก็นอน

ในสภาพการณ์นี้แหล่ หลักและความจริงแห่งพุทธะขององค์สมณโคดมตอนนั้น พุทธภาวะอยู่ แต่มนุษย์ยุคนี้ติดอยู่ในวัตถุ ติดอยู่ในหลักแห่งวิถีการหลง จึงไม่ได้เข้าถึงรู้ซึ้งถึงภาวะแห่งพุทธะอันนั้นแหล่ ในภารกิจแห่งการในวิถีการณ์แห่งการปกครองขององค์สมณโคดมในวิหารเชตวันในสมัยก่อนนั้น องค์สมณโคดมก็ปกครองในวิถีการเป็นนักปกครองที่ดี คือ

ในหมู่เหล่าพระสงฆ์ทั้งหลาย เรียกว่าพระสาวกขององค์สมณโคดมในวิหารเชตวัน องค์สมณโคดมได้แบ่งวิถีการปกครองออกเป็นหมวด หมวดละสิบคน และในสภาพการณ์แห่งการปกครองนั้น องค์สมณโคดมได้จัดวิถีการณ์แห่งวิธีการเรียกว่า “ปุจฉาวิปัสสนา” เป็นวิถีการณ์แห่งการที่ตื่นเช้าขึ้นมาทำภารกิจเสร็จแล้ว ตกเย็นเข้ามาในหมู่คณะใดหมู่คณะนั้น จะต้องมาพิจารณาตน จะต้องพิจารณาหมู่คณะฝ่าย ก. จะต้องพิจารณาอุปนิสัยหมู่คณะฝ่าย ข. พิจารณาหมู่คณะฝ่าย ค. ว่าผู้นี้กระทำผิดอะไรให้ปรับปรุง

ในสภาวะนั้นแลจึงได้ทำให้อาณาจักรขององค์สมณโคดมแตกกว้างใหญ่ไพศาลถึงปัจจุบันนี้ เพราะอะไรเล่า เพราะว่าเหล่าผู้มีจิตแห่งการเป็นอรหันต์ประชุมนั้นแล เขาไม่มีอารมณ์ และวิถีการปกครองว่าผู้ที่ปกครองนั้นแลตัวย่อมไม่ค่อยรู้ภาวะของตัว ผู้อื่นชี้ภาวะของตัวและผู้นั้นจะต้องรีบปฏิบัติเปลี่ยนแปลงตามภาวะผู้อื่นชี้แล ผู้นั้นจะได้ปกครองไปสู่ในหลักแห่งความสำเร็จแน่

เพราะฉะนั้นในยุคแห่งวิถีการที่ว่าจะพูดอะไร อาตมาก็ไม่รู้ว่าจะเทียบอะไรให้มนุษย์ฟังแห่งการพุทธภาวะนั้น ก็เทศน์แล้วว่า มันไม่มีการอวดรู้ ต้องผู้ที่ปฏิบัติถึงและแสดงออกถึงเหล่ามนุษย์รับรอง ผู้นั้นถึงจะถึง “พุทธภาวะ พุทธภาระ” ซึ่งในสถานการณ์ยุคนี้ เหล่าเกจิอาจารย์ทั้งหลายล้วนแต่เต็มไปด้วยคัมภีร์เปล่า อ่านหนังสือตำราหนึ่งเล่มก็ถือว่าตัวเก่ง ถือว่าตัวถึงพุทธภาวะ จึงหลงอยู่ในอบายภูมิ หลงอยู่ในหลักแห่งโลกีย์

ในวิถีการแห่งจิตนั้น ถ้าถึงภาวะแห่งการเป็นพุทธะนั้น คำว่า “หิว” ย่อมไม่มี คือขันธ์นี้เป็นของโลก โลกนี้เป็นของขันธ์ ขันธ์เพื่อให้โลกอยู่ อยู่เพื่อขันธ์นี้ตาย ซึ่งในวิถีการณ์ ถ้าว่าในหลักแห่งความจริงแล้ว องค์สมณโคดมจะได้ฉันแต่มื้อเดียว และในสภาพการณ์อีกข้อหนึ่งซึ่งเหล่ามนุษย์ทั้งหลายได้สนใจว่า องค์สมณโคดมฉันแล้ว มีวิถีการณ์มังสวิรัติหรือไม่

อาตมาขอแถลงแทนองค์สมณโคดมให้ทราบว่า คำว่า มังสวิรัติขององค์สมณโคดมนั้น ฉันลงไปนั้น ไม่มีคำว่าอร่อยและไม่อร่อย ดูนิ่งเฉย และพระองค์จะฉันสิ่งที่ไม่มีเนื้อสัตว์ ฉันเพื่อให้ขันธ์อยู่ ขันธ์อยู่เพื่อนามธรรม ปฏิบัติเผยแผ่สอนหลักแห่งคำว่า “สัจจะ”

เพราะฉะนั้นในวิถีการณ์นี้แล เหล่ามนุษย์ทั้งหลายที่จะบำเพ็ญตนสู่โลกุตระนั้น จงโปรดอย่างทะนงตนเป็นอะไร ตนได้อะไร ผู้ที่หลงตนทะนงตนว่า ตนได้อะไร เป็นอะไร ผู้นั้นคือไม่ถึงอะไร

(พระธรรมเทศนา คืนวันวิสาขบูชา

วันเสาร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ เวลา ๒๒.๐๐ น.)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 21:09

ตอนที่ ๒๙

านพิทักษ์เอกราชและศาสนา



เรื่องการทำงานจะต้องทำอย่างไรนั้น ท่านต้องพิจารณาว่า ชีวิตที่ยอมมีชีวิตอยู่นั้น เพราะล้วนแต่มีความหวังของชีวิต เพราะฉะนั้นการทำงาน ถ้าเราทำแบบถึงก็ช่าง มันก็เป็นเรื่องที่ไม่ต้องทุกข์ร้อน แล้วคำว่า “งาน” คือ “ทุกข์” ปกติมนุษย์ไม่มีงานอะไรมาก ถ้ามนุษย์ผู้นั้นไม่คิดช่วยผู้อื่น คือ


มีสังขารกับวิญญาณ รูปธรรมกับนามธรรม รูปธรรมก็ต้องการสิ่งปฏิกูลบำรุงเพื่อให้ขันธ์อยู่ อยู่เพื่อใช้กรรม สิ่งปฏิกูลก็ต้องการพืชผักอาหาร คนเรากินแค่พืชผักอาหารมันก็อยู่ได้ นามธรรมก็หมายถึงว่า กินอิ่ม จิตฟุ้งซ่าน ก็ต้องเอาหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ในการระงับการฟุ้งซ่านของกิเลสตัณหา ตามเรื่องของคนก็มีเท่านี้

แต่ทีนี้เรื่องไม่เท่านี้ เพราะว่ามนุษย์ทุกชีวิตถูกตัวโลภะ โทสะ โมหะ เข้าครอบงำกันมากจนถอนกันไม่ขึ้น เข้าถึงกระดูกเข้าเส้นเอ็นกันหมด มันก็เกิดความวุ่นวายต่างๆ ขึ้นในโลกมนุษย์ เพราะอาตมานี่เป็นห่วง ก็อยากจะถามท่านว่า ท่านทำงานนี่ ท่านจะทำแบบสำเร็จหรือจะทำแบบสำเร็จก็ช่างไม่สำเร็จก็ช่าง


ทีนี้ท่านจะทำแบบนี้ สำเร็จมันต้องมีปัจจัยพร้อมบ้าง มีบางสิ่งบางอย่างพร้อมที่จะดำเนินงาน คือการทำงานก็เท่ากับเราเข้าไปหากองทุกข์ เพราะมันจะต้องมีปัญหา มันจะต้องมีอุปสรรค มันจะต้องมีอะไรต่ออะไรที่ตามมาในเรื่องของคำว่า “วงงาน”

ทีนี้ผู้ร่วมงานในวงงาน จะต้องมีความขันติเป็นหลัก จะต้องมี “อภัยทาน” เป็นหลัก จะต้องมีเมตตาธรรมเป็นหลัก จะต้องคิดว่าทุกคนประกอบด้วยเนื้อหนังมังสาและอารมณ์ จิตวิญญาณบางครั้งก็ย่อมที่จะมีอารมณ์เกิดขึ้น มีอะไรบ้าง ก็ควรจะอภัยทานด้วยความเมตตา


ผู้ที่ทำอะไรผิด ก็ควรสงสารและควรจะหาทางช่วยเหลือแก้ไขชี้แจง ไม่ใช่ซ้ำเติม ซึ่งท่านจะเห็นว่า ท่านโตนี่ ใครทำอะไรพลาดไปแล้ว ท่านเคยพูดไหม ท่านมีแต่จะพูดเรื่องต่อไป

ฉะนั้นเราทั้งหลายก็มาอยู่ในเรือพระโพธิสัตว์ อาตมาก็คิดว่า เมื่อท่านทั้งหลายคิดจะสู้ เพื่อความอยู่รอดของสยามประเทศ ท่านควรจะมีเข็มทิศแห่งความต้องการความสำเร็จ แล้วก็ต้องมีความวิริยะกระตือรือร้น อุตสาหะในการทำ มีความจริงจังต่องาน มีการอภัยทานต่อผู้ร่วมงาน มีความเมตตาต่อผู้ที่ทำผิด ทุกคนเป็นมนุษย์ปุถุชน ย่อมที่จะต้องมีความผิดพลาดเป็นสิ่งธรรมดา และอาตมาหวังว่าทุกคนคงจะใช้หลักสัจจะเป็นหลัก แล้วทุกคนก็ไม่มีอะไร


คือการทำงานใหญ่นี่ เขาไม่ต้องการมีคนมากหรอก ถ้ามันเอากันจริง แต่ละครั้งในสู้ชีวิตก็ดี ในการทำอะไรก็ดี อย่างพระเจ้าตากสินเริ่มก่อการมีเพียง ๕ คน เท่านั้นเอง ไม่ใช่มากมายเยอะแยะ แล้วค่อยมาเพิ่มเติมกันตอนหลัง ทีนี้การทำงานนี่ เราจะต้องมั่นใจ จะต้องสร้างพลังบวก ไม่ใช่สร้างพลังลบ หรือไม่ใช่ทำแบบถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง สำเร็จก็ช่าง

งานระดับที่จะยุติสงครามโลก งานระดับที่จะปรับปรุงสังคมอยู่ในศีลในธรรม งานระดับที่จะอุดช่องโหว่ในการที่จะครองประเทศของปีศาจอสูร เป็นงานใหญ่
ขอทิ้งไว้ให้ท่านคิดว่า คนที่จะอยู่อย่างสบาย คือคนที่ไม่มีภาระมาก คนที่มีภาระมาก คนนั้นมีทุกข์มาก คนที่มีเกียรติมาก คนนั้นก็แบกทุกข์มาก นี่เป็นกฎธรรมดา เพราะเป็นสิ่งสมมติ

และโลกมนุษย์ขณะนี้ “อำนาจ” ไม่มีตัวตน แต่ทุกคนก็หลงอำนาจ ทุกคนก็อยากได้อำนาจ ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน เป็นเพียงสิ่งสมมติบัญญัติขึ้นในโลกมนุษย์ และทุกคนควรจะต้องจำเอาไว้ว่า ท่านกำลังทำอะไร เมื่อคนเราคิดว่า

ชีวิตหนึ่งเกิดมาทำไม
ชีวิตหนึ่งอยู่เพื่ออะไร
ชีวิตหนึ่งมีอะไรเป็นแก่นสาร
ชีวิตหนึ่งสร้างอะไรเป็นที่ตรึงใจคนในอนาคต


เมื่อดวงจิตมาเกิดเป็นสัตว์มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐนี่ต้องใช้สมอง พิจารณาการทำอะไรมันต้องไม่มีการท้อถอย มีความแน่วแน่ มีความจริงใจ ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ ถ้าเชื่อตามคำพูดคนอื่นก็ไปตกหลุมพรางคน และการทำงานที่ยากที่สุดในโลกมนุษย์คือ “งานศาสนา” ซึ่งไม่ใช่งานง่าย การเป็นนักบุญ การเป็นนักพรต การเป็นนักบวชเผยแพร่ศาสนา เป็นเรื่องยาก ไม่ใช่เรื่องง่าย

ทีนี้การจะทำงานเพื่อมนุษยชาติ จะทำงานเพื่อความอยู่รอดของคนอื่น ตนจะต้องสามารถทำจิตว่า

เราพร้อมที่จะทุกข์เพื่อคนอื่น
เราพร้อมที่จะฟังคำนินทาจากคนอื่น
เราพร้อมที่จะวางจิตนิ่งต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเข้ามาพัวพัน


แล้วจะทำงานได้สำเร็จ ถ้าท่านหวั่นไหวเรื่อยๆ ท่านจะทำงานเพื่อมนุษยชาติเพื่อส่วนรวมสำเร็จยาก ซึ่งความสำเร็จแห่งการทำงานอยู่ที่ตัวท่านมีความวิริยะ อุตสาหะ กระตือรือร้น และมีความจริงจังต่องาน ในสภาพงานที่เราจะทำ เขาเรียกว่า เป็นงานทวนกระแสคลื่น อยู่ในภาวะอำนาจฝ่ายต่ำมีมาก ก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีความอดทน แล้วก็มีความหนักแน่นในการทำงาน และงานที่เกิดความวุ่นวายกัน มันเกิดจาก “คน”

คือ คนไม่รู้จักหน้าที่การเป็น “คน”
ไม่รู้จักหน้าที่ของตน
ไม่รู้จักขอบเขตของตน
ไม่รู้จักสำนึกว่าตนมีความสามารถขนาดไหน
ไม่พิจารณาว่าตนมีหน้าที่อะไร


สิ่งเหล่านี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ถ้าทุกๆ คนรู้หน้าที่ รู้ฐานะ รู้การกระทำของตนแล้ว ก็คงไม่วุ่นวาย เปรียบเหมือนร่างกายมนุษย์


จมูกก็ทำหน้าที่ของจมูกหายใจ
ปากก็ทำหน้าที่ของปากเป็นการพูด
หูก็ทำหน้าที่ของหูเป็นการฟัง


มันก็ไม่มีอะไรที่จะขัดแย้งเกิดขึ้น ทีนี้การทำงานนั้น คนบางจำพวกเรียกว่า ตัวมีหน้าที่แค่นี้ ก็ชอบที่จะไปมีหน้าที่เกินกว่านั้น และการเข้าร่วมในการทำงาน


อาตมาก็ขอบอกว่า ทุกคนมีอนุสัยต่างกัน แบบบางคนไม่เข้าใจว่า ทำไมบางคนเข้าร่วมงานแล้ว ก็ทำตัวเป็นอุปสรรคกับงาน เพราะว่าสภาวะจิตถูกกิเลสตัณหาครอบงำ อนุสัยเดิมต่ำช้าย่อมที่จะอยู่ในสถานที่และหมู่คณะที่บริสุทธิ์ได้ไม่นาน เพราะคนที่จะเข้าร่วมงานนั้น ธาตุแท้ของทุกคนจะต้องแสดงออกของมันเอง

แต่ว่าแนวทางโพธิสัตว์นั้น เขาดำเนินแนวทางแห่งความเมตตา และไม่ใช่ไม่รู้ว่าใครทำอะไร ใครอิจฉาใคร ใครเป็นอะไร เช่น บางคนหน้าที่ที่ไม่ควรจะรู้อะไรมาก ก็ต้องเสือกรู้เสือกเห็น รู้อะไรก็ต้องพูดมาก คือ ไม่รู้ในหน้าที่ในภาวะของตน ถึงแม้ว่าที่ใดเป็นดินแดนสงบ แต่คนอยู่จิตไม่สงบ ไม่ถึงธรรม มันก็ฟุ้ง

ทีนี้สิ่งเหล่านี้อาตมาก็ไม่โทษคนอยู่ เพราะว่าสามัญปุถุชนย่อมมีกิเลสตัณหาครอบงำ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นที่สงบ แต่ว่าคนอยู่ไม่สงบ และเหตุที่ไม่สงบเพราะอะไร เพราะว่าไม่ดำเนินแผนตามขั้นตอนแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา
คือ


คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ “หยุด” พิจารณา แล้วค้นหาสัจจะของศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาในธรรมะได้

ทีนี้ระหว่างผู้ร่วมงาน ควรจะมีอภัยทานเป็นหลัก มีความเมตตาผู้ร่วมงานกันให้มากและพยายามพิจารณาว่า ขอบเขตความสามารถที่มอบให้ทำ เช่น เรียกกลับหรือว่าสับเปลี่ยนตำแหน่ง คนก็มิสมควรเสียใจ ตนก็ต้องนึกว่า เหตุที่มีการให้โยกย้ายนั้น เพราะตนมีขอบเขตความสามารถแค่นี้ และมีความเหมาะสมกับงานนั้น


แต่ถ้าการสั่งการนั้นไม่ถูกต้อง ก็สมควรที่จะอุทธรณ์เพื่อพิจารณาได้ ไม่ใช่ว่าการสั่งการนั้นไม่รับฟังเสียงผู้ที่ถูกสั่ง ถ้าเหตุผลเพียงพอ ก็ควรอย่างยิ่งที่มีการไต่สวนพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพราะว่า “เราปกครองด้วยสัจธรรม” อันไม่ใช่เผด็จการ

และการทำงานใหญ่นั้น ถ้าเตรียมการยังไม่พร้อมแล้วด่วนลงมือทำงาน ก็เหมือนไม่ถึงเวลาคลอด แต่เมื่อมันคลอดออกมาก่อนกำหนดแล้ว มันก็ต้องดำเนินตามภาวะของการที่คลอดมาไม่แข็งแรง ต้องเปราะแปะ ต้องเยียวยา ต้องประคองกันไป เพราะว่ามันคลอดก่อนกำหนด เพราะฉะนั้น มันจึงเกิดความวุ่นวายได้ง่ายและเกิดอยู่เนืองนิจด้วย

ในปัญหาเรื่องคนนั้น ถ้าคนทำงานไม่พอ แล้วบางคนยังอยากจะไปทำหน้าที่โน้นบ้าง หน้าที่นี้บ้าง คือทำแบบตามใจฉัน และถ้ามีคนพอกับการงานแล้ว งานก็ยังไม่ดีขึ้นอีก อันนี้ก็ต้องโทษฝ่ายระดับบริหารทั้งหลาย ที่ไม่พยายามติดตามและวิเคราะห์การทำงานของลูกงานอย่างใกล้ชิด


ซึ่งท่านทั้งหลาย ไม่ว่าท่านจะเป็นผู้นำ หรือว่าผู้ปฏิบัติตาม ควรที่จะถามตัวท่านเองในทุกขณะจิตว่า “เรากำลังทำงานอะไรเป็นหลักที่เราได้รับมอบหมายมา” ซึ่งก่อนที่จะรับมอบมา คิดว่าทุกคนคงจะพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว จึงรับมาปฏิบัติ ดังนั้นถ้าทุกคนคอยเตือนสติตัวเองอยู่เสมอ คิดว่างานทุกอย่างจะเจริญก้าวหน้าอย่างสม่ำเสมอ

ทีนี้ บางคนถามว่า ทำไมสำนักจึงไม่ประกาศให้คนทั่วไปรู้ว่า ขณะนี้ เทวดามาทำงานช่วยโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์แล้ว จะได้เป็นเหตุให้ช่วยคนได้อีกจำนวนมาก อันนี้ อาตมามีธรรมนิยายให้ฟังเรื่องหนึ่ง คือ

เมื่อสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จพักบ้านช่างทองบ้านหนึ่ง ก็ได้พบมานพคนหนึ่งที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในกรุงสาวัตถี ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าพยายามเทศน์สั่งสอนให้เขาฟัง และพยายามบอกเป็นนัยๆ ว่า เราคือ สัมมาสัมพุทธเจ้า มานพน้อยนั้นก็ยังเป็นคนโง่ ก็บอกว่า “ธรรมที่แสดงมานี้ก็ดีอยู่หรอก แต่ฉันคิดว่าคงไม่เท่ากับพระพุทธเจ้าแสดง เพราะฉะนั้น ฉันจึงต้องเดินทางไปพบพระพุทธเจ้าให้ได้”

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เวลานี้มนุษย์อยู่ในกลียุคเปรียบเหมือนหนึ่งมานพน้อยคนนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะไปไหนไม่ได้ คือ สำนักเราเกิดผุดขึ้นมาในท่ามกลางอำนาจวัตถุความสะดวกสบาย และกระแสจิตของมนุษย์นี่ มันเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวินาทีตามกฎแห่งความอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา


คือ คนเรานี่ถ้าอยู่อย่างยึดธรรมะเป็นสรณะ เท่ากับสมัยใหม่เขาเรียกว่า ยึดอุดมการณ์ ยึดจุดยืนอะไรกันของพวกท่าน คนๆ นั้นก็จะปฏิบัติตนอย่างเสมอปลายไปได้นาน แต่ถ้าอยู่อย่างยึดตัวบุคคลเป็นสรณะ หรือว่ายึดเส้นยึดสายพึ่งหน้าคนในการทำงาน คนๆ นั้น ก็ย่อมที่จะเสมอต้นเสมอปลายไม่ได้นาน

แล้วเรื่องความ “พอ” และการใช้สมองของมนุษย์ที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรามันไม่มี
เพราะฉะนั้น ในการที่สำนักดำเนินการในขณะนี้ เราดำเนินไปตามโครงการแบบ “แนวทางแห่งพระโพธิสัตว์” คือ “ตนยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อความสุขของคนอื่น”

แต่ถ้าท่านจะดำเนินการแบบ “แนวทางอรหันต์” ก็คือ “ตัดช่องน้อยไปนิพพาน” ซึ่งโลกมันจะแตกจะเกิดอะไรฉันไม่รู้ทั้งนั้น และการทำงานนี่ตั้งแต่เปิดโลกมาแล้ว เขาเรียกว่า เทวดากับอสูรก็รบกันมาเรื่อย ซึ่งการทำงานที่จะราบรื่นโดยไม่มีอุปสรรค งานนั้นไม่ใช่งาน และคนทำงานไม่ผิดพลาด คนนั้นก็ไม่เคยทำงาน นี่เป็นกฎธรรมดาคำว่า “งาน

การทำงานมันเป็นเรื่องเข้าไปหาความทุกข์ ทีนี้ บางคนมันทำงานแบบตัวทำผิดพลาดไปแล้ว ชอบลากคนอื่นลงไปผิดพลาดเพื่อร่วมรับความผิดด้วย นี่เราเรียกว่า “พาลให้คนอื่นล่มจมไปด้วย” และการทำงานนั้น บางครั้งเงินที่ไม่ควรเสียดาย ก็ไปเสียดายกัน การสั่งงานนั้น บางคนรับคำสั่งแล้วก็ไม่ทำและก็ไม่ได้รับการทำโทษ เพราะอะไร เพราะความเมตตา และคนยุคนี้ “เมตตา” คุยกันไม่รู้เรื่อง

ยุคกลียุคนี้ เมตตาเขานึกว่ากลัวเขา
สงสารเขานี่นึกว่ารักเขา


และฝ่ายที่กำลังรุกทั่วโลก ทำไมเขาทำสำเร็จได้ เพราะเขาไม่ใช้ “เมตตา” เขาใช้กลอุบายหลอกลวงและขู่เข็ญให้ทำงาน ทำผิดก็สั่งยิงทิ้ง คนสมัยนี้ชอบอย่างนี้ นี่คือ เรื่องของ “ยุค”

เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่า เรากำลังก้าวสู่ยุคอะไร แต่อาตมาก็ยังบอกแล้วบอกอีกว่า อาตมาเชื่อมันสมองท่านโตที่จะนำความอยู่รอดให้สยามประเทศได้ แต่ถ้ามันไม่รอด มันเป็นความผิดพลาดของมนุษย์ เพราะมนุษย์นี่จิตใจสามวันดีสี่วันไข้ เพราะอะไร เพราะความเปลี่ยนแปลงของกระแสจิตทุกวินาที


ผู้ที่เขาทำงานสำเร็จ เพราะเขามีความแน่วแน่ จิตจะต้องไม่หวั่นไหว เมื่อปักหลักลงไปแล้ว จะต้องแข็งแกร่งเหมือนภูเขาที่ไม่มีสะทกสะเทือนต่อลม ที่ไม่สะทกสะเทือนต่อฝนที่ไม่เกรงกลัวต่อเสียงคำรามของฟ้า เขาจึงสำเร็จจิตทางฌานญาณกันได้

แล้วท่านสังเกตดูซิว่า อำนาจฝ่ายต่ำขณะนี้มันมีมากขนาดไหน ตลอดแนวทางที่ไปถึงบ้านท่าน ท่านลองนับดูซิว่าระหว่างร้านขายเหล้ากับร้านขายธูปเทียน มีอย่างละกี่โรง ลองไปนับดูซิ ซึ่งมันจะแสดงว่าอำนาจฝ่ายต่ำมันมีมาก แต่ยุคปัจจุบันเมื่ออำนาจฝ่ายต่ำมาก กระแสจิตที่ขาดสมาธิขาดสติ ย่อมที่จะคล้อยตามอำนาจฝ่ายต่ำที่ผ่านมาทางอายตนะตา หู จมูก ลิ้น และถ้าคนทำงานใหญ่ ถึงจะทำสำเร็จ เขาจะไม่คุย

ทีนี้ ถ้าผู้นำมีความแน่วแน่อันหนึ่งของการทำงาน จะต้องหนักแน่นและเป็นตัวของตัวเอง หลังจากการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว เมื่อปักหลักลงไปแล้ว ไม่มีคำว่า “ถอนหลัก”


การร่วมกันทำงานใหญ่นั้น ท่านอาจจะพบกับปัญหาบ้าๆ บอๆ พวกหนึ่ง ซึ่งบางคนรับงานไปแล้ว ทำไม่ได้กลับพาล แต่ไม่มอบงานให้ก็สะเออะเสือกขึ้นมาจะรับงาน และบางคนชอบวางโครงการ แต่พอปฏิบัติกลับไม่มีความจริงจังและการเสียสละอย่างแท้จริงในการทำงาน ปล่อยให้เกิดผลเสียหายนานาประการ โดยไม่ยอมแก้ไขหรือว่าปรับปรุง

ขอให้ท่านพยายามพิจารณาฐานะตนบ้างในการทำงาน โดยอย่ามีจิตวิจิกิจฉา มีความอิจฉาริษยา ซึ่งการเคลื่อนไหวของการทำงานทุกตารางนิ้ว มันอยู่ในข่ายของผู้นำทั้งหมด ซึ่งในการเป็นผู้นำนั้น ย่อมที่จะพยายามถือหลักเมตตา เพื่อปรับปรุงจิตใจคนให้ดีขึ้นและจะทนจนกว่าถึงวินาทีสุดท้าย จึงจะสั่งการลงโทษ นี่ละ “น้ำใจผู้นำที่แท้จริง”

คนเราตื่นเช้าขึ้นมา ถ้าทุกคนรู้หน้าที่ว่าตนต้องทำอะไร งานนั้นเป็นหน้าที่ของใคร ถ้ามีเวลาว่างนั่งสมาธิแผ่เมตตาอันเป็นการทำงาน เพราะว่ามิฉะนั้น การที่นั่งคุยกัน คุยกันเกินสิบห้านาที มันไม่พ้นเรื่องนินทาทั้งนั้น มันควรที่จะใช้เวลาว่างเป็นเวลาปรึกษางานมากกว่า


และบางคนนั้น ทำงานยิ่งกว่าแนวห้าเสียอีก หรือเป็นหนอนบ่อนไส้ มันต้องเสือกรู้เสือกเห็นและก็พูดผิดพูดถูกกับชาวบ้านอยู่เสมอ อันเป็นการสร้างความเสียหายกับวงงานและหมู่คณะอย่างใหญ่หลวง ซึ่งคนเราจะพิจารณาตนบ้าง มิฉะนั้นระดับบริหารนั้นต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเราทำงานเพื่อส่วนรวมเพื่อสังคมแล้ว

จะเห็นว่า ขณะนี้เมืองไทยตกอยู่ในภาวะสงครามประสาท ท่านรู้หรือไม่ว่า ถ้าพวกท่านประสาทไม่แข็งก็บ้ากัน ซึ่งการทำงานใหญ่นั้น รบศึกภายนอกมันไม่น่ากลัว รบศึกภายในนี่มันปวดหัว อันนี้เพราะอะไร เพราะว่าศึกภายนอกนั้น ยังพอจะระวังกันได้ ศึกภายในแยกไม่ออกว่าใครเป็นใคร ใครบ้างที่เป็นหนอนบ่อนไส้ที่คอยสร้างปัญหาให้


ท่านจะต้องพยายามทำสมาธิให้มั่นคงและจะเป็นผลให้เกิดปัญญา และการทำงานนั้นบางครั้งเสียรูปงาน เพราะคนเสือกรู้เสือกเห็น และบางคนก็ทำอะไรแล้วทำไม่ได้ ต้องสำนึกว่า เราไม่มีความสามารถ ก็ควรถอนตัวเปิดโอกาสให้คนอื่นเข้าดำเนินการบ้าง

แต่ถ้าถูกบีบให้ถอนตัวก็กลายเป็นทรยศ ตั้งป้อมเป็นศัตรู อันเป็นอนุสัยฝ่ายอธรรมของคนเรา ตอนอยู่วงงานเขารวมตัวเสียสละทำงานอย่างจริงจังไม่ได้ แต่ออกไปจากวงงานแล้วก็รวมตัวกับฝ่ายต่ำได้ เพราะไม่มีกฎระเบียบมาก มีเงินทองให้ใช้ และถ้าหลงเงินก็จะเปิดโอกาสถูกฝ่ายอธรรมหลอกนานหน่อย และถ้าท่านทรยศต่อฝ่ายอธรรม
อย่าหวังเลยว่า เขาจะปล่อยให้ท่านลอยนวล เขาต้องสั่งฆ่า

การทำงานนั้น ถ้าทำแล้วมันไม่สำเร็จ มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าละอายเลย ขอให้ท่านพยายามปรับปรุงแก้ไข งานนั้นๆ จะดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ถ้าท่านมีผู้นำที่ดีและจริงจังต่องานด้วยแล้ว ท่านในฐานะที่เป็นผู้ตามเรียกว่า ลูกน้องนั้นไม่ปฏิบัติตาม ชอบรู้ดีกว่า นั้นแหละจะเป็นสิ่งที่ให้งานพังพินาศลง เป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง เรียกว่า “งานเสียเพราะลูกน้อง”

ทีนี้ขอเตือนว่า ในการทำงานนั้น เรื่องส่วนตัวกับส่วนรวมต้องแยกออก มีในขอบเขตการประชุม ผู้รับผิดชอบระดับไหนก็ต้องมีการประชุมระดับนั้น ไม่ใช่นั่งเกรงใจกัน ให้คนที่ไม่มีหน้าที่ก็นั่งประชุมได้ มันต้องมีขอบเขตในการทำงาน


และในการวางงาน ท่านจะต้องวางแบ่งสายงานให้ดี เมื่อแบ่งดีแล้ว ก็จะสะดวกแก่การควบคุมในการทำงานอยู่ในขอบเขต แต่บางคนที่ช่างพูดจนเลอะเทอะกันเลยเถิดไปเยอะแยะ แต่ไม่ได้เป็นนักปฏิบัติที่ดี เรียกว่าเอาพูด คือรู้เกินครู รู้มากไม่ยอมปฏิบัติ

เพราะฉะนั้น คนที่จะรับหน้าที่ต่างๆ นั้น ขอให้ศึกษาเข้าถึงแก่นแท้ของนโยบายแล้วปฏิบัติในขอบเขตที่ตนรับผิดชอบเหล่านั้น ก็จะไม่ทำให้ผิดพลาด ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อส่วนตัวและหมู่คณะ ถ้างานมันขยายกว้าง เรื่องอุปสรรคทั้งหลายย่อมมีมาก ท่านจะต้องรีบวางนโยบายและผู้รับผิดชอบงานภายในให้เรียบร้อย อันจะเป็นการวางป้อมปราการที่ดี แล้วจึงรีบเร่งวางนโยบายในการที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรคในการขยายงานสู่ภายนอก

ดังนั้น ผู้ที่จะร่วมทำงานเพื่อความอยู่รอดของชาติ เพื่อพิทักษ์เอกราชของสยามนี่ ให้พยายามพิจารณาตน ดีกว่าที่จะไปพิจารณาคนอื่น แล้วก็คิดถึงขอบเขตความสามารถของตนว่ามีขนาดไหน และก็รับผิดชอบได้ขนาดไหน อย่าไปทำงานแบบเรียกว่า เอาหน้าได้หน้า


ซึ่งตามความจริงแล้ว ไม่มีอะไรที่จะได้หน้าเลย ไม่มีอะไรเสียหน้าเลย เพราะหน้าทุกคนก็ติดอยู่ที่หัวทุกคน อยู่บนบ่าทุกคน “คนไหนที่มีอารมณ์ร้อนๆ ตัวเองก็ต้องพยายามระงับอารมณ์” ก็ต้องเข้าใจว่าทุกคนเข้าร่วมการทำงาน ต่างคนต่างมาด้วยความศรัทธาและเสียสละ และทุกคนต้องช่วยกันรับผิดชอบในหน้าที่ของตนและคิดว่าทุกอย่างต้องสำเร็จแน่นอน

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 21:54

ตอนที่ ๓๐

มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ



สานุศิษย์ สาธุชน พุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้เป็นวันสมมุติในโลกมนุษย์ที่ได้วนเวียนมาอีกครั้งหนึ่งตามกฎแห่งสังสารวัฏ ในการเวียนว่ายแห่งวิสาขมาส

ท่านทั้งหลายก็ได้มาจัดพิธีการบูชาครูขึ้น เพื่อระลึกและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่ออาตมาก็ดี ต่อเทพพรหมก็ดี ต่อผู้สำเร็จทั้งหลายก็ดี นับเป็นการแสดงออกที่สมการเป็นคน เพราะการเป็นคนที่ให้สมการเป็นคนนั้น จะต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีคุณเป็นหลัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันนี้เต็มไปด้วยมนุษย์หรือว่าคนแห่งสมมุตินานาชาติ นานาจำพวกจากทั่วทุกสารทิศแห่งสยามประเทศ ทั้งสานุศิษย์ ทั้งสาธุชน ทั้งผู้ที่มาสังเกตการณ์ก็ดี ทั้งผู้ที่คิดอยากจะมาร่วมพิธีนี้ก็ดี ซึ่งเป็นการให้เข้าใจว่าในภาวะเช่นนี้ ซึ่งเป็นภาวะแห่งกรรมวิบากของโลกมนุษย์ที่อยู่ในกลียุคแห่งมนุษย์ที่เต็มไปด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ในการที่เข้าครอบงำที่จะคิดทำลายจองล้างจองผลาญ

อาตมาได้แลไปทั่วสารทิศแล้วว่า เมื่อสารทิศทั้งหลายเต็มไปด้วยเหล่าวิญญาณที่จองล้างจองผลาญ ในเมื่ออาตมาเป็นผู้เกิดในสยามประเทศ ได้สิ้นขันธ์ในโลกมนุษย์ไปสู่แดนพระโพธิสัตว์ ก็ได้คิดจะช่วยกันบำรุงขยายให้ชาวสยามมีความที่เรียกว่า ละทิฐิมานะในตนในการยึด ในการวางตนให้อยู่อย่างรู้จักความพอประมาณแห่งชีวิตการเป็นมนุษย์


โดยเฉพาะวันนี้เป็นวันวิสาขมาส เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราได้ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานในวันเดียวกัน เป็นวันแห่งสังสารวัฎที่เรียกว่า เป็นวันที่ชมพูทวีปได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น ในวันแห่งวิสาขมาสต่างกรรมต่างวาระ

วาระที่หนึ่ง ได้เกิดประสูติคือ เกิดบุรุษแห่งธรรมราชาขึ้นในลุมพินีวัน


วาระที่สอง ได้เกิดบุรุษอาชาไนยผู้ได้หยั่งรู้ถึงความอันบริสุทธิ์ที่พุทธคายา


วาระที่สาม ได้เกิดเศร้าสลดบุรุษอาชาไนยที่ได้หยั่งรู้ถึงความบริสุทธิ์ ได้เผยแพร่ธรรมะนั้นให้สู่มวลสัตว์โลก ได้ทิ้งขันธ์สิ้นจากโลกมนุษย์ที่เมืองกุสินารา


ซึ่งเป็นการแสดงของสังขารที่ไม่เที่ยง เป็นการแสดงออกความแห่งวัฏฏะ เป็นการแสดงออกของสังสารวัฏแห่งการเวียนว่ายตายเกิด ตามกรรม ตามวาระ ตามวิบากที่การเกิดเป็นมนุษย์เรียกว่า การเป็นสัตว์โลก เป็นผู้ประเสริฐที่มาใช้กรรม


เมื่อในวาระเช่นนี้ เมื่อเราทั้งหลายยังจะต้องใช้กรรมกันอยู่โลกแห่งวัฏจักร เราทั้งหลายทำไมจึงไม่หันมาบำเพ็ญทางจิต บำเพ็ญตน ให้ละคลายในทิฐิมานะแห่งความยึดตน หลงตน เข้าใจว่าตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้รู้ว่า เป็นนั้น เป็นโน่น เป็นนี่

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สมมุติ การสมมุติการเป็นใหญ่ก็ดี การสมมุติการเป็นเจ้าลัทธิก็ดี การสมมุติในสิ่งต่างๆ ก็ดี ล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติในโลกมนุษย์ กาลเวลาไม่นานทุกสิ่งทุกอย่างก็ต้องไปสู่ความสลาย เหลือแต่วิญญาณที่จะไปสู่ภพดี ภพชั่ว


เมื่อเราทั้งหลายรู้ว่าเหลือแต่จิตวิญญาณที่จะไปสู่ภพดี ภพชั่วเท่านั้น เราทั้งหลายทำไมจึงไม่หันมาฝึกในการเตรียมตัวในการฝึกให้เห็นนามธรรม เขาเรียกว่า “ปรมัตถธรรม” ให้มีความเมตตาประจำใจ ในภาวะความเมตตา ความอภัยของการเป็นมนุษย์ย่อมเป็นสิ่งที่ค้ำจุนให้โลกสงบ

ฉะนั้น ท่านทั้งหลายในวันนี้ที่ได้มาทำพิธีบูชาครูและกระทำพิธีขอขมาก็ดี เป็นการแสดงออกของมนุษย์ที่ไม่ตกอยู่ในทิฐิมานะที่ยึดตน ที่หลงตน ว่าตนทำถูกทุกอย่าง


การเป็นมนุษย์ การเป็นปุถุชนย่อมมีการทำผิดทำถูกคละเคล้ากันไปในชีวิตการเป็นคน เพราะชีวิตแห่งการเป็นคนล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้แห่งพญามารของโทสะ โมหะ โลภะ เจ้าแห่งโทสะออก เจ้าแห่งโมหะเข้า เจ้าแห่งโมหะออก เจ้าแห่งโลภะเข้า เป็นเรื่องที่เวียนกันไปเวียนกันมาอยู่ในร่างกายและจิตใจของมนุษย์

แต่ใจเราจะทำยังไง
จึงแลเห็นเจ้าโทสะ
จึงแลเห็นเจ้าโมหะ
จึงแลเห็นเจ้าโลภะ


เราจะแลเห็นเจ้าโทสะ เราจะแลเห็นเจ้าโมหะ เราจะแลเห็นเจ้าโลภะ เราก็ต้องมีสติ  การที่จะมีสตินั้น เราก็ต้องทำสมาธิ ในสมาธิแห่งการตามทันอายตนะของสิ่งทั้งหลายที่สมมุติเข้ามาสู่กายเข้ามาสู่ในจิตเราในการกระทบเรา

ที่นี้การเป็นปุถุชน จะดำรงชีวิตเพื่อที่จะได้มนุษย์สมบัติ ได้สวรรค์สมบัติ ได้นิพพานสมบัติ ในเรื่องจะทำยังไงในชีวิตแห่งการเป็นปุถุชน


ชีวิตแห่งการเป็นปุถุชนจะได้มนุษย์สมบัติก็คือ จะต้องมีเขาเรียกว่า ทำทาน เรียกว่า “จาคะ” มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ มีความเห็นใจซึ่งกันและกันในเหล่าเพื่อนมนุษย์ มีความอภัยต่อเพื่อนมนุษย์ที่ร่วมงานก็ดี ไม่ได้มีตัวโลภะ ตัวโมหะ เข้าครอบงำ เราหาทางชี้ทางช่วยเหลือ เราหาทางตื่นตัว เราหาทางช่วยเหลือในสมบัติของโลก ดูแลให้โลก อย่าทำลายโลก เราก็ได้มนุษย์สมบัติ

ที่นี้ในการที่จะได้สวรรค์สมบัตินั้น จำเป็นที่จะต้องบำเพ็ญศีลและสมาธิบารมี จึงจะได้สู่เรียกว่า สวรรค์สมบัติ

ที่นี้ในการที่จะได้นิพพานสมบัตินั้น จำเป็นที่จะต้องบำเพ็ญสมาธิจิตให้แข็งแกร่ง ให้ได้ฌานญาณ อย่างน้อยเขาเรียกว่า อาสวักขยญาณ จึงจะได้นิพพานสมบัติ


ความปรารถนาสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่เรียกว่า ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ยาก เป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับมนุษย์ที่มีความแน่วแน่ของคำว่า เอกัคตาจิต ในความจริงใจในการดำเนินการเด็ดเดี่ยวในการทำงาน ในการตั้งสัจจะเขาเรียก สัจจบารมีในการบำเพ็ญจิต ก็ที่จะได้สิ่งเหล่านี้ตามความปรารถนา

ฉะนั้นท่านทั้งหลายในการจัดพิธีในวันนี้ ก็เรียกว่าเป็นพิธีดี เป็นพิธีมงคล และสิ่งที่ท่านขออาตมาก็จะให้ ให้ตามสิ่งที่ท่านจะได้ตามกรรม ตามวาระ ตามวิบากที่ท่านจะได้ แต่การจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ตนต้องดำเนินตนจึงจะได้ของตน และตนจะต้องตั้งมั่นอยู่ในจิต เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ให้ตั้งมั่นในสิ่งนั้น ท่านก็จะได้สมความปรารถนา


เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:00

ตอนที่ ๓๑

การเสียสละเพื่อส่วนรวม



บางคนมันเรียกเป็นคนที่ดี แต่ดีจนเกินไป ดีมันเลยแตก มันเลยกลายเป็นขม คือ เรียกว่าทำแล้วก็ยังยึด สละแล้วก็ยังยึดบ้าง มันเป็นอย่างนี้ แล้วก็เป็นคนที่เรียกว่า มันจริงจังแล้วก็ถืออารมณ์ตนเป็นหลัก มันเป็นเรื่องที่น่าคิด

ถ้าจะพูดถึงการทำงานน่ะ ทำงานได้แต่ว่ายอมลดทิฐิหน่อย คือว่ามันเป็นคนที่เรียกว่า จะถืออารมณ์ตนเป็นใหญ่ แล้วก็เห็นว่ามนุษย์ทุกคนดีหมด ไม่รู้ว่าเวลานี้เขามากันยังไงไปยังไง คือเป็นอย่างนี้มันก็ลำบาก

คือเรื่องความเสียสละแล้ว ก็เรียกว่าสำนักนี้มาอยู่ได้ถึงเวลานี้ ก็เพราะเด็กหญิงคนนี้ เพราะว่าสำนักเก่าถูกไล่ ถูกการเรียกว่าเป็นกรรมอันหนึ่งที่เรียกว่า เราลงมาอย่างที่เรียกว่าจะให้มนุษย์มันเชื่อ ว่าจากเด็กที่ไม่รู้อะไรเลย จะได้รับความร่วมมือกลับไม่ได้รับความร่วมมือ เขามองในแง่ที่เรียกว่า ไม่เข้าซึ้งถึงเรื่องการทำงานเพื่อส่วนร่วม

ก็เกิดเรื่อง เด็กหญิงเขาก็ให้ที่นี่ เสร็จแล้วคนที่มาขณะนี้ก็รวยกว่าเขาแยะ ไม่มีใครกล้าออกเงิน เขาก็ยอมขายบ้านตัวเองมาเริ่มก่อสร้าง ก็เป็นสิ่งที่เรียกว่าเป็นนักเสียสละ แต่มันเสียสละแล้วยังยึด มันเป็นเรื่องที่น่าคิด ฉะนั้นถ้าคนนี้จะใช้งานจะต้องทำอย่างไร ให้เขารู้จักละบ้าง แล้วรู้จักวางบ้าง ก็จะเป็นม้าที่ปราดเปรียวที่จะใช้งานได้ในด้านบุกสังคม คือไม่มีความอาย


คือว่าทุกคนนี่น่ะ มันถือว่าไม่ยึดตัวตนแล้วมันก็จะทำงานได้ ถ้าทุกคนยังมีอารมณ์มีเล่นแง่เล่นงอน และการทำงานส่วนรวมมันเป็นจุดสำคัญที่สุด คือว่าเมื่อจะร่วมทำงานแล้ว จะต้องมีการเรียกว่าเห็นอกเห็นใจ แล้วก็มีการไว้วางใจกัน ไม่ใช่กูคอยจ้องมึง พลาดเมื่อไรเซมากูซ้ำ ก็เป็นเรื่องที่น่าคิด

รู้ไหมรู้จักคำว่า เซมากูซ้ำ เพราะว่าปุถุชนการเป็นมนุษย์ การเป็นปุถุชนเป็นสิ่งที่ว่าไม่ทำอะไรไม่ผิดหรอก จะทำอะไรมันมีเขาเรียกว่า มีผิดหรือถูก แต่ทีนี้เราจะทำอย่างไรให้มันผิดน้อย นี่เป็นเรื่องสำคัญของการเป็นคน ทีนี้คนน่ะไม่แลตัวเอง มันไปแลแต่คนอื่น มันก็แย่  


การทำงานมันต้องแลตัวเอง ตัวเองมีความสามารถแค่ไหน คนนี้ทำอยู่ให้เขาทำไป และจะต้องพยายามคิดหาทางช่วยงานที่ทำเขาทำให้สำเร็จ มันก็ไม่คิดกัน มันคิดแต่มึงทำนี่มึงจะเด่นกว่ากู กูต้องไปหาเรื่องมึง ไม่ได้อะไรเลย คืออาตมาบอกแล้ว จิตใจผู้หญิงมันอ่อนไหวแล้วมันวุ่นวายมากที่สุด และเวลานี้ทุกคนที่มาช่วยกำลังเป็นลูกจ้างของโลกวิญญาณ

ถึงแม้ว่าเวลานี้บางคนได้เบี้ยหวัดบ้าง ไม่ได้เบี้ยหวัดบ้าง แต่เงินเดือนไปคิดกันที่โลกวิญญาณ ก็ควรจะทำกันให้มันดีสมกับเบี้ยหวัดที่เขาให้เราบ้าง หรือว่าเราทำ เพราะว่าเรารักงานส่วนรวม ไม่ใช่ทำเพราะจำใจ ทำเพราะฝืนใจ ทำเพราะเพื่อคนอื่น นี่น่ะมันไม่ได้ประโยชน์


มันต้องทำด้วยความศรัทธา ว่าเราเกิดมาสร้างความดี ไม่กี่ปีไม่ถึงร้อยปีก็ต้องจากการเป็นมนุษย์ การมีชีวิตเกิดเป็นคนนี่มันเป็นสัตว์ประเสริฐ สัตว์ประเสริฐนี้น่ะอยู่ได้ไม่ถึงร้อยปี ไม่ถึงร้อยปีก็เอาอะไรไปไม่ได้ บ้านช่องอะไรก็เอาไปไม่ได้สักอย่าง ตายไปแล้วเหลือแต่วิญญาณไปเสวยกรรมในปรภพ เหลือแต่ชื่อดีกับชั่วให้อนุชนรุ่นหลังสรรเสริญและนินทา

เมื่อเราปลงเช่นนี้ เราสละตนออกมาทำงานที่นี่ เราต้องคิดว่าเราปลงตกแล้ว เราสละแล้ว เราประกาศตนออกมารับใช้สังคม ซึ่งเป็นสังคมศาสนาที่จะมาปรับปรุงโดยไม่คล้อยตามเขา เป็นสังคมใหม่ที่เกิดขึ้นในโลกมนุษย์ ไม่กี่ปีแล้วจะต้องเข้มแข็งกว่านี้กัน สิ่งใดที่ควรละได้ก็ควรละ สิ่งใดที่คิดว่าไม่ควรจะนั่งคุยกัน นั่งเล่นอะไรกันก็ควรจะเลิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกคนที่จะมาเป็นกรรมการหรือเป็นวงในก็อยากจะเรียกว่า ทุกคนมีภาระ อาตมาก็อยากจะให้ว่า กองจัดการควรจะจัดการให้เรียบร้อย

และคำว่าไม่มีเวลา อย่าพูด ถ้าคนเราไม่จัดเวลาแล้วมันไม่มีเวลา ตลอดทั้งชาติก็ไม่มีเวลา บอกแล้วว่าธรรมชาติเขาสร้างเวลาให้มนุษย์นอนแปดชั่วโมง ทำงานแปดชั่วโมง พักผ่อนแปดชั่วโมง ในเวลาหนึ่งวัน เรารู้จักทำให้มันถูกต้อง มันก็ยี่สิบสี่ชั่วโมงพอดี

ในการที่ท่านจะไปบำเพ็ญที่ป่านั้น การกินมันควรจะทำอย่างไร ควรจะใช้ให้ดินเป็นพืชพันธุ์ขึ้นมาบ้าง ไม่ใช่คอยอาศัยเมืองหลวง ถ้าเกิดตูมตามขึ้นมามันตัดขาดแล้วมันจะไปคอยเมืองหลวงได้อย่างไร ดินนี้จะต้องทำให้เป็นอาหาร อาตมาเมื่อครั้งไปอยู่เกาะแก้วพิสดารตั้งห้าพรรษา ล้อมรอบด้วยน้ำทะเล อาตมาปลูกมันกับถั่วเลี้ยงตัวอยู่ที่นั่นได้ห้าพรรษา


แล้วก็นานๆ ก็จะได้พวกอาหารจากพวกโจรสลัด เพราะว่าที่นั่นเขาเรียกว่าเกาะประหาร แถวนั้นพวกโจรสลัดเวลามันปล้นเสร็จแล้ว มันมาฆ่ากันบนเกาะ ฆ่าตายแล้วมันนิมนต์อาตมาสวดแล้วก็ให้อาหารก็มี คือหน้าที่ไปสวดผีที่พวกโจรสลัดมันฆ่ากัน ได้ให้อาหารสักมื้อหนึ่งพวกมันไปปล้นมา แล้วอาตมาส่วนมากก็กินแต่ถั่วกินแต่ผัก แล้วทำไมอยู่ได้

เพราะว่าถ้าท่านใช้กำลังภายในให้ถูกหลัก มันจะดีกว่ากินยาบำรุงจำเอาไว้ คือพยายามนั่งสมาธิให้เป็นเวลา เดินจงกลม เพราะว่าการเดินจงกลมนี่เขาเรียกว่า มนุษย์เกิดจากธาตุดิน ลม ไฟ ผสมกัน โรคไต โรคความดันสูงต้องตื่นตีสี่ตีห้ามาเดินจงกรมที่สนามหญ้า มีน้ำมีน้ำค้างให้มันดูดพวกน้ำบริสุทธิ์เข้าไปปรับไตความดัน แล้วมันก็จะสงบเข้าใจไหม


พวกโรคเบาหวานมันเกิดจากพวกน้ำตาลเข้าไปอยู่ในหัวใจอยู่ในเส้นเลือด เราต้องเดินให้เหงื่อออก เดินให้เลือดมันประสานกันมันจะเกิดการละลายออกมาเอง แล้วก็ทำสมาธิถ่ายเทออกมาทางผิวหนัง สมัยยุคนั้นเขาไม่ต้องกินยากันมากก็อยู่ได้ แล้วยาชนิดหนึ่งก็คือหญ้าทั่วไป หญ้าขมทุกชนิดเป็นยา หญ้าหวานกินแล้วตาย จำเอาไว้ อาตมากินหญ้าเป็นครั้งคราวมันก็อยู่ได้ เอาละถ้าไม่มีอะไรอาตมากลับ

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:04

ตอนที่ ๓๒

คำอนุโมทนาของหลวงปู่ทวด


วันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙



วันนี้นับว่าเป็นนิมิตอันดีอีกวาระหนึ่งที่ท่านทั้งหลายได้มาร่วมกัน จะปรึกษาในการเปิด งานสันติเจดีย์ ที่จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รู้สึกว่าเท่าที่อาตมารับทราบ วันนี้เป็นงานที่ท่านโตจัดว่าเป็นงานที่ใหญ่มาก ในการจะทำงานใหญ่นั้น ก็ไม่ใช่ว่าคนใดคนหนึ่งคนเดียวจะทำสำเร็จได้

การทำงานใหญ่จำเป็นที่จะต้องรวมกันเป็นหมู่คณะ ทีนี้การรวมกันเป็นหมู่การรวมกันเป็นคณะ ก็ควรจะต้องให้มีระเบียบวินัย ในการที่เรียกว่า ว่ากันตามหน้าที่การงาน ขั้นตอน ผู้รับผิดชอบ ไม่ใช่ว่างานทุกอย่างจะต้องให้แม่ทัพสั่งการเท่านั้น แม่ทัพก็ต้องมีนายกอง ต้องมีนายหมู่ นายหมวด ในการทำงานนั้นจึงจะเรียบร้อยได้


ทีนี้การทำงานนั้น ท่านต้องเข้าใจว่า การทำงานคือเรื่องของการหาความทุกข์เข้าตัว เพราะคำว่า “งาน” โดยเฉพาะงานเพื่อส่วนรวม เพื่อมนุษยชาติก็เป็นเรื่องที่จะต้องมีอุปสรรคมาก ผู้รับไปทำจะต้องมีความจดจ่อ จะต้องมีการใช้สมองในความสุขุมคัมภีรภาพ งานนั้นเขาเรียกว่า ก็มีทางสำเร็จ

ทีนี้ในการทำงานนั้นท่านจะต้องมีการวางแผนงานให้ดี และก็ต้องดูแลแผนงานให้ดี ดูแลเสร็จ ท่านจะต้องวินิจฉัย วินิจฉัยแล้ว ก็จะต้องทบทวน ทบทวนแล้วจะต้องคิดว่า ถ้าทำอย่างนี้ลงไปไม่สำเร็จ เราจะทำอย่างนั้นลงไปได้ไหม เพื่อที่จะให้สำเร็จในงานนั้นๆ เพราะฉะนั้น เขาว่าการทำงาน ถ้าไม่มีแผนงานก็เหลว งานก็เละ

ทีนี้อีกประการหนึ่ง ในการทำงานนั้น หมู่คณะมาก ปัญหาก็มาก คำพูดก็มาก คำพูดมาก อารมณ์ก็มาก อารมณ์มาก โทสะก็มากตามมา นี่คือเรื่องของมนุษย์ปุถุชน ฉะนั้น ในเรื่องของนานาจิตตัง ในเรื่องของทิฐิมานะแต่ละคนนั้น ท่านจะต้องฟังในการงาน และมีการเรียกว่า ถ้อยทีถ้อยอาศัยในงาน เรียกว่านักพูดที่ดี เขาก็ต้องหัดเป็นนักฟังที่ดี นักฟังที่ดีบางคน ก็ต้องหัดเป็นนักพูดที่ดี


ทีนี้การทำงาน ท่านต้องเข้าใจว่า ทำงานหมู่คณะมาก ระเบียบวินัยจะต้องแข็ง ถือว่าคำว่าเพื่อนฝูง คำว่ามิตรสหาย คำว่ากันเองต้องนอกงาน แต่ระหว่างงานเขาเรียกว่า สมมุติการสวมหัวโขนเต้น ก็ต้องเต้นตามจังหวะโขน แต่ต้องเต้นด้วยมีสติพร้อม ท่านก็จะไม่มีทุกข์ยึดหัวโขน

ฉะนั้น อาตมาก็ขออนุโมทนาที่ท่านทั้งหลายอุตส่าห์วิริยะเดินทางกันมาจากไกลๆ บ้าง มาจากภาคเหนือมากหน่อย ภาคใต้ไม่ค่อยมาก ก็เห็นว่าการที่เรียกว่า ภาคเหนือภาคอีสานมากันมาก ก็คิดว่าท่านทั้งหลายคงเข้าใจในสถานการณ์ที่ท่านจะทำว่าเป็นงานอะไร


และเป็นงานที่เรียกว่า ภาษาชาวบ้านก็คือว่า งานท่านเป็นงานเอกชนทำ ไม่ใช่ท่านเป็นรัฐบาลทำ เมื่อเอกชนจัดงานใหญ่ ก็ย่อมที่จะมีทุกข์มาก มีอุปสรรคมาก มีปัญหามาก แต่ว่าท่านจะต้องค่อยๆ แก้ ค่อยๆ คิด และท่านมีความมั่นใจดำเนินไป อาตมาก็คิดว่า ก็จะเรียบร้อยได้ดีและก็จะสำเร็จเข้าเป้าของงานได้

แต่ถ้าท่านทำแบบสักแต่ว่าทำ ก็จะเรียบร้อยยากและก็จะไม่สำเร็จตามเป้า คือการเป็นคนต้องรู้จักแบ่งเวลาของงานออก ต้องรู้จักแบ่งเวลาของงานส่วนรวมส่วนตัวออก แล้วท่านก็จะทำงานใหญ่ได้ และก็จะทำงานได้ดี แต่ถ้าท่านไม่รู้จักในการที่เรียกว่า แยกแยะในการงาน ในการดูแล ในการพิจารณาในการวาง ท่านก็มีชีวิตแต่ความล้มเหลว


เพราะฉะนั้น อาตมาคิดว่าในงานครั้งนี้ เท่าที่ท่านมาประชุมกันมากมายและก็ทำกันทุกคน ก็คือว่างานนี้เรียบร้อยได้ แต่ท่านมาประชุมกันแค่ประชุม ประชุมเสร็จก็ต่างคนต่างกลับแล้วก็ลืมกันแค่นี้ งานก็จะมีแต่ความขลุกขลัก ความเรียบร้อย อันนี้อาตมาขอให้ท่านพิจารณา

คิดว่าไม่มีอะไรที่จะพูดมากกว่านี้ ก็ขอให้ทุกท่านทั้งหลาย มีความอุตสาหะในการที่จะต่อสู้เพื่อมนุษยชาติ

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:35

ตอนที่ ๓๓

ชีวิตของนักพรต



พระมหาสังวร – กราบนมัสการหลวงปู่ ลูกขอแนะนำในการเป็นนักพรตนักบวชครับ

หลวงปู่ทวด - การเป็นนักบวชที่จะให้สันโดษ สงบ จะได้มีโอกาสปฏิบัติฌานญาณ จะต้องไม่มีตำแหน่งเป็นอะไร และจะต้องไม่มีอะไรห่วง มันก็จะได้ผลในด้านของนามธรรมแห่งการปฏิบัติจิต ถ้าท่านเป็นนักบวชแล้ว ยังคิดว่าช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ก็จงอย่าวางแผนเอื้อมมือไปขย้ำฟ้า เพราะมันเท่ากับบวชแล้วหาทุกข์เข้าตัว


ทีนี้มนุษย์สมัยนี้ อาตมาไม่รู้ว่าบวชกันแบบไหน เมื่อสมัยอาตมาได้มีโอกาสหนีจากการเป็นสังฆราชมาอยู่ที่น้ำตกทรายขาว แล้วอาตมาคิดว่า “นั่นแหละสุขที่สุด” คือการเป็นนักพรตที่ดี จะต้องไม่มีห่วง และไม่มีตำแหน่งเป็นอะไรเลย เพราะถ้าท่านมีบ้าน ท่านห่วงบ้านก็ทุกข์ ท่านมีเมือง ท่านห่วงเมืองก็ทุกข์ ท่านคิดช่วยคนอื่น ห่วงการทุกข์ของคนอื่น ท่านก็สร้างทุกข์เข้ามาสู่ตัวท่านเอง

ฉะนั้นเราจะต้องรู้จักว่า ตราบใดที่ตัวเรายังเป็นนักพรตที่ดีไม่ได้ จะต้องหัดไม่ห่วงบ้าน อยู่เฉยๆ บ้าง มันก็จะได้ไม่ทุกข์ ซึ่งกรรมวิบากของมนุษย์แต่ละคนมันเป็นเรื่องที่ยากที่เราจะช่วยเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุคนี้มันเป็นกลียุค ในความคิดเห็นของอาตมาก็ว่าอยู่เฉยๆ ละดีที่สุด


คนศรัทธาเรา เราก็ช่วยเท่าที่เขาศรัทธา คนเขาไม่ศรัทธาเรา เราก็ช่วยเท่าที่เขาไม่ศรัทธา ให้เขายิ่งไม่ศรัทธาเรา เราจะได้ไม่ทุกข์กันมาก ถ้าเราจะไปห่วงเขาก็จะไปยุ่งกับเขามาก พลังจิตที่ยังอ่อนหัดนั้นก็ทำให้เราเกิดทุกข์มาก ที่เราบวชน่ะ บวชเพื่อให้พ้นทุกข์ ไม่ใช่บวชเพื่อก่อทุกข์

พระมหาสังวร – แต่กระผมมาคิดพิจารณาดู เท่าที่ฟังธรรมว่า โลกียะนี้จะต้องไปคู่กันกับโลกุตระ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หลวงปู่ หลวงพ่อได้เมตตากรุณามาโปรดสัตว์ในยุคนี้ ก็เป็นประโยชน์กับผู้อื่นไปได้บ้าง ก็จะพยายามทำ เราต้องการที่จะหาสถานที่ที่ตั้งใจไว้นั้น เพื่อจะได้เผยแผ่ธรรมหรือว่าเพื่อที่จะให้ผู้ที่ประพฤติธรรมได้อาศัย ฉะนั้นมีความกังวลอยู่บ้าง ก็ขอพระเดชพระคุณหลวงปู่ให้สติ


หลวงปู่ทวด - สถานที่นั้นยังใกล้ความเจริญ ชีวิตของการเป็นนักพรตดีที่สุด คือ อยู่ถ้ำกับอยู่ป่า แล้วก็ดีที่สุดคือว่า เรามีแค่กะลาใบหนึ่งพอ ก็ขอเขากินไปวันหนึ่งๆ ถ้าไม่ขอ เราก็ปลูกถั่วเลี้ยงตัวเอง แล้วอยู่ในถ้ำที่คนไม่มาเจอ เหมาะสำหรับในยุคนี้ดีที่สุด คือในยุคนี้จะหาคนที่มีความกตัญญูมันก็ยาก จะหาคนที่จะมีการอาลัยอาวรณ์นึกถึงคุณของผู้ที่สร้างความดีก็ยาก

เพราะฉะนั้น อาตมาจึงว่าทุกวันนี้นักพรตน่ะ จะมีนักพรตที่มีมหาเมตตามากเกินไป มหาเมตตาในตัวนี้หมายถึงว่า บวชแล้วตัวเรายังไม่รู้ว่าตัวเราเป็นอะไร ตัวเราเป็นพระหรือเป็นแพะ หรือเป็นหมูหรือเป็นสัตว์ จิตยังไม่สามารถเข้าถึงโลกุตรธรรมถ่องแท้ ก็เตรียมแผนกันสร้างทางโลกียะอย่างใหญ่โต


ผลก็คือ โลภะเข้าครอบ โทสะเข้าครอบ โมหะเข้าครอบ ก็เลยกลายเป็นว่า พระสงฆ์ส่วนที่ว่านี้ ในขณะนี้ยังทำแข่งในทางโลกียะ ว่าใครจะสร้างโบสถ์ใหญ่กว่าใครได้หรือไม่ เรานี่ตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสหลายวัด สิ่งเหล่านี้คือ นำความฟุ้งซ่านให้มาก นำความห่วง นำความทุกข์เข้าสู่ตัวให้มาก

ต้องเข้าใจว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีจากกรุงกบิลพัสตุ์เข้าสู่แคว้นมคธ ในขณะนั้น พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ตามหนุ่มน้อยที่มีความงามไปสู่ที่วิเวก จะแบ่งแคว้นมคธให้กับเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายสิทธัตถะยังบอกว่า


ขอให้ท่านอยู่อย่างราชตระกูล เราขออยู่อย่างขอทานต่อไป เราถือว่าความเป็นอยู่ในชีวิตอย่างขอทานนี้มีสุขที่สุด คือเราไม่มีอะไรที่จะต้องห่วง เราไม่มีวังที่จะห่วง เราไม่มีอาณาประชาราษฎรที่จะห่วง เราไม่มีบิดามารดา ลูกเมียที่จะห่วง เราเพียงแต่ห่วงว่า ตราบใดที่เรายังมีลมหายใจอยู่นี้ จะค้นอย่างไรให้พบ “พุทธะ” เราจะได้นำพุทธะมาช่วยคน นี่คือวิถีที่พระพุทธองค์ออกบวช

แต่นักบวชยุคนี้ ตัวเองยังไม่ทันช่วยตัวเองได้ คิดจะไปตั้งสำนักโน้น ตั้งสำนักนี้ มันก็น่าคิด คือพวกเจ้ามันไม่เหนื่อยใจ แต่อาตมาเหนื่อยใจแทนนะ

พระมหาสังวร –
กระผมเห็นว่าสถานที่นั้นพอเหมาะที่จะตั้งสำนักบำเพ็ญธรรม


หลวงปู่ทวด - การบำเพ็ญธรรมที่ไหนมันก็บำเพ็ญได้ ถ้าตัวเรารู้จักบำเพ็ญปรับปรุงยกจิตใจให้เหนือสิ่งแวดล้อม และสามารถแยกอารมณ์โลกุตรธรรมให้เหนือโลกีย์ เราอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ใช่ว่าบำเพ็ญๆ ไปคิดถึงเมีย เขาจะไปมีผัวน้อยหรือไม่ หรือจะไปคิดๆ ว่า ลูกเรานี่น่าสงสาร หรือไม่ที่กำลังคิดถึงพ่อและแม่ แล้วเดินผ่านหน้าบ้านตัวเองจะต้องมองดูว่า บ้านนี้มีคนมาอยู่แทนเราหรือไม่ เจ้าจะไปบำเพ็ญเมืองไหน มันก็ไม่มีสุข นี่พูดถูกใจไหมล่ะ

พระมหาสังวร – ถูกใจครับ ลูกรู้สึกว่าปัจจุบันนี้เป็นอย่างที่หลวงปู่ว่าทั้งนั้นแหละ เหตุนั้นจึงว่าจะต้องพยายามในการที่จะหลีกเร้นออกจากสถานที่ให้พอเหมาะพอสม


หลวงปู่ทวด - คือ พวกเอ็งมันทัศนะแบบเอื้อมมือจับฟ้าขย้ำ เหยียดเท้าแผ่นดินให้เป็นทะเล แต่ทัศนะอาตมาแล้ว เราจะต้องบำเพ็ญตัวเองให้รู้จักคำว่า ตัวเราเองเป็นอะไร แล้วค่อยออกสู่วงการสังคมที่จะเอื้อมฟ้าแล้วเหยียดดิน คือ ทำงานอย่างโครงการใหญ่โตนี่มันเรียกว่า “มหากรุณา” จนเกินไป เวลานี้จึงสร้างทุกข์มหันต์เข้า ก็เลยแก้กันยาก


ปัจจุบันนี้การต่อสู้กับพวกอธรรมนี่เรียกว่า กองทัพธรรมยังไม่แข็งแกร่ง และที่เรียกว่าฝ่ายธรรมนั้น จะต้องสามัคคีมากกว่านี้ ฝ่ายอธรรมมันจึงจะเหนือไม่ได้ โลกียะในยุคปัจจุบันนี้มันเดินก้าวหน้ากว่าโลกุตระ ๙๙ เปอร์เซนต์ ถ้าโลกุตรธรรมมีถึง ๙๕ เปอร์เซ็นต์ ต่อสู้กับอธรรม ๘๐ เปอร์เซ็นต์ มันก็พอจะสู้กันไหว เข้าใจหรือยัง เพราะขณะนี้อธรรมเหนือธรรม ๙๙

พระมหาสังวร – ในพรรษานี้กระผมว่า ไปอยู่ไกล บางทีก็จะพยายามไม่กลับมาเห็นบ้าน

หลวงปู่ทวด –
ในพรรษานี้ถ้าจัดบวชเณร ๓๐ รูปเสร็จแล้ว จะต้องให้จัดคนไปควบคุม และท่านโตจะไปอบรม ก็อาตมาบอกแล้วว่า พวกเจ้ามันทำอะไรชอบเหมือนหนุ่มสาวรักกัน เพื่ออะไร เพื่อที่จะครองสุดยอดของรัก คือการแต่งงาน อย่านึกว่าอาตมานี่เป็นคนที่ไม่ชอบพูดแล้วไม่รู้เรื่องอะไร แต่งงานเสร็จน่ะหวังอะไร หวังลูก การสัมพันธ์ทำให้ลูกเกิดมานี่ง่าย มันร้องแต่จะทำให้ลูกเกิด แต่จะเลี้ยงลูกให้เป็นลูกที่ดีน่ะมันยาก


เหมือนการบวชให้ใครต่อใครนี่น่ะมันง่าย แต่จะอบรมสั่งสอนทำให้เขาเป็นนักบวชที่ดีเป็นพระที่สมบูรณ์ มันเป็นเรื่องน่าคิด การมีปัจจัยแล้วก็ประกาศไปก็มีคนมาบวช บวชแล้วจะสอนให้เขารู้ธาตุแท้ของการเป็นพระนั้นยาก เหมือนให้กำเนิดลูกนี่น่ะมันง่าย แต่จะเลี้ยงลูกจนโต จนลูกทำมาหากิน สอนจนลูกให้เป็นลูกที่ดี มันใช้เวลาเท่าไหร่ เจ้าช่วยคิดให้อาตมาดูซิ

เพราะฉะนั้นผลงานของท่านโต นี่ดีแต่ปฏิบัติยาก อาตมารู้ดีอยู่แล้วว่า จิตใจมนุษย์นี่มันเปลี่ยนทุกวินาที อย่าไปเชื่อเขามากนัก มนุษย์คนไหนรับปากว่าปฏิบัติได้ๆ นี่ อาตมาเฉยๆ อาตมาเฉยคำพูดนั้น มันไม่มีความหมายสำหรับอาตมา ต้องรอจนกว่าสิ่งนั้นมันจะเป็นผลขึ้นมา จึงถือว่าใช้กันได้


ไม่ใช่มนุษย์มาบอกให้อาตมาว่า ได้ๆ ๑๐ คำ อาตมาจะเชื่อสักคำบอกตรงๆ เพราะความไม่เชื่อ จึงทำให้อาตมาเป็นคนนิ่งๆ เข้าใจไหม คือ จิตใจมนุษย์ในขณะนี้ ตอนพบเราอารมณ์หนึ่ง ออกไปข้างนอกอารมณ์อื่นกระทบเข้า ก็เปลี่ยนเป็นอีกอารมณ์หนึ่ง เพราะว่าเขาไม่ใช่เป็นผู้มีฌานญาณ ยังเป็นปุถุชน ปุถุชนก็ย่อมมีความหวั่นไหวตามอายตนะ เมื่ออยู่ที่เราก็อารมณ์หนึ่ง ห่างออกจากเราก็มีอารมณ์หนึ่ง ไปถึงบ้านพบลูก เมีย ผัว ก็อีกอารมณ์หนึ่ง ไปยึดเชื่อมันได้หรือ

ถ้าทัศนะอาตมาก็คือว่า ถ้ามนุษย์ที่ร่วมงานไม่เห็นแก่ตัวกันจนเกินไป จะทำงานใหญ่นั้นจะต้องมีความจริงจังกว่านี้อีกมากๆ มันจึงจะสู้อายตนะไหว ทีนี้ถ้าอยู่ ก็ให้มันอยู่กันเฉยๆ ไม่เดิน ไม่ถอย แล้วถ้าจะบุกต้องเตรียมกายใจ พร้อมที่จะสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม


เมื่อนั้นมันต้องบุกกันจริงๆ เมื่อบุกนี่มันยิ่งขยายๆ โอกาสแห่งความพังฉิบหายมันก็จะเข้ามาใกล้ทุกขณะ เพราะจะปลูกบ้านนี่ มันมัวแต่ขึ้นหลังคา ข้างล่างไม่ยอมให้มันแน่นหนาก่อน ฐานล่างไม่แน่นขึ้นหลังคา ขึ้นชั้นหนึ่งไม่พอ ขึ้นชั้นสอง ขึ้นชั้นสามชั้นสี่ มันก็จะตูมตามพังลงมา ซึ่งอาตมามาทำงานมันคนละแนวกับท่านโต

ท่านโตชอบแบบเหวี่ยงแหตีอวน ซึ่งมันกว้างเกินไป ของอาตมาต้องการใช้แบบอธิษฐานบารมีว่า ใครมีกรรมพัวพันก็มา ไม่มีกรรมพัวพันก็อย่ามา การทำงานนี้ต้องเข้าใจว่า มนุษย์ทำทุกอย่างมันขึ้นอยู่คำที่องค์สมณโคดมตรัสว่า “นานาจิตตัง” ทุกคนเขาจะต้องการความคิดของตนเป็นใหญ่


และสิ่งที่มนุษย์ทุกยุคที่มีประจำใจของมนุษย์แต่ละคนที่ยังเป็นปุถุชน คือ อยากเด่น อยากงาม อยากให้คนอื่นเขายกย่อง นี่คือเหตุการณ์ธรรมดาของมนุษย์ เพราะมนุษย์มันไม่เข้าซึ้งถึง “ความตาย” อย่างถ่องแท้ มันจึงทำงานของศาสนาไม่ได้

ถ้าท่านจะทำงานใหญ่ของศาสนา จะต้องรู้จัก “ตายระหว่างเป็น” ไม่ใช่ “ตายตอนถึงอายุขัย” ตายระหว่างเป็น จะต้องตัดอารมณ์อย่างแน่วแน่ ตัดออกจากสังคมในครอบครัว ตัดห่วงในผัว ในลูก ในเมีย ในสมบัติทั้งปวง รวมทั้งสังขารที่เราหลงยึดอยู่ จะต้องปลงให้เห็นสังขารแตกดับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย และผุพังเน่าเปื่อยไป ทุกวันนี้มีเพียงวิญญาณอาศัยสังขารนี้ เพื่อใช้กรรมตามวาระ


เมื่อนั้นคือ เราค้นกายในกาย จนเห็นการตายระหว่างเป็นแล้ว เราก็จะสามารถยกชีวิตถวายเป็นพุทธบูชา อุทิศกำลังจิตทั้งหมดอยู่กับส่วนรวม จึงทำงานศาสนาใหญ่ได้ แล้วงานนั้นมันจะก้าวไปได้

ตราบใดที่ยังมีห่วงแม่ ห่วงเมีย ห่วงลูก ห่วงคนโน้น ห่วงคนนี้ ทำงานใหญ่ไม่ได้ อารมณ์มันไม่รวม สมาธิไม่เกิด มันฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านแล้วพลังธาตุไฟมันแตก การแตกตัวของธาตุไฟเกิดความหวั่นไหวของจิต กลียุคในขณะนี้มันต้องรู้จักนิ่งดูสถานการณ์

คือ บุกอย่างท่านโตได้ แต่มันต้องรวมกำลังกันให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นๆ มันจึงจะตามทันเหตุการณ์ของประเทศ เพราะฉะนั้นเขาเรียกว่า อย่าโลภให้มาก ที่นี่อยู่ในปัจจุบันรักษาให้รอดก่อน ค่อยขยายอาณาจักร

(วันเสาร์ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕)



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:42

ตอนที่ ๓๔

มองกันคนละมุม



สานุศิษย์ – หลวงปู่ครับ มีชนกลุ่มหนึ่งได้เขียนข่าวอย่างไม่เข้าใจเราครับ ขอหลวงปู่พิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป

หลวงปู่ทวด – คือเรื่องทั้งหลายนี่ งานของเรา มันเป็นงานทวนกระแสคลื่น งานไม่คล้อยตามโลก และงานที่จะโกยมนุษย์ให้ขึ้นจากทะเลแห่งความบ้าคลั่งนั้น ก็เป็นเรื่องที่ลำบากที่จะต้องแลกันให้ดี เพราะฉะนั้นในฐานะที่เรียกว่า ท่านกำลังจะทำงานที่ก้าวขึ้นไกลไปกว่าปัจจุบัน


อาตมาก็ได้บอกแล้วว่า ก็ย่อมที่จะมีมารสูงตามไปเป็นภาระเป็นเรื่องของรูปธรรม ปัญหาก็อยู่ที่ความหนักแน่นขนาดไหนในการที่จะก้าวงานต่อไป แล้วงานมันไม่ใช่งานแค่นี้ งานที่นี้เป็นงานที่แข่งกับเวลาอีก เป็นเรื่องที่หนักสำหรับมนุษย์ที่คิดจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์

ทีนี้ปัญหาเวลานี้ เรื่องต่างๆ ที่บุคคลหลายฝ่ายเข้าใจผิด อันที่จะเกิดอะไร ตามภาษาชาวบ้านว่า เรื่องความเป็นคนที่ไม่เข้าใจไปในเรื่องงานที่เราทำผ่านมา ก็กลายเป็นที่เรียกว่า คงจะเกิดกรณีวิวาทกันขึ้น ถ้าพูดในทัศนะของธรรมะแล้ว มันไม่มีใครทำถูก ไม่มีใครทำผิด

คำว่า "ถูก" ก็อยู่ที่ชนกลุ่มที่เห็นด้วยกัน หรือว่าของชนกลุ่มที่อยู่ในวิธีการรับรู้ในกิจการนั้นๆ และก็พอใจในกิจการนั้นๆ ก็ถือว่าถูก ทีนี้อีกฝ่ายหนึ่งที่เขาเห็นว่า “ผิด” นั้นก็เกี่ยวกับว่า เขาก็มีทัศนะของเขา เขาก็มีความเห็นของเขา และเขาก็มองแค่ผิวเผิน ไม่ได้มองเข้าไปลึกซึ้งถึงคณะบุคคลที่ทำงาน ถึงเป้าหมายของงานที่เขาทำเพื่ออะไร เขาก็มีความคิดเห็นของเขานั้นก็ถูก

เพราะฉะนั้นภาษาของพระ “นานาจิตตัง” เมื่อคำว่า “มติ” คืออะไร ที่จริงมันเป็นเพียงแต่อารมณ์ บางครั้งที่นานาจิตตังมันมีอารมณ์มาตรงกันเข้ามากๆ ก็กลายเป็น “มติ” ขึ้นมาเท่านั้น ถ้าว่าในลักษณะของปรมัตถธรรมแล้ว ทุกอย่างมันไปตามธรรมชาติของมัน ทุกอย่างมันไปตามเรื่องของมัน


ฝ่ายเราที่ทำงานชิ้นนี้ เราก็ถือว่างานของเราดำเนินไปตามวิถีของเรา เราก็เรียกว่าของเราถูก ฝ่ายที่เขามุ่งทำลาย เขาเรียกว่า มีความในใจคิดร้ายต่อชนเผ่าไทย เขาก็ถือว่าเป็นการทำผิดไป

อันนี้มันก็เป็นเรื่องของการเรียกว่า ของสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง แต่คนที่มองของสิ่งนั้นอยู่กันคนละข้าง แต่คนที่มองของสิ่งนั้นอยู่กันคนละมุม ทัศนียภาพต่างกันก็มองเห็นสิ่งของสิ่งนั้นไปคนละทัศนะ ไปคนละแบบ เท่าที่สายตาจะส่งถึง


ในความจริงของสิ่งนั้นเป็นสิ่งเดียวกันที่ตั้งอยู่ในใจกลางแห่งโต๊ะ แต่คนละรอบโต๊ะ มันอยู่กันคนละจุด มันก็มองกันไปคนละแง่ เพราะฉะนั้นถ้าทัศนะของอาตมา อาตมาก็มีคติของอาตมาว่า “นิ่งเสียโพธิสัตว์” นั้นคือคติของอาตมา

ท่านทั้งหลายก็รู้สึกว่าวันนี้มากันมาก ถ้าวันไหนท่านเกิดความเบื่อหน่าย ขอท่านพยายามนึกถึงการสละความสุขส่วนตัวช่วยส่วนรวม คือพยายามสร้างความศรัทธา จริงจังจดจ่อให้จิตใจอย่าไปคล้อยตามอารมณ์ทางอายตนะแห่งโลกีย์ และก็คิดว่าแผนงานต่างๆ ที่ท่านจะทำ คงจะสำเร็จได้ไม่มากก็น้อย


แต่ว่ามันมีทัศนะอุดมการณ์อย่างหนึ่ง คือว่าท่านจะต้องทำงานแข่งกับเวลา ท่านจะไปทำงานแบบงานส่วนตัว ทำงานบริษัทหรือว่าทำงานการค้า ทำงานแบบกิจการเอกชนทั่วไป โดยใช้เวลาทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะขณะนี้ท่านกำลังวิ่งแข่งกับวิบากกรรมของโลก และกำลังชิงเวลากับวิบากกรรมของประเทศไทย

(วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:45

ตอนที่ ๓๕

หลักการทำงานใหญ่



เจริญพร

การทำงานทั้งหลาย ท่านต้องเข้าใจว่างานใหญ่ คนๆ เดียวย่อมทำไม่ได้ งานใหญ่ย่อมต้องเป็นหมู่คณะ การทำงานเป็นหมู่คณะก็จำเป็นจะต้องเดินไปด้วยกัน งานนั้นจึงสำเร็จสัมฤทธิ์ผลได้


การทำงานใหญ่ เราก็อย่าไปถือหลักว่า ถ้าไม่มีเราแล้วงานนั้นจะไม่สำเร็จ กฎของธรรมชาติมันจะมีตัวตายตัวแทนของมันอยู่เสมอ เขาเรียกว่า เกิดดับของมันเอง เพราะฉะนั้นการทำงานใหญ่ต้องมีหลัก คือ

๑. ต้องเชื่อมั่นว่างานนั้นจะต้องสำเร็จ นั่นคือการสร้างพลังใจ


๒. หมู่คณะต้องมีความสามัคคี งานนั้นก็จะสำเร็จเป็นขั้นที่สอง


๓. ต้องอย่าสำคัญตนผิดว่า ในหมู่คณะนั้นไม่มีมีเราแล้วงานนั้นจะไม่สำเร็จ


ถ้าท่านมีคติ ๓ ข้อนี้ อยู่ในใจและเป็นรูปของกลุ่มทำงาน อาตมาคิดว่า งานทั้งหลายไม่เกินความสามารถของมนุษย์ ถ้างานเหล่านั้นไม่ใช่งานดุลกรรม งานฝืนกฎแห่งกรรมมากนัก

ทีนี้ ปรกติที่โลกมันเกิดความวุ่นวายทั้งหลาย เพราะมนุษย์ไปสำคัญตนผิด ไปสำคัญว่า ถ้าไม่มีเราแล้ว งานนั้นก็คงจะไม่สำเร็จบ้าง ไปสำคัญว่าตนนั้น มีความรู้เก่งกว่าคนอื่นบ้าง ตนนั้นมีความดีเกินกว่าคนอื่นบ้าง คนอื่นเป็นคนไม่ดีทั้งหมด เป็นต้น มันจึงเกิดความวุ่นวายของโลกขึ้น


คือ ถ้ามนุษย์ยึดหลักแห่งการเป็นปุถุชนที่ดีแล้ว ต้องเข้าใจว่า ชีวิตแห่งการเป็นปุถุชนนั้น ไม่มีใครดีกว่าใคร ไม่มีใครเลวกว่าใคร เพราะทุกคนเกิดมาใช้กรรมของตน ทุกคนเกิดมาเพื่อสร้างความดีหรือความชั่ว ไม่มีใครที่จะเลือกเกิดได้ และไม่มีใครที่จะเลือกตายได้ ทุกคนมาตามกรรมวิบาก ถ้าทุกคนมีคติอันนี้และพยายามวางในการทำงานให้ดี คิดว่างานทั้งหลายก็จะดีได้

การทำงานเป็นเรื่องของการหาทุกข์ แต่การหาทุกข์มันมีหลายลักษณะ หาทุกข์เพื่อความสุขของตัวเอง หาทุกข์เพื่อความสุขชั่วขณะหนึ่ง หาทุกข์เพื่อความสุขมวลมนุษย์ อันนี้มันก็อยู่ในหลักของการที่เราหาทุกข์ด้วยการบำเพ็ญเมตตาบารมี เพื่อสันติสุขของโลกมนุษย์ ก็ย่อมที่จะได้กุศลในการทำงาน อันนี้ก็ฝากเป็นข้อคิด


แต่ว่างานทั้งหลายจะสำเร็จหรือไม่ มันอยู่ที่มนุษย์มีความจริงจัง จดจ่อ แน่วแน่ และไม่ทรยศต่อสัจจะของตนเอง เมื่อมนุษย์เอาจริงแล้วก็จะได้รับความช่วยเหลือจากสวรรค์มาก จะต้องได้รับผลตอบแทนมากในการทำงาน แต่ว่าการทำงานของสำนักปู่สวรรค์นั้น อาตมาขอใช้คำว่า “การทำงานอยู่ที่มนุษย์ ความสำเร็จอยู่ที่พระเจ้า” พระเจ้าพร้อมที่จะให้ความสำเร็จนั้นเกิดขึ้น แต่อยู่ที่มนุษย์เอาจริง

ทีนี้ เราต้องพูดถึงเรื่องบุญบารมีสะสมมาแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นการทำงานนั้น ท่านจะต้องยอมอยู่ในภาวะของความปลงตกว่า ตนเองมีบารมีขนาดไหน มีบุคลิกฯ ขนาดไหน แล้วก็พูดถึงว่า ในโลกนี้นับมาตั้งแต่โบราณกาลจนถึงทุกวันนี้ การสร้างวัตถุมันสร้างง่าย แต่การสร้างคนมันสร้างยาก


สำนักปู่สวรรค์อาตมามาทำงาน ๑๒ ปี ท่านโตทำทุกวิถีทางที่เรียกว่า เหวี่ยงแหตกปลา เพื่อให้คนเข้ามาช่วยทำงานส่วนรวม และคนที่ไม่คิดเข้ามาร่วมงานนั้น เพราะกรรมที่ไม่ได้สร้างกันมาบ้าง บุญที่เขาไม่ถึงบ้าง มันก็ไม่ติด เป็นต้น

อาตมาถึงได้บอกว่า คนเรามันอยู่ที่วาสนา วาสนาตนมีแค่ไหน มันก็ได้แค่นั้น เจ้าอาวาสบางคนสร้างวัด สร้างแล้วตัวก็อยู่ไม่ได้ แต่คนอื่นได้อยู่ เพราะคนๆ นั้นสิ้นสุดวาสนาเพียงเท่านั้น และบางคนขันติธรรมยังไม่ถึงที่จะทำงานใหญ่ได้ เช่น


วิธีการลองใจ เขาไปบอกว่านี่ฉันลองใจเธอนะว่าเธอจะอยู่กับฉันได้หรือไม่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ลองใจ มันก็บอก มึงเตรียมตัวนะกูจะลองใจนะ มันก็ไม่ต้องเรียกว่า การเตรียมงานที่จะก้าวอีกชั้นหนึ่ง

มันจะต้องพิสูจน์ความเข้มแข็งของประสาทคน พิสูจน์ความเข้มแข็งของม้าที่จะขี่ แต่ผู้นำที่เขาจะทำงาน เขาย่อมมีวิธีการพิสูจน์ของเขาและย่อมที่จะไม่ต้องบอกให้ท่านรู้ว่าจะพิสูจน์ในแบบไหน นี่เป็นปริศนาธรรมให้คิด

(วันเสาร์ที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 22:49

ตอนที่ ๓๖

การปรับปรุงงาน



เรื่องที่เรียกว่า “เกิดความศรัทธา” ทุกคนศรัทธา ทุกคนไม่ใช่ไม่ศรัทธาอาตมา แต่ว่ามันศรัทธาแล้วใช้จังหวะไม่ถูก คือใช้เวลาไม่ถูก คือตามจริงท่านโตวางไว้ทีแรก ถ้ามันทำกันมันก็ดี ท่านเป็นนักปกครองเก่า ท่านเป็นผู้ร่างกฎหมายมณเฑียรบาล ท่านเป็นผู้ร่างกฎหมายในยุคนั้นตั้งแต่ ร.๔ ท่านวางตั้งแต่มีสภาเลขาฯ สามคน คณะกรรมการทุกอย่างเข้าสู่สภาเลขาฯ สภาเลขาฯ เข้าสู่กองจัดการ แล้วก็ยื่นให้กับประชาชน

ทีนี้ในการบริหารงานต้องเข้าใจว่า งานที่ยากที่สุดคือ งานศาสนา เราจะต้องมีความสุขุม แล้วมนุษย์ทุกคนนี่ ไม่มีคนไหนเขาจะเอาความชั่วของตัวออกมาพูด มนุษย์น่ะเขาจะต้องพูดว่า ตัวเองมีความดี นี่คือการเป็นมนุษย์ปุถุชน แล้วก็มนุษย์สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อยากเด่นบ้าง อยากจะมีชื่อบ้าง แต่ไม่มองตัวเอง ตัวเรามีขนาดไหน ตัวเราจะแบกข้าวสารได้กี่กิโลฯ เขาเรียกว่าไม่คิด นี่ก็เป็นเรื่องของมนุษย์

เพราะฉะนั้น อาตมาจึงบอกการจะเป็นนักปกครองที่ดีจะต้องสุขุม จะต้องเยือกเย็นและจะต้องพิจารณาคำพูดของคนที่มาพูดกับเรา เพราะว่ามนุษย์ทุกคนพูดมันรู้แต่ในตัวเขา เรียกว่าจุดสำคัญต้องจำเอาไว้ อย่าเชื่อคน เรื่องของคนกลร้อยแปด เราจะต้องพิจารณาสุขุม


บุคคลนี้พูดอย่างนี้ บุคคลนี้เข้าสังคมหรือไม่ ได้กรองออกมาแล้ว ก็สมองคนนี้จะใช้ทำอะไร สมองคนนี้จะทำอะไรได้  แล้วเราใช้ให้ถูกจังหวะถูกหลักการ ทุกคนก็มีดีของเขา โจรเขาก็มีดีของเขา แห่งความแน่วแน่ในการเป็นโจร สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนเกิดมาก็มีดีของมัน คือการทำงานเกี่ยวกับมนุษย์

เรื่องการปรับปรุงงาน จะต้องมีความสุขุมและเข้มแข็ง คือ อุดมการณ์สิบประการมันเป็นเรื่องใหญ่ เป็นงานระดับโลก ต้องค่อยๆ กรอง ช่วยกันทำอย่างแข็งแกร่ง ถ้าทุกอย่าง ถ้ามีคนแข็งจริง อาตมาก็เคยบอกว่า สิบคนก็ทำงานใหญ่ได้

สมัยยุคกลียุคตะวันตก เขาส่งองค์เยซูมาทำงาน สาวกยังไม่ถึงสิบคนทำงานใหญ่ได้ ขอให้เอาจริง กรรมการมาถึงไม่ใช่มานั่งนินทามานั่งคุยกัน มาถึงมือเท้ารู้จักทำบ้าง กรรมการก็เหมือนกับกรรมกร ไม่ใช่กรรมการมาถึงนั่งคุยกัน แล้วการทำงานเขาเรียกว่า ยิ่งไม่มีการปรึกษามันก็ยิ่งไม่รู้ พายเรือคนละที มึงตีฆ้อง ตีฉาบตีฉิ่งกันคนละที ตามหลักแล้วการทำงานเสร็จ ตกเย็นต้องคุยกัน

วันนี้มีอะไรบกพร่อง ใครบกพร่องอะไร มันก็จะถึงเป็นผู้ที่เขาเรียกว่า ผู้ที่อยู่ในธรรมะ ไม่ใช่คนนี้มาชี้คนนั้นบอก พวกนั้นเกิดโวยวายไม่พอใจ คนนี้ชี้ว่าถูกเสมอ ประจบตัวเอง มนุษย์เรา ถ้าไม่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ไม่มีฌานญาณ ย่อมไม่รู้ความผิดของตัวเอง แล้วปุถุชนมีเหตุผลช่วยตัวเอง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ นี่คือสันดานปุถุชน นี่คือเรื่องของสัตวโลก

อาตมารู้ดีว่า เมื่อสมัยอาตมาปกครองกรุงศรีอโยธยา ทำไมอาตมาไม่ทำ เพราะอาตมารู้ว่าขืนไปเป็นสังฆราชอยู่น่ะ กิเลสหนา เข้าวังเขาบอกว่าสังฆราชเดินไม่ได้ ต้องให้เขาหามเข้าวัง ทีนี้สังฆราชก็ไม่มีตีนเดิน อาตมาก็เลยหนี เพราะกิเลสมนุษย์หนามาก แล้วก็การปกครองในยุคนั้นมันง่ายกว่ายุคนี้


ทีนี้ ผู้ที่ทำงานก็ยังไม่เข้มแข็ง แล้วก็ไม่สามารถชิงทันเหตุการณ์เวลา เพราะว่าไปกลัวโน่นกลัวนี่ คือมีความอาย กลัวเสียเกียรติ มีความกลัวอะไร อาตมาบอก ถ้าท่านมาทำงานกับงานที่ทวนกระแสคลื่นและทำงานไม่คล้อยตามมนุษย์ ท่านยังกลัวอาย ท่านยังกลัวเสียชื่อ ท่านยังไปที่ไหนไม่กล้าพูด ไปแอบพูด แล้วก็อย่าทำเลย

และเรื่องธรรมะที่ลึกซึ้งๆ ที่ท่านโตเทศน์ไว้เกี่ยวกับเรื่องลี้ลับนี้ล่ะ ทำเป็นเล่มให้มาก และจะต้องมีคณะหนุ่มสาวที่ออกไปเผยแผ่มันก็จะขยายงานได้

คือสยามต้องอย่าลืมว่า

สันดานคนไทย
เชื่อบรรพบุรุษ
นับถือประเพณี


เรียกว่า ในการคล้อยตามโฆษณาสินค้าอย่างใดก็แล้วแต่ ถึงดีขนาดไหน ถ้าไม่มีการโฆษณา เขาไม่ค่อยเชื่อ นี่คือสันดานคนสยาม แล้วก็ ลืมง่าย เขาเรียกว่าคนไทยนี้น่ะ คำพังเพยเขามีอยู่สามคำ เขาเรียกว่า “ฝรั่งกลัวตาย คนจีนกลัวอด คนไทยขี้ขอ หนุ่มไทยชอบรัก หญิงไทยชอบผัว” คือเอาแต่เรื่องกามคุณตั้งโบราณกาล แล้วก็รักง่ายหน่ายเร็ว นี่มันเป็นตั้งแต่อโยธยามาแล้ว


มันเป็นสันดานของสยาม เขาเรียกว่า เผ่าพันธุ์มันเป็นอย่างนี้ เวลานี้มันกลายเป็นว่าอารยธรรมทางตะวันตก ซึ่งเป็นอารยธรรมที่ป่าเถื่อนครอบงำสยามเข้าไปอีก มันก็ยิ่งเข้าไปกันใหญ่มันหลายๆ อย่าง ที่อาตมาบอกว่า รู้แต่ว่าต้องการนิ่ง เพราะไม่อยากพูด พูดแล้วมันก็ไม่มีประโยชน์ มันเป็นเรื่องที่ภาวะ...

อาตมามันเดินแนวโพธิสัตว์ โพธิสัตว์เขาเรียกว่า ทุกวิถีทางที่จะช่วยให้มนุษย์มีความสุข ทุกวิถีทางที่จะช่วยให้มนุษย์ไม่มีความตระหนกตกใจ อาตมามีแต่แก้
อาตมาก็ถืออย่างนี้

ทีนี้ มติโลกวิญญาณตั้งสำนักปู่สวรรค์มีหน้าที่แก้ เรียกว่ามีหน้าที่ปิดทองก้นพระ บางอย่างเราพูดได้ พูดแล้วมันก็จะกระจายออกไปไม่ได้ รู้แต่ในหมู่ลูกศิษย์ ที่ก่อนนี้เคยพูดมามาก เพราะว่าถ้าเรากระจายออกไปเวลานี้ เขาเรียกว่าบ้านเมืองเขามีอะไร เขาเรียกว่า ข้อหาบ่อนทำลาย

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:01

ตอนที่ ๓๗

สิ่งอัศจรรย์ของโลก



ลักษณะสภาพทั่วไปของประเทศสยามขณะนี้ มันอยู่ในภาวะที่เรียกว่า ถึง “จุดวิปริต” ทีนี้ในภาวะถ้าเราพูดในลักษณะคนทั้งหลายที่มีใจเป็นกลาง และเชื่อดวงของประเทศเชื่อในเรื่องของอำนาจวาสนา ซึ่งท่านจะเห็นว่าในอดีตที่ผ่านมา ปีศาจลิงขึ้นครองเมืองและสามารถรักษาสถานการณ์ได้

ต่อมาพวกนี้รักษาไม่ได้ เพราะวาสนาไม่ถึงของการเป็นผู้นำ ทีนี้เรื่องของประเทศไทยนี่ อาตมาก็ได้พูดมามากมายแล้วว่า ดวงของประเทศไทย ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีบุญวาสนาเป็นนายกรัฐมนตรี แล้วคำว่า ความสงบในแผ่นดินไทยย่อมไม่มี

ตามที่เจ้าหน้าที่รายงานอาตมาแล้ว เขาแทรกซึมเข้าไปในโรงเรียนชั้นประถมทั่ว ๗๑ จังหวัดแล้ว ฝ่ายธรรมะแทรกซึมอะไรเล่า เพราะฝ่ายธรรมะกำลังเงิน กำลังทรัพย์ กำลังคนไม่พอ


ฝ่ายเขาก็มีเป้าหมายการรบ เขารบแบบมีความหวังในเรื่องการปลดแอกอะไรที่เขาจะสรรหาขึ้นมาพูด แต่ฝ่ายเราเรียกว่า บางคนรบเอาเบี้ยเลี้ยงแบบหวังขึ้นสองขั้น รบแบบต้องการเหรียญตรา การรบเช่นนี้ ท่านจะต้องคิดเรื่องนามธรรมว่า มันเป็นไปได้ไหม คือ

การทำอะไรก็แล้วแต่ จะต้องทำด้วยความศรัทธาแน่วแน่และจริงจัง มันจึงจะได้ผลของงาน แบบท่านทั้งหลายมาที่นี่ มาด้วยความศรัทธา มันย่อมจะดีกว่า คือไม่มีใครบังคับท่าน ท่านก็มาเอง เป็นต้น


เพราะฉะนั้น จิตเป็นหนึ่งในการทำงานฉันใดก็ฉันนั้น และในภาวะขณะนี้ ฝ่ายธรรมะก็ต้องรีบรุกหนักแล้ว เพื่อชิงเหตุการณ์ ทีนี้ผลการกระทำมันไปได้ ถ้าฝ่ายธรรมะร่วมกันส่งเสริม และขณะนี้ฝ่ายธรรมะต้องไม่ถือเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นงานอดิเรก

แต่ข้าราชการบางคนถือหลักราชการ ในการทำหวังเงินเดือนสองขั้น หวังยศถาบรรดาศักดิ์เป็นงานหลัก ทีนี้งานทั้งหลาย คนมาร่วมมันจะต้องมีสมองและมีอะไรบ้าง และก็เวลานี้มีใครที่เรียกว่า รักชาติกันจริงจัง ทำงานเพื่อมนุษยชาติอย่างไม่คิดถึงตัวเอง


วันหนึ่งผ่านไปเวลาก็ผ่านไป เราต้องรีบเร่งทำ งานมันก็จะได้เข้าสู่เป้าหมาย ถ้าทุกคนและฝ่ายบริหารไม่ทิฐิกัน ไม่เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัว ทุกคนไม่เอาราชการบังหน้า และทุกคนประกาศว่า ยินดีต่อสู้เพื่อไปปรับปรุงประเทศ ทุกคนจะต้องทำอย่างจริงจัง

แต่ทุกวันนี้ส่วนมากทุกคนยังมีห่วง ยังมีเรื่องห่วงเมีย ยังมีเรื่องห่วงลูก ยังมีเรื่องผัว วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง อารมณ์แห่งความห่วงของท่านหมดไปกี่ชั่วโมง งานของประเทศและงานการอยู่รอดของประเทศ งานของสยามประเทศไม่ใช่คนสองคนทำได้ มันจะต้องเป็นกลุ่มงานของสังคมที่ทำกันอย่างจริงจัง และคิดว่าท่านคงไม่อยากจะให้เมืองไทยลุกเป็นไฟใช่ไหม


ซึ่งอาตมาก็ได้พูดไว้ตั้งนานแล้วว่า เรื่องของประเทศสยาม คน ๔๐ ล้านคน คัดออกมามี ๔ ล้าน ๔ ล้านคัดออกมา ๔ แสน ๔ แสนนี่ คนจริงเที่ยงธรรมกล้าสู้เพียง ๔ หมื่น คัดออกจากอยู่ตามป่าตามดง เหลือแค่ ๔ พันคน นี่คือสภาพของเมืองไทย

และเรื่องจะปรับปรุงประเทศในเรื่องอะไรต่างๆ นั้น การปรับปรุงต้องมีอำนาจ แล้วจึงปรับปรุงสังคมสยามได้ แล้วต้องใช้เวลา ๒๐ ปี แล้วเราจะต้องมีอำนาจตั้งแต่บัดนี้ถึงจะกู้ประเทศไทยไม่ให้ล้มจ่มได้ และถ้าท่านจะเปรียบกับฝ่ายที่เขาทำลายนั่น เขาเดินมากี่ปี ถ้าหน่วยราชการร่วมมือกับเราอย่างจริงจังแล้ว ฝ่ายอธรรมย่อมพ่ายแพ้

เรื่องการต่อสู้ในประเทศสยามเวลานี้ มนุษย์ที่ไม่มีตัวโลภมีกี่คนในสังคมนี่ แล้วสันดานแห่งอนุสัยของคนในสยามในขณะนี้ ถูกอบรมมาด้วยเงินและอำนาจที่ได้มาด้วยความบริสุทธิ์เป็นเรื่องยาก ในการเลือกตั้งอะไรก็ดี ท่านดูซิว่าเขาต้องทุ่มเงินกัน การเมืองไม่ใช่เรื่องบริสุทธิ์ของเมืองไทย


และเรื่องอะไรต่างๆ อีกหลายๆ เรื่อง ซึ่งมันแก้ไม่ได้ทุกจุด เพราะกรรมมันหนัก จะช่วยได้ก็เพียงให้เบาบางลงและวิบากช้าลงเท่านั้น และจะสำเร็จได้มากก็ต้องอาศัยมนุษย์ที่เอาจริงที่อยากให้ “งานอันเป็นสิ่งอัศจรรย์ของโลกบรรลุเป้าหมาย”

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:04

ตอนที่ ๓๘

ขันติบารมี



เจริญพร

สานุศิษย์ทั้งหลาย วันนี้เป็นวันที่ท่านทั้งหลายได้มาร่วมกันปรึกษากันในคณะของท่านที่ได้รับในการแต่งตั้งเป็นกรรมการ หรือว่าเป็นผู้ที่จะเข้ามารับผิดชอบงานในสำนักนี้ ทีนี้ในภาวะนี้ ในการทำงานขณะนี้ มันก็เป็นเรื่องที่ยากที่เราก็จะต้องแลกันก็คือว่า อาตมาจะได้ให้คติของเรื่องคำว่า “การทำงานที่นี่ เราจะต้องมีขันติธรรม”

คือ ขันติเป็นผลในการที่จะนำไปสู่ในความสำเร็จของงาน เรียกว่าในการประชุมนี้ บางคนมีความหนักใจในปัญหาต่างๆ ซึ่งที่จริงแล้วปัญหาทั้งหลาย ถ้าท่านเชื่อว่า “กรรมมันต้องเป็นกรรม” ทุกอย่างมันก็ต้องมีสมุฏฐาน ในเรื่องเหตุก็ต้องมีผลในการแก้ไขปัญหาทั้งหลาย ขออย่างเดียวว่า


ขอให้ท่านมีความขันติในการทำงาน ขันติต่อคำสรรเสริญนินทา ขันติต่ออารมณ์ของเพื่อนร่วมงาน ขอให้ปลงตก เพราะว่ามนุษย์ทั้งหลายเกิดมานับเป็นกรรม เป็นภาระที่ต่างคนต่างสะสมมาไม่เหมือนกัน ภาษาพระเขาเรียกว่า “นานาจิตตัง”

ภาวะแห่งนานาจิตตังนี่ เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้กระแสอารมณ์อันใดอันหนึ่งให้มันตรงกันที่จะทำงานใหญ่ได้ โดยวางในเรื่องส่วนตัว ซึ่งเป็นอารมณ์นานาจิตตังในอนุสัยแห่งความเห็นชอบของตนเองออก แล้วมุ่งเป้าหมายที่จะให้ได้ลุล่วงในผลงาน

ขณะนี้จุดสำคัญ อาตมาก็อยากจะให้ท่านทั้งหลายพิจารณาในการที่ท่านโตจะวางแผนในเรื่อง จัดงานลงพลังจิตสมเด็จฯ ๙ ประเทศ ที่จะไปจัดงานที่เมืองราชบุรีในเทือกเขาถ้ำพระนั้นเป็นเรื่องหลัก ซึ่งในผลงานที่วางไว้นั่นก็รู้สึกว่าใหญ่


ทีนี้งานใหญ่มันจะสำเร็จหรือไม่ มันก็อยู่ที่ผู้ร่วมงานรู้จักแบ่งหน้าที่ตามภาวะ ถ้อยถีถ้อยอาศัยในระหว่างการดำเนินงาน ต้องประสานงานกันให้ดี ผลงานนั้นก็จะสำเร็จได้ดี คือท่านต้องเข้าใจว่า คำว่าทำงานใหญ่ ทำให้ดีมันทำยาก ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาก็เรียกว่า สิ่งชั่วนั้นมันมีพลังเหนือสิ่งดี เพราะถ้าสิ่งชั่วไม่มีพลังเหนือสิ่งดีแล้ว ท่านจะเห็นว่า ผู้สำเร็จก็จะต้องมีมากมาย

ถ้าในการทำทุกอย่างในสิ่งที่เป็นเรื่องของคำว่า ดี ยุติธรรม สัจจะ บริสุทธิ์ เป็นสิ่งที่ทำง่าย ก็คิดว่าคงจะต้องมีบรมศาสดาจารย์เกิดขึ้นมากกว่าดอกเห็ด แต่เหตุไฉนสองพันกว่าปี พุทธศาสนามีทั้งดีทั้งยอดก็มีเพียงองค์เดียว คือ องค์สัมมาสัมพุทธสิทธัตถะ


เพราะฉะนั้นในขณะนี้ เราก็กำลังต้องทำงานที่เรียกว่า คนเขาไม่ทำ เขาก็มองเราเป็นพวกงมงายก็ดี พวกบ้าก็ดี เราก็ถือขันติในการที่จะประสานงานกับคน งานนั้นๆ ให้มันลุล่วงไป สิ่งเหล่านี้อาตมาก็จะใคร่อยากจะให้ท่านทั้งหลายเข้าใจ

การประสานงานทำให้ลุล่วงในเป้าหมายที่วางไว้ไม่มากก็น้อย คือว่า คำว่างาน งานที่เรียกว่า “ทุกข์” เราทำงานคือ เราไปสร้างงานหรือเข้าไปจัดทำอะไรนี่ เขาเรียกว่า “เริ่มก่อทุกข์” แต่ผลของ “ทุกข์” นั้น เราก็ต้องคิดว่า เมื่อ “ทุกข์” อันนั้นเราสร้างขึ้นมาเพื่ออะไร ทุกข์อันนั้นเราสร้างขึ้นมาเพื่อเบียดเบียนตัวเราเอง หรือทุกข์อันนั้นสร้างขึ้นมาเพื่อเบียดเบียนคนอื่น


หรือถ้าพูดแบบภาษาอาตมาเขาเรียกว่า ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาขณะนี้ เราเรียกว่า “บำเพ็ญทุกขบารมี” เพื่อให้หลุดพ้นในสังสารวัฏ และทุกข์ที่เราจะสร้างกันนี่ เรายอมทุกข์กายใจเรา เพื่อความสุขของมวลมนุษย์ของเพื่อนร่วมแผ่นดิน

ซึ่งอาตมาก็เคยพูดไว้ตั้งนานแล้วว่า เรื่องของแผ่นดิน เรื่องของบัลลังก์ มันเป็นเรื่องใหญ่ มันไม่ใช่เรื่องเล็ก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนี่ เหตุมีปัจจัย ปัจจัยมีเหตุ ถ้าเราจะไปพูดแบบว่า คนอื่นเขาไม่ทุกข์แล้วเรามาทุกข์ทำไม ก็จะไปเป็นปัญหาขึ้นมา


ปัญหานี่ก็หมายความว่า คนอื่นเขาทำไมไม่เป็นทุกข์ ก็เพราะเขาไม่รู้จะทำอย่างไร หรือไม่มีทางที่จะดับทุกข์อันที่เกิดขึ้นมา ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า บารมีอาจจะไม่ถึงบ้าง ตัวมีความรู้ไม่เพียงพอที่จะมาแก้ไข ก็เลยปล่อย ก็เลยวาง หรือว่าเห็นแก่ตัว

ทีนี้ภาวะแห่งสังคมสยามปัจจุบันเช่นนี้น่ะ ท่านคิดว่าเห็นแก่ตัวน่ะ นึกว่าท่านจะอยู่รอดหรือ เมื่อศาสนา เศรษฐกิจ การปกครอง บ้านเมือง ราชบัลลังก์ มันเป็นลูกโซ่ที่เกี่ยวข้อง ในสังคมมนุษย์แห่งประเทศสยามอยู่ในภาวะอันเลวร้ายเช่นนี้


ทีนี้ ในการทำงานในสังคมกลียุคเช่นนี้ เราจะต้องอาศัย “ขันติธรรม” เป็นหลัก จะต้องอดทนต่อทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะว่าท่านต้องเข้าใจว่า ไม่ว่ายุคใด การทำงานใหญ่นั้น ไม่ใช่ว่ามีคนจะสนับสนุนหมด เขาเรียกว่าโลกที่มันเกิดมาเป็นคู่ มีโลกียะ ต้องมีโลกุตระ มีทุกข์ต้องมีสุข

ทีนี้เราต้องขันติในการทำงานที่ฟังเสียงนินทาสรรเสริญ แล้วก็ไม่ยึดเสียงนั้น แต่เราต้องมุ่งพิจารณาในงานของหมู่คณะเป็นหลักว่า เรากำลังจะมาสร้างสังคมหมู่คณะให้เข้าซึ้งถึงสัจธรรม เข้าซึ้งถึงความจริง เข้าซึ้งถึงความตายอย่างแท้จริง เมื่อนั้นเราก็จะยิ่งมีขันติธรรมที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น คำว่าขันติ ในข้อนี้คือ ขันติบารมี

อาตมาเชื่อว่า สองพันกว่าปีนี่แล้ว จะหาผู้ที่มีขันติหนักแน่นขนาดเท่าองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มี เจ้าชายสิทธัตถะทิ้งราชบัลลังก์บำเพ็ญพรตจนสำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ไม่ใช่ว่าสำเร็จนั้นแล้ว ศาสนาของพระองค์ก็จะอยู่ถึงปัจจุบันจนมีผู้สืบต่อ พระองค์ต้องทำงานหนักอย่างยิ่งในการที่จะจรรโลงเผยแพร่ความสำเร็จนั้น ในระหว่างที่พระองค์ประกาศผลสำเร็จอันนั้น ท่านต้องเข้าใจว่าลำบากขนาดไหน

พระองค์เดินด้วยเท้าจากราชคฤห์ไปพาราณสีก็ดี ไปสาวัตถีก็ดี  ไปเวสาลีก็ดี พุทธคยาก็ดีเป็นต้น สมัยนั้นพระองค์เดินเกือบทั่วชมพูทวีปด้วยเท้าของพระองค์ประกาศสัจธรรม ไม่ใช่ไปถึงไหนคนเขาต้องต้อนรับพระองค์หมด ไปถึงบางแห่งพระองค์ยังถูกเขาขว้างปา ถูกเขาเหยียดหยาม ถูกเขาไล่


ถ้าเป็นพวกเรานี่ก็จะบอกว่า เอ๊ะ เราเอาของดีมาให้แล้วยังไล่เรานี่ ไปทำมันทำไม แต่ด้วยขันติบารมีของพระองค์ในการเผยแพร่ความสำเร็จแห่งสัจธรรม จึงทำให้สิ่งที่พระองค์ทิ้งเอาไว้รอดเหลือจนมาถึงอนุชนรุ่นหลังที่จะต้องศึกษา จะต้องตามรอยองค์โคตมะ

เพราะฉะนั้น ในท่ามกลางยุคนี้ยิ่งกว่าสมัยสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศศาสนา เราจึงจะต้องมีขันติมากกว่านี้ ฉะนั้น อาตมาในคืนนี้ก็จะให้ท่านท่องว่า


“ขันติเพื่ออยู่รอด ขันติเพื่อทำงาน ขันติเพื่อแผ่นดิน ขันติเพื่อราชบัลลังก์ ขันติเพื่อศาสนาและถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ผลงานนั้นก็ลุล่วงเป้าหมายไม่มากก็น้อย

เจริญพร

(วันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๖)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:07

ตอนที่ ๓๙

การเสวยกรรม



เลขาธิการ - กราบนมัสการหลวงปู่ด้วยความเคารพอย่างสูง หลวงปู่เคยรับสั่งว่า มนุษย์มีกรรมของเขา แล้วประเทศชาติก็มีกรรมของเขา ทำให้ผมไม่เข้าใจว่า ในเมื่อเรามีนรกสวรรค์แล้ว คนทำชั่วก็ไปใช้โทษในนรกแล้ว คนทำดีก็ไปได้รับผลดีในสวรรค์แล้ว เหตุใดเมื่อมาเกิดในมนุษย์ จึงมีผลกรรมตามมาอีกครับ มันน่าจะหมดกันไปแล้ว

หลวงปู่ทวด - วิบากกรรมอันนั้นมันยังไม่หมด ถึงได้มาเกิดเพื่อใช้กรรมเก่าอีก เข้าใจไหม

เลขาธิการ -
หมายความว่า ถึงใช้กรรมในนรกสวรรค์อย่างไรก็ไม่หมด ยังมีส่วนที่เหลือมา

หลวงปู่ทวด - มันมี เขาเรียกว่า กฎของสังสารวัฏ หมายความว่า เขาเรียกว่า นี่เพราะกรรมที่มันพัวพันยังไม่หมด ก็ต้องมาใช้กรรมอันนี้กับเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ตาย ลูกหนี้อยู่ เจ้าหนี้มาเกิดเป็นลูกของลูกหนี้ เพื่อใช้หนี้อันนี้เสร็จก่อน ทีนี้ในการที่เกิดมาเป็นลูกหนี้ เป็นการที่เขามาสร้างกรรมอีกอันหนึ่ง


เพราะฉะนั้น เขาจึงมีหลักว่า เทพพรหมที่มีสติพร้อม เขาจะพยายามปฏิบัติตนให้เป็นปัจเจกโพธิเจ้าในสวรรค์ให้มากที่สุด เพื่อให้กระแสเหนือกรรมขึ้นมาแทน เขาว่าเมื่อจิตเป็นอรหันต์ จิตเป็นพระพุทธเจ้า จิตสู่นิพพาน จิตอันนี้ใช้กรรมเสร็จแล้ว สามารถหลุดออกจากคลื่นของสังสารวัฏ หลุดออกจากการดึงดูดของกระแสแม่เหล็กแห่งกรรมนี้ มันเป็นเรื่องลี้ลับของเรื่องนรกสวรรค์

เลขาธิการ – กระผมเข้าใจว่า เหมือนกับคนติดตาราง เมื่อติดตารางไปแล้วมันก็หมดกันไป เหมือนวิญญาณเมื่อลงนรกก็ใช้กรรมไปแล้ว ทำไมขึ้นมาเกิดเป็นมนุษย์ยังต้องรับเคราะห์กรรมอีก

หลวงปู่ทวดกรรมเก่ายังไม่หมด

เลขาธิการ – ไม่หมดหรือครับ

หลวงปู่ทวด – ในส่วนที่เขาสร้างบุญไว้มากนี่กับว่าเขาสร้างความชั่วน้อย แล้วช่วยเขาให้ไปอยู่ในนรกน้อย อยู่นรกแล้วขึ้นมาเสวยบุญกุศลที่สร้างไว้มาก อันนั้นแล้วไม่มีสติควบคุมอารมณ์สร้างความดีต่อ เขาเรียกว่า สติไม่คล้อยตามในบุญนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบารมีแห่งความดีขึ้นไป แล้วจึงหลุด เข้าใจหรือยัง

เลขาธิการ - ที่กระผมถามนี่ มีความคิดเบื้องหลังคำถามอันนี้คือ อย่างว่าประเทศไทยเราจะต้องเผชิญวิบากกรรม จะต้องมีกรรมหนักเรื่องอะไรก็ตาม นองเลือดอะไรก็ตามนะครับ ถ้าเราสามารถกลับคนที่จะทำความชั่วเหล่านั้นให้กลายเป็นคนดี ให้ความชั่วที่เขามีอยู่ที่ต้องใช้ในโลกมนุษย์นั้น ให้เขาไปใช้กรรมในนรกเสีย แล้วให้แผ่นดินไทยที่จะรับกรรมนั้นเป็นแผ่นดินที่สงบสันติอย่างนี้จะได้ไหมครับ

หลวงปู่ทวด - มันเป็นกรรมวิบากของเขา

เลขาธิการ - ไม่ได้หรือครับ คือย้ายไปเสีย แทนที่เขาก่อกรรมที่บนผืนแผ่นดินไทยในยุคนี้ครับ ให้เขาไปลงนรกเสียเลย มีทางให้เกิดแผ่นดินสันติสุขไหมอย่างนี้ครับ ทำนองย้ายครับ ย้ายไปย้ายมา

หลวงปู่ทวด - เรื่องช่วงต่อของกรรมอันนี้ คือหมายความว่า ถ้าสำนักปู่สวรรค์นี้ยังมีวิธีช่วยบางอย่างให้มันเบาบางลงได้ คาถาชินบัญชรนี่ออกได้มากๆ ยิ่งดี เพื่อคนจะได้ช่วยกันสวดมนต์อธิษฐานจิตให้ประเทศสงบ

เลขาธิการ -
ครับผม ผมคิดว่าต้องพิมพ์เพิ่มเติมอีก


(วันเสาร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๖)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:22

ตอนที่ ๔๐

คนเสียสละอย่างแท้จริง



ประธานกรรมการ – กราบนมัสการหลวงปู่ เนื่องด้วยจะจัดการประชุมใหญ่สานุศิษย์ทั่วประเทศ เพื่อรวมพลังช่วยทำงานศาสนามากขึ้น อันเป็นการทำงานตามเป้าหมายอุดมการณ์ จึงขอพระเมตตาโปรดประทานโอวาทด้วย

หลวงปู่ทวด – เจริญพร คือในปัญหาในหลักของงานนั้นมันก็ต้องเข้าใจว่า การทำงานเป็นการเข้าไปหาความทุกข์ การทำงานเราจะต้องรู้หลักแห่งปัจจัยของงาน และงานที่ยากที่สุดในโลกมนุษย์ก็คือ งานของศาสนา เพราะการจะเป็นนักบวช การจะเป็นนักบุญ การจะเป็นนักพรต การจะเป็นผู้ที่ให้เขาศรัทธา การเป็นเจ้าลัทธิหรือเป็นอะไรนั้น ต้องเป็นบุคคลที่เข้าซึ้งถึงอุดมการณ์ที่ตนมุ่งนั้น

เป็นการปฏิบัติเพื่อความสุขของส่วนรวม โดยชีวิตนี้ไม่มีอนาคตเป็นของตน และจะต้องอุทิศทุกเสี้ยววินาทีแห่งการมีชีวิตอยู่ของตน เพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายของอุดมการณ์ โดยตนจะไม่ทรยศสัจจะของตน ตนยอมถวายชีวิตนี้ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์โดยไม่มีข้อแม้ใดๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เรียกว่า เป็นการทำงานทวนกระแสน้ำ เป็นการทำงานทวนกระแสคลื่น

ทุกวันนี้ที่ท่านจะสังเกตว่า โลกฝ่ายอกุศลอบายมุขนี่วิ่งนำกว่าฝ่ายที่หวังสันโดษ ทีนี้ ปัญหาในเรื่องการปรับปรุงงานทางโลกที่วุ่นวาย เพราะคนทำงานนั้นเขาทำด้วยเพราะอยากใหญ่อยากรวย ไม่ใช่ทำด้วยการเข้าใจว่า ที่เราทำงานนั้นเพราะเรามีกรรมที่จะต้องมาใช้เขา


ถ้ามนุษย์ทำงานมีกระแสจิตว่า เราทำงานเพราะเรามีกรรม ซึ่งคนที่ดีที่สุดก็จะไม่ต้องมาเกิดเป็นคน ต้องไปเกิดเป็นเทพพรหมอยู่บนสวรรค์ ถึงจะเรียกว่าดี เมื่อเกิดเป็นคนแล้ว ไม่มีใครจะดีกว่าใคร ไม่มีใครจะชั่วกว่าใคร ล้วนแต่มีอกุศลกรรมและกุศลกรรมนำตนให้มาเกิด

ทีนี้ เมื่อสภาพของการเกิดเป็นคนแล้ว ก็ต้องเต้นไปตามจังหวะแห่งการเกิดตามปัจจัย เพราะฉะนั้นตามหลักของพระพุทธศาสนาแล้ว ถ้ามนุษย์ทุกรูปทุกนามรู้จักแลให้ดี ภาษาทางใต้นี่เขาเรียกว่า แล คือการดูนั่นเอง


คือ แลให้ดีถึงหลักแห่งอริยสัจ ๔ หลักแห่งปัจจัยของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มาดำเนินการแห่งชีวิต ดำเนินการแห่งการทำงาน ดำเนินการแห่งการวินิจฉัย ดำเนินการแห่งการพิจารณาในการจดจ่อ สิ่งนั้นก็จะเป็นไปได้ดี เพราะไปด้วยการมีสติ ไม่ใช่ไปด้วยการมีโทสะ โมหะ โลภะ

ฉะนั้นการปรับปรุงงานขณะนี้ ประเทศสยามทุกๆ วงการตกอยู่ในภาวะคือ ขาดคนที่เสียสละอันแท้จริง มันเป็นปัญหาหลัก เพราะเราถูกอบายภูมิเขาครอบงำกันมาก เราไม่ได้ชำระจิตกันในทุกสังคม

เมื่อมันตกอยู่กลางกลียุค จริงอยู่มนุษย์ทั้งหลายล้วนแต่จำเป็นอยู่รอดด้วยหลักแห่งปัจจัย ๔ และไม่ใช่ว่าคนนั้นจะต้องได้เงินเดือนมากๆ แล้วก็ทำงานได้ดี เมื่อทำงานด้วยการได้รับผลตอบแทนมาก แต่ไม่ได้ทำงานด้วยการฉันทะ ก็ย่อมไม่เกิดวิริยะเป็นหลัก
คนเราถ้าทำงานด้วยความฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาแล้ว งานทุกอย่างก็ทำได้ดี

คนก็ไม่ใช่ว่ามีเงินมากๆ แล้วจึงจะพ้นทุกข์ ผู้ที่ทำงานนั้น ถ้าเขามีจิตแห่งการคิดว่า ชีวิตเกิดมาใช้กรรม ที่เราเป็นคนเพราะมีกรรม เราอยู่ในโลกนี้ไม่ถึง ๑๐๐ ปี ต้องตายจากโลก วันหนึ่งกินข้าวกี่ชาม สิ่งที่สะสมนั้นเอาไปได้หรือไม่ ถ้าทุกๆ ชีวิตเข้าใจภาวะนี้แล้ว คิดอยู่อย่าง “พอกิน พอใช้ พออยู่ อยู่อย่างสงบ สันโดษ สันติ” สังคมนั้นๆ ก็ดีได้

เพราะฉะนั้น การที่จะปรับปรุงเอาทางโลกเข้ามาร่วมกับทางธรรมนั้น อาตมาก็เห็นด้วย แต่ว่าเราอย่าไปปรับปรุงเหมือนกับทางโลกกับเขาล่ะ เช่น การทำงานด้วยการมีตัวโลภ แต่ถ้าเราปรับปรุงให้ว่า ให้เขาทำงานด้วยความวิริยะ จดจ่อ ทำงานด้วยการอยู่แค่พอกินพอใช้พออยู่แล้ว งานนั้นมันจะดียิ่งกว่าคนที่ทำงานมีเงินเดือนมากๆ อันนี่เป็นปัญหาที่สำคัญในวงงาน นี่อาตมาฝากเป็นข้อคิด

(วันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:43

ตอนที่ ๔๑

เตรียมตน



นฐานะอาตมาเป็นประธานใหญ่รับผิดชอบของสำนักปู่สวรรค์ งานของโลกมนุษย์ก็เป็นเรื่องของการทำงานต้องมีผู้ใหญ่รับผิดชอบ โดยต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ของตน และในลักษณะธรรมะก็คือ ทุกคนเกิดมามีกรรม ทุกคนก็ต้องไปใช้กรรมตามวาระของตน


เราจะทำอย่างไรถึงจะให้ปฏิบัติจิตของเราไปสู่การหลุดพ้นจากสังสารวัฏ จากการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าภาษาชาวบ้านชอบใช้กันอยู่ก็คือว่า จะทำอย่างไรให้จิตไปถึงมรรคผลนิพพาน หนึ่งนั้นคือ เรื่องของศาสนาเรื่องของธรรมะ

เพราะฉะนั้น ถ้าเราพูดในลักษณะแล้วก็เรียกว่า พวกท่านก็มีกรรม คือมันเข้ามาใกล้ชิดสำนักปู่สวรรค์เกินไป ถ้าเข้าใกล้ชิดมากแล้วก็รู้มาก รู้มากมันก็ทุกข์มาก สู้พวกที่ไม่เข้ามาดีกว่า คือไม่รู้อะไรเลย เมามันทั้งวันทั้งคืน แล้วก็ถึงเวลาก็ตายอย่างสบาย ในลักษณะอยู่คู่กับกองสุข สุขจนเลยเถิด มันก็ทุกข์ ทุกข์จนถึงที่สุดมันก็สุข นี่เป็นกฎของธรรมชาติ


แต่ในลักษณะของการเป็นมนุษย์ เมื่อมนุษย์เกิดเป็นคนก็เรียกว่า คนกันไปคนกันมา คนจนไม่รู้จะเป็นอะไรกัน พัวพันกันไปก็มีกรรมพัวพันกันมา ก็ต้องไปใช้กรรมกันตามวาระ ตามวินาทีของแต่ละคน อันนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจของมนุษย์

วันนี้ท่านโตคงจะมาไม่ได้ เพราะถ้าพูดในลักษณะของการประชุมของโลกวิญญาณแล้ว มันไม่เหมือนพวกท่านประชุม คือพวกท่านประชุมนี่ ถ้าพูดในลักษณะแล้ว พวกท่านเก่งกว่าเทวดามาก เทวดามีฌานญาณมีทิพยอำนาจ เรื่องหนึ่งนี่เขาจะต้องประชุมกันเป็นวันๆ คืนๆ ว่าเกิดขึ้นมาแล้วลงไปจะเป็นอย่างไรจนถึงละเอียดสุดท้าย ถ้าพูดแบบนักวิทยาศาสตร์ก็เรียกว่า ต้องวิจัยถึงอณูของปรมาณูในแต่ละปัญหา


ถ้าคนที่มาวันอาทิตย์ ก็คงจะว่าท้าวมหาพรหมคงจะบอกว่า ท่านโตมาไม่ได้ กำลังประชุมเรื่องสถานการณ์ของประเทศไทย ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่แล้วประชุมจนถึงป่านนี้ เรื่องแค่ว่าจะปล่อยให้เมืองไทยพังหรือไม่เท่านั้นเอง ๗ วัน ๗ คืน แล้วยังวิจัยไม่จบ พังลงไปสะเทือนถึงปู่สวรรค์อย่างไร เขาต้องวิจัยถึงหมด นั่นคือปัญหาเดียวถึงป่านนี้ก็ยังไม่จบ

เพราะฉะนั้น อาตมาจึงบอกพวกท่านเก่งกว่าเทวดามาก ถกปัญหาไม่ทันสามนาทีจบกันแล้ว กลับบ้านนอนกันแล้ว เพราะฉะนั้นลักษณะก็คือว่า มันก็เป็นสิ่งที่เสียดาย ถ้าพูดในลักษณะพวกลี้ภัยมาเมืองไทยจากเขมรก็ดีจากลาวก็ดี เขาก็รู้ดีว่าเขมรก่อนจะแตก ลาวก่อนจะแตก เทพพรหมหรือว่าผู้ที่สำเร็จในชนเผ่าเขาก็พยายามมา แต่ว่าชนชั้นผู้นำอะไรของเขาก็ไม่เชื่อ มันก็พังลงไป

เพราะฉะนั้นผู้ลี้ภัยเขามาถึงเมืองไทย เขามาเห็นปู่สวรรค์นี่ ว่าที่นี่เทพพรหมทำงานแบบเป็นโครงการ วัตถุถาวรสร้างมาก ในขณะนี้คงจะสบายใจได้ว่าเมืองไทยคงไม่แตก เพราะที่นี้ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านแล้ว ท่านโตมาลงหลักฐานไว้มาก เมื่อมาลงหลักฐานไว้มาก เทวโลกก็ต้องประชุมมากหน่อย


และเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกมนุษย์ กรรมวิบากของโลกมนุษย์เวลานี้มันเร็วยิ่งกว่าอะไรที่เราจะไปตามไอ้กรรมวิบากนี้ ท่านไม่ได้ไปดูการเคลื่อนของศูนย์กรรม ท่านจึงไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร คือมันใกล้ถึงจุดระเบิดของไฟอเวจีที่จะเผาผลาญโลกมนุษย์

เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกคนเข้าถึงการเป็นพุทธสาวกที่ดี การเข้าถึงการเป็นพุทธสาวกที่ดีทำอย่างไร วันนี้เรามาคุยเรื่องธรรมะดีกว่า เพราะอาตมาไม่สั่งงาน ในเมื่อเวลานี้ไม่มีผู้ใหญ่ทำงาน คือการเข้าถึงการเป็นพุทธสาวกที่ดี คือ

๑. เตรียมตน
๒. เตรียมใจ
๓. เตรียมสติ
๔. เตรียมอารมณ์
๕. เตรียมจิตวิญญาณ


เราต้องยอมรับในกฎแห่งกรรมของวิบากของธรรมชาติ กฎแห่งกรรมในวิบากของธรรมชาตินั้น ย่อมมีการเกิดดับเป็นธรรมดาของกฎ เมื่อย่อมมีการเกิดดับเป็นธรรมดาของกฎแล้ว เหตุก็ย่อมมีปัจจัย เหตุมีปัจจัย เราก็ใช้หลักแห่งสมุฏฐานในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค หลักของอริยสัจสี่ เราเป็นจุดในการตั้งสมุฏฐานแล้ว


เพราะฉะนั้นในหลักของการเป็นพุทธสาวกนั้น พระพุทธองค์สอนให้ทุกคนเตรียมสติพร้อม ในการต้อนรับของวิบากกรรมทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น ไม่ว่าวิบากกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในทางที่ดี ไม่ว่าวิบากกรรมนั้นจะเกิดขึ้นในทางที่ร้าย

การเกิดเป็นมนุษย์ เพราะมีกรรมที่จะต้องมาใช้ตามวิบาก เราขอให้มีสติสัมปชัญญะพร้อมในการรับรู้สถานการณ์นั้น ตามถึงสถานการณ์นั้นๆ และพร้อมที่รับสถานการณ์นั้นๆ ก็คิดว่านี่คือธรรมะ แค่นี้พอ

(วันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:46

ตอนที่ ๔๒

เมื่อเกิดเป็นมนุษย์



มนุษย์แบ่งออกเป็น ๒ จำพวก

จำพวกที่หนึ่ง เขาเรียกว่า เป็นอริยบุคคล มนุษย์ที่เป็นอริยบุคคลหรือสำเร็จทางจิตแห่งการเป็นอริยะแล้ว มนุษย์เหล่านี้เป็นมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว คือ ผู้ที่ถืออริยจิต ผู้ที่สำเร็จทางจิตเป็นอริยบุคคล เขาจะซ่อนเร้นกายเพื่อหาทางไปสู่วิเวก หาทางไปอยู่ป่า หาทางที่จะไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หาทางที่จะไม่มายุ่งกับสังคมของสัตวโลก หาทางบำเพ็ญจิตตนให้หลุดพ้นไปสู่ทางนิพพาน นั่นคือ พวกอริยะ

แต่มนุษย์อีกจำพวกหนึ่ง เขาเรียกว่า ปุถุชน มนุษย์จำพวกปุถุชนย่อมมีกระแสจิตที่อยากทำโน่นอยากทำนี่ อยากนั่น อยากนี่ อยากโน่น อยากรวย อยากอะไรอื่นๆ มนุษย์เหล่านี้แหละจะเป็นมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับสังคม เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เกี่ยวข้องกับเผ่าพันธุ์


เพราะฉะนั้นการทำอะไรของปุถุชนสามัญ ก็ย่อมมีกระแสจิตแห่งการขึ้นบ้าง ตกบ้าง ศรัทธาบ้าง จดจ่อบ้าง ไม่จดจ่อบ้าง วันนี้สบายใจ พรุ่งนี้ไม่สบายใจ ฉันคิดทำพรุ่งนี้ วันนี้ฉันอยากจะนอน เป็นต้น นั่นเป็นกระแสจิตของปุถุชน

เพราะฉะนั้นสังคมที่เกิดความวุ่นวายนั้น เกิดจากกระแสจิตของปุถุชนในกลุ่มของสาธุชน ในกลุ่มของปุถุชนนั้นยังแบ่งอีกเป็นหลายจำพวก คือ
ปุถุชนมีระดับจิตอยู่ ๓ ระดับ

๑. ปุถุชนระดับที่หนึ่ง คือ ปุถุชน “เหนือเกียรติเหนือกาม” ก็คือ เป็นปุถุชนที่เป็นนักบวชนักพรต เพียงแต่เป็นนักบวชนักพรตนั้นยังไม่ได้เป็นอริยบุคคล บางทียังคิดอยากเป็นเจ้าคุณบ้าง บางคนก็อยากเป็นใหญ่เป็นโต บางคนก็คิดอยากจะได้พัดยศ


๒. ปุถุชนระดับที่สอง คือ ปุถุชน “หาเกียรติเสพกาม” ก็อย่างเช่น พวกท่านที่เข้ามารับใช้สำนักปู่สวรรค์ รับใช้ศาสนาทั่วไป ก็ยังหาเกียรติเสพกามกันอยู่

๓. ปุถุชนระดับที่สาม คือ “ปุถุชนจำพวกไม่ใช้สมอง” ยังเป็นปุถุชนที่ตกอยู่ในกมลสันดานแห่งการเป็นสัตว์ คือ “เสพกามแล้วข้องอยู่แต่ในกาม” ปุถุชนเหล่านี้แหละ เป็นปุถุชนที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนในสังคมของการเป็นมนุษย์

เพราะฉะนั้นในการทำงานที่จะโกยสัตวโลกที่กำลังอยู่ในทะเลแห่งความบ้าคลั่ง เช่น มนุษย์ที่กำลังสะสมวัตถุไว้ที่จะทำลายซึ่งกันและกัน เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์เหล่านี้ เข้ามายกระดับจากปุถุชนขั้นที่ ๓


คือ ปุถุชนที่เสพกามและข้องอยู่ในกามขึ้นมาเป็นปุถุชนแห่งการเสพกามหาเกียรติ หาเกียรติก็คือ หันมาจับธรรมาวุธ เพื่อให้เกิดสันติ ไม่ใช่จับอาวุธที่เข่นฆ่า นี่คืองานที่ทำให้เกิดสำนักปู่สวรรค์ในโลกมนุษย์ขึ้น

ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมีกระแสจิตแห่งความเข้มแข็งในการยกตนให้พ้นจากปุถุชนชั้นที่ ๒ ขึ้นไปเป็นปุถุชนชั้นที่ ๑ คือ เหนือกามเหนือเกียรติ


และก็ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมีชีวิตอยู่อย่างสันติสุขในโลกมนุษย์และสันติสุขแห่งการเป็นมนุษย์ เพื่อบำเพ็ญตนไปสู่สิ่งที่ปรารถนา คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติเถิด

เจริญพร


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:49

ตอนที่ ๔๓

งานดุลกรรมระดับโลก



อาตมาได้คิดว่า ท่านทั้งหลายก็ได้ร่วมมือในการทำงานกับท่านโตมาเป็นขั้นตอน และขั้นตอนที่ดำเนินไปแล้วมันก็ได้สำเร็จในงาน แต่ก็เรียกว่าส่วนมากมันเข้ารูปงานได้ แต่ก็ยังไม่ได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

ทีนี้ ในปัญหาในงานที่ท่านจะก้าวต่อนั้น มันเป็นงานที่เรียกว่าใหญ่มาก ยิ่งก้าวยิ่งใหญ่ คืองานแค่ดุลกรรมเมืองไทยมันก็ใหญ่อยู่แล้ว แต่บัดนี้ท่านได้ไปถึงขั้นดุลกรรมระดับโลก ซึ่งแผนการในการดำเนินงานก้าวนี้ ถ้าเรียกแบบภาษาของทางพระหรือทางศาสนาเขาเรียกว่า กำลังที่จะบำเพ็ญมหาโพธิสัตว์ญาณ พวกท่านร่วมมือกับท่านโต ก็เท่ากับว่าท่านบำเพ็ญมหาโพธิสัตว์ญาณไปด้วย


คือ การเป็นพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์เขามีคติประจำใจ “ตนต้องยอมทนทุกข์ทรมานเพื่อโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์ ตราบใดที่สัตวโลกยังไม่พ้นทุกข์ ตราบนั้นตถาคตจะไม่เข้านิพพาน” นี่คืออารมณ์พระโพธิสัตว์ และพระโพธิสัตว์เขาจะมีอารมณ์อันหนึ่งว่า หากแม้นเขามาขออะไร แม้แต่ร่างกายต้องอุทิศแก่สัตวโลกได้ เพื่อโพธิธรรม เพื่อโพธิญาณ ถ้าเขาขอแขนก็ต้องตัดแขน ถ้าเขาขอตาก็ต้องควักตา เขาขออะไรก็ต้องให้

โดยเฉพาะว่าด้วยการดุลกรรม ถ้าพูดในหลักท่านโตก็กำลังวางแผนในเรื่อง วางศิลาฤกษ์หรือศิลามงคลสร้างหอประชุมสันติภาพ ซึ่งถ้าสร้างหอประชุมสันติภาพ ก็หมายความว่าจะต้องก้าวไปสู่เรื่องการประชุมสันติภาพ เมื่อจะก้าวไปสู่การประชุมสันติภาพโลก ก็คิดว่าสงครามไม่เกิด สงครามไม่เกิด มนุษย์ก็ไม่ต้องตายถึงสามสี่พันล้าน มันเป็นลูกโซ่ของงาน

ทีนี้ถ้างานมันใหญ่ขึ้น มารมันก็ใหญ่ตาม คนทำงานมันก็ต้องเพิ่ม ไม่ใช่งานมันใหญ่ขึ้น มารมันก็ใหญ่ แต่คนทำงานลดลง มันก็จะไปสู่จุดหมายอันนี้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นในผู้บำเพ็ญไปสู่แดนพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ข้อนี้ต้องพูดแบบในโลกมนุษย์แล้ว ความเชื่อถือของมนุษย์โลกต่อเรื่องพระเจ้า ความเชื่อถือของมนุษย์ต่อเรื่องศาสนา ความเชื่อถือต่อเรื่องพุทธศาสนาแล้ว


ทางพุทธศาสนาดูเหมือนจะแบ่งเป็นสองนิกาย ฝ่ายเถรวาท ฝ่ายมหายาน ในเรื่องของโลกวิญญาณจะแบ่งเป็นฝ่ายมหายานมากกว่า คือมหายานเขาจะมีพุทธเกษตร มีพระโพธิสัตว์ ฝ่ายเถรวาทเขาจะมีแต่อรหันต์และนิพพาน นี้สำหรับในด้านของตำรา อาตมาพูดในเรื่องตำราให้ท่านรู้

กำลังจะมาพูดในเรื่องของโลกวิญญาณ คือ ในแดนพระโพธิสัตว์ มีพระโพธิสัตว์ที่สำเร็จตั้งแต่เรียกว่าเปิดโลกจนถึงปัจจุบัน ถ้าจะนับธรรมขันธ์ที่เขาเชื่อถือกัน ก็มีแปดหมื่นสี่พันองค์เท่าจำนวนพระธรรมขันธ์ที่ได้บำเพ็ญมหาบารมี จนจะมาเป็นพุทธเจ้าแห่งยุคต่อจากศาสนาแห่งสิทธัตถะ ทุกคนก็รู้แล้วว่าพระศรีอริยเมตไตรย


และในแปดหมื่นสี่พันองค์นี้เขาก็เลือกตั้ง ถ้าพูดแบบในมนุษย์เขาเรียกว่า อาตมานี่ประธานดูแลมนุษย์ และที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแห่งยุคสืบต่อจากพระศรีอริยเมตไตรย ศาสนาพุทธสิทธัตถะอธิษฐานแค่ห้าพ้นปี ก็เหลือสองพันกว่าปี ศาสนาพระศรีอริยเมตไตรยเขาขออธิษฐานตั้งสัจจบารมีสองหมื่นปีของศาสนาของเขา แต่ของอาตมายังไม่ได้ตั้งสัจจะ

ทีนี้การที่จะทำงาน ถ้าพูดในหลักของภาษาชาวบ้าน แล้วทุกคนเขาต้องบำเพ็ญบารมี เขาเรียกว่าหลายกัปหลายกัลป์ หลายภพหลายชาติ แต่รู้สึกว่าท่านโตเปรื่องปราดหรือว่ามาคบกับมนุษย์มากก็ไม่รู้ ท่านคิดบำเพ็ญทางลัด


หมายความว่า ถ้าจัดประชุมสันติภาพในโลกมนุษย์ได้สำเร็จ สามารถใช้ศาสนายุติสงครามโลกครั้งที่ ๓ ได้ เมตตาบารมีมหาโพธิญาณที่บำเพ็ญเกิดได้ นี่การช่วยสัตวโลกให้ตายตามอายุขัย ไม่ใช่ตายก่อนอายุขัย สามพันสามร้อยกว่าล้าน ตามที่ท่านพูดเอาไว้

นั่นคือความลับของโลกวิญญาณ แต่ท่านมีข้อแม้กับโลกวิญญาณว่า ถ้าทำสำเร็จท่านจะเป็นมหาโพธิสัตว์องค์หนึ่งได้ และก็จะตั้งสัจอธิษฐานว่า หลังจากอาตมภาพมาเป็นพระพุทธเจ้าแห่งยุค ท่านขอต่อจากอาตมภาพ แต่ถ้างานนี้ไม่สำเร็จ ท่านขอไปอยู่นรกขุมที่ ๑๘

ฉะนั้นอาตมาจึงอยากจะฝากไว้กับพวกท่านที่จะมาร่วมกันทำงานชิ้นสำคัญชิ้นนี้ว่า ท่านจะรับปากทำงานกับท่านโต ท่านก็ต้องตั้งใจกันจริงๆ เอากันจริงๆ ถ้าท่านจะทำกันแบบเล่นๆ ทำกันแบบพอใจก็ทำ ไม่พอใจก็ไม่ทำ อะไรหลายอย่าง อย่างนี้แล้ว


อาตมาก็ใคร่ขอให้ท่านใช้สมองช่วยพิจารณาว่า ท่านจะเห็นแก่ตัวในการลากท่านโตสู่นรก แต่ถ้าพิจารณาเอาจริง ท่านก็ได้เห็นงานมาแล้วเป็นขั้นตอน มันก็สำเร็จได้ แล้วงานของเราไม่เหมือนงานที่ชาวบ้านเขาทำกัน ไม่เหมือนงานที่มนุษย์เขาทำกัน คือแบบที่เรียกว่า ตั้งองค์การอะไรต่ออะไรกันขึ้นมา เพื่อความเด่นของตน เพื่อความอยากจะมีหน้ามีตา เพื่อเกียรติ เพื่อการต่อรอง

แต่งานที่นี่เป็นงานดุลกรรมมนุษย์ทั้งโลก มันเป็นเรื่องยาก เป็นงานที่ประวัติศาสตร์จะต้องจารึก เป็นงานที่คนเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะท่านจะทำงานชิ้นนี้ ท่านต้องมีขันติธรรมอย่างแน่วแน่ ก็ย่อมที่จะเป็นไปได้ แต่ถ้าท่านจะทำแบบฉาบฉวย ทำแบบมีชื่อ ทำแบบอะไรๆ แล้วแต่ ทำไปเรื่อยๆ อาตมาก็อยากจะขอร้องว่า อย่าคิดทำดีกว่า


ถ้าจะแบบที่เขาเรียกว่า เป็นองค์การระดับโลกแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย องค์การศาสนิกชนแห่งโลกศาสนาหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเมืองไทยนี่ แต่ละปีๆ ทำอะไรกันบ้าง ไม่ทำงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอันให้กับมนุษยโลก ทั้งทางด้านวัตถุ และในด้านประวัติศาสตร์ในด้านจิตใจ ประชุมๆ กัน แล้วเลิกกันไป แต่งานที่นี่ไม่ใช่อย่างนั้น งานที่นี่เมื่อประชุมแล้วจะต้องก้าวต่อและจะต้องสำเร็จ

เพราะฉะนั้น การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมสำคัญคือ ประชุมเพื่อสันติภาพของโลกมนุษย์ หมายถึงว่าประชุมแล้วจะได้ไม่ต้องประชุมกันต่อไป เดินทางเพื่อให้ถึงเป้าหมายโดยไม่ต้องเดินอีก ทำงานก็เพื่อให้ถึงจุดที่วางไว้โดยไม่ต้องทำอีก คนเราเกิดมาประคองขันธ์เพื่อใช้กรรม เมื่อถึงวาระหมดกรรมและก็ไม่ต้องใช้กรรมกลับสู่ปรภพได้ ก็คิดว่าท่านทั้งหลายจะต้องใช้สมองกันหน่อยในก้าวงานต่อไป


มันเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ถ้าเอาแต่วจีกรรมแล้ว อาตมาก็อยากจะพูดซ้ำสองว่า มันไปไม่รอดในการทำงานใหญ่ ท่านต้องเอาทั้งวจีกรรม กายกรรม มโนกรรม และจดจ่อ เพราะงานก้าวนี้เป็นงานก้าวที่ใหญ่มาก และเป็นงานที่เรียกว่า เราจะต้องผ่านฝ่าลวดหนามนานาชนิดที่ขวางทางอยู่ คิดว่าอาตมาก็มาให้คติ ให้ท่านเป็นข้อคิดพิจารณาในเรื่องว่าท่านจะทำงานต่อไป

หมายเหตุ ท่านจะเชื่อหรือไม่ เป็นสิทธิของท่าน และชาวพุทธที่แท้จริงต้องใช้สมองของตนพิจารณาแหละดี


(วันเสาร์ที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-27 23:56

ตอนที่ ๔๔

สันดานมนุษย์



อาตมามาวันนี้ ก็จะพูดเรื่องที่คิดว่าเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลาย คือ หลักความจริงมันมีอยู่ว่า วิสัยของมนุษย์มันย่อมมีการแข่งขัน ย่อมมีการชิงดีชิงเด่น ในเมื่อยังเป็นปุถุชน ทีนี้ในการแข่งขันในการชิงดีชิงเด่น ซึ่งในภาวะปัจจุบันนี้ เขาเรียกว่า “แข่งชิงดีชิงเด่นในทางชั่ว”

อะไรที่เรียกว่า “แข่งขันชิงดีชิงเด่นในทางชั่ว” ก็คือ วัตถุธาตุเจริญ จิตใจมนุษย์เสื่อม ซึ่งอยู่ในภาวะที่ทุกคนแข่งขันจะเป็นใหญ่ ทุกคนแข่งขันจะเด่น แข่งขันกันนินทา แข่งกันการก้าวร้าวคน แข่งขันอิจฉาริษยาคน อันนี้เขาเรียกว่า เป็นสันดานของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยการจองล้างจองผลาญกันในโลกมนุษย์ ก็สืบเนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคแห่งกลางกลียุค

ทีนี้ “ถ้าแข่งขันกันในทางก่อมันก็ดี” แต่ขณะนี้โลกอยู่ในภาวะแข่งขันกันทำลายแล้ว เราจะทำอย่างไร เมื่อเราจะก่อเพียงคนเดียวเป็นต้น ในภาวะเรื่องอนุสัยของคน เขาเรียกว่า โบราณกาลเขาก็พูดกันมานานนมแล้วว่า


แม่น้ำสามารถเปลี่ยนทิศทางได้
ภูเขาสามารถละลายลงมาเป็นถนนได้
แต่อนุสัยคนเปลี่ยนไม่ได้ มันเป็นสันดานที่นอนนิ่งเป็นตะกอน
สันดานสตรี ยังไงๆ ก็ต้องเป็นสตรีที่จะกระทำตนเป็นบุรุษย่อมไม่ได้
และอนุสัยบางคนที่เรียกว่า ปรารถนาดีต่อหมู่คณะ แต่ก็ปรารถนาดีจนเลยดี กลายเป็นดีแตกไป


การทำงานบางคน ทั้งๆ ที่รู้แล้วว่างานของหมู่คณะนั้นจะต้องเปลี่ยนทุกวินาที จะต้องทันโลก จะต้องเหนือโลก ผู้ที่จะต้องทำก็จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่อยู่ห่างไกลในภาวะ เมื่อทันเหตุการณ์แล้ว ก็อย่าเที่ยววิ่งพล่านวิ่งติดต่อหาใคร


เพราะฉะนั้น ในสิ่งนี้ก็ควรสังวรไว้ด้วย อย่างปัญหาการจะเอาของไปให้เขาก็ดี มันต้องเข้าใจว่า “เพชร” ท่านเอา “เพชร” ไปให้ไก่ กับเอา “ข้าวเปลือก” ไปให้ไก่ ไก่ย่อมที่จะกินข้าวเปลือกมากกว่าที่จะต้องการเพชร เพราะฉะนั้นในขณะนี้ จึงเป็นขณะแห่งความมีช่องว่างของสยามประเทศ

สำนักปู่สวรรค์เกิดมาเสมือนหนึ่ง “เพชร” แต่เหล่าปีศาจอสูรที่ขึ้นมาครองเมืองย่อมที่จะต้องการข้าวเปลือกมากกว่าเพชร เพราะฉะนั้น เราต้องหยิ่งในเกียรติแห่งการเป็นพระโพธิสัตว์ จะต้องให้ปีศาจอสูรเดินทางเข้ามาหาเรา ไม่ใช่เราไปสยบหัวให้เหล่าปีศาจอสูร


และในภาวะซึ่งถ้าท่านทำงาน การแข่งขันย่อมมี แต่ว่าเราต้องทำในลักษณะแข่งขันชนะจิตของตนก่อน กฎระเบียบใดๆ ก็แล้วแต่ ถ้าไม่ปฏิบัติมันก็ย่อมเป็นระเบียบวินัยไม่ได้ ถ้าในทัศนะอาตมาแล้ว ขณะนี้หนังสือที่ท่านโตออกมา ๔ เล่ม ถ้าเขาปฏิบัติตาม ๔ เล่ม เมืองไทยก็เจริญ คือ

จุดบอดจุดแก้ของเมืองไทย เป็นจุดบอดอะไร แก้อย่างไร และจุดบอดจุดแก้นี้ไม่ใช่ใช้ได้ระดับเมืองไทยเท่านั้น มันใช้ได้ทั่วโลก ถ้าทุกคนปฏิบัติตามจุดแก้ ๑๐ ประการ แก้ตามอุดมการณ์ ๑๐ ประการนั้น เช่น


เรามีอุดมการณ์ประหารกิเลสของมนุษย์ที่เห็นแก่ตัวให้เบาบางลง เราเป็นลูกศิษย์ เราก็ต้องประหารกิเลสที่เห็นแก่ตัวให้เบาบางลงก่อน เช่น อย่ายึด อย่าถือทิฐิ เป็นต้น ทุกคนต้องการจุดมุ่งหมายเพื่อมาทำงานโปรดสัตว์

กำเนิดหลักการบริหาร นั่นคือ สมุฏฐานอันแท้จริงของการเกิดองค์การ ลัทธิต่างๆ ในโลกมนุษย์ ถ้าท่านดำเนินการโดยเอาในนั้นเป็นคัมภีร์ในการบริหารงานแล้ว มันก็จะได้เรียบร้อย หลังวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ตกอยู่ในภาวะอันตรายอย่างไร ท่านอ่านๆ แล้วไม่ลืม ก็จะเป็นคติเตือน มันก็พอที่จะช่วยได้

พึ่งหน้าดินชาติปลอดภัย หรือว่า สี่นักเกษตรนี่ มันเรื่องปัจจุบันทันด่วน เรื่องกายเนื้อที่ต้องการอาหารการกินจากการเกษตร หรือว่าธรรมะที่ท่านโตเทศน์ สี่ห้าเล่มนี้ท่านปฏิบัติตามอมตธรรมอะไรก็แล้วแต่ หรือว่า ปรัชญาเล่มของอาตมา มันก็จบแล้ว ไม่ต้องไปหอบตำรามากมายกันในโลกมนุษย์


พระพุทธเจ้าสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ยึดตำราสำเร็จ เผาตำราจึงสำเร็จ เพราะว่าความมหัศจรรย์ของจิตแห่งกระแสญาณฌาน คือ สิ่งที่อยู่ในกายมนุษย์ แต่มนุษย์ไม่ได้ค้นสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาประกอบตน คือตัวรู้แท้ รู้แท้ที่เราสมมติว่าเป็น “พุทธะ”

อาตมาอยู่น้ำตกทรายขาว ปัตตานีในยุคนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์เป็นเพื่อน ไม่มีที่จะมาฟังวิทยุ มีหนังสืออะไร ตำราก็ไม่มี แต่ด้วยการบำเพ็ญค้นตัวรู้ในทางกาย ค้นธาตุแท้แห่งความบริสุทธิ์ของธรรมะแล้ว ก็จะสัมฤทธิ์ได้
ทำให้จิตเกิดศีล สมาธิ ปัญญา สมาธิแน่วแน่เป็นเอกะแห่งเอกัคตานั้น ก็ย่อมที่จะละในเรื่องกำหนัด เรื่องยึดตน และตอนนั้นกระแสฌานญาณเกิด ก็เกิดปัญญาในการพิจารณาแห่งความหยั่งรู้ขึ้นมาได้ พูดง่ายแต่ทำกันยาก

ทีนี้ เมื่อเราทุกๆ ชีวิตเกิดมาอยู่ในภาวะแห่งทะเลความบ้าคลั่งเช่นนี้ เราจะยืนอยู่ในจุดไหน เราต้องตัดสินใจในความเด็ดเดี่ยว ซึ่งอาตมาก็ได้พูดหลายครั้งแล้วว่า นี่เป็นความอยู่รอดของมนุษย์ ไม่ใช่เป็นความอยู่รอดของเทวดา และการกระทำอะไร เราทำด้วยเจตนาแห่งความบริสุทธิ์ ทำด้วยเจตนาเพื่อสร้างคนอื่นให้เป็นคน นำบุญไปให้เขา นำความดีไปให้เขา


ท่านเชื่อหรือไม่ว่า เทพารักษ์ก็ต้องอารักขาท่าน ถ้าพูดในเรื่องความมหัศจรรย์ทั้งหลาย ท่านก็เห็นว่าที่นี่ก็มหัศจรรย์หลายๆ อย่างให้ท่านดูกันแล้ว แต่ว่าท่านก็ยังไม่มีความมั่นใจในการทำงาน ชอบไปรู้ดีก่อนบ้าง ชอบไปอวดรู้บ้าง

เพราะฉะนั้นในการทำงานอะไรก็แล้วแต่ ถ้าท่านทำด้วยมีวิจิกิจฉา การงานนั้นย่อมที่จะเสร็จตามเป้าไม่ได้ ทำด้วยการไม่จดจ่อ ทำด้วยความระแวง ทำด้วยความกลัว ทำด้วยความทิฐิ ทำด้วยความเบื่อหน่าย สิ่งเหล่านี้เป็นพลังลบของชีวิต แต่ถ้าทำด้วยความจดจ่อ ปรารถนาดีแน่วแน่ ทุกอย่างถึงเป้าตามความต้องการ ซึ่งในภาวะทั้งหลายอาตมาก็ได้เล่าธรรมนิยายให้ฟังหลายๆ เรื่องแล้ว วันนี้ก็จะเล่าธรรมนิยายอีกเรื่องหนึ่งให้ฟังและคิด

กาลครั้งหนึ่งในป่าหิมพานต์ มีมานพสองคนได้ไปร่วมบำเพ็ญกับพวกที่เขาเรียกว่า ฤาษีในด้านการบำเพ็ญฌานญาณ มานพสองคนที่ไปนั้น


คนหนึ่งเป็นคนรู้มาก อ่านทั้งพระเวท ทั้งอะไรเยอะแยะ


คนหนึ่งเป็นผู้ไม่รู้อะไรเลย ก็ไปถวายตัวเป็นศิษย์ของฤาษี


ฤาษีก็ให้ท่องแค่ “โอม ศิวะ โอม ศิวะ” มานพที่ไม่รู้อะไรก็ท่องเอาคำนี้ แต่มานพที่รู้ดีกว่าที่ว่าอ่านตำรามาก ก็ไปเพิ่ม “โอม ศิวะ หิมาลัย” คือ อ่านตำราว่าพระศิวะอยู่บนยอดเขาหิมาลัย

ทีนี้ ไอ้นั่น “โอม ศิวะ” หายใจเข้า เขาเรียกการ “เล่นปราณ” นั่นไปเติมอีกมากมาย ก็กลายเป็นว่ากระแสปราณการหายใจมันไม่หนักแน่น ผลสุดท้ายในด้านกระแสฌาน ผู้ที่ไม่รู้อะไรเลยและทำตามครูบาอาจารย์ ไม่รู้เกินครู มานพน้อยนั้นก็ได้สำเร็จกระแสฌานญาณเบื้องสูง


ส่วนคนที่เรียนมาก มีหนังสือรู้ตำรา ทำยังไงก็รวมจิตไม่นิ่ง เพราะมันรู้เกินไป มันฟุ้ง ไปคิดถึงว่าพระศิวะต้องอยู่เทือกเขาหิมาลัย แล้วก็ต้องวาดพระศิวะเข้ามาเป็นมโนยิทธิ แล้วก็ที่เราทำนี้ถูกหรือไม่ ทำๆ กระแสจิต ต้องมาเปิดตำราดู นี่คือเสียเวลาด้วยการไม่เป็นเอกะ

ในภาวะสยามประเทศที่เต็มไปด้วยวิญญาณแห่งการจองผลาญ เต็มไปด้วยภาวะวิจิกิจฉาของมนุษย์ เราควรจะวางตนเป็นอย่างไร ควรจะทำอย่างไรในการอยู่รอดของการเป็นคน ทีนี้ ในภาวะเรื่องคน คำว่าทำอะไรให้ทุกอย่างปากกับใจตรงกันนั้นเป็นเรื่องยาก เมื่อผู้นั้นเป็นปุถุชน ไม่ใช่เป็นผู้ตรัสรู้เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้า ทำด้วยไม่มีวิจิกิจฉา

ทำด้วยไม่มีการหัวเราะ
ทำด้วยไม่มีการร้องไห้
ทำด้วยความรู้อันทันในภาวะสิ่งที่ทำ


และท่านทั้งหลายยังทำด้วยความวิจิกิจฉา ยังทำด้วยความไม่ตรงปากกับใจ เพราะอะไร พอวันนี้ท่านคิดจะเอาอย่างนี้ แต่พรุ่งนี้ท่านคิดเสียดายขึ้นมาบ้าง มะรืนนี้ท่านคิดอะไร กระแสจิตของท่านยังเป็นปุถุชน ในภาวะแห่งการเป็นปุถุชนย่อมที่จะเปลี่ยนทุกวินาทีตามอายตนะที่เข้ามาพัวพันในสิ่งแวดล้อมในความเป็นอยู่

เพราะฉะนั้นการที่จะก้าวเข้าไป ชนกลุ่มน้อยที่จะก้าวเข้าไปช่วยคน ๔๒ ล้านคน ถ้าชนกลุ่มน้อยมีกระแสจิตที่ว่า ตายก็ตายด้วยกัน เป็นก็เป็นด้วยกัน กินก็กินด้วยกันแล้ว ย่อมที่จะกระโดดลงเรือได้ แต่เมื่อกระโดดลงเรือได้แล้ว เรือที่อยู่ในกลางทะเลแห่งความบ้าคลั่งของกระแสคลื่น


ถ้าเกิดมีกลุ่มหนึ่งในเรือ สมมติว่ามีสามสิบคน เกิดมีสิบคนนั่งนิ่งๆ เพื่อที่จะต่อสู้กับกระแสคลื่น กับอีกยี่สิบกระวนกระวายที่จะหาทางรอดพ้นจากทะเลกระแสคลื่น ลุกขึ้นยืนบ้าง เดินไปทางซ้ายบ้าง ยืนไปทางขวาบ้าง ย่อมที่จะทำให้เรือนั้น ทั้งๆ ที่ไม่มั่นคงในกระแสคลื่นแห่งสังสารวัฏ ก็ยิ่งมีทางจมน้ำเร็วเข้า เพราะเรือมันโคลงเคลงอยู่แล้ว การที่อยู่ในเรือ ถ้ายังไม่นิ่ง ก็เหมือนหนึ่งพวกท่านทั้งหลายได้มาร่วมงานในที่นี้

ถ้าท่านยังไม่นิ่ง จิตยังไม่เป็นเอกะ ก็จะต้องพยายามฝึกจิตให้มีสมาธิ จะได้เป็นมูลฐานในการทำงานใหญ่ได้ เอาละ ข้อคิดและธรรมนิยายที่เล่าให้ฟังเป็นอุปมาอุปไมยนั้น ก็คิดว่าเป็นคติเพียงพอ อาตมาจะกลับละ

เจริญพร


(เทศน์เมื่อ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 00:10

ตอนที่ ๔๕

ความวุ่นวายเกิดจากจิต



เจริญพร

สาธุชนที่เดินทางมาจากภาคเหนือ สำเนียงที่ท่านได้ฟังนี้เป็นสำเนียงทางใต้ ซึ่งในฐานะที่อาตมาเป็นประธานสำนักปู่สวรรค์ ท่านทั้งหลายก็ได้อุตส่าห์เดินทางมาจากภาคพายัพมาสู่สำนักนี้ เรียกว่าท่านทั้งหลายมีความกระตือรือร้นใคร่ค้นหาสัจจะแห่งความจริง คือ


ในภาวะขณะนี้ในสังคมของชาวสยามประเทศ อยู่ในสังคมของความวุ่นวาย อยู่ในสังคมแห่งความทิฐิ ในกาลปัจจุบันเป็นกาลที่วัตถุเจริญ ทำให้การสื่อสารก็ดี การเผยแผ่ก็ดี การพูดจาก็ดี การโฆษณาก็ดี เป็นการทำให้เร็วไวกว่าบุราณกาล ภาวะแห่งความเร็วไวกว่าบุราณกาลนี้  จึงทำให้การติดต่อในสังคมหมู่มนุษย์ถึงกันไวกว่าในอดีต

แต่ในปัจจุบัน มนุษย์ถูกการปลุกปั่นหัว จนไม่ทราบว่าจะแลอะไรเป็นหลัก จะยึดอะไรเป็นที่พึ่ง และภาวะเช่นนี้จึงเรียกว่า เป็นภาวะแห่งความวุ่นวายของมนุษย์

ทีนี้ ภาวะแห่งความวุ่นวายของมนุษย์ อะไรจึงทำให้เกิดความวุ่นวายได้ สิ่งที่ทำให้เกิดความวุ่นวายก็คือ “จิต” จิตของมนุษย์ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิทธัตถะ ได้บัญญัติแห่งสมมติว่าเปรียบเสมือนหนึ่ง “ลิง”


ภาวะแห่งจิตของมนุษย์เปรียบเสมือนหนึ่งลิงนี่แหล่ จึงทำให้สภาวะเกิดอารมณ์แห่งความโลภ แห่งความโกรธ แห่งความหลง ภาวะเหล่านี้หลักของพระพุทธศาสนากล่าวว่า เป็นภาวะแห่งพญามารที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในกายของมนุษย์

ทีนี้ บางท่านที่มาที่นี้ ก็ยังไม่เข้าใจเรื่องของวิญญาณ แล้วก็สงสัยว่าทำไมเขาเชิญวิญญาณที่อื่น เขาจะเชิญกันมาเมื่อไรก็ต้องมา แต่ทำไมมาที่นี่จึงต้องมีระเบียบวินัย ก็ใคร่ที่จะแถลงไขให้ทราบว่า อาตมาไม่ใช่มาหากินกับมนุษย์ การที่อาตมามาในโลกมนุษย์ครั้งนี้ สืบเนื่องจากภาวะกลียุคที่จะเกิดขึ้นในแผ่นดินรัตนโกสินทร์ และด้วยการดิ้นร้นของพระเถระแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี ผู้ที่สืบเชื้อสายแห่งราชวงศ์จักรี

จึงทำให้อาตมาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสำนักปู่สวรรค์ในโลกวิญญาณต้องมาดูแลสำนักในโลกมนุษย์ เพราะฉะนั้นเข้าใจว่า ความเชื่อก็ดี ความยึดถือก็ดี ความศรัทธาก็ดี แล้วแต่ท่านพิจารณา แล้วแต่ท่านที่จะยึดถือ เพราะทุกคนเขาเรียกว่า สวรรค์สร้างให้เรามีมนุษยสมบัติแห่งการมีสติสัมปชัญญะแห่งการมีสมองในการคิด ในการทำ ในการพูด ท่านจะต้องใช้วิจารณญาณแห่งการเป็นมนุษย์พิจารณา


ฉะนั้น การทำงานที่นี้ จึงทำงานแบบไม่เหมือนใคร แล้วก็ทำกันอย่างเปิดเผย ไม่มีการซ่อนเร้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะเราถือว่าเป็นการทำงานของโลกวิญญาณที่มาทำงานโดยตรง เพื่อช่วยสัตวโลกที่กำลังอยู่ในทะเลแห่งความบ้าคลั่งในกลียุค

ทีนี้ เมื่อความวุ่นวายทั้งหลายเกิดจาก “จิต” เราทำยังไงจึงจะระงับความวุ่นวายทั้งหลายได้เล่า ทุกอย่างแห่งภาวะ ทุกอย่างแห่งความสำเร็จ เราเป็นมนุษย์เราต้องแลให้ดี แลในลักษณะอย่างไรของการที่จะสัมฤทธิ์ผล ให้ค้นปัจจัยในวิบากในกรรมนั้นๆ ล้วนแต่เกิดจาก ๓ กรรม พร้อมในที่นี้ก็คือ

กรรมที่หนึ่ง คือ มโนกรรม ทุกอย่างจะต้องเกิดจากมโนภาพความคิดภายในแห่งจิตของแต่ละคน เมื่อมโนกรรมนั้นคิดแล้ว ซึ้งแล้วที่จะสำแดงออก ก็กลายเป็นวจีกรรม คือ การพูด การป่าว การบอก เมื่อภาวะแห่งวจีกรรมเสร็จแล้ว ผลที่จะเข้ามาสู่เป้าแห่งความสำเร็จก็คือ กายกรรม


ฉะนั้น จึงเรียกว่า ๓ กรรม พร้อมเป็นสัมฤทธิ์ผลแห่งการกระทำของมนุษย์แต่ละรูป แต่ละนาม แต่ละสังคม แล้วจะทำอย่างไร จึงให้ ๓ กรรม พร้อมแห่งความสัมฤทธิ์ผลในโลกมนุษย์ก็เป็น “กรรมดี”

กรรมดีในที่นี้ หมายถึง เราจะต้องไม่มีการเบียดเบียน มีมโนภาพต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในทางที่ดีที่ชอบ มีมโนภาพที่ก่อขึ้นในมโนยิทธิในทางที่เมตตาเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ปัญหานี้ก็คือ ปัญหาต้องพิจารณาตน


การพิจารณาตนก็คือ ถ้าเกิดเป็นคนต้องรู้ว่าเป็นภาวะของจิต ภาวะของจิตที่คิดในอกุศลไม่ดี เราต้องตามทันแห่งอารมณ์ในอกุศลนั้นๆ ด้วยการดับในอกุศลที่เกิดขึ้นในมโนยิทธิให้เป็นกุศล ให้เป็นกุศลนั้นก็คือ เราต้อง “ปลง” ที่เราวุ่นวายเพราะทุกคน “ไม่ปลง” ทุกคนยึดมโนยิทธิของตน เป็นการที่เรียกว่า เป็นมโนยิทธิในทางที่ผิด คือ

หนึ่ง หลงตนว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่
สอง จำพวกที่หลงตนว่าเป็นผู้มีอำนาจ
สาม จำพวกที่หลงตนว่าเป็นเศรษฐี มีเงินทองมากกว่าใคร

เมื่อมนุษย์ต่างฝ่ายต่างหลงตนอยู่เช่นนี้ ก็ไม่มีจุดแห่งความ “ละ” ถือจุดแห่งความมีทิฐิ ต่างคนต่างที่จะยึดว่าของตนถูก ก็เกิดการที่จะแบ่งแยกเป็นกลุ่มก้อน ทางหลักภาษาของธรรมะเรียกว่า เป็นการเกิดชั้นวรรณะในสังคมของมนุษย์ขึ้น


ปัญหาตั้งแต่เปิดโลกมาแล้ว แต่ว่าแต่ละยุคก็มีพระบรมศาสดาจารย์ที่ส่งจากโลกวิญญาณลงมา เพื่อชี้จุดแห่งสัจธรรมให้แต่ละกลุ่ม แต่ละหมู่ที่มีมโนยิทธิในการหลงตน ยึดตนให้คลาย เมื่อในกลุ่มมนุษย์ที่อยู่ในสังคมต่างคนต่างคลายในการยึดตนแล้ว ต่างคนต่างมีมโนภาพในทาง “ละ” แล้ว ก็ย่อมที่จะเกิดความเห็นอกเห็นใจในสังคมมนุษย์ได้ ในหมู่เพื่อนมนุษย์ได้ ในหมู่ผู้เกี่ยวข้องของสังคมมนุษย์นั้นได้ เมื่อเกิดความอันนี้ หลักของภาษาธรรมเรียกว่า เกิดเมตตาในใจขึ้นมโนภาพหรือว่าในมโนยิทธิที่มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์

ฉะนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาของโลกที่เป็นมานาน จะใช้ได้แต่ละยุคก็ต้องมีผู้ที่ถึงฝั่งในการที่เรียกว่า ใกล้ธรรมหรือว่าถึงฝั่งในการที่ถึงสัจธรรม ได้เป็นคนเสียสละในตนที่ไม่ยึด แล้วออกไปเผยแผ่ให้เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายที่ไม่ยึด จากหนึ่งเป็นสิบ จากสิบเป็นร้อย จากร้อยเป็นพัน จากพันเป็นหมื่น จากหมื่นเป็นแสน จากแสนเป็นล้าน จากล้านเป็นสิบล้าน จากสิบล้านเป็นร้อยล้าน ก็ค่อยๆ แผ่ขยายไป ก็เกิด “สันติ” ได้

แต่ถ้ามนุษย์ที่มีธรรม มนุษย์ที่ฟังธรรม มนุษย์ที่เข้าใจธรรม คิดว่าเรื่องไม่ใช่ของเรา เรื่องไม่ใช่ของฉัน ฉันจะเอาทางของฉัน ฉันรู้ของฉันคนเดียว ฉันจะหาทางรอดของฉัน ถ้าทุกคนคิดเช่นนั้น ความแคบของโลกก็ใกล้เข้ามา เพราะอะไรเล่า เพราะว่าไม่มีความใจกว้าง ไม่มีความเมตตาต่อสัตวโลกที่เกิดมาใช้กรรมด้วยกัน เรียกว่า ตนรู้แล้วก็เก็บแล้วก็ยึด


ฉะนั้นจึงเข้าสู่เป้าหมายว่า ความวุ่นวายของโลกนั้นเกิดจากมนุษย์มีตัว “ยึด” ท่านทั้งหลายได้เดินทางมาจากภาคเหนือได้ดิ้นรนอุตส่าห์มาเพื่อสัจธรรม เพื่อหาความจริงในพิภพ อาตมาก็ได้มาชี้ทางแห่งความวุ่นวายให้ท่านทั้งหลายฟังพอประมาณ

ดังนั้นปัญหาในเรื่องนี้ ที่จะให้มนุษย์ยุติธรรมวุ่นวายได้ขนาดไหน ก็ขึ้นอยู่กับท่านทั้งหลายที่มาจากภาคเหนือที่จะช่วยพี่น้องทางภาคเหนือได้เพียงไร และขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเผยแผ่หรือไม่ คือ จุดสำคัญมนุษย์เราต้องคิดถึงว่าอะไรที่เราทำนั้น


เราทำเพื่อคนอื่น
เราทำเพื่อสันติ
เราทำเพื่อความร่มเย็น
เราทำเพื่อให้คนอื่นมีความสบาย
เราย่อมมีเกียรติเหนือกว่าใคร
เราย่อมมีคุณธรรมเหนือกว่าเขา
เราไม่จำเป็นที่จะต้องกลัวเขาว่าให้เสียเกียรติ
กลัวเขาหาว่าเราเป็นคนโง่เง่า


กลัวเขาหาว่าเราเป็นคนครึ ถ้าเรามีอารมณ์เหล่านี้เข้าในกระแสจิตแล้ว ก็แสดงว่าเราก็เหมือนเขา เหมือนเขาในฐานะแห่งการเป็นสัตวโลกที่ตกอยู่ในตมที่แน่นหนักเหนียวในสังสารวัฏ ไม่มีทางพ้นการเกิดการตายซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะอะไรเล่า?


เพราะว่าเราไม่เข้าซึ้งถึงสัจจะ เราไม่เข้าซึ้งถึงธรรมะ เราไม่รู้แจ้งหลักแห่งความจริงของสัตวโลก คือ เราไม่มีคุณธรรมแทรกเข้าในมโนจิตเรานั่นเอง เราจึงกลัวคำว่าเสียเกียรติ เมื่อพูดความดีเสียเกียรติ เมื่อชักจูงคนไปทางธรรมะเสียเกียรติ ขายหน้าเมื่อชวนคนทำบุญ

ฉะนั้น ขอให้ท่านทั้งหลายถือว่า “สิ่งที่ท่านพิจารณาจะช่วยเพื่อนมนุษย์ สิ่งนั้นคือ ท่านมีเกียรติเหนือกว่าคนที่พูด” และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อเราทั้งหลายได้ฟัง ได้รู้ และพิจารณาธรรมแล้วว่า ความวุ่นวายของมนุษย์เกิดจากจิต ทำอย่างไรจึงจะให้เพื่อนมนุษย์หยุดจิต จิตต้องเคลื่อนไปตามวิบากของกรรม แต่ว่าอย่าให้อารมณ์แห่งอกุศลกรรมเข้าสู่จิตมนุษย์ก็คือ ต้องชำระจิตด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คติธรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ไร้สาระในวันนี้ ให้ท่านทั้งหลายฟัง ก็เพียงพอจะเป็นคติในการดำเนินชีวิตให้เกิดสันติในตัวขึ้นได้ และขอให้ท่านทั้งหลาย จงประสบความสำเร็จในชีวิตแห่งการเป็นมนุษย์เถิด

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 00:27

ตอนที่ ๔๖

ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว



สานุศิษย์ – ผมข้องใจเรื่องกฎแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

หลวงปู่ทวด – คือปัญหาเรื่องกฎแห่งกรรม ภาวะมนุษย์คล้ายๆ ว่า มนุษย์เรานี่ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า มนุษย์ดูความดีความชั่ว ความสำเร็จหรือความไม่สำเร็จในตอนที่มนุษย์ผู้นั้นทำสิ่งนั้นไปแล้ว คือ

ในกฎแห่งสังสารวัฏ กฎแห่งกรรมเขาถือหลักที่ว่า หว่านพืชเช่นไรก็ต้องได้พืชเช่นนั้นเป็นสิ่งแน่นอน ทีนี้ บางครั้งที่ว่าเราไปเห็นคนทำชั่วเขาสบาย ไอ้คำว่าสบายอันแท้จริงอยู่ที่ไหน สบายที่แท้จริงมันอยู่ที่นามธรรม ที่เราเห็นว่าภายนอกเขาสบาย แต่ภายในเขาไม่สบาย เรามองไม่เห็น ที่เรานึกว่า เขาทำชั่วแล้วเขาสบายแล้วเขาดี เพราะยังไม่ถึงวาระสุดท้าย

ถ้าภาษาชาวบ้าน เขาก็เรียกว่า ดูหนังดูละครยังไม่จบเรื่อง มนุษย์ทุกๆ คนยังเป็นปุถุชนยังเป็นคนอยู่นั้น ต้องเข้าใจว่าความดีและความชั่วย่อมที่จะดูกันยาก เพราะว่ากรรมวิบากน่ะมันละเอียดถี่ยิบที่มันวิบากกัน ซึ่งถ้าท่านเคยศึกษามา ท่านโตเป็นหมอดูตัวฉกาจ แต่เมื่อท่านเวลานี้ไปอยู่โลกวิญญาณแล้ว ท่านไม่กล้าดูหมอดูให้เขา


เพราะวิบากกรรมนี่มันถี่ยิบ ถี่ยิบจนที่เราเรียกว่าตามไม่ทันในกฎของศูนย์รวมกรรม มนุษย์เราเป็นสื่อกลางของการใช้กรรม สิ้นจากโลกมนุษย์ ถ้าไม่สำเร็จจากด้านฌานญาณ จึงเรียกว่า โลกมนุษย์คือสื่อกลางของการใช้กรรม

ฉะนั้นที่เราไม่เข้าใจ เพราะเราไปถือเรื่องของวัตถุภายนอกเป็นสิ่งที่ว่า เขาทำชั่วได้ดี ความจริง คนที่เขาทำความชั่วก็ดี คนที่เขาไม่มีหิริโอตัปปะในใจก็ดี บุคคลเหล่านี้ท่านต้องมองสีหน้าเขาให้นาน จะรู้สึกว่าเขาไม่มีความสุขเลย เพราะภายในสิ่งที่เขาทำ เขาย่อมรู้


ทีนี้ อย่างที่ว่าทำไมจึงส่งผลช้า ท่านต้องเข้าใจว่า บารมีสะสม อย่างเวลานี้ผู้นำโลกมนุษย์หลายๆ ประเทศที่เคยอยู่นรกบำเพ็ญเป็นกัปๆ กัลป์ๆ ซึ่งเป็นหมื่นๆ ล้านๆ ปีทิพย์แล้ว ได้มีโอกาสเกิดขึ้นมาสู่โลกมนุษย์ แต่ความที่ว่าอนุสัยมันเป็นสิ่งที่ตัดยาก


ทีนี้ ที่เขามีความสบายอยู่ พูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือว่า แบบเขาเก็บเงินเก็บไว้ฝากธนาคารอยู่ แล้วเขาใช้เงินจากธนาคารที่เขาฝากอยู่เป็นอันมาก ซึ่งเป็นสิ่งที่เราก็นึกว่า ทำไมเขาชั่วแล้วเขาได้ดีนั้น เพราะเงินเก่าเขามี บารมีเก่าของเขามีก็ดี

ทีนี้ เรื่องบารมีแห่งการส่งผลของกรรมนี้ มันไม่ใช่สามารถดูแค่ปัจจุบันชาติ ไม่สามารถที่จะลงข้อยุติในปัจจุบันในเดี่ยวนี้แลบัดนี้ เพราะว่าทุกอย่างก่อนที่จะเกิดเป็นมนุษย์เกิดเป็นอะไรคลุกเคล้าอยู่ในสังสารวัฏเป็นกัปๆ กัลป์ๆ แห่งชีวิตของการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสิ่งยึดถือหลักที่ว่า


สร้างความดีย่อมได้ดี สร้างความชั่วย่อมได้ชั่ว แต่ว่าผลมันคล้ายกัน เขาเรียกว่า ต่างกรรมต่างวาระ ต่างกรรมต่างวิบาก ที่แบบจะตามใจที่เราคิดไม่ได้หรอกในโลกมนุษย์

บางคนเขาอาจอยู่ในโลกมนุษย์สบาย แต่เขาไปใช้กรรมในโลกวิญญาณแสนที่จะลำบาก ซึ่งมนุษย์ก็ไม่สามารถจะเห็น อันนี้เป็นเรื่องที่ว่าเกิดช่องว่างมนุษย์กับโลกวิญญาณ และเป็นเรื่องที่มนุษย์ต้องพยายามฝึกจิตให้ถึงธรรมก็ย่อมที่จะรู้ผลอย่างแท้จริงว่า

“ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”


เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๘)



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 13:27

ตอนที่ ๔๗

การเป็นอยู่ของโลกวิญญาณ



วันนี้อาตมาจะมาคุยให้มนุษย์ได้เข้าใจในสภาพการเป็นอยู่ของวิญญาณ คือในภาวะจะต้องคุยกันถึงเรื่องเปิดโลก ซึ่งท่านก็ได้ฟังท่านโตเทศน์ไว้แล้ว ทีนี้ต้องคุยถึงเรื่องเทวะกำเนิดก่อน

เมื่อโลกกลายเป็นโลกมนุษย์ ก็เกิดโลกวิญญาณใหม่ ซึ่งเป็นหลายกัปหลายกัลป์เรียกว่านับไม่ถ้วน ภาวะแห่งการเกิดเป็นโลกวิญญาณ ก็ได้เกิดการแบ่งกันในระดับจิตของการเป็นอยู่ของเทวดา ของพรหม ของนรก ในภาวะนั้นก็มีการแบ่งกันอยู่ของเทพพรหมตามสภาพกายหยาบกายทิพย์ จิตวิญญาณ

ทีนี้ ก็มาเข้าสู่ในหลักการย่อเรื่องของวิญญาณมาสู่โลกมนุษย์ใหม่ ถ้าทุกคนศึกษาเข้าใจแล้ว จะรู้ว่าเทพพรหมชั้นสูงไม่ใช่เป็นเพื่อนเล่นของมนุษย์ และก็ไม่ใช่มนุษย์คิดจะเชิญแล้วเขาจะต้องมา

มีธรรมนิยายเรื่องของเทวโลก ทุกคนคงรู้จักพระพิฆเนศ ทำไมหัวจึงเป็นช้าง พระพิฆเนศโดยเทวกำเนิดเป็นพระโอรสของพระศิวะที่เกิดจากเหงื่อไคล แต่ว่ามนุษย์เขาทำเรื่องให้มีผัวเมียกัน โดยมีว่าพระนางอุมาเป็นชายา ก็เกิดเป็นรูปทิพย์ขึ้นมา ในการพัวพันของจิตวิญญาณมาเป็นลูกเป็นพ่อ ภาวะแห่งการพัวพันของจิตวิญญาณว่าเป็นลูกเป็นพ่อ


วันหนึ่งจะจัดงานในเทวโลก อันนี้ขอให้ถือว่าเป็นเรื่องนิยาย พระศิวะก็ได้ให้พระวิษณุเทพไปเชิญเทพพรหมทั้งหลายมาร่วมพิธีการตัดจุกหรือว่าโสกันต์ ขณะไปเชิญพระนารายณ์ซึ่งกำลังบรรทมอยู่สะดือสมุทร พระวิษณุเทพก็ได้ไปกับพระกฤษณะ


พระนารายณ์ได้ถูกปลุกตื่นบรรทม ได้กล่าวคำหนึ่งว่า “มีเรื่องอะไรหรือ เรากำลังบรรทมอยู่” เกิดความงัวเงียๆ ขึ้นมา พระวิษณุเทพกราบทูลว่า “ขณะนี้เทวโลกจะมีงาน ด้วยพระศิวะจะจัดพิธีโกนจุกโสกันต์พระพิฆเนศ” พระนารายณ์มหาเทพกล่าวด้วยความไม่ตั้งใจ “ไอ้ลูกหัวขาดยุ่งชะมัด”

เพียงกล่าวแค่นี้เท่านั้น ในเทวโลกก็เกิดความอลหม่าน คือหัวของพระพิฆเนศได้ขาดหายออกจากบ่า ณ บัดนั้น เมื่อพระวิษณุมหาเทพปรึกษาพระนารายณ์ว่าจะทำอย่างไร ก็ได้รับสั่งว่า จงไปเอาหัวไม่ว่าหัวอะไรในพิภพจักรวาลทุกโลก ใครนอนหัวอยู่ทางทิศตะวันตก จงตัดเอาหัวนั้นมาใส่พระพิฆเนศ


พระวิษณุเทพก็ได้ท่องไปทั่วพิภพจักรวาล ไม่มีผู้ใดนอนหันหัวอยู่ทางทิศตะวันตก ได้กราบทูลพระนารายณ์ พระนารายณ์ได้สั่งให้ตัดหัวช้างนั่นมาสวมให้พระพิฆเนศ นี่คือการรวบรัดตัดความ เพราะฉะนั้นในโบราณกาล ไม่ว่าคนในประเทศไหนที่ถือศาสนาจะไม่ยอมให้นอนหันหัวทางทิศตะวันตก ที่โบราณกาลผู้ใหญ่สั่งกันไว้ อาจจะเกิดจากเรื่องนี้

เพราะฉะนั้นนั่นเป็นการที่พระนารายณ์กล่าวโดยไม่ตั้งใจ กายของเทวดายังขนาดนั้น และมนุษย์ที่มีกิเลสหนา มนุษย์ที่มีความโลภ มีความหลง อยากที่จะเชิญองค์นั้นเข้าองค์นี้เข้า แล้วกระแสจิตจะถึงเขาหรือ ถ้าถึงเขา ถ้าเกิดเขาเข้าฌานอยู่จะเกิดมีอะไรขึ้น


ฉะนั้นจึงทำให้เกิดการสับสนอลหม่านในโลกมนุษย์ ไม่เข้าใจความเป็นอยู่ของโลกวิญญาณ และท่านจะสังเกตเห็นว่า พวกที่เชิญวิญญาณผ่านร่าง ยิ่งเชิญหน้ายิ่งซีดเซียวเพราะอะไร แต่ทำไมสำนักปู่สวรรค์มนุษย์ที่อาตมาใช้ ยิ่งเชิญยิ่งราศีเปล่งปลั่งเพราะอะไร

สำนักปู่สวรรค์นี้เป็นสำนักที่สถิตอยู่สวรรค์ชั้นที่ ๕ เป็นที่พักของบรมครูของปู่สวรรค์ เป็นสำนักที่สถิตของพวกปู่ครูหรือมีพวกมีวิชาความรู้บนสวรรค์ เทพพรหมทุกชั้นฟ้าที่เป็นพวกมีวิชาความรู้ เขาจะต้องรู้จักสำนักปู่สวรรค์ แล้วเขาก็เอาที่นั่นเป็นที่พบปะบนสวรรค์

ทีนี้ในการมาตั้งสำนักนี้ในโลกมนุษย์ ไม่ใช่มนุษย์คิดจะตั้งแล้วก็ตั้งได้ ซึ่งอาตมาก็ได้ท้าวความถึงเรื่องทั้งหลายที่เป็นสาเหตุของการมาตั้ง และเรียกว่าพวกเรื่องของวิญญาณถูกมนุษย์อัปรีย์ทั้งหลายที่สอดอ้างอิงสมนาม (มนุษย์เอาเรื่องของวิญญาณมาหลอกลวงหากิน) ทำจนมนุษย์เกิดไม่เชื่อเรื่องโลกหน้า เพื่อคลายความทิฐิ เพราะฉะนั้นต้องใช้สามัญสำนึกว่า แม้แต่มนุษย์ที่มียศถาบรรดาศักดิ์หรืออะไร คนเชิญเขาไม่ค่อยเที่ยวไป แต่เทวดาที่สูงแล้ว ทำไมถูกมนุษย์เชิญแล้วเขาต้องมา

ทีนี้วิญญาณอะไรเล่า ที่จะเข้ามามนุษย์พวกนั้น ก็คือพวกวิญญาณสัมภเวสี วิญญาณสัมภเวสีพวกนี้เป็นพวกรุกขเทพ หรือพวกอมรมนุษย์ พวกกึ่งเทพ กึ่งมนุษย์ที่อยู่ในพิภพของมนุษย์ เขาใช้แล้วก็อ้างชื่อแซ่ของบุคคลที่มนุษย์รู้จัก เช่น


ขณะนี้มีหลายสำนักที่อ้างว่าเป็นเจ้าปิยะ รัชกาลที่ ๕ ของจักรีวงศ์ รัชกาลที่ ๖ ซึ่งเขาอ้างชื่ออะไรต่างๆ แล้ว ทำไมเมื่อเป็นถึงเจ้าปิยะมาทำงานก็ดี รัชกาลที่ ๖ ก็ดีใหญ่โตในจักรีวงศ์ ทำไมจึงอยู่ในกระต๊อบเท่านั้นเล่า เมื่อลูกหลานของเขายังมีชีวิตอยู่กันมาก ทำไมจึงไม่ไปสร้างความศรัทธาให้ลูกหลานเขารับรองเล่า

แต่สิ่งเหล่านี้ วิญญาณเหล่านี้ทางโลกวิญญาณถือว่า ถ้าประพฤติธรรมแห่งความดี ก็เป็นการบำเพ็ญบารมีของเขา เพราะจิตของเทพพรหมชั้นสูง จิตของพระโพธิสัตว์จะต้องมีมหาเมตตาเป็นหลักที่จะช่วยสัตวโลก ไม่ว่ามีกายในรูปใด จึงปล่อยเช่นนั้น

ที่นี้ทำไมพระไตรปิฎกจึงบอกว่า อย่ายุ่งกับวิญญาณองค์โคตมะ ทำไมจึงบัญญัติไว้ เพราะวิญญาณเหล่านั้นเป็นวิญญาณแห่งนามธรรม วิญญาณเทพ พรหม เป็นวิญญาณแห่งผู้มีพลังสูง ผู้ที่บังอาจอาจเอื้อมไปยุ่งกับวิญญาณ ส่วนมากจะเกิดประสาทฟั่นเฟือน หรือเกิดความซีดเผือดของร่างกาย เพราะอะไรเล่า เพราะ

หนึ่ง กระแสตัวเองไม่ได้ทำสมาธิอย่างแข็งแกร่งเตรียมรับพลังอันสูงส่ง


สอง วิญญาณที่ถูกเรียกร้องมากๆ มาด้วยความรำคาญมาอย่างกระทกกายเนื้อ


สาม ผู้นั้นมีโมหจริตหลงมาก เพื่อที่จะให้คนนับถือ

ทีนี้มาย้อนถึงงานสำนักปู่สวรรค์ การท่านโตดำเนินงานให้ธรรมนำโลกนั้น ทุกคนต้องเข้าใจว่า คำว่า “โลกวิญญาณส่งทูตสันติภาพ” เป็นการเห็นชอบของเทวโลก เพราะว่า “บุตรของพระเจ้า” ก็พระเยซูเอาไปใช้ “ทูตของพระเจ้า” ก็พระมะหะหมัดเอาไปใช้


ฉะนั้นควรจะมี “ทูตของโลกวิญญาณ” เพื่อให้ทันสมัยที่มนุษย์กำลังสงสัยเรื่องโลกหน้า และผลของเรื่องชี้จุดบอดจุดแก้นั้นต้องเข้าใจว่า ผลนั้นสะท้อนกลับมาหลังจากเลือกตั้งแล้วจะมีคุณค่ามาก และอาตมาก็กำลังจะเตรียมการเข้ามาช่วยแต่ต้องดูการทำงานของมนุษย์ และการที่ให้ตั้งรัฐบาลสากลโลกวิญญาณในโลกมนุษย์ อาตมาคิดว่าเป็นไปได้แน่นอน

ทีนี้ย้อนมาถึงเรื่องงานที่ท่านกำลังทำอยู่ ขอให้ท่านฟังธรรมนิยายอีกเรื่องหนึ่งที่อาตมาจะเล่าให้ฟังแล้วคิด


ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีผู้เฒ่าผู้หนึ่ง ถือศีลกินเจอย่างเคร่งครัด วันหนึ่งผู้เฒ่าผู้นั้นได้บังเอิญเอาไม้ขว้างไปถูกไก่ตัวหนึ่งตาย ผู้เฒ่าผู้นั้นเมื่อเอาไม้ขว้างไปถูกไก่ตัวนั้นตายแล้ว ก็เกิดความเสียใจร้องห่มร้องไห้ว่า เรานี่ถือศีลกินเจมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่เคยสร้างบาป วันนี้ได้สร้างบาปแล้ว ด้วยการฆ่าชีวิตไก่ตายโดยบังเอิญ เราสมควรที่จะต้องตายตามไก่ไป ก็เดินร้องห่มร้องไห้ไปว่าจะไปหาที่ตาย

เดินมาถึงครึ่งทาง เจอชายหนุ่มคนหนึ่งถามว่า “ผู้เฒ่าท่านร้องไห้ทำไม” ผู้เฒ่าก็ตอบว่า “ฉันนี่จะไปตาย เพราะว่าฉันถือศีลกินเจเป็นเวลานานหลายสิบปี ไม่เคยทำบาป วันนี้ได้ฆ่าไก่ตัวหนึ่งตายโดยบังเอิญ ฉะนั้นฉันสมควรตาย”

ชายหนุ่มผู้นั้นบอกว่า “ถ้าผู้เฒ่าจะตาย ฉันก็ต้องไปตายด้วย เพราะฉันมีอาชีพฆ่าหมู วันหนึ่งๆ ฉันฆ่าหมูตายเป็นสิบๆ ตัว ผู้เฒ่าเพียงแต่ฆ่าไก่ตายตัวหนึ่งเท่านั้น ก็คือจะตายตามไก่ ฉันสมควรที่จะตายมากกว่าผู้เฒ่า”   จึงเดินไปด้วยกัน เพื่อจะไปกระโดดน้ำตายในทะเล


ระหว่างอยู่ครึ่งทางของเขาที่จะถึงนั้น ด้วยการพิสูจน์ของเทพพรหม ก็ได้เนรมิตทะเลอันยิ่งใหญ่ มีคลื่นสะท้านอย่างน่ากลัว พอไปถึงริมเขา ผู้เฒ่าเห็นทะเลมีคลื่นอย่างบ้าระห่ำไม่กล้ากระโดดลงไป ชายหนุ่มผู้มีอาชีพฆ่าหมูนั้นได้กระโดดตูมลงไปทันที

ผลแห่งการตัดสินใจแน่วแน่ในการสำนึกบาป ชายหนุ่มผู้นั้นได้ไปเสวยสุขในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อตายแล้วจิตวิญญาณก็ขึ้นสู่สวรรค์ทันที ผู้เฒ่าผู้นั้นไม่กล้ากระโดด ก็กลับมาใหม่ ตายแล้วก็ต้องไปตกนรก

ฉะนั้น ธรรมนิทาน เรื่องนี้ก็กำลังเกี่ยวโยงกับท่านทั้งหลายที่มาร่วมการทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวมในขณะนี้ คือท่านทุกคนรู้ดี ศรัทธา แต่ความจริงจังเด็ดเดี่ยวยังไม่เพียงพอ คิดว่าจะเดินทางของตนจากห่วงบาป แต่ไม่กล้าทิ้งห่วงบาป จึงให้ท่านพิจารณาให้ดีระหว่างผู้เฒ่าถือศีลและชายหนุ่มผู้มีอาชีพฆ่าหมู ว่าตอบแทนบั้นปลายของทั้งสองเป็นอย่างไร


เพราะถึงเวลาแล้วที่ท่านจะต้องพิจารณาว่า ถ้าชาติไม่มี บ้านก็มีอยู่ไม่ได้ ถ้าโลกเกิดไฟอเวจี ชาติไทยก็คงไม่พ้นการถูกทำลาย ดังนั้นพลังฝ่ายธรรมะจะต้องเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวและเสียสละอย่างจริงจัง จึงจะทำงานให้ธรรมนำโลกได้ ขอให้ท่านที่ได้ฟังในวันนี้ไปพิจารณาทบทวนหลายๆ เที่ยวและตัดสินต่อไป

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 13:35

ตอนที่ ๔๘

สำนึกบุญคุณครู



เจริญพร

ก่อนอื่นอาตมาใคร่ขออนุโมทนาที่สานุศิษย์ทั้งหลายได้มีความสามัคคีในการจัดงานบูชาครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาขฤกษ์นี้ นับย้อนจากนี้ไปสิบราตรีกาล (ของโลกวิญญาณ) หรือสิบปีก่อน (ของโลกมนุษย์) สำนักปู่สวรรค์ได้เริ่มอุบัติขึ้นในโลกมนุษย์ เพื่อที่จะดำเนินการเผยแผ่ธรรม เพื่อที่จะดำเนินการโกยสัตวโลกพ้นภัยพิบัติ


แต่ด้วยวาระของกรรมวิบากของสยามประเทศ จึงทำให้มนุษย์ทั้งหลายมองข้ามอาณาจักรพระโพธิสัตว์นี้ไป จึงจำเป็นที่จะต้องช่วยมนุษย์ที่มีกรรมเบาบางเพียงพอที่จะเข้าสู่อาณาจักรพระโพธิสัตว์เท่าที่จะช่วยได้

ทีนี้ วันนี้ท่านทั้งหลายได้จัดพิธีการเรียกว่า “บูชาครู” การบูชาครูนี้เป็นการที่ดี เป็นการที่ท่านแลเห็นความสำคัญของครู เพราะในโลกนี้สัปบุรุษและปูชนียบุคคลหรือว่าพรหมของบุตรนั้น ก็คือบิดามารดาที่ให้กำเนิดในกายเนื้อ ครูบาอาจารย์เป็นผู้ให้ประสิทธิ์ประสาทในกายใน


ทำไมอาตมาจึงว่าเช่นนั้น เพราะว่าบิดามารดาเป็นผู้ที่มีกรรมพัวพันกับเรา ทำให้เราเป็นผู้ที่เกิดเป็นคน แต่ว่าบิดามารดาไม่มีโอกาสในการที่จะสอนในด้านปัญญาในด้านธรรมะ บิดามารดาคนที่สองของเรา คือครู ครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทในด้านวิชา ในด้านจรณะ ในด้านความรู้ ในด้านสัมมาทิฐิ ในด้านธรรม

ฉะนั้น ท่านทั้งหลายได้มาร่วมการจัดพิธีบูชาครูในวันนี้ ก็แสดงว่าท่านทั้งหลายมีกิเลสตัณหาแห่งอุปาทานน้อยที่ไม่ยึดตนว่าเด่นกว่าคนอื่น ที่ไม่ยึดตนว่าเหนือกว่าสัปบุรุษ ที่ไม่ยึดตนว่าเก่งกว่าครู


เพราะฉะนั้น หลักแห่งสัจธรรมมีอยู่ว่า ผู้ใดมีความกตัญญูต่อครูบาอาจารย์ ผู้นั้นมีความเจริญ และวันนี้เป็นวันสมมติแห่งโลกมนุษย์ ซึ่งเป็นวันสมมติที่เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน

บุรุษแห่งนักปราชญ์ที่มีมหาเมตตา ได้อุบัติขึ้นที่ชมพูทวีป


บุรุษแห่งนักปราชญ์ที่มีมหาเมตตา ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะที่ชมพูทวีป


บุรุษแห่งนักปราชญ์ที่มีมหาเมตตา ได้ปรินิพพานจากโลกมนุษย์ที่ชมพูทวีป

ในวันนี้วันวิสาขฤกษ์แต่ต่างกรรมต่างวาระกัน


ฉะนั้นในวันนี้ จึงเป็นวันดีแห่งสมมติบัญญัติในโลกมนุษย์ เป็นวันสมมติแห่งความสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ท่านทั้งหลายได้มาประชุมพร้อมกัน เป็นวันที่ท่านทั้งหลายตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ได้มาทำในสิ่งที่ดี สร้างกุศลทั้งด้านรูปธรรม นามธรรม

ทีนี้ปัญหาต่อไปในหลักแห่งธรรม บุรุษที่เป็นนักปราชญ์ได้ชี้ให้มนุษย์ทั้งหลายยึดมั่นถือมั่นคือ หลักแห่งอริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรคนี้ เป็นคำพูดง่ายแต่ทำยาก เพราะอะไรเล่าเรียกว่าทำยาก


อะไรเรียกว่าทุกข์ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีแต่ความทุกข์ การกินเป็นทุกข์ การถ่ายเป็นทุกข์ การเกิดเป็นทุกข์ การเจ็บเป็นทุกข์ การตายเป็นทุกข์ แต่ว่ามนุษย์ทั้งหลายมีกรรมวิบากแห่งการเกิดเป็นมนุษย์ แล้วไม่ยอมแลหลักแห่งสัจจะนี้ จึงพยายามโกหกว่าตนไม่ทุกข์

สร้างสิ่งโกหกให้ตนยึดมั่นว่าตนไม่ทุกข์
สร้างสิ่งโกหกให้ตนยึดมั่นว่าตนไม่แก่
สร้างสิ่งโกหกให้ตนยึดมั่นว่าตนไม่เจ็บ


เพื่อเป็นการหลอกลวงสังขารและหลอกลวงสัจจะ มีอยู่ทุกรูปทุกนาม ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่มนุษย์ในยามวิปริต คือ กาลนี้เป็นกาลแห่งกลางกลียุค กาลแห่งโลกที่ปั่นป่วนด้วยวิปริต จิตใจมนุษย์ในยุคนี้จึงปั่นป่วนวิปริตไปด้วย ต่างฝ่ายต่างมีการจองล้างจองผลาญในการที่จะยึดตนถือตน ไม่ยอมพิจารณาหลักแห่งสัจจะอันแท้จริง จึงทำให้เดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้าในโลกมนุษย์


ทีนี้ปัญหาเหล่านี้ ถ้าเราทั้งหลายที่ใคร่ธรรม ที่ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ที่มาร่วมพิธีการนี้ เรียกว่า ตนมีสติ ในภาวะทั้งหลายเป็นคนที่ตั้งตนอยู่ในความมีสติแลตนอยู่เสมอ เป็นการไม่ประมาทนั้น เราก็มีทางที่จะทำอย่างไรที่จะกระตุ้นเตือนมนุษย์ที่กำลังอยู่ในอวิชชาที่กำลังตกอยู่ในอบายภูมิ ที่กำลังหลงระเริงอยู่ในกิเลสตัณหา ว่าจะให้เขาหยุดอย่างไร

ครั้นอาตมาพิจารณาหลักแห่งอริยสัจสี่ หลักแห่งความจริงของบุรุษแห่งนักปราชญ์แห่งสัมมาสัมพุทธะที่ได้ทิ้งเอาไว้เมื่อสองพันกว่าปี ปัญหาที่จะคลายทุกข์ก็คือ ให้รู้ทุกข์และตามทันทุกข์ เมื่อทุกคนทุกรูปนามรู้ทุกข์ ตามทันทุกข์ แล้วมนุษย์ทุกรูปทุกนามก็จะดี และดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาทแห่งการดำรงตน พยายามแลตน

ทีนี้ปัญหาเมื่อเราทุกคนต่างทุกข์ เราจะถ่ายทุกข์ด้วยการตามทันทุกข์ ด้วยการรู้สมุฏฐานของทุกข์ ภาวะแห่งการรู้สมุฏฐานแห่งทุกข์แล้วไซร้ ต้องพิจารณาหลักแห่งสมุฏฐานของทุกข์นั้นๆ จึงสามารถพ้นทุกข์


หลักแห่งการที่จะค้นในสมุฏฐานให้พ้นทุกข์นั้น ตนต้องพิจารณาก่อนทำทุกสิ่งทุกอย่างในหลักแห่งปฏิจจสมุปบาท หลักแห่งอริยมรรค ๘ แห่งการที่จะตั้งตนอยู่ในสัมมาอาชีวะชอบ การงานชอบ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนรู้ ขณะนี้นักปราชญ์คัมภีร์เปล่าในโลกมนุษย์มีมาก แต่นักปราชญ์ที่ปฏิบัติตามคัมภีร์น้อย

เพราะอะไรอาตมาจึงกล่าวเช่นนี้ มหาทั้งหลายก็ดี พระที่ได้สมณศักดิ์ก็ดี บวชๆ สึกๆ เพราะอะไรเล่า เพราะเอาแต่ท่องคัมภีร์เปล่ามากเกินไป ท่องจนกระทั่งพระธรรมขันธ์แปดหมื่นสี่พันจนสมองแทบจะระเบิด แต่ไม่ได้อะไรเลย


คือ ไม่รู้จักตัวทุกข์ เมื่อเขาไม่รู้จักตัวทุกข์ ความเป็นอยู่ก็ย่อมเป็นทุกข์ ผ้าเหลืองก็ร้อน ผ้าเหลืองร้อนก็ต้องสึกออกไป เขาเรียกว่า ไม่มีการพิจารณา ไม่มีสติปัฏฐานตัดเรื่องตนว่า ตนเป็นอยู่ในผ้ากาสาวพัสตร์แห่งการเป็นสาวกพระพุทธเจ้า คนต้องกราบไหว้เรา แต่เราสึกออกไปแล้ว เราต้องไปกราบไหว้เขา ดังนี้เป็นต้น

เพราะเขาไม่มีสติแห่งการตามทันทุกข์และไม่สามารถดับทุกข์เอง จึงทำให้เรื่องในการเป็นพุทธสาวกต้องสิ้นสุดลง ทีนี้ปัญหาแห่งการที่เมื่อเรารู้สมุฏฐานแห่งความทุกข์แล้ว จะทำอย่างไรจึงให้มันรู้ถึงมรรค คือทางแห่งการพ้นทุกข์และสำเร็จแห่งการพ้นทุกข์นั้นได้ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มนุษย์ทั้งหลายเรียกว่า

หนึ่ง ต้องตั้งตนอยู่ในการสันโดษแห่งการครองชีพแห่งการเป็นมนุษย์


สอง ต้องตั้งตนอยู่ในภูมิประเทศแห่งความวิเวก คือ ไกลอายตนะทั้ง กาย ตา หู จมูก ลิ้น ที่จะเข้ามาเป็นอาหารเข้าสู่ทางใจ


ตา หู จมูก ลิ้น เราแลเห็น แต่ใจนั้นเราไม่เห็น เพราะใจเรานั้นเป็นเรื่องของนามธรรม มีที่อยู่กายในกายจากกายเนื้อ ปัญหาเหล่านี้ ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านเป็นปัญหาเส้นผมบังภูเขา เป็นปัญหาผงเข้าตาตนเอง แล้วตนจึงไม่สามารถแลตนได้


สิ่งเหล่านี้มนุษยโลกทั้งหลายในภาวะกลางกลียุคในความวิปริตเช่นนี้ ท่านทั้งหลายจงรักษาตัวรอดโดยการอยู่สันโดษ โดยการอยู่ในภูมิประเทศที่สงัดด้วยการภาวนาให้เกิดสมาธิ จึงเป็นผลแห่งการพบหลักแห่งมรรคผลนิพพาน

ทุกวันนี้หลักแห่งอริยสัจ ๔ ง่ายๆ แต่อรรถกถาจารย์ทั้งหลายในปัจจุบันไม่ยอมสอนในหลักแห่งอริยสัจ ๔ ง่ายๆ แต่ไปสอนเอามรรคผลนิพพาน ก็เป็นการที่เรียกว่า ขณะนี้มีแต่นักนิพพานเต็มบ้านเต็มเมืองแต่ไม่ถึงนิพพานทุกองค์ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งน่าสังเวช ที่ในขณะนี้พุทธสาวกก็ดี สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแห่งยุคนี้ สาวกของศาสนาใดๆ ก็ดี ไม่หันหน้าพิจารณาในหลักความจริงของตน

เพราะภาวะวิบากเช่นนี้ จึงทำให้อาตมาคิดว่า เราควรอยู่อย่างสงบ ด้วยการสร้างอาณาจักรพระโพธิสัตว์ขึ้นมาใหม่ ทุกคนอยู่กันอย่างสันโดษ ทุกคนอยู่อย่างเตรียมพร้อมที่จะตาย กระทำตนตายก่อนตาย


ถ้าทุกคนสามารถขจัดอารมณ์แห่งการกลัวให้ตายก่อนตาย เพื่อการเตรียมเดินทางไปสู่โลกวิญญาณ ความหวาดกลัวความสะดุ้ง ความเพ้อเจ้อ การสร้างวิมานย่อมหายจากจิตของท่าน เมื่อทุกคนหายจากความเพ้อเจ้อ สร้างวิมานของการยึดตน การหลงตน ใจแต่ละคนก็มีแต่วิมุตติแห่งความปลื้มปีติ คืออยู่กันอย่างไม่ประมาทนั่นเอง

ทุกวันนี้ชาวมนุษยโลกทั้งหลายอยู่กันอย่างตั้งตนอยู่ในความประมาท หาแต่กอบโกยในสิ่งที่เป็นวัตถุสมมติ ไม่ยอมฝึกตนในการละทิ้งทิฐิมานะในการที่จะให้พร้อมที่จะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

มนุษย์ไม่ยอมอยู่อย่างมีหลักว่า

ความสุขของเพื่อนมนุษย์ ก็คือความสุขตัวเอง
ความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ ก็คือความทุกข์ของตัวเราเอง
กุศลจิตอันนี้ไม่อยู่ในจิตของมนุษย์
มนุษย์ปัจจุบันเต็มไปด้วยกิเลสแห่งโมหะที่ยึดตน
เต็มไปด้วยกิเลสแห่งการหลงตน
เต็มไปด้วยกิเลสที่จะเอาแต่ตนรอด แล้วท่านคิดว่าตนจะรอดหรือ


สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อาตมภาพไม่อยากที่จะแสดงธรรมมากเกินไป เพราะการแสดงปรมัตถธรรม เป็นสิ่งแทงหัวใจมนุษย์ปัจจุบัน จึงใคร่ที่จะขอยุติการแสดงธรรม และขออนุโมทนาสาธุชนสานุศิษย์ทั้งหลายที่มาประกอบพิธีนี้ก็ดี ไม่ได้มาประกอบพิธีนี้ก็ดี จงเจริญด้วยจตุรพิธพรทั้งสี่คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ เถิด

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันวิสาขบูชา วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:11

ตอนที่ ๔๙

การเป็นผู้นำที่ดี



ในการทำงานทุกอย่างต้องเข้าใจว่า “มนุษย์”

มนุษย์ปุถุชนย่อมมีอารมณ์ ภาวะแห่งมนุษย์ปุถุชนที่มีอารมณ์ทั้งหลาย ย่อมที่จะไม่ต้องการให้คนอื่นดีกว่าตนหนึ่ง ย่อมมีจิตแห่งความอิจฉาริษยาหนึ่ง หลักอันนี้เราจำเป็นที่จะต้องใช้ขันติธรรม และก็แลในสิ่งที่เขามาพูดมาว่า


ทุกอย่างต้องเข้าสู่ในหลักของคำว่า ต้องเอาสัจจะ ธรรมะ ความจริง เหตุผล เข้ามาพิจารณาในสิ่งที่มนุษย์ทั้งหลายเข้ามาพัวพันกับเรา คือในภาวะของสังคมปัจจุบันหรือสังคมโลกมนุษย์ในทุกวันนี้ เป็นภาวะแห่งกลางกลียุค เป็นภาวะแห่งการชิงดีชิงเด่น เป็นภาวะแห่งการเห็นแก่ตัว

เพราะฉะนั้นในภาวะเช่นนี้ เราเป็นผู้นำในกลียุค จำเป็นที่จะต้องสร้างและต้องใช้ความสุขุมคัมภีรภาพในการวินิจฉัยเหตุการณ์ เพราะอยู่ในภาวะที่แวดล้อมไม่ดี และอาตมาจะให้พรว่า จงมีชัยชนะต่อศัตรู และในการทำงานเพื่อความเจริญของประเทศชาติก็ให้ชนะหมู่มารที่มาแวดล้อม นี่คือพรอันประเสริฐที่ให้ไว้



(วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐)



โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:12

ตอนที่ ๕๐

อุเบกขาบารมี



ทีนี้ ถ้าจะมาเทศน์ในลักษณะการถึงธรรมะ ธรรมะข้อไหนที่สำคัญที่สุด ถ้ามนุษย์ทั่วไป ก็ธรรมะข้อ “เมตตา” แต่ถ้ามาพูดแบบการถึงธรรมกันจริงๆ แล้ว อาตมาก็คิดว่าธรรมะข้อ “อุเบกขา” ธรรมข้อ “อุเบกขา” สำคัญอย่างไร สำคัญเพราะหมายถึง ปลงตกโดยยอมรับสภาพความจริงตามกฎธรรมชาติ กฎแห่งอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

แล้วต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่กำลังจะเสื่อมลง เราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่สลาย เราต้อง “อุเบกขา” ต่อการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เราต้อง “อุเบกขา” ต่ออายตนะที่เข้ามาทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เราต้อง “อุเบกขา” ต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ

เราต้อง “อุเบกขา” ต่อวันเวลาที่ผ่านไป เราต้อง “อุเบกขา” ต่อความตายที่ตามเราเข้ามาทุกขณะ เราต้อง “อุเบกขา” ที่ตายแล้วไปใช้กรรมที่ไหน แล้วเราต้อง
อุเบกขา” พร้อมที่จะไปอยู่นรกหรืออยู่สวรรค์

ถ้าเราเข้าถึงธรรมะข้ออุเบกขาอย่างถ่องแท้ได้แล้ว เราก็มีความสุข มีความสุขโดยไม่ต้องมีความเสียดาย ไม่มีความเสียใจ ไม่มีความพอใจ ไม่มีความไม่พอใจ ไม่มีความชอบ ไม่มีความเกลียดชัง ไม่มีความว่าจะต้องทำ และไม่มีความว่าไม่ต้องทำ นั่นคืออารมณ์แห่งความอุเบกขาที่แท้จริง

แต่ถ้าเราเข้าไม่ถึงด้วยอุเบกขาแล้ว เราก็ย่อมปล่อยให้อารมณ์อ่อนไหวไปตามการมาของอายตนะ เราย่อมปล่อยให้อารมณ์เป็นไปตามการเข้าออกของโทสะ โลภะ โมหะ ความพอใจ ความไม่พอใจ

ท่านจะเห็นว่า ถ้าอารมณ์อุเบกขาและเด็ดเดี่ยวแล้ว ก็มีตัวอย่างให้ท่านดู คือ ท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ คำสั่งท่านสั่งออกไปแล้ว แม้แต่เทวดาที่ท่านขี่จะกอดขาอ้อนวอนว่า สงสารเด็กเขาเถิด ท่านยังเฉย อันนี้คือลักษณะของผู้นำพรหมโลก อย่างอาตมาไปนำไม่ได้


พรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น มีรูปพรหมเป็นโกฏิๆ มนุษย์ทั้งโลกรวมกันยังไม่เท่ากับพรหมโลก ๑ ชั้น ทำไมจึงมีมากเช่นนั้น ท่านอาจจะสงสัย ก็อายุของเทวดามันมีมาก อายุของพรหมมีมาก เขาอยู่แล้วก็ไม่ใช่อยู่แค่ร้อยปีร้อยวัน เขาอยู่กันเป็นพันๆ ปี

พรหมบางองค์นี้ โลกสลายเกิดกัปกัลป์ใหม่ เกิดพระพุทธเจ้าใหม่เกิดอะไรใหม่ เขาก็ยังเป็นพรหมอยู่นั่น ท่านจะสังเกตเห็นว่า อย่างพวกวิญญาณไม่ดีหรือพวกสัมภเวสี พวกอมนุษย์ พวกโอปปาติกะชั้นต่ำ เวลาท่านเกิดพบอะไรมารังแกท่าน ท่านมาระลึกถึงอาตมา เขาไม่กลัวเขาไม่หนีหรอก แต่ถ้าท่านระลึกถึงท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ เขาจะกลัวเขาจะหนี เพราะบารมีคนเราบำเพ็ญมาต่างกัน

ถ้าไม่มีอะไร ก็คิดว่าธรรมะที่ให้ท่านก็เพียงพอที่จะเป็นหลักการพิจารณาในการดำเนินงานของท่านต่อไปแล้ว ถ้าท่านจะพิทักษ์เอกราชของประเทศ ท่านไม่ต้องถอย แต่ต้องตั้งหลักของท่านสู้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้บัดนี้เวลานี้เป็นต้นไป มิฉะนั้นแล้ว
การที่ชาวไทยพูดว่ารักชาติ และทำงานเช้าชามเย็นชามแบบทุกวันนี้ ก็จะมีแต่ความล้มเหลวและความตายเท่านั้น

(วันเสาร์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๑)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:15

ตอนที่ ๕๑

การทำงานย่อมมีอุปสรรค



การทำงานทุกอย่างต้องมีความแน่วแน่ มีความจดจ่อ “งานสำคัญงานทุกอย่างย่อมมีอุปสรรคทั้งนั้น” ไม่ว่างานอะไรและงานที่ราบรื่นไม่มีหรอก แม้แต่สมัยพุทธกาล ถ้าท่านศึกษาประวัติจริงๆ ให้ดี จะเห็นได้ว่าตอนที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนาที่ไหน คนก็นับถือกันเลยหรือ พระองค์ต้องต่อสู้ด้วยขันติบารมี ต้องใช้ความสุขุม งานทุกอย่างต้องดำเนินตามแผนที่สอนให้ถึงวิมุตติธรรมได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าได้รับความเชื่อมั่นหมดทั้งชมพูทวีป

เพราะฉะนั้น คนที่จะพิจารณาก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ ทุกอย่างเป็นสัจจะของโลก สัจจะของกฎแห่งกรรมที่วิบากกันมาเป็นกัปๆ กัลป์ๆ ซึ่งเป็นกฎของสังสารวัฏ งานทุกอย่างในโลกนี้จะต้องมีทั้งคนสนับสนุนและไม่สนับสนุน เขาเรียกว่า โลกียะกับโลกุตระเดินคู่กัน งานทุกอย่างจะราบรื่นโดยไม่มีอุปสรรคก็ไม่ใช่งานใหญ่และไม่ใช่งานสำคัญ

ทีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ขัดกับกระแสแห่งโลกปัจจุบัน เช่น การตั้งอุดมการณ์ ๑๐ ประการของสำนัก เพื่อต้องการให้มีความเสมอภาคของฐานันดรภาพทางศาสนาโดยไม่แบ่งแยกกัน ซึ่งเป็นการขัดกับทิฐิของมนุษย์ปัจจุบันที่ยึดนิกายของศาสนากัน เช่น ยึดโปรเตสแตนต์ คริสตัง คริสเตียน และโซโลมอน เป็นต้น


พวกที่มีกิเลสมีทิฐิก็หาว่าเรานี่เป็นคนที่ภาษาชาวบ้านเขาว่า “ไม่มองกะลาหัวตัวเอง” คิดแต่ว่าทำงานใหญ่ ความคิดเช่นนี้เป็นนานาจิตตัง ผู้ที่จะทำงานต้องมีความจดจ่อและจะต้องใช้สมองกับงานนั้น เมื่อเราตัดสินใจที่จะร่วมเรือลำเดียวกันแล้ว

ปัญหาหนึ่งก็คือว่า ท่านต้องถามตนเองว่า ชีวิตท่านเกิดมาชาติหนึ่ง ท่านต้องการอยู่เพื่อความสุขของตนเอง หรือว่าอยู่เพื่อความสุขของคนอื่น นี่เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องตัดสินใจ เมื่อท่านอยู่เพื่อความสุขของคนอื่น ท่านก็จะต้องตัด เพื่อหาความสันโดษ


ธรรมชาติสร้างให้วันหนึ่งมี  ๒๔ ชั่วโมง เขากำหนดให้นอน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง ทำงาน ๘ ชั่วโมง วันหนึ่งท่านมีเวลาทำงาน ๘ ชั่วโมง ท่านจะเอางาน ๑๐ กว่าเรื่องหรือ ๒๐ กว่าเรื่องที่อยู่ในมือท่านมาทำย่อมไม่ได้ เพราะสมองมันไม่ไป เพราะฉะนั้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราควรจะตัด เมื่อเราคิดจะมาทำงานเพื่อคนอื่น อันนี้ก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องใช้สมอง

ทีนี้ งานที่เรียกว่า การสร้างบารมีนี่ จะต้องทำงานที่ยากที่สุดไปหางานที่ง่ายที่สุดไม่ท้อถอย และไม่กลัวอะไรทั้งสิ้น จุดสำคัญของงานส่วนรวมก็คือ ถ้าท่านทำด้วยความบริสุทธิ์ด้วยความเมตตา และด้วยความสัจจะแล้ว ทุกอย่างก็จะไปถึงจุดหมาย ไม่ถึง ๑๐๐% ก็ได้ ๗๐% หรือ ๘๐%


และอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตัวท่านก็ย่อมมีน้อย เพราะว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็ดี ความยุติธรรมก็ดี เทวดาก็ดี จะคุ้มครองท่าน นอกเสียจากว่ากรรมของท่านหนักเท่านั้น ความจริงมีอยู่ว่า คนกลัวตายมักจะตาย คนไม่กลัวตายมักจะไม่ตาย พวกชิลีมักจะพูดว่า “ใจเราคิดอย่างหนึ่งแต่พระเจ้าให้สำเร็จอีกอย่างหนึ่ง”

ฉะนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งธรรมดาของสังสารวัฏ เป็นสิ่งธรรมดาของกฎแห่งกรรม จุดสำคัญ ล้มแล้วอย่าถอย เมื่อล้มแล้ว เราต้องวินิจฉัยความล้มเหลวนั้น แล้วเอาประสบการณ์เหล่านั้นมาแก้ไข เพื่อไปสู่จุดแห่งความสำเร็จ

การเป็นมนุษย์จะบรรลุความสำเร็จได้ด้วยสัจจบารมี ฉะนั้นอุปสรรคของการทำงานเพื่อศาสนาในโลกมนุษย์ ในขณะนี้อาตมาดูแล้วมันเป็นเพียงเศษละอองเท่านั้น วิธีการบำเพ็ญของอาตมาสมัยมีชีวิตอยู่ มันก็ลำบากกว่านี้มากนัก


คือ การเดินทางมาจากสงขลาไปอโยธยาต้องนั่งเรือใบ แล้วก็อาจจะไปล่มเสียกลางทาง หรือไปอย่างกินเวลาเป็นเดือนๆ ชีวิตฝากอยู่กลางทะเล เมื่อหลังจากอาตมาปลงตกในการที่จะเอาความสำเร็จในด้านนามธรรม อาตมาจะเอาความดีในปรภพ
ถ้าอาตมายังขืนบ้ายศเป็นสังฆราชอยู่ ก็คิดว่าจะไม่มีทางหลุดพ้น

เพราะว่า สังฆราชจะต้องพัวพันกับโลก พัวพันกับการเมือง พัวพันกับเศรษฐกิจ เมื่อหนีไปอยู่น้ำตกทรายขาวในยุคนั้นไม่ใช่เหมือนเวลานี้ ชุกชุมด้วยยุง ชุกชุมด้วยงู ชุมชุมด้วยช้าง ชุกชุมด้วยสิง อาหารการกินก็ไม่มี ไปทรมาน เพื่อค้นพบสัจจะของอะไรบ้าง ตามที่อาตมาศึกษามาเป็นปีๆ อาตมาลำบากขนาดไหน

หลังจากนั้นก็เที่ยวไปตามป่าศึกษาไปเรื่อยๆ ไปเจอสิ่งต่างๆ ไปต่อสู้อยู่ในป่าคนเดียว เดินหลงทางบ้าง มาอยู่ที่คาบสมุทรที่เกาะแก้วพิสดารที่ภูเก็ต สมัยนั้นเขาเรียกว่าหนองภูเก็ต มีพวกชาวเลมันอยู่กันไม่กี่ครอบครัว ล้อมรอบด้วยโจรสลัดบ้าง การอยู่ทะเลคนเดียวสิ่งที่ได้มาคือ

ทำให้จิตใจท่านแข็งแกร่ง
ทำให้จิตใจท่านหลุดพ้น
ทำให้จิตท่านสงบ
ทำให้จิตมีสติพร้อม


ท่านจะต้องอยู่ในที่วิเวก อันตราย ขัดสน และเต็มไปด้วยไข้ชุกชุมนั่นแหละ จิตจึงจะไปสู่วิมุตติได้ แต่ถ้าท่านอยู่ในที่สบายไม่มีทางที่จิตจะหลุดพ้นได้ ไม่อย่างนั้นเขาจะต้องเข้าป่าวิเวกทำไม

เพราะฉะนั้นทุกวันนี้ จึงมีแต่ชาวพุทธแต่เปลือกเท่านั้น สำเร็จนิพพานสำเร็จอรหันต์กันอยู่แต่ในวัดกรุงเทพฯ เท่านั้น ดูหนังดูละคร พระเต้นรำกัน พวกอรหันต์หันกันใหญ่ อันนี้เป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะฉะนั้นอาตมาจึงบอกว่า “พุทธสาวกที่แท้จริงในยุคนี้หายาก” ทีนี้เราต้องคิดว่า

เราจะต้องใช้วิธีแบบไหน
แล้วเราจะต้องตัดสินใจ มีสัจจะแน่วแน่
แล้วก็จะได้รับความสำเร็จ
แม้ว่าจะไม่เต็ม ๑๐๐% ก็ตาม
คงจะได้ประมาณ ๘๐% ตามภาวะกรรม

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:18

ตอนที่ ๕๒

สันติเจดีย์



เราจะต้องพูดว่า สิ่งทั้งหลายของมนุษย์กายเนื้อสลายตามภาวะจิตวิญญาณ ทิพยวิญญาณไปสู่การเสวยกรรมในโลกวิญญาณ เพราะว่าโลกวิญญาณก็ได้แบ่งเป็นนรกสวรรค์ เมื่อครั้งที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสิทธัตถะได้ปรินิพพานที่กรุงกุสินารา จึงเป็นปัญหาในเรื่องการแบ่งพระธาตุไม่สำเร็จกัน

ก็มีพราหมณ์เฒ่าหรือโทณพราหมณ์ได้มาเป็นผู้ตักตวงพระบรมสารีริกธาตุขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โทณพราหมณ์ก็มีตัวโลภะเข้าครอบในระหว่างตักตวงพระบรมสารีริกธาตุนั้น ก็ได้แลเห็นพระเขี้ยวแก้วอันหนึ่งก็เอามาใส่ที่ม้วนผม ระหว่างใส่ไว้ที่ม้วนผมนั้นแหล่ อันนี้ขอให้ฟังเป็นนิยาย

องค์อมรินทร์จอมเทพก็เห็นว่า โทณพราหมณ์นั้นเล่นไม่ซื่อ ก็จึงได้หยิบเขี้ยวแก้วนั้นขึ้นสู่สวรรค์ ผลแห่งการขึ้นสู่สวรรค์ ก็จำเป็นที่จะต้องมีที่บรรจุในสิ่งที่สมควรกับบรมสารีริกธาตุนั้น จึงได้ให้วิษณุเทพออกแบบแปลนที่เรียกว่า “นิพพานเจดีย์” หรือว่าที่มนุษย์ใช้ชื่อว่า “จุฬามณี”

ทีนี้ในภาวะแห่งกลางกลียุคเช่นนี้ ที่จะช่วยดุลกรรมของโลกมนุษย์อย่างไร ก็ได้พิจารณาซึ่งท่านจะเห็นว่า เจดีย์อย่างสันติเจดีย์ไม่เหมือนชาวบ้าน ได้จำลองจากนิพพานเจดีย์หรือจุฬามณีเจดีย์นั้น แต่ว่าเป็นการดัดแปลงในบางส่วนเพื่อให้สมกับภูมิประเทศ ให้สมกับในการดุลกรรมและในการเสริมบัลลังก์จักรีวงศ์ ที่ท่านโตต้องทำนักทำหนา


เพราะฉะนั้นจึงได้ดำเนินการเรียกว่า ให้เกิดกลางนิมิตกับลูกศิษย์ที่นี่ แล้วก็ได้ทำออกมาดังที่ท่านทั้งหลายได้แลเห็นที่อยู่ในยอดเขาเสือหมอบ และเป็นเจดีย์ที่ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านก็ในโลกมนุษย์ก็มีอยู่องค์เดียว และเป็นเจดีย์ที่มีพระบรมสารีริกธาตุมากที่สุด และต่อไปเจดีย์นี้เป็นประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์ในอนาคต

เพราะฉะนั้นมันเป็นงานที่เราทำเพื่ออนาคต เพื่อความสันติสุข เพื่อความอยู่รอดของชนเผ่าไทย มันก็จำเป็นที่จะต้องมีความอดทนและทนอด เพื่อที่จะรักษาปูชนียสถานเหล่านี้ให้อยู่นานเท่าที่จะรักษาได้ เพราะฉะนั้น นี่ก็แถลงไขตามคำถามที่ถามมาให้พอทราบ

พต.ต.พิบูลย์ – ตามพุทธประวัติก็ดี หรือตามที่หลวงพ่อสมเด็จได้ทรงมีพระโอวาทไว้ว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ถึงห้าพันปี และสันติเจดีย์นี้ก็มีพระบรมสารีริกธาตุมากที่สุดในโลกแล้วนั้น ก็เป็นที่เข้าใจในบรมสานุศิษย์ว่า จะช่วยกันรักษาให้สันติเจดีย์นี้อยู่นานจนกระทั่งถึงปีที่ห้าพัน เพื่อจะรอวันที่จะมีพิธีสิ้นสุดของพระพุทธศาสนา ความเข้าใจอันนี้ของสานุศิษย์จะถูกต้องประการใดหรือไม่ ขอประทานพระโอวาทครับ

หลวงปู่ทวด –
ก็คงมีส่วนในเรื่องนี้ เพราะว่าปณิธานขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งได้อธิษฐานไว้ หมายถึง พระพุทธศาสนาถึงห้าพันปีนี่ พระองค์จะรวมองค์บรมสารีริกธาตุที่ทั่วพิภพมนุษย์ให้รวมกัน แล้วก็เปล่งเป็นประกายเนื้อแสดงพระธรรมเทศนาในครั้งสุดท้าย แล้วก็จะเผาสิ้นสลายของบรมสารีริกธาตุไม่ให้เหลืออยู่ในโลกมนุษย์

เพราะฉะนั้น มันเป็นเรื่องที่เราต้องกำลังทำงานสิ่งที่มนุษย์ไม่เข้าใจ ทำงานสิ่งที่มนุษย์ไม่มีธรรมะคิดว่าเป็นเรื่องของความเพ้อฝัน เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะฉะนั้นก็ฝากให้สานุศิษย์ทั้งหลายที่รวมกันทำงานว่า เราจำเป็นที่จะต้องมีขันติ และก็จำเป็นที่จะต้องมีสติพร้อม คืออย่าให้โทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัว อย่าให้เรื่องเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง


ทุกวันนี้ที่โลกเกิดความวุ่นวายนั้น เกิดจากมนุษย์ปล่อยให้อารมณ์เข้าครอบงำอยู่เหนือสติ ไม่ให้สติอยู่เหนืออารมณ์ จึงเกิดความอลเวง เกิดความทุกข์ยากทุกหย่อมหญ้า จึงเกิดความชิงดีชิงเด่น โดยมนุษย์ไม่พยายามพิจารณาถึงความตายเป็นสรณะว่า ทุกๆ ชีวิตที่เกิดมาโลกมนุษย์ ถ้านับตามภาษาของโลกวิญญาณแค่ร้อยวัน เหลือแต่ความดีและความชั่วให้คนรุ่นหลังเกิดมาพิจารณาสรรเสริญหรือพิจารณานินทาเท่านั้น

แต่ว่าความยั่วยุทางวัตถุก็ดี ความยั่วยุทางอารมณ์ที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ก็ดี สิ่งเหล่านี้เกิดจากมนุษย์ปล่อยตามอารมณ์ มนุษย์ไม่ควบคุมอารมณ์ ให้อารมณ์ของตนนั้นอยู่นิ่ง ไม่ดำเนินการตามที่ศาสนาพุทธองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าวางไว้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา


ถ้ามนุษย์ทุกคนหันมาสนใจ มีหลักแห่งศีล สมาธิ ปัญญา ใช้หลักแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการดำเนินในชีวิตประจำวันแล้ว สันติสุขของมนุษย์นั้นจะเกิดขึ้นได้ แต่ว่ามันเป็นเรื่องน่าอนาถของกลางกลียุคที่มนุษย์ท่องแต่ศีล สมาธิ ปัญญา เพียงผิวเผิน ไม่ได้ท่องเข้าไปในจิตใจ ไม่ได้แนบแน่นเข้าไปในจิตวิญญาณ มันจึงเกิดความอลเวงทุกหย่อมหญ้า

เพราะฉะนั้นปัญหาเหล่านี้แหล่ จึงเป็นปัญหาที่ท่านทั้งหลายได้มาร่วมกันเป็นฝ่ายธรรมะ ที่จะต้องช่วยกันพิจารณา ช่วยกันแก้ไข เพื่อที่จะให้โลกมนุษย์เกิดสันติกว่าปัจจุบัน อันนี้ก็ฝากเอาไว้ให้พิจารณา



(วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๐)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:20

ตอนที่ ๕๓

การอุทิศตนเพื่อสันติภาพ



วันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ มันมีความหมายสำหรับอาตมาสมัยอาตมายังมีสังขารอยู่ เป็นวันที่อาตมาสละตำแหน่งสังฆราชที่อโยธยา และมุ่งสู่ปักษ์ใต้ไปสู่น้ำตกทรายขาว ทีนี้ท่านลองพิจารณาชีวิตให้เข้าถึงถ่องแท้แห่งจิตวิญญาณ ให้เข้าถึงความสุขอันแท้จริงแล้ว มันอยู่ที่นามธรรม ไม่ใช่อยู่ที่รูปธรรม ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุ ไม่ใช่อยู่ที่ยศถาบรรดาศักดิ์หรือไม่ใช่อยู่ที่อะไร

เพราะฉะนั้นพวกท่านจะต้องทำงานให้มาก สำหรับการวิ่งทุกอย่างให้เข้าเป้า มันเป็นเรื่องใหญ่สำหรับมนุษยโลก เพราะมนุษย์ตื่นเช้าบิดขี้เกียจ ต้องแปรงฟัน ต้องขี้ ต้องเยี่ยว ต้องกิน ต้องหวีผม ถ้าเป็นผู้หญิงต้องทาเล็บ ต้องแต่งหน้า กว่าจะออกจากบ้านหมดไปแล้วครึ่งวัน แต่เทพพรหมเขาไปด้วยจิตวิญญาณฉับพลันก็ถึงได้ อันนี้คิดว่าถ้าท่านจะให้งานเข้ารูปแล้วจะต้องเสียสละกันจริงจังมากขึ้นๆ

ทีนี้ถ้าพูดในลักษณะความหมายนั้น อาตมาก็บอกแล้วว่า ทุกอย่างอยู่ที่ท่านโตและเทวดา จะไม่สำเร็จนั้นไม่มี แต่จะสำเร็จกี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ถ้าท่านคิดว่าท่านทำงานกับพระเจ้า ต้องมีทีมงานที่ดี มนุษย์เอาจริงเดินจริง เทวดาเสริมก็สำเร็จ


ฉะนั้นท่านต้องเข้าใจว่า ท่านกำลังทำงานอะไร ไม่ใช่งานอดิเรก และนี่สิ่งที่อาตมาให้ก็หมายความว่า เป็นข้อคิดสำหรับท่าน เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเราพัวพันกับมนุษย์ เมื่อเราอยู่ในโลกมนุษย์ เราย่อมที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวคนเดียวไม่ได้ เราย่อมจะต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์


เมื่อสัมพันธ์กับมนุษย์ เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์เหล่านั้นเข้าถึงจิตวิญญาณ เราจะทำอย่างไรให้สมกับเป็นกลุ่มที่อยู่กับทูตของพระเจ้า ทูตสันติภาพแห่งโลกวิญญาณ คือปลุกระดมข่ายแห่งอันตรายของมนุษย์ให้เขาเข้าใจ

อาตมาอยากให้ท่านถือคติไว้ ๓ ข้อ คือ


หนึ่ง ทุกคนจะต้องถือว่างานนี้เป็นงานชีวิตจิตใจของตัว ไม่ใช่งานอดิเรก

สอง จะต้องแยกเรื่องงานส่วนตัวกับเรื่องส่วนรวมให้เด็ดขาด


สาม ให้พยายามถือหลักแนวขั้นตอนที่สั่งลงมาและเดินอย่างภาษาชาวบ้านง่ายๆ เดินอย่างหัวชนฝาแล้วมันก็ทะลุออกไปเอง


สำหรับสิ่งที่จะต้องระวัง คือ พยายามรักษากายใจให้ปลอดโปร่งเบิกบาน ให้จิตอยู่เหนืออารมณ์ อย่าให้อารมณ์อยู่เหนือจิต พยายามสวดมนต์ภาวนา มารมันใหญ่มาก เมื่องานมันใหญ่


ปัญหาที่สอง มันจะมีอารมณ์จุกจิกๆ แทรกเข้ามาทุกอย่าง เขาเรียกว่า นั่นคือมาในลักษณะมารวิญญาณ แล้วก็มันมีเรื่องของมนุษย์แทรกขึ้นมาอีก นั่นคือมารของมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีสติพร้อมให้สติอยู่เหนืออารมณ์ ให้พยายามถืออย่างนี้ เพราะว่างานมันยิ่งใกล้เข้ามา

ท่านทุกคนต้องประสาทแข็งพอ เพราะว่างานอย่างนี้ไม่มีใครเขากล้าคิด ไม่มีใครกล้าทำ แล้วก็เป็นเรื่องลำบากเป็นเรื่องที่เขาเรียกว่า ฝ่ามือหนึ่งจะอุดฟ้าทั้งฟ้าไม่ให้รั่วมันย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ว่านี่ก็ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งจิตบำเพ็ญการเป็นพระโพธิสัตว์


เพราะพระโพธิสัตว์นั้น เขาต้องมีอารมณ์ว่า พยายามที่จะโกยสัตวโลกให้พ้นทุกข์ ถ้าตราบใดสัตวโลกยังไม่พ้นทุกข์ ตราบนั้นตถาคตไม่เข้าพระนิพพาน นี่เป็นอารมณ์ของพระโพธิสัตว์ในการทำงานใหญ่ให้มนุษย์อยู่อย่างสันติสุข มันก็เป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญ ถ้าท่านเอาเป็นงานหลักว่า งานนี้มาก่อนทุกอย่างมันก็จะเข้าเป้า สันติสุขของโลกก็เกิดขึ้นได้




โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:22

ตอนที่ ๕๔

งานพลิกประวัติศาสตร์โลก



เจริญพร

วันนี้ทุกคนได้สละเวลากันมาแล้ว ทุกคนเป็นคนมีสมอง เมื่อฟังแนวการทำงานแล้วก็ต้องเข้าใจว่าขณะนี้เรากำลังจะทำอะไรในโลกมนุษย์ อาตมาก็มาระยะไม่กี่เดือนนี้ก็ได้มาพูดหรือให้โอวาทหลายเรื่อง เรื่องทางสามแพ่งก็ดี เรื่องนางแตก็ดี เรื่องพิฆเนศก็ดี เรื่องผู้เฒ่าก็ดี ต้องเข้าใจว่าเทพ พรหม เขามีญาณแห่งความหยั่งรู้และความจดจำแม่นยำ การพูดของผู้ที่สำเร็จจิตแล้วจะพูดไปร้อยปีพันปี เขาก็จะจำคำพูดเหล่านั้นได้

ซึ่งเรื่องเหล่านั้นก็เป็นเรื่องที่มายกอุทาหรณ์ให้ท่านพิจารณา แต่บัดนี้ก็รู้สึกว่า สถานการณ์การเสียสละของท่านทั้งหลายก็ยังไม่มีความก้าวหน้า เพราะฉะนั้นเวลานี้ก็คือ ท่านโตคิดว่าพวกท่านเป็นแบบพวกเทวดา คือพูดเสร็จกันแล้ว เทวดาเขาฟังแล้ว เขารู้หน้าที่ว่าเขาจะต้องทำอะไร จะต้องดำเนินการอย่างไร จะต้องทำอย่างไร แต่ท่านทั้งหลายฟังไปแล้วก็ยังไม่เข้าใจกัน ก็ขอให้พิจารณาและความเข้าใจเพื่อปฏิบัติงานต่อไป

แล้วก็สถานการณ์ชาวบ้านว่า งานอะไรก็แล้วแต่ ถ้าแม่ทัพเก่งเพียงคนเดียว งานนั้นก็คิดว่าจะไปไม่รอด งานที่นี่ที่ดำเนินมาตลอดเวลาก็เป็นงานที่เขาถือเป็นงานงมงาย ซึ่งมนุษย์ปุถุชนทำอะไรจะต้องมีเกียรติ จะต้องมีการตอบแทนจะต้องมีผลประโยชน์ทีหลัง แต่ทำงานที่นี่เกียรติก็อาจจะว่าไม่มี ผลตอบแทนก็อาจจะว่าไม่มี


แต่ถ้าท่านคิดว่าจะได้เกียรติ คิดอยากจะได้สิ่งที่ต้องการ ถ้าท่านร่วมกันจริงๆ ถ้าพลิกประวัติศาสตร์ของโลกได้แล้ว เกียรติอันนั้นจะมากกว่าที่ท่านเป็นข้าราชการก็ดี เป็นพ่อค้าคหบดีก็ดี เป็นนักวิชาการก็ดี จะเป็นทหารก็ดี ตำรวจก็ดี คือในระบบการทำงานมันต้องมีสมอง ถ้าเราจะเป็นผู้นำคน

การเป็นผู้นำคน ท่านจะต้อง

หนึ่ง มีจิตหนักแน่น


สอง ข่าวอะไรเข้ามาถึงหู ต้องฟังแล้วตรอง แล้วก็ต้องนิ่ง อะไรควรพูดอะไรไม่ควรพูด


แบบคนร่วมงานเขาจะหาเรื่องทะเลาะกัน ไอ้ที่เราฟังมาไม่ดี ถ้าไปพูดมันก็เป็นการยุส่งเสริมให้เกิดการทะเลาะกัน เกิดการแหนงใจกัน เพราะฉะนั้นเขาเรียกว่า ถ้าเป็นผู้นำนี่ มันมีหลัก ๓ ประการพร้อม คือ

ฟัง นิ่ง
ตรอง คิด
ตรอง พูด ไม่ใช่พูดพล่อยๆ


อีกอย่างหนึ่ง ต้องรู้จักค่าของเวลาด้วย กาลเวลาล่วงเลยไป โดยไม่มีการหวนกลับคืน

กาลเวลากินหมดทั้งความดีและความชั่ว
กาลเวลากินทั้งพระอาทิตย์และพระจันทร์


กาลเวลากินแม้กระทั่งตัวเราเอง พระอาทิตย์ถึงเวลาตกดิน ท่านจะเอาเงินล้านหรือวัตถุใดไปขอให้พระอาทิตย์อย่าเพิ่งตกก็ไม่ได้ พระจันทร์ถึงเวลาขึ้น ท่านจะไปใช้ให้อะไรยับยั้งก่อนไม่ให้ขึ้นก็ไม่ได้ เพราะธรรมชาติแห่งกาลเวลาของเขาเคลื่อนของเขาเช่นนั้น


และงานของท่านโตที่ทำอยู่เวลานี้ ก็เพียงแต่ชะลอความวิบากของโลกมนุษย์ให้ช้าลงเท่านั้น และต้องการทำงานในสิ่งที่ให้ประวัติศาสตร์ต้องจารึกสำนักปู่สวรรค์ และพวกมนุษย์ที่ทำงานศึกษาเป็นพันๆ ปี นั่นคือเป้าหมายที่ท่านโตต้องการ

เพราะฉะนั้น ท่านเป็นคนที่ชื่อว่าวิญญูชนกันแล้ว ระหว่างลงเรือ เมื่อลำบากก็ควรลำบากด้วย ไม่ใช่คนหนึ่งลำบากอีกคนหนึ่งไปนั่งสบายหรือแกล้งไม่รู้ไม่ชี้ แล้วงานนั้นสำเร็จ ฉันก็จะเอาผลพลอยได้ มันก็รู้สึกเป็นสิ่งที่ไม่มีความละอาย


เพราะฉะนั้น อาตมาจึงขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า เมื่อหลังจากวิสาขะแล้ว หรือว่าตามที่ท่านโตขอโอกาสอาตมาอีก ๖ เดือนแล้ว ความเสียสละจากท่านทั้งหลายที่เป็นวิญญูชน ในทัศนะที่อาตมาประมวลแล้วต้องมีความก้าวหน้ามากกว่านี้ แล้วงานจะได้สำเร็จด้วยดี

การทำงานนั้นไม่ใช่มาพูดก่อนทำ แต่พระโพธิสัตว์อย่างอาตมาต้องทำก่อนพูด จริงอยู่พระโพธิสัตว์จำเป็นที่จะต้องมีมหาเมตตาเป็นหลัก แต่มหาเมตตาที่เราปล่อยออกไปนั้น เราต้องดูลักษณะของมหาเมตตาขนาดไหน เมื่อมหาเมตตาที่เราออกไปนั้นต่อบุคคลเป็นเรื่องบุคคล แต่ต่อส่วนรวม...ถ้ามหาเมตตาที่ออกไปนั้นเป็นการชักเย่อกันเอง ถ่วงกันไปเอง ทำลายกันไปเอง สิ่งนี้ถือว่าสร้างมหาเมตตาโดยไม่ได้เมตตา มีแต่โทษ

หลักแห่งปัจจัย ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การที่พวกท่านต้องมาที่นี่ ปัจจัยนี่คือ อาตมาเป็นตัวทุกข์ ตัวก่อให้ท่านต้องมาเป็นสมุฏฐาน เมื่อท่านทั้งหลายมาร่วมทุกข์ในสมุฏฐานนี้ กระแสจิตของแต่ละคน ถ้ายังละจริงก็มีตัวยึดและจะเป็นบ่อเกิดแห่งตัวทำลายเกิดขึ้น เกิดการวิบากขึ้นในมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม สามกรรมพร้อมเป็นกรรมเกิดการแตกร้าวขึ้นในกลุ่ม ถ้าไม่มีตัวอาตมา ไม่มีสำนักปู่สวรรค์ ท่านก็ไม่ต้องมาพบกัน ไม่ต้องมีการรวมกลุ่มกัน

เพราะฉะนั้นหลักแห่งอริยสัจสี่ ก็คือ อาตมาเป็นผู้ก่อทุกข์ให้ท่าน สำหรับพวกที่มารับการบริหาร เราจะเอาไว้อีกประเด็นหนึ่งนั่นคือ กุศล ฉะนั้นจะต้องหาใครเป็นแม่งานจะได้เป็นตัวจักรที่ขจัดปัญหาเหล่านี้แทนอาตมาได้ เพราะอาตมาไม่มีเวลาอยู่กับท่านทั้งวันหรือทุกวัน ภาระที่อาตมารับผิดชอบมันมาก


แต่ว่าด้วยการที่เมื่อร่วมมือกับท่านโตก็นึกว่าพยายามเข็นท่านโตให้สำเร็จปณิธานอันนั้น และท่านจะหาว่าอาตมาไม่บอกก่อนไม่ได้ เรื่องทางสามแพร่ง อาตมาได้เทศน์ให้ฟังแล้ว นางกระแตอาตมาก็เทศน์ให้ฟังแล้ว ผู้เฒ่าอาตมาเทศน์ให้ฟังแล้ว เรื่องพระพิฆเนศก็เทศน์ให้ฟังแล้ว เรื่องให้ทุกข์แก่เขาทุกข์นั้นถึงตัวก็เทศน์ให้ฟังแล้ว เรื่องผัวเมียอะไรเยอะแยะที่เคยพูดเป็นหลัก

ง่ายๆ ที่จะต้องพิจารณาอย่างลึกซึ้ง และการออกคำสั่งการบังคับไม่มีในอารมณ์ของอาตมา เพราะอาตมาถือหลักว่า ทุกคนกรรมใครทำใครได้ กุศลใครทำใครได้ บาปใครทำใครได้ ทุกคนต้องรู้จักแลตนเอง รู้จักพิจารณาตนเอง รู้จักดำเนินการด้วยตนเอง เพราะทุกคนพ้นภาวะวิสัยแห่งการเป็นเด็กอมมือแล้ว ทุกคนก็เข้าสังคมมามากแล้ว ทุกคนฟังภาษาคนรู้เรื่อง ที่มาเทศน์มากล่าวก็เป็นภาษาคน ภาษาไทย ฟังกันเข้าใจ

คิดว่าโอวาทหรือคำที่ให้ท่านคิดคืนนี้ ท่านคงจะมีการพิจารณาและสัมมนากันจริงจัง งานที่ท่านทำคือ งานพลิกประวัติศาสตร์โลก ภาษาของท่านโต ท่านบอกว่าจะใช้ "สันติปฏิวัติ" เข้าซึ้งถึงนามธรรม เอาศาสนายุติสงคราม ในสิ่งแวดล้อมของกลียุคนี้ ท่านต้องคิด คือการทำอะไรนั้น อาตมาก็เทศน์มากแล้วว่า ไม่ก้าวมันไม่ผิด ก้าวมันมีแต่ผิดกับถูก แต่เราจะทำอย่างไรให้ผิดน้อยที่สุด

เพราะสิ่งหนึ่งที่อาตมายอมท่านโต คือท่านโตนี่นักเลง ท่านทำอะไรท่านไม่คิดถึงผลสะท้อนจะเสียหรือจะดี ท่านถือว่าถ้ามนุษย์ปากแข็ง ดีละท่านจะต้องลองดู เพราะท่านรู้แน่ว่าไอ้ที่พูดออกมาน่ะปากกับใจไม่ตรงกัน


เพราะฉะนั้นคนไหนไปพูดกับท่านโตให้ระวัง เพราะท่านเป็นนักเลง ไม่รู้จักเสียช่างมัน ภาษาชาวบ้านเขาว่ากล้าได้กล้าเสีย ทั้งๆ ที่รู้ว่าสั่งไปแล้วเสีย ก็เพราะมนุษย์ชอบอวดดีว่าเก่ง อันนี้ละจึงทำให้ท่านกู้สถานการณ์ประเทศสยาม ในขณะฝรั่งเศสมันยึดในเอเชียได้ก็ดี

อย่างหนึ่งคือ เป็นคนที่ชอบทดสอบคนตั้งแต่สมัยมีสังขารอยู่แล้ว ชอบพิสูจน์กับคน ทั้งๆ ที่ท่านรู้ว่า ไอ้นี่สั่งไปแล้วงานมันเสีย แต่ท่านชอบทำ เพื่อพิสูจน์กับคนอวดดีกับท่าน นี่คือสันดานของท่าน อนุสัยของท่านเป็นอย่างนี้ อาตมาไม่ถือ

อาตมาถือว่า ทุกสิ่งที่เรามายุ่งมันเรื่องของมนุษย์ ได้ก็มนุษย์ได้ เราไม่ได้อะไรกับเขา เสียก็มนุษย์เสีย เราก็ไม่ได้เสียอะไรกับเขา มันทัศนะต่างกัน แต่สถานการณ์ประเทศสยามในขณะนี้ มันต้องแบบท่านโต คือมีความฉับพลัน เด็ดเดี่ยว ว่องไว แก้ไขทันเหตุการณ์ได้ งานมันจึงจะบรรลุผลและพลาดน้อยที่สุด เข้าใจไหม ขอให้ทุกคนนำไปคิดกันอีกครั้ง

เจริญพร

(เทศน์เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘)


โดย: pimnuttapa    เวลา: 2009-1-28 15:25

ตอนที่ ๕๕

โลกมนุษย์กำลังเข้าสู่ความสลาย



ชีวิตสัตวโลกเป็นอนิจจัง แล้วก็เป็นสิ่งที่แต่ละคนที่เกิดมาเป็นสัตว์ประเสริฐนี้ ถ้าจะนับเป็นกุศลก็เป็นกุศล นับเป็นอกุศลก็เป็นอกุศล เพราะอะไรเล่า เพราะว่ากุศล หมายถึง เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ที่เขาเรียกว่าสัตว์ประเสริฐนี้ มีหนทางฝึกในด้านบำเพ็ญฌาน เพื่ออยู่ในโลกแห่งความหลุดพ้นไปสู่โลกุตรฌานหรือว่าสำเร็จเป็นเทพพรหมเบื้องสูง

ที่เรียกว่าเป็นอกุศล คือ มนุษย์บางจำพวกที่เกิดมาแล้วไม่ใช้สมองให้เป็นประโยชน์ แล้วก็เหลิงในภาวะกรรมที่ตนครอบครอง หลงในเกียรติที่สมมติ หลงในยศถาบรรดาศักดิ์ที่โกหกกัน เมื่อมนุษย์ที่แบกสิ่งโกหกอยู่ในตัว นึกว่านั่นคือสิ่งเจริญและสิ่งสำคัญ มนุษย์ผู้นั้นก็ตกอยู่ในกองทุกข์


เพราะอะไรเล่า เมื่อท่านได้เกียรติจากคนโกหกให้ท่านเป็นผู้มีเกียรติ ท่านต้องทำทุกวิถีทางที่จะต้องโกหกตัวเอง รักษาคำว่ามีเกียรติไว้ นี่คือทุกข์ นี่คืออกุศล และเกียรติเป็นสิ่งพอกพูนให้ร่างกายท่านเกิดความหนักอกหนักใจกับสิ่งที่ไม่เป็นเรื่อง เมื่อท่านตกอยู่ในภาวะผู้มีเกียรติ ท่านก็มีทุกข์มากในการวางตัว ในการอยู่ในสังคม ในการเข้าหมู่คณะ

ทีนี้มนุษย์บางจำพวกลืมตัว เรียกว่า ถูกอำนาจครอบตัว ก็นึกว่าตัวไม่ตาย ก็เกิดอัตตาทิฐิในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สร้างในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ก็เกิดกรรมวิบากขนาดหนักขึ้นอยู่กับมนุษย์ผู้นั้น เมื่อวาระถึงคราวดวงตกก็ดีอะไรก็ดี ก็ตกอยู่ในอกุศลวิบาก ก็เกิดความทุกข์มากที่สุด


ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงสอนไว้ว่า ทุกอย่างในโลกนี้เป็นของอนิจจัง อนัตตา ถ้าท่านจะมีความสุขที่สุด ท่านต้องพยายามเป็นผู้ที่ไม่มีเกียรติ ไม่ยึดเกียรติ และไม่หลงเกียรติ เพราะสิ่งที่เป็นความสุขอันแท้จริงนั้นคือ นามธรรม

แต่มนุษย์ไม่พยายามคิดในด้านนามธรรม มนุษย์ติดหลงอยู่ในด้านวัตถุ จึงเกิดความประมาท เมื่อภาวะเกิดความประมาทนี่ สิ่งที่ท่านคิดว่าจะเป็นไปไม่ได้ ก็จะเป็นไปได้ และมนุษย์บางจำพวกก็เกิดตัวอัตตาทิฐิ เกิดตัวอารมณ์ถืออารมณ์ของตัวเป็นใหญ่ ไม่มีขันติ


ขันตินำความสุขมาให้ท่านได้ ขันติคือความอดทน ความอดทนต่อคำพูดของมนุษย์ทั้งดีหรือชั่ว ก็จะนำความสงบให้ท่านได้ แต่ถ้าท่านไม่มีขันติ ท่านหลงในอัตตา ท่านยึดในตัวตน ท่านก็เกิดความทุกข์

ทุกข์อะไรเล่า คนที่ด่าท่าน เขาด่าด้วยตัวโทสะครอบเขา เขาจึงด่าท่าน แต่ท่านถูกตัวโมหะครอบตัวท่าน คือเกิดการแสดงปฏิกิริยาขึ้น เขาเรียกว่าหลงตัว ภาวะนี้ก็จะสามารถทำให้สิ่งที่เรียกว่าจุดเล็กไปสู่จุดใหญ่กับฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายอะไรทั้งหลาย


ขณะนี้ภาวะของโลกมนุษย์อยู่ในภาวะที่สังคมมนุษย์ทุกเหล่าล้วนแต่ถูกตัวโทสะครอบ ทุกเหล่าล้วนแต่ถูกตัวโมหะครอบ ความยุติธรรมในสังคมมนุษย์ย่อมไม่มี แต่ความยุติธรรมสัจจะมีอีกโลกหนึ่ง คือ โลกวิญญาณ

โลกวิญญาณไม่มีคำว่าญาติ โลกวิญญาณไม่มีคำว่ามิตร โลกวิญญาณเขามีศูนย์รวมกรรม กรรมของใครสร้างกรรมดีก็จะได้เสวยในกรรมดีนั้นๆ ใครสร้างในกรรมชั่วก็จะได้เสวยกรรมชั่วนั้นๆ


ฉะนั้นในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นมนุษย์ที่เรียกว่า กุศลให้เกิดก็ได้ ที่เรียกว่าอกุศลให้เกิดก็ได้ ก็จงพยายามระลึกถึงพุทธพจน์ ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท แล้วก็ตั้งตนอยู่ในความที่เรียกว่า “ตนนั้นเป็นที่พึ่งแห่งตน” เป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้ท่านหลุดพ้นจากสังสารวัฏได้

ฉะนั้นในขณะนี้ทุกอย่างในโลกมนุษย์กำลังเข้าสู่ความสลาย กำลังเข้าสู่ความหายนะ ท่านที่มีโอกาสมาที่นี่ ก็ขอให้จงตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ในอนาคตท่านอาจจะไม่มาที่นี่ ก็ขอให้ท่านจงตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท และขอให้ทุกคนจงพยายามทำสติปัญญาให้ดี ให้เข้มแข็ง ต้อนรับกับสิ่งทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ทั้งที่นี่และทั้งส่วนตัวของท่าน


ถ้าทุกท่านเข้าซึ้งถึงกฎอนัตตา ก็คือว่าทุกอย่างเขาต้องสลาย เมื่อมีขึ้นก็ต้องมีสลาย สมเด็จหลวงปู่ทวดก็ดี ก็คืออาตมา สมเด็จหลวงพ่อโตก็ดี ก็คือนักปราชญ์แห่งสยาม ท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระก็ดี ผู้ที่เป็นพระพรหมอันเมตตา ก็มิอาจจะอยู่กับท่านคู่ฟ้าได้ และสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดของมนุษย์ เป็นความผิดของอาตมาเอง

เจริญพร


(เทศน์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕)




IMG_6520.2.jpg


9.png



อาณาจักรของอาตมา

พร้อมที่จะโกยสัตวโลกให้พ้นจากไฟอเวจี  แต่ไม่มีสื่อนำ

เทวดาพร้อมที่จะช่วยมนุษย์  แต่ไม่มีมนุษย์ให้สถิต

เพราะฉะนั้นจะช่วยมนุษย์ได้มากหรือน้อย  ขึ้นอยู่กับมนุษย์ต่อมนุษย์


p4.png



มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่งานส่วนตัว
มนุษย์ผู้นั้นจะไม่มีงานทำในไม่ช้า


มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว
มนุษย์ผู้นั้นจะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า


มนุษย์ผู้ใดเห็นแก่นอนมาก
มนุษย์ผู้นั้นจะไม่ได้นอนในไม่ช้า



IMG_8289-removebg-preview.3-removebg-preview.png



.....จบเนื้อหาหนังสือ “ธรรมะจากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ หลวงปู่ทวด (เหยียบน้ำทะเลจืด)” แล้ว

สวัสดีค่ะ



รูปภาพที่แนบมา: IMG_6520.2.jpg (2023-1-31 17:18, 295.27 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzEyMDV8MGU1NGE1Mzh8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: p4.png (2023-5-8 15:09, 9.1 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MTR8OWMwYjI3N2V8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: 9.png (2023-5-8 16:17, 29.28 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI4MjB8NjlmOTA2NTh8MTcxNDcyNDUyNXww



รูปภาพที่แนบมา: IMG_8289-removebg-preview.3-removebg-preview.png (2023-6-2 08:42, 17.76 KB) / ดาวน์โหลดแล้ว 0
http://www.dannipparn.com/forum.php?mod=attachment&aid=NzI5OTJ8NWFkZDRjNDZ8MTcxNDcyNDUyNXww


โดย: putthapaun    เวลา: 2009-8-25 10:41

อนุโมทนาบุญ สาธุ สาธุ สาธุ

โดย: sopa2511    เวลา: 2009-9-1 15:07

สาธุ...
โดย: PAT    เวลา: 2009-11-23 23:20

ขออนุโมทนาสาธุด้วยนะครับ ขอบคุณมากนะครับ ธรรมทานลึกซึ้ง ชอบครับ
โดย: phunao    เวลา: 2010-12-23 17:31

กราบโมทนาเป็นอย่างสูงครับ มีประโยชน์มากๆครับสำหรับผู้ที่เดินในเส้นทางสายนี้
_/|\_ _/|\_ _/|\_




ยินดีต้อนรับสู่ แดนนิพพาน "โมทนาทุกดวงจิตถึงซึ่งแดนนิพพาน" (http://www.dannipparn.com/) Powered by Discuz! X1.5